ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว  (อ่าน 2134 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว
« เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 01:34:02 pm »
0
- ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้เองโดยชอบมีคุณเป็นเอนกอนันต์ได้ตรัสธรรมคำสอนอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่ประเสริฐนั้นให้เราได้รับรู้
- ขอนอบน้อมแด่พระพธรรมซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วมีความหมดจดงดงามไม่มีธรรมใดยิ่งกว่าทั้งขั้นต้นขั้นกลางและที่สุดเป็นธรรมคำสอนซึ่งเป็นหนทางแห่งการพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นนี้
- ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นผู้ที่ควรแก่เขากราบไหว้ต้อนรับเป็นผู้เผยแพร่พระธรรมอันประเสริฐยิ่งแล้วของพระพุทธเจ้าให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติตามทางพ้นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบได้ตรัสธรรมนั้นไว้ดีแล้ว


บัดนี้กระผมใคร่ขอสาธยายธรรมเรื่อง "การสะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว" อันที่ผมได้ประสบพบเจอและได้เห็นในผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านก็ได้ประสบพบเจอเช่นกันหากผมได้กล่าวผิดพลาดในข้อธรรมเป็นการบิดเบือนพระธรรมใดๆที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนี้ขอให้พระรัตนตรัยและท่านทั้งหลายโปรดอดโทษไว้แก่ผมและช่วยตักเตือนชี้แนะเพื่อให้ธรรมอันที่ผมจะกล่าวนี้ที่คิดว่าประกอบไปด้วยประโยชน์ได้สำเร็จประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายที่ยังความทุกข์อยู่ดังนี้


คนเราทุกคนจะต้องมีสิ่งที่พอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในที่นี้จะกล่าวถึงสภาพจิตที่ปรุงแต่งในทางอกุศลที่เราไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้นกับใจ
เช่นไม่คิดถึงกามไม่คิดอกุศลต่อพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ไม่นึกโกรธแค้นเป็นต้น

- เราทุกคนที่ปฏิบัติธรรมเจริญสติย่อมรู้ดีว่าอกุศลจิตในตนเองมีมากน้อยเพียงใดเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนบางครั้งฟังธรรมอยู่ปฏิบัติธรรมอยู่เจริญวิปัสนากรรมฐานอยู่จิตก็ส่งออกนอกคิดโกรธแค้นก็มีเสียใจก็มีนึกเรื่องกามตัณหาก็มี(ทุกเรื่องที่เป็นความใคร่ได้ยินดีปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ดั่งใจต้องการในที่นี้ผมไม่เจาะจงเฉพาะกามราคะ)

- เมื่อตัวรู้เกิดขึ้นเราก็เกิดความไม่พอใจยินดีในสิ่งที่ปรุงแต่งใดๆที่เรามองว่าไม่ดีเป็นอกุศลนั้นๆใช่ไหมครับบ้างก็บอกว่าไม่เอาๆไม่คิดคิดไม่ได้ห้ามคิดนี่ไม่ดีเป็นต้น

- แต่รู้ไหมครับว่ายิ่งเราคิดสวนกระแสดังข้างต้นนี้มากเท่าไหร่เราก็ยิ่งจะให้ความสำคัญในสิ่งนั้นมากเท่านั้นยิ่งสำคัญมั่นหมายไว้ในใจมากเท่าไหร่ก็ยิ่งตรึกถึงนึกถึงตรองถึงคำนึงถึงมันมากเท่านั้น
เช่นผมตั้งใจว่าจะปฏิบัติธรรมจะไม่นึกถึงกามารมณ์ใดๆผมก็สำคัญมั่นหมายมันไว้อย่างนี้ในใจก็ตรึกนึกระลึกมันไปอยู่อย่างนั้นแต่พอปฏิบัติธรรมใจที่สำคัญมั่นหมายไว้นั้นมันก็มาระลึกตรึกถึงถึงเรื่องนั้นทันทีอย่างแก้ไม่หายเป็นอกุศลจิตที่ทรมานมากนี่จะเห็นว่าเพราะจิตยังเข้าไม่ถึงในสภาวะธรรมอันควรแก่การละนี้โดยจริตของผมจึงทำให้ยิ่งอยากตัดมันยิ่งจำยิ่งคิดยิ่งนึกยิ่งคำนึงถึงมากขึ้นยิ่งกว่าเดิมจนกลายเป็นการสะกดจิตตนเองให้ตรึกถึงนึกถึงตรองถึงคำนึงถึงอยู่เนืองๆตลอดเวลาไปเลยยิ่งไม่อยากตรึกนึกคิดยิ่งอยากลืมอยากหนีก็ยิ่งคิดยิ่งเจอ

- อาการเช่นนี้ผู้ปฏิบัติหลายท่านก็คงพบเจอเช่นกันโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติใหม่หรือผู้ที่มีจริตคล้ายคลึงกับผม(ขอไม่กล่าวถึงว่าจริตแบบใดนะครับอิอิ) วันนี้ผมได้พบเจอทางออกเมื่อวันหนึ่งผมทำสมาธิแล้วถอยออกมามองรูปพระพุทธเจ้าอยู่พิจารณาว่าทำไมจึงไปติดใจติดคิดอย่างนั้นจะแก้อย่างไรก็ได้แนวทางดังนี้ครับว่า



วิธีเจริญจิตเพื่อแก้ไข

เริ่มต้นที่เรียนรู้ในทุกข์และสมุทัยในอริยะสัจ๔เป็นเบื้องต้นก่อนนะครับ

ยกตัวอย่างหากคิดถึงเรื่องกามราคะในขณะปฏิบัติกัมมัฏฐานอยู่หรือขณะจิตที่กำลังดำเนินไปในชีวิตปกติ

1. รู้ในทุกข์เราทุกคนย่อมรู้ดีว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นในขณะจิตนั้นเกิดมาแต่ความไม่พอใจยินดีที่ไปตรึกนึกคิดถึงสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความขุ่นมัวใจอย่างมักอึดอัดใจฝืดเคืองใจคับแค้นใจก่อเกิดความร่ำไรรำพันโศรกเศร้าเสียใจเป็นต้น

2. รู้ในสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์สิ่งนี้ควรทำให้แจ้งเพราะนำพาไปสู่ทางดับทุกข์จากสิ่งนี้ได้เช่นเมื่อตรึกนึกในอกุศลจิตคำนึงถึงเรื่องกามราคะนั่นเป็นเพราะว่าใจเราให้ความสำคัญกับมันมากยิ่งสำคัญสิ่งใดมากก็ยิ่งตรึกนึกคิดมากที่เกิดความสคัญมั่นหมายแก่ใจก็เพราะเรามีความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในสิ่งนี้นี้อยู่มากยิ่งเมื่อใจเราตั้งใจปารถนาไว้ว่าเวลาปฏิบัติธรรมอยู่นี้เราจะไปคิดถึงมันไม่ได้เวลาทำบุญให้ทานอยู่เราจะคิดถึงมันไม่ได้เวลาเราฟังธรรมอยู่เราจะคิดถึงมันไม่ได้มันก็ยิ่งตอกย้ำจิตใหเกิดสัญญาจดจำให้ความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจทับถมเข้าไปเรื่อยๆจนอัดปะทุขึ้นมาแทนเช่น

- เมื่อถึงเวลาที่เรากระทำการใดๆเช่นปฏิบัติธรรมฟังธรรมระลึกถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์อยู่นั้นที่เราบอกใจตนเองให้จดจำแล้วทำงานไปโดยไม่ไปตรึกนึก-คำนึงถึงกามคิดไม่เห็นแก่ได้ไม่คิดขุ่นมัวใจเป็นต้น
- แต่ด้วยการที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายของใจไว้อย่างนั้นมันก็เลยกลับเป็นเกิดจุดบกพร่องของการทำงานทำให้ใจเรากลับย้อนไปตรึกนึกถึงเรื่องนั้นย้ำคิดย้ำทำเรื่องกามราคะหรืออกุศลจิตใดๆอยู่เนืองๆแทบจะทุกขณะจิตแทนเลยทันที(อาการนี่ผมตั้งศัพท์ใหม่ว่า BUG ของจิตจะผิดไหมนี่ครับอิอิ)
- นี่แสดงให้เห็นว่าจิตและเจตสิก(ความปรุงแต่งจิต) เป็นอนัตตาคือไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับยึดถือยื้อฉุดจับต้องให้มันเป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการได้
- ทีนี้โดยปกติเมื่อเรานึกถึงมันใจเราจะห้ามมันว่าคิดอย่างนี้ไม่ได้บ้างต้องไม่คิดบ้างไม่ต้องการอย่างนี้บ้างทำให้เกิดความขัดเคืองใจฝืนใจเกิดความไม่พอใจยินดีขุ่นมัวใจขึ้นมาทันที (บางท่านเมื่อจิตสงบหรือรู้ทันมันเกิดก่อนที่จะสมมติปรุงแต่งเรื่องราวใดๆมันก็ดับไปได้แต่มันก็จะปะทุขึ้นอยู่เนืองๆไม่หายไป)


3. ทางแก้ไขคือ

3.1 พึงยกจิตที่เป็นตัวรู้(สติ) เข้าสู่ทางสายกลางมีกาย-วาจา-ใจสุจริตแล้ววางใจไว้กลางๆในกุศลจิตไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีใดๆจากความตรึกนึกคิดนั้นๆ

3.2 แล้วเจริญสติขึ้นรู้พิจารณาตามมันว่าเราพอใจยินดีในสื่งใดอยู่เราติดข้องใจยินดีสิ่งใดเราหวังปารถนาสิ่งใดอยู่จึงเกิดเช่นนี้
เช่นตรึกนึกถึงกามราคะขณะทำสมาธิหรือกำลังระลึกกราบไหว้พระรัตนตรัยหรือขณะทำบุญทำทานเมื่อเกิดตัวรู้(สติ)ขึ้นมาก็ให้รู้ตามมันไปทันที ("การรู้ตามไป" ของผมคือเมื่อรู้ว่าอกุศลจิตนี้ปรุงแต่งจิตก็ให้พิจารณาตามรู้ในสมุทัยของสิ่งที่ทำให้เกิดอกุศลจิตนั้นๆ) ให้ย้อนพิจารณาว่ากามราคะอกุศลจิตที่เกิดขึ้นมานี้เพราะเราไปติดพอใจยินดีในรูปติดพอใจยินดีในการได้กระทบสัมผัสติดพอใจยินดีในความรู้สึกจากการที่ได้กระทบสัมผัสรับรู้นั้นๆเป็นต้น

3.3 เมื่อรู้ว่าเราพอใจยินดีสิ่งใดๆไว้ในใจสำคัญมั่นหมายมันไว้ยังไงให้สูดลมหายใจเข้า-ออกยาวๆแรงๆสัก 1-5 ครั้งเป็นการเรียกสติคืนมาก่อน(การหายใจเช่นนี้ช่วยได้แม้กระทั่งการตกจากฌาณจิตซึ่งหลวงพ่อปานวัดบางนมโคได้สอนไว้ในวิธีแก้ขั้นต้น)
- จากนั้นหายใจเข้า-ออกปกติ
- พึงเจริญขึ้นรู้ทันจิตหรือความปรุงแต่งใดๆในจิตตานุสติปัฏฐานเวทนานุสติปัฏฐาน
- โดยพึงระลึกปฏิบัติในอานาปานบรรพ ดูเพิ่มเติมเรื่องอาปานานสติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้ตาม Link นี้ครับ http://www.watkoh.com/forum/showthread.php?4251-อาปานานสติสูตร ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในมหาสติปัฏฐานสูตร
- คำระลึกบริกรรมในจิตและเวทนานี้ผมมีการเปลี่ยนคำบริกรรมให้รู้ตามทันในสภาพที่เกิดขณะนั้นโดยผมใช้คำว่า "ช่างมัน" เพื่อเป็นการที่เราเตือนสติเราว่ามันไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆแก่เราเราอย่าไปติดข้องใจหรือใส่ใจอะไรกับมันแม้เมื่อมันเกิดขึ้นในขณะจิตนั้นมันก็ไม่ได้สำคัญสิ่งใดเป็นการลดความสำคัญมั่นหมายลงไปแต่การหายใจเข้า-ออกพร้อมระลึกรู้จิต-เวทนานี้ต้องปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอนทุกอย่าง
- เราต้องเข้าใจในอาปานานสติอย่างถ่องแท้เพราะอาปานานสตินี้กว้างมากไม่ว่าจะเป็นพระอริยะเจ้าองค์ใดในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นสายพระป่าหรือพระบ้านก็จะเน้นลมหายใจเป็นหลัก
- ดั่งหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวถึงแนวทางหลวงปู่มั่นก็กล่าวว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้สิ่งแรกไม่ใช่อะไรที่ไหนสิ่งนั้นคือลมหายใจเข้าออกในกายคตาสตินี่เอง
- แม้พระราชพรหมญาณหรือหลวงปู่ฤๅษีลิงดำท่านก็ให้เน้นลมหายใจเป็นหลักแล้วค่อยทรงอารมณ์
- การที่เราจะรู้ลมหายใจเข้าออกในอาปานานสติได้ถูกต้องและตรงตามลมหายในในขณะนั้นผมอาศัยภาวนาพุทธ-โธโดยระลึกจิตลากเสียงยาว-สั้นตามลมหายในในขณะนั้นบางครั้งเราหายใจเข้ายาวแต่หายใจออกสั้นก็มีบางครั้งเราหายใจเข้าสั่นแต่หายใจออกยาวก็มีบางครั้งหายใจเข้าสั่นหยุดแล้วให้ใจเข้าอีกก็มีและลมหายใจนี้ต่อไปได้กว้างหมดในทุกสายปฏิบัติใน๔๐กัมมัฏฐาน

หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความพอใจยินดีในสิ่งนี้ๆยังมีอยู่(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความพอใจยินดีนี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความพอใจยินดีในรูปยังมีอยู่ช่างมันเถอะความพอใจยินดีในรูปนี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความพอใจยินดีที่ได้รับรู้การกระทบสัมผัสในสิ่งนี้ยังมีอยู่(ผัสสะ) ช่างมันเถอะความพอใจยินดีจากการได้รับรู้การกระทบสัมผัสนี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความปารถนาในสิ่งนี้ๆยังมีอยู่(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความปารถนาพอใจใคร่ได้นี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความสำคัญมั่นหมายของใจในสิ่งนี้ช่างมันเถอะ(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความสำคัญมั่นหมาย
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความติดข้องใจในสิ่งนี้ช่างมันเถอะ(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความติดข้องใจ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความขุ่นมัวใจในสิ่งนี้ช่างมันเถอะ(สิ่งที่เป็นสมุทัย) ช่างมันเถอะความขุ่นมัวองใจ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าเวทนา(โสมนัสโทมนัสสุขทุกข์เกิดสิ่งใดระลึกสิ่งนั้น)นี้ช่างมันเถอะช่างมันเถอะเวทนานี้(โสมนัสโทมนัสสุขทุกข์เกิดสิ่งใดระลึกสิ่งนั้น)
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าความปรุงแต่งจิตนี้ช่างมันเถอะ(สังขารขันธ์จิตสังขาร) ช่างมันเถอะความปรุงแต่งจิตนี้
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีสำคัญใดๆแก่ใจเราอีกแล้ว

- การปฏิบัติเช่นนี้ไม่ต้องไประลึกหรือกระทำจิตให้ขัดใจความปรุงแต่งนั้นๆมันซึ่งจะทำให้เกิดอาการฝืนอัดอั้นคับแค้นกายใจขึ้นจะกลายเป็นการตอกย้ำสะกดจิตตนเองให้นึกถึงมันอยู่เนืองๆแทนที่จะดับมันได้
- การปฏิบัตินี้เป็นการรู้ทันแล้วพิจารณาละความสำคัญมั่นหมายในสิ่งนั้นๆของใจลง

หากดูเป็นคำบริกรรมที่ยาวให้พอจารณาตามอีกนัยยะปฏิบัติแกรูปแบบหนึ่งดังนี้ว่า
สูดลมหายใจเข้า-ออกยาวๆแรงๆสัก 1-5 ครั้งเป็นการเรียกสติคืนมาก่อน(การหายใจเช่นนี้ช่วยได้แม้กระทั่งการตกจากฌาณจิตซึ่งหลวงพ่อปานวัดบางนมโคได้สอนไว้ในวิธีแก้ขั้นต้น) จากนั้นหายใจเข้า-ออกปกติพึงเจริญขึ้นรู้ทันจิตหรือความปรุงแต่งใดๆดังนี้ว่าหายใจเข้า-ออกระลึกว่ากามหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าคิดหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าจิตสังขารปรุงแต่งหนอหรือปรุงหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าพอใจหนอๆหรือยินดีหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าติดข้องใจหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าขุ่นมัวหนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่ารู้หนอๆ
หายใจเข้า-ออกระลึกว่าเวทนาหนอๆ(โสมนัสเวทนาโทมนัสเวทนาสุขเวทนาทุกข์เวทนาเฉยๆเกิดสิ่งใดระลึกสิ่งนั้น)

3.4 ถ้ายังไม่สามารถดับมันได้ให้ระลึกพิจารณาให้เห็นถึงสมุทัยจากสิ่งที่เราตรึกนึกสำคัญมั่นหมายไว้ในใจอยู่นั้นแล้วพึงเจริญพิจารณาในจิตว่า
- ธรรมชาติใดคิดธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต : ดังนั้นธรรมชาติของมันก็คือความคิดความตรึกถึงนึกถึงตรองถึงคำนึงถึงเป็นธรรมดา
- เราให้ความสำคัญมั่นหมายมันมากเกินไปยิ่งสำคัญมันมากก็ยิ่งตรึกนึกถึงมันมาก
- เราจะไม่ใส่ใจไม่สนใจใดๆกับมันอีกมันจะเกิดขึ้นจะตั้งอยู่จะดับไปก็ช่างมัน
- เราไม่มีความติดข้องใจใดๆในมันแล้วมันจะตรึกถึงนึกถึงตรองถึงคำนึงถึงใดๆก็ช่างมันเพราะมันไม่มีความหมายใดๆแก่เรา
- ความตรึกนึกถึงนี้มันไม่มีความสำคัญใดๆแก่เราไม่มีค่าพอจะให้เราสำคัญใส่ใจกับมันเราไม่รู้สึกใดๆต่อมันอีกแล้ว
- พิจารณาให้เห็นสภาวะจริงของสิ่งที่เราตรึกนึกอยู่เช่นสิ่งนี้เป็นมโนภาพที่ใจเราสร้างขึ้นตามความติดข้องพอใจยินดีใดๆของเราเป็นเพียงสิ่งที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายจดจำไว้แล้วเราให้ความสำคัญมันมากไปจนตรึกนึกถึงอยู่เนืองๆปรุงแต่งเรื่องราวสมมติไปต่างๆตามมโนภาพที่จิตเราสร้างขึ้นปรุงแต่งขึ้นซึ่งในปัจจุบันขณะจิตนั้นมันไม่มีจริงเราติดในสมมตินั้นแล้วก็เข้าไปเสพย์เวทนากับสมมตินั้น
- พึงพิจารณาในสภาพธรรมพิจารณาให้เห็นสภาพจริงใดๆของสิ่งนั้นๆเช่นหากเป็นกามราคะให้พิจารณาว่าเพราะเราพอใจไว้อย่างนี้อยู่สะกดจิตตนไว้กับสิ่งนี้อยู่เพราะเห็นเป็นรูปเป็นร่างอยู่เพราะเห็นในตัวตนมันอยู่เพราะติดใจในการได้กระทบสัมผัสนั้นๆอยู่ให้คิดเห็นจริงในอาการทั้ง 32 เข้าถึงความเป็นเพียงธาตุ๔ต่อไปจนถึงสภาพที่เป็นรูป-นาม
- เมื่อรู้เห็นตามจริงและสภาพจริงแล้วให้เราพึงรู้ว่า "มันก็แค่นั้นเอง" ที่เราไปติดข้องใจให้ความสำคัญมั่นหมายต่อมันจริงๆมันก็แค่นั้นเองไม่มีประโยชน์ไม่มีคุณค่าใดๆแก่เราเลย
- เราแค่พะวงไปเองเราแค่กลัวไปเองเราแค่ระแวงไปเองจนทำให้เราสะกดจิตตนเองให้ความสำคัญมั่นหมายแก่มันเอาไว้ในใจจึงเกิดเป็นผลลัพธ์อย่างนี้ซึ่งมันก็มีแค่นั้นเอง
- นี่สัมมาสติและสัมมาสมาธิเกิดขึ้นแก่เราทันทีมีปัญญาเห็นชอบตามจริงนั้นด้วยในระดับหนึ่งกายวาจาใจจะเกิดโดยชอบมากขึ้น

3.5 ถ้ายังไม่สามารถดับมันได้ให้ระลึกถึงสภาพปรมัตถธรรมที่เกิดขึ้นแก่เราในขณะนั้นโดยไม่ต้องไปให้ความหมายหรือชื่อใดๆของสภาพนั้นๆที่เกิดขึ้นเป็นการเข้ารู้ในสภาพปรมัตถธรรมที่แท้จริงที่ตัดจากสมมติบัญญัติใดๆละสัญญาในสภาพนั้นๆไปเหลือรู้เพียงแค่สภาพจริง
- โดยกำหนดลมหายใจเข้าลึกๆหายใจออกยาวๆอาจจะกำหนดพุทธ-โธก็ได้สัก 5-10 ครั้ง
- ระลึกเข้าถึงสภาพปรมัตถธรรมแห่งจิตที่เป็นกุศล(อันนี้เราต้องรู้เองนะครับว่าสภาพปรมัตถธรรมแต่ละอย่างเป็นยังไงด้วยจิตตานุสติปีฏฐาน)
- ระลึกเข้าถึงสภาพจิตที่สงบไม่ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน
- ระลึกเข้าถึงสภาพจิตที่มีความว่างเป็นอารมณ์(บางครั้งใหม่ๆการทรงอารมณ์เข้าสภาพนี้จะเกิดปิติเช่นขนลุกชูชันเหมือนตัวลอยน้ำตาไหลตัวขยายใหญ่หรือรู้สึกหน่วงๆตัวขึ้นแล้วจึงเข้าสภาพที่สงบว่างได้)
- ระลึกเข้าถึงสภาพที่ขาดจากการปรุงแต่งใดๆ
- ระลึกเข้าถึงสภาพที่สักแต่เพียงรู้ให้มีแต่ตัวรู้(สติ)เกิดขึ้นดูสภาวะปรุงแต่งจิตดูสภาพจริงใดๆเท่านั้นไม่มีคำพูดไม่มีสมมติไม่มีบัญญัติไม่มีเรื่องราวสักแต่ว่ารู้สึกเท่านั้น


อ่านเรื่องการทรงอารมณ์เข้าสู่สมาธิจิตเพิ่มเติมได้ที่ Link นี้ครับ
http://www.watkoh.com/forum/showthread.php?4206-วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย

พระราชพรหมญาณ(หลวงปู่ฤๅษีลิงดำ) เทสน์สอน ดูตาม Link นี้ครับ
http://www.watkoh.com/forum/showthread.php?4314-วิธีการทรงอารมณ์จิตให้เป็นฌาน&p=35106#post35106

- มันไม่มีตัวตนไม่คงอยู่มันจะเกิดจะดับเราจึงไปบังคับมันให้เป็นดั่งใจต้องการไม่ได้มันเกิดของมันและดับของมันเองเราแค่รู้ตามจริงรู้เห็นสภาพจริงของมันก็พอรู้วางใจไว้กลางๆไม่ต้องไปกะเกณฑ์สำคัญใดๆกับมันว่าห้ามคิดนะห้ามสร้างเรื่องราวนะอย่าปรุงแต่งนะยิ่งเป็นแบบนี้ก็ยิ่งเป็นการสะกดจิตให้ความสำคัญมั่นหมายของใจไว้กับมันมากก่อเกิดให้ตรึกนึกถึงมันมากยิ่งฝังนานก็ยิ่งเกิดเป็นการสร้างตัวตนจริงๆของมันขึ้นแก่ใจเราให้รู้ว่านี่คือจิตสังขารนี่คือความปรุงแต่งจิตสัพเพสังขาราอนิจจาสัพเพสังขาราอนัตตาสังเพสังขารทุกขา


ผมขออนุญาตพระอาจารย์ธัมมวังโส ท่านเสบมาสเตอร์ และ ผู้ดูแลระบบทุกท่าน ขอกลับมาเผยแพร่กระทู้ธรรมที่ผมปฏิบัติเจริญอยู่ตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนโดยผมได้พลิกแพลงประยุกต์ให้ใช้เข้าได้ตามจริตผม ซึ่งเป็นประโยชน์และให้ผลได้ไม่จำกัดกาลมาเผยแพร่ต่อท่านสมาชิกเวบมัชฌิมาทั้งหลายได้ลองปฏิบัติกัน หากเมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติแล้วเห็นผลได้ มีประโยชน์แท้จริง ผมใคร่ขอรบกวนท่านทั้งหลายได้อุทิศส่วนบุญกุศลแห่งธรรมทานนี้ให้แด่

คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 15.49 น.

ประวัติโดยย่อของท่าน

- ท่านได้เลี้ยงลูกและเอาใจใส่ปลูกฝังให้ลูกมี ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี ซึ่งตัวท่านเองก็ปฏิบัติเช่นนี้อยู่เป็นประจำเพื่อเป็นตัวอย่างให้ลูกๆเห็นแล้วทำตาม
- เท่าที่ผมจำความได้ท่านสอนให้ผม เว้นจากความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น เว้นจากการฆ่าสัตว์แม้ มด ยุง ริ้น ไร ก็ห้ามไม่ให้ฆ่า ให้ผมไม่ขโมยลักทรัพย์ ไม่เอาของๆผู้อื่นที่เขาไม่ได้ให้ ให้ผมซื่อสัตย์-ซื่อตรงทำดีต่อครอบครัวตนเองและผู้อื่น ชี้ให้ผมเห็นโทษของสุราเมรัยไม่ให้ปารถนาที่จะดื่มกิน รู้สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน มีจิตปารถนาดีต่อผู้อื่น รู้เอื้ออนุเคราะห์แบ่งปันผู้อื่น มีการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีสติรู้ตน รู้สิ่งที่ควรละ-ควรปล่อย-ควรผ่าน-ควรวาง มีความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความปกติสุข-ปราศจากความเบียดเบียนทั้งกาย-ใจ รู้วางใจกลางๆในการอันควร ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต คิดดี พูดี ทำดี
- ท่านเป็นสหายธรรมของหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ครูอุปัชฌาย์ของผมเอง สมัยเด็กๆจะเห็นท่านปั่นจักรยานไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่นิลเป็นประจำ และ น้อมเอาแนวปฏิบัติสายพระป่ามาเจริญปฏิบัติจนท่านสิ้นอายุขัยด้วยอายุ 90 ปี

ผมขอบุญแห่งการเผยแพร่ธรรมปฏิบัติเพื่อความมีประโยชน์สุขของท่านทั้งหลายนี้มอบให้แด่ เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา ให้ได้อยู่ในภพภูมิที่ดีงาม มีความสุขกายสบายใจ ไม่มีทุกข์กายใจใดๆ ตราบสิ้นกาลนานเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2013, 02:50:39 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ