ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อารักขกัมมัฏฐาน ๔ (ฉบับพระมหาญาณธวัช าณทฺธโช)  (อ่าน 5989 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • ********
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
    • ดูรายละเอียด
อารักขกัมมัฏฐาน ๔
(ฉบับพระมหาญาณธวัช าณทฺธโช)


พุทธานุสสะติ

   ๑.   พุทธานุสสะติ  เมตตา  จะ      อะสุภัง  มะระณัสสะติ
         อิติมา จะตุรารักขา      ภิกขุ ภาเวยยะ สีละวาฯ
   บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ผู้ประกอบด้วยศีล พึงเจริญอารักขกัมมัฏฐาน ๔ ประการเหล่านี้ คือ
การหมั่นระลึกถึงพระพุทธคุณ การเจริญเมตตา การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน และการระลึกถึงความตาย
   ๒.      อะนันตะวิตถาระคุณัง      คุณะโตนุสสะรัง มุนิง
         ภาเวยยะ พุทธิมา ภิกขุ      พุทธานุสสะติมาทิโตฯ
บรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้มีปัญญาเมื่อระลึกถึงพระมุนีผู้มีพระคุณกว้างขวาง             
หาที่สุดมิได้โดยคุณธรรม พึงตั้งต้นเจริญพุทธานุสสติภาวนาด้วยอาการดังนี้ ว่า
   ๓.      สะวาสะเน กิเลเส โส      เอโก สัพเพ นิฆาติยะ
         อะหุ สุสุทธะสันตาโน      ปูชานัญจะ สะทาระโหฯ
   พระมุนีผู้ประเสริฐพระองค์นั้นทรงขจัดสรรพกิเลสพร้อมทั้งวาสนา (คืออาจิณกรรมที่ประพฤติจนเคยชิน) ได้แล้ว
เป็นผู้มีขันธสันดานและจิตสันดานบริสุทธิ์ดี และควรแก่ของบูชาในกาลทุกเมื่อ
   ๔.      สัพพะกาละคะเต ธัมเม      สัพเพ สัมมา สะยัง มุนิ
         สัพพากาเรนะ พุชฌิต๎วา      เอโก สัพพัญญุตัง คะโตฯ
พระมุนีทรงตรัสรู้ธรรมทั้งสิ้นที่เป็นไปในกาลทั้งปวง โดยชอบด้วยพระองค์เอง ด้วยอาการทั้งมวล
ได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแต่เพียงลำพังพระองค์เดียว
   ๕.      วิปัสสะนาทิวิชชาหิ      สีลาทิจะระเณหิ จะ
         สุสะมิทเธหิ สัมปันโน      คะคะณาเภหิ นายะโกฯ
พระพุทธนายก (ผู้นำหมู่สัตว์เข้าสู่พระนิพพาน) ทรงประกอบด้วยวิชชา ๘ มีวิปัสสนาญาณ เป็นต้น
และจรณะ ๑๕ มีศีล เป็นต้น อันบริบูรณ์ดี ประดุจดังท้องฟ้า ที่เต็มด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น
   ๖.      สัมมา  คะโต สุภัณฐานัง      อะโมฆะวะจะโน จะ โส
         ติวิธัสสาปิ โลกัสสะ      ญาตา นิระวะเสสะโตฯ
พระองค์ทรงมีพระวาจาไม่เปล่าประโยชน์ บรรลุถึงศุภสถาน (คือพระนิพพาน) ด้วยดี
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งสาม (คือสัตตโลก, สังขารโลก และโอกาสโลก) อย่างสิ้นเชิง
   ๗.      อะเนเกหิ คุโณเฆหิ      สัพพะสัตตุตตะโม อะหุ               อะเนเกหิ อุปาเยหิ      นะระทัมเม ทะเมสิ๑  จะฯ
ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวงด้วยหมู่คุณความดีเป็นอันมาก และทรง         
สั่งสอนคนที่ควรสั่งสอน ด้วยอุบายสำหรับสั่งสอนนานัปการ
   ๘.      เอโก สัพพัสสะ โลกัสสะ      สัพพะอัตถานุสาสะโก
         ภาค๎ยะอิสสะริยาทีนัง      คุณานัง ปะระโม นิธิ๒ฯ
พระองค์ผู้เดียวทรงอนุศาสก์สรรพประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล
ทรงเป็นประดุจขุมทรัพย์อันประเสริฐ (หรือทรงเป็นที่ตั้งไว้อย่างยอดเยี่ยม) แห่งพระคุณทั้งหลาย             
ได้แก่ ความเป็นผู้มีบุญญาธิการและอิสริยยศ เป็นต้น
   ๙.      ปัญญาสสะ๓ สัพพะธัมเมสุ      กะรุณา สัพพะชันตุสุ
         อัตตัตถานัง ปะรัตถานัง      สาธิกา๔ คุณะเชฏฐิกาฯ
พระปัญญาของพระองค์เป็นไปในธรรมทั้งปวง ส่วนพระกรุณาเป็นไปในสรรพสัตว์
เป็นพระปัญญาและพระกรุณาที่ยิ่งใหญ่ด้วยคุณ ให้สำเร็จทั้งประโยชน์พระองค์เอง และประโยชน์ของคนอื่น
   ๑๐.      ทะยายะ ปาระมี จิต๎วา      ปัญญายัตตานะมุทธะริ๕
         อุทธะริ สัพพะธัมเมสุ      ทะยายัญเญ จะ อุทธะริฯ
พระองค์ทรงสั่งสมบารมีธรรม ด้วยทรงกรุณา ในหมู่สัตว์,
ทรงยกพระองค์ (หรือทรงยกจิต) ออกจากโลกด้วยพระปัญญา, 
ทรงถอนเสียซึ่งอวิชชา ในธรรม ทั้งปวง,
และทรงรื้อขนสัตว์เหล่าอื่นออกจากสงสาร ด้วยพระกรุณา
   ๑๑.      ทิสสะมาโนปิ ตาวัสสะ      รูปะกาโย อะจินตะโย
         อะสาธาระณะญาณัทเธ๖      ธัมมะกาเย กะถาวะ กาติฯ
พระรูปกายของพระองค์แม้เพียงปรากฏแก่สายตา ก็ยังเป็นอจินไตย (คือน่าอัศจรรย์)
ไยจะต้องกล่าวถึงพระธรรมกาย อันบริบูรณ์ด้วยพระญาณที่เป็นของเฉพาะพระองค์เองเล่า

พุทธานุสสะติภาวะนาฯ
จบหมวดพุทธานุสสติภาวนา

เมตตานุสสะติ

   ๑.   อัตตูปะมายะ  สัพเพสัง            สัตตานัง สุขะกามะตัง
         ปัสสิต๎วา  กะมะโต  เมตตัง         สัพพะสัตเตสุ  ภาวะเยฯ
   บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ตาม เห็นว่าสรรพสัตว์ปรารถนาสุขด้วยการเปรียบกับตนเองแล้ว
ควรเจริญเมตตาไป ในสัตว์ทุกหมู่เหล่าโดยลำดับว่า
   ๒.      สุขี  ภะเวยยะ  นิททุกโข         อะหัง  นิจจัง  อะหัง  วิยะ
         หิตา จะ เม สุขี โหนตุ         มัชฌัตตา จะถะ เวริโนฯ
ขอให้ข้าพเจ้า เป็นผู้มีความสุข ปราศจากทุกข์ ทุกเมื่อ
และขอให้ ผู้มีพระคุณก็ดี ผู้เป็นกลางก็ดี ศัตรูก็ดี ของข้าพเจ้า
จงเป็นผู้มีความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า
   ๓.      อิมัมหิ คามะเขตตัมหิ         สัตตา โหนตุ สุขี สะทา
         ตะโต ปะรัญจะ รัชเชสุ๗         จักกะวาเฬสุ ชันตุโนฯ๘
   ขอเหล่าสัตว์อันมีในคามเขตนี้ จงเป็นผู้มีความสุขทุกเมื่อ ถัดจากนั้น
ขอเหล่าสัตว์ในรัชสีมา และในจักรวาล จงเป็นผู้มีความสุข
   ๔.      สะมันตา จักกะวาเฬสุ         สัตตานันเตสุ ปาณิโน
         สุขิโน ปุคคะลา ภูตา         อัตตะภาวะคะตา สิยุงฯ
   ขอเหล่าปาณะสัตว์ ในอนันตจักรวาลโดยรอบ จงเป็นผู้มีความสุข,
ขอเหล่าสัตวบุคคล ผู้ถือกำเนิดมา เป็นตัวเป็นตน จงเป็นผู้มีความสุข
   ๕.      ตะถา อิตถี ปุมา เจวะ         อะริยานะริยาปิจะ
         เทวา นะรา อะปายัฏฐา         ตะถา ทะสะทิสาสุ จาติฯ
   อนึ่ง ขอชนทั้งหลายทั้งชาย หญิง พระอริยบุคคล ปุถุชน เทวดา สัตว์ผู้อยู่ในอบาย
และในทศทิศ จงเป็นผู้มีความสุข เช่นเดียวกัน ดังนี้

เมตตานุสสะติภาวะนาฯ
จบหมวดเมตตานุสสติภาวนา

อะสุภานุสสะติ

   ๑.   อะวิญญาณะสุภะนิภัง      สะวิญญาณะสุภัง อิมัง
      กายัง อะสุภะโต ปัสสัง      อะสุภัง ภาวะเย ยะติฯ
   โยคาวจรผู้มีความเพียร เมื่อพิจารณาเห็นกายที่ยังมีชีวิตซึ่งโสโครกนี้
เปรียบประดุจซากศพอันโสโครก โดยความเป็นอสุภะ ก็ควรเจริญอสุภภาวนา โดยอาการ ว่า
   ๒.   วัณณะสัณฐานะคันเธหิ      อาสะโยกาสะโต ตะถา
      ปะฏิกูลานิ กาเย เม      กุณะปานิ ท๎วิโสฬะสะฯ
   ในร่างกายของเรา มีซากศพอยู่ ๓๒ ชนิด น่ารังเกียจ โดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัย และที่ตั้ง
   ๓.   ปะติตัมหาปิ กุณะปา      เชคุจฉัง กายะนิสสิตัง,
      อาธาโร หิ อะสุจิง ตัสสะ      กาเย เม กุณะเป ฐิตังฯ
   สรีระประดุจซากศพของเราถึงความน่าเกลียดก็โดยอาศัยกายนี่แหละ,
ด้วยว่า ร่างกายเป็นที่รองรับความสกปรกที่อยู่ในซากศพคือกายของเรานั้นแล
   ๔.   มิฬ๎เห กิมีวะ กาโยยัง      อะสุจิมหิ สะมุฏฐิโต
      อันโต อะสุจิสัมปันโน      ปุณณะวัจจะกุฏี วิยะฯ
   กายเรานี้ดำรงอยู่ในสิ่งที่ไม่สะอาด เหมือนหนอนที่อยู่ในก้อนอาจม
ภายในเต็มไปด้วยสิ่งสกปรก ประดุจดังส้วมเต็ม
   ๕.   อะสุจิ สันทะเต นิจจัง      ยะถา เมทะกะถาลิกา
      นานากิมิกุลาวาโส      ปักกะจันทะนิกา๙ วิยะฯ
สิ่งสกปรกไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา เหมือนถาดใส่น้ำมัน
เป็นแหล่งอาศัยของหมู่กิมิชาตินานาชนิด เหมือนบ่อน้ำทิ้งของพวกจัณฑาล
   ๖.   คัณฑะภูโต โรคะภูโต      วะณะภูโต สะมุสสะโย
      อะเตกิจโฉติเชคุจโฉ      ปะภินนะกุณะปูปะโมติฯ
   ร่างกายนี้มักเกิดเป็นตุ่มหนอง และพยาธิ ฝีแผล รวมอยู่ที่เดียวกัน เยียวยาก็ยาก               
น่ารังเกียจอย่างยิ่ง ดังซากศพที่แตกเยิ้ม ฉะนั้น

อะสุภานุสสะติภาวะนาฯ
จบหมวดอสุภานุสสติภาวนา

มะระณานุสสะติ

   ๑.      ปะวาตะทีปะตุล๎ยายะ      สายุสันตะติยา ขะยัง
         ปะรูปะมายะ สัมปัสสัง      ภาวะเย มะระณัสสะติงฯ
   บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ผู้เห็นความเสื่อมไปแห่งอายุสันตติของตน อันเช่นกับ
ประทีปที่ตั้งไว้ในคลองลม โดยเปรียบคนอื่นเหมือนกับตนเอง ควรเจริญมรณัสสติโดยนัย ว่า
   ๒.      มะหาสัมปัตติสัมปัตตา      ยะถา สัตตา มะตา อิธะ
         ตะถา อะหัง มะริสสามิ      มะระณัง มะมะ เหสสะติฯ
สัตว์ทั้งหลายที่เพียบพร้อมด้วยสมบัติมากมายในโลกนี้ ล้วนแล้วแต่ตาย
ฉันใด ถึงเราก็จักตาย ฉันนั้น ความตายจักมีแก่เราแล
   ๓.      อุปปัตติยา สะเหเวทัง      มะระณัง อาคะตัง สะทา
         มะระณัตถายะ โอกาสัง      วะธะโก วิยะ เอสะติฯ๑๐
   ความตายนี้มาพร้อมกับความเกิดทีเดียว ย่อมแสวงหาโอกาส
เพื่อที่จะฆ่าตลอดเวลา ประดุจดังนายเพชฌฆาต ฉะนั้น
   ๔.      อีสะกัง อะนิวัตตันตัง      สะตะตัง คะมะนุสสะกัง๑๑
         ชีวิตัง อุทะยา อัฏฐัง      สุริโย วิยะ ธาวะติฯ
   ชีวิตนั้นจะหวนคืนกลับหลังสักหน่อยหนึ่งก็หาไม่ มีแต่ขวนขวายไปข้างหน้าเนืองๆ
เหมือนพระอาทิตย์แล่นจากทางทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ฉะนั้น
   ๕.      วิชชุปุพพุฬะอุสสาวะ-      ชะละราชิปะริกขะยัง,
         ฆาตะโกวะ ริปุ ตัสสะ      สัพพะถาปิ อะวาริโยฯ
ชีวิตเป็นของเสื่อมสิ้นไปเร็ว เสมือนหนึ่งสายฟ้าแลบ ฟองน้ำ หยาดน้ำค้าง และรอยขีดบนผิวน้ำ,
มฤตยูที่เป็นข้าศึกของชีวิตนั้น อุปมาดั่งเพชฌฆาต ใครๆ ก็ไม่อาจห้ามได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม
   ๖.      สุญญะสัตถามะปุญญิทธิ-      พุทธิพุทเธ ชินัท๎วะยัง๑๔
         ฆาเตติ มะระณัง ขิปปัง      กา  ตุ  มาทิสะเก กะถาฯ
มรณะย่อมรุกฆาตพระชินเจ้าทั้งสองประเภท คือ พระพุทธเจ้า และพระปัจเจก-พุทธเจ้า
ผู้ประกอบด้วยยศ กำลัง บุญ ฤทธิ์ และปัญญาเป็นอันมาก อย่างรวดเร็ว ไยจะต้องพูดถึงคนเช่นเราด้วยเล่า
   ๗.      ปัจจะยานัญจะ เวกัล๎ยา      พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
         มะราโมรัง นิมิสสามิ๑๕      มะระมาโน อะนุกขะณันติฯ
   เราย่อมตาย ภายใน อายุกัปป์ เพราะปัจจัยบกพร่อง และเพราะอันตราย               
ทั้งภายนอกภายในเบียดเบียนเอา, เรากระพริบตาอยู่ ประหนึ่งว่ากำลังตายทุกขณะ  ดังนี้ฯ

มะระณานุสสะติภาวะนาฯ
จบหมวดมรณานุสสติภาวนา

๑.      ภาเวต๎วา จะตุรารักขา      อาวัชเชยยะ๑๖ อะนันตะรัง
         มะหาสังเวคะวัตถูนิ      อัฏฐะ อัฏฐิตะวีริโยฯ
โยคาวจรผู้มีความเพียรตั้งมั่น เจริญอารักขกัมมัฏฐาน ๔ ประการนี้แล้ว
ควรพิจารณาสังเวควัตถุ (ที่ตั้งแห่งความสังเวช) อันยิ่งใหญ่ ๘ อย่าง ถัดจากนี้ไป
            ๒.   ชาตี ชะรา พ๎ยาธิ จุตี อะปายา๑๗
            อะตีตะอัปปัตตะกะวัฏฏะทุกขัง
            อิทานิ อาหาระคะเวสิ๑๘ ทุกขัง
            สังเวคะวัตถูนิ อิมานิ อัฏฐะฯ
สังเวควัตถุ ๘ เหล่านี้ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อบายภูมิ           
วัฏฏทุกข์ที่ผ่านมาแล้ว วัฏฏทุกข์ที่ยังมาไม่ถึง และทุกข์เพราะการแสวงหาอาหาร ในปัจจุบัน
   ๓.   ปาโต จะ สายะมะปิ เจวะ อิมัง วิธิง โย
   อาเสวะเต สะตะตะมัตตะหิตาภิลาสี
   ปัปโปติ  โสติวิปุลัง๑๙ หะตะปาริปันโถ
   เสฏฐัง สุขัง มุนิปะสัฏฐะมะตัง๒๐ สุเขนาติฯ
ผู้ใดปรารถนาประโยชน์ตน ปฏิบัติตามวิธีนี้ทุกเช้าเย็นเป็นประจำ ผู้นั้นขจัดอันตราย ได้แล้ว
ย่อมบรรลุถึงความสุขอันประเสริฐ (นิพพานสุข) ที่พระมุนีตรัสสรรเสริญว่าเป็นสุขอันไพบูลย์ยิ่ง กว่าสุข ทั้งมวล
   ๔.   นะมามิ พุทธัง คุณะสาคะรันตัง
   สัตตา สะทา โหนตุ สุขี อะเวรา
      กาโย ชิฆัญโญ สะกะโล วิคันโธ๒๑
   คัจฉันติ สัพเพ มะระณัง อะหัญจะฯ
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มีพระคุณประดุจมหาสมุทรพระองค์นั้น           
ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากเวรทุกเมื่อ ร่างกายทั้งหมดเป็นของ             
น่ารังเกียจมีกลิ่นเหม็น สัตว์ทั้งปวงย่อมถึงความตาย ฉันใด ถึงตัวเราก็ฉันนั้น
   ๕.    นะมามิ ธัมมัง มุนิราชะเทสิตัง
   สัตตา สะทา โหนตุ สุขี อะเวรา
   กาโย ชิฆัญโญ สะกะโล วิคันโธ๒๑
   คัจฉันติ สัพเพ มะระณัง อะหัญจะฯ
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรมอันพระมุนีเจ้าทรงแสดงแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากเวร
ทุกเมื่อ ร่างกายทั้งหมดเป็นของน่ารังเกียจมีกลิ่นเหม็น สัตว์ทั้งปวงย่อมถึงความตาย ฉันใด ถึงตัวเราก็ฉันนั้น
   ๖.   นะมามิ สังฆัง มุนิราชะสาวะกัง
   สัตตา สะทา โหนตุ สุขี อะเวรา
   กาโย ชิฆัญโญ สะกะโล วิคันโธ๒๑
   คัจฉันติ สัพเพ มะระณัง อะหัญจะฯ
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสงฆ์ผู้เป็นสาวกของพระมุนีเจ้า
ขอสัตว์ทั้งหลายจง  เป็นผู้มีความสุข ปราศจากเวร ทุกเมื่อ
ร่างกายทั้งหมดเป็นของน่ารังเกียจมีกลิ่นเหม็น สัตว์ทั้งปวงย่อมถึงความตาย ฉันใด ถึงตัวเราก็ฉันนั้น
   จะตุรารักขา  นิฏฐิตาฯ

จบอารักขกัมมัฏฐาน ๔ แต่เพียงเท่านี้




๑   ฉบับวัดท่ามะโอและฉบับอื่นๆ เป็น ทะเมหิ
๒   ฉบับวัดท่ามะโอเป็น ปะระมิทธิมา
๓     ตัดบทว่า ปญฺา+อสฺส = ปญฺาสฺส (อ่านว่า  ปัน-ยาด-สะ)  บางฉบับเป็น ปัญญา ยัสสะ ปาฐะนั้นพิรุธ
๔   ฉบับวัดท่ามะโอและฉบับอื่นๆ เป็น  สาตถิกา
๕   ตัดบทว่า ปญฺาย+อตฺตานํ+อุทฺธริ = ปญฺายตฺตานมุทฺธริ  บางฉบับเป็น  ปัญญายะ ตา นะ มุทธะริ  ปาฐะนั้นพิรุธ ส่วนฉบับวัดท่ามะโอเป็น ปัญญายะ ตายะ มุทธะริ (บาทที่ ๒ และ ๔ ของคาถานี้ต่างจากฉบับวัดท่ามะโอ พึงเทียบเคียงกันดู)
๖   ฉบับวัดท่ามะโอและฉบับอื่นๆ เป็น อะสาธาระณะญาณัญเญ
๗   น่าจะเป็น รัฏเฐสุ  ฉบับนิสสัยใบลานแปลว่า “ในเมือง” ซึ่งเนื่องกันกับบทว่า คามะเขตตัมหิ ในบาทที่ ๑ ได้ตรวจดูใบลานหลายฉบับเป็น รัชเชสุ ทุกฉบับ จึงคงไว้ตามนี้ แต่ในอรรถกถาโสณนันทชาดกแก้ไว้ว่า   
   รฏฺเติ รชฺเช. (คำว่า รฏฺเ ได้แก่ในรัชสีมาคือราชอาณาเขต) ดังนั้น ศัพท์ทั้งสองจึงมีความหมายอย่าง       
    เดียวกัน
๘    บางฉบับเป็น จักกะวาเฬ  สุทธะชันตุโน ก็มี
๙    บางฉบับเป็น ปักขะจันทะนิกา ก็มี ฉบับวัดท่ามะโอเป็น ปูติจันทะนิกา
๑๐    ฉบับวัดท่ามะโอและฉบับอื่นๆ เป็น วัฑฒะโก วิยะ เอสสะติ
๑๑    ฉบับนิสสัยใบลานแปลว่า “มีอันขวนขวายไปข้างหน้า” ตามนัยนี้ควรเป็น คะมะนุสสุกัง (คมน+อุสฺสุก)ฉบับ Änandajoti Bhikkhu เป็น คะมะนุสสุกัง ถูกต้อง
๑๒    โดยมากเป็น  วิชชุปุพพุฬะอุสสาวัง  ก็มี  วะชิระปุพพุฬุสสาวัง  ก็มี  แต่ควรสมาสเป็นศัพท์เดียวกันว่า
     วิชชุปุพพุฬะอุสสาวะ- ชะละราชิปะริกขะยัง อย่างที่ชำระไว้นั้น ก็จะต้องด้วยลักษณะสมาสูปมาลังการ
๑๓   เป็น  สุยะสัตถามะ....ก็มี  บางฉบับเป็น  สุญญะสัณฐามะ....ปาฐะนั้นพิรุธ
๑๔    จะสวดแบบ น คณะ (๑๑๑) ว่า  ชินะท๎วะยัง  ก็ได้  ตามนัยนี้เป็นปิงคลวิปุลา มิใช่ปัฐยาวัตร
๑๕   ฉบับวัดท่ามะโอเป็น  มะระโณรัง คะมิสสามิ  ฉบับ Änandajoti Bhikkhu เป็น  มะราโมรัง                   นิเมสาปิ
๑๖   ฉบับวัดท่ามะโอเป็น อาระเภยยะ
๑๗   บางฉบับเป็น .... อะปายัง  ก็มี   
๑๘   บทนี้เป็นสัตตมีนิมิต รูปเดิมเป็น อาหาระคะเวเส เอา เอ เป็น อิ เพื่อรักษาฉันท์ ดังนั้นจึงแปลว่า “เพราะ”                          ฉบับ Änandajoti Bhikkhu เป็น อาหาระคะเวฏฐิทุกขัง ฉบับนิสสัยแปลว่า “ทุกข์คือการแสวงหาอาหาร” ตามนัยนี้ควรเป็น อาหาระคะเวสะทุกขัง ลางทีชอบจะให้ศัพท์นี้ลง อิปัจจัยหลังคเวสธาตุ และเข้าสมาสว่า  อาหาระคเวสิทุกขัง กระมัง ?
   ๑๙      ตัดบทว่า โส+อติวิปุลํ = โสติวิปุลํ  บางฉบับเป็น  โสตถิวิปุลัง  ปาฐะนั้นพิรุธ
   ๒๐   ฉบับทั่วไปเป็น มุนิวะเสฏฐะมะตัง  เข้าใจว่า ตัว ป เพี้ยนเป็น ว ในอักษรล้านนา เพราะพยัญชนะทั้ง ๒ 
         นี้มีรูปร่างใกล้เคียงกันคือ  บ, ว   และปรากฏว่ามักเพี้ยนกันในลักษณะนี้อยู่เสมอ ในกรณีที่เขียนโดย
         ไม่ระวัง ตัว บ ก็อาจกลายเป็น ว ได้ง่าย ดังพบมาเป็นบางคำ เช่น อาเบาฯ ฯ(อาโป)  อาเวาฯ ฯ(อาโว)
เป็นต้น ดังนั้น ปะเสฏฐะ ฯ(บเสฏพฯฯ) จึงกลายมาเป็น วะเสฏฐะ (วเสฏพฯฯ) อนึ่ง คำว่า ปะเสฏฐะ นี้เป็นบาลี  แบบล้านนา  ดังคำว่า โอสะถัง โบราณมักสวดผิดว่า โอเสฏฐัง ข้าพเจ้าจึงแก้ไขเป็น  ปะสัฏฐะ... (หรือ            ปะสัตถะ...) โดยถือนัยตามคำแปลฉบับนิสสัยล้านนาว่า  “อันพระมุนีหากกล่าวยกยอ” (มุนิปสฏฺมตํ   – อันพระมุนีตรัสสรรเสริญ) ส่วนฉบับ Änandajoti Bhikkhu เป็น มุนิวิสิฏฐะมะตัง ตามนัยนี้เห็นได้ว่า ฉบับล้านนาพิรุธมาจากฉบับดังกล่าวอย่างแน่นอน (มุนิวิสิฏฐะมะตังมุนิวะเสฏฐะมะตัง) แต่ผู้แต่งนิสสัยล้านนาให้คำแปลไว้เช่นนั้นจึงต้องแก้เป็น มุนิปะเสฏฐะมะตัง แล้วปรับใหม่เป็น                       มุนิปะสัฏฐะมะตัง ผู้ได้ฉบับไปภายหลังเห็นว่าพิรุธ จึงตัด มุนิวะ ออกเสีย คงไว้แต่ เสฏฐะมะตัง แล้วปรับวสันตดิลกให้เป็นอินทรวิเชียร (ตามที่ปรากฏในฉบับวัดท่ามะโอ) อนึ่ง บาทสุดท้ายของคาถานี้          ในฉบับของ Änandajoti Bhikkhu  จ ศัพท์ตรง  สุเขนะ จาติ  ควรจะตัดออกไปเพราะเกินมา                  (มี ๑๕ พยางค์)
๒๑-๒๑-๒๑
   บางฉบับเป็น ทุคันโธ ก็มี ใช้ได้เหมือนกัน  อนึ่ง วิ อุปสัคในคำว่า วิคันโธ นี้มีอรรถว่า วิรูป (น่าเกลียด)
   ดังนั้น ทุคันโธ (มีกลิ่นชั่ว) กับ วิคันโธ (มีกลิ่นน่าเกลียด) จึงหมายถึง “มีกลิ่นเหม็น” เหมือนกัน ส่วนที่
   แปลว่า “ปราศจากกลิ่น” นั้น ท่านใช้ศัพท์ว่า วีตะคันโธ
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: อารักขกัมมัฏฐาน ๔ (ฉบับพระมหาญาณธวัช าณทฺธโช)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2014, 11:30:43 am »
อารักขกัมมัฏฐานสี่
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: อารักขกัมมัฏฐาน ๔ (ฉบับพระมหาญาณธวัช าณทฺธโช)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2015, 01:14:23 pm »
สิ่งที่ครูอาจารย์พูดเสมอๆ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา