ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม พระบวชใหม่ ที่ลาสิกขาบถ ไม่ได้อานิสงค์กฐินครับ  (อ่าน 10913 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไม พระบวชใหม่ ที่ลาสิกขาบถ ไม่ได้อานิสงค์กฐินครับ
 ได้รับฟังและทราบมาว่า พระใหม่ที่บวช 1 พรรษา แล้ว รับกฐิน กับ ไม่รับกฐิน มีค่าเท่ากันคือ ไม่ได้อานิสงค์กฐิน อย่างนี้ใช่หรือไม่ ครับ เพราะเหตุไร จึงมีค่าเท่ากันครับ

 ใครรู้ช่วยอธิบายด้วยครับ

  :c017:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
  ทำไม พระบวชใหม่ ที่ลาสิกขาบถ ไม่ได้อานิสงค์กฐินครับ ใครรู้ช่วยอธิบายด้วยครับ



อานิสงส์พระภิกษุสงฆ์

ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่จำพรรษาแล้ว ได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ ดังนี้ คือ


. อนามนฺตจาโร เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา

. อสมทานจาโร เที่ยวไปไหนไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ (ผ้า ๓ ผืน คือสบง จีวร สังฆาฏิ)

. คณโภชนํ ฉันคณะโภชน์ได้ (ฉันเป็นหมู่ได้ คือภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เจ้าภาพสามารถ บอกชื่ออาหาร คือโภชนะ ๕ ได้แก่ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ)

. ยาวทตฺถจีวรํ เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ปกติเก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน)

. โย  จ  ตตฺถ  จีวรุปฺปาโท  โส  เนสํ  ภวิสฺสติ จีวรลาภอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ (ลาภสักการะที่สมควรแก่พระภิกษุ เช่นไตรจีวร ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เครื่องใช้ต่างๆ เจ้าภาพถวายแล้ว พระภิกษุเก็บไว้ได้เอง โดยไม่เป็นของสงฆ์)



(เนื่องด้วยภิกษุสงฆ์นวกะนั้น เป็นผู้ถือบวชตามวาระประเพณี ย่อมมีภาระหน่วงหนักในหน้าที่การงานการถือครองเรือน เหตุฉะนี้นั้นเมื่อครบพรรษาสามเดือนก็มักจะลาสิกขาไปตามภาระหน้าที่แห่งตนจึงไม่สำคัญที่จะรับเอาอานิสงส์ผ้ากฐินทาน แต่มีนัยยะสำคัญกับด้วยภิกษุสงฆ์มุตตกะ และชั้นเถระ ในธรรมวินัยบัญญัติ ครับ!)



http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-17-59
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2012, 02:14:17 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


กฐิน เป็น "ผ้าพิเศษ"

       กฐิน เป็น “ผ้าพิเศษ” ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง “พุทธานุญาต” เฉพาะ “กฐินกาล” ในปีหนึ่งมีเขตกฐินเพียง ๑ เดือน คือตั้งแต่วันออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

     ตามศัพท์ กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับตัดจีวร ในทางพระวินัย ใช้เป็นชื่อเรียก “สังฆกรรม” อย่างหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พุทธานุญาตให้แก่พระภิกษุสงฆ์ ๕ รูปขึ้นไป ซึ่งอยู่ในวัดเดียวกัน และเป็นผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส (๓ เดือน) ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ เดือน ๑๑ โดยไม่ขาดพรรษา

     เพื่อแสดงออกถึงความสามัคคีของภิกษุสงฆ์ โดยพระภิกษุสงฆ์พร้อมใจกันมอบผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน [อันตรวาสก (สบง) อุตตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ] ที่บังเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้มีคุณสมบัติสมควรแก่การรับผ้ากฐินผืนนั้น พระภิกษุผู้รับผ้ากฐินควรเป็นภิกษุผู้รู้ธรรม ๘ ประการ คือ
            (๑)  รู้จักบุพพกรณ์(บุพพกิจ) ๗ ประการ คือ
                  ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาผ้า ๑ เย็บผ้า ๑ ย้อมผ้า ๑ พินทุกัปปะผ้า ๑
            (๒)  รู้จักถอนไตรจีวร
            (๓)  รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
            (๔)  รู้จักกรานกฐิน
            (๕)  รู้จักมาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
            (๖)  รู้จักปลิโพธ กังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
            (๗)  รู้จักการเดาะกฐิน
            (๘)  รู้จักอานิสงส์กฐิน ได้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย


      เป็นผู้ดำเนินการกรานกฐินในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเจ้าภาพถวายผ้ากฐินสำเร็จรูปก็ตาม พระภิกษุผู้เป็นองค์ครองกฐินจะต้องมีคุณสมบัติ อันสมควรนี้ และเมื่อทำผ้าจีวรได้สำเร็จแล้ว จะต้องประกาศให้คณะสงฆ์รับทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อคณะสงฆ์อนุโมทนาแล้ว พระภิกษุองค์ครองจึงจะมีสิทธิในผ้ากฐินนั้น และพระภิกษุในวัดทุกรูปมีสิทธิได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ   



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-11-47
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ปฐมเหตุการทอดกฐิน
   
ปฐมเหตุการทอดกฐิน (จากกฐินขันธกะ พระวินัยปิฎก และอรรถกถาแปล เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาคที่ ๒ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๗/๙๑ น.๑๙๓) ความว่า

      สมัยเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ วัดเชตวันมหาวิหารอารามของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี แคว้นโกศล ครั้นนั้น พระภิกษุ ภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป (ระดับภูมิธรรมระหว่างพระโสดาบัน – พระอนาคามี) ชาวเมืองปาไฐยรัฐ ล้วนถืออารัญญิกธุดงค์ (ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร) บิณฑปาติกธุดงค์ (ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร) และเตจีวริกธุดงค์ (ถือการครองผ้า ๓ ผืน เป็นวัตร) เดินทางไปพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

       แต่เดินทางมาไม่ทัน เพราะจวนเข้าพรรษา จึงต้องหยุดจำพรรษา ณ เมืองสาเกต พระภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาด้วยใจรัญจวนว่า : พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ ๆ เราระยะทางห่างกันเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระพุทธองค์

       ครั้นล่วงไตรมาส พระภิกษุเหล่านั้นออกพรรษา ทำปวารณาเสร็จแล้ว ได้มุ่งตรงมายังวัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ขณะนั้นในชมพูทวีปยังมีฝนตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ เป็นหล่มเลนโคลนตม มีน้ำขังอยู่ในที่ต่างๆ ตามทางที่เดินทางผ่านมา พระภิกษุทั้ง ๓๐ รูป ได้รับความลำบากจากการเดินทาง มีจีวรชุ่มชื้นไปด้วยน้ำและมีหล่มเลนโคลนตม อีกทั้งยังต้องฝ่าแดด กรำฝน ลำบากกาย จีวรขาดวิ่น จนมาถึงวัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ก็มิได้รั้งรอ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง





      การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนั้นเป็น พุทธประเพณี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพระภิกษุเหล่านั้นว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า :    
       “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ”

พระภิกษุภัททวัคคีย์ :
      “ พวกข้าพระพุทธเจ้ายังพอทนได้ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้าในชุมนุมนี้  เป็นภิกษุปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

      เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษาไม่สามารถจะเดินทางให้ทันวันเข้าพรรษาในพระนครสาวัตถี  จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกต ในระหว่างทาง พวกข้าพระพุทธเจ้านั้นจำพรรษามีใจรัญจวนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้ๆ เราระยะทางเห่างเพียง ๖ โยชน์ แต่พวกเราก็ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

      ครั้นล่วงไตรมาส พวกข้าพระพุทธเจ้าออกพรรษา ทำปวารณาเสร็จแล้ว เมื่อฝนยังตกชุก พื้นภูมิภาคเต็มไปด้วยน้ำ และมีหล่มเลน โคลนตม มีจีวรชุ่มชื้นด้วยน้ำ ฝ่าแดด กรำฝน ลำบากกาย เดินทางมา พระพุทธเจ้าข้า ”


      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า :
      “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาแล้วได้กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้วจักได้อานิสงส์กฐิน ๕ ประการคือ
      ๑. อนามนฺตจาโร เที่ยวไปไหน ไม่ต้องบอกลา (ภิกขาจารไปโดย ไม่ต้องบอกลา)
      ๒. อสมทานจาโร ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ (ผ้า ๓ ผืน : สบง จีวร สังฆาฏิ)
      ๓. คณโภชนํ ฉันคณะโภชน์ได้ (ฉันเป็นหมู่ ได้ คือภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เจ้าภาพสามารถบอกชื่ออาหาร คือ โภชนะ ๕ ได้แก่ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ)
     ๔. ยาวทตฺถจีวรํ เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ปกติเก็บไว้ ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน)
     ๕. โย จ ตตฺถ จีวรุปฺปาโท โส เนสํ ภวิสฺสติ จีวรลาภอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของได้แก่ พวกเธอ (ลาภสักการะที่สมควรแก่พระภิกษุ เช่นไตรจีวร ผ้าห่ม ผ้าเช็ดหน้า เครื่องใช้ต่างๆ เจ้าภาพถวายแล้ว พระภิกษุเก็บไว้ได้เอง โดยไม่เป็นของสงฆ์)
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่พวกเธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว ”





      พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภเรื่องนี้เป็นปฐมเหตุ ทรงมีฉันทานุมัติตามพุทธประเพณีที่มีมา ต้องมีพระภิกษุ ๓๐ รูป ซึ่งเป็นพระภิกษุปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในธุดงควัตร อยู่ป่าเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร และปฏิบัติกิจด้วยผ้า ๓ ผืน เป็นวัตร อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะท่านได้สะสมบารมีมา

       พระภิกษุภัททวัคคีย์ทั้ง ๓๐ รูป เคยได้เห็นพระภิกษุ ๓๐ รูป ในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ท่านได้ถวายภัตตาหารในพระพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ และท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ถ้าได้เกิดมาภพหนึ่ง ชาติใดในพระพุทธศาสนา ขอให้ได้เป็นเอตทัคคะ หรือเป็นผู้ได้รับฉันทานุมัติเป็นท่านแรกหรือเป็นคณะแรกทั้ง ๓๐ ท่าน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฉันทานุมัติให้ยกเว้น หรือได้อานิสงส์จากการกรานกฐิน ๕ ประการ

        บุรุษทั้ง ๓๐ ท่านได้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ เกิดมาพบกันทุกชาติ เพราะสร้างกุศลมาร่วมกัน มากบ้างน้อยบ้างในแต่ละชาติ การที่ท่านได้มาเกิดในสมัยของพระสมณโคดมพุทธเจ้า จะได้สร้างกุศลใหญ่ คือท่านจะเป็นปฐมเหตุ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานพุทธานุญาตให้พระภิกษุรับผ้ากฐิน กรานกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ

       เมื่อออกพรรษาแล้ว เมื่อเป็นดังนี้ พระภิกษุภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าและได้สดับฟังพระธรรมีกถาเรื่อง “อนมตัคคิยกถา” ได้บรรลุ “พระอรหัตตผล” ทุกรูป ในวาระกาลจบพระธรรมเทศนา

       ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระภิกษุจึงได้รับผ้ากฐินตามพระวินัยบัญญัติ มหาอุบาสิกาวิสาขา (พระโสดาบัน) ได้ทราบพระพุทธานุญาต จึงได้เป็นท่านแรกที่ได้ถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ในบวรพุทธศาสนา



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-12-54
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ความจริงการทอดกฐิน ไม่ใช่ประเพณีนิยม เป็นพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ผ้ากฐินทาน จะรับได้ก็ต่อเมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 หลังจากนั้น จะทอดขนาดไหนก็ตาม จะไม่เป็นกฐิน ฉะนั้น กฐินมีเวลากาลจำกัด

อานิสงส์กฐินนี้ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเคยเทศน์ และก็เทศน์ตามบาลี ท่านพูดถึงอานิสงส์ให้ทราบ ฉะนั้น การถวายวันนี้ทั้งหมด เมื่อวานก็ดี วันนี้ก็ดี จะเป็นเงินก็ตาม จะเป็นของก็ตาม ถือว่าทุกอย่าง เป็นอานิสงส์กฐิน

ต่อไปนี้ก็จะนำพระสูตรตามที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีให้ทราบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ในสมัยพระองค์เกิดเป็น
"มหาทุคคตะ" ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "พระปทุมมุตระ" เวลานั้น พระพุทธเจ้าของเรา เกิดเป็นคนจนอย่างยิ่ง เป็นทาสของคหบดี เวลานั้น ถอยหลังจากนี้ไป 92 กัป ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า"พระปทุมมุตระ"

วันหนึ่ง มหาทุคคตะ ไปดูงานทอดกฐินเขา เมื่อเขาทอดกฐินเสร็จ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า บุคคลใด เคยทอดกฐินแล้วในชีวิตหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพกฐินก็ดี และเป็นบริวารกฐินก็ดี(แต่ว่ากฐินนี้ไม่มีบริวาร มีแต่เจ้าภาพ เพราะเป็นกฐินสามัคคี) จะทำบุญน้อย จะทำบุญมาก มีอานิสงส์เสมอกัน แต่ทว่าปริมาณอาจจะแตกต่างกัน และอานิสงส์กฐินนี่ เวลานั้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

"โภ ปุริสะ ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลใดเคยทอดกฐินไว้ในพระพุทธศาสนา แม้ครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าตายจากความเป็นคน ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ท่านผู้นั้น จะไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้า 500 ชาติ"!!!!......

นั่นหมายความว่า ถ้าหมดอายุเทวดา หรือ นางฟ้า จุติแล้วก็เกิดทันที 500 ครั้ง เมื่อบุญหย่อนลงมานิดหน่อย เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นนางฟ้าไม่ได้ ลงมาเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก 500 ชาติ แล้วบุญก็หย่อนลงมา ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 500 ชาติ แล้วบุญก็หย่อนลงมา ก็จะเป็นพระมหากษัตริย์ 500 ชาติ หลังจากนั้น จะเป็นมหาเศรษฐี 500 ชาติ!!!!

คำว่า"มหาเศรษฐี"นี่ มีเงินตั้งแต่ 80 โกฏิขึ้นไป เขาเรียกว่า "มหาเศรษฐี" ถ้ามีเงินต่ำกว่า 80 โกฏิ แต่ว่าตั้งแต่ 40 โกฏิขึ้นไป เขาเรียกว่า "อนุเศรษฐี"

เมื่อเป็นมหาเศรษฐี 500 ชาติแล้ว ก็เป็นอนุเศรษฐี 500 ชาติ หลังจากเป็นอนุเศรษฐี 500 ชาติแล้ว ก็เป็นคหบดี 500 ชาติ !!!

ก็รวมความว่า การทอดกฐินครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า นอกจากจะเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีแล้ว บุคคลที่ทอดกฐินครั้งหนึ่งในชีวิต จะปรารถนาพระโพธิญาณก็ย่อมได้!!!.....นั่นก็หมายความว่า จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นมหาสาวกก็ได้ จะปรารถนานิพพานเป็นพระอรหันต์ปกติก็ได้!!!!

ฉะนั้น การทอดกฐินแต่ละคราว ขอบรรดาท่านพุทธบริษัท โปรดทราบถึงอานิสงส์ คนที่เคยทอดกฐินแล้วแต่ละครั้ง รวมความว่า ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด คำว่ายากจนเข็ญใจ จะไม่มีแก่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกชาติ!!!

สำหรับวันนี้ การทอดกฐินมันมี 3 อย่าง ความจริงอานิสงส์กฐินก็ย่อมเป็นอานิสงส์กฐิน แต่ในปัจจุบัน จัดกฐินเป็น 3 อย่าง คือ (1) จุลกฐิน (2) ปกติกฐิน (3) มหากฐิน กฐิน 3 อย่าง ย่อมเป็นเทวดานางฟ้าเหมือนกัน แต่ทว่าจะมีทรัพย์สมบัติมากกว่ากัน

คำว่า"จุลกฐิน" เวลานี้แปลงไป คงจำของพระพุทธเจ้าไม่ได้ คำว่า"จุลกฐิน" ก็หมายความว่า เขาถวายผ้าโดยเฉพาะชิ้นเดียว คือ ผ้ากฐิน จะเป็นผ้าสังฆาฏิตัวหนึ่งก็ได้ จะเป็นผ้าจีวรตัวหนึ่งก็ได้ สบงตัวหนึ่งก็ได้ ถ้าเราไม่มีทั้งไตร ถวายผ้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งก็เป็นกฐิน!!!.......




http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-18-47
http://bokboon.com/r14.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2012, 02:53:56 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ขอบคุณค่ะ   :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่ไม่ได้อานิสงค์ เอาตรงคำถาม ก็คือ

   ไม่ได้เป็นพระภิกษุ ครับ เพราะอานิสงค์ กฐิน 5 ข้อนั้น ได้แก่พระภิกษุ ครับ แต่เมื่อลาสิกขาบถไปแล้ว จึงไม่มีอานิสงค์ นะครับ ... ดังนั้น จะรับหรือไม่รับกฐิน อานิสงค์กฐิน ก็ไม่ได้ครับ วินิจฉัยน่าจะิเป็นอย่างนี้ นะครับ

๑. อนามนฺตจาโร เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา

๒. อสมทานจาโร เที่ยวไปไหนไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ (ผ้า ๓ ผืน คือสบง จีวร สังฆาฏิ)

๓. คณโภชนํ ฉันคณะโภชน์ได้ (ฉันเป็นหมู่ได้ คือภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เจ้าภาพสามารถ บอกชื่ออาหาร คือโภชนะ ๕ ได้แก่ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ)

๔. ยาวทตฺถจีวรํ เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ปกติเก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน)

๕. โย  จ  ตตฺถ  จีวรุปฺปาโท  โส  เนสํ  ภวิสฺสติ จีวรลาภอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ (ลาภสักการะที่สมควรแก่พระภิกษุ เช่นไตรจีวร ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เครื่องใช้ต่างๆ เจ้าภาพถวายแล้ว พระภิกษุเก็บไว้ได้เอง โดยไม่เป็นของสงฆ์)

   พิจารณา ดูให้ดีนะครับ ฆราวาส จะเอาอานิสงค์นี้ไปใช้ได้อย่าง ไร ครับ

  :49: :s_hi:
 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อานิสงส์แห่งการจำพรรษา

     เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ
     ๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์
     ๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
     ๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
     ๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
     ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ


     และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูหนาว คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย



ที่มา http://www.kk.ru.ac.th/library/day/coupansa.htm
ขอบคุณข้อมูลและภาพ http://www.tong9.com/





พุทธบริษัท ๔ ควรรู้เรื่องกฐิน

๘. พระภิกษุองค์ครองผ้ากฐิน จะต้องเป็นผู้รู้ธรรม ๘ ประการ คือ
        ๑) รู้จักบุพพกรณ์(บุพพกิจ)
        ๒) รู้จักถอนไตรจีวร
        ๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
        ๔) รู้จักกรานกฐิน
        ๕) รู้จักมาติกา
        ๖) รู้จักปลิโพธ กังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
        ๗) รู้จักการเดาะกฐิน (การเดาะกฐิน หมายถึง การรื้อหรือการทำกฐินให้เสียหาย จนเป็นเหตุให้ต้องยกเลิกอานิสงส์กฐิน)
        ๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน แล้วจึงกรานกฐิน
        หากภิกษุองค์ครองไม่รู้ธรรม ๘ ประการ อานิสงส์ก็น้อยลงตามลำดับ หรือไม่ควรเป็นผู้รับผ้า (เป็นเรื่องของสงฆ์ที่จะต้องรู้และศึกษาวิธีในการกรานกฐิน)
       เมื่อเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว ภิกษุองค์ครองต้องประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่ออนุโมทนา

       เมื่อสงฆ์อนุโมทนาแล้ว จะได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ ขยายยาวออกไปถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (ปกติพระภิกษุได้รับอานิสงส์พรรษา มีกำหนด ๑ เดือน แม้จะไม่ได้กรานกฐิน)



ขอบคุณข้อมูลและภาพ
http://www.tong9.com/main/index.php/2010-04-03-01-28-48/contentkatin/qq-/2010-04-04-01-13-53


ทำไม พระบวชใหม่ ที่ลาสิกขาบถ ไม่ได้อานิสงค์กฐินครับ
 ได้รับฟังและทราบมาว่า พระใหม่ที่บวช 1 พรรษา แล้ว รับกฐิน กับ ไม่รับกฐิน มีค่าเท่ากันคือ ไม่ได้อานิสงค์กฐิน อย่างนี้ใช่หรือไม่ ครับ เพราะเหตุไร จึงมีค่าเท่ากันครับ

 ใครรู้ช่วยอธิบายด้วยครับ

  :c017:

   
    อานิสงส์กฐินมีเฉพาะภิกษุในธรรมวินัยเท่านั้น ฆราวาสไม่มีวินัยและก็ไม่ได้นุ่งห่มห่รือใช้ผ้ากฐิน
    หากยึดวินัยแล้ว ภิกษุที่ไม่ได้กรานกฐิน และไม่ขาดพรรษา จะได้อานิสงส์ ๕ ประการ เรียกว่า อานิสงส์แห่งการจำพรรษามีรายละเอียดเหมือนอานิสงส์กฐินทุกประการ แต่มีกำหนดแค่ ๑ เดือนหลังจากออกพรรษา
    กรณีของภิกษุที่ได้กรานกฐิน จะได้อานิสงส์ ๕ ประการนี้ ขยายยาวออกไปอีก ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔


    คำถามที่ว่า "พระใหม่ที่บวช 1 พรรษาแล้ว รับกฐินกับไม่รับกฐิน มีค่าเท่ากันคือ ไม่ได้อานิสงค์กฐิน" นั้น
    จึงเป็นการเข้าใจผิด แท้จริงแล้ว ควรกล่าวว่า
        "ผู้ได้รับกฐินกับผู้ไม่รับกฐิน ได้รับอานิสงส์เหมือนกัน แต่ระยะเวลาของอานิสงส์ไม่เท่ากัน"

     :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2012, 08:18:43 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ