ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)  (อ่าน 7779 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
« เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 04:52:05 pm »
0
                            พราหมณสูตร
                    ว่าด้วยปฏิปทาเพื่อละฉันทะ

[๑๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

[๑๑๖๓] ดูกรท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์
อะไร?
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อละ
ฉันทะ.
[๑๑๖๔] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคา ปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น มีอยู่หรือ?
อา. มีอยู่ พราหมณ์.
[๑๑๖๕] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน?
อา. ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันท-
*สมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิ
และปธานสังขาร นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น.
[๑๑๖๖] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันทะนั้นยังมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง ข้อนี้มิใช่ฐานะที่มีได้.
อา. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
พึงแก้อย่างนั้นเถิด.
[๑๑๖๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ในเบื้องต้นท่านได้มี
ความพอใจว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่
หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความเพียรว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความคิดว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความ
คิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้ตริตรองพิจารณาว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
[๑๑๖๘] อา. ดูกรพราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนถึงแล้วโดย
ลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ในเบื้องต้นก็มี
ความพอใจเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความเพียรเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความคิดเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มีความ
ตริตรองพิจารณาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป.
[๑๑๖๙] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เมื่อเป็นเช่นนั้น ความ
พอใจนั้นยังมีอยู่หรือว่าไม่มี?
อุณ. ข้าแต่ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความพอใจก็มีอยู่โดยแท้ ไม่มีหามิได้
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ท่านประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระอานนท์จงจำ
ข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.


                            จบ สูตรที่ ๕


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๗๙๖ - ๖๘๔๓. หน้าที่ ๒๘๓ - ๒๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6796&Z=6843&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1162
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_19
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2012, 05:48:56 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 05:20:01 pm »
0


รวมคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
  6) ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปพระนิพพานเป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ 99 เปอร์เซ็นต์ที่ตอบว่า
   คำว่าอยาก แปลว่า ตัณหา ในเมื่ออยากไปพระนิพพาน ก็แสดงว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน
   ก็เลยบอกว่านี่แกเทศน์แล้วแกก็เดินลงนรกเลยสบาย ไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้านเขาไปอีก

   ถ้าต้องการไปนิพพาน เขาเรียกว่า ธรรมะฉันทะ มีความพอใจในธรรม
   เป็นอาการซึ่งทรงความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก


ที่มา http://www.palungjit.com/smati/books/index.php?cat=205
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/f

 
  คำว่า ตัณหานี่ แปลว่า ความทะยานอยากลงเบื้องต่ำ เกาะโลก
   มีอุปาทานเป็นเชื้อนำหรือเป็นผู้บังคับบัญชาการ และมีอวิชชาความโง่เป็นผู้สนับสนุน


   นี่ถ้าถามว่า ถ้าคนเราอยากไปนิพพานเป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ ๙๙ % ที่ตอบว่า คำว่าอยากแปลว่าตัณหา ในเมื่ออยากไปนิพพานก็แสดงว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน ต้องการไปนิพพานเขาเรียกว่าธรรมฉันทะ ไม่ใช่กามฉันทะ เรียกว่ามีความพอใจในธรรม เป็นอาการซึ่งทรงไว้ซึ่งความดี

จาก:ธรรมะปกิณกะ 2 (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)


ที่มา board.palungjit.com/f4/พวกนั่งสมาธิไปท่องเที่ยวพระนิพพานจะบรรลุพระนิพพานเร็ว-227259-2.html
โพสต์โดย คุณบัวหลวง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sakda

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 07:14:19 pm »
0
จะถือว่าเอกฉันท์ในการตอบอย่างนั้นยังไม่ได้นะครับ เรื่องแรกที่จะชี้แจงนะครับ

  1.พระอานนท์ขณะนั้น เป็นพระโสดาบัน การตอบได้ตามความเห็นของพระโสดาบัน
  2.พราหมณ์มีเจตนามาขอเป็น อุบาสก อยู่แล้ว
  3. เรื่องนี้พระอาจารย์เคยให้วินิจฉัย กับพระสูตรนี้ครั้งหนึ่ง ผมจำไม่ได้ในเมล

        องค์ธรรมที่เป็นกุศล ไม่ใช่ตัณหา

     ตัณหามี  3 อย่าง
    1.กามตัณหา ความใคร่ใน กามคุณ 5
    2.ภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น
    3.วิภาวตัณหา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
   
     ดังนั้นจะเรียกฉันทะ ว่า ตัณหานั้นไม่ได้ เพราะไม่เป็นกามตัณหา และ วิภวตัณหา ที่นี้หลายท่านอาจจะบอกจัดว่าความอยากเป็นอยากมี ถ้าอย่างนี้ผิดเลยครับ ผิดตั้งแต่ สัมมาทิฏฐิ เลยผิดตั้งแต่ มรรค ข้อต้น ๆ เลยนะครับ

     นิพพาน ไม่มี ธาตุ 4 ไม่มี อุปาทายรูป นามรูปดับ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผ่านกระทู้นี้มาหมาด ๆ จะเห็นว่าจะอธิบายเรื่องนี้ได้มากเลยครับ

     คงเท่านี้นะครับ เพราะจำมาจากเมลพระอาจารย์บางส่วนครับ
    :s_hi:
 
บันทึกการเข้า

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2012, 07:16:19 pm »
0
อันนี้เกี่ยวกับการวางอารมณ์ ในกรรมฐาน ด้วยนะคะ

   ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีการวางอารมณ์ คือ อยากมีก็คือไม่ได้ ไม่อยากมีก็คือไม่ได้ ต้องวางอารมณ์เป็นกลาง ๆ ในกรรมฐาน คำนี้จะได้ยินบ่อย ๆ จากหลวงพ่อพระครูคะ

 :93:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

intro

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2012, 01:17:56 pm »
0
คิดเอา ง่าย ก็ได้นะครับว่า

   กินข้าว ด้วยตัณหา
   กินข้าว เพราะหิว

   มันต่างกันหรือไม่ ?

   ปีิติ เกิด ขึ้น เพราะอะไร ?
   ฉันทะ มีได้เพราะอะไร ?

   อย่างน้อย นิวรณ์ 5 ต้องดับแล้วไปหลายส่วน

    :s_hi:


บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2012, 09:53:24 pm »
0
ขอสรุปกระทู้นี้ เพื่อเข้าในรูปแบบ ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ
   ตรงหัวกระทู้ที่คุณ Admax ยกมา สมาธิสูตรนี้ เป็นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ โดยตรง ซึ่งประกอบด้วย สมถะ และ วิปัสสนาแล้ว
     ก็คือได้กรรมฐานสองส่วน  คือได้ ปีติ ยุคคล แต่ยังไม่เข้าถึงสุข ก็ยังติดอยู่แค่มรรค ขึ้นได้เต็มที่ แค่ นิพพิทา ต้องเข้าวัดออกวัด เข้าสะกด กันต่อ จนขึ้น อานาปา ญาณยถา(เห็นตามความเป็นจริง)จึงจะมา เพราะยถาอยู่ระหว่างสองส่วน
            แต่ ยถาภูตญาณ ที่เป็นช่วงเวลาระหว่าง ยังไม่มี ผลเกิดขึ้นในช่วงต้น
       เพราะต้องเข้าสู่รูปวัตถุสิบหกรูปลมหายใจ ยาว สั้น หยุด และญาณสติสองร้อย ตามญาณในอานาปาสุดยอดที่สุด  ที่ครูบาอาจารย์บอกก็เข้าถึงกาย อรหัตตมรรค กายอรหัตผลเลยทีเดียว
   นั่นคือ ข้อสรุปท้ายสุดของพระสูตรนี้
        และคําตรัสของพระตถาคต เกี่ยวกับ การหงายของที่ควํา เปิดของที่ปิด
            มีวิชาธรรมของหลวงปู่ที่อิงคําสอนนี้ได้หลายวิชา เช่น  วิชาสุริยกลา จันทกลา
           วิชาจักรสุกิตติมา หงายจักร ควําจักร
           วิชาธาตุภูสิโต เรียกภูติเข้าตัว ปล่อยภูติออกตัว มหาภูติรูป ดิน นํา ลม ไฟ(หรือวิชาพหุธาตุ) เก็บๆมาเล่านะไม่ได้รู้เอง เพราะยังไม่มีธรรมตรงนั้น
                เปรียบเทียบมา เปรียบเทียบไป ครูอาจารย์บอกไว้ว่า พระนิพพานไม่มีเปรียบเทียบ เพราะไม่มีของคู่จะเอาอะไรไปเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบก็ยังใช้ความคิด ก็ไม่พ้น สังขตะ(สังขาร)
 อยู่ในสังขารชื่อว่ายังอยู่ในอวิชชา ก็ยังไม่พ้น อวิชชา
                ก็ว่ากันไป
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 01, 2012, 10:08:03 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2012, 06:11:33 pm »
0
สาธุ ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้เกียรติแสดงความคิดเห็นในกระทู้นี้ครับ เป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผมและบุคคลผู้ปฏฺบัติธรรมทั้งหลาย

- โดยนัยยะที่ผมอยากแสดงในกระทู้นี้ เรียกว่า ความอยาก ความพอใจ ความยินดี ใน อิทธิบาท ๔
มีฉันทะที่อยากจะทำใน กุศล อยากจะปฏิบัติในกุศล ตั้งใจจะเพียรในกุศล เพื่อจะละอกุศลที่มีแก่จิตตน เหมือนเป็นการใช้เกลือจิ้มเกลือ
- เหมือนเวลาที่เรานั้นคิดเรื่องที่เป็นอกุศลอยู่นั่นคือ ความคิดที่เป็นไปใน รัก โลภ โกรธ หลง // แต่เมื่อเรามีสติเกิดขึ้นรู้ว่ากำลังคิดอะไรที่ไม่ดี ก็จะเกิดวิตกเจตสิก(ความคิด)เกิดประกอบตามสติเจตสิกขึ้นมาเป็นกุศลที่เรียกว่า ความคิดชอบ ย้อนพิจารณาทบทวนเพื่อดับวิตกเจตสิกที่เป็นอกุศล (ผมเข้าใจความหมายของพระสูตรนี้เช่นนี้ไม่ได้ลงลึกอะไร)

ดังนั้น

ฉันทะ คือ ความอยาก ยินดี ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความโลภ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ย่อมก่อเกิดตัณหา
ฉันทะ คือ ความอยาก ยินดี ที่เกิดขึ้นพร้อมกับเมตตาจิตเป็นต้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ย่อมก่อเกิดเป็นกุศลจิต

จะเห็นว่าในความติดข้องใจทุกอย่างจะมีฉันทะเกิดอยู่ด้วยเสมอ แต่จะติดข้องใจในสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดีอยู่ที่เราสืบต่อฉันทะเจตสิกออกมาเป็นแบบไหน

หากธรรมที่เป็นฉันทะนี้ไม่มีประโยชน์แต่ประกอบด้วยตัณหาอย่างเดียวในส่วนเดียว คำสอนที่มีใน อิทธิบาท ๔ ย่อมไม่เหมาะกับผู้ปฏิบัติในศาสนาพุทธ ก็หมายความว่าพระพุทธเจ้า ที่เป็นพระศาสดาไม่ได้เป็นแค่พระโสดาบัน แต่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นบุคคลที่สอนผู้อื่นให้รู้ตามแล้วบรรลุอรหันต์ เป็นที่บูชาของเทวดา มาร พรหม และ มนุษย์ทั้งหลาย ตรัสสอนผิด ทรงตรัสสอนธรรมปลอมที่เป็นไปเพื่อตัณหาใช่ไหมครับ

ดังนั้นควรแยกสภาพจิตที่มีความยินดีที่เป็น กุศล กับ อกุศล ให้ออก จะมองเห็นว่า ฉันทะนี้เกิดให้ดับอกุศลได้
เพราะมีทั้ง กุศลฉันทะ และ อกุศลฉันทะ

1. อยากทะยานที่จะเรียนรู้ปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นจากการเสพย์ใคร่ได้อารมณ์ที่พอใจยินดี เพื่อออกจากกองทุกข์

กับ

2. อยากที่จะปฏิบัติกระทำเพื่อให้ได้เสพย์อารมณ์ตามที่ใจทะยานใคร่พอใจยินดี

สรุปแล้วหากทั้ง 2 ข้อนี้ คือ ความอยากที่เป็นสิ่งไม่ดี ฉะนั้น อิทธิบาท ๔ ไม่ใช่ธรรมจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนั้นเราไม่ควรกระทำในอิทธิบาท๔ เพราะเป็นธรรมปลอมที่หาคุณประโยชน์ไม่ได้

ท่านทั้งหลายคิดอย่างผมไหมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 17, 2012, 07:07:37 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2012, 06:34:09 pm »
0
จะกล่าว ฉันทะ เป็นตัณหา นั้นยังไม่ได้จริง ๆ เพราะ

   ฉันทะ มีสองสาย สายหนึ่งเป็นไปเพื่อ อวิชชา อันนี้เขาใช้คำว่า กามฉันทะ

   ฉันทะ อีกสายหนึ่งเริ่มต้นด้วยวิชชา อันนี้เรียกว่า สมบูรณ์ด้วยปัญญาเป็นไปเพื่อการจากคลาย

   ถึงแม้จะเรียกชื่ออย่างไร ผลของฉันทะ นั้นก็คือ ความพอใจ และต้องการส่วนหนึ่ง

   หลายท่านอาจจะอธิบายว่า การต้องการพ้นจากทุกข์เป็น ตัณหา เพราะผลคืออยากเป็น เหตุคือความทุกข์

   ถ้ากล่าวอย่างนี้ ยังนับว่า เป็นความเห็นระดับเบื้องต้น ผู้เห็นแบบนี้ส่วนใหญ่จะไม่ภาวนา และ ไม่สนใจในการ

   ภาวนา จึงตีค่าการภาวนาเป็นไปอย่างนั้น

       :49:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ