ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สิ่งที่เหล่าพุทธบริษัท ควรพิจารณาบ่อยๆ ให้เป็นประจำ.?  (อ่าน 3449 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
    • ดูรายละเอียด




ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนืองๆ

[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ ที่สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตต้องพิจารณาเนืองๆ ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
     ๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
     ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
     ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
     ๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
     ๕. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้จะเป็น กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

      :96: :96: :96: :96:

     - สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
       สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้’


    - สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในความไม่มีโรค ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
       สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ‘เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’


    - สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้‘  เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความมัวเมาในชีวิต ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
      สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้’


      - สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น‘ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในของรักของชอบใจ ซึ่งเป็นเหตุให้ประพฤติชั่วด้วยกาย ประพฤติชั่วด้วยวาจา ประพฤติชั่วด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในของรักของชอบใจนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
       สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น’


     - สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตามย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลว่า ‘สัตว์ทั้งหลายมีกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้’
       สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตจึงควรพิจารณาเนืองๆว่า ‘เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใดไว้จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น’



ยกเอา"ฐานสูตร" มาแสดงบางส่วน
พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหาจุฬาฯ) เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
etipitaka.com/read/thaimc/22/78/?keywords=ฐานสูตร





อรรถกถาฐานสูตร จากพระไตรปิฎกไทย(ฉบับหลวง)

บาลีว่า :: "กมฺมสฺสโกมฺหิ กมฺมทายาโท กมฺมโยนิ กมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรโณ ยํ กมฺมํ กริสฺสามิ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามีติ"

แปลว่า :: "เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น"

    ในบททั้งหลายว่า กมฺมสฺสโก เป็นต้น กรรมเป็นของเรา คือ เป็นของมีอยู่ของตน เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน.

    บทว่า กมฺมทายาโท แปลว่า เราเป็นทายาทของกรรม.
    อธิบายว่า กรรมเป็นมรดก คือเป็นสมบัติของเรา
    กรรมเป็นกำเนิด คือเป็นเหตุเกิดของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด.
    กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์.
    อธิบายว่า มีกรรมเป็นญาติ.
    กรรมเป็นที่อาศัย คือเป็นที่พึ่งของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมที่อาศัย

    บทว่า ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ แปลว่า เราเป็นทายาทของกรรมนั้น.
    อธิบายว่า เราจักเป็นผู้รับผลที่กรรมนั้นให้.



ที่มา : http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=57
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
    • ดูรายละเอียด




ธรรมที่ควรพิจารณาเนืองๆ

อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ, เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ
       ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
       ๒. ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
       ๓. ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
       ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
       ๕. ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว


อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า “ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ” มี ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ
       ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
       ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
       ๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
       ๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
       ๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
       ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
       ๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
       ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
       ๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
      ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
      (ข้อ ๑. ท่านเติมท้ายว่า อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่า เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๓. ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)



ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
อ้างอิง :-
         - อภิณหปัจจเวกขณ์ อยู่ในฐานสูตร
           เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๖๔๙-๑๗๔๑. หน้าที่ ๗๑-๗๕.
           http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1649&Z=1741&pagebreak=0
         - ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์ อยู่ในอภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร
           เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๒๑๑๐-๒๑๒๘. หน้าที่ ๙๑.
           http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=2110&Z=2128&pagebreak=0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า