ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ชนยนตีและชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด  (อ่าน 2493 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

[๑๖๒]    มารดาหวังผลคือบุตร จึงนอบน้อมแก่เทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดู
                          และปีทั้งหลาย เมื่อมารดานั้นมีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์
                          ก็ย่อมมี เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้นมารดาจึงแพ้ท้อง  เพราะเหตุนั้น
                          บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่าเป็นผู้มีใจดี   มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปี
                          หรือหย่อนกว่าปีแล้วจึงคลอด เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า
                          ชนยนตีและชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด มารดาย่อมปลอบบุตรผู้ร้องไห้อยู่
                          ให้รื่นเริง ด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้าง ด้วยการขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้ม
                          แนบไว้กับอกบ้าง เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตร
                          ให้รื่นเริง ต่อแต่นั้น มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสา
                          เล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดดอันกล้าก็เข้ารับขวัญ เพราะเหตุนั้น
                          บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า  โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร มารดาย่อม
                          คุ้มครองทรัพย์แม้ทั้งสองฝ่าย คือ ทรัพย์ของมารดาและทรัพย์ของบิดา
                          เพื่อบุตรนั้น  ด้วยตั้งใจว่า ทรัพย์ทั้งสองฝ่ายพึงเป็นของบุตรแห่งเรา
                          มารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า  อย่างนี้ซิลูกอย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบาก
                          เมื่อบุตรกำลังรุ่นหนุ่มคะนอง มารดาย่อมคอยมองดูบุตรผู้หลงเพลิดเพลิน
                          ในภรรยาผู้อื่น  จนพลบค่ำก็ยังไม่กลับมา ย่อมเดือดร้อนด้วยประการ
                          ฉะนี้  บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุง
                          มารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในมารดา ย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้
                          อันบิดาเลี้ยงมาด้วยความลำบากอย่างนี้  ไม่บำรุงบิดา  บุตรนั้นชื่อว่า
                          ประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุง
                          มารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย
                          หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุง
                          บิดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย หรือ
                          บุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความรื่นเริง ความบันเทิง และความ
                          หัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ  บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา
                          ความรื่นเริงความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ  บัณฑิตผู้
                          รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา  สังคหวัตถุ ๕  ประการนี้คือทาน
                          การให้ ๑ ปิยวาจา  เจรจาคำน่ารัก ๑  อัตถจริยา การประพฤติ
                          ประโยชน์ ๑  สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย
                          ตามสมควร  ในที่นั้นๆ ๑ ย่อมมีในโลกนี้  เหมือนเพลารถย่อมมี
                          แก่รถที่กำลังแล่นไป ฉะนั้น ถ้าว่าสังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดา
                          ก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร หรือ
                          บิดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือหรือการบูชา  เพราะเหตุแห่งบุตร ก็เพราะ
                          บัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นสังคหวัตถุนี้ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้น
                          ย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์พึงสรรเสริญ
                          มารดาและบิดาบัณฑิตเรียกว่าเป็นพรหมของบุตร เป็นบุรพาจารย์ของ
                          บุตร  เป็นผู้ควรรับของคำนับของบุตร และว่าเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
                          เพราะเหตุนั้นแล  บุตรผู้เป็นบัณฑิต พึงนอบน้อมและสักการะมารดา
                          บิดาทั้ง ๒ นั้นด้วย ข้าว น้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การ
                          ให้อาบน้ำ และการล้างเท้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้น
                          ด้วยการบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้ ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อม
                          บันเทิงในสวรรค์.
จบ โสณนันทชาดกที่ ๒
-----------------------------------------------------
                          รวมชาดกในสัตตตินิบาตนั้น มี ๒ ชาดก คือ กุสชาดก ๑
                          โสณนันทชาดก ๑ ชาดกทั้งสองนี้ปรากฏอยู่ในสัตตตินิบาต.
จบ สัตตตินิบาตชาดก.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ บรรทัดที่ ๑๑๑๐ - ๑๑๕๗. หน้าที่ ๔๔ - ๔๖. http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=28&A=1110&Z=1157&pagebreak=0



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://icare.kapook.com

ยากให้ทุกคนนึกถึง มารดาบิดา ในเทศกาลปีใหม่ไทยบ้างครับ


บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พึ่งจะได้อ่านพระสูตร เกี่ยวกับบุพพการี มารดา บิดา คร้า..

แสดงว่า พระสูตร พระไตรปิฏก ครอบคลุม ชีวิตของมนุษย์ไว้มาก เลยคร้า

อัศจรรย์คำสอน ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ดีแล้วคร้า..


สาธุ สาธุ สาธุ

 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง