ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถามว่า พระสงฆ์ไป รพ. รักษาฟรี หรือไม่ ครับ ทำไมต้องมาบอกขอค่ายาด้วยครับ  (อ่าน 22060 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถามว่า พระสงฆ์ไป รพ. รักษาฟรี หรือไม่ ครับ ทำไมต้องมาบอกขอค่ายาด้วยครับ

   คือ พระที่เป็นญาติ กันท่านกลับมาบ้าน ขอเงินจากโยมแม่ท่าน บอกว่าไปเป็นค่ายา ซึ่งผมเองเคยคิดว่าพระสงฆ์รักษาโรค ที่โรงพยาบาล น่าจะฟรี แต่วันนี้ รู้สึกสงสัย ว่า พระสงฆ์ไม่ได้รับการรักษา ฟรีในโรงพยาบาล ทั่วไปใช่หรือไม่ครับ

   :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตามธรรมดาทางรัฐจัดเข้าในระบบ สามสิบบาท และก็จะมีโรงพยายาบที่มีเป็นมูลนิธิ (เหมือนจะส่วนตัวของโรงพยาบาลนั้น ๆ ) และก็สุดท้าย โรงพยาบาลสงฆ์ ทั้งหมดนี้ พระสามารถเข้ารับการรักษาฟรี

ใรส่วนของสามสิบบาท ก็รักษาทั่วประเทศ ตามแนวทางของสามสิบบาท ( แต่พระไม่ต้องเสียเลยสักบาท รัฐออกให้ ) แต่ จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยายาลนั้น เท่านั้น ที่อื่น ได้เฉพาะ เหตุฉุกเฉิน ก็เหมือนกันกับทางโลก

ส่วนของที่เป็นมูลนิธิ ที่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ อาจจะมี (ไม่ทุกที่) ถ้าพระคุณเจ้ารู้ ก็สามารถไปรับการรักษาได้ โดยไม่ต้องเสียค่ารักษา แต่ข้อนี้ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ไม่เป็นที่รู้โดยทั้วไป เนื่องจากไม่ได้มีการประชาสัมพันธ์ทั้วไป อาจจะเป็นเพราะ เมื่อได้รับทรามกันมาก ก็จะแห่แหนกันไป จนอาจจะทำให้ทางมูลนิธิไม่สามารถที่จะรับค่าใช้จ่ายนี้ได้ (แนวนี้ ก็คงต้องแล้วแต่บุญกันแล้ว) และเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางแก่ผู้ป่วยที่จักต้องมีค่าใช้จ่ายมากในการรักษา แฝงเข้ามาบวชพระเพื่อต้องการที่จะรักษาตัว เพราะตัวเองไม่สามารถที่จะจ่าบค่ารักษาสูง ๆ ได้ เรื่องนี้ ทางแพทย์เขาดูแป๊ปเดียวก็รู้แล้ว ดูได้ไม่ยาก คือ มีอายุมาก เป็นโรคมาก เป็นโรคหนัก แต่พรรษาน้อย  เท่านี้ก็เข้าข่ายแล้ว แต่เขาก็รักษาให้นะ ก็ไม่ได้ว่าอะไร เพียงแต่มีการพูดคุยกันอยู่ว่า ถ้าพระกลุ่มนี้มีเพิ่มมาขึ้น ทางหน่วยงานเฉพาะที่รับจ่ายค่ารักษาให้อาจจะไม่สามารถจัดการได้ (ในอนาคตถ้ามีมาก)

ในส่วนของโรงพยาบาลสงฆ์ แน่นอนเป็นที่รู้โดยทั้วไป แต่พระสงฆ์ทั้งประเทศ ที่ต้องการจะเข้ารับการรักษา คงจะต้องเดินทางมาหาหมอกันเอง ไม่ว่าจะไปป่วยอยู่ที่ไหน เป็นการลำบากสำหรับพระสงฆ์ที่อยู่ไก ๆ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 


ขอเชิญทำบุญช่วยพระภิกษุอาพาธ

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "การดูแล และอุปัฏฐากพระภิกษุไข้ (เจ็บไข้ได้ป่วย) อานิสงส์เท่ากับได้อุปัฏฐากเราตถาคต"

๐๑. โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ
โทร. ๐๒ - ๒๔๗๑๘๒๕-๖, ๐๒ - ๓๕๔๔๓๑๐
ธนาคารกรุงไทย สาขา ถนนศรีอยุธยา
เลขบัญชี ๐๑๓-๑-๘๕๐๒๖-๑
ชื่อบัญชี "เงินบริจาคบำรุงโรงพยาบาลสงฆ์"
(หากต้องการใบอนุโมทนาแฟกซ์ใบโอนที่เบอร์ ๐๒-๓๕๔๔๒๗๓)
หมายเหตุ สามารถระบุหรือไม่ระบุได้ ๔ วัตถุประสงค์
ค่าเลือด ค่ายา ค่ารักษา บำรุงทั่ว ๆ ไป
เงินที่เข้าบัญชีนี้ ใช้นำไปรักษาพระสงฆ์อาพาธทันที

 
๐๒. มูลนิธิ โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ
โทร. ๐๒ - ๓๕๔๔๒๘๘, ๐๒ - ๓๕๔๔๒๗๘, ๐๒ - ๖๔๐๙๕๓๗, ๐๒ - ๓๕๔๔๒๙๓ ต่อ ๔๑๑๑, ๕๑๒๕
ธนาคารทหารไทย สำนักพหลโยธิน
เลขบัญชี ๐๐๑ - ๒ - ๔๖๑๘๐ - ๒
ชื่อบัญชี "มูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์"
(หากต้องการใบอนุโมทนาแฟกซ์ใบโอนที่เบอร์ ๐๒ - ๖๔๔๙๗๗๙)
หมายเหตุ สามารถระบุหรือไม่ระบุได้ ๔ วัตถุประสงค์
ค่าเลือด ค่ายา ค่ารักษา บำรุงทั่ว ๆ ไป
เงินที่เข้าบัญชีนี้ ใช้เฉพาะดอกผลเท่านั้น เงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ บาท สามารถขอตั้งและระบุชื่อกองทุนได้
 
๐๓. โรงพยาบาลจุฬาฯ
ตึกวชิรญาณวงศ์ (หอสงฆ์อาพาธจุฬา) โทร. ๐๒ - ๒๕๖๔๒๖๓
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา สภากาชาดไทย
เลขบัญชี ๐๔๕ - ๒ - ๘๘๐๐๐ - ๖
ชื่อบัญชี "สภากาชาดไทย"
เมื่อโอนแล้วต้องแฟกซ์ทุกครั้งเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ว่า เพื่อพระอาพาธจุฬาที่เบอร์แฟกซ์ ๐๒ - ๒๕๑๗๙๐๑

 
๐๔. โรงพยาบาลศิริราช
โทร. ๐๒ - ๔๑๙๗๖๕๘ - ๖๐ กด ๑๐๑ และ ๑๐๔ แฟกซ์กด ๑๓๑
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขา อรุณอัมรินทร์
ประเภทบัญชีออมทรัพย์
เลขบัญชี ๑๕๗ - ๑ - ๐๘๑๐๘ - ๓
ชื่อบัญชี "ศิริราชมูลนิธิ"
หรือ
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ศิริราช
ประเภทบัญชีกระแสรายวัน
เลขบัญชี ๐๑๖ - ๓ - ๐๐๐๔๙ - ๔
ชื่อบัญชี "ศิริราชมูลนิธิ"
เมื่อโอนแล้วต้องแฟกซ์ทุกครั้งเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ว่า เพื่อพระอาพาธศิริราชที่เบอร์แฟกซ์ โทร.
๐๒ - ๔๑๙๗๖๕๘ - ๖๐ กด ๑๓๑
 
๐๕. โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
โทร. ๐๒ - ๖๑๘๖๒๐๐
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขา คลองประปา
ประเภทบัญชีฝากประจำ ๑๒ เดือน
เลขบัญชี ๐๕๓ - ๒ - ๐๗๗๕๘ - ๒
ชื่อบัญชี "มูลนิธิเพื่อรักษาพยาบาลพระภิกษุอาพาธ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ"
แฟกซ์ ๐๒ - ๒๗๘๑๐๑๗

 
๐๖. ที่พักสงฆ์ ก.ม. ๒๗
โทร ๐๒ - ๕๒๓๖๔๔๖
ธนาคารกรุงเทพฯ สาขา ประชาชื่น
เลขบัญชี ๑๙๓ - ๐ - ๑๐๑๐๗ - ๔
ชื่อบัญชี "มูลนิธิจันทสาโร (หลุยส์)"
หากต้องการใบอนุโมทนากรุณาโทรศัพท์กราบเรียนถามพระว่าจะให้ทำอย่างไร หรือเขียนจดหมายถาม
ที่อยู่ ๗๕/๑๕ ซอยแข็งขัน ๓ ถนนพหลโยธิน ซอย ๖๔ กทม.
 
๐๗. โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จ. สุโขทัย
โทร ๐๕๕ - ๖๕๙๐๗๒
ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาทุ่งเสลี่ยม
เลขบัญชี ๔๖๐ - ๐ - ๐ ๒๒๗๕ - ๒
ชื่อบัญชี "วัดพิพัฒน์มงคล"
หากต้องการใบอนุโมทนากรุณาสอบถามก่อน
จุดเด่นของหอสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม คือ การใช้แพทย์แผนไทยเข้าร่วมการรักษาด้วย
เบอร์บัญชีนี้เป็นการสร้างอาคารหอสงฆ์อาพาธแบบชั้นเดียว จำนวน ๓๐ เตียง งบประมาณ ๙ ล้านบาท
(หากเงินเกินค่าก่อสร้างจะนำไปใช้ในการรักษาพระภิกษุสงฆ์และประชาชนต่อไป)

 
๐๘. โรงพยาบาลเลย
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาภูเรือ (จังหวัดเลย)
เลขบัญชี ๗๕๘ - ๒ - ๐๐๗๗๗ - ๔
ชื่อบัญชี "วัดป่าม่วงไข่"
ดำเนินการโดย หลวงพ่อขันตี ญาณวโร
 
๐๙. ตึกพิเศษสงฆ์ 94 ปีหลวงปู่ศรี มหาวีโร โรพยาบาลศรีสมเด็จ
ธนาคารกรุงเทพฯ
เลขบัญชี ๒๖๙ - ๔ - ๗๗๗๗๗ - ๘
ชื่อบัญชี "๙๔ ปีหลวงปู่ศรี มหาวีโร"
หรือ
ธนาคารกรุงไทย
เลขบัญชี ๔๔๘ - ๐ - ๑๐๗๖๓ - ๐
ชื่อบัญชี "๙๔ ปีหลวงปู่ศรี มหาวีโร"
ผู้ประสานงาน ๐๘๖ - ๒๔๑๔๔๔๗ ๐๘๖ - ๒๒๘๗๔๘๙
โรงพยาบาลศรีสมเด็จ ๐๔๓ - ๕๐๘๑๕๑, ๐๔๓ - ๕๐๘๑๕๓ - ๕

 



๑๐. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ธนาคารทหารไทย สาขาบ้านผือ
เลขบัญชี ๓๖๒ - ๒ - ๓๖๔๕๒ - ๓
ชื่อบัญชี "กองทุนหออภิบาลสงฆ์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในอุปถัมภ์วัดป่านาคำน้อย"
แฟกซ์ ๐๔๓ - ๓๔๘๓๙๕ ระบุ หอสงฆ์ ๑๙ ชั้น
หัวหน้าหอสงฆ์ คุณวรารัตน์ สุนทราภา ๐๔๓ - ๓๖๖๓๓๑
 
๑๑. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โทร. ๐๔๓ - ๓๖๖๓๓๑
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เลขบัญชี ๕๕๑ - ๒ - ๙๙๖๖๕ - ๘
ชื่อบัญชี "หอสงฆ์ตึก ๑๙ ชั้น"
แฟกซ์ ๐๔๓ - ๓๔๘๙๕ ระบุ หอสงฆ์ ๑๙ ชั้น

 
ทั้งรายการที่ ๑๐ และ ๑๑ หากพระภิกษุสงฆ์อาพาธเดินทางไปถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว
ไม่มีที่พักรอการตรวจ ให้พักที่วัดป่ามหาวิทยาลัย หรืออีกชื่อว่า วัดป่าโนนม่วงได้ แม้ที่สุดอาจต้องพักระยะยาวก็พักได้
 
๑๒. โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์ จ. อุบลราชธานี
โทร.๐๔๕ - ๓๑๙๓๐๐๙๘
ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาบางรัก
เลขบัญชี ๒๔๒ - ๐ - ๑๔๕๖๗ - ๐
ชื่อบัญชี "มูลนิธิ โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ์"
แฟกซ์ ๐๒ - ๖๗๓๙๙๔๐ - ๓ ๐๔๕ - ๓๑๙๓๙๙
(รายการนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารส่วนสุดท้าย
และสวนสมุนไพรไทยที่ต่อไปภายภาคหน้าอาจเป็นแพทย์ทางเลือกอีกแผนหนึ่ง)

 
๑๓. ตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลอุดร ๑๐ ชั้น ๒๐๐ ล้านบาท
ขณะนี้ทราบว่าได้เงินทำบุญ ๑๐๗ ล้านบาทแล้ว
( กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารหอสงฆ์อาพาธ ๑๐ ชั้น )
โทร ๐๔๒ - ๓๔๘๘๙๐, ๐๔๒ - ๒๘๒๒๕๘
ธนาคารกสิกรไทย สาขาเอกมัย
เลขบัญชี ๐๕๙ - ๒ - ๕๐๑๐๐ - ๙
ชื่อบัญชี "ผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กอง โรงพยาบาลอุดรธานี โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน"
หรือ
ธนาคารกสิกรไทย สาขาอุดรธานี
เลขบัญชี ๑๑๐ - ๒ - ๒๐๗๓๓ - ๓
ชื่อบัญชี "ผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กอง โรงพยาบาลอุดรธานี โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน"
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอุดร
เลขบัญชี ๕๑๐ - ๔ -๑๘๗๓๔ - ๘
ชื่อบัญชี "ผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กอง โรงพยาบาลอุดรธานี โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน"
(โอนต่างสาขาไม่เสียค่าบริการ ถามได้ที่เคาน์เตอร์ธนาคาร)
แฟกซ์ ๐๔๒ - ๒๔๔๒๔๙
 
๑๔. มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
โทร ๐๒ - ๔๑๒๒๗๕๒
ธ. กรุงเทพฯ สาขาบางกอกน้อย
เลขบัญชี ๑๑๙ - ๐ -๒๐๐๑๓๗
ชื่อบัญชี "น.ส. มานี ตั้งตรงจิต"
โอนแล้วต้องแฟกซ์ทุกครั้งเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด เช่น เป็นค่ารถ ค่าเดินทางแก่พระ
หรือค่าฟอกเลือด หรืออื่น ๆ

 
๑๕. มูลนิธิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
โทร. ๐๒ - ๔๑๒๒๗๕๒
ธ. กสิกรไทย สาขาพรานนก
เลขบัญชี ๐๑๙ - ๒ - ๒๗๕๐๒ - ๔
ชื่อบัญชี "มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"
โอนแล้วต้องแฟกซ์ทุกครั้งเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด
เช่นเป็นค่าจัดถวายภัตตาหารเลี้ยงพระที่มาพักหรือค่าอื่น ๆ
 
๑๖. โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ถนนบางนา - ตราด ก.ม. 3.5
โทร ๐๒ - ๓๖๑๒๗๒๗ ต่อ 3316 ๓๓๑๖
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบางนา - ตราด ก.ม. 3.5
เลขบัญชี ๑๑๗ - ๒ - ๐๖๙๙๙ - ๔
ชื่อบัญชี "กองทุนหลวงพ่อพุธ ฐานิโยเพื่อพระอาพาธ"
โอนแล้วต้องแฟกซ์แจ้ง ๐๒ - ๓๖๑๒๗๗๗

 
๑๗. กองทุนโลกทิพย์
โทร ๐๒-๒๔๘๓๒๙๑-๓
ธนาคารกสิกรไทย สาขา อโศกดินแดง
เลขบัญชี ๐๔๙ - ๒-๐๘๗๐๘ - ๖
ชื่อบัญชี "มงคล เนินอุไร"
โอนแล้วต้องแฟกซ์เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ทุกครั้งว่า เพื่อพระอาพาธ
แฟกซ์เบอร์ ๐๒ - ๒๔๖๖๔๖๓
(รายการที่ ๑๗ นี้หากมีพระอาพาธไม่มีค่าเดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อการรักษาหรือค่าอื่นใด
รวมทั้งค่ารักษาสามารถโทรไปแจ้งและขอได้โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องเป็นพระที่ป่วย
เพียงแต่ทำตามกติกาของโลกทิพย์เท่านั้น )
 
๑๘. โรงพยาบาลรามาธิบดี
ตึกใหม่ตึกศูนย์การแพทย์สิริกิตต์
โทร. ๐๒ - ๒๐๑๑๒๐๕, ๐๒ - ๒๐๑๒๕๒๒,๐๒ - ๒๐๑๑๖๕๕
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี
เลขบัญชี ๐๒๖ - ๒-๕๘๒๐๐ - ๐


ที่มา http://namobook.com/view_read.php?id=17
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วง

    [๑๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องร่วง นอนจมกองมูตรกองคูถของตนอยู่
     ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ได้เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุรูปนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปนั้น นอนจมกองมูตรกองคูถของตนอยู่
     ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุรูปนั้น แล้วตรัสถามว่า เธออาพาธเป็นโรคอะไรภิกษุ?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าอาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า.
             พ. เธอมีผู้พยาบาลไหมเล่า ภิกษุ?
             ภิ. ไม่มี พระพุทธเจ้า.
             พ. เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?
             ภิ. เพราะข้าพระพุทธเจ้ามิได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้นภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.


      จึงพระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอไปตักน้ำมา เราจักสรงน้ำภิกษุรูปนี้.
       ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว
       ตักน้ำมาถวาย พระผู้มีพระภาคทรงรดน้ำ ท่านพระอานนท์ขัดสี พระผู้มีพระภาคทรงยกศีรษะ ท่านพระอานนท์ยกเท้าแล้ววางบนเตียง



       ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ในวิหารหลังโน้น มีภิกษุอาพาธหรือ ภิกษุทั้งหลาย?
             ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า
             พ. ภิกษุรูปนั้นอาพาธเป็นโรคอะไร ภิกษุทั้งหลาย?
             ภิ. ท่านรูปนั้น อาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า.
             พ. ภิกษุรูปนั้น มีผู้พยาบาลไหมเล่า ภิกษุทั้งหลาย?
             ภิ. ไม่มี พระพุทธเจ้า
             พ. เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?
             ภิ. เพราะท่านรูปนั้นมิได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาล
ท่านรูปนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึงพยาบาลพวกเธอ ถ้าพวกเธอจักไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล

     
   
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุอาพาธ
     ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย


     ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์
     สงฆ์ต้องพยาบาล ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฏ.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๔๓๕๗ - ๔๓๙๓. หน้าที่ ๑๗๘ - ๑๘๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=4357&Z=4393&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://board.palungjit.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีญาติ ที่เป็นพระ คะ ไปโรงพยาบาล รัฐประจำจังหวัด ก็ไม่ฟรี คะ ต้องใช้บัตรทอง กับ บัตรประกันสังคม ด้วยคะมีบางรายการรต้องจ่ายเองด้วยคะ

  ไม่ใช่ว่าพระสงฆ์ จะรักษาฟรี ที่โรงพยาบาล ทุกที่นะคะ ถ้าเป็นเอกชน ก็ต้องจ่ายเช่นกันคะ
 
  ถ้าเป็นรัฐบาล จะมีการเรียกบัตรทอง บัตร 30 บาท ถ้าไม่มี ก็ต้องไปสมัครคะ สิทธิก็เหมือนประชาชนชาวไทย ทั่วไปพื้นฐาน นั่นแหละคะ มีทั้งที่ต้องจ่าย ด้วย และ ฟรีด้วยคะ แต่เป็นไปตามมาตรฐาน เหมือนกัน

 :s_hi:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
อันตรายิกธรรม โรค ๕ ชนิด
     
      [๑๐๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ในมคธชนบทเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิด คือ
      โรคเรื้อน ๑ โรคฝี ๑ โรคกลาก ๑ โรคมองคร่อ ๑ โรคลมบ้าหมู ๑
      ประชาชนอันโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้วได้เข้าไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
      ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วย.


      ชี. เจ้าทั้งหลาย ฉันน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ฉันต้องถวายอภิบาลพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฉันไม่สามารถจะช่วยรักษาได้.
      ป. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งหมดยกให้ท่าน และพวกข้าพเจ้ายอมเป็นทาสของท่าน
ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วย.
      ชี. เจ้าทั้งหลาย ฉันน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ฉันต้องถวายอภิบาลพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฉันไม่สามารถจะช่วยรักษาได้.

      จึงประชาชนพวกนั้นได้คิดว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติเป็นสุขมีความประพฤติสบาย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้ากระไร พวกเราพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ในที่นั้น ภิกษุทั้งหลายจักพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์จักรักษา.
      ต่อมา พวกเขาพากันเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา.
      ภิกษุทั้งหลายให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท แล้วต้องพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์ต้องรักษาพวกเขา
.


     
      สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพยาบาลภิกษุอาพาธมากรูป ย่อมเป็นผู้มากด้วยการขอร้องมาก
      ด้วยการขออยู่ว่า ขอจงให้อาหารสำหรับภิกษุอาพาธ ขอจงให้อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุอาพาธ
      ขอจงให้เภสัชสำหรับภิกษุผู้อาพาธ.
      แม้หมอชีวกโกมารภัจจ์มัวรักษาภิกษุอาพาธมากรูป ได้ปฏิบัติราชการบางอย่างบกพร่อง.
      บุรุษแม้คนหนึ่ง ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้วก็เข้าไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แล้วกราบเรียนว่า
      ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษากระผมด้วย.


      ชี. เจ้า ข้าน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ต้องถวายอภิบาลพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ข้าไม่สามารถจะช่วยรักษาได้.
      บุรุษ. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งหมดยกให้ท่าน และกระผมยอมเป็นทาสของท่าน ขอโอกาสท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษากระผมด้วย.
      ชี. เจ้า ข้าน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ต้องถวายอภิบาลพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ข้าไม่สามารถจะช่วยรักษาได้.


      จึงบุรุษนั้นได้คิดว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติเป็นสุข มีความประพฤติสบาย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้ากระไร เราพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
     ในที่นั้น ภิกษุทั้งหลายจักพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์จักรักษา เราหายโรคแล้วจักสึก
     จึงบุรุษนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลายให้บุรุษนั้นบรรพชาอุปสมบทแล้วต้องพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์ต้องรักษาภิกษุนั้น. ภิกษุนั้นหายโรคแล้วสึก.


     
      หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้เห็นบุรุษนั้นสึกแล้ว จึงได้ไต่ถามบุรุษนั้นว่า เจ้าบวชในสำนักภิกษุมิใช่หรือ?
      บุรุษ. ใช่แล้วขอรับ ท่านอาจารย์.
      ชี. เจ้าได้ทำพฤติการณ์เช่นนั้น เพื่อประสงค์อะไร?
      จึงบุรุษนั้น ได้เรียนเรื่องนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ทราบ.


      หมอชีวกโกมารภัจจ์ จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
      ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงได้ให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้วบวชเล่า.
      ครั้นแล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคว่าข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส

      ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไม่พึงยังกุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้ว ให้บวช.

      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถา.
      ครั้นหมอชีวกโกมารภัจจ์อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วกลับไป.


ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ
      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
     ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิด กระทบเข้าแล้ว ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๒๘๗๖ - ๒๙๓๒. หน้าที่ ๑๑๗ - ๑๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=2876&Z=2932&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=101
http://www.g-pra.com/,http://www.dhammathai.org/,http://www.polyboon.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2013, 11:41:14 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ข้อมูลสิทธิบัตรทอง ประเภทของบัตรทอง

บัตรทอง 30 บาท ใครมีสิทธิ์ได้รับบัตรทอง ประชาชนคนไทยทุกคนได้รับหมด ยกเว้นผู้ที่ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลตามกฎหมายหรือระเบียบอื่นๆที่รัฐกำหนดอยู่ก่อนแล้ว ดังนี้
    - ข้าราชการและลูกจ้างประจำของรัฐ พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งบิดา มารดา คู่สมรสและบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
    - บุคคลผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม


    บัตรทองมี 2 ประเภท
       1. บัตรทองสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ถือบัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเมื่อมารับบริการครั้งละ 30 บาท
       2. บัตรทองประเภท ท ผู้ถือบัตรไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ผู้พิการ พระภิกษุ ผู้นำศาสนาทุกศาสนา ผู้นำชุมชน ทหารผ่านศึก ผู้มีรายได้น้อยกว่าเดือนละ 3,000 บาท


     เมื่อท่านประสบอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินจะทำอย่างไร ท่านที่มีบัตรทอง ไม่ว่าจะมีชื่อสถานพยาบาลใด
     สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการได้ทุกแห่ง ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเมื่อมารับการรักษาพยาบาล เมื่อมารับบริการที่สถานพยาบาล ขอให้นำบัตรประชาชนของผู้รับบริการมาแสดงพร้อมบัตรทอง


     ท่านที่มีบัตรทองระบุชื่อสถานพยาบาลอื่น เมื่อเจ็บป่วยจะทำอย่างไร.?
     ขอให้ท่านไปรับบริการกับสถานพยาบาลที่ระบุในบัตรทองเป็นอันดับแรก



    สิทธิที่ผู้ถือบัตรทองพึงได้รับ โดยเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 30 บาท ดังนี้
      - ตรวจรักษาโรค และได้รับยาที่จำเป็นตามบัญชียาหลักแห่งชาติ
      - ล้างแผล เย็บแผล ผ่าตัด
      - ฝากครรภ์ ทำคลอด ทำหมัน วางแผนครอบครัว
      - ฉีดเซรุ่ม
      - รับวัคซีนป้องกันโรคพื้นฐาน
      - รักษาโรคฟันต่าง ๆ ได้แก่ ขูนหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ทำฟันปลอมฐานพลาสติก
      - อวัยวะเทียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรคภายในร่างกาย ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
      - ค่าห้องและค่าอาหารแบบผู้ป่วยสามัญ


    การรักษาประเภทใดที่ผู้ถือบัตรทองต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
      - การผ่าตัดเสริมสวย
      - การตกแต่งฟันเพื่อความสวยงาม
      - แว่นตา
      - อวัยวะเทียม / อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
      - การรักษาภาวะมีบุตรยาก การผสมเทียม
      - การเปลี่ยนเพศ
      - การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
      - การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
      - วัคซีนป้องกันโรคที่ไม่ได้จัดเป็นบริการพื้นฐาน
      - การทำไตเทียมแบบฟอกเลือด (ไตวายเรื้อรัง) ยกเว้นกรณีไตวายเฉียบพลัน แต่ไม่เกิน 60 วัน
      - การรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านเชื้อไวรัส ยกเว้นกรณีติดเชื้อแทรกซ้อน
      - การรักษากับแพทย์เฉพาะทาง โดยไม่ผ่านการส่งตัวจากสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรทองค่ะ


คุณสามารถสอบถามได้ที่ โครงการ 30 บาท กระทรวงสาธารณสุข โทร. 02-5901574 Hot line 1330 ค่ะ


ที่มา http://www.loenghospital.cathosting.in.th/knowledgebank/sourceview.jsp?km_id=s00025
ขอบคุณภาพจาก http://4.bp.blogspot.com/,http://www.dailynews.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถามว่า พระสงฆ์ไป รพ. รักษาฟรี หรือไม่ ครับ ทำไมต้องมาบอกขอค่ายาด้วยครับ

   คือ พระที่เป็นญาติ กันท่านกลับมาบ้าน ขอเงินจากโยมแม่ท่าน บอกว่าไปเป็นค่ายา ซึ่งผมเองเคยคิดว่าพระสงฆ์รักษาโรค ที่โรงพยาบาล น่าจะฟรี แต่วันนี้ รู้สึกสงสัย ว่า พระสงฆ์ไม่ได้รับการรักษา ฟรีในโรงพยาบาล ทั่วไปใช่หรือไม่ครับ

   :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:


 ans1 ans1 ans1
     
     การรักษาพยาบาลผู้ป่วย มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ขึ้นอยู่ว่า "จะนำเงินจากแหล่งไหนมาจ่าย"
     ดังนั้น ไม่ควรเรียกว่า ฟรี ควรเรียกว่า "ใช้สิทธิ์ที่พึ่งมีพึ่งได้"


     พระภิกษุเข้าโรงพยาบาล อาจใช้สิทธิ์ได้ดังนี้
        ๑. บัตรทอง(๓๐ บาท)
        ๒. มูลนิธิประจำโรงพยาบาลนั้นๆ เป็นผู้จ่ายให้
        ๓. บัตรประกันสังคม กรณีลูกจ้างเอกชน (บวชชั่วคราว)
        ๔. ใช้สิทธิ์ข้าราชการ ในกรณีเป็นข้าราชการ (บวชชั่วคราว)
        ๕. บริษัทประกันชีวิตเป็นผู้จ่าย กรณีทำประกันไว้
        ๖. มีโยมอุปฐาก อาจเป็นญาติหรือผู้ปราวารณาเอาไว้ ออกค่าใช้จ่ายให้


     เท่าที่สังเกต โรงพยาบาลของรัฐ มีช่องทางด่วนให้พระภิกษุ
     เช่น ได้รับการตรวจก่อน ได้รับยาก่อน เป็นต้น 
     ในพระวินัยพระพุทธเจ้า ได้บัญญัติหน้าที่ของอุปัชฌาย์ เกี่ยวกับโรคต้องห้ามและการอาพาธ ไว้ดังนี้
     อุปัชฌาย์ต้องเป็นผู้สำรวจในเบื้องต้นว่า ผู้ขอบวชต้องไม่เป็นโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้
     และในที่สุด เมื่อมีภิกษุรูปใดอาพาธ อุปัชฌาย์ต้องเป็นคนแรกที่เข้าไปดูแลรักษา
     แต่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพื่อนๆมีความเห็นอย่างไรครับ

      :25:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2013, 06:45:08 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nithi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นไปตามที่ คุณ nathaponson ตอบไปตามลำดับ ครับ

   พระ ที่บวชแล้ว ก็ได้รับการเยียวยา รักษา อย่างนั้น ครับ ปัจจุบันนี้มียานอกบัญชี สิทธิ์ อยู่จำนวนมากครับ ขนาดเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลก็ยังต้องจ่าย เลยนะครับ เท่าที่ทราบ เขาเรียกว่าค่าใช้จ่ายยานอกระบบ เป็นยาขั้นสูง เกินยาสามัญ ทั่วไป สั่งนำเข้ามาให้กับผู้ที่ อันจะกิน และ รักษาได้หายขาด ครับ เป็นยาที่คุณภาพสูง

   แต่ส่วนใหญ่ โรงพยาบาล ก็จะดูแลไปตามระดับ เริ่มตั้งแต่เบื้องต้น ปวดหัว ก็พารา เจ็บคอ ก็ อะม็อก หนักขึ้นไปก็เป็นให้น้ำเกลือ สูงขึ้นมาก็เป็นยาฉีด ส่วนมากเวลาเราไปคลีนิก คุณหมอไม่ค่อยให้ยากิน จับฉีดยาทั้งนั้นครับ เพราะยาฉีดจะออกฤกธิ์ได้ไว กว่ายาทาน

   สำหรับเรื่องอุปัชฌาย์ สมัยปัจจุบันนี้ อุปัชฌาย์มีหน้าที่บวช การดูเแลเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสที่รับพระนั้นอยู่ครับ ถึงจะระเบียบส่งฆ์ว่า มีเหตุกรณีใดๆ ก็ให้อุปัชฌาย์ออกหน้า แต่ความเป็นจริง ไม่ใช่อย่างนั้นครับ

   เดี๋ยวนี้การบวชอย่างใน กทม. ต้องมีการแจ้งความ ขอใบรับรองประวัติจาก สถานีตำรวจแล้วนะครับ เพราะว่าใน กทม. จะมีการกลั่นกรอง รับรองความประพฤติ เ้พิ่มรู้สึกว่าเป็นระเบียบบังคับแล้ว

        1.ใบรับรองแพทย์ ว่าไม่มีโรคติดต่อ
        2.ใบรับรองความประพฤติ ไม่ต้องคดี ใด ๆ จาก สถานีตำรวจ
        3.ใบรับรองประวัติจาก บิดา มารดา  ภรรยา
       
      thk56

 
บันทึกการเข้า
ขุมทรัพย์แห่ง ความหลุดพ้น ปรากฏอยู่ที่พระไตรปิฏก อ่านพระไตรปิฏก มาก ๆ
 ก็จะเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ ของจริงต้องตาม พุทธวัจนะ