ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการอ่านหนังสือเรียนอย่างฉลาด  (อ่าน 1716 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เทคนิคการอ่านหนังสือเรียนอย่างฉลาด
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 09:35:14 am »
0
เทคนิคการอ่านหนังสือเรียนอย่างฉลาด
ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องเสียเวลากับการอ่านหนังสือ ตำราเรียนมากเกินควร เนื่องจากการอ่านที่ขาดประสิทธิภาพ คืออ่านทุกตัวอักษร ทุกประโยคไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ แล้งยังพยายามอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อท่องจำสิ่งที่อ่านให้ขึ้นใจ ทำให้ยิ่งเสียเวลาเข้าไปใหญ่ การจะลด เวลาที่เกินควรไปนั้น เราต้องอ่านอย่างมีวัตถุประสงค์ มีการวางแผนล่วงหน้า มีการทวนความเข้าใจหลังอ่านจบแล้ว ซึ่งวิธีอ่านอย่างฉลาดที่ว่าคือ
วิธี อ่านแบบ ORUS
วิธีอ่านแบบ ORUS เป็นวิธีอ่านเพื่อการเรียน ที่ผู้เรียนสามารถข้ามขั้นตอนบางขั้นได้ แต่ห้ามข้ามขั้นสุดท้ายใน 4 ขั้นตอนต่อไปนี้
1.1 สำรวจ (Overview) องค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งที่จะต้องอ่าน ซึ่งมีดังนี้
- ชื่อบท หัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อย ที่พิมพ์ตัวหนา สิ่งเหล่านี้จะบอกถึงขอบเขตและลักษณะของเนื้อหาอย่างคร่าวๆ
- รูปภาพ กราฟ และแผนภูมิ หนังสือวิชาการส่วนใหญ่จะมีสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งภาพประกอบประเภทอื่นๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาประเด็นสำคัญๆ ได้มากขึ้น
- สรุป อ่านแบบผ่านๆ (Skimming) ดูว่าสิ่งที่ผู้แต่งต้องการนำเสนอคืออะไร เพื่อเวลาอ่านจริงๆ เราจะได้มุ่งตรงไปยังเนื้อหาสำคัญทั้งหลาย ไม่เสียเวลาไปกับการอ่านส่วนที่เป็นน้ำ ในกรณีที่ผู้แต่งไม่ได้เขียนบอกไว้ว่าตรงไหนเป็นบทสรุป ให้ลองอ่านย่อหน้าสุดท้ายของเรื่อง
- คำถาม คือสิ่งที่บอกให้เรารู้ว่าเนื้อหาส่วนไหนในเรื่องที่เราต้องให้ความสนใจเป็น พิเศษ เพราะผู้แต่งมักจะถามถึงสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของเรื่อง
หลังจากรู้คร่าวๆ แล้วว่าเรื่องที่จะอ่านมันเกี่ยวกับอะไร สิ่งไหนน่าจะเป็นประเด็นสำคัญของเรื่อง เราก็ต้องวางแผนการอ่าน โดยแบ่งเนื้อหาทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ และกำหนดเวลาในการอ่านของแต่ละส่วน ทั้งนี้ให้รวมเวลาที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลและสรุปความเข้าใจด้วย
1.2 อ่าน (Read) ด้วยความรวดเร็ว คัดเอาแต่ใจความสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ประโยคแรกหรือสุดท้ายของย่อหน้า โดยไม่มีการหยุด ให้ทำเหมือนกับว่าเรากำลังคุยกับผู้แต่ง เหมือนเขากำลังอธิบายบางสิ่งให้เราเข้าใจ ดังนั้นถ้ามีตรงไหนสงสัยไม่เข้าใจก็ให้เขียนคำถามไว้ตรงขอบของหน้ากระดาษ ใกล้ๆ กับส่วนที่เราไม่เข้าใจ
ข้อความไหนที่รู้ว่าไม่สำคัญสำหรับเราก็ ให้ข้ามไปได้ ไม่ต้องกังวลว่าเราจะไม่เข้าใจทั้งหมด
1.3 เก็บข้อมูล (pick Up) เป็นการนำสาระสำคัญทั้งหลายเข้าสู่ธนาคารความจำของเรา โดยกลับไปดูสิ่งที่เพิ่งอ่าน แล้ว :
- ขีดเส้นใต้หรือทำเครื่องหมายดอกจัน (*) ไว้ตรงที่สำคัญๆ หรือตรงข้อความที่เราคิดว่าอาจถูกนำมาออกข้อสอบเท่านั้น อย่าขีดเส้นให้เปรอะไปหมด
- เขียนโน้ตสั้นๆ ไว้ที่ขอบของหน้าหนังสือ
1.4 สรุปความเข้าใจ (Summarize) โดยใช้คำพูดของเรา

 
ที่มา : unigang
บันทึกการเข้า