ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การยกธรรม ในสมาธิ ทำอย่างไร คะ  (อ่าน 2542 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การยกธรรม ในสมาธิ ทำอย่างไร คะ
« เมื่อ: กันยายน 08, 2012, 08:35:42 am »
0
การยกธรรม ในสมาธิ ทำอย่างไร คะ
 ทดสอบด้วยตนเอง เมื่อจิตเป็น สมาธิ ( เหมือนนอนหลับ ) คือหยุดอยู่อย่างนั้น เพราะรู้สึกสบายใจ จึงหยุดอยู่อย่างนั้น ในขณะนั้นไม่มีสิ่งอื่นใดนึกถึง นอกจากคำว่า พุทโธ แต่ก็ไม่รู้สึกว่าเข้าถึงแก่นธรรมใด ๆ คะ จึงคิดว่าการยกธรรม ในสมาธิ ไม่ได้ทำง่าย ๆ คะ หรือ วิธีการยกธรรม มีขั้นตอน

  อันที่จริงเคยตั้งใจไว้ว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วจะยกธรรมคือ ทุกข์ ขึ้นตั้งแต่ ตอนนั้นนึกอะไรไม่ออก เหมือนจิตมันหยุดคิดคะ

  ขอท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยคะ
   :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

Be-boy

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การยกธรรม ในสมาธิ ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 08, 2012, 07:28:17 pm »
0
ก็ต้องลองนึกดูนะครับ ว่า เรามีทุกข์ กับ สุข อย่างไร เป็นพื้นฐาน ก่อนนะครับ

คุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้ครับ

 :coffee2: :s_good:
บันทึกการเข้า
ออกกำลังกายเคลื่อนไหว เป็นสติครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การยกธรรม ในสมาธิ ทำอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 14, 2012, 12:54:40 pm »
0



  หนูนพพร กำลังคุยเรื่องวิปัสสนา ใช่ไหมครับ
  ก่อนอื่นต้องแยกแยะ สมถะ กับ วิปัสสนาก่อน
  ลองอ่านบทความจาก "หนังสือวิธีสร้างบุญบารมี" ดูนะครับ


๒. วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
   เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ตาม แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้

     อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ
     เพราะว่า สมาธินั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
     แต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไร ๆ


    แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น
     แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย
     และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ"ขันธ์ ๕"
     ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป - นาม" โดย รูปมี ๑ ส่วน นามนั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ


    ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น พระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา



ที่มา http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6411.0
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://www.watsomanas.com/




   
    เหตุที่หนูนพพร ไม่สามารถยกขันธ์ ๕ ขึ้นมาพิจารณาได้
    เนื่องจากจิตของหนูแข็งเกินไป ไม่นุ่มนวลและควรแก่การงาน
    เรื่องนี้ผมพูดได้เพียงหลักการเท่านั้น ในทางปฏิบัติหนูต้องให้ครูอาจารย์สอบอารมณ์กรรมฐาน


    อย่างไรก็ตามการปฎิบัติธรรม ทำได้ ๔ ทาง ตามบทความนี้

    พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ( พูดว่าได้บรรลุ ) ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ
       ๑. เจริญวิปัสสนา(ปัญญาอันเห็นแจ้ง) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่เจริญมรรคก็ละสัญโญชน์ (กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด) ได้ กิเลสพวกอนุสัย (แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน) ย่อมไปหมด
       ๒. เจริญสมถะ(ความสงบใจ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส
       ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส
       ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม(วิปัสสนูปกิเลส=เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิดมีแสงสว่าง เป็นต้น) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.


ที่มา http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/13.4.html


       เราสามารถจะเลือกทำสมาธิก่อน(ทำสมถะ) หรือทำวิปัสสนาก่อนก็ได้
       สิ่งที่หนูนพพรทำ น่าจะเป็นข้อแรก คือ ทำสมาธิก่อนและพยายามที่จะทำวิปัสสนาตาม
       กล่าวกันว่า ข้อที่สี่เป็นแนว"ดูจิต" ของสายหลวงปู่ดูลย์หรือหลวงพ่อปราโมทย์
       เรื่องวิปัสสนานี้ต้องให้กัลยาณมิตรช่วยสอบอารมณ์ และควรศึกษาเรื่อง โสฬสญานหรือญาน ๑๖


       อีกอย่างอยากให้รู้ก็คือ ความรู้สึกนิ่งๆไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นอุเบกขา ขณะทำสมาธิ ไม่ใช่วิปัสสนาและก็ไม่ใช่สมถะ
       สิ่งนี้เรียกว่า "อทุกขมสุขเวทนา" มีประโยชน์เพียงเอาไว้พักผ่อนเท่านั้น(คำสอนของพระอาจารย์)
       คุยหรือนี้แล้วรู้สึกอึดอัดครับ ขอคุยเท่านี้

        :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2012, 12:58:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ