ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิชาวบ้าน : สมถะกรรมฐาน  (อ่าน 1064 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สมาธิชาวบ้าน : สมถะกรรมฐาน
« เมื่อ: ธันวาคม 07, 2014, 09:16:08 am »
0


สมาธิชาวบ้าน : สมถะกรรมฐาน

การปฏิบัติสมถะกรรมฐานเป็นการทำสมาธิแบบเดียวกับสมาธิภาวนา คือกำหนดด้วยการให้อุบายกรรมฐานทำให้กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ กายรู้สึกเบาและหายไป ลมหายใจหายไป ความคิดหายไป โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้ตั้งแต่กายเบา ลมหายใจเบา ก็รู้ว่าลมหายใจเบาและเบาลงจนกระทั่งหายไป ก็รู้ว่าลมหายใจไม่มีแล้วหายไป ความคิดน้อยลงมันก็รู้ว่าความคิดน้อยลง ความคิดหมดไปมันก็รู้ว่าความคิดหมดไป

คำว่ารู้นั้นคือ ไม่มีอะไรให้รู้ จิตว่าง เพราะว่าจิตรู้แต่ไม่มีอะไรให้รู้ อาการนี้เป็นอาการที่เราทำสมถะกรรมฐานเบื้องต้น หลังจากนั้นถ้ารู้ตื่น แต่ไม่มีอะไรให้รู้ ต้องใช้วิธีการผลักให้เกิดรู้ขึ้น ในความว่างนั้นเมื่อถึงระดับหนึ่งจะเกิดอาการผุดรู้ เกิดเป็นความรู้ขึ้นมาในความว่างนั้น แรกๆ จะเป็นธรรมะหรือไม่ย่อมไม่เป็นไรจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เพราะเมื่อมีอาการเราก็เกิดปัญญา เพราะการรู้ในช่วงแรกเรียกว่าวิปัสสนาขั้นโลกิยภูมิ ขั้นสมมติบัญญัติโลกซึ่งจะเป็นธรรมะต่างๆ ออกมาหลั่งไหลให้เรารู้ ให้เราเข้าใจธรรม ยังมีสมมติบัญญัติอยู่


 :96: :96: :96: :96: :96:

ขั้นแรกในการฝึกอาการจะปรากฏทำให้เราเข้าใจนานๆ ครั้ง ต่อไปเมื่อจิตมั่นคงจะปรากฏบ่อยขึ้นๆ เราจะรู้ธรรมมากขึ้น จิตทรงตัวรู้ธรรมะลักษณะนี้ไประยะหนึ่งเป็นภูมิวิปัสสนาไประยะหนึ่ง แม้ในธรรมะนั้นมันจะมีธรรมะที่เป็นพระนิพพานอยู่บ้าง แต่ว่าผู้ปฏิบัติยังไม่ถึงอาการพระนิพพานจริง หากจิตมีกำลังแล้วกลับมาดูตนเองจึงปรากฏสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิต

ต่อมาเมื่อจิตข้ามไปสู่โลกุตรภูมิ ถ้าเป็นสมมติบัญญัติก็ทิ้งไว้บนโลกหมด จิตไปดูแค่อาการที่เกิดดับขึ้นภายในจิตตนเอง ผู้ปฏิบัติจะไปตามแนวทางนี้เช่นเดียวกันหมด แต่ทั้งนี้ หากเราไปข้ามขั้นตอนสู่โลกุตรภูมิจิตจะทรงตัวอยู่ไม่ได้เพราะในโลกุตรภูมิมันไม่มีสมมติบัญญัติมาคอยเลี้ยงให้รู้เหตุผลแบบนี้ เป็นอาการที่จิตกลับไปดู



ปรากฏการณ์ความคิดที่เกิดขึ้นภายในจิตตัวเองเป็นจิตสมมติบัญญัติ เป็นเพียงแค่ปรากฏการณ์เหมือนฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ที่ไม่มีสมมติบัญญัติมารองรับ ไม่รู้ว่าอาการฟ้าแลบมันมีสมมติบัญญัติยังไง ฟ้าแลบอย่างนี้ดีใจเสียใจ ต่อเมื่อมีสมมติบัญญัติเข้ามาบัญญัติอาการปรากฏการณ์ที่มันเกิดในจิตแล้ว จึงรู้มีสมมติบัญญัติมา ว่าบัญญัติความดีความรู้แบบนี้ ดีใจไหม พอใจไหม ชอบใจไหม ต้องอาศัยสมมติบัญญัติมาตีความและบัญญัติ

จิตเริ่มปรุงตรงนี้ ปรุงตรงที่มีสมมติบัญญัติ ถ้าเป็นอาการเฉยๆ ก็ไม่มีอาการปรุง เพราะเป็นแค่เพียงอาการเฉยเหมือนฟ้าแลบ ไม่รู้หรอกว่าจะดีใจหรือเสียใจ ชอบหรือไม่ชอบ เมื่อมีสมมติบัญญัติเข้ามาบัญญัติจึงจะนำไปสู่อารมณ์จิตถูกลากไปดีใจไปเสียใจ ต่างๆ นี้ มีจิตพิจารณาตรงนี้เห็นปรุงยังไง เรานั่งดูตรงนี้ตลอดก็จะเห็นปรุง จะทำให้ปรุงน้อยลง ถ้าเราเข้าไปยับยั้งได้เร็ว การปรุงจะน้อยลง จิตที่มันไม่ปรุง ไม่แต่ง ไม่ว่าจะปรุงให้พอใจก็ดีหรือไม่พอใจก็ดี ต่างๆ เหล่านี้การปรุงของจิตมันคว้าทัน ไม่ปรุงเสร็จเป็นเพียงแค่ปรากฏการณ์เฉยๆ นานไปปรากฏการณ์เฉยๆ นี้จะไม่มีอารมณ์จิต ไม่ถูกลากไปดีใจ ไม่ถูกลากไปเสียใจ แต่เป็นเพียงปรากฏการณ์เฉยๆ เรียกว่าจิตจะนิพพาน เมื่อเข้าใจตรงนี้แล้วจิตพิจารณาในนิพพาน จิตเข้าไปอยู่ดูอาการแล้วคว้าทันการปรุงแต่งจิตจะปรุงไม่ออก อาการพระนิพพานก็อยู่กับเรานาน


 st11 st11 st11 st11 st11

อาการแรกที่มันมีอยู่ที่มันเกิดในจิตไม่มีสมมติบัญญัติ ไม่รู้ว่าควรดีใจหรือเสียใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหล่านี้ จะรู้สึกต่อเมื่อมีสมมติบัญญัติขึ้นมาบัญญัติรู้ว่าอย่างนี้ชอบ อย่างนี้ไม่ชอบ รัก เกลียด เพราะมีอุปาทานสัญญาเข้ามาแต่งตลอด เมื่อเราข้ามตรงนี้ก็จะเห็นที่สุดของการปฏิบัติ จากเดิมที่เรารู้ศีล สมาธิ ปัญญา กับกิเลสต่างๆ อย่างหยาบให้พอรู้ผิดรู้ชอบเท่านั้น แต่ท้ายสุดจะไปสู่ปัญญาพระนิพพานหลุดพ้นต่อไป.



ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/071214/100004
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ