ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าเราเชื่อแต่ พุทธวัจน์ ประมาณนี้ แล้ว พระวินัย พระอภิธรรม จำเป็นหรือไม่ ครับ  (อ่าน 3797 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ถ้าเราเชื่อแต่ พุทธวัจน์ ประมาณนี้ แล้ว พระวินัย พระอภิธรรม จำเป็นหรือไม่ ครับ

คือ ผมได้ไปนั่งสนทนา กับพระคุณเจ้า หลายรูป บางรูป ก็ให้ความเห็นว่า ควรเชื่อแต่พุทธว้จน์ พระไตรปิฏก เช่นพระอภิธรรม นั้นควรตัดทิ้ง เพราะเป็นคำสอนของ พระเถระสาวก มีต้นกำเนิดจากพระสารีบุตร ไม่ใช่พระพุทธเจ้า

บางองค์ ก็บอกว่า ไม่ควรตัดออกเลย แต่เหตุผล ไม่ได้กล่าว เพียงแต่กล่าวว่า ไม่ให้เอาออกเท่านั้น

คำถามคือ
   1.ถ้าผมเชื่อ พุทธวัจน์ ในพระไตรปิฏก เหลือ กี่ ธรรมขันธ์ ครับ
   2.ถ้าในสมัยต่อไป คนตัดพระไตรปิฏ เหลือแต่ พุทธวัจน์ เท่านั้น เท่ากับเราเป็นต้นเหตุทำให้ศาสนา เสือมลงไปใช่หรือไม่ครับ


  thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ครั้งที่พระพุทธองค์จะทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น ได้ทรงให้พุทธานุญาติกล่าวฝากไว้กับพระพุทธอนุชาอานนท์ว่า สิกขาบทบางข้อนั้นตัดลดทอนได้ตามแต่สงฆ์เห็นสมควรเถิด แต่ครั้งเริ่มปฐมสังคายนาโดยมีพระมหากัสสปเถระเป็นองค์ประธานนั้นกลับไม่เห็นด้วยในอันที่จะลดทอนสิกขาบทเดิมที่มีมาแล้วโดยพุทธดำรัสมากถึง ๑๕๐ ข้อ จะมีเพียงข้อเสขิยะวัตร ๗๕ ที่มีเพียงให้ภิกษุพึงแต่ศึกษาว่าเท่านั้น ไม่ถึงปรับผิดขั้นพร่องต้องปลงต่อภิกษุ,คณะ หรือสงฆ์ หากแต่ครั้งนั้นพระมหาเถระทั้งหลายมีพระมหากัสสปะประธานสงฆ์พิจารณาเห็นควรผนวกเพิ่มเข้าไว้ในสิกขาบทให้ปรับภิกษุผู้ต้องเป็น “ทุกกฏ” ซึ่งเป็นอาบัติขั้นเบาปลงประจานเสียแก่กันและกันก็มิพร่องศีลสิกขาแล้ว นี้เป็นข้อที่ผมยกมากล่าวพูดคุยไว้ให้พิจารณากัน แต่อาจจะมีบางสำนักที่พิจารณาในข้อสิกขาบทยกไว้ไม่เอาเป็นข้อวัตรทิ้งเสีย ๗๕ นั้นไป คงไว้ตามแต่ท่านพิจารณาเห็นเพียง ๑๕๐ นั้นก็ได้ นี่เป็นการกล่าวอ้างในคำที่ว่าฉันจะให้ความสำคัญแต่เพียงพุทธวัจนะเท่านั้นนะ ซึ่งก็สุดแต่ท่านเสมือนกับการปฏิรูปเอาเพียงตัวไม่มั่วกับใคร สำนักไหน จึงดูแผลงทะแยงมุมจนถูกกล่าวหาว่ากระทำสังฆเภทอย่างสงฆ์บางรูปที่เรารู้คุ้นเคยไม่ต้องเอ่ย ผมได้มีโอกาสไปกราบครูอาจารย์สายวัดป่ารูปหนึ่ง ซึ่งท่านกรุณากล่าวเล่าพูดคุยถึงปฏิปทาหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ไว้แต่ครั้งยังเยาว์อยู่ศึกษาธรรมภาวนาว่า หลวงตาท่านนั้นเอาจริงเอาจังกับกิเลสมากแม้บิณฑบาตรก็ไม่สำรวมเดินเช่นสงฆ์ทั่วไปแต่กลับวิ่งเยาะๆจนเณรมาใหม่อย่างท่านพระอาจารย์(สมชิด สํวโร วัดป่าสันติธรรม ต.ลำพญากลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี)ตามไม่ทัน นี่เป็นกรณีหนึ่งที่ผมกำลังจะกล่าวว่าสิกขาบทในข้อเสขิยะ ๗๕ นั้น เป็นเพียงภิกษุพึงศึกษาว่าตามพุทธดำรัส หรือจะปรับอาบัติทุกกฎตามที่มีมาแต่ครั้งปฐมสังคายนา จากมิติข้อที่กล่าวผมกำลังให้ข้อพิจารณาอย่างนี้ กล่าวคือ ข้อพิจารณาธรรมตามหลักการพุทธบัญญัติเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่คงไว้เป็นหลักเกณฑ์แก่ผู้ภายหลังศึกษาเอาตามภูมิธรรมวาสนา หาใช่การรู้รักษาภาวนาอย่างเยื่องผู้เปี่ยมล้นแล้วเช่นสงฆ์พ่อแม่ครูบาอาจารย์บางรูปที่เราท่านรู้อยู่แก่ใจว่าใคร ดังนั้นข้อกังขานี้เท่ากับปิดกั้นตนเองอย่างแรงในการศึกษาภาวนาเที่ยวหาถามแก่นแกนไม่พ้อเอากระพี้ ถ้าอย่างนี้ไปศึกษาพระกรรมฐานดั้งเดิมวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เสียดีไหมครับ! ซึ่งพระกรรมฐานสายนี้เป็นการศึกษารวบรวมส่งตกทอดมามากกว่าสองพันห้าร้อยปีมีพระราหุลศากยะบุตรพุทธชิโนรสเป็นปฐมบรมสังฆาจารย์ ซึ่งพระอาจารย์ราหุลอริยะมหาเถระบวรเจ้านั้นท่านตามศึกษากับด้วยพระเถระผู้เอกฑัคคะทั้งหลายจนสิ้นกระทั้งที่สุดพระพุทธองค์เอง พระอาจารย์ราหุลพุทธชิโนรสจึงรวบรวมจารไว้เป็นตำราคัมภีร์มัชฌิมาและมีหลักฐานรักษ์คงไว้เพียงแห่งเดียวที่คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) โดยมีพระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร) เป็นเถระสังฆาจารย์ผู้กล่าวสอนเนื่องอยู่เชื่อไม่เชื่ออยู่ที่คุณพิจารณาไขว่คว้าเอาหาเช่นนั้นไปโน้นเลยวัดพุทธพรหมปัญโญ (ถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นใครไปรู้จักเอาเอง.....สวัสดี!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2013, 09:43:39 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สังฆเภท

      [๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า
      พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก

      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
         ๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
         ๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
         ๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
         ๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย

         ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
         ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
         ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมา
         ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมา
         ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้
        ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
        ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
        ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
        ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
        ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
        ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
        ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
        ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
        ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ

      พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้
      ย่อมแยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม
      ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว
_________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=7&A=4078&Z=4189&pagebreak=0


http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13028.0
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


      ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

     ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันปรินิพพานพระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดให้เป็นศาสดาสืบต่อจากพระองค์ นอกจากจะทรงประทานพุทธพจน์ที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของพระองค์ไว้ว่า พระธรรมและวินัยที่มีเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว นี่แสดงว่าในสมัยพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้นยังไม่มีพระไตรปิฎกบันทึกคำสอน

     ดังที่เราทราบกันอยู่ในปัจจุบัน พุทธวจนะหรือคำสอนของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกกันในสมัยนั้น ๒ อย่าง (เสฐียรพงฆ์ วรรณปก,๒๕๔๓:๔) คือ

     ๑. เรียก พฺรหฺมจริย (พรหมจรรย์) ดังพุทธวจน์ที่ตรัสเมื่อครั้งทรงส่งพระอรหันตสาวก ๖๐ รูป ไปเผยแผ่พระศาสนาครั้งแรกว่า
     จรถ ภิกฺขเว, จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย, อตฺถาย หิตาย สุขาย, เทวมนุสฺสานํ เทเสตุ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพ?ชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสสิฯ
      ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายพวกเธอจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

      ๒. เรียกว่า ธมฺมวินเย (ธรรมวินัย) ดังพุทธวจนะที่ตรัสแก่พระอานนท์ พุทธอนุชา ก่อนเสด็จดับขันฐปรินิพพานว่า
      โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ป?ฺ?ตฺโต. โส โว มมจฺจเยนฯ
      ดูกรอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่ตถาคตแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้ว ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของพวกเธอ เมื่อตถาคตล่วงลับไปแล้ว


      ans1 ans1 ans1

     ที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการแบ่งพระพุทธวจนะไว้เป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน ยังไม่มีคำว่า “พระไตรปิฏก” หากแต่เรียกว่า           
     “ธรรมวินัย” การจัดหลักธรรมคำสอนเป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบหมวดหมู่ที่เรียกว่า “การทำสังคายนา” นั้น เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก สมัยหลังพุทธปรินิพพานได้ประมาณ ๓ เดือน ที่เมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย ซึ่งสมัยต่อมาก็ได้มีการทำสังคายนาขึ้นนอกประเทศอินเดียติดต่อกันมาประมาณ ๕ ครั้ง ได้แก่

    การสังคายนาครั้งที่ ๒ จัดทำขึ้นที่เมือง โดยมี เป็นประธาน มี เป็นผู้อุปถัมภ์ ใช้เวลาประมาณ เดือน/ปี
    การสังคายนาครั้งที่ ๓ จัดทำขึ้นที่เมือง โดยมี เป็นประธาน มี เป็นผู้อุปถัมภ์ ใช้เวลาประมาณ เดือน/ปี
    การสังคายนาครั้งที่ ๔ จัดทำขึ้นที่เมือง โดยมี เป็นประธาน มี เป็นผู้อุปถัมภ์ ใช้เวลาประมาณ เดือน/ปี
    การสังคายนาครั้งที่ ๕ จัดทำขึ้นที่เมือง โดยมี เป็นประธาน มี เป็นผู้อุปถัมภ์ ใช้เวลาประมาณ เดือน/ปี   
    (ส่วนนี้ รอเพิ่มตัวเลข)

       
    พระพุทธวจนะแต่เดิมใช้วิธีการสืบทอดด้วยการท่องบ่นสาธยาย ต่อมาหลังการทำสังคายนาแล้วได้รับการจารึกหรือจารเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรคเมื่อประมาณ พ.ศ. ที่ประเทศศรีลังกา การกระทำสังคายนาที่ถือกันว่ามีผลทำให้เกิดคำเรียกการประมวลหลักพระธรรมวินัยว่า “พระไตรปิฎก” เกิดขึ้นเมื่อไรนั้น มีผู้รู้ได้แสดงทัศนะที่น่าสนใจหลายประการ เช่น


     ask1 ask1 ask1

พระเมธีรัตนดิลก (๒๕๓๕ : ๙) ได้ให้ข้อสังเกตว่า
การสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ นี้มีเรื่องปรากฎในคัมภีร์จุลวรรคแห่งพระวินัยปิฎก ซึ่งนักปราชญ์สันนิษฐานว่า คงใส่เพิ่มเข้าไว้เมื่อทำสังคายนาครั้งที่ ๓ อนึ่ง ในหนังสือชั้นคัมภีร์บาลีพระไตรปิฎก ในสังคายนาครั้งที่ ๑ และ ๒ ไม่มีคำว่า “ปิฎก” เลย ใช้คำว่าสังคายนาพระธรรมวินัย หรือ วินัยวิสัชนา ธรรมวิสัชนา แต่มีคำอธิบายรายละเอียดในสมันตปาสาทิกา อรรถกถาวินัยปิฎก


    ซึ่งสอดคล้องกับ เสฐียรพงษ์ วรรณปก (๒๕๔๓ :๙-๓๑) ที่กล่าวว่า
    “ถ้าอ่านประวัติการทำสังคายนาตั้งแต่ต้นจะสังเกตได้ว่า สังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ เท่านั้นมีบันทึกอยู่ในพระไตรปิฎก คือมีอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ ข้อ ๖๑๔–๖๖๔ หน้า ๓๗๙–๔๒๓ วินัยปิฎก จุลวรรค นอกนั้นไม่มีกล่าวถึง และการกล่าวถึงสังคายนาทั้ง ๒ ครั้งนี้ ไม่ได้กล่าวถึง “พระไตรปิฎก” ใช้คำว่า “ธัมมวินัยสังคีติ” (การสังคายนาพระธรรมและวินัย) แสดงว่า พระพุทธวจนะนั้นยังไม่มีการจัดแบ่งเป็น”ปิฎก” หากเรียกรวม ๆ ว่า “ธรรมวินัย” เท่านั้น ต่อมาธรรมวินัยได้ขยายออกเป็น ๓ ส่วน แต่ละส่วนเรียกกันว่า “ปิฎก” คือธรรม ขยายเป็น สุตตันตปิฎก กับอภิธรรมปิฎก ส่วนวินัยคงเป็นวินัยปิฎก”





    เสฐียรพงษ์ วรรณปก (๒๕๔๓ :๑๐-๑๑) ได้สรุปเกี่ยวกับการจัดรูปแบบและประเภทของพระพุทธวจนะหรือพระธรรมวินัยดังกล่าว ดังต่อไปนี้
    ในศิลาจารึกที่ค้นพบที่สาญจิสถูป (ซึ่งจารึกไว้ในต้นพุทธศตวรรษที่ ๓ ก่อนสมัยพระเจ้าอโศก) มีรายนามผู้สร้างส่วนต่าง ๆ ของพระสถูปปรากฎอยู่ พร้อมกับคุณศัพท์แสดงคุณสมบัติของบุคคลนั้นๆ เช่น
                           
     ธมฺมกถิกา   ผู้กล่าวธรรมทั้งหลาย
     เปฏกินฺ   ผู้ทรงจำปิฎกทั้งหลาย
     สุตฺตนฺติกา   ผู้ทรงจำพระสูตร
     สุตฺตนฺติน   สตรีผู้ทรงจำพระสูตร
     ปจฺเนกายิการ    ผู้ทรงจำนิกายทั้ง ๕

   
ในศิลาจารึกพระเจ้าอโศกซึ่งถูกค้นพบที่ ภาบรา มีข้อความอ้างถึงพระสูตรต่าง ๆ ที่พระเจ้าอโศกทรงพิจารณาเห็นว่าดี และทรงแนะนำให้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หมั่นสดับตรับฟังและพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ เช่น

     อริยวํสานิ  วงศ์แห่งพระอริยะ ทั้งหลาย
     อนาคตภยานิ ภัยในอนาคตทั้งหลาย
     มุนีคาถา  คาถาของพระมุนี
     โมเยยฺยสุตฺต   สูตรว่าด้วยความเป็นมุนี
     อุปติสฺสปสิน  ปัญหาของพระอุปติสสะ


     คำแรกประกฎอยู่ในทีฆนิกาย สังคีติสูตร คำที่สองมีอยู่ในอังคุตตรานิกาย ปัญจกนิบาต คำที่สามปรากฎใน ขุททกนิกาย สุตตนิบาต คำที่สี่มีอยู่ทั้งใน อังคตตรนิกาย และขุททกนิกาย อิติวุตตกะ คำสุดท้ายหมายถึง ปัญหาของพระสารีบุตร มีทั่วไปในพระสูตรต่าง ๆ ไม่ทราบว่าพระเจ้าอโศกทรงเจาะจงเรื่องใด

      :25: :25: :25:

     จากหลักฐานทั้งสองแห่งนี้ กล่าวได้ว่า หลังจากสังคายนาครั้งที่สองเป็นต้นมา พระพุทธวาจนะหรือพระธรรมวินัยถูกจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ในชื่อว่า “ปิฎก” และ “นิกายทั้งห้า”(ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย) แล้ว ระยะแห่งพัฒนาการของพระไตรปิฎกคงกินเวลายาวนานเกือบศตวรรษ กว่าจะลงตัวเป็นพระไตรปิฎกที่สมบูรณ์ และเชื่อว่าพอตกถึงรัชสมัยพระเจ้าอโศก พระไตรปิฎกคงสมบูรณ์ทุกคัมภีร์แล้ว
     ด้วยปรากฎหลักฐานบางแห่ง (อาทิ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก) บอกว่า คัมภีร์กถาวัตถุ หนึ่งในจำนวนพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ได้ถูกรจนาและผนวกเข้าไว้ในอภิธรรมปิฎก โดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เมื่อคราวทำสังคายนาครั้งที่สาม

    เหตุผลสนับสนุนอีกประการหนึ่งคือ ในพระไตรปิฎกไม่มีข้อความใดกล่าวถึงพระเจ้าอโศกเลย แสดงว่าพระไตรปิฎกสำเร็จเป็นรูปร่างสมบูรณ์แล้วก่อนสมัยพระเจ้าอโศก ซึ่งก็สอดคล้องกับทัศนะของพระเทพโสภณ(ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระเมธีธรรมาภรณ์ ๒๕๓๕:๑๓๒) ที่กล่าวว่า
    “ในการสังคายนาครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองซึ่งจัดขึ้นใน พ.ศ.๑๐๐ ยังไม่มีการแบ่งพระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน การจัดประเภทพระธรรมวินัย เป็นพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน การจัดประเภทพระธรรมวินัยเป็นรุปพระไตรปิฎก มีขึ้นในการสังคายนาครั้งที่ สาม ในพ.ศ.๒๓๕ จัดขึ้น ณ เมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย

      :96: :96: :96:

     พระไตรปิฎก ประกอบด้วยคัมภีร์สำคัญ ๓ ปิฎก คือ
     - พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัย หรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์
     - พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตร หรือเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่าง ๆ ในเวลาและสถานที่ต่างกัน เป็นรูปคำสนทนาโต้ตอบบ้าง เป็นรูปร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง ตลอดถึงเทศนาของพระสาวกองค์สำคัญ
     - พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมต่าง ๆ ที่อธิบายในแง่วิชาการล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคล หรือเหตุการณ์ ส่วนมากเป็นคำสอนด้านจิตวิทยา และอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา (เสฐียรพงษ์ วรรณมา, ๒๕๔๓ : ๓)

    เนื้อความทั้งหมดของพระไตรปิฎกจัดแบ่งเป็นหมวดๆ หรือ ขันธ์ มีจำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น
    พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
    พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และ
    พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์


อ้างอิง : บทความ "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก" โดย ดร.ประมูล สารพันธ์ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
ที่มา http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/menu2_2.htm
ขอบคุณภาพจาก
http://www.tong9.com/
http://img.ryt9.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

ถ้าเราเชื่อแต่ พุทธวัจน์ ประมาณนี้ แล้ว พระวินัย พระอภิธรรม จำเป็นหรือไม่ ครับ

คือ ผมได้ไปนั่งสนทนา กับพระคุณเจ้า หลายรูป บางรูป ก็ให้ความเห็นว่า ควรเชื่อแต่พุทธว้จน์ พระไตรปิฏก เช่นพระอภิธรรม นั้นควรตัดทิ้ง เพราะเป็นคำสอนของ พระเถระสาวก มีต้นกำเนิดจากพระสารีบุตร ไม่ใช่พระพุทธเจ้า

บางองค์ ก็บอกว่า ไม่ควรตัดออกเลย แต่เหตุผล ไม่ได้กล่าว เพียงแต่กล่าวว่า ไม่ให้เอาออกเท่านั้น

คำถามคือ
   1.ถ้าผมเชื่อ พุทธวัจน์ ในพระไตรปิฏก เหลือ กี่ ธรรมขันธ์ ครับ
   2.ถ้าในสมัยต่อไป คนตัดพระไตรปิฏ เหลือแต่ พุทธวัจน์ เท่านั้น เท่ากับเราเป็นต้นเหตุทำให้ศาสนา เสือมลงไปใช่หรือไม่ครับ


  thk56 thk56 thk56


   ans1 ans1 ans1

   ตอบข้อแรก ความจริงแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเดิมเรียกว่า "ธรรมวินัย" แบ่งเป็นธรรม และวินัย
   ต่อมา "ธรรม" ถูกขยายเป็น สุตตันตปิฎก กับอภิธรรมปิฎก ส่วน"วินัย"คงเป็นวินัยปิฎก รวมเป็นไตรปิฎก
   พระไตรปิฎกจัดแบ่งเป็นหมวดๆ หรือ ขันธ์ มีจำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น
      - พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
      - พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และ
      - พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

   ปัญหามีอยู่ว่า คำว่า "พุทธวจนะ" หมายถึงอะไร.?
   หากหมายเอาเฉพาะ พระวินัยปิฎก และ พระสุตตันตปิฎก แล้ว
   "พุทธวจนะ" จะเท่ากับ ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (๒๑,๐๐๐ บวก ๒๑,๐๐๐)
   หากนับเฉพาะคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จะเป็นเรื่องใหญ่ทันที
   เพราะในพระสุตตันตปิฎก มีคำกล่าวของ อริยสาวก เช่น พระสารีบุตร รวมอยู่ด้วย
   จะให้ผมไปนับ คงเป็นเรื่องเหลือวิสัย ไม่ใช่ฐานะของผม เรื่องนี้จึงให้ความกระจ่างไม่ได้

   อีกอย่างอรรถกถาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระอภิธรรมปิฎกก็เป็น "พุทธวจนะ"
   โดยให้สังเกตว่า ข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก มีปรากฏเป็น "พุทธวจนะ" อยู่ในพระสุตตันตปิฎก
   เรื่องปริยัติปวดหัวครับ ระดับเราๆ ปฏิบัติให้เกิดปฏิเวธ..จะดีกว่า

   
   ตอบข้อสอง การอันตรธานของศาสนาพุทธมี ๓ อย่าง คือ
   ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน และปฏิบัติอันตรธาน
   ปริยัติถือว่า เป็นสิ่งสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา.
 
   ก่อนอื่น ขอให้แยกความเป็นไปของโลก กับสัทธรรมของพระพุทธเจ้าออกจากกัน
   สัทธรรมเป็นอกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล ไม่มีวันเสื่อม
   ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้าหรือไม่ สัทธรรมก็เป็นความจริงอยู่อย่างนั้น ไม่มีวันเปลี่ยน
   ส่วนโลกนั้น ไม่มีอะไรเที่ยง ความเป็นไปของสังคมบนโลกก็ไม่เที่ยง
   เกิดมาตั้งอยู่และดับไป วนเวียนอยู่อย่างนี้ หาที่สุดมิได้

   การอัตรธานของปริยัติจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะโลกไม่เที่ยง
   ไม่ว่าจะเอาเฉพาะ "พุทธวจนะ" หรือเอาทั้งหมดก็ตาม
   ขอปิดท้ายด้วยโคลงสี่สุภาพจากลิลิตพระลอ

          สิ่งใดในโลกล้วน     อนิจจัง
         คงแต่บาปบุญยัง     เที่ยงแท้
         คือเงาติดตัวตรัง      ตรึงแน่ อยู่นา
         ตามแต่บุญบาปแล้   ก่อเกื้อ รักษา


    :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 06, 2013, 11:08:20 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ฟังรายการ RDN ช่วงนี้ มีพระสูตร พระไตรปิฏก เปิดทั้งวัน เลยผมนั่งฟัง น้ำตาไหล และปลื้มกับคณะทีมงานที่ทำงานแบบปิดทองหลังพระ

  st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 thk56

 กับเนื้อหา ที่อัดแน่น ตามพระสูตร
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ