ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ?  (อ่าน 4147 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ?
 คือสงสัยว่า ปีติ ต้องเกิดตามลำดับ ที่เราตั้ง ฐานจิต หรือไม่ ?

 หรือว่า จะเกิดขึ้นไปตาม จริต และ บารมีเดิม คืออาจจะไม่เกิดในฐาน จิต นั้น ๆ แต่เกิดในฐานจิต อื่น ๆ

  :c017:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ? คือสงสัยว่า ปีติ ต้องเกิดตามลำดับ ที่เราตั้ง ฐานจิต หรือไม่ ? หรือว่า จะเกิดขึ้นไปตาม จริต และ บารมีเดิม คืออาจจะไม่เกิดในฐาน จิต นั้น ๆ แต่เกิดในฐานจิต อื่น ๆ



ผมขอคุยเป็นเพื่อนอย่างนี้นะครับ ว่า ปิติ จะไม่เกิดทุกครั้งที่ภาวนา จะหยั่งฐานใดก็เกิดลักษณะเดิม เมื่อเกิดแล้ว

ผู้ภาวนาเองนั่นแหละจะติด ปิติ บางครั้งมีบ้างที่ปิติค้างแม้เพิกถอนออกจากสมาธิแล้ว แต่ครูอาจารย์ท่านจะปราม

อย่าให้ปิติค้างจากการเพิกถอนสมาธิด้วยการย่ำเสมอว่าให้สูดลมหายใจเข้าเต็มๆสามครั้งเพื่อมิให้ปิติค้าง ซึ่งผม

จะติดที่องค์ปิติมาก จนกว้านหากราบทำบุญกับพระภาวนาหลากหลายรูปท่านก็กล่าวฝากให้ผมละทิ้งปิติเสียเพื่อ

ภูมิจิตจะได้ขยับขั้นที่สูงขึ้น เรียกว่าทิ้งปิตินั่นเอง ก็ขอเท่านี้ที่พูดคุยประเด็นจะตรงใจหรือไม่ขออภัยครับ ผมก็ยัง

ไม่สม่ำเสมอนักด้วยวิบากผลต้องขวนขวายเลี้ยงตัวพ่อแม่ครูบาอาจารย์ตามวิสัยผู้ปรารถนาโพธิสัตว์ ครับ!




http://www.buriramguide.com/15673/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%9A/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2012, 01:45:49 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ?
 คือสงสัยว่า ปีติ ต้องเกิดตามลำดับ ที่เราตั้ง ฐานจิต หรือไม่ ?
 หรือว่า จะเกิดขึ้นไปตาม จริต และ บารมีเดิม คืออาจจะไม่เกิดในฐาน จิต นั้น ๆ แต่เกิดในฐานจิต อื่น ๆ
  :c017:

ส่วนตัวที่เกิดแก่ผมนะครับ อาจจะตอบไม่ตรงคำถามหรือว่าไม่ให้ประโยชน์ก็ขออภัยด้วยครับ โดยผมรู้เห็นดังนี้คือ

- ความปิติอิ่มเอมจิต สุข สงบ ผ่องใส สภาพจิตนี้จะเกิดขึ้นเมื่อจิตว่างจากอกุศลจิตใดๆ
- อนึ่ง ความปิติอิ่มเอมจิต สุข สงบ ผ่องใส มีฐานจิตแห่งกุศลเข้าสู่สภาวะสมาธิที่ควรแก่งาน ฐานจิตตั้งจดจ่ออยู่ที่จุดเดียว จนเข้าสู่อารมณ์สมถะถึงแก่เอกัคตา

ดังนั้นไม่ว่าคุณจะกำหนดใดๆอบู่หากเข้าถึงสภาวะที่จิตเป็นดังข้างต้นที่ผมกล่าวมา ก็จะถึงซึ่ง ความปิติอิ่มเอมจิต สงบ อบอุ่น ผ่องใส เบาบาง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 02:34:59 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปีติ คือ ความอิ่มใจ ในความหมายทางโลก นะจ๊ะ แต่ภาษาในการปฏิบัติ มิใช่อันนี้

  ปีติ ในการปฏิบัติ หรือ พระธรรมปีติ มี 2 แบบ คือ แบบ ที่1 เรียกว่า พระลักษณะ แบบที่ 2 เรียกว่า พระรัศมี

  ปีติ ในการปฏิบัติ คือ อะไร ?

    ปีิติ ในการปฏิบัติหมายถึง ฉันทะสมาธิ ที่เริ่มก่อตัวเป็นปราโมทย์ สมาธิ แบ่งลำดับตามกำลังธาตุ ด้วยคุณ 2 ประการ คือ คุณพระลักษณะ 1  คุณพระรัศมี 1

    คุณพระลักษณะ จะมีเมื่อจิตเริ่มเกิดฉันทะสมาธิ มีปราโมทย์สมาธิเป็นผล เมื่อจิตแนบแน่นกับกาย คือการเข้าไปหยั่งธาตุรู้ คือ ธาตุรู้ไปในกายเมื่อกระทบกับธาตุ ที่เป็นอุปาทินกรูปที่มีใจครองแล้ว ย่อมเกิดอาการส่งผลตามธาตุนั้น ออกสู่กาย เช่น กายโคลง น้ำตาไหล เย็นซาบซ่าน ร้อนเป็นจุด เป็นฐาน เป็นต้น สัมผัสได้ด้วยจิต กับ กาย โดยตรง

    คุณพระรัศมี เป็นปีติที่สูง มีอุคคนิิมิตเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นเมื่อจิตกระทบจิต เมื่อกระทบแล้วก็ส่ง ทางพระลักษณะด้วย จิตต้องอาศัย อุปาทินกสังขารมีใจครอง เป็นเหตุ จึงจักเริ่มเห็นพระรัศมี เหตุที่กล่าวในที่นี้หมายถึงสีของภาพทีี่ปรากฏในจิตนั้น เพราะทางกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ ไม่สนใจนิมิตภาพ สนใจเรื่องสีของภาพ เพราะิเป็นนิมิตแท้ ไม่มีอุปาทานหลอกได้

   ดังนั้นผู้ฝึกปฏิบัติ ก็ควรจะกำหนด ฐาน จิตให้คล่องแคล่ว ควรกำหนดให้ได้ เพราะปีติธรรมเป็นคุณธรรมแรกที่ควรจะได้ ก่อนในการภาวนา

      ภาวนามีอิทธิบาทเป็นบาทฐาน เป็นธรรม สนับสนุน ฉันทะอิทธิบาทสมาธิ
      ฉันทะอิทธิบาทสมาธิ เป็นธรรม สนับสนุน ปราโมทย์
      ปราโมทย์ เป็นธรรมสนับ ปีติ
      ปีติเป็นธรรม สนับสนุน สุข
     สุข เป็นธรรม สนับสนุน สมาธิ
     สมาธิ เป็นธรรม สนับสนุน ยถาภูตญาณทัศนะ
     ยถาภูตญาณทัศศนะ เป็นธรรม สนับสนุน นิพพิทา
     นิพพิทา เป็นธรรม สนับสนุน วิราคะ
     วิราคะ เป็นธรรม สนับสนุน วิมุตติ
   
     เจริญธรรม พอให้เป็นที่ เข้าใจ นะจ๊ะ


      ;)
   
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คำอาราธนาพระกรรมฐาน
ข้าฯขอภาวนาพระพุทธคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ (พระรัศมี)  พระขุททะกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่ง แก่ข้าฯนี้เถิดฯ
ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่ง แก่ข้าฯนี้เถิดฯขอพระอริยะสงฆ์เจ้า  ตั้งแรกแต่    พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ
ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ    ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ
อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดเจ้าเพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ (พระรัศมี)พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้าฯนั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ วิชชาะจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมสารถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
                               สัมมาอะระหัง     สัมมาอะระหัง     สัมมาอะระหัง
                                        อะระหัง      อะระหัง     อะระหัง
(องค์ภาวนา พุท-โธ ตั้งจิตคิด รู้ อยู่ใต้นาภี สองนิ้วมือ)

ห้องที่ ๑
         พระปีติธรรม ๕ ประการ
๑.พระขุททะกาปีติ           ปีติเล็กน้อย
๒.พระขะณิกาปีติ             ปีติชั่วขณะ
๓.พระโอกกันติกาปีติ           ปีติเป็นพักๆ
๔.พระอุพเพงคาปีติ         ปีติโลดโผน
๕.พระผะระณาปีติ                     ปีติซาบซ่าน

ภาระกิจในการภาวนา คือ การเข้าถึง พระลักณะ และ พระรัศมี
มีการเข้าคืบ เข้าสับ เข้าวัดออกวัด สะกด เป็นอนุโลม ปฏิโลม




ห้องที่ ๒
พระยุคลธรรม ๖ ประการ
๑.พระกายปัสสัทธิ    จิตปัสสัทธิ   กายสงบ จิตสงบ
๒.พระกายละหุตา จิตละหุตา        กายเบา จิตเบา
๓.พระกายมุทุตา จิตมุทุตา          กายอ่อน จิตอ่อน
๔.พระกายกัมมัญญะตา  จิตกัมมัญญะตา   กาย-จิต-ควรแก่การงาน   
๕.พระกายปาคุญญะตา จิตปาคุญญะตา    กาย-จิต-แคล่วคล่อง
๖.พระกายุชุคคะตา จิตตุชุคคะตา        กายตรง จิตตรง

ห้องที่ ๓
พระสุขสมาธิ ๒ ประการ
๑.พระกายสุข จิตสุข   กายเป็นสุข จิตเป็นสุข
๒.พระอุปจารสมาธิ    พุทธานุสสติธรรมเจ้า

ที่มาจากหนังสือ คู่มือทำวัตรกรรมฐาน
 เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม คณะ 5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 11:01:41 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ ขอบคุณท่านอาโลโกที่อธิบายให้เข้าใจครับ

เนื่องจากความที่ไม่เข้าใจในศัพท์ธรรมะ ผมจึงนับเอาการเข้าสู่สภาพจิตและความรู้สึกของกุศลจิต และ อารมณ์สมถะที่ตัดขาดจากความปรุงแต่งใดๆมีความเป็นเอกัคตาที่ผมเข้าถึงสภาพและความรู้สึกนั้นมากล่าวผิดเพี้ยน ในความหมายของ ปิติ
ขออภัยแก่ท่านผู้ถามและทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วยครับที่ตอบผิดเพี้ยน
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ