ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ธรรมะ ปุจฉา
หน้า: [1] 2 3 ... 18
1  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ::: ดูแค่การเกิดดับยังถือว่าหยาบ :::หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 08:27:37 pm
"ขอโทษนะครับ รากศัพท์  majchima เขียนไม่ถูกนะครับ ผมลองให้เพื่อนฝรั่งที่ทำงานด้วยกัน อ่านแล้ว อ่านเพี้ยนเลยนะครับ เขาจะออกเสียงว่า มาจจิมา แต่พอให้อ่าน madchima ออกเสียงถูกต้อง เขาจะอ่านว่า มาดชิมา เพราะตัว J ไม่บังคับเสียง จ นะครับ นะครับ ฝากไว้ด้วยครับเรื่องนี้"

คุยเรื่องของภาษาหน่อยนะจ๊ะ พอดีว่าศึกษาเรื่องนี้อยู่ อันที่จริงคนไทยเราออกเสียงกันไม่ถูกอยู่หลาย ๆ คำ เช่น ญ ฌ  เลยอาจจะทำให้เวลาเขียนด้วยภาษาอื่น ๆ แล้ว จึงทำให้อ่านไม่เหมือนกัน  คำนี้ มาจากบาลี และ คำนี้ "กะเรยยะ"ก็เช่นกัน (นำมาเป็นตัวอย่าง) เวลาเราอ่าน เราจะอ่านกันว่า  กะ-ไร-ยะ  หรือ กะ-เรย-ยะ  ซึ้งไม่ใช่ทั้งสอง แต่ด้วยการออกเสียง แบบเหล่านี้ไม่มีในภาษาไทย ที่ถูกต้อง ต้องอ่านว่า กะ - เร ยฺ - ยะ (กะ-เร-ยฺยะ) คือตัว ยฺ ออกเพียงนิดเดียว  แบบไหน ให้ไปนึกถึงขนมมันฝรั่งทอดกรอบ เลย์  นึกออกแล้วละสิ  นั้นแหละ ออกเสียงแบบนั้น  ขนมเรย์ เราไม่ออกเสียงว่า ไลย หรือ เลย  แต่เป็นเพียง เล แต่ถ้าให้ฝรั่งเขามาออกเสียงก็จะมี ยฺ แถมท้ายมานิดนึง 

    ที่นี้มาที่ตัว J จะมีการออกเสียงที่จมูกด้วย ซึ่งตัว ฌ ก็มีเช่นกัน แต่เรา ๆ ออกเสียงกันไม่ค่อยได้
เท่านี้นะจ๊ะ ประดับความรู้นิด ๆ หน่อย   ว่าแล้วก็ไม่หน่อย  (คงสวดมนต์กัน ถูกต้องมากขึ้นนะ)
2  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ::: ดูแค่การเกิดดับยังถือว่าหยาบ :::หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 07:45:26 pm
อันที่จริง จากการที่อาตมาได้ปฏิบัติ ก็พบเจอความลับของกรรมฐานอยู่ในระดับหนึ่ง  คือ  ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติกรรมฐานอะไร  ก็จะมีกรรมฐานอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย แต่อยู่ที่ว่า ทำกรรมฐานอะไร กรรมฐานนั้น ๆ ก็จะเด่นกว่า เป็นข้อหนึ่งให้เห็นได้ว่า .....  จึงทะเลาะกัน เหมือนจะกรรมฐานจะตีกัน  อันที่จริงกรรมฐานไม่ได้ตีกันหรอก  แต่เป็นโยมนะแหละที่ตีกัน  ตีกันใหญ่เลย กรรมฐานไม่ได้ไปทำอะไรใครเลย  ลองคิดดูนะ   และถ้าท่านทั้งหลาย  เข้าถึงกันจริง ก็ลอง พิจารณาดูโดยแยบคาย  แล้วท่านจะเห็น จะรู้ว่า กรรมฐานมีแต่จะส่งเสริมกัน  เว้นแต่ผู้ที่มาใหม่ปฏิบัติพื้นฐานยังไม่ได้ยังไม่เขาใจจริง   แล้วแบบไหนละที่เรียกว่าได้  ก็แล้วท่านปฏิบัติแล้ว มันมีอะไรเปลี่ยนแปลง ไปในทางที่ดีขึ้น หรือเปล่าละ  กิเลสในตัวมันน้อยลงบ้างหรือเปล่าละ  อย่างนั้นแหละ  เป็นส่วนหนึ่ง  ที่เขาเรียกกันว่าปฏิบัติได้

      มาถึงตรงนี้แล้วคงไม่ต้องบอกว่า  ใครเก่งกว่าใคร ใครดีกว่าใคร  เรื่องเหล่านี้มันละเอียดนัก  ใช่ว่าจะมาตอบกันอย่างง่าย ๆ ในอดีต ท่านเคยทำกรรมร่วมกันกับท่านอื่น ๆ ไว้  บ้างคนมีเมื่อเจอหน้าก็ชอบ  บางคนไม่รู่รู้จักมาก่อน แต่พอเจอหน้าแล้ว  มันไม่ชอบขี้หน้ายังไงไม่รู้  ท่านอธิบายเรื่องเหล่านี้ได้ไหมละ ?  ครูบาอาจารย์ก็เช่นกัน   บางท่าน เมื่อเราได้ยินได้เห็นท่านสอน   เราเองก็เข้าถึงก็มี  แต่เพื่อนไม่รู้เรื่อง  บางอาจารย์  ท่านบอกสอน เราไม่เข้าใจเลย แต่เพื่อนเราสิ  ชอบใหญ่เลย เรื่องเหล่านี้ละเอียดนัก บางทีอาจจะเกินกำลังของพวกท่านทั้งหลายที่จะรู้จริง


  ส่วนพระสนธยา ทุกวันนี้ได้ทำอะไร ไม่เห็นมีอะไรชัดเจนสักอย่าง ดังนั้นถ้าจะกล่าวก็ต้องกล่าวว่า ไม่มีผลงานเป็นรูปธรรม สักอย่าง คือเป็นที่พึ่งไม่ได้เหมือนครูบาเพชร นะครับ [/b][/size]

 

       ควรที่จะละไว้  เพื่อการไม่ปรามาท เหล่าครูบาจาอารย์(ใครรู้โทษขอการปรามาทบ้างจ๊ะ ?) เพื่อการเจริญในธรรมของแต่ละท่าน  นักปฏิบัติ

      อาตมาเห็นมาหลาย ๆ ครั้ง  หลาย ๆ ท่าน  ยังไม่เข้าใจ  อันนี้น่ากลัว  อาตมาให้ข้อคิดอย่างหนึ่่ง ให้ลองคิดทบทวนกันดูว่า  ทำไมต้องมีการขอขมาก่อนปฏิบัติกรรมฐาน ?    [/size]
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระสนธยา ธัมมะวังโส มีอะไร ดี ในการนำทางธรรม กรรมฐาน อยากรู้ เมื่อ: มีนาคม 04, 2013, 07:22:03 pm
อาตมา  น่าพอจะตอบให้  ได้นะจ๊ะ  ว่ามาที่ละข้อ นะ แต่ขอเป็นการถามใหม่ โยมถามมาหนึ่ง  อาตมาก็ตอบไปหนึ่ง เอาแบบนี้นะจ๊ะ
4  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมบุญหล่อ พระราหุลเถรเจ้า และ สมเด็จ(สุก ไก่เถื่อน) 29 นิ้ว 16 มี.ค.56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 10:14:17 pm
ขออนุญาติทุกท่าน นำพระประวัติมาไว้ให้ได้ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน  ถ้าหากเห็นว่า มิควร กรุณาบอกแจ้ง จะทำการลบออกทันทีที่ทราบ

พระราหุลเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

******



       พระราหุลกุมาร เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พุทธโอรส) กับพระนางยโสธรา หรือ พิมพา เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์  ประสูติวันเดียวกันกับที่พระบิดาเสด็จออกบวช ดังนั้น ท่านจึงเจริญพระชันษาเติบโตขึ้นมาโดยมิเคยเห็นพระพักตร์รู้จักพระบิดาเลย จวบจนครั้นเมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ ณ นิโครธารามซึ่งพระประยูรญาติสร้างถวาย  ในวันรุ่งขึ้นเวลาเช้า ทรงปฏิบัติพุทธกิจ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาในระหว่างถนนให้พระบิดาดำรงอยู่ใน พระโสดาปัตติผล
     ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระบิดาและพระนางมหาปชาบดีโคตมี เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระบิดาดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ส่วนพระนางมหาปชาบดีโคตมีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
     เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าพระพุทธองค์จะเสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาทในพระราชนิเวศน์ถึง ๖ วันแล้วก็ตาม แต่พระนางพิมพาพระมารดาของราหุลกุมาร ก็มิได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ดุจบุคคลอื่นๆ เลย
                           ราหุลกุมารทูลขอทรัพย์สมบัติ
      ครั้นล่วงถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จเยือนพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาราชเทวี ประดับตกแต่งองค์ราหุลกุมารราชโอรสด้วยอาภรณ์อันวิจิตร แล้วตรัสว่า .-
      “พ่อราหุลลูกรัก พ่อจงไปดูพระสมณะผู้มีผิวพรรณผ่องใส มีรูปงามดุจท่านท้าวมหาพรหม แวดล้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก พระสมณะองค์นั้นคือพระบิดาของเจ้า พระองค์มีขุมทรัพย์มหาศาลอันสุดจะคณนา นับแต่พระบิดาของเจ้าออกบวช เจ้าก็เหมือนหมดหวังในราชสมบัติ เจ้าจงไปกราบไหว้พระบิดาแล้วกราบทูลขอทรัพย์สมบัตินั้น ในฐานะเป็นทายาทสืบสันตติวงศ์ต่อพระองค์เถิด”
      ราหุลกุมาร เสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามพระดำรัสของพระมารดา กราบถวายบังคมแล้ว ทอดพระเนตรดูพระสัพพัญญู บังเกิดความรักในพระบิดา ทรงปราโมทย์โสมนัสตรัสชมว่า  “ร่มเงาของพระองค์เย็นสดชื่นยิ่งนัก พระพักตร์ของพระองค์สดใสสุดประมาณ” ดังนี้แล้ว ก็ตรัสเรื่องอื่นๆ ต่อไป โดยมิได้กราบทูลขอทรัพย์สมบัติ
      พระพุทะองค์ ทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสอนุโมทนา เสด็จกลับสู่นิโครธาราม ส่วนราหุลกุมารก็เสด็จติดตามไปจนถึงอาวาส มิมีผู้ใดจะสามารถกราบทูลทัดทานได้ เมื่อสบโอกาสจึงกราบทูลขอทรัพย์สมบัติอันเป็นสิ่งที่รัชทายาทผู้สืบราชสันตติวงศ์จะพึงได้รับ
                                 พระราชทานอริยทรัพย์
      พระบรมศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า “ราหุลกุมารปรารถนาทรัพย์สมบัติอันเป็นของพระบิดา ถ้าตถาคตจะให้ขุมทองแก่เธอแล้ว ก็จะเป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ด้วยเป็นสิ่งหาสาระแม้สักนิดหนึ่งก็หามีไม่ อย่ากระนั้นเลย เราจะมอบอริยทรัพย์อันเป็นสิ่งประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนานี้แก่เธอ ซึ่งจะทำให้เธอเป็นโลกุตรทายาท สืบสกุลในพุทธวงศ์นี้สืบไป”
      ครั้นแล้ว ทรงมีพระดำรัสสั่งพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจัดการบรรพชาให้แก่ราหุลกุมารในวันนั้น ด้วยวิธีให้รับไตรสรณคมน์  และสามเณรราหุลได้ชื่อว่าเป็นสามณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา





                            พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร
     พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทราบว่าราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ทรงโทมนัสเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งด้วยหวังไว้แต่เดิมว่า เมื่อพระราชโอรสสิทธัตถะออกบวชแล้ว ก็หวังจะได้นันทกุมารสืบราชสมบัติต่อ แต่พระบรมศาสดาก็ทรงพานันทะออกบวช ทำให้ผิดหวังเป็นคำรบสอง แต่ก็ยังมีหวังอยู่ว่าจะให้ราหุลกุมารหลานรัก เป็นทายาทสืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้จะสืบสายรัชทายาท ทรงดำริต่อไปอีกว่า หากปล่อยไว้อย่างนี้อีกไม่นาน บรรดากุมารในศากยสกุลก็จะถูกนำไปบวชจนหมดสิ้น อนึ่ง ความทุกขโทมนัสอย่างนี้ ก็จะเกิดแก่บิดามารดาในสกุลอื่นๆ  ด้วยเหตุสิ้นคนสืบสกุล จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่นิโครธาราม กราบทูลขอประทานพรพุทธานุญาตว่า.-
     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับต่อแต่นี้ไป ถ้ากุมารผู้ใดแม้ประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา หากมารดาบิดายังมิยอมพร้อมใจกันอนุญาตให้บวชแล้ว ขอได้โปรดงดเสีย อย่าได้ให้บรรพชาแก่กุลบุตรผู้นั้นเลย”
       พระบรมศาสดา ได้ประทานพรตามที่พระพุทธบิดากราบทูลขอ แล้วถวายพระพรลา พาพระนันทะและสามเณรราหุล พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จกลับสู่มหานครราชคฤห์
      เมื่อพระราหุลกุมารบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระสารีบุตรเถระอุปัชฌาย์ของตนไปสถานที่ต่างๆ
     วันหนึ่ง ขณะที่พระราหุลพักอยู่ที่สวนมะม่วง ในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตรให้ท่านฟัง   หลัง
จากนั้นทรงสอนในทางวิปัสสนา ทรงยกอายตนะภายในและภายนอกขึ้นแสดง สามเณรราหุลส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
                  เป็นอนุบัญญัติให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
      ในขณะเมื่อท่านเป็นสามเณรเล็กๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่า ครั้งหนึ่ง พุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณร รวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้ เพราะค่ำมืด จึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู รุ่งเช้าอุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันกับอนุปสัมบัน (อนุปสัมบัน คือผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”
       ครั้นกาลต่อมา สามเณรราหุลไม่สามารถจะนอนร่วมกับพระภิกษุได้ และเมื่อไม่มีที่จะนอน ท่านจึงเข้าไปนอนในเวจกุฎี (ส้วม) ของพระบรมศาสดา เมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์เสด็จไปเวจกุฎีส่งเสียงกระแอมออกไปแล้วได้สดับเสียงกระแอมตอบจากข้างในและได้พบเธอนอนในที่นั้น และทรงทราบว่า เพราะเธอไม่มีที่นอนอันเนื่องมาจากพุทธบัญญัติ ทำให้พระองค์สลดพระทัย จึงดำริว่า “ต่อไปภายหน้า สามเณรน้อยๆ จะได้รับความลำบาก เพราะขาดผู้ดูแล เอาใจใส่” จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า .-
       “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนอนรวมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ถ้าเกิน ๓ คืน พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์”
      ในพุทธบัญญัตินี้ หมายถึงให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ในคืนที่ ๔ ให้เว้นเสีย ๑ คืน แล้วค่อยกลับมานอนรวมกันใหม่ได้โดยเริ่มนับ ๑ ใหม่ จึงถึงคืนที่ ๓ ปฏิบัติโดยทำนองนี้ จนกว่าจะมีสถานที่นอนแยกกันเป็นการถาวร
                       ได้รับยกย่องเป็นผู้ใคร่การศึกษา
      สามเณรราหุล เมื่ออายุครบ ๒๐ พรรษา ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลาเช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่ามือแล้วตั้งความปรารถนาว่า “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่งสอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์ และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลาย ให้ได้ประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือของข้าพเจ้านี้”
       ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา
       ท่านพระราหุลเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพานที่บัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ ณ ดาวดึงสเทวโลก
      ท่านมีอายุไม่มากนัก เพราะท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ผู้เป็นพระบิดา ก่อนพระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอาจารย์


ยังมีต่ออีก: ประวัติพระราหุลเถระเจ้า
         ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=49.0

พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา – ประจำทิศอิสาณ

    พระราหุล เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พุทธโอรส) กับพระนางยโสธรา หรือพิมพา ประสูติวันเดียวกันกับที่พระบิดาเสด็จออกบวช ดังนั้น ท่านจึงเจริญพระชันษาเติบโตขึ้นมาโดยมิเคยเห็นพระพักตร์รู้จักพระบิดาเลย จวบจนครั้นเมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธารามที่พระประยูรญาติสร้างถวาย

        ในวันรุ่งขึ้นเวลาเช้าทรงปฏิบัติ พุทธกิจ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาในระหว่างถนน ให้พระบิดาดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระบิดาและพระนางมหาปชาบดีโคตรมี เมื่อจบพระธรรมเทศนาพระบิดาดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ส่วนพระนางมหาปชาบดีโคตรมี ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

        ครั้นล่วงถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จเยือนพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาราชเทวี ประดับตกแต่งองค์ราหุลกุมารราชโอรสด้วยอาภรณ์อันวิจิตรแล้วตรัสสอนให้ไปทูล ขอทรัพย์สมบัตินั้นในฐานะเป็นทายาทสืบสันติวงศ์

        เมื่อราหุลกุมาร เสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบถวายบังคมแล้ว ทอดพระเนตรดูพระสัพพัญญู บังเกิดความรักในพระบิดา ทรงปราโมทย์โสมนัสตรัสเรื่องอื่น ๆ โดยมิได้กราบทูลขอทรัพย์สมบัติพระพุทธองค์ ทรงพระพุทธองค์กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จกลับสู่นิโครธาราม ส่วนราหุลกุมารก็เสด็จติดตามไปจนถึงอาวาส โดยไม่มีผู้ใดสามารถกราบทูลทัดทานได้ เมื่อสบโอกาสจึงกราบทูลขอทรัพย์สมบัติอันเป็นสิ่งที่รัชทายาทผู้สืบราชสันติ วงศ์สันติวงศ์จะพึงได้รับ




        พระบรมศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงดำริว่า “ราหุลกุมารปรารถนาทรัพย์สมบัติอันเป็นของพระบิดา ถ้าตถาคตจะให้ขุมทองแก่เธอแล้ว ก็จะเป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ด้วยเป็นสิ่งหาสาระแม้สักนิดหนึ่งก็หามีไม่ อย่ากระนั้นเลย เราจะมอบอริยทรัพย์อันเป็นสิ่งประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนานี้แก่เธอ ซึ่งจะจำให้เธอเป็นโลกุตรทายาท สืบสกุลในพุทธวงศ์นี้สืบไป"

        ครั้นแล้วทรงมีพระดำรัสสั่งให้พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร จัดการบรรพชาให้แก่ราหุลกุมารในวันนั้น ด้วยวิธีให้รับไตรสรณคมน์ และสามเณรราหุล ได้ชื่อว่าเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา

        ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทราบว่าราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ทรงโทมนัสเป็นอย่างยิ่งด้วยหวังไว้แต่เดิมว่า เมื่อพระราชโอรสสิทธัตถะออกบวชแล้วก็หวังจะได้นันทกุมารสืบราชสมบัติต่อ แต่พระบรมศาสนาก็ทรงพานันทะออกบวช ทำให้ผิดหวังเป็นคำรบสอง แต่ก็ยังมีหวังอยู่ว่าจะให้ราหุลกุมารหลานรัก เป็นทายาทสืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้สืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้จะสืบสายรัชทายาท ทรงดำริต่อไปอีกว่า หากเป็นเช่นนี้อีกไม่นาน บรรดากุมารในศากยสกุลก็จะถูกนำไปบวชจนหมดสิ้น อนึ่ง ความทุกข์โทมนัสอย่างนี้ก็จะเกิดแก่บิดามารดาในสกุลอื่น ๆ ด้วยเหตุสิ้นคนสืบสกุล จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่นิโครธาราม กราบทูลขอประทานพระพุทธอนุญาตว่า

        “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับต่อแต่นี้ไป ถ้ากุลบุตรผู้ใดแม้ประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา หากมารดาบิดายังมิยอมพร้อมใจกันอนุญาตให้บวชแล้วขอได้โปรดงดเสีย อย่าได้ให้บรรพชาแก่กุลบุตรผู้นั้นเลย” พระบรมศาสดา ได้ประทานพรตามที่พระพุทธบิดากราบทูลขอ แล้วถวายพระพรลา พาพระนันทะ และสามเณรราหุล พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จกลับสู่มหานครราชคฤห์

        เมื่อ ราหุลกุมาร บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระสารีบุตร เถระอุปัชฌาย์ของตน ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่ออายุครบก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ วันหนึ่ง ขณะที่พระราหุลพักอยู่ที่สวนมะม่วง ในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตร ให้ท่านฟังหลังจากนั้นทรงสอนในทางวิปัสสนา ทรงยกอายตนะภายใน และภายนอกขึ้นแสดงพระราหุล ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล


        พระราหุล เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลาเช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์แล้วตั้งความปรารถนาว่า “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่งสอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลายให้ได้ประมาณเท่าเม็ดทรายใน กำมือของข้าพเจ้านี้” ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา

        ในขณะเมื่อท่านยังเป็นสามเณรเล็ก ๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายจน เป็นที่เลื่องลือในหมู่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่า ครั้งนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณรรวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้เพราะค่ำมือจึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู รุ่งเช้า อุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันกับอนุปสัมบัน (อนุปสัมบัน คือ ผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”

        ครั้นในคืนต่อมา สามเณรไม่สามารถจะนอนร่วมกับพระภิกษุได้ และเมื่อไม่มีที่จะนอน พระราหุลท่านจึงเข้าไปนอนในเว็จกุฏี (ส้วม) ของพระบรมศาสดา เมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์เสด็จไปพบเธอนอนในที่นั้น และทรงทราบว่าเพราะเธอไม่มีที่นอนอันเนื่องมาจากพุทธบัญญัติทำให้พระองค์สลด พระทัยจึงดำริว่า “ต่อไปภายหน้า สามเณรน้อย ๆ จะได้รับความลำบาก เพราะขาดผู้ดูแลเอาใจใส่” จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า:-“ให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ถ้าเกิน ๓ คืน พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์”

        ท่านพระราหุลเถระ ดำรงอายุ สังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพานที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ดาวดึงส์เทวโลก ท่านมีอายุไม่มากนัก เพราะท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ผู้เป็นพระบิดา ก่อนพระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอาจารย์


และจาก : ๘. พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา – ประจำทิศอิสาณ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=244.msg918#msg918
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าครู หรือหนึ่งในกลุ่มครูผู้ใหญ่ในสำนักฝึกสมาธินั้น นั่งสัปหงกในระหว่างที่สอน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 07:56:54 pm
 :smiley_confused1: st12 :25:
6  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / Facebook มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 03:40:28 pm
ลองตามดู สมาชิก ที่แอดกันอยู่บน facebook เห็นแล้ว ก็น่าอนุโมทนา สาธุ ด้วย เพราะ หลาย ๆท่าน ก็ได้มีการแชร์ ต่อ ๆ กันอย่างไม่น่าเชื่อเลย

 st12      st12     st12

 :25:     :25:     :25:

   ทำให้นึกถึงเพลงนี้เลย ธรรมะผลิบาน



    ปีติขึ้นทุกที ที่ได้ฟังเลย

  ก็ขอถือโอกาส นี้  เป็นกำลังใจ ให้ทุกท่านที่เผยแพ่ พระธรรมคำสอน ของพระพุทธองค์ แม้นว่า บ้างครั้ง จะมีอุปสัค บ้าง  ก็ขอ เพลงนี้เป็นกำลังใจนะจ๊ะ สาธุ  สาธุ
7  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทานใดมีผลมากกว่า ระหว่าง ธรรมทาน กับ อภัยทาน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 02:44:34 pm
สรุปให้นะจ๊ะ (เป็นความคิดเห็นส่วนตัว)

     การที่จะทำการให้อภัยทาน ได้นั้น ก็ต้องมีภูมิธรรม ในระดับหนึ่ง  นั้นหมายถึง  ท่านได้มีธรรมะในจิตในใจเมากขึ้น จึงทำการให้อภัย เพื่อเป็นทานได้  มิใช่  ให้อภัย เพียงเพราะ มีคนขอ หรือตัวเราขอตัวเราเอง แต่เป็นเพราะ เราได้เกิดศรัทธาที่จะทำความดีนี้ โดยนึกถึงคำสั่งสอนของพุทธองค์ คือพระธรรม ก้องอยู่ในหู จึงกระทำ  และก็ด้วยพระธรรมนี้เหล่า  เราจึงได้ให้อภัยทานเป็น  และมากกว่านั้น คือ ก็ด้วยเพราะพระธรรมของพระพุทธองค์ จึงทำให้เหล่าสัตว์ได้โอกาส สำเร็จ บรรลุธรรม  สำเร็จ เป็นโสดาบัน สำเร็จเป็นอรหันต์   

     อภัยทาน ก็ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ก็อยู่ในธรรม

     ธรรมที่ว่านี้ ก็ต้องเป็นทั้งจากการ ได้ฟัง และจากการได้ปฏิบัติด้วย(การปฏิบัติของจิต) จึงทำให้บรรลุธรรม

เมื่อได้บรรลุซึ่งธรรมแล้วจึงพ้นจากสังสารวัฏ จึงเป็น ทานที่เลิศที่สุด (เพราะเพียงแต่อภัยทานอย่างเดียว ไม่สามารถที่จะทำให้เหล่าสัตว์หลุดพ้นได้)
8  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไมแจ้งอารมณ์กรรมฐาน ทางเว็บไม่ได้ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 02:17:09 pm
เรื่องนี้อยากจะตอบขยายเพิ่ิ่มอีกหน่อย เพื่อประโยชน์แก่นักปฏิบัติ

   คืิอ การที่เรานักปฏิบัติ ได้เข้าแจ้งกรรมฐาน ก็เพื่้่ออะไร้ ?
     
      ก็เพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

      แต่ พระอาจารย์ท่านไม่ได้ ฟังจากคำที่เราพูดบอกออกไปเพียงอย่างเดียว

       ยังคงมีอย่าง อื่น ๆ เเป็นองค์ประกอบด้วย  เช่นอะไร จะไม่ขอบอก (ให้คิดกันเอาเอง)

      เวลาท่านทั้งหลาย พิจารณาคน  คนนึง ท่านดูกันจากอะไรบ้างละ ? 

       ประมาณนั้นก็พอจะเทียบเคียงกันได้  กับการแเข้าเจ้งกรรมฐาน

    แล้วทำไม  ทางโลก จึงยังคงมีการ ต้องไปเรียนที่โรงเรียน โรงสอน ทั้ง โรงเรียน มหาวิทยาลัย

       หรือแม้นแต่ทำงาน  ก็ยังต้องไปที่  ที่ทำงาน 

      ทำไม  ไม่อยู่บ้านแล้วใช้ โทรศัพท์ เรียน แจ้งการบ้าน ใช้อินเตอร์เน็ตส่งการบ้าน หรือสอบ

        และ ทำงานทุกงาน ผ่านโทรศัพท์ หรืออิเตอร์เน็ต อย่างเดียวเลย

        ก็คงจะคล้าย ๆ กันนะแหละ 
9  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เวลาไปทำบุญ เราจุดธูป บูชาพระ แต่วันหนึ่งไป พระบอกไม่ต้องจุด แล้วได้บุญหรือไม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2013, 01:43:49 pm
ที่หยิบยกพระสูตรขึ้นมานั้น เพื่อ แสดงให้เห็นว่า ได้บุญแน่นอน

ask1


  เราก็เลยอึ้ง ๆ ว่า ไม่รู้ว่า บุญ นั้น อยู่ที่ จุด หรือ ไม่จุด หรือ อยู่ที่ถวาย ธุป


   :58:

และจะจุดเอง  หรือจะถวายเอาไว้ให้พระจุดทำวัตร หรือผู้อื่น ที่มาทำบุญได้จุดไหว้ สักการะ  ก็ได้บุญทั้งนั้นจะ


ก็สาธุด้วยกับเจ้าของกระทู้นี้ นี้เป็นการแสดงให้เห็นได้อย่างหนึ่งว่า ทั้งพระ และโยม ก็ต้องเรียนรู้พระธรรม  พระวินัยด้วยกันทั้งนั้น

10  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถวาย มีดของมีคม แก่พระสงฆ์ มีคนกล่าวว่า ไม่ดี จริง หรือ ไม่ คะ รู้สึกไม่สบายใจ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 06:33:55 pm
ต่อ

                                  (๔. อานิสงส์ของการถวายมีด)
                    [๑๐๓]            ข้าพเจ้าได้ถวายมีดเล็กที่ทำอย่างสวยงาม
                                      เนื่องด้วยเครื่องผูกอย่างวิจิตรจำนวนมาก
                                      แก่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดและแก่สงฆ์แล้ว
                    [๑๐๔]            ได้รับอานิสงส์ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า    ๘    ประการ
                                      คือข้าพเจ้าเป็นผู้กล้า    ๑
                                      เป็นผู้ไม่มีความเดือดร้อน    ๑
                                      ถึงความสำเร็จในเวสารัชชธรรม    ๑
                    [๑๐๕]            เป็นผู้มีปัญญาเครื่องทรงจำ    ๑    มีความเพียร    ๑
                                      ประคองใจไว้ได้ทุกเมื่อ    ๑
                                      ได้ญาณอันสุขุมเป็นเครื่องตัดกิเลส    ๑
                                      ได้ความบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเทียมเท่าในที่ทั้งปวง    ๑
                                      เพราะผลกรรมของข้าพเจ้านั้น

                                (๕. อานิสงส์ของการถวายมีดเล็ก)
                    [๑๐๖]            ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใสได้ถวายมีดเล็กอันราบเรียบ    ไม่หยาบ
                                      ขัดถูดีแล้ว    จำนวนมากในพระพุทธเจ้าและในพระสงฆ์แล้ว
                    [๑๐๗]            ได้รับอานิสงส์ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า    ๕    ประการ
                                      คือข้าพเจ้าย่อมได้กัลยาณมิตร    ๑    ความเพียร    ๑
                    [๑๐๘]            เพราะตัดลูกศรคือตัณหา
                                      จึงได้ศัสตราคือปัญญาอันยอดเยี่ยม
                                      และญาณที่เสมอด้วยเพชร    ๑
                                      เพราะผลแห่งกรรมเหล่านั้น

                                (๖. อานิสงส์ของการถวายเข็ม)
                    [๑๐๙]            ข้าพเจ้าได้ถวายเข็มในพระสุคต
                                      และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
                                      ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า    ๕    ประการ
                    [๑๑๐]            คือเมื่อข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
                                      เป็นผู้ที่มหาชนนอบน้อม    ๑
                                      ตัดความสงสัยได้    ๑
                                      มีรูปร่างงดงาม    ๑    มีโภคสมบัติ    ๑
                                      มีปัญญาฉลาดหลักแหลม    ๑    ทุกเมื่อ
                    [๑๑๑]            ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นอรรถ
                                      ซึ่งเป็นฐานะละเอียดลึกซึ้งด้วยญาณ
                                      ญาณของข้าพเจ้าเสมอด้วยยอดเพชร
                                      เป็นเครื่องกำจัดความมืด

                               (๗. อานิสงส์ของการถวายมีดตัดเล็บ)
                    [๑๑๒]            ข้าพเจ้าได้ถวายมีดตัดเล็บในพระสุคต
                                      และพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
                                      ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า    ๕    ประการ
                    [๑๑๓]            คือข้าพเจ้าย่อมได้ทาสชายหญิง    ๑    โคและม้า    ๑
                                      ลูกจ้างที่เป็นนางฟ้อนรำ    ๑    ช่างตัดผม    ๑

                              (๓๑. อานิสงส์ของการถวายกรรไกร)
                    [๑๖๘]            ข้าพเจ้าได้ถวายกรรไกรที่มีคมบางซึ่งลับไว้ดีในพระสงฆ์
                                      แล้วได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลส
                                      ซึ่งบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเปรียบปาน

                                  (๓๒. อานิสงส์ของการถวายแหนบ)
                    [๑๖๙]            ข้าพเจ้าได้ถวายแหนบในพระสุคต
                                      และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
                                      ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องถอนกิเลส
                                      ซึ่งบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเทียบเท่า

                              (๓๑. อานิสงส์ของการถวายกรรไกร)
                    [๑๖๘]            ข้าพเจ้าได้ถวายกรรไกรที่มีคมบางซึ่งลับไว้ดีในพระสงฆ์
                                      แล้วได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลส
                                      ซึ่งบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเปรียบปาน

                               (๓๒. อานิสงส์ของการถวายแหนบ)
                    [๑๖๙]            ข้าพเจ้าได้ถวายแหนบในพระสุคต
                                      และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
                                      ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องถอนกิเลส
                                      ซึ่งบริสุทธิ์ไม่มีอะไรเทียบเท่า

                                        (อานิสงส์ทั่ว ๆ ไป)
                    [๒๐๕]            กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว
                                      ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว
                                      ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ
                                      ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ
                    [๒๐๖]            การที่ข้าพเจ้าได้มาในสำนักของพระพุทธเจ้า
                                      เป็นการมาดีแล้วโดยแท้
                                      วิชชา    ๓    ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
                   [๒๐๗]            คุณวิเศษเหล่านี้    คือ    ปฏิสัมภิทา    ๔    วิโมกข์    ๘
                                      และอภิญญา    ๖    ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว
                                      คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า    ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว    ดังนี้แล
            ได้ทราบว่า    ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้    ด้วยประการฉะนี้

                                    ปิลินทวัจฉเถราปทาน จบ

11  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เวลาไปทำบุญ เราจุดธูป บูชาพระ แต่วันหนึ่งไป พระบอกไม่ต้องจุด แล้วได้บุญหรือไม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 06:28:51 pm
                                 (๔๖. อานิสงส์ของการถวายธูป)
                    [๒๐๒]            ข้าพเจ้าได้ถวายธูปในพระสุคต
                                      และในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุดแล้วได้รับอานิสงส์
                                      ซึ่งสมควรแก่กรรมของข้าพเจ้า    ๑๐    ประการ
                    [๒๐๓]            คือเป็นผู้มีกลิ่นตัวหอมฟุ้ง    ๑    มียศ    ๑
                                      มีปัญญาไว    ๑    มีชื่อเสียง    ๑
                                      มีปัญญาเฉียบแหลม    ๑    มีปัญญากว้างขวาง    ๑
                                      มีปัญญาร่าเริง    ๑    มีปัญญาลึกซึ้ง    ๑
                    [๒๐๔]            มีปัญญาไพบูลย์    ๑    มีปัญญาแล่นไปเร็ว    ๑
                                      เพราะผลแห่งการถวายธูปนั้น
                                      ข้าพเจ้าเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่
                                      ได้บรรลุนิพพานซึ่งเป็นสันติสุข    ในกาลบัดนี้
               
12  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถวาย มีดของมีคม แก่พระสงฆ์ มีคนกล่าวว่า ไม่ดี จริง หรือ ไม่ คะ รู้สึกไม่สบายใจ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 06:20:16 pm
                                       ปิลินทวัจฉเถราปทาน
                           ประวัติในอดีตชาติของพระปิลินทวัจฉเถระ
              (พระปิลินทวัจฉเถระ    เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน    จึงกล่าวว่า)

                            {๓๙๓}[๑]            ข้าพเจ้าเป็นคนเฝ้าประตูอยู่ที่กรุงหงสวดี
                                      ได้รวบรวมโภคสมบัติเก็บไว้ในเรือนมากมายนับไม่ถ้วน
                            [๒]            ครั้งนั้น    ข้าพเจ้านั่งอยู่ในสถานที่สงัด
                                      ทำใจให้ร่าเริง    นั่งอยู่ในปราสาทที่ประเสริฐ
                                      ได้คิดอย่างนี้ว่า
                            [๓]            โภคสมบัติของเรามีมาก
                                      ภายในบุรีของเราก็มั่งคั่ง
                                      แม้พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
                                      พระนามว่าอานนท์    ก็ทรงเชื้อเชิญเรา
                            [๔]            พระพุทธเจ้าพระองค์นี้    เป็นพระมุนี
                                      เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
                                      และโภคสมบัติของเราก็มีอยู่
                                      เราจักถวายทานแด่พระศาสดา
                            [๕]            พระโอรสของพระราชาพระนามว่าปทุมะ
                                      ทรงถวายทานอย่างประเสริฐ
                                      คือช้างเชือกประเสริฐ      บัลลังก์และพนักพิง
                                      ประมาณไม่น้อย    ในพระชินเจ้า
                            [๖]            แม้เราก็จักถวายทาน
                                      ทานอย่างประเสริฐที่ยังไม่เคยมีใครถวาย
                                      เราจักเป็น    (ผู้ถวาย)    คนแรก
                            [๗]            ข้าพเจ้าคิดถึงทานหลายอย่าง
                                      ที่มีผลเป็นสุขในเพราะการบูชา
                                      ก็ได้เห็นการถวายบริขาร
                                      เป็นเหตุทำความคิดของข้าพเจ้าให้เต็มได้
                            [๘]            ข้าพเจ้าจักถวายบริขาร
                                      ในพระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
                                      การถวายบริขารที่คนเหล่าอื่นยังไม่เคยถวาย
                                      ข้าพเจ้าจักเป็นคนแรก

                                   (การถึงพร้อมแห่งทานวัตถุ)
                            [๙]            ขณะนั้น    ข้าพเจ้าเข้าไปหาช่างจักสาน    จ้างให้ทำร่ม
                                      รวบรวมร่มได้    ๑๐๐,๐๐๐    คัน
                        [๑๐]            รวบรวมผ้าได้    ๑๐๐,๐๐๐    ผืน
                                      รวบรวมบาตรได้    ๑๐๐,๐๐๐    ใบ
                        [๑๑]            จ้างช่างให้ทำมีดโกน    มีดเล็ก    เข็ม    และมีดตัดเล็บ
                                      ที่สมควร(แก่สมณบริโภค)    แล้วให้วางไว้ภายใต้ร่ม
                        [๑๒]            จ้างช่างให้ทำพัดใบตาล    พัดขนปีกนกยูง    แส้จามร
                                      ผ้ากรองน้ำ    ภาชนะน้ำมัน    ให้สมควร    (แก่สมณบริโภค)
                        [๑๓]            จ้างช่างให้ทำกล่องเข็ม    ผ้าอังสะ
                                      ประคตเอว    และเชิงรองบาตร    ซึ่งทำอย่างสวยงาม
                                      ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
                        [๑๔]            ให้บรรจุเภสัชจนเต็มภาชนะสำหรับใส่ของบริโภค
                        [๑๕]            ให้บรรจุว่านน้ำ    หญ้าคา    ชะเอม    ดีปลี    พริก    ผลสมอ
                                      และขิงสด    จนเต็มภาชนะทุกอย่าง
                        [๑๖]            จ้างช่างให้ทำรองเท้า    เขียงเท้า
                                      ผ้าสำหรับเช็ดน้ำ    และไม้เท้าคนแก่
                                      อย่างสวยงาม    ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
                        [๑๗]            จ้างช่างให้ทำยารักษาไข้    ยาหยอดตา
                                      ไม้ป้ายยาตา    กระบอกกรองน้ำ
                                      ลูกกุญแจ    และกล่องลูกกุญแจ    ซึ่งเย็บด้วยด้าย    ๕    สี
                        [๑๘]            สายโยค    กระบอกเป่าควันไฟ    ตะเกียงตั้ง
                                      คนโทน้ำและผอบ    ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
                        [๑๙]            จ้างช่างให้ทำแหนบ    กรรไกร
                                      วัตถุขัดสนิมและถุงสำหรับใส่เภสัช
                                      ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
                        [๒๐]            จ้างช่างให้ทำเก้าอี้นอน    ตั่งและบัลลังก์    ๔    เท้า
                                      ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)แล้วให้ตั้งไว้ภายใต้ร่ม
                        [๒๑]            จ้างช่างให้ทำฟูกยัดด้วยขนสัตว์    ฟูกยัดด้วยนุ่น
                                      ฟูกตั่งและหมอนทำอย่างดี
                                      ให้สมควร(แก่สมณบริโภค)
                        [๒๒]            จ้างช่างให้ทำจุรณสำหรับอาบ
                                      ขี้ผึ้ง    น้ำมันที่หุงด้วยมือ
                                      และเตียงที่ปูด้วยแผ่นกระดานเล็ก  ๆ
                                      อันสะอาดพร้อมด้วยเครื่องลาด
                        [๒๓]            เสนาสนะ    ผ้าเช็ดเท้า    ที่นอน
                                      ที่นั่ง    ไม้เท้า    ไม้ชำระฟัน
                        [๒๔]            ไม้สีไฟ    ตั่งแผ่นกระดาน    ฝาบาตร    ถุงบาตร
                                      กระบวยตักน้ำ    เครื่องอบ    (สีผงย้อมผ้า)    รางย้อมผ้า
                        [๒๕]            ไม้กวาด    ผ้าอาบน้ำ    ผ้าอาบน้ำฝน
                                      ผ้านิสีทนะ    ผ้าปิดฝี    ผ้าอันตรวาสก    (ผ้านุ่ง)
                        [๒๖]            ผ้าอุตราสงค์(ผ้าห่ม)    ผ้าสังฆาฏิ(ผ้าพาดบ่า)
                                      ยานัตถุ์    น้ำบ้วนปาก    น้ำส้ม
                                      น้ำปลา    น้ำผึ้ง    นมส้ม    น้ำปานะ
                        [๒๗]            ขี้ผึ้ง    ผ้าเก่า    ผ้าเช็ดปาก    ด้าย
                                      สิ่งใดชื่อว่าเป็นของควรให้ทานมีอยู่
                                      และสมควรแก่พระศาสดา
                        [๒๘]            ข้าพเจ้ารวบรวมสิ่งนั้นทั้งหมดได้แล้ว
                                      จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าอานนท์
                                      ครั้นเข้าเฝ้าพระราชาผู้นำหมู่ชน    ผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
                                      ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กราบทูลคำนี้ว่า

                                      (การขอโอกาสถวายทาน)
                        [๒๙]            เราทั้ง    ๒    เจริญเติบโตมาด้วยกัน    มียศร่วมกัน
                                      ร่วมสุข    ร่วมทุกข์    และประพฤติคล้อยตามกัน
                        [๓๐]            ขอเดชะพระองค์ผู้ปราบข้าศึก
                                      ทุกข์ใจที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์ยังมีอยู่
                                      ขอเดชะพระองค์ผู้ขัตติยราช    ถ้าพระองค์สามารถ
                                      ก็ขอได้ทรงพระกรุณาบรรเทาทุกข์นั้นด้วยเถิด
                        [๓๑]    พระราชาตรัสว่า
                                              ทุกข์ของท่านก็เป็นทุกข์ของข้าพเจ้าด้วย
                                      เราทั้ง    ๒    มีใจตรงกัน
                        [๓๒]            ขอเดชะพระมหาราช
                                      ขอจงทรงทราบทุกข์ของข้าพระพุทธเจ้า    ซึ่งบรรเทาได้ยาก
                                      พระองค์บันลือมากไป
                                      ทรัพย์นี้    พระองค์ยังสละได้ยาก
                        [๓๓]            คือสิ่งที่มีอยู่ในแว่นแคว้นประมาณเท่าใด
                                      ชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าประมาณเท่าใด
                                      ถ้าพระองค์ต้องการสิ่งเหล่านี้
                                      ข้าพระพุทธเจ้าก็จักให้อย่างไม่หวั่นไหว
                        [๓๔]            ขอเดชะ    พระองค์ทรงบันลือแล้ว
                                      การบันลือมากนั้นผิด
                                      ข้าพระพุทธเจ้าจักทราบพระองค์
                                      วันนี้    ว่าทรงดำรงอยู่ในธรรมทั้งปวง
                        [๓๕]            ท่านบีบคั้นหนักนัก
                                      เมื่อข้าพเจ้าจะให้
                                      ท่านจะได้ประโยชน์อะไรจากการที่ข้าพเจ้าถูกบีบคั้น
                                      ท่านปรารถนาสิ่งใดจงบอกแก่ข้าพเจ้า
                        [๓๖]            ขอเดชะพระมหาราช
                                      ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยิ่ง
                                      ข้าพระพุทธเจ้าจักนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เสวย
                                      ชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าอย่าเป็นโทษเลย
                        [๓๗]            ข้าพเจ้าจะให้พรอย่างอื่นแก่ท่าน
                                      ท่านอย่าขอพระตถาคตเลย
                                      พระพุทธเจ้าไม่มีใครจะให้แก่ใคร  ๆ    ได้
                                      เปรียบเหมือนแก้วมณีโชติรส
                        [๓๘]            ขอเดชะ    พระองค์ทรงบันลือแล้วมิใช่หรือว่า    กระทั่งชีวิตที่มีอยู่
                                      เมื่อพระองค์ประทานชีวิตได้
                        [๓๙]            พระพุทธชินมหาวีรเจ้าควรงดไว้
                                      ไม่พึงให้แก่ใคร  ๆ    ได้
                                      เรารับปากให้ไม่ได้
                                      ท่านจงเลือกเอาทรัพย์จนนับไม่ถ้วนเถิด
                        [๔๐]            ข้าพระพุทธเจ้าจะต้องถึงการวินิจฉัย
                                      พวกเราจักถามผู้วินิจฉัย
                                      ผู้วินิจฉัยจักตัดสินละเอียดฉันใด
                                      พวกเราจักสอบถามข้อนั้นฉันนั้น
                        [๔๑]            ข้าพเจ้าจับพระหัตถ์พระราชา
                                      พากันไปยังสถานที่วินิจฉัย
                                      ได้กล่าวคำนี้ต่อหน้าผู้พิพากษาทั้งหลายว่า
                        [๔๒]            ขอผู้พิพากษาจงฟังข้าพเจ้า
                                      พระราชาได้พระราชทานพรแก่ข้าพเจ้า
                                      พระองค์ไม่ยกเว้นอะไร  ๆ    ยอมให้ได้แม้กระทั่งชีวิต
                        [๔๓]            เมื่อพระองค์พระราชทานพรแก่ข้าพเจ้าแล้ว
                                      ข้าพเจ้าจึงขอพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด
                                      พระพุทธเจ้าเป็นอันพระราชาพระราชทาน
                                      แก่ข้าพเจ้าดีแล้วมิใช่หรือ
                                      ท่านทั้งหลายจงตัดความสงสัยของข้าพเจ้าด้วยเถิด
                        [๔๔]    (ผู้พิพากษาทั้งหลายกล่าวว่า)
                                              ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
                                      จะฟังคำของท่านและพระดำรัสของพระราชา
                                      ผู้ปกครองแผ่นดิน
                                      ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายฟังคำของทั้ง    ๒    ฝ่ายแล้ว
                        [๔๕]            ขอเดชะ    พระองค์พระราชทานทุกสิ่ง
                                      ท่านผู้นี้ถือเอาทุกสิ่งแล้วหรือ    พระเจ้าข้า
                                      พระองค์ไม่ยกเว้นอะไร  ๆ    ยอมให้ได้แม้กระทั่งชีวิตหรือ
                        [๔๖]    (พระราชาตรัสว่า)
                                                เราได้รับความลำบาก
                                      แสนสาหัสนักจนตลอดชีวิต
                                      รู้ว่าผู้นี้ได้รับความทุกข์อย่างหนัก
                                      จึงได้ให้สิ่งของที่ควรถือเอาไว้ทุกอย่าง
                        [๔๗]            ขอเดชะ    พระองค์ทรงเป็นผู้พ่ายแพ้
                                      ควรจะพระราชทานพระตถาคตให้เขาไป
                                      ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตัดความสงสัยของทั้ง    ๒    ฝ่ายได้แล้ว
                                      ขอท่านทั้ง    ๒    จงตั้งอยู่ในคำมั่นสัญญาเถิด
                        [๔๘]            พระราชาประทับอยู่    ณ    ที่นั้นแล
                                      ได้ตรัสกับผู้พิพากษาดังนี้ว่า
                                      ท่านทั้งหลายพึงให้แก่เราโดยชอบบ้าง
                                      เราจะได้พระพุทธเจ้าอีก
                        [๔๙]    (ผู้พิพากษาได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า)
                                                ท่านทำความดำริของท่านให้บริบูรณ์
                                      นิมนต์พระตถาคตให้เสวยแล้ว
                                      พึงถวายคืนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                                      ให้แก่พระเจ้าอานนท์ผู้ทรงยศอีก

                                   (กถาว่าด้วยการทูลนิมนต์)
                        [๕๐]            ข้าพเจ้าไหว้ผู้พิพากษาและถวายบังคม
                                      พระเจ้าอานนท์จอมกษัตริย์แล้ว
                                      มีความยินดีปราโมทย์
                        [๕๑]            ครั้นเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                                      ผู้ข้ามโอฆกิเลสได้แล้ว    ไม่มีอาสวะ
                                      ถวายอภิวาทด้วยเศียรเกล้าแล้ว
                                      ได้กราบทูลดังนี้ว่า
                        [๕๒]            ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
                                      ขอพระองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์    ๑๐๐,๐๐๐    รูป    โปรดรับนิมนต์
                                      พระองค์เมื่อจะทำจิตของข้าพระองค์ให้ร่าเริง
                                      ขอจงเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของข้าพระองค์เถิด
                        [๕๓]            พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ
                                      ผู้ทรงรู้แจ้งโลก    ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
                                      ผู้มีพระจักษุ    ทรงรู้ความดำริของข้าพเจ้า
                                      จึงทรงรับนิมนต์(ด้วยดุษณีภาพ)
                        [๕๔]            ข้าพเจ้าทราบว่าพระองค์ทรงรับนิมนต์แล้ว
                                      จึงถวายอภิวาทพระศาสดา
                                      มีจิตร่าเริงเบิกบาน
                                      เข้าไปยังนิเวศน์ของตน

                                       (การตระเตรียมทาน)
                        [๕๕]            ข้าพเจ้าประชุมมิตรและอำมาตย์แล้ว
                                      ได้กล่าวคำนี้ว่า    เราได้สิ่งที่ได้แสนยากแล้ว
                                      เปรียบเหมือนได้แก้วมณีโชติรส
                        [๕๖]            เราจักบูชาพระองค์ด้วยอะไร
                                      พระชินเจ้ามีคุณหาประมาณมิได้
                                      หาใครเปรียบมิได้    ไม่มีใครเทียบเท่า
                                      ไม่มีใครเสมอ    เป็นนักปราชญ์
                        [๕๗]            หาผู้เสมอเหมือนเช่นนั้นมิได้
                                      ไม่เป็นที่    ๒    (รองใคร)    ทรงองอาจกว่านรชน
                                      อธิการ๑ที่สมควรแก่พระพุทธเจ้า    เราทำได้โดยยาก
                        [๕๘]            ขอพวกเราจงช่วยกันรวบรวมดอกไม้ต่าง  ๆ
                                      มาทำมณฑปดอกไม้เถิด
                                      นี้ย่อมสมควรแก่พระพุทธเจ้า
                                      ถือเป็นการบูชาด้วยสิ่งทั้งปวง
                        [๕๙]            ข้าพเจ้าใช้ดอกบัวขาบ    ดอกบัวหลวง    ดอกมะลิ
                                      ดอกลำดวน    ดอกจำปา    ดอกกากะทิง    ทำให้เป็นมณฑป
                        [๖๐]            ปูลาดอาสนะ    ๑๐๐,๐๐๐    ไว้ใต้เงาร่ม
                                      อาสนะของข้าพเจ้าอยู่สุดท้าย    มีค่าเกินร้อย
                        [๖๑]            ปูลาดอาสนะ    ๑๐๐,๐๐๐    ไว้ใต้เงาร่ม
                                      จัดแจงข้าวและน้ำเสร็จแล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาล

                                    (เวลาอันสมควรเพื่อฉันภัตตาหาร)
                        [๖๒]            เมื่อคนไปกราบทูลภัตกาลแล้ว
                                      พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
                                      พร้อมด้วยพระอรหันต์    ๑๐๐,๐๐๐    องค์
                                      ได้เสด็จเข้ามายังนิเวศน์ของข้าพเจ้า
                        [๖๓]            ร่มกั้นอยู่เบื้องบน    ในมณฑปดอกไม้ที่บานสะพรั่ง
                                      พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษผู้สูงสุด
                                      ประทับนั่งพร้อมด้วยพระอรหันต์    ๑๐๐,๐๐๐    องค์
                        [๖๔]            (ข้าพเจ้ากราบทูลว่า)    ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ
                                      ขอพระองค์โปรดทรงรับร่ม    ๑๐๐,๐๐๐    คัน
                                      และอาสนะ    ๑๐๐,๐๐๐    ที่
                                      อันสมควรและไม่มีโทษเถิด
                        [๖๕]            พระมหามุนีทรงพระนามว่าปทุมุตตระ
                                      ทรงรู้แจ้งโลก    ผู้สมควรรับเครื่องบูชา
                                      พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า
                                      ให้ข้ามพ้น(สงสารวัฏ)    จึงทรงรับไว้

                                           (ทานกถา)
                        [๖๖]            ข้าพเจ้าได้ถวายบาตรแก่ภิกษุรูปละหนึ่งใบ
                                      ภิกษุทั้งหลายสละบาตรที่ตนใช้สอยแล้ว    ใช้บาตรเหล็ก
                        [๖๗]            พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่
                                      ในมณฑปดอกไม้ตลอด    ๗    วัน    ๗    คืน
                                      เมื่อจะทรงให้สัตว์จำนวนมากตรัสรู้
                                      จึงทรงประกาศพระธรรมจักร
                        [๖๘]            เมื่อทรงประกาศพระธรรมจักรภายใต้มณฑปดอกไม้
                                      เทวดาและมนุษย์    ๘๔,๐๐๐    ได้บรรลุธรรม
                        [๖๙]            เมื่อถึงวันที่    ๗    พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ
                                      ประทับนั่งอยู่ภายในใต้เงาร่ม
                                      ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

                                         (พยากรณ์)
                        [๗๐]            เราจักพยากรณ์มาณพผู้ที่ได้ถวายทานอย่างประเสริฐ
                                      ไม่บกพร่องแก่เรา
                                      ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าวเถิด
                        [๗๑]            กองทัพ    ๔    เหล่า    คือ    พลช้าง    พลม้า    พลรถ
                                      และพลเดินเท้าจักห้อมล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์
                        [๗๒]            ยานพาหนะคือช้าง
                                      ยานพาหนะคือม้า    คานหาม    และวอ
                                      จักบำรุงเขาเป็นนิตย์
                                      นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
                        [๗๓]            รถ    ๖,๐๐๐    คันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง
                                      จักแวดล้อมเขาเป็นนิตย์
                                      นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
                        [๗๔]            เครื่องดนตรี    ๖,๐๐๐    ชิ้น
                                      กลองที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
                                      จักขับกล่อมเขาเป็นนิตย์
                                      นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
                        [๗๕]            สาวรุ่น    ๘๖,๐๐๐    นาง
                                      ผู้ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
                                      สวมใส่ผ้าอาภรณ์อย่างงดงาม    ห้อยตุ้มหูแก้วมณี
                        [๗๖]            มีตากลมโต    มีปกติร่าเริง    รูปงาม    เอวเล็กเอวบาง
                                      จักห้อมล้อมเขาเป็นนิตย์
                                      นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง
                        [๗๗]            เขาจักรื่นรมย์ในเทวโลก    ๓,๐๐๐    กัป
                                      จักเป็นจอมเทพครองเทวสมบัติ    ๑,๐๐๐    ชาติ
                        [๗๘]            และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ    ๑,๐๐๐    ชาติ
                                      จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน
                        [๗๙]            เมื่อเขาอยู่ในเทวโลก
                                      พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม
                        [๘๐]            เขาจักปรารถนาเมื่อใด
                                      หลังคาผ้าและดอกไม้(ดังจะ)รู้ความคิดของเขา
                                      จักกั้นอยู่เนืองนิตย์เมื่อนั้น
                        [๘๑]            เขาถูกกุศลมูลตักเตือนจุติจากเทวโลก
                                      แล้วประกอบด้วยบุญกรรม
                                      จักเป็นบุตรของพราหมณ์
                        [๘๒]            ในกัปที่    ๑๐๐,๐๐๐    นับจากกัปนี้ไป
                                      พระศาสดาพระนามว่าโคดม    ตามพระโคตร
                                      ทรงสมภพในราชสกุลโอกกากราช    จักอุบัติขึ้นในโลก
                        [๘๓]            พระผู้มีพระภาคผู้โคดมศากยะผู้ประเสริฐ
                                      ทร
13  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถวาย มีดของมีคม แก่พระสงฆ์ มีคนกล่าวว่า ไม่ดี จริง หรือ ไม่ คะ รู้สึกไม่สบายใจ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 06:06:48 pm
                                          ปฐมสูจิวิมาน
                          ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายเข็ม เรื่องที่ ๑

                        (พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)

                  {๕๘}[๙๔๔]            วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก    วัดโดยรอบได้    ๑๒    โยชน์
                                      เป็นปราสาท    ๗๐๐    ยอด    ดูโอฬาร    มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
                                      มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
                  [๙๔๕]            ท่านสถิต    ดื่ม    กิน    อยู่ในวิมานนั้น
                                      มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
                                      ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
                                      และเหล่าเทพนารีประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
                  [๙๔๖]            เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
                                      ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
                                      และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
                  [๙๔๗]            เทวดาผู้มีอานุภาพมาก    อาตมาขอถามว่า
                                      เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
                                      เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
                                      และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
                  [๙๔๘]            เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
                                      จึงตอบปัญหาผลกรรมไปตามที่พระเถระถามว่า
                  [๙๔๙]            ทานที่ข้าพเจ้าถวายมา(ก่อน)นั้นไม่มีผล
                                      ทานที่จะถวายควรเป็นของดี
                                      เข็มที่ข้าพเจ้าถวายไปแล้วนั้นแหละเป็นของด
                  [๙๕๐]            เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
                                      ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
                  [๙๕๑]            ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก    ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
                                      เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
                                      ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
                                      และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

                                       ปฐมสูจิวิมาน จบ
 


                                        ทุติยสูจิวิมาน
                         ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ถวายเข็ม เรื่องที่ ๒
            (พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า)
                  {๕๙}[๙๕๒]            วิมานมีเสาทำด้วยแก้วมณีนี้สูงมาก    วัดโดยรอบได้    ๑๒    โยชน์
                                      เป็นปราสาท    ๗๐๐    ยอด    ดูโอฬาร    มีเสาประดิษฐ์ด้วยแก้วไพฑูรย์
                                      มีพื้นปูลาดด้วยแผ่นทองคำสวยงาม
                  [๙๕๓]            ท่านสถิต    ดื่ม    กิน    อยู่ในวิมานนั้น
                                      มีทวยเทพพากันบรรเลงพิณทิพย์ดังไพเราะ
                                      ในวิมานของท่านนี้มีเบญจกามคุณอันเป็นทิพรส
                                      และเหล่าเทพนารีผู้ประดับด้วยอาภรณ์ทองคำฟ้อนรำอยู่
                  [๙๕๔]            เพราะบุญอะไรท่านจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
                                      ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้
                                      และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน
                  [๙๕๕]            เทวดาผู้มีอานุภาพมาก    อาตมาขอถามว่า
                                      เมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้
                                      เพราะบุญอะไรท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
                                      และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้
                  [๙๕๖]            เทพบุตรนั้นดีใจที่พระมหาโมคคัลลานเถระถาม
                  [๙๕๗]            ชาติก่อนข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ในมนุษยโลก
                  [๙๕๘]            ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสประดุจธุลี    มีใจผ่องใส    ไม่มัวหมอง
                                      เลื่อมใสแล้ว    ได้ถวายเข็มแด่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน
                  [๙๕๙]            เพราะบุญนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณงามเช่นนี้
                                      ผลอันพึงปรารถนาจึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าในวิมานนี้
                                      และโภคะทั้งมวลล้วนน่าพอใจจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า
                  [๙๖๐]            ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก    ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า
                                      เพราะบุญที่ได้ทำไว้สมัยเมื่อเกิดเป็นมนุษย์
                                      ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง
                                      และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทุกทิศอย่างนี้

                                         ทุติยสูจิวิมาน จบ
14  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ผู้ชายที่แต่งงาน แล้ว เวลาบวช บุญจะถึงพ่อแม่ หรือ ไม่ ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 04:41:22 pm
กระทู้แนะนำ : อยากทราบ อานิสงค์ การบวช ครับ ? ทำไม สมัยนี้ เราจึงต้องบวช ครับ ?
           ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7327.msg27162#msg27162

และ : ทำไมการทำสมาธิ จึงมีผลบุญมากกว่า การบวช ครับ ?           
  ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6297.msg23361#msg23361

15  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การเดินทาง จาริก เที่ยวไป จะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 04:09:06 pm
เมื่อในอดีต เหล่าครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ก็จาริก ออกธุดง แต่ในตอนนั้นลำบากก็ลำบาก สมัยนี้ แม้นว่าจักเจริญกันมาแล้ว แต่พระก็คงยังลำบากอยู่ ในการจาริกเดินทาง

  ส่วนคำตอบ อาตมาจะยังไม่ขอตอบ จะลองให้ท่านได้ใคร่ครวกันดูสักระยะ แล้วจะมาตอบให้

   ให้ลองธรรมะวิจยะกันดู
16  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปัจจัย ในการภาวนา ที่จะทำให้ก้าวหน้า ในการภาวนา ได้เร็ว และ ได้ผลไวที่สุด เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 01:14:34 pm
บทนำ ในกระทู้นี้ เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติ ที่ได้ติดตามมาตลอดสี่ห้าปีนี้จะเข้าใจได้ดี  แต่สำหรับท่านที่ยังไม่เคย หรือเพิ่งเริ่มปฏิบัติ อาจจะไม่เข้าใจ ก็ขอให้ติดตาม ฟังทางวิทยุออนไลน์ พระอาจารย์ได้ทำการอธิบายไว้แล้ว ทุกวันนี้ก็ยังเปิดอยู่ โดยเฉพาะเวลาประมาณช่วงตอนเที่ยง จะบอกสอนในเรื่องของการเดินจงกรม และในตอนค่ำเรื่องของการนั่งปฏิบัติ ผู้ที่สนใจก็สามารถติดตามรับฟังกันได้ตามนี้ นะจ๊ะ
17  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เวลาไปทำบุญ เราจุดธูป บูชาพระ แต่วันหนึ่งไป พระบอกไม่ต้องจุด แล้วได้บุญหรือไม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 01:05:39 pm
   เรื่่องของบุญ ในการทำธรรมทานนะ แล้วแต่ศรัทธา แล้วแต่ว่าใคร พอใจศรัทธาจะถวายอะไร อยู่ที่เรา  ก็เรามีความศรัทธาที่จะถวายในตรงนี้ ในเรื่องนี้  สรุปส่วนตัวอาตมาเลยแล้วกันว่า ทำธรรมทานด้วยอะไรก็ได้ ก็ได้ทั้งนั้น ถวายทำบุญสิ่งใด ก็ได้อานิสิงผลบุญของสิ่งนั้น ๆ

     อาจจะเป็นเพราะว่า มีคนมาจุดธูปกันมาก และหรือสถานที่ไม่มีอากาศถ่ายเทได้มากพอ ผลหลังจากการจุด จึงเป็นเหตุให้คนที่ต้องอยู่ที่ตรงนั้นเป็นประจำ เกิดเป็นโรค  ส่วนตัวอาตมาเอง ไม่ค่อยจะจุด  จุดอยู่เหมือนกันแต่น้อย เวลาไปในสถานที่ต่าง ๆ ก็จะดูความปลอดโปร่งของสถานที่ด้วย แต่กลับ มาจุดถวายบูชาที่กุฏิ ในเวลาที่เกิดศรัทธามาก ๆ มากกว่า ก็ถึงขนาดยอมรมควันตัวเองเลย ทั้ง ๆ ที่แพ้ธูปควัน  แต่อันนี้ไม่่เดือดร้อนใคร และก็ด้วยความศรัทธา เจ็บป่วยก็ยอม

    หยอดตู้บริจาค  อันนี้ก็ได้บุญ แม้ว่าจะมีคนมาช่วยเอาไปใช้อย่างอื่นนอกเหนือจากกิจการศาสนาของวัดนั้น เพราะเราได้ทำบุญของเรา เราก็ได้บุญของเราไปแล้ว  ส่วนคนอื่นที่มาเอาไป เขาก็ได้ปาปของเขา เราไม่ได้ปาปด้วย เพราะเราไม่ได้ไปร่วมกระทำกับเขาด้วย

     เป็นบุญอย่างไร ?  การที่โยม ๆ ได้ทำบุญกับพระ หรือทางวัด ถือได้ว่า เป็นการช่วยต่ออายุพระศาสนาอย่างหนึ่ง  อย่างไร ? ก็ถ้า พระสงฆ์ ท่านอยู่ได้ พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่  ดังนี้แล้ว โยมทั้งหลายนี้แหละเป็นกำลังที่สำคัญ ไม่น้อยเลยที่เดียว

      ตอนที่พระท่านเข้าโบถสบวชเป็นพระ ในตอนนั้น มีเงินมีทองเท่าไหร่ก็ต้องถอดออกหมด ไม่มีไม่เหลือสักบาท แต่หลังจากนั้นแล้ว ที่พระท่านทั้งหลายมีมาได้ก็จากญาติโยมที่ศรัทธา ในพระสงฆ์ ในศาสนา ยกจบหัวถวายกันมา ทำให้พระเณรได้พอจะมีปัจจัย ใช้กับเขาบ้าง ทั้งเรื่องเรียน บริขาร และการเดินทาง

      สิ่งที่โยมทำ คืออมิสบูชา ก็ได้บุญ ก็ยังคงสามารถกระทำต่อไปได้ โดยไม่ผิดอะไร หรือไม่ได้บุญ จงทำธรรมทานนี้ต่อไปเถอะจ๊ะ เจริญพร


18  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ผู้ชายที่แต่งงาน แล้ว เวลาบวช บุญจะถึงพ่อแม่ หรือ ไม่ ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 12:27:56 pm
ก็แล้วใครเป็นคนบอกโยมละจ๊ะ

 ปัญหานึง ที่มักจะเป็นปัญหา คือเราหาที่ไปที่มาของการกล่าวบอกเรื่องนั้น ๆ ไม่ได้

  นี้เป็นหนึ่งในกาลามสูตร

      ไม่ให้เชื่อ โดย เชื่อ ๆ กันตามมา

       ก็จะสามารถได้คำตอบในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะกับเรื่องการกล่าวหากัน อย่างนี้เป็นต้น

  เรื่องการออกบวช ในเวลาที่พระเรียนแปลพระบาลี จะเจออยู่บ่อย อย่างเช่นในเรื่องหนุ่ง  ในธรรมบท ภาค ๑ ในเรื่องแห่งพระเถระชื่อว่าจักขุบาล ตอนออกบวช ความว่า

    ตํ  สุตฺวา  มหาปาโล  กุฏุมฺพิโก  จินฺเตสิ  "ปรโลกํ  คจฺฉนฺตํ  ปุตฺตธีตโร  วา  โภคา  วา  นานุคจฺฉนฺติ,  สรีรํปิ  อตฺตนา  สทฺธึ  น  คจฺฉติ;  กึ  เม  ฆราวาเสน,  ปพฺพชิสฺสามีติ.  โส  เทศนาปริโยสาเน  สตฺถารํ  อุปสงฺกมิตฺวา  ปพฺพชฺชํ  ยาจิ.  อถ  นํ  สตฺถา  "นตฺถิ  เต  โกจิ  อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก  ญาตีติ  อาห.  กนิฏฺฐภาตา  เม  อตฺถิ  ภนฺเตติ.  "เตนหิ  ตํ  อาปุจฺฉาหีติ.  โส  "สาธูติ  สมฺปฏิจฺฉิตฺวา  สตฺถารํ  วนฺทิตฺวา  เคหํ  คนฺตฺวา  กนิฏฺฐํ  ปกฺโกสาเปตฺวา  " ตาต  ยํ  อิมสฺมึ  กุเล  สวิญฺญาณกาวิญฺญาณกํ  ธนํ  กิญฺจิ  อตฺถิ,  สพฺพพนฺตํ  ตว  ภาโร,  ปฏิปชฺชาหิ  นนฺติ.

                                    แปลโดยการยกศัพท์ที่ละตัว
     กุฏุมฺพิโก   อ. กุฏุมพี   มหาปาโล   ชื่อว่ามหาปาละ   สุตฺวา   ฟังแล้ว  ตํ (ธมฺมํ)   ซึ่งธรรมนั้น   จินฺเตสิ   คิดแล้วว่า  "ปุตฺตธีตโร  วา   อ. บุตรและธิดา ท.  หรือ   โภคา  วา   หรือว่า  อ. โภคะ ท.   น  อนุคจฺฉนฺติ   ย่ิอมไม่ไปตาม   ปุคฺคลํ   ซึ่งบุคคล   ปรโลกํ  คจฺฉนฺตํ   ผู้ไปอยู่  สูโลกอื่น,   สรีรํปิ   แม้ อ. สรีระ   น  คจฺฉติ   ย่อมไม่ไป   อตฺตนา  สทฺธึ   กับ ด้วยตน,   กึ  (ปโยชนํ)   อ. ประโยชน์อะไร   เม   แก่เรา   ฆราวาเสน   ด้วยการอยู่ครองซึ่งเรือน,   (อหํ)   อ. เรา   ปพฺพชิสฺสามิ   จักบวช   อิติ   ดังนี้ ฯ
     เทสนาปรโยสาเน   ในกาลอันเป็นที่สุดลงรอบแห่งเทศนา   โส (มหาปาโล)   อ. กุฏุมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น   อุปสงฺกมิตฺวา   เข้าไปเฝ้าแล้ว   สตฺถารํ   ซึ่งพระศาสดา   ยาจิ   ทูลขอแล้ว   ปพฺพชฺชํ   ซึ่งการบวช ฯ
     อถ   ครั้งนั้น   สตฺถา   อ. พระศาสดา   อาห   ตรัสแล้วว่า   "ญาติ   อ. ญาติ   โกจิ   ไร ๆ  เต  อาปุจฺฉิตพฺพยุตฺตโก   ผู้ควารแล้วแก่ความเป็นแห่งญาติอันเธอพึงอำลา   นตฺถิ   ย่อมไม่มี   (กึ)   หรือ   อิติ   ดังนี้   นํ  (กุฏุมฺพิกํ)   กะกุฏุมพีนั้น ฯ   (มหาปาโล)   อ. น้องชายผู้น้อยที่สุด   เม   ของข้าพระองค์   อตฺถิ   มีอยู่   อิติ   ดังนี้ ฯ   (สตฺถา)   อ. พระศาสดา   (อาห)   ตรัสแล้วว่า   "เตนหิ   ถ้าอย่างนั้น   (ตฺวํ)   อ. เธอ   อาปุจฺฉาหิ   จงอำลา   ตํ  (กนิฏฺฐภาตรํ)   ซึ่งน้อยชายผู้น้อยที่สุดนั้น  อิติ   ดังนี้ ฯ
     โส  (มหาปาโล)    อ.กุฏมพีชื่อว่ามหาปาละนั้น    สมฺปฏิจฺฉิตฺวา   ทูลรับพร้อมเฉพาะแล้วว่า   "สาธุ   อ.ดีละ   อิติ   ดังนี้   วนฺทิตฺวา   ถวายบังคมแล้ว   สตฺถารํ   ซึ่งพระศาสดา   คนฺตฺวา   ไปแล้ว   เคหํ   สู่เรื่อน   (ปุคฺคลํ)   ยังบุคคล   ปกฺโกสาเปตฺวา   ให้เรียกมาแล้ว   กนิฏฺฐํ   ซึ่งน้องชายผู้น้อยที่สุด   (อาห)   กล่าวแล้วว่า   "ตาต   ดูก่อนพ่อ   ธนํ   อ.ทรัพย์   ยํ  กิญฺจิ   อย่างใดอย่างหนึ่ง   สวิญฺญาณกาวิญฺญาณกํ   อันเป็นไปกับด้วยวิญญาณและอันมีวิญญาณหามิได้  อตฺถิ   มีอยู่   กุเล   ในตระกูล   อิมสฺมึ   นี้,   ตํ (ธนํ)   อ. ทรัพย์นั้น   สพฺพํ   ทั้งปวง   ตว  ภาโร   จงเป็นภาระ  ของเธอ   (โหตุ)   จงเป็น,   (ตฺวํ)   อ. เธอ   ปฏิปชฺชาหิ   จงปฏิบัติ   นํ (ธนํ)   ซึ่งทรัพย์นั้น   อิติ   ดังนี้ ฯ
     (โส  กนิฏฺโฐ)   อ. น้องชายผู้น้อยที่สุดนั้น   (ปุจฺฉิ)   ถามแล้วว่า   "สามิ   ข้าแต่นาย   ตุมฺเห  ปน   ก็ อ. ท่านเล่า   อิติ   ดังนี้ ฯ    (มหาปาโล)   อ. กุฏุมพีชื่อว่ามหาปาละ   (อาห)   กล่าวแล้วว่า   "อหํ   อ. เรา   ปพฺพชิสฺสามิ   จักบวช   สนฺติเก   ในสำนัก  สตฺถุ   ของพระศาสดา  อิติ   ดังนี้ ฯ

  เป็นต้น
       
       

     
19  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การเดินทาง จาริก เที่ยวไป จะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 10:08:09 pm
น่าจะเป็นคนละเรื่องกัน นะจ๊ะ

อย่างเรื่องจาริก เที่ยวไปในตอนนี้  พระอาจารย์ก็ได้เขียนตอบไว้แล้วว่าเพราะทำไม

ตามหาอ่านกันนะจ๊ะ

 แล้วลองหาเพิ่มเติมดูอีก สิว่า ได้อะไรอีก จากการที่พระอาจารย์ เที่ยวจาริกในครั้งนี้

อย่างหนึ่งที่ อาตมาเห็น ก็คงจะเป็นหลักฐาน ที่ในอดิต ที่พระพุทธศาสนาเคยรุ่งเรืองมาก อย่างที่สุด

จนเกิดคำถามในใจต่อว่า เพราะอะไร?
20  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อำนาจ ของบทแผ่เมตตา ระดับไหน ที่จะปลอดภัยกับสัตว์ คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 10:00:39 pm
ที่โยมกล่าวมา พระเองเวลานั่งกรรมฐานกัน ก็โดนยุงกันเหมือนกัน

แต่ก็เป็นเรื่องที่แปลอยู่ เพราะว่า เขาจะมากัด แค่สองสามตัว แล้วก็จะไม่เจอกัดอีก 

เรามาเข้าใจที่หลัง 

เอาอย่างนี้ เคยเห็นคนที่เป็นโรคที่หมอไม่สามารถที่จะรักษาได้หาย จักต้องตายไหม ?

 แต่อยู่ดี ๆ ก็เกิดหายได้ซะอย่างนั้น โดยที่หมอก็ไม่สามารถ อธิบายได้ ก็เพราะอะไรละ ?

      ก็เพราะว่า ที่เป็นกันเพราะกรรมก็มี

   อย่าง ยุงกัด พระอาจารย์สนธยา ก็เคยบอกว่า เราก็ผ่อนส่งใช้กรรมคืนเขาไป  ก็ดีกว่า เจอแบบแรง ๆ เต็ม ๆ
21  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เวลาที่รู้สึกเหงา ๆ อ้างว้าง ว้าเหว่ เราควรทำอย่างไร ดีคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 09:53:31 pm
ปุถุชน ย่อม เข้าหาสุข อย่างปุถุชน เพื่อหนี ทุกข์

 การเข้ากรรมฐาน เพื่อให้สุขเกิด สำหรับท่านทั้งหลาย อาจจะเป็นเรื่องยาก
 
ส่วนอารมณ์เหงา ๆ อ้างว้าง ว้าเหว่ เซ็ง ๆ กับชีวิต ย่อมจะเกิดขึ้น เมื่อ เราไม่เห็นว่า เราเป็นคนสำคัญ สำหรับคนอื่น ๆ  แก้ได้โดยง่าย  ทางโลกจะมีกิจกรรมอาสา มากมาย อย่างเช่น ครูอาสา  อ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอกฟัง และอื่น ๆ อีกมากมาย หรือจะเข้ามาช่วยงานการที่วัด ก็สามารถกระทำได้ ได้เห็นคนมาทำบุญ ได้ช่วยพระปฏิสันฐาน ได้บุญด้วย ได้เจอกับผู้คนที่ดี ๆ ด้วย ได้กัลญาณมิตร สามารถจะพานำ ไปทำกิจกรรมที่ดี ๆ  เดียวก็จะหายเหงา

  เพื่อน ๆ สมาชิกธรรม มีใครพอจะเสนอ งานอาสาต่างมาไว้ให้ ก็จะเป็นการดีนะจ๊ะ แบ่งบุญกัน คนละงานสองงาน ที่น่าสนใจ
22  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เมื่อเราปฏิบัติ กรรมฐาน ภาวนาไป แล้ว รู้สึกว่า ใจหยุด กายหยุด และอยู่นิ่ง ๆ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 09:41:56 pm
ถ้าเป็น วิมุตติ แล้ว จะหลุดพ้น ทำได้ แบบไม่ห้วนกลับคืนอีก

    ก็แล้วท่านยังคงกลับมามีกิเลสอยู่อีกหรือไม่ ?

   เอาแบบ เข้าใจง่าย ๆ ว่า เราจะทำอย่างไร ไม่ให้กิเลส กลับมามีได้อีก อย่างตลอดไป  เป็นข้อ ๆ  สังโยช สิบ
23  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากทราบว่า คนตายที่ไปแล้ว เราต้องเก็บกระดูกไว้ ทำไม คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 09:37:36 pm
ถ้าเป็นคนที่เรารักและเคารพบูชา ต้องการที่จะระลึกถึง ท่านจะทำอย่างไร?
24  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การอนุโมทนาบุญ ด้วยการกล่าวคำว่า "สาธุ" โดยที่เราไม่ได้บริจาคทรัพย์ได้บุญหรือไม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 07:44:54 pm
วิหารวิมาน
                    ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้อนุโมทนาการถวายวิหาร

                            (พระอนุรุทธเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
                  {๔๔}[๗๒๙]            เทพธิดา    เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
                  [๗๓๐]            เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่    เสียงทิพย์น่าฟัง    น่ารื่นรมย์ใจ
                                      ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

                  [๗๓๑]            ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
                                      ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

                  [๗๓๒]            เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา
                                      เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม(ของเธอ)ทุกส่วน
                                      ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ    น่าฟัง    ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า

                  [๗๓๓]            อนึ่ง    ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว    ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
                                      น่าฟัง    ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า

                  [๗๓๔]            แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ    มีกลิ่นหอมชื่นใจ
                                      ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ    ดุจต้นอุโลก

                  [๗๓๕]            เธอสูดดมกลิ่นหอมนั้น    ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
                                      เทพธิดา    อาตมาถามแล้ว    ขอเธอจงบอกเถิดว่า
                                      นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า

                            (เทพธิดานั้นตอบว่า)
                  [๗๓๖]            พระคุณเจ้าผู้เจริญ    นางวิสาขามหาอุบาสิกา
                                      สหายของดิฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี
                                      ได้จัดสร้างมหาวิหารถวายสงฆ์    ดิฉันได้เห็นอาคาร
                                      และการบริจาคทรัพย์จำนวนมากอุทิศสงฆ์
                                      เป็นที่พอใจของดิฉันเช่นนั้น    จึงเลื่อมใสแล้วอนุโมทนาในบุญนั้น

                  [๗๓๗]            วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา    ซึ่งดิฉันได้มา
                                      เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
                                      วิมานนั้นล่องลอยไปได้โดยรอบ

                  [๗๓๘]            วิมานเรือนยอดของดิฉัน    จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
                                      ส่องสว่างรุ่งเรือง    ตลอดรัศมี    ๑๐๐    โยชน์โดยรอบ

                  [๗๓๙]            อนึ่ง    ที่วิมานของดิฉันนี้    มีสระโบกขรณี
                                      ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ
                                      มีน้ำใสสะอาด    มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง

                  [๗๔๐]            ดื่นดาดด้วยบัวหลวงหลากชนิด    มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ
                                      ยามลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ

                  [๗๔๑]            มีรุกขชาตินานาชนิด    คือต้นหว้า    ต้นขนุน    ต้นตาล    ต้นมะพร้าว
                                      และป่าไม้เกิดเองตามธรรมชาติ    ภายในนิเวศน์    มิได้มีใครปลูกไว้

                  [๗๔๒]            วิมานนี้กึกก้องไปด้วยดนตรีชนิดต่าง  ๆ
                                      เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
                                      แม้นรชนที่ฝันเห็นดิฉันแล้วต้องปลื้มใจ

                  [๗๔๓]            วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา    มีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ    เช่นนี้
                                      บังเกิดเพราะกุศลกรรมของดิฉัน

                                      (ฉะนั้น)จึงควรแท้ที่สาธุชนจะทำบุญไว้
                           (พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่
                              ที่นางวิสาขาเกิดจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า)

                  [๗๔๔]            เธอได้วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา
                                      เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
                                      ขอเธอจงบอกคติของนางวิสาขา
                                      ผู้ที่ได้ถวายทานนั้นเถิดว่า    นางเกิด    ณ    ที่ไหน
                           (เทพธิดานั้นตอบว่า)
                  [๗๔๕]            พระคุณเจ้าผู้เจริญ    นางวิสาขามหาอุบาสิกาสหายของดิฉันนั้น
                                      ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์    รู้แจ้งธรรม    ได้ถวายทาน

                  [๗๔๖]            เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมิตเทวราชนั้น
                                      วิบากแห่งกรรมของนางเป็นเรื่องที่ใคร  ๆ    ไม่พึงคิด
                                      ดิฉันได้ชี้แจงถึงคำถามที่พระคุณเจ้าถาม
                                      ถึงที่ที่นางเกิดแด่พระคุณเจ้าแล้วตามความเป็นจริง

                  [๗๔๗]            ถ้าอย่างนั้น    ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดชักชวนแม้คนอื่น  ๆ    ว่า
                                      ท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด
                                      และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม
                                      การได้เกิดเป็นมุษย์ที่ได้แสนยาก    พวกท่านก็ได้แล้ว

                  [๗๔๘]            พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงพรหม
                                      มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดังทอง    ผู้ทรงเป็นใหญ่ยิ่งด้วยมรรค๑
                                      ได้ทรงแสดงทานใดว่าเป็นทาง(ไปสู่สุคติ)
                                      ขอท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานนั้นแด่สงฆ์
                                      ซึ่งเป็นบุญเขตที่ทักษิณาทานมีผลมากเถิด

                  [๗๔๙]            ทักขิไณยบุคคล    ๔    คู่    ๘    ท่านเหล่านี้ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว
                                      เป็นสาวกของพระสุคต    ทานที่ถวายในบุคคลเหล่านี้มีผลมาก

                  [๗๕๐]            พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค    ๔
                                      และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล    ๔    นี้
                                      จัดเป็นพระสงฆ์    เป็นผู้ปฏิบัติตรง
                                      ดำรงมั่นอยู่ในศีล    สมาธิ    และปัญญา

                  [๗๕๑]            มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
                                      ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
                                      จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก

                  [๗๕๒]            ด้วยว่า    พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่    ไพบูลย์
                                      หาประมาณมิได้    ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
                                      พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
                                      เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
                                      เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก    ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง

                  [๗๕๓]            ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้นชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
                                      บูชาสักการะด้วยดีแล้ว    ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้นมีผลมาก
                                      ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว

                  [๗๕๔]            เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
                                      กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
                                      ท่องเที่ยวไปในโลก    ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน    จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้

                                          วิหารวิมาน จบ
25  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากทราบว่า ทำบุญโดยไม่ได้อธิษฐานเพียงพนมมือขึ้นจรดศรีษะพร้อมปัจจัยได้บุญหรือไม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 12:14:07 pm
                                         วิหารวิมาน
                    ว่าด้วยวิมานที่เกิดขึ้นแก่หญิงผู้อนุโมทนาการถวายวิหาร


                            (พระอนุรุทธเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า)
                  {๔๔}[๗๒๙]            เทพธิดา    เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก
                  [๗๓๐]            เมื่อเธอนั้นกำลังฟ้อนรำอยู่    เสียงทิพย์น่าฟัง    น่ารื่นรมย์ใจ
                                      ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

                  [๗๓๑]            ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นชื่นใจ
                                      ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วนสัดของเธอ

                  [๗๓๒]            เมื่อเธอสั่นไหวกายไปมา
                                      เสียงเครื่องประดับที่ช้องผม(ของเธอ)ทุกส่วน
                                      ก็เปล่งเสียงดังไพเราะ    น่าฟัง    ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า

                  [๗๓๓]            อนึ่ง    ต่างหูเพชรต้องลมสั่นไหว    ก็ส่งเสียงดังไพเราะ
                                      น่าฟัง    ดังเสียงดนตรีเครื่องห้า

                  [๗๓๔]            แม้มาลัยบนศีรษะของเธอ    มีกลิ่นหอมชื่นใจ
                                      ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ    ดุจต้นอุโลก

                  [๗๓๕]            เธอสูดดมกลิ่นหอมนั้น    ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมนุษย์
                                      เทพธิดา    อาตมาถามแล้ว    ขอเธอจงบอกเถิดว่า
                                      นี้เป็นผลของกรรมอันใดเล่า

                            (เทพธิดานั้นตอบว่า)
                  [๗๓๖]            พระคุณเจ้าผู้เจริญ    นางวิสาขามหาอุบาสิกา
                                      สหายของดิฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี
                                      ได้จัดสร้างมหาวิหารถวายสงฆ์    ดิฉันได้เห็นอาคาร
                                      และการบริจาคทรัพย์จำนวนมากอุทิศสงฆ์
                                      เป็นที่พอใจของดิฉันเช่นนั้น    จึงเลื่อมใสแล้วอนุโมทนาในบุญนั้น

                  [๗๓๗]            วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา    ซึ่งดิฉันได้มา
                                      เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
                                      วิมานนั้นล่องลอยไปได้โดยรอบ

                  [๗๓๘]            วิมานเรือนยอดของดิฉัน    จัดแบ่งไว้แต่ละส่วนอย่างเหมาะสม
                                      ส่องสว่างรุ่งเรือง    ตลอดรัศมี    ๑๐๐    โยชน์โดยรอบ

                  [๗๓๙]            อนึ่ง    ที่วิมานของดิฉันนี้    มีสระโบกขรณี
                                      ซึ่งหมู่มัจฉาทิพย์อาศัยอยู่ประจำ
                                      มีน้ำใสสะอาด    มีพื้นดารดาษด้วยทรายทอง

                  [๗๔๐]            ดื่นดาดด้วยบัวหลวงหลากชนิด    มีบัวขาวรายล้อมไว้รอบ
                                      ยามลมรำเพยพัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่นจรุงใจ

                  [๗๔๑]            มีรุกขชาตินานาชนิด    คือต้นหว้า    ต้นขนุน    ต้นตาล    ต้นมะพร้าว
                                      และป่าไม้เกิดเองตามธรรมชาติ    ภายในนิเวศน์    มิได้มีใครปลูกไว้

                  [๗๔๒]            วิมานนี้กึกก้องไปด้วยดนตรีชนิดต่าง  ๆ
                                      เหล่าเทพอัปสรก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว
                                      แม้นรชนที่ฝันเห็นดิฉันแล้วต้องปลื้มใจ

                  [๗๔๓]            วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา    มีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ    เช่นนี้
                                      บังเกิดเพราะกุศลกรรมของดิฉัน

                                      (ฉะนั้น)จึงควรแท้ที่สาธุชนจะทำบุญไว้
                           (พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่
                              ที่นางวิสาขาเกิดจึงได้กล่าวคาถานี้ว่า)

                  [๗๔๔]            เธอได้วิมานน่าอัศจรรย์    น่าทัศนา
                                      เพราะการอนุโมทนาอย่างเดียวเท่านั้น
                                      ขอเธอจงบอกคติของนางวิสาขา
                                      ผู้ที่ได้ถวายทานนั้นเถิดว่า    นางเกิด    ณ    ที่ไหน
                           (เทพธิดานั้นตอบว่า)
                  [๗๔๕]            พระคุณเจ้าผู้เจริญ    นางวิสาขามหาอุบาสิกาสหายของดิฉันนั้น
                                      ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์    รู้แจ้งธรรม    ได้ถวายทาน

                  [๗๔๖]            เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมิตเทวราชนั้น
                                      วิบากแห่งกรรมของนางเป็นเรื่องที่ใคร  ๆ    ไม่พึงคิด
                                      ดิฉันได้ชี้แจงถึงคำถามที่พระคุณเจ้าถาม
                                      ถึงที่ที่นางเกิดแด่พระคุณเจ้าแล้วตามความเป็นจริง

                  [๗๔๗]            ถ้าอย่างนั้น    ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดชักชวนแม้คนอื่น  ๆ    ว่า
                                      ท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด
                                      และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม
                                      การได้เกิดเป็นมุษย์ที่ได้แสนยาก    พวกท่านก็ได้แล้ว

                  [๗๔๘]            พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงไพเราะดังเสียงพรหม
                                      มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดังทอง    ผู้ทรงเป็นใหญ่ยิ่งด้วยมรรค๑
                                      ได้ทรงแสดงทานใดว่าเป็นทาง(ไปสู่สุคติ)
                                      ขอท่านทั้งหลายจงเต็มใจถวายทานนั้นแด่สงฆ์
                                      ซึ่งเป็นบุญเขตที่ทักษิณาทานมีผลมากเถิด

                  [๗๔๙]            ทักขิไณยบุคคล    ๔    คู่    ๘    ท่านเหล่านี้ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว
                                      เป็นสาวกของพระสุคต    ทานที่ถวายในบุคคลเหล่านี้มีผลมาก

                  [๗๕๐]            พระอริยบุคคลผู้บรรลุอริยมรรค    ๔
                                      และผู้ดำรงอยู่ในอริยผล    ๔    นี้
                                      จัดเป็นพระสงฆ์    เป็นผู้ปฏิบัติตรง
                                      ดำรงมั่นอยู่ในศีล    สมาธิ    และปัญญา

                  [๗๕๑]            มนุษย์ทั้งหลายผู้หวังบุญให้ทานอยู่
                                      ทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด
                                      จึงถวายทานแก่สงฆ์ซึ่งมีผลมาก

                  [๗๕๒]            ด้วยว่า    พระสงฆ์นี้มีคุณยิ่งใหญ่    ไพบูลย์
                                      หาประมาณมิได้    ดุจทะเลเปี่ยมด้วยน้ำ
                                      พระอริยบุคคลเหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐสุด
                                      เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
                                      เป็นผู้ให้แสงสว่างคือปัญญาแก่ชาวโลก    ย่อมยกธรรมขึ้นแสดง

                  [๗๕๓]            ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้นชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว
                                      บูชาสักการะด้วยดีแล้ว    ทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้นมีผลมาก
                                      ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว

                  [๗๕๔]            เหล่าชนมาหวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้เกิดปีติโสมนัส
                                      กำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้งมูลเหตุได้
                                      ท่องเที่ยวไปในโลก    ไม่ถูกบัณฑิตติเตียน    จึงเข้าถึงแดนสวรรค์ได้

                                          วิหารวิมาน จบ
26  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากทราบว่า ทำบุญโดยไม่ได้อธิษฐานเพียงพนมมือขึ้นจรดศรีษะพร้อมปัจจัยได้บุญหรือไม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:43:38 am
ก็เหล่าเปรต หรือ เหล่าดวงวิณญาณ จะทำบุญ จะปฏิบัติธรรม นั้นเป็นการอยาก จะมีก็แต่เพียง ร่วมอนุโมทนาบุญกับเรา  ก็ด้วยการอนุโมทนาบุญนี้ ของเหล่าสัตว์ จึงทำให้เขาเหล่านั้น ได้บุญ มีกำลังบุญ ถึงขนาดได้เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิกันเลยที่เดียว แล้วจะประสาอะไรกับเราละ  เราก็ได้ไม่ใช่น้อย
27  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระสูตรประจำวันนี้ : ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 01:16:06 pm
                                         ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
                                         ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ


   {๑๒๖}[๓๖]    ภิกษุทั้งหลาย    บุญกิริยาวัตถุ    ๓    ประการนี้
            บุญกิริยาวัตถุ    ๓    ประการ    อะไรบ้าง    คือ
                        ๑.    บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน
                        ๒.    บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล
                        ๓.    บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา

            ภิกษุทั้งหลาย    บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย    และไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย    หลังจากตายแล้ว    เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์

            บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลพอประมาณ    แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย    หลังจากตายแล้ว    เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคดีในมนุษย์

            บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง    ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง    แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย    หลังจากตายแล้ว    เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นจาตุมหาราช    ภิกษุ
ทั้งหลาย    ท้าวมหาราชทั้ง    ๔    ในชั้นนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น    ย่อมครอบงำเทวดาชั้นจาตุมหาราชได้โดย
ฐานะ    ๑๐    ประการ    คือ    อายุที่เป็นทิพย์    วรรณะที่เป็นทิพย์    สุขที่เป็นทิพย์    ยศที่
เป็นทิพย์    อธิปไตยที่เป็นทิพย์    รูปที่เป็นทิพย์    เสียงที่เป็นทิพย์    กลิ่นที่เป็นทิพย์
รสที่เป็นทิพย์    โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์

            บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง    ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง    แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย    หลังจากตายแล้ว    เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์    ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสักกะจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น    ย่อมครอบงำเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้โดย
ฐานะ    ๑๐    ประการ    คือ    อายุที่เป็นทิพย์    ฯลฯ    โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์

            บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง    ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง    แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย    หลังจากตายแล้ว    เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นยามา    ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุยามเทพบุตรในชั้นยามานั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น    ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น    ย่อมครอบงำเทวดาชั้นยามาได้โดยฐานะ    ๑๐    ประการ
คือ    อายุที่เป็นทิพย์    ฯลฯ    โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์

            บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง    แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย    หลังจากตายแล้ว    เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต    ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสันดุสิตในชั้นดุสิตนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น    ทำบุญกิริยาวัตถุ
ที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น    ย่อมครอบงำเทวดาชั้นดุสิตได้โดยฐานะ    ๑๐    ประการ    คือ
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง    ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง    แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย    หลังจากตายแล้ว    เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี    ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรในชั้นนิมมานรดีนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น    ย่อมครอบงำเทวดาชั้นนิมมานรดีได้โดยฐานะ
๑๐    ประการ    คือ    อายุที่เป็นทิพย์    ฯลฯ    โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์

            บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง    ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง    แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย    หลังจากตายแล้ว    เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ภิกษุทั้งหลาย    ท้าววสวัตดีเทพบุตรในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้น    ทำบุญกิริยาวัตถุที่
สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น    ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น    ย่อมครอบงำ
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้    โดยฐานะ    ๑๐    ประการ    คือ    อายุที่เป็นทิพย์    วรรณะ
ที่เป็นทิพย์    สุขที่เป็นทิพย์    ยศที่เป็นทิพย์    อธิปไตยที่เป็นทิพย์    รูปที่เป็นทิพย์
เสียงที่เป็นทิพย์    กลิ่นที่เป็นทิพย์    รสที่เป็นทิพย์    โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
            ภิกษุทั้งหลาย    บุญกิริยาวัตถุ    ๓    ประการนี้แล

                                         ปุญญกิริยาวัตถุสูตร จบ


๑ ปราศจากราคะ  ในที่นี้หมายถึงปราศจากราคะโดยการถอนขึ้นได้ด้วยมรรค  หรือปราศจากราคะโดยการ
   ข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ  (องฺ.อฏฺฐก.อ.๓/๓๕/๒๕๖)
๒ บุญกิริยาวัตถุ  มาจาก  บุญกิริยา  +  วัตถุ  แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้  (๑)  บุญกิริยา  หมายถึงการ
   ตั้งใจบำเพ็ญบุญ  (๒)  วัตถุ  หมายถึงที่ตั้งหรือเหตุให้เกิดอานิสงส์ต่าง ๆ  ดังนั้น  บุญกิริยาวัตถุ  จึงหมายถึง
   การบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์  (องฺ.อฏฺฐก.อ.  ๓/๓๖/๒๕๖-๒๕๗,  องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา  ๓/๓๖/๒๙๒-
   ๒๙๓)  และดู  ที.ปา.  ๑๑/๓๐๕/๑๙๓-๑๙๖,  ขุ.อิติ.  ๒๕/๖๐-๖๑/๑๗๘

28  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระสูตรประจำวันนี้ : ปฐมมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 12:57:21 pm
                                         ปฐมมิตตสูตร
                                 ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ ๑


            {๓๓}[๓๖]    ภิกษุทั้งหลาย    มิตรประกอบด้วยองค์    ๗    ประการ    เป็นผู้ควรเสพ
            องค์    ๗    ประการ    อะไรบ้าง    คือ

                        ๑.    ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก
                        ๒.    ทำสิ่งที่ทำได้ยาก
                        ๓.    อดทนถ้อยคำที่อดทนได้ยาก
                        ๔.    เปิดเผยความลับแก่เพื่อน
                        ๕.    ปิดความลับของเพื่อน
                        ๖.    ไม่ทอดทิ้งในยามวิบัติ
                        ๗.    เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น

            ภิกษุทั้งหลาย    มิตรประกอบด้วยองค์    ๗    ประการนี้แล    เป็นผู้ควรเสพ

                                              มิตรย่อมให้สิ่งที่ให้ได้ยาก    ทำสิ่งที่ทำได้ยาก
                                  อดทนคำหยาบแม้ที่อดทนได้ยาก
                                  เปิดเผยความลับแก่เพื่อน    ปิดความลับของเพื่อน
                                  ไม่ทอดทิ้งในยามวิบัติ
                                  เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น
                                              ในโลกนี้    ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด
                                  บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตร
                                  ผู้ต้องการจะคบมิตร    ควรคบมิตรเช่นนั้น


                                          ทุติยมิตตสูตร
                                    ว่าด้วยองค์แห่งมิตร สูตรที่ ๒


            {๓๔}[๓๗]    ภิกษุทั้งหลาย    มิตรประกอบด้วยองค์    ๗    ประการ    เป็นผู้ควรเสพ    ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้    แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม
            องค์    ๗    ประการ    อะไรบ้าง    คือ

                   ๑.    เป็นที่รักเป็นที่พอใจ                       
                   ๒.    เป็นที่เคารพ
                   ๓.    เป็นที่ยกย่อง
                   ๔.    เป็นนักพูด
                   ๕.    เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ
                   ๖.    เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้
                   ๗.    ไม่ชักนำในอฐานะ

            ภิกษุทั้งหลาย    มิตรประกอบด้วยองค์    ๗    ประการนี้แล    เป็นผู้ควรเสพ    ควรคบ
ควรเข้าไปนั่งใกล้    แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม

                                       มิตรเป็นที่รัก    เป็นที่เคารพ    เป็นที่ยกย่อง
                                  เป็นนักพูด    เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ
                                  พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้    ไม่ชักนำในอฐานะ
                                              ในโลกนี้    ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด
                                  บุคคลนั้นจัดว่าเป็นมิตรผู้มุ่งประโยชน์และอนุเคราะห์
                                  ผู้ต้องการจะคบมิตร    ควรคบมิตรเช่นนั้น
                                  แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม

                                         ทุติยมิตตสูตร จบ
 



๑ เป็นที่รักเป็นที่พอใจ  ในที่นี้หมายถึงมีลักษณะแห่งกัลยาณมิตร  ๘  ประการ  คือ  (๑)  มีศรัทธา  คือ  เชื่อการ
   ตรัสรู้ของพระตถาคต  เชื่อกรรมและผลของกรรม  (๒)  มีศีล  คือ  เป็นที่รัก  เป็นที่เคารพ  เป็นที่นับถือของ
   สัตว์ทั้งหลาย  (๓)  มีสุตะ  คือ  กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้งที่สัมปยุตด้วยสัจจะและปฏิจจสมุปบาท  (๔)  มีจาคะ  คือ
   ปรารถนาน้อย  สันโดษ  ชอบสงัด  ไม่คลุกคลีด้วยหมู่  (๕)  มีความเพียร  คือ  ปรารภความเพียรในการปฏิบัติ
   เพื่อเกื้อกูลแก่ตนและเกื้อกูลแก่ผู้อื่น  (๖)  มีสติ  คือ  มีสติตั้งมั่น  (๗)  มีสมาธิ  คือ  มีจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน
   (๘)  มีปัญญา  คือ  รู้อย่างไม่วิปริต ใช้สติพิจารณาคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม  รู้สิ่งที่เกื้อกูลและสิ่งไม่
   เกื้อกูลแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วยปัญญาตามความเป็นจริง  มีจิตเป็นหนึ่งในอารมณ์นั้นด้วยสมาธิ  เว้นสิ่งที่ไม่
   เกื้อกูล  ประกอบสิ่งที่เกื้อกูลด้วยความเพียร  (องฺ.สตฺตก.ฏีกา  ๓/๓๗-๔๓/๒๐๓)
๒ เป็นนักพูด  ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ฉลาดในการใช้คำพูด  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๓๗/๑๗๙)
๓ อดทนต่อถ้อยคำ  ในที่นี้หมายถึงปฏิบัติตามโอวาทที่ท่านให้แล้ว  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๓๗/๑๗๙)
๔ ถ้อยคำลึกซึ้ง  หมายถึงเรื่องเกี่ยวกับฌาน  วิปัสสนา  มรรค  ผล  และนิพพาน  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๓๗/๑๗๙)
๕ ไม่ชักนำในอฐานะ  หมายถึงป้องกันไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล  มีคติเป็นทุกข์  แต่ชักชวนให้
   ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลมีคติเป็นสุข  (เทียบ  องฺ.สตฺตก.ฏีกา  ๓/๓๗/๒๐๓)



29  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระสูตรประจำวันนี้ : ปราภวสูตร ว่าด้วยความเสื่อมและความเจริญของอุบาสก เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 12:38:17 pm
                                         ปราภวสูตร
            ว่าด้วยความเสื่อมและความเจริญของอุบาสก

   [๓๑]      ภิกษุทั้งหลาย    ความเสื่อมของอุบาสก    ๗    ประการนี้    ฯลฯ
            ภิกษุทั้งหลาย    ความเจริญของอุบาสก    ๗    ประการนี้
            ความเจริญของอุบาสก    ๗    ประการ    อะไรบ้าง    คือ

                        ๑.    ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ
                        ๒.    ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม
                        ๓.    ศึกษาในอธิศีล
                        ๔.    มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ    ผู้เป็นนวกะ    และผู้เป็นมัชฌิมะ
                        ๕.    ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ
                        ๖.    ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
                        ๗.    ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน

            ภิกษุทั้งหลาย    ความเจริญของอุบาสก    ๗    ประการนี้แล

                                              อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
                                  ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม    ไม่ศึกษาในอธิศีล
                                  ไม่มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
                                  ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้ง
                                  แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
                                  และทำอุปการะนอกศาสนาก่อน

                                              อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม    ๗    ประการ
                                  อันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
                                  ส่วนอุบาสกใดไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน
                                  ไม่ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม    ศึกษาในอธิศีล
                                  มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย
                                  ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้ง
                                  ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้
                                  และทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน

                                              อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม    ๗    ประการ
                                  อันไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล
                                  ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม

                                         ปราภวสูตร จบ


พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
หน้าที่ ๔๗/๕๖๔    ข้อที่ ๓๑
30  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมบุญหล่อ พระราหุลเถรเจ้า และ สมเด็จ(สุก ไก่เถื่อน) 29 นิ้ว 16 มี.ค.56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 11:44:42 am
ไม่ทราบว่ารอบนี้ จะได้พบพระอาจารย์ หรือไม่ครับ

อนุโมทนาสาธุ ครับ
 :25: :25: :25:


 

อนุโมทนา ด้วย สำหรับ งานบุญ หล่อพระ ปี 2556
งานนี้ ก็เชิญทุกท่านไปพบกัน ที่โรงหล่อ นะจ๊ะ

  :25:

งานนี้พระอาจารย์ไปด้วยนะจ๊ะ ใครที่อาจจะพบเจอพระอาจารย์ก็ไปเจอกันได้ที่งานนี้
31  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ใครเคยแผ่ เมตตา 10 ทิศบ้างครับ ไม่ทราบหาครูอาจารย์ อธิบาย นำสอนเรื่องนี้ได้ที.. เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 11:41:34 am
การแผ่เมตตา 10 ทิศนั้น  ก็มีอยู่ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ


ที่กระทู้  : ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=480.0

       สำหรับพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีลักษณะการเจริญจิตในลักษณะดังกล่าวอยู่ในห้องพุทธคุณด้วยการเจริญจิตภาวนา-วิปัสสนาในฐานจิตที่ ๔ พระอุพเพงคาปิติ (ฐานธาตุลม) จุดปัคคหะอยู่บริเวณลิ้นปี่พอดี เมื่อเริ่มภาวนาก็ให้สัมปยุตลงศูนย์นาภี (สะดือ) บริกรรมนับ "พุทโธ" ไปเลยๆพอจิตนิ่ง หากมีวสี (ความชำนาญ) ให้เดินฐานจิตไปที่จุดปัคคหะอยู่บริเวณลิ้นปี่ (อย่าฝ่ากลางเป็นแนวตรงเด็ดขาดไม่อย่างนั้นจิตแตกได้) คือให้อธิษฐานเจริญจิตภาวนา-วิปัสสนาในฐานจิตที่ ๔ พระอุพเพงคาปิติ (ฐานธาตุลม) โดยเวียนอ้อมขวาครึ่งวงกลมไปที่ลิ้นปี่ (ฐานจิตที่ ๔ พระอุพเพงคาปิติ (ฐานธาตุลม) ส่วนในรายละเอียดนั้นขอให้พบพระอาจารย์สนธยา "ธัมมวังโส ภิกษุ" จะดีกว่าครับ...ผมมิอาจกล่าวก้าวล่วงเกินเลยไปในที่นี้...เพียงบอกกล่าวคร่าวๆให้พอเป็นความรู้...หากใครใคร่สนใจอย่างไรต้องมาเรียนใกล้ชิดครูบาอาจารย์คุมจิตให้ การเลื่อนฐานจิตนั้นเป็นดุลยพินิจของครูบาอาจารย์ครับ...สวัสดี.

จากคุณ THAWATCHAI173

ที่เหลือ รอคุณnathaponson มาโพสบอกนะจ๊ะ
32  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขณะเพ่งจิต คือการตั้งจิตไว้ในกาย ขณะปล่อยจิต คือการตั้งกายไว้ในจิต ใช่หรือไม่ ? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 11:38:41 am
ขณะเพ่งจิต คือ เห็น โดยไม่ได้ลืมตา ใช้จักขุทวาร ตาภายใน

การตั้งจิตไว้ในกาย คือ นึกอยู่ เพ่งอยู่แต่ ภายในกาย เท่านั้น

ขณะปล่อยจิต คือ  การไม่เข้าไปควบคุมจิต ไม่ไป บังคับ หรือปรุงแต่งจิต  แต่นี้มีสอง
                          หนึ่งคือ ตามธรรมดาของผู้ที่จิตยังไม่เข็มแข็ง  เมื่อปล่อยจิตแล้ว 
                    ก็จะเข้าสู่สะภาวะเดิม คือถูกกิเลสเข้าครอบงำ
                          สอง เมื่อจิตมีกำลัง ถ้าปล่อยจิต เขาก็จะทำงานของเขาเองมีปัญญา (เข้าสู่วิปัสสนาญาณ)

การตั้งกายไว้ในจิต คือ  ไม่มี กายเราเห็น ๆ รู้ ๆ กันอยู่ ว่าอยู่ ที่ตรงนี้ แล้วจิตละ อยู่ที่ไหน ไหนละจิต

   จิต คือ จิต  เห็นจะมีแต่ที่จิต จะสถิตอยู่ แต่ไม่เห็น อะไรเลย ที่จะมาสถิตอยู่ที่จิต  ไม่มี  เว้นแต่ จิต ใน จิต
33  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การอนุโมทนาบุญ ด้วยการกล่าวคำว่า "สาธุ" โดยที่เราไม่ได้บริจาคทรัพย์ได้บุญหรือไม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 10:22:36 am
ได้บุญจะ เป็น ปัตตานุโมทนา คือการยินดีในบุญ  ที่ผู้อื่นถึงพร้อมแล้ว เช่น เห็นผู้อื่นทำบุญตักบาตร  เมื่อเราพลอยปีติยินดี  กล่าวอนุโมทนา  เพียงเท่านี้ก็ได้บุญแล้ว เป็นหนึ่งใน บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

แต่ในความละเอียดก็จะมี ในเรื่องของจิต ว่า มีความศรัทธา มีความปีติ ยินด มากน้อยคแ่ไหน

เอาไหวจะมากล่าว เรื่องหนึ่งให้ได้ทราบกัน

แต่อนุโมทนา พระเองก็กระทำ เช่นกัน  ถามว่าในตอนไหน

ก็ตอนที่เวลาโยม ๆ ทำบุญกันนะแหละ

อย่าง เช่น ตอนเวลาที่โยมใส่บาตร นะแหละ พระก็จะกล่าวว่า

อะภิวาทะนะสีลิสสะ              นิจจัง  วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร  ธัมมา  วัฑฒันติ    อายุวัณโณ  สุขัง  พะลัง

ก็แปลความได้ว่า
ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปรกติไหว้กราบ
มีปรกติอ่อนน้อม(ต่อผู้ใหญ่)เป็นนิตย์

ซึ่งเมื่อมาดูในหนังสืออย่างมนต์พีธี ที่พระใช้สวดท่องกัน ที่หน้า ๑๓๒
ก็จะเห็นเขียนว่า "อนุโมทนาวิธี"

ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าก็เป็นสิ่งปรกติอยู่แล้ว พระยังทำกันเป็นประจำเลย
แต่อาจจะแปลก ๆ ที่โยม ๆ ไม่ค่อยได้กระทำกัน พอมาอนุโมทนากัน จึงรู้สึกแปลก

34  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากทราบว่า ทำบุญโดยไม่ได้อธิษฐานเพียงพนมมือขึ้นจรดศรีษะพร้อมปัจจัยได้บุญหรือไม่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 10:14:51 am
ทำบุญก็ได้บุญ

ส่วนอธิฐาน ก็เป็นเรื่องของการอธิฐาน

วันนี้ยังมิได้อธิฐาน วันหลัง ๆ ก็ยังอธิฐานได้

แต่ผู้ที่ฉลาด เมื่อทำบุญก็อธิฐานใช้เลย ไวดี ทันใช้เลย

อย่างเช่น เมื่อทำบุญแล้วก็กรวดน้ำเลย (ใช้บุญที่มีที่ทำเลย) ทันอุทิศ ส่งผลบุญ

ใช้เวรใช้กรรมกันไปเลย สำหรับคนที่ เจอเจ้ากรรมนายเวรตามรังควาน

หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว(งานศพ) บางคนก็เปลี่ยนภพภูมิ เป็นเทวดากันไปเลย

ก็เป็นบาระมี ดี ทันใช้
35  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: แสวง เร่งปฏิบัติ (ส่วนตัว) เข้ากรรมฐาน ต้องปิดว่าจาที่วัดศรีโอภาส เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 03:57:48 pm
        เบื้องต้น ท่านสั่งให้เราสนใจแต่ลมหายใจเข้าออกของเรา ถ้าอะไรเกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันมัน  แล้วพอครบหนึ่งบรรลังก็เปลี่ยนบรรลัง ตอนนี้สำคัญที่พอถึงเวลาเปลี่ยน ก็ต้องเปลี่ยน ต้องรู้ตัวว่าทำอะไรอยู่ 555 พอทำเข้าจริง ๆ แล้วเราจะรู้ไม๊เนี้ยว่ามัน 15 นาทีแล้ว เอาวะ เอางี้ก็แล้วกัน (หาทางออก) ก็เลยเอามือถือมาตั้งเวลาไว้   ให้อย่างน้อยก็เครื่องรู้ เพื่อตรวจสอบเรื่องเวลา ก็แปลกดี ที่แรกเราก็เปลี่ยนบรรลังไม่ได้ตรงตามเวลา แต่พอตั้งใจ อยู่แต่กรรมฐาน ไม่ฟุ้งไปไหน ตั้งจิตอยู่แต่ในกาย กลับทำได้อย่างน่าแปลก คือพอเรามั่นใจว่าครบเวลาที่จะต้องเปลี่ยนบรรลังแล้ว เราก็ทำการเปลี่ยน  แล้วมือถือก็ดังขึ้นตรงตามเวลาเลย  สองวันแรก ในช่วงของการปฏิบัติติดต่อกัน บรรลังแรก เราก็พอจะทำได้ แต่พอบรรลังหลัง ๆ เริ่มเหนื่อย เริ่มไม่ได้ตามเวลา เริ่มรวน ๆ แล้วก็ปวดหัวมาก เพราะต้องสู้กันกับจิตที่จะค่อยแต่จะส่งออกนอก แถมเดินจงกรมก็บวดเท้า อย่างน่าแปลก พอแจ้งกรรมฐาน

พระอาจารย์ก็บอกว่า  มาถูกทางแล้ว ต้องปฏิบัติอีกให้มาก
                       ที่ผมได้ไว เพราะกลางคืนผมปฏิบัติด้วยผมจึงได้ไว     
                       เออะ บอกเราแบบนี้ ก็น้อบรับ และชัดเจนว่าให้เราทำ เราก็คิดในใจ
                       จะไม่ให้เรานอนเลยหรือเนี้ย เอา เอาก็เอา 
       ทีนี้ ก็เลยลองไม่นอนเลย วันที่สามรองดู แต่ก็ทำไม่ได้ง่วง ก็หลับ แต่ตื่นมาปวดตัวมาก ก็ไม่ได้ไปทำงานอะไรหนัก ๆ นี้หน่า ก็สู่ต่อไปที่นี้ เวลาจิตสงบดีแล้วก็เกิดเข้าใจอะไรต่อมิอะไรซะอย่างงั้น 
        เช่นว่า ถ้าปิดวาจาแล้วไปนั่งเล่นกับคนอืน(ไปนั่งเล่นกับโยม) แล้วทำไมต้องมาปิดวาจาด้วย แสดงว่า ต้องปิดตา ปิดใจเราด้วย ถึงจะถูก
        เวลาเขาคุยอะไรกัน เราได้ยิน แถมรู้มากกว่าที่เขาพูด เอาละสิทำอย่างไรดีละ จะพูดบอกเขาก็ทำไม่ได้ ก็ต้องปล่อยเขาให้ไม่รู้ต่อไป  ทำไงได้ ก็เราต้องปิดวาจาอยู่นิ
        ก็เข้าใจอะไรมากขึ้น ว่าต้องอุเบกขาให้ได้ เพราะไม่อย่างนั้น เราก็จะทุกข์  นั้นไง อกุศลเริ่มจะเกิดขึ้นแล้ว เรารู้ทั้นเจ้าแล้วเจ้ามาร ทันใดความรู้สึกที่อยากจะพูดคุยกับเขาด้วยมันก็หาไป  ที่นี่พอทำได้มาก ๆ เข้า ก็เจอแต่จิตเราอย่างเดียว เพราะ ไม่ได้เจอใครเลย
        ที่นี้ก็คอยทะเลาะกับจิตตัวเองเป็นหลัก สู้ได้มีสติดีบ้าง ถูกหลอกส่งจิตออกไปข้างนอกบ้าง จนสุดถ้ามาจับได้ว่า มันส่งออกนอกไปได้ยังไง ก็เพราะอกุศลจิตมันเกิด จึงเข้าใจว่า
        อ๋อ อย่างนี้นี่เองที่ว่า ระวังไม่ให้อุศลจิตมันเกิด  ที่นี้ยิ่งชัดเลยว่า ที่ผ่านมา ทีเราเห็นว่าคนอื่นเป็นคนผิดกันไปหมด ที่จริงมัน ที่จิตเราที่อกุศลจิตมันเกิด ใช่เลย
        ให้ดูที่ตัวเรา ไม่ให้ไปดูคนอื่น อ๋อมันอย่างนี้นี่เอง ประโยนช์อันใดเหล่าที่เราจะมัวไปดูคนอื่น นั้นนะสิ ไม่มีประโยนช์ แล้วก็ได้ ในข้อที่ว่า
        ไม่ให้ส่งจิตออกนอก เพราะเมื่อไม่ทำการส่งจิตออกนอน มันสามารถที่จะทำให้เราได้ในเรื่องของการเปลี่ยนบรรลังโดนอัตตโนมัต จากสิ่งนี้
        เห็นเป็นสิ่งอัศจรรย์ ก็นั่นนะสิมันเป็นไปได้ยังไง นั่งพอถึงเวลา เราเปลี่ยนท่า มันก็แป๊ะเลย หรือเดินจงกรม พอสุดทางเดิน ก็แป็ะเลยเหมือนกัน จึงไปนึงถึงที่ว่า
        ธรรมที่พุทธองค์ทำ มันเป็นสิ่งเหนือโลก ใคร ไม่ทำให้เห็นจริงตามได้ ก็เข้าไม่ถึง เป็นการเข้าถึง เข้าใจได้เฉพาะตน ที่เรียกว่าปัจจัตตัง รู้ได้ด้วยตนเอง

        นี้ก็ส่วนหนึ่ง ก็เพื่อแสดงให้ทุกท่านเห็นว่า ถ้าเราเรียนท่องจำกันอย่างเดียว ไม่มันได้ มันต้องมาปฏิบัติกันด้วย
        ที่นี้เวลาแสดงธรรม  โอ้มันทำได้แสดงได้พูดออกอธิบายได้ เวลาฟังพระอาจารย์ท่านที่ทำได้จริง เลยเข้าใจว่าเป็นอย่างนี้นี่เอง ท่านไปถึงที่ตรงนี้ ตรงนี้ แต่ท่าน นี้นี้ ยังไปไม่ถึงเพราะกล่าวผิด แต่นั้นก็เรื่องของท่านเหล่านั้น ได้ธรรมเพิ่มขึ้นอีก
         ที่ให้ต้องปิดวาจา ก็เป็นการรักษาศีลด้วย เพราะเราก็จะไม่มีโอกาสพูดธรรม ที่ไม่มีในตน ในส่วนของพระก็ทำให้พระศีลสะอาดมากขึ้น ของพระก็ถือเป็นการอวดอุตริมนุษธรรม ก็ธรรมเหล่านั้น เรายังไม่ได้ เรายังไปไม่ถึง ยังไม่มีในตน ก็เป็นโทษในการปฏิบัติ  ของผู้ปฏิบัติธรรม โอโหแรงมาก เริ่มกลัวเลย เริ่มระวังในการพูดธรรมะอย่างมากเลยในตอนนี้ พระนะเขาสามารถ ปรับปาราชิกกันได้ แต่โยมนะฉันไม่รู้ แต่ที่รู้ ๆ นะ มีผลต่อการ ปฏิบัติแน่นอน คือถ้าต้องการความสำเร็จโดนเร็วนะ ยากไม่ได้หรอก ถ้ายังพูดในสิ่งที่ตนเองยังไม่ได้ยังไปไม่ถึง แถมพูผิดอีก ไม่รู้อีกว่าพาคนอื่นเขาไปไหน ทำให้เกิดการช้าในการปฏิบัติของผู้ที่ไปได้ยินได้ฟังได้รู้ในสิ่งที่เราพูดไป ก็ย้อนกลับมาทำให่ผู้พูดเองได้รับกรรมนั้น เสียเวลาไปด้วย ทำให้นึกถึงตอนมีพระมาถามพระอาจารย์สนธยาว่า ทำไมผมถึงไม่ไปไหนสักที่ พระอาจารย์สนธยา ก็ตอบว่า บางที่ท่านอาจจะต้องหยุดสอนเสียบ้าง ก็น่าจะคือ เลิกพูด เลิกบอกสอนนะแหละ ตามที่เราเข้าใจ


เท่านี้ก่อนนะจ๊ะ เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านนักปฏิบัตินะจ๊ะ
36  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: แสวง เร่งปฏิบัติ (ส่วนตัว) เข้ากรรมฐาน ต้องปิดว่าจาที่วัดศรีโอภาส เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 02:44:52 pm
จากการปฏิบัติที่ผ่านมา เลยทำให้นึงถึงว่า พระอาจารย์สนธยา ได้มีการพูดบอกเรื่องการปิดวาจาไว้ด้วยหรือเปล่า  เลยทำการค้นหาดู ก็ไปเจอมา เลยนำมาแนะนำ เหล่าบอกกันต่อ

จากกระทู้ : พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน
        ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1438.0

ก็ได้คำตอบมาว่า :
        การฝึกกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา ส่วนใหญ่นั้นจะนิยมการปิดวาจา
การปิดวาจา ก็คือ การหยุดพูด เพ้อเจ้อ ส่อเสียด คำหยาบ คำโกหก เป็นต้น
ดังนั้นการปิดวาจา จักให้ทำให้ ศีล ในส่วนนี้สมบูรณ์ มาตรฐานก็เห็นด้วย

แต่ในส่วนของพระอาจารย์เอง เวลาไปฝึกกรรมฐาน ไม่เคยสั่งให้ ศิษย์ปิดวาจา แต่เปิดโอกาส มีการสนทนา
แลกเปลี่ยนกัน เพราะเมื่อทุกคนปฏิบัติในช่วงที่พระอาจารย์ 80 % ได้สมาธิ ขั้นต่ำก็ 30 นาที
และอีก 80 % ที่เจริญวิปัสสนาได้ ดังนั้นจึงไม่ห่วงเรื่องการปิดวาจา เพราะผู้ที่ตั้งใจมาปฏิบัติภาวนา
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ส่วนใหญ่เป็นผู้มุ่งมั่นในการภาวนา ส่วนใหญ่จะเป็นสาวกภูมิด้วย
จึงไม่มีความจำเป็นต้องสั่งปิดวาจา ให้กับศิษย์กรรมฐาน

      การปิดวาจา หมายถึง การปิดจิตไม่ให้ พูด ฟุ้งซ่าน พูด ไปโดยไม่ได้ยั้งคิด ไม่ประกอบด้วยกุศล

การปิดวาจา ไม่ได้ หมายถึงการไม่พูดอะไร บางท่าน ปิดด้วยการไม่พูด ฟุ้งซ่านมากกว่าเดิม
การปิดวาจา คือ การพูดคุย เท่าที่จำเป็น พูดคุยด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใส
การปิดวาจา ต้องงดเสพกิเลสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นด้วย ทางสัมผัสด้วย ปิดวาจาไปนั่งดูทีวี เดินเที่ยวห้าง อย่างนี้ใช้ไม่ได้ อันนี้ไม่เรียกว่า ปิดวาจาทางการภาวนา
การปิดวาจา จุดประสงค์ใช่ปิดแต่คำพูด แต่ปิดการเสพอารมณ์กิเลสทั้งหลายด้วย นะจ๊ะ
การปิดวาจา ในระหว่างภาวนานั้น ให้ปิด เฉพาะการพูดคุยกับ เพื่อน ๆ แต่ กับครูอาจารย์ไม่ควรปิด เพราะต้องแจ้งกรรมฐาน ส่งอารมณ์ สอบสภาวะ

ดังนั้นการปิดวาจา จึงมีความจำเป็นต่อการภาวนา มาก ๆ นะจ๊ะ


หลังจากที่ได้เข้าปฏิบัติ ก็เห็นจริง ตามที่พระอาจารย์สนธยากล่าว

และในตอนนั้นเกิดเข้าใจอะไร ๆ อีกหลายอย่าง เห็นน่าจะเกิดประโยนช์มากกับหลายท่าน จึงจะขอนำมากล่าวไว้นะที่นี้

      ที่แรก เราเองไม่ได้เข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกัน การปิดวาจา กับการปฏิบัติกรรมฐาน  แต่พอได้ขอเข้ากรรมฐาน จึงชัดแจ้งมากขึ้น คือ แรกเลย ต้องเข้าไปขอกรรมฐาน กับพระอาจารย์ที่เรา ต้องการจะเรียนกรรมฐานด้วย ด้วยการกล่าวบอกขอให้ท่านเป็นอาจารย์ของเรา และถวายพานขันธ์ มีดอกไม้ธูปเทียน
      พระอาจารย์ก็จะกล่าวต่อ เราก็กล่าวตามต่อว่า ภาระของข้าพเจ้า เป็นภาระของพระอาจารย์ ภาระของพระอาจารย์ เป็นภาระของข้าพเจ้า แค่เบื้องต้นนี้ ก็เกิดปีติ น้ำตาคลอเบ้าแล้ว ด้วยดีใจอย่างสุดซึ้ง ที่ท่านรับเราเป็นศิษย์ มิได้รังเกียจอะไร เหมือนที่เราคิดกังวล คือ เมื่อก่อนเราถามอะไร ในเรื่องของการปฏิบัติ ท่านก็ไม่ได้ตอบ จนทำให้เรารู้สึกว่าไม่มีที่ผึ้ง
      แต่นี้ไม่เลย เพียงแต่เราทำไม่ถูกต้อง ในการเข้าหาครูบาอารย์
แถมเมื่อได้กล่าวเรื่องภาระกันทั้งสองฝ่ายแล้ว ยิ่งรู้สึกเหมือน ฉันพ่อลูกที่จะต้องดูแลกัน ห่วงใยกัน
หลังจากรับพานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์ก็บอกสอนให้ สำหรับเราแล้ว พระอาจารย์สั่งว่า ให้ปฏิบัติเป็นบรรลัง บรรลังละ 15 นาที สับเปลี่ยนกันไปเรื่อย ๆ ทั้งยืน เดิน นั่ง และนอน และบอกว่าต้องปิดวาจาด้วยนะ

           ต้องปิดวาจาด้วยหรือครับ !
           อา ต้องปิดด้วย
           แล้วจะสวดมนต์ยังไงครับ ?
           ก็สวดเบา ๆ แล้วกับอาจารย์ผู้ให้กรรมฐานนะ พูดได้ พูดได้แต่กับอาจารย์ผู้ให้กรรมฐานเท่านั้น
           ส่วนจะเอาอะไร ก็เขียนบอกโยมเขาเอา
           แล้วระวังอย่าไปอยู่กับคนอื่น เราไม่มีหน้าที่อะไร ก็ไม่ต้องไปทำ

           เราก็คิดในใจ ก็ที่พระอาจารย์บอกให้เราทำ ก็มีเพียงการปฏิบัติ ในการยืน เดิน นั่ง นอน อย่างนี้
           เขาทำอะไรกัน เราก็ไม่ต้องไปยุ่งกับเขา ไม่ใช่หน้าที่เรา
           หน้าที่เราในตอนนี้คือปฏิบัติ อย่างเดียวเลย
           ดีจัง หาโอกาสแบบนี้ยาก

           ที่ปฏิบัติ คือที่กุฏิ ในกุฏิ ด้านนอนกุฏิไม่นับ ถือเป็นอิริยาบถยอย
           แล้วสองวันก็มาแจ้งกรรมฐานครั้งหนึ่ง


      จากนั้นก็เริ่มภาระกิจ เราก็ยังรู้สึกเฉย ๆ เพราะธรรมดาก็ไม่ค่อยจะได้พูดกับใครอยู่แล้ว
พอมาเริ่มนั่งกรรมฐานความยากก็บังเกิด
[/color]
37  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เราจะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ ไปทำไม ในเมื่อ ไม่มีอะไร ๆ ในโลกนี้ เป็นเราของเรา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 12:21:34 pm
เราจะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ ไปทำไม ในเมื่อ ไม่มีอะไร ๆ ในโลกนี้ เป็นเราของเรา

   คือ อยู่ ๆ ก็มีความรู้สึกขึ้นมาว่า ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา พอรู้สึกอย่างนี้ ก็รู้สึกว่าตนเองโง่ ทันที และ โง่มาก ๆ ที่มามัวหลงยึด หลงทำ หลงสร้าง ด้วยความคิดที่่ว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่จะทำให้ให้ คุณภาพชีิวิตดีขึ้น แต่กลับยิ่งแย่ลง เพราะเราเท่ากับไปอยู่ในวังวน ของ กิเลส ของเรา และ ของคนรอบข้าง

   จนมีความรู้สึกว่า ทุกวันนี้ เหนื่อยไปเพื่อ อะไร กันแน่ ทั้งที่หาแก่นสารไม่ได้ เลยในสิ่งที่ทำอยู่

 ผมควรจะต่อความรูัสึก ทางธรรม นี้อย่างไร ดีครับ

  โปรด ชี้นำด้วยครับ


  thk56

อันที่จริงสิ่งที่ทุกคนทำ ก็คือ เพียงแค่ต้องการที่จะมีความสุข

ไม่อยากได้ความทุกข์ ไม่อยากมีทุกข์

จึงแสวง ไขว่ขว้า หาความสุข ทุกวันนี้ที่พอจะทำกันได้ก็คือ

เปลี่ยนไปเรื่อยๆ คือ อย่างเช่นว่า ตอนนี้เราฟังเพลงนี้อยู่ ก็เพลินดี มีความสุขดี อิ่มเอิบดี สุขใจ อินไปกับเพลง

แต่ พอเราฟังไปแล้วหนึ่งรอบ ลองฟังต่ออีกหนึ่งรอบดูสิ เราก็จะเริ่มเหมือนอิ่มตัว  พอรอบที่สาม เริ่มเฉย ๆ เบื่อ ๆ

แล้ว  แล้วถ้าเจอแบบว่า เปิดทั้งวันเลย เราก็อาจจะรู้สึกว่า อยากจะตายเลยก็ได้

แล้วที่นี้ทำไง  เราก็แก้ปัญหาด้วยการ เปลี่ยนเพลงใหม่ ฟังเพลงถัดไป ฟังเพลงอื่น ๆ อีกต่อไป

ก็เช่นกัน เราเองก็เปลี่ยน จากดูหนัง ก็ไปฟังเพลง ก็ไปเที่ยวเล่น ก็ไปคุยสนทนากับเพื่อนฝูง เปลี่ยน หนีไปเรื่อย ๆ  เพื่อไม่ให้ความทุกข์มันเกิด

แล้วมันเกิดได้ยังไงละ ก็ไม่รู้สิ ถ้เราอยู่เฉย ๆ เดี๋ยวมันก็ทุกข์เอง

เดี๋ยวก็เจ็บไข้ได้ป่วย

เดี๋ยวก็มีคนมาพูดอะไรที่เป็นการทำร้ายเรา

เดี๋ยวก็ ร้อน หิว กระหายน้ำ ปวดท้องอึปวดฉี่

หรืออยู่ดี ๆ คนที่เรารักก็มาจากกันไป

ทั้งหมดทั้งปวง เราก็ทำให้เพื่อสิ่งเหล่านี้ ไม่เกิดขึ้นแก่เรา นั้นคือความจริง และสิ่งที่ทุกคนกระทำกัน มันก็ไมาสามารถที่จะมาแก้ทุกข์ตรงนี้ได้จริง ที่เราทำกันได้ คือ เพียงแค่หนี ไปตรงโน้น หนีไปตรงนั้น ไม่เป็นสรณะ ที่พึ้งได้จริง พอในที่สุดเราหมดกำลังที่จะหนี หรือไม่ไหวแล้ว ฉันไม่อยากจะหนีอีกต่อไปแล้ว ก็จะหาที่พึ้งที่สามารถจะพึ้งได้จริง จึงมาทางธรรมกันเพราะหามาหมดแล้ว ลองมาหมดแล้ว ฉันก็ยังทุกข์อยู่ ฉันไม่อยากจะทุกข์แล้วหลวงพ่อ

ที่นี้ว่า เมื่อ ไม่อยากจะทุกข์กันจึง พยายาม ทำยังไงก็ได้ให้ฉันมีเงินได้มาก ๆ เพื่อที่ฉันจะได้เอาเงินไปใช้ซื้อความสุขที่ฉันต้องการได้

แต่กว่าเราจะมีเงินได้มากขนาดนั้นก็ต้องหาเงินกัน ก็ต้องทำงานกัน ก็ต้องหางานดี ๆ ทำ  ก็ต้้องมีความรู้ มีวุฒิการศึกษาที่ดี(หลักฐาน กระดาษรับรอง) ที่ทำงานเขาถึงจะรับเข้าทำงาน ก็ต้องไปเรียนให้เก่ง ก็ต้องหาโรงเรียนที่เก่ง ๆ ก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการศึกษามาก พ่อแม่ก็ต้องทำงานให้มาก  เพื่อที่จะได้มีเงินไปจ่ายค่าเทิมลูก ที่แพง ๆ ได้ เพื่ออนาคตของลูก

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการแสวงหาความสุข  ที่ดูเหมือนจะอ้อมอย่างมาก และใช้เวลาที่นานมาก ๆ เกือบจะทั้งชีวิต

นี้ โง่ หรือ ฉลาด  (ฉันก็เคยโง่)

อันที่จริง ความสุข  มันอยู่ที่ตรงหน้า อยู่ที่วิธีคิด หรือที่เรียกว่าทิฏฐิ ที่ถูกต้องก็คือ สัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้อง

อย่างเวลาที่เราหิว อยากจะกินอันนั้น อยากจะกินอันนี้ แต่หามากินไม่ได้  ก็เอาอะไรก็ได้ที่มีที่พอจะหาซื้อกินได้ มากิน  พอมันอิ่ม ที่นี้ไอ้ที่เราอยากที่แรก ที่อยากจะกินโน้น กินนี้  มันหาไปหมดแล้ว เพราะอะไร  เพราะเราอิ่มแล้ว  ก็เท่านั้น แสดงว่า มันต้องการแค่มีอะไรลงท้อง อะไรก็ได้ ไม่ได้เรื่องมากเหมือนเรา พอลงท้องได้มากพอ มันก็อิ่ม มันก็อยู่ได้  ไม่จำเป็นเฉพาะว่า จะต้องส้มตำเท่านั้น จะต้องต้มยำเท่านั้น  มันก็อิ่มได้  นี้คือมันอยู่ที่ตรงหน้า  เราไม่ต้องไปหาไกล ไม่ต้องขับรถไปถึงเชียงใหม่ เพื่อที่จะไปกินข้าว อันนั้นมันมากไป โง่ไป

ที่นี่มาทางธรรม ก็หาให้เจอ  ว่าอะไรละ  ที่เป็นทุกข์ของเรา  ก็เท่านั้น  ก็แก้ให้มันถูกจุด
38  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เราจะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ ไปทำไม ในเมื่อ ไม่มีอะไร ๆ ในโลกนี้ เป็นเราของเรา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 11:40:00 am
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรปฐมเทศนา

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุด 

สองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ   

        การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน 

เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ 

        การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ 

ด้วยประโยชน์ ๑ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ 

ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ 

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา 

ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน 

นั้น เป็นไฉน? 

        ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ 

ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ 

ตั้งจิตชอบ ๑ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง 

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ 

เพื่อนิพพาน. 

        [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ 

ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก 

ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ 

โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ 

ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา 

ภวตัณหา วิภวตัณหา. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ 

ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ 

นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑. 

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 17

        [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว 

แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.   

                        ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ 

        [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ 

มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า 

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน 

หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ 

มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า 

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก 

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. 

        อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ 

นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป. 

        ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี 

ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา 

สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา. 

        [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ 

บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ 

ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ 

ใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. 

        เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. 

        เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. 

        เทวดาชั้นยามา ... 

        เทวดาชั้นดุสิต ... 

        เทวดาชั้นนิมมานรดี ... 

        เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... 

        เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็ 

บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว   

ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม 

หรือใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. 

        ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล. 

        ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ 

ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. 

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ 

ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อ 

ของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้. 

                                ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

พระสูตร นี้จึงเป็นเรื่องของการนำมนุษย์ออกจากความทุกข์ ระงับทุกข์

   ความทุกข์ ในที่นี้หมายถึง

  ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่  ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก  ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์

 ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์  โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

เครดิตคุณหมวยจ้า จาก กระทู้ : ทรงแสดง พระสูตรแรก ในพระพุทธศาสนาที่มีพระสงฆ์
ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=726.msg3129#msg3129

39  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: เราจะเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ ไปทำไม ในเมื่อ ไม่มีอะไร ๆ ในโลกนี้ เป็นเราของเรา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 10:11:28 am
การเบื่อของคุณใช่นิพพิทาหรือเปล่า ? 

ถ้าไม่ใช่ มันก็คือฟุ้ง ไม่ลงสู่ความสงบ คนละเรื่องกันกับการปฏิบัติ

กระทู้แนะนำ : นิพพิทา คือ อะไร ? จะพอกพูน นิพพิทา ได้อย่างไร โดย arlogo

นิพพิทาสูตร   

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒

             [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท

เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
โดยส่วนเดียว

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

อ่านต่อได้ที่นี่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9974.msg37454#msg37454

กระทู้ที่ใกล้เคียง :
ปฏิบัติกรรมฐาน แล้วมีอารมณ์เบื่อคือไม่อยากทำ ควรทำอย่างไร ?
ควรพอกพูน บารมีธรรมไปเรื่อย ๆ สั่งสม ทาน ศีล ภาวนา ไปเรือย ๆ เจริญกรรมฐาน ไปเรื่อย ๆ
    นานเท่าใด ?  นานจนกว่า นิพพิทา จักบังเกิด
ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6000.0

นิพพิทาสูตร "เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย"
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๙. นิพพิทาสูตร

             [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทเพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

-   ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑
-   มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
-   มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
-   พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
-   ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
           จบสูตรที่ ๙

ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ธรรมเหล่าอื่นจะไม่เกิด
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

สติวรรคที่ ๔
สติสูตร

ตรัสว่า ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็ทำให้ไม่มีธรรมะอื่น ๆ อีก ๗ ข้อโดยลำดับ  คือ

     - ความละอาย ความเกรงกลัวต่อบาป,
     - การสำรวมอินทรีย์ ศีล,
     - สัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ ).
     - ยถาภูตญาณทัสสนะ ( ความรู้ด้วยญาณ ตามเป็นจริง ),
     - นิพพิทา ( ความเบื่อหน่าย ),
     - วิราคะ ( ความคลายกำหนัด ),
     - วิมุตติญาณทัสสนะ ( ความเห็นด้วยญาณถึงความหลุดพ้น ).
ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5287.0

คำถามจากเมล "แสวงหาที่ปฏิบัิติธรรม"
     "กายนคร" คือ อะไร กายนคร ก็คือ ร่างกายจิตใจของเรา นี่แหละไม่ต้องไปหาที่ไหน เพราะว่าไม่ท่านจะปฏิบัติในที่ไหน ๆ ก็ตามสุดท้ายท่านก็ต้องตั้งต้นที่กายนคร และ จบที่กายนคร นี้เท่านั้น

      ดังนั้น กายนคร จึงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่สำคัญ ที่จะทำให้ท่านพ้นจากสังสารวัฏ ความทุกข์ น้ำตา ความร่ำไรรำพัน ความเศร้า ความโศรก ความอาดูร ความผิดหวัง ความชอกช้ำ ความระทม เป็นต้นท่านไม่ต้องแสวงหาไปไกลกัน จนสุดหล้าฟ้าคราม ไม่ต้องหลบไปอยู่ตามถ้ำ ตามป่า แต่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ตราบใดที่ท่านยังมีลมหายใจกันอยู่ ยังมีชีวิตอยู่ เพราะ กายนคร นี้เป็นสถานที่ ๆ ปฏิบัติธรรมภาวนา ที่สำคัญที่สุด

     การเรียนรู้กายนคร เรียนอย่างไร ?

     การเรียนรู้กายนคร นั้นไม่ได้เรียนยาก แต่อยู่ที่ท่านทั้งหลาย ต้องเริ่มต้นเรียนดังนี้

     1.การปล่อยวาง
     2.การพิจารณาธาตุ
     3.การเห็นความเกิด
     4.การเห็นความเสื่อม
     5.การเห็นธรรมจากความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไป
     6.การเข้าถึงสภาวะ นิพพิทา คือความหน่าย ต่อสังสารวัฏ
     7.การเข้าถึงมรรควิถีอย่าง มีลำดับ
     8.การเข้าถึงผลญาณ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
     9.การเข้าพระนิพพาน
  ฃั้นตอนนี้จัดเป็นการศึกษา และ พิจารณา ทั้งสองประการ
ที่: http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5991.0

เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี..."ยถาภูตญาณทัสสนะ" ย่อมไม่เกิด
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

ทุสสีลสูตร

      [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว     
      เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ(๑)  ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
      เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มีนิพพิทา(๒)   และวิราคะ(๓) ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
      เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มีวิมุตติญาณทัสสนะ(๔) ของภิกษุผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว
ที่: http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6410.0

ที่เป็นตัวสีแดงนั้นคือคำตอบ


พระพุทธองค์ตรัสว่า เราจักอาศัยกายนี้ ดำรงอยู่เพื่อบรรลุธรรม
40  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ขอทราบผลเสีย การสอนธรรมะ กับคนที่ไม่สนใจธรรมะ ด้วยครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 09:39:11 am
กระทู้ใกล้เคียงที่น่าสนใจนำมาเป็นคำตอบก็ได้แก่กระทู้นี้นะจ๊ะ :
ต้องทำงาน ต้องเรียน และ ต้องอยู่ กับคนเหล่านี้ ควรทำอย่างไรคะ ?
     ชีวิตต้องทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย ครั้นไปเรียนก็ไปเจอกลุ่มเพื่อน ๆ ที่คอยคะยั้น คะยอให้ทำผิดอีก บ้างก็มาติดต่อให้ชายยาบ้า.. เดินโพยบอล รู้อย่างนี้ จะแจ้งตำรวจก็กลัว คะเพราะพวกนี้มีอิทธิพลในกลุ่มนักศึกษาด้วยคะ รู้สึกว่าชีวิต ทำไมเจอแต่คนไม่ดีคะ

 กลับมาที่บ้านหวังจะได้ความอบอุ่น ก็มาเจอ แม่ไปเล่นไพ่ พ่อนั่งกินเหล้ากับเพื่อน ๆ ทุกวัน โวกเวก โวยวาย ทำไมชีวิตของเราถึงได้เจอแต่คนเหล่านี้คะ

  เราจะมีชีวิตอยู่อย่างไร ในทางที่ดี ในเมื่อเราต้องเจอเหตุการณ์อย่างนี้ทุกวัน ที่ทำได้ตอนนี้ก็คืออดทน ที่จะไม่ยอมเข้าไปร่วมประชดชีวิต แบบนั้นแต่ก็เริ่มรู้สึก ล้า ... จนกำลังใจเริ่มจะหมดแล้ว

   ชีวิตเราเลือกเกิด ไม่ได้......
   แต่ถ้าเราจะภาวนา ให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ ต้องทำอย่างไร บ้างคะ ?



ตอบ : กัลยาณมิตร และโยนิโสมนสิการ
     และข้อนี้ได้มีพระพุทธภาษิตตรัสไว้ในที่อื่นอีกว่า ก็ต้องอาศัย มิตตสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยมิตรอันหมายความว่าได้มิตรที่ดีงามอันเรียกว่ากัลยาณมิตร พระพุทธเจ้าเป็นยอดของกัลยาณมิตร. มารดาบิดาครูอาจารย์ทั้งหลายก็เป็นกัลยาณมิตร เพื่อนมิตรทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ทรงปัญญาสามารถที่จะให้คำแนะนำอบรมอันถูกต้องได้เรียกว่า กัลยาณมิตร. ต้องอาศัยกัลยาณมิตรนี้ประการหนึ่ง.

หรือ
    ในการที่จะปฏิบัติประกอบปัญญาในทางทั้ง ๓ ดังกล่าวนั้น ก็ต้องอาศัยกัลยาณมิตรและอาศัยโยนิโสมนสิการดังกล่าวมานั้นประกอบกันอยู่ตลอดเวลา  ฉะนั้นผู้มุ่งจะได้ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ จึงต้องปฏิบัติตามมงคลสูตรคาถาแรกของพระพุทธเจ้าอยู่ให้เป็นประจำ คือ
      ไม่เสวนาคบหาคนพาลทั้งหลาย เสวนาคบหสบัณฑิตทั้งหลายและบูชาผู้ที่ควรบูชาทั้งหลาย
       เมื่อปฏิบัติอยู่ดังนี้แล้ว จึงจะได้กัลยาณมิตร

ที่ : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9870.msg37887#msg37887
หน้า: [1] 2 3 ... 18