ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธองค์ตรัสไว้ ๔ ประการ ที่ไม่ว่าใครก็ทำแทนไม่ได้ แม้แต่พระองค์ก็ทำแทนไม่ได้  (อ่าน 1319 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระพุทธองค์ตรัสไว้ ๔ ประการ ที่ไม่ว่าใครก็ทำแทนไม่ได้ แม้แต่พระองค์ก็ทำแทนไม่ได้


พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
"เราแม้ใครจะมีอิทธิฤทธิ์มากมายเพียงใด แต่ก็มีสี่ประการที่ไม่สามารถทำได้"

พุทธสาวกถามพระพุทธองค์ว่า
“ในเมื่อพระองค์เป็นผู้ที่มี ความเมตตา แลมีอิทธิฤทธิ์มากมายไม่มีประมาณแล้ว เหตุใดเล่ายังมีคนที่ลำบากอยู่”

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า
“พระองค์แม้จะมีอิทธิฤทธิ์มาก เพียงไรแต่ก็ไม่สามารถดลบันดาลหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้ เพราะวิบากกรรมที่ทำกันไว้เป็นเรื่องแต่ละบุคคลที่สั่งสมกันมาข้ามภพข้ามชาติ”

@@@@@@

วิบากกรรมเปลี่ยนแปลงหรือรับแทนกันไม่ได้

1. ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิบากกรรมได้ ใครสร้างกรรมเอาไว้ไม่มีใครรับแทนได้คนนั้นต้องรับเอง
2. ปัญญาให้กันไม่ได้ ต้องฝึกฝนเอาเองถึงจะเกิดปัญญาได้
3. ความศรีวิไลของธรรมะ ไม่สามารถสื่อทางภาษาได้ ความจริงแท้ในจักรวาลต้องใช้การปฏิบัติหนทางเดียวเท่านั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง
4. คนที่ไม่มีวาสนา ฝนแม้จะตกทั่วฟ้า ก็ยังไม่เกิดประโยชน์กับหญ้าที่ไร้ราก พระธรรมแม้จะกว้างใหญ่ไพศาล ก็ยากที่จะโปรดคนไร้วาสนา




คนที่ไม่ได้สั่งสมบุญมาด้วยกัน ต่อให้พระมาโปรดก็ไม่ศรัทธาและไม่เข้าใจ

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“เป็นการยากที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นการยากที่พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยากที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติมา”

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราจึงควรเห็นคุณค่าของ การเกิดเป็นมนุษย์ อย่าให้เสี่ยโอกาส เสียเวลา ไปโดยเปล่าประโยชน์ เอาใจใส่รักษาความเป็นมนุษย์ไว้ให้มั่นคง ถึงจะเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วก็ตาม แต่จิตใจก็เป็นไปได้ใน ๒ ทาง คือ
     - ใจต่ำ เป็นอกุศลจิต ใช้ชีวิตอย่างประมาท ขาดสติ เป็นทางของสัตว์เดรัจฉาน เปรต ยักษ์ สัตว์นรก
     - ใจสูง เป็นกุศลจิต ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ปัญญา ไม่ประมาท สร้างกุศลกรรมความดี สร้างบารมี เป็นทางของมนุษย์ เทวดา พรหม อริยมรรค อริยผล นิพพาน

ดังนั้นสำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง การเลือกทางดำเนินชีวิตของ….เราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด




บุญ ๑๐ วิธี

ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ

๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแคน ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม

๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่นเป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น

๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)

๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย)

๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงานก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)

๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)

๘. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย)

๙. แสดงธรรม ให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)

๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม)

ทิฏฐุชุกรรมหรือสัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิดและทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้นๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง

@@@@@@

การทำบุญ ๑๐ ประการนี้ สามารถสรุปเป็นข้อความคล้องจองกันว่า

๑. แบ่งปันกันกิน
๒. รักษาศีล คือ กาย วาจา
๓. เจริญสมาธิภาวนา
๔. กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
๕. ยอมตนรับใช้
๖. แบ่งให้ความดี
๗. มีใจอนุโมทนา
๘. ใฝ่หาฟังธรรม
๙. นำแสดงออกไม่ได้เว้น
๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้อง



ขอบคุณข้อมูลจากเพจคำคม ธรรมะ
https://www.postyim.com/ยิ้มธรรมะ/ใครก็ทำแทนไม่ได้/
By admin ยิ้มธรรมะ ,เขียนเมื่อ มกราคม 18, 2018
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ