ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ศีลบริสุทธิ์ ได้ตอนไหนคะ  (อ่าน 7006 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
ศีลบริสุทธิ์ ได้ตอนไหนคะ
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 06:41:29 am »
0
โยมสงสัยว่า เวลาเรารักษาศีลให้ บริสุทธิ์ ในขั้น วิสุทธิศีลนั้น มีความหมดจดได้เวลาไหนคะ

สมมุติ ว่า โยมได้ตบยุงไปเมื่อ ชม.ที่แล้ว แต่ก็พยายามรักษาศีล ไม่ตบยุงอีก

ความหมดจดของศีล ใน สีลวิสุทธิ นั้นนับอย่างไร คะ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ศีลบริสุทธิ์ ได้ตอนไหนคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 07:30:33 pm »
0
คุณฟ้าใส เจตนาจะให้พระอาจารย์ตอบกระทู้นี้ โดยเรียกตัวเองว่าโยม

แต่ผมขออนุญาตมาขัดตาทับ มาคุยเป็นเพื่อนก่อน คงไม่รำคาญกันนะครับ

ผมขอนำคำบรรยายของอุบาสิกา แนบ มหานีรานนท์

หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า อาจารย์แนบ  มาให้อ่าน

เป็นที่รู้กันว่า อ.แนบ เชี่ยวชาญอภิธรรมเป็นอย่างมาก

ผมเองมีหนังสือเกี่ยวกับ "การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน"

ของอาจารย์แนบอยู่เล่มหนึ่ง คุ้นๆว่ามีเรื่องศีลวิสุทธิ เลยเปิดอ่าน

โชดดีครับ มีข้อความที่พอเป็นคำตอบ ให้คุณฟ้าใสได้




ศีลวิสุทธิ  หมายถึง ศีลเพื่อ  ละกิเลส  เพราะว่าศีลนั้นกิเลสก็อาศัย

ศีลที่ไม่วิสุทธินั้น  คือ  ศีลอย่างไร

คือ ศีลที่รักษา เพื่ออยากจะได้บุญ  ได้กุศล  ได้ไปเกิดอีก  หรืออยากร่ำรวย

“ หากว่าเรารักษาศีล  หรือทำบุญทำทานการกุศลใดๆ  ก็แล้วแต่  โดยมีเจตนาเป็นไปเพื่อ

ความสุข  เพื่อความร่ำรวย  หรือเพื่อความต้องการในอารมณ์ที่เป็นไปอยู่ในโลกแล้ว  ศีล

นั้นก็ไม่บริสุทธิ์  เพราะมีกิเลสเป็นปัจจัยให้รักษาศีลนั้น  “

เพราะบุญทานหรือการรักษาศีลนั้น  มีหลายอย่าง  ซึ่งบางอย่างก็มีอานิสงส์ให้ได้ผลอันเป็นไปในโลก 

ส่วนศีลที่บริสุทธิ์ที่จะเป็นศีลวิสุทธินั้น  จะต้องเป็นศีลที่ถือเพื่อปรารถนาพระนิพพาน


ศีลที่บริสุทธิ์ ท่านจัดไว้ 4 อย่างคือ

1. ปาติโมกขสังวรศีล

2. อินทรียสังวรศีล

3. อาชีวปาริสุทธิศีล

4. ปัจจยสันนิสิตศีล


ศีล 4 อย่างที่บริสุทธิ์นี้  เรียกว่า จตุปาริสุทธิศีล  เป็นศีลที่ไม่ได้เจือด้วยกิเลสตัณหา 

ผู้ประพฤติปฏิบัติศีลนี้เหมือน เช่นกับพระพุทธเจ้าท่านทำพระนิพพาน 

ท่านสร้างบารมี 10 อย่าง หรือ บารมี 30 อย่าง

พวกเราเคยได้ยินไหม  ในพระพุทธประวัติว่า  พระองค์ท่านสร้างบารมีเพื่อไปสวรรค์ 

หรือสร้างเพื่อความร่ำรวย  หรือสร้างเพื่อให้มีอำนาจวาสนา  เกิดชาติหน้าขอให้มีอำนาจ

แผ่ไพศาล  ความปรารถนาของท่านเช่นนี้ไม่มีเลย  มีแต่บอกว่าท่านทำเพื่อโพธิญาณ  ให้

สำเร็จเป็นพระอรหันต์พ้นทุกข์เท่านั้นเอง


(อ่านบทความเต็มๆได้ตามลิงค์ข้างล่าง)

ที่มา  http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-04.htm



ปาริสุทธิศีล ๔ (ศีลคือความบริสุทธิ์, ศีลเครื่องให้บริสุทธิ์, ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล)
 
๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิ

โมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย)
 
๒. อินทรียสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖)

๓. อาชีวปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ

เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนา มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น)
 
๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล (ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่

ปัจจัยปัจจเวกขณ์ คือ พิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์

ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา)

ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)



ส่วนตัวผมขอตอบว่า หากเราแบ่งชีวิตของเราออกเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ห้านาที สิบนาที

ถ้าเราไม่เผลอ เราจะพบคำตอบได้เองว่า ศีลของเราบริสุทธิ์หรือไม่อย่างไร

ขอส่งท้ายด้วย ข้อสรุปของ "สีลสิกขา" จากหนังสือวิมุตติมรรค

ของพระอาจารยปราโมทย์ ปาโมชฺโช


"การรักษาศีลด้วยการข่มใจทำให้จิตสงบจากกิเลสชั่วคราว

แต่การรักษาศีลด้วยสติปัญญาเป็นการเจริญวิปัสสนาไปในตัว

จะให้จิตพ้นกิเลสถาวรในอนาคตได้"


ขอให้ศีลคุ้มครอง


 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ศีลบริสุทธิ์ ได้ตอนไหนคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 09:56:42 am »
0
อ้างถึง
โยมสงสัยว่า เวลาเรารักษาศีลให้ บริสุทธิ์ ในขั้น วิสุทธิศีลนั้น มีความหมดจดได้เวลาไหนคะ

เวลาที่ตั้งใจรักษาศีลเพื่อ ปรมัตถ์ธรรม คือมุ่งเพื่อการตัดกิเลส ตั้งความปรารถนาเพื่อพระนิพพาน มีอุปสมานุสติ

เป็นเป้าหมาย


อ้างถึง
สมมุติ ว่า โยมได้ตบยุงไปเมื่อ ชม.ที่แล้ว แต่ก็พยายามรักษาศีล ไม่ตบยุงอีก

ความหมดจดของศีล ใน สีลวิสุทธิ นั้นนับอย่างไร คะ

ศีล เริ่มต้นด้วยการสมาทาน

หมดจดเมื่อเริ่มต้นทำความเพียรใน สมาธิ

หมดจดที่สุดของที่สุดเป็นวิสุทธิ ที่อุปจาระสมาธิ


เนื่องด้วย สีลวิสุทธิ เป็นผลัดส่งไป จิตตวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ ก็ส่งไปที่ วิสุทธิ ต่อไป

สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่บรรยายล่วงหน้า เพราะ

วิสุทธิ 7 นั้น เป็นห้อง วิปัสสนา ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ห้องที่ 1

อนุวิปัสสนา เป็นห้องที่ 2

วิปัสสนาญาณ 10 เป็นห้องที่ 3

วิโมกข์ 3 อนุวิปัสสนาวิโมกข์ เป็นห้องที่ 4

โพธิปักขิยธรรม 37 เป็นห้องสุดท้าย ( ปฏิสัมภิทา )                           



ด้านล่างเป็นที่ บรรยายทั่วไป ตามเว็บต่าง ๆ ส่วนใหญ่ จะบรรยายอย่างนี้

สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำัดับ ไม่ใช่แบบนี้ เพราะด้านล่างเป็นแบบปริยัติ อ่านจบแล้วก็ไม่สิ้นกิเลส

อ่านแล้วเพียงแค่รู้เท่านั้น






วิสุทธิ 7 ประการ

                   [size=-1]วิสุทธิ 7 เปรียบเหมือนรถ 7  ผลัด ที่ส่งบุคคลให้ถึงจุดหมายปลายทาง รถย่อมไม่ใช่จุดหมายปลายทางฉันใด  วิสุทฺธิ 7 นี้ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางแห่งการปฏิบัติธรรมฉันนั้น  แต่เป็นเครื่องมือ เป็นทางนำไปสู่จุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน
(ในวงเล็บอธิบายเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น)
++++++++++++

         วิสุทธิ 7 ประการ คือ จิตจะถึงความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจาก อวิชชา  กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมมี 7 อย่าง คือ  เป็นพระอรหันต์ขีณาสพได้ด้วยความบริสุทธิ์ 7 ประการ

        1. สีลวิสุทธิ คือ ไม่ละเมิดศีล 5 ศีล 8 หรือ ศีล 227 ข้อ ตามกำลังของท่าน
(ความหมดจดแห่งศีล)

        2. จิตตวิสุทธิ จิตจะสะอาดได้ก็กำจัดกิเลสร้ายคือ นิวรณ์ 5 ได้เด็ดขาด
(ความปลอดโปร่งจากอารมณ์ฟุ้งซ่าน ไม่มีนิวรณ์รบกวน)

        3. ทิฏฐิวิสุทธิ  คือ มีจิตเข้าใจมีความคิดเห็นตรง ไม่ขัดแย้งกับพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  ความเห็นที่ว่าตายแล้วจิตสูญตามขันธ์ 5 หรือพระนิพพานเป็นอนัตตา  เป็นความเห็นผิดไม่ตรงตามพระธรรมคำสอนที่พระองค์ว่า นิพพานนังปรมังสุขัง  พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ถ้าจิตสูญสลายตามขันธ์ 5  นิพพานเป็นอนัตตาแล้วไซร้ จะเอาอะไรไปเป็นสุขอย่างยิ่งเล่า  โกลนี้เป็นทุกข์เพราะ เป็นอนัตตา พระนิพพานเป็นสุข  เพราะพระนิพพานไม่ใช่อนัตตาไม่ใช่ตัวตน คือ อมตะธรรมชาติที่วิเศษยิ่ง  ไม่มีขันธ์ 5 ไม่มีขันธ์ทิพย์แห่งกายเทพกายพรหม ไม่มีอวิชชา กิเลส ตัณหา  อุปาทาน บาปบุญกรรม ตามไม่ถึงอิสระเสรีตลอดกาล
(ความหมดจดแห่งความเห็น เห็นความเกิดดับแห่งนามรูปตามความเป็นจริง ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา)

        4. กังขาวิตรณวิสุทธิ  คือ จิตจะบริสุทธิ์  ผุดผ่องสะอาดได้ด้วยหมดความสงสัยกังขาในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์สวัสดิโส ภาคย์ ที่พระองค์ท่านมีเมตตาต่อปวงชน สั่งสอนเทวดา พรหม คน สัตว์  ชี้แนะแนวทางแสงสว่างของชีวิตคือ พระนิพพาน ผู้ใดเห็นพระพุทะเจ้า  เห็นพระพุทธรูป (องค์แทนพระพุทธเจ้า) ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเข้าใจในพระธรรม  คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ผู้นั้นเห็นองค์พระตถาคต  ผู้ใดเห็นพระตถาคตผู้นั้นเห็นเข้าใจพระนิพพาน อยู่ในจิตในใจของทุกท่านเอง  คือ จิตหลุดพ้นจากอวิชชา กิเลส ตัณหาอุปาทาน อกุศลกรรมทำชั่วไม่มี
(ความหมดจดเพราะข้ามความสงสัยเกี่ยวในนามรูป ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน)

        5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ  มีความรู้ความเข้าใจในความเป็นไปของจิต คือ ถ้าจิตใจยังผูกพันในอวิชชา  ความไม่รู้ตามความเป็นจริงของชีวิต มีกิเลส โลภ โกรธ หลง มีตัณหาความอยาก  มีบาปกรรมชั่ว ติดในรสอาหาร ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ  อรูปภพ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน ผีเปรต คน เทวดา พรหม  เวียนเกิดเวียนตายไม่มีวันหยุดยั้งจนกว่าจะจบกิจ  มีจิตสะอาดเข้าพระนิพพานได้
(ความหมดจดแห่งฌานทัศนะ ว่าอันใดเป็นทางอันใดมิใช่ทาง)

        6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  จิตสะอาดบริสุทธิ์หมดจดจากอวิชชา กิเลส ตัณหาอุปาทาน  ได้ด้วยการรู้ฉลาดเข้าใจตามความเป็นจริงของโลก ของร่างกายเป็นทุกข์เป็นโทษ  เพราะแปรปรวนเสื่อมสลาย มีแต่ของสกปรก น่ารังเกียจเป็นของสมมุติ  เป็นของปลอม เป็นภาพมายา หลอกหลอนให้จิตหลงตลอดเวลา เกิดความเบื่อหน่าย  เกิดความวางเฉยเห็นว่าเป็นธรรมดาของโลก ของขันธ์ 5  ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่ยินดียินร้ายกับขันธ์ 5 คือ มี วิปัสสนาญาณ 10  อย่างนั่นเอง  เป็นหนทางที่จะทำให้จิตสะอาดเป็นพระอรหัตตผลขีณาสพเจ้ามีจิตพระนิพพานพ้น จากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้ยังไม่ตายจิตก็เป็นสุขเลิศล้ำ ทั้ง ๆ  ที่ร่างกายยังเจ็บป่วยทุกข์ทรมานตามธรรมชาติของโลก  จิตท่านไม่เกาะเกี่ยวกับความทุกข์ในขันธ์ 5 อีกต่อไป
(ความหมดจดแห่งฌานทัศนะ เกี่ยวกับปฏิปทาให้ถึงพระนิพพาน)

        7. ญาณทัสสนวิสุทธิ  จิตสะอาดบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากพลังของญาณของสมาธิภาวนา พ้นจากกิเลส  ตัณหา อุปาทาน อวิชชาด้วยปัญญาที่เข้าฌาน 1-2-3-4  เป็นอัปปนาสมาธิกำลังแก่กล้า สำเร็จกิจตัดกิเลส อย่างอยาบ อย่างกลาง  อย่างละเอียดเป็นพระอรหันต์ พระอริยบุคคลที่สูงสุดในพระศาสนาเรียกว่า  สมาธิวิมุตติ สำเร็จกิจด้วยกำลังของฌานสมาบัติเป็นปัญญารู้รอบวิปัสสนาญาณ  ตามความเป็นจริง
(ความหมดจดแห่งฌานทัศนะ คือมีความรู้ความเห็นสมบูรณ์เต็มที่)
[/size]
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ