ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - fasai
หน้า: 1 ... 10 11 [12]
441  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เกี่ยวกับคาถา เมื่อ: ธันวาคม 07, 2009, 09:43:11 pm
ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอม ซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับอานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้ง เดียว ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง

ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์ พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว







คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


นมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้
๑.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒.
อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
สุคะตัง สิระสา นะมามิ
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธัง สิระสา นะมามิ

๕.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา

๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒.
กุสะลา ธัมมา
อิติปิ โส ภะคะวา
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นะโม พุทธายะ
นะโม ธัมมายะ
นะโม สังฆายะ
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง
อา ปา มะ จุ ปะ
ที มะ สัง อัง ขุ
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ
อิ สวา สุ สุ สวา อิ
กุสะลา ธัมมา
จิตติวิอัตถิ

๑๓.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔.
กุสะลา ธัมมา
นันทะวิวังโก
อิติ สัมมาพุทโธ
สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน
อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตาวะติงสา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ยามา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
พรหมมาสัททะ
ปัญจะ สัตตะ
สัตตาปาระมี
อะนุตตะโร
ยะมะกะขะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕.
ตุสิตา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
ปุ ยะ ปะ กะ
ปุริสะทัมมะสาระถิ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖.
นิมมานะระติ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
เหตุโปวะ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗.
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
สังขาระขันโธ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘.
พรหมมา อิสสะโร
กุสะลา ธัมมา
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
นะโม พุทธัสสะ
นะโม ธัมมัสสะ
นะโม สังฆัสสะ
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๙.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑.
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง
โมกขัง คุยหะกัง
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓.
นะโม พุทธัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕.
นะโม ธัมมัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖.
นะโม สังฆัสสะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗.
นะโม พุทธายะ
มะอะอุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
ยาวะ ตัสสะ หาโย
นะโม อุอะมะ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
อุ อะมะ อาวันทา
นะโม พุทธายะ
นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

--------------------------------------------------------------------------------

พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้า ขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง


 

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก สนุก
442  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การส่งจิต เดินจิต แบบนี้ ช่วยวิเคราะห์หน่อยนะคะ เมื่อ: ธันวาคม 07, 2009, 09:42:18 pm
เป็นข้อความ มากับ email คะ เพื่อนส่งมาให้

จริงๆแล้ว ถ้าเราชำนานก็สามารถกำหนดไปไว้ส่วนไหนของร่างกาย ตรงไหนก็ได้

แต่สำหรับมือใหม่แล้ว ควรกำหนดวางไว้ จุดที่ง่ายต่อการรับรู้น่ะครับ
ตามที่ครูบาอาจารย์รุ่นก่อนๆ ท่านคิดอุบายมา จุดหลักๆก็มี

- กลางหน้าผาก หรือ ระหว่างคิ้ว
- บริเวณใบหน้าทั้งหมด(ให้นับทั้งใบหน้าถือเป็นแค่จุดๆเดียว)
- บริเวณปลายจมูก
- บริเวณหน้าอกด้านซ้าย(หัวใจ)
- บริเวณเหนือสะดือ ขึ้นมา 2 นิ้ว


คำถามที่ว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจิตอยู่ตรงนั้นจริงๆ? "

- ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นคุณอ่านข้อความนี้ บนจอคอมพิวเตอร์ จิตของคุณก็ถูกส่งมาอยู่ที่อักษรนี้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการที่กำหนดจุดให้อยุ่ตามฐานของร่างกาย ก็อารมณ์เดียวกันกับการมองตัวอักษรบนจอคอมฯ เพียงแต่เราไม่ส่งจิตออกนอกกายเราน่ะครัย

เรารักษาจิตไว้กับตัวเรา เอง โดยกำหนดให้มารวมตัวกัน ณ จุดใดจุดนึงของร่ายกาย เพื่อง่ายต่อการรับรู้และรับรุ้อย่างต่อเนื่องจนเป็นสมาธิ
443  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บุญกิริยาวัตถุ 10 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2009, 09:39:51 pm
บุญกิริยาวัตถุ 10 การกระทำที่เป็นบุญสิบอย่าง

1. ทำทาน
2. รักษาศีล
3. ภาวนาอบรมจิตใจ
4. อ่อนน้อมถ่อมตน
5. ขยันช่วยเหลือ
6. อุทิศกุศล แบ่งความดีให้ผู้อื่น
7. อนุโมทนา ยินดีในความดีของคนอื่น
8. ฟังธรรม ศึกษาหาความรู้
9. สั่งสอนธรรม ให้ความรู้ผู้อื่น
10. เข้าใจโลกและชีวิต มีความเห็นตรง ไม่หลงผิด
444  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กุศลกรรมบถ 10 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2009, 09:38:45 pm
อกุศลกรรมบถ 10 ทางอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์

1. ทำร้ายสิ่งมีชีวิต ฆ่าสัตว์
2. ขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง
3. ประพฤติผิดในกาม
4. โกหก หลอกลวง
5. พูดส่อเสียด ดูถูก
6. พูดหยาบ
7. พูดเพ้อเจ้อ นินทา
8. เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. คิดร้ายผู้อื่น ผูกพยาบาท
10. เห็นผิดจากความจริง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
เป็นคุณธรรม พื้นฐาน
445  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: ไปอิสาณต่อ จ้า เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 11:03:18 pm
รูปที่ 1 ไม่ใช่อาจารย์สนธยา คะ ท่านอ้วนกว่านี้ น่าจะเป็น พระครูสิทธิสังวร คะ
รูปที่ 2 เหมือนจะเป็นถ้ำแถวเมืองกาญ นึกไม่ออก  :P
รูปที่ 3 ใช่พระธาตุนครศรีธรรมราช เพราะฉันเคยไปกราบมาแล้ว
รูปที่ 4 ท่านพระอาจารย์ส่งภาพมาให้ดู บอกว่าเป็นภาพแม่น้ำท่าข้าม ที่ถ่ายเป็นท่าวังตะเคียนชุมพร

ตอบแทนอาจารย์อีกแล้ว
446  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / เรื่องเทศน์ มหาชาติ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:59:51 pm
 ;) อ่านข้อความว่าวัดแก่งขนุน มีเทศน์มหาชาต 4 - 5 /12 /52 สิ้นสุดไปในวันนี้
เว็บมาสเตอร์ มีภาพบรรยากาศงานเทศน์มหาชาต ให้ดูหรือป่าว

ใครมาเทศน์

เห็นพระอาจารย์เคยบอกว่ามี วีดีโอ เทศน์มหาชาตแจกด้วยจริงหรือป่าวคะ
447  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การถอดจิต นั้นต้องฝึกกรรมฐานถึงขั้นไหนคะ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:56:59 pm
 8)การถอดจิต นั้นต้องฝึกกรรมฐานถึงขั้นไหนคะ :angel:

ฟังอาจารย์เคยพูดเรื่องการถอดจิต แท้ที่จริงการถอดจิตนั้น ต้องฝึกกรรมฐานถึงขั้นไหน หรือ ต้องปฏิบัติกรรมฐานอะไร ถึงจะทำเช่นนั้นได้



448  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เขียนชื่อ สกุล วัน เดือน ปี เกิด ลงแผ่นดวง เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:54:39 pm
เขียนชื่อ สกุล วัน เดือน ปี เกิด ลงแผ่นดวง แล้วนำเข้าบรรจุในฐานพระแล้วจะเกิดอานุภาพหนุนดวงจริงหรือ
เห็นเวลาพระท่านสร้างพระ ก็มักจะให้เขียน ชื่อ สกุล วัน เดือน ปี เกิด ลงเพื่อบรรจุ :angel: ;D ;D
449  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ไปวัดวันหยุด แต่ก็ไม่ได้เบิกบานจิต เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:52:11 pm
ส่งจิตออกนอกตามชื่อกระดานนี้จริงๆ
แต่ฉันเชื่อว่าคุณนิมิต แกล้งบ่นเท่านั้นแหละเพราะฉันตามอ่านกระทู้ของคุณนิมิต แล้วก็รู้ว่าต้องเป็นผู้ศึกษาหลักธรรมมาก โดยเฉพาะการตั้งปณิธานเป็นพระสาวกภูมิ นี้ นับถือจริงๆ เพราะผู้ที่จะตัดสินใจอย่างนี้ต้องผ่านวิปัสสนาญาณถึงขัี้นนิพพิทาญาณแล้ว :P :angel: :angel: :angel:
450  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เกี่ยวกับคาถา เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:49:29 pm
ที่ว่า คือสวด คาถาอะไรคะ

แ่ต่ถ้ายอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก ดิฉันก็สวดเสมอ และคาถาชินบัญชร คาถาพญาไก่เถื่อน เพราะตั้งแต่สวดมาสิ่งที่ดิฉันเห็นผลเลยคือ การฝันร้าย ฉันไม่มีฝันร้ายเลยคะ เพราะดิฉันกลัวผี และการฝันร้าย ;D ;D ;D
451  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องนั่งอย่างเดียวหรือป่าว เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:47:13 pm
 ;D จำเป็นสำหรับคนที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์เจ้าคะ เช่นคนไม่มีขา ตาบอด จะให้เดินก็ไม่ได้เจ้าคะ
ส่วนท่านั่งเป็น ท่าปฏิบัติ มาตรฐานคะ แต่การภาวนาพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ทุกอิริยาบถ คะ
452  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อนันตริยกรรม มีเท่าไรครับ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:45:18 pm
อนันตริยกรรม ถ้าตามนักธรรมชั้นตรี ระบุไว้มี 5 คะ
1.ฆ่ามารดา
2.ฆ่าบิดา
3.ฆ่าพระอรหันต์
4.ยังพระโลหิตของพระพุทธเ้จ้าให้ห้อเลือด
5.ยังสงฆ์ให้แตกแยกจากกัน

แต่เคยฟังท่านอาจารย์พูดไว้มี 6
เพิ่มเข้ามาข้อหนึ่ง คือการเปลี่ยนศาสนา

ใครรู้ที่มาในพระไตรปิฏก ช่วยตอบด้วยนะเจ้าคะ
 :angel:
453  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ถ้าต้องการสมหวังในการปฏิบัติ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:42:48 pm
สะสมบารมี และควรหากัลยาณมิตร ในที่นี้คืออาจารย์ผู้ที่จะนำเราปฏิบัติให้ถูกตามหลักสัมมาทิฏฐิ คะ

สำหรับอาจารย์ มีความสำคัญมาก เหมือนเพื่อนในที่นี้ก็พยายามช่วยกันตอบ
ดิฉันรับอาสาท่านอาจารย์มาช่วยตอบก่อนนะเจ้าคะ :angel:
454  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: วันนี้ผมไปทำบุญ เพราะเป็นวันหยุด แต่แล้ว........... เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:40:46 pm
 :D ได้บุญแล้ว เจ้าคะ ที่เห็นนั้นทำเป็นไม่เห็น เถิดนะเจ้าคะ เพราะพระที่บวชมีหลายแบบมากคะ
ดิฉันเดินทางไปปฏิบัติธรรม ที่ไหนๆ ก็จะคล้ายๆกัน คือมีพระที่ดีกลุ่มหนึุ่ง อีกพวกหนึุ่งก็ไม่เอาอะไรเลยเจ้าคะ

บุญคือความเต็มคะ ให้ผลคือความอิ่ม ......ที่ใจ นะเจ้าคะ
เราทำบุญ ให้เกิดประโยชน์ ในภพนี้ และ ภพหน้า และเป็นการสั่งสมบารมี
455  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ไฟล์เสียง และ วีดีโอ บรรยายของอาจารย์ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:37:04 pm
ขอฉวิโสธนะสูตร ด้วยคะเพราะฉันอ่านเนื้อหาในพระไตรปิฏก ตามที่พระอาจารย์แนะนำแล้ว
แต่ไม่รู้ว่า ฟังเสียงท่านอาจารย์ ตอนว่างๆ จะดีกว่าอ่านเอง ใช่มั๊ยเจ้าคะ :angel:

แบบว่าอยากได้ฟัง เพราะดิฉันพยายามระงับกิเลสคือความอิจฉา ที่ศิษย์ใกล้อาจารย์ได้ฟังบ่อย
แต่ดิฉันอยู่เมืองกาญ ไม่ได้ฟังบ่อย ต้องโหลด ต้องโหลด ต้องโหลด ;D ;D

ขอขมาด้วยเจ้าคะ ถ้าดิฉันปรามาสอาจารย์ด้วยข้อความที่อาจจะไม่เหมาะสม ขอขมาด้วยเจ้าคะ
456  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิปัสสนา ที่อาจารย์พิมพ์ไว้แจกในวันอุปสมบถ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:33:06 pm
เรื่องวิปัสสนา นี้มีอยู่ในหนังสือ ที่ระลึกงานบวชด้วยนะเจ้าคะ
457  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อานาปานสติ ห้องที่ 4 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:32:00 pm
ขออภัยคะ ไฟล์ใหญ่ถึง 3.3 mb โหลดลงไปแล้วเว็บบอกไม่รับ

เว็บมาสเตอร์ เจ้าคะขอคำแนะนำด้วย คะ

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆ
458  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ธรรมที่ควรพิจารณาเนืองๆ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:30:10 pm
 :) ;D
นมัสการ พระอาจารย์ เจ้าคะ
เสียงในไฟล์ วีดีโอ เหมือนเสียงท่านอาจารย์มากๆ อาจารย์ ทำไว้หลายชุดหรือป่าว เจ้าคะ

จะขอไฟล์เพิ่ม ดิฉันโหลดไปใส่ในเครื่องโทรศัพท์ แล้ว

459  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เวลานั่งกรรมฐาน แล้วเห็นพระอาจารย์ที่เรานับถืออยู่ด้านหน้า ควรทำอย่างไร? เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:28:15 pm
ก็อธิษฐาน คุยกับท่านสิคะ ถ้าเห็นอีก
ส่วนน้ำตาไหลนั้น น่าจะเป็นปีติ เพราะดิฉันก็เป็นเหมือนกันในตอนฝึก ขั้นที่ 1 พระขุททกาปีติ
460  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระโพธิัสัตว์ กับ พระอริยสาวก เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:26:34 pm
พระโพธิสัตว์ เป็นผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อการเป็นพระพุทธเจ้า
พระอริยสาวก เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ถ้าพิจารณาจากเนื้อหาดังนี้แล้ว จะถามว่า
1.พระโพธิสัตว์ จะเป็นพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันได้หรือไม่
2.มีพระสูตร เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ เป็นพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันหรือไม่

เพราะบางที ก็ติดใจ ที่มีผู้กล่าวว่า เช่นหลวงปู่ทวด เป็นพระโพธิสัตว์ ถ้าอย่างนั้นท่านจะบรรลุเป็นพระอริยะบุคคล เช่นพระโสดาบันในชาตินั้นได้หรือไม่
461  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / หมอดู ดูดวงได้จริงหรือไม่ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:20:23 pm
ดิฉันเห็นเพื่อน ๆ เวลาไปวัดด้วยกัน ชอบให้พระดูดวงให้
ที่จริงเรื่องดวง นี่มีจริงหรือไม่ ดูได้จริงหรือป่าว

และพวกที่ชอบฟันธง มีผิดบ้างไหม
462  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คนเป็นเกย์ จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้หรือไม่ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2009, 10:17:36 pm
เห็นเพื่อน ๆ และ ลูกศิษย์ของดิฉัน ช่วงนี้เริ่มจะเป็นเกย์มากขึ้นสงสัย ยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคที่ยอมรับพวกเกย์

แต่ดิฉันก็สงสัยว่า พวกเป็นเกย์นี้จะสามารถสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้หรือไม่
463  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: คุณเคยไปสถานปฏิบัติธรรมกันมากี่ที่ เมื่อ: ธันวาคม 05, 2009, 07:53:21 pm
ลำดับ           สถานที่                         วิธีปฏิบัติ
1.             สวนโมกขพลาราม            อานาปานสติ
2.             วัดชลประทานรังสฤษดิ์       ตามใจฝึก
3.             วัดธรรมมงคล                   พุทโธ ตามแนวทางสถาบันพลังจิต เริ่มตั้งแต่ วิทิสสาสมาธิ
4.             วัดธรรมกาย                     วิชชาธรรมกาย 7 ฐาน
5.             วัดมเหยงค์                       รูปนาม
6.             วัดอัมพวัน                        มหาสติปัฏฐาน
7.             ถ้ำสุมโน                          หลายแบบ
8.             วัดเขาสมโภชน์                 ธรรมเปิดโลก
9.             วัดท่าซุง                         มโนมยิทธิ
10.            วัดภัททันตะ                    มหาสติปัฏฐาน
11.            วัดเทพพิทักษ์                 พุทโธ
12.            วัดยานนาวา                    กสิณสี
13.            ภูดอยโอบ                      รูปนาม
14.            ศูนย์ปฏิบัติธรรม อาจารย์แนบ มหานีรานนท์   รูปนาม อิริยาปถปัพพะ
15.            วัดมหาธาตุ                     ยุบหนอ พองหนอ
16.            วัดป่าบ้านตาด                 เจริญสติ และ พุทโธ
17.            วัดถ้ำเชียงดาว                พิจารณากระดูก 300 ท่อน กายคตาสติ
18.            ศูนย์ปฎิบัติธรรมปากช่อง   มหาสติปัฏฐานสี่ มหาสีสดายอ
19.            วัดสังฆทาน                    เจริญสติ
20.            วัดราชสิทธาราม              กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ที่จริงแล้วยังมีอีกหลายที ที่ไปฝึกมา แต่ก็ไม่ชอบเท่าที่วัดบ้านดิฉัน ที่อาจารย์ มาสอน
รู้มากชักยากนาน คำโบราณท่านสอนไว้
ท่านอาจารย์พูดแบบนี้ แล้วก็หัวเราะ :-[ :-[
464  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อานาปานสติ ห้องที่ 4 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2009, 12:40:08 am
 :D ฟ้าใสฝากอีกไฟล์หนึ่งของพระอาจารย์ เพราะคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ อุตส่าห์ถอดมาจากโน๊ตบุ๊ก
ตอนที่ท่านมาสอนนักเรียนมัธยม ที่โรงเรียนท่านได้พูดเรื่องอานาปานสติด้วย

แต่ท่านบอกว่าเป็นแนวทางรู้ก่อน ยังไม่ใช่แนวปฏิบัติ

ขออนุญาต พระอาจารย์นะเจ้าคะ ;D
แต่ไฟล์มีขนาดใหญ่ 3.3 MB
465  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กัมมัฏฐาน 40 กอง เมื่อ: ธันวาคม 05, 2009, 12:26:38 am
 :) เป็นไฟล์ที่ฟ้าใส เคยขอท่านพระอาจารยไว้
คิดไว้่ว่าน่าจะมีประโยชน์ ตอนนี้นนิมนต์ท่านสอนนักเรียนท่านเลย copy ลงไว้ในเครื่องที่โรงเรียน
เลยนำไฟล์นี้ มาให้ทุกคนได้อ่านไม่รู้ว่าจะเก่าไป หรือป่าว

ต้องขออนุญาต พระอาจารย์ไว้ด้วย ;D
466  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ศิษย์ท่านอาจารย์ได้อ่านเล่มนี้หรือยัง เมื่อ: ธันวาคม 05, 2009, 12:22:10 am
เป็นหนังสือที่ท่านมอบไว้ให้ตอนมาเยี่ยมกัน ท่านบอกเป็นหนังสือที่ท่านพิมพ์แจกในวันอุปสมบถ
ฟ้าใสก็อาศัยหนังสือเล่มนี้อ่าน เป็นแนวทางการปฏิบัติมาตลอด
ในหนังสือประกอบด้วยเรื่อง
เนกขัมมะบารมี
ภาวนากถา
รู้อย่างไรในธรรมธาตุ
เมื่อปฏิบัติสมาธิ รู้อย่างไรในสมาธิ
มหาสติปัฏฐาน 4
สัญญา 10
ธรรมสัญจร
ความเศร้าหมองของผู้บำเพ็ญตบะ
467  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ฝากกลอนอาจารย์ด้วยนะเจ้าคะ เมื่อ: ธันวาคม 05, 2009, 12:09:30 am
 :D ได้อ่านกลอนบทนี้ แล้วทำให้มุมมองของฟ้าใส ต่ออาจารย์เปลี่ยนไปเยอะเลย
ท่านเป็นพระที่เก่งบทกลอน เป็นพระที่ปฏิบัติดี แต่ท่านไม่เคยพูดบอกเลยสักคำ ว่าท่านรู้ ท่านเป็น
ปกติตอนมาพบท่าน ท่านก็นั่งนิ่งๆ คุยน้อยมาก เห็นแต่ท่านนั่งกรรมฐานอยู่เป็นวันๆ

สาูธุ สาธุ สาธุ สาธุ
มีบทกลอนที่ท่านอาจารย์ แต่งไว้มีอีกไหม ?
ช่วยลงให้อ่านเพิ่มด้วยนะเจ้าคะ คุณ กัลยา
468  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: จะไปปฏิบัติ ที่ศูนย์ต้องอย่างไร คะ เมื่อ: ธันวาคม 04, 2009, 11:52:04 pm
 :D ;D
นมัสการ พระอาจารย์ ลืมโยมฟ้าใส หรือยัง ?
มาเที่ยวเมืองกาญ ด้วยนะท่าน เดี๋ยวนี้ท่านไม่ค่อยมาเลย

ฟ้าใสว่าจะไปเยี่ยมท่านที่วัดด้วยนะ เจ้าคะ
469  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การปฏิบัติกรรมฐาน! ทำไมต้องเป็นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับด้วยครับ? เมื่อ: ธันวาคม 04, 2009, 11:47:06 pm
 :D ;)
เป็นคำถามที่เคยถามท่านพระอาจารย์ มาแล้ว
จึงขออาสาตอบก่อนเลยนะเจ้าคะ
-------------------------------------------
ประการที่ 1.กรรมฐาน เป็นอุบายทำใจให้สงบ และ ทำใจให้หยุด และทำใจให้รู้แจ้ง เห็นชัดตามความเป็นจริง
ซึ่ง กรรมฐานนั้นแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ 1.ภาคสมถะ 2.ภาควิปัสสนา
1.ภาคสมถะนั้น ประกอบด้วยกรรมฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ถึง 40 กองกรรมฐาน
2.ภาควิปัสสนา นั้นปรากฏในพระไตรปิฏกอยู่โดยรวม พระพุทธองค์สรุปไว้ใน โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
 มี ปธาน 4 อิทธิบาท 4 สติปัฏฐาน  4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรค 8
คำถามว่า "ทำไมต้องเป็นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ด้วยครับ? กรรมฐาน อื่นไม่ได้หรือครับ?"
ก็จะได้คำตอบว่า ปฏิบัติได้ แต่เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว เราก็ต้องปฏิบัติตามทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
ซึ่งก็หมายถึงเราต้องเลือกมา อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างตามจริตของเราที่ปฏิบัติได้
เมื่อพิจารณากับมาที่ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แล้วกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็เป็นทั้ง 2 อย่าง
ในส่วน อุปจารสมาธิ นั้น กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นใช้ พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานหลัก
พอผู้ปฏิบัติผ่าน อุปจารสมาธิ แล้วในห้องที่ 4 ก็ปฏิบัติ อานาปานสติ และเลือกกรรมฐานอื่นที่เป็นส่วนอัปปนา
พอมาในภาควิปัสสนา ก็เริ่มที่ วิสุทธิ 7 วิโมกข์ 3 จนไปจบ โพธิปักขิยธรรม 37
ซึ่งมองในมุมไหน ก็ไม่พ้นในแนวทางการปฏิบัติ แบบ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

มัชฌิมา หมายถึงทางสายกลาง ไม่ปฏิบัติไปเพื่อทรมานตน หรือส่งเสริมกามสุข
แบบลำดับ หมายถึงการปฏิบัติ ตามขั้นตามตอน ตามวิธีการ ที่เป็นแนวทางของพระอริยะ

ที่นี้ ถ้าจะปฏิบัติในแนวอื่นๆนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพระอาจารย์ผู้สอน หรือถ่ายทอด แต่ในที่นี้ เว็บนี้เป็นเว็บที่ท่านพระอาจารย์ปฏิบัติ
ตามแนวทางที่พระอาจารย์ของพระอาจารย์สอนกันสืบมา ดังนั้นในที่นี้ก็ต้องกล่าวแต่ในแนวทางที่ปฏิบัติสืบกันมา

สำหรับส่วนตัวดิฉัน นั้นก่อนที่จะรู้จักกับพระอาจารย์ ก็เคยปฏิบัติมาหลายแบบไม่ว่าจะต้องไปนอนที่วัดต่างๆ อาทิ ในแนว พุทโธ หลวงปู่มั่น
ในแนว มโนมยิทธิ ธรรมกาย มหาสติปัฏฐาน ยุบหนอพองหนอ ดูนามรูปแบบอภิธรรม เพราะดิฉันเดินทางปฏิบัติไปมากแต่ที่ผ่านมาไม่สามารถ
ทรงสมาธิ หรือวิปัสสนาได้จริง มีแต่ความรู้มาก จนกระทั่งได้มาเจออาจารย์สนธยา ท่านไม่ได้มาเที่ยวเดินสอน ท่านมาเยี่ยมที่เมืองกาญจนบุรี
แต่วันที่เห็นท่านนั้น ดิฉันก็ไม่ได้เลื่อมใสในครั้งแรก เพราะท่านเป็นพระที่อ้วน แต่ดิฉันแอบเห็นท่านนั่งกรรมฐานอยู่บนศาลาที่พัก เห็นท่านนั้งกรรมฐาน
ตั้งแต่ 9:00 น.จนถึง เวลาสัญญาณระฆังทำวัตรเย็น ซึ่งการปฏิบัติของท่านนั้นมีคนเห็นร่วมกับดิฉันอีกประมาณ 3 คน จึงเกิดความเลื่อมใสท่าน
จึงเข้าไปสนทนากับท่านในอีกวัน ท่านพระอาจารย์ก็บ่ายเบี่ยงในการสอนบอกให้ปฏิบัติตามที่เคยเรียนมา เนื่องจากมีประโยคหนึ่ง
ที่ท่านพูดเรื่องการขึ้นกรรมฐาน ก่อนจึงจะสอนให้ พวกดิฉันก็เลยขอขึ้นกรรมฐานกับท่าน และท่านก็มาสอนเพิ่มในสิ่งที่ไม่เคยปฏิบัติได้
เนื่องจากดิฉันเป็นศิษย์ที่ปฏิบัติ มาในหลายแนวทาง ปฏิบัติทีไรก็ไม่เคยเดินจิตได้ หรือปฏิบัติแล้วก็ไม่ชนะนิวรณ์สักที
จนกระทั่งได้พบอาจารย์ ท่านได้สอนวิธิการเดินจิตและการปฏิบัติตามที่ท่านสอนในวันแรกที่ท่านสอนก็สามารถเดินจิตได้ครั้งแรก
จำได้ว่านั่งกรรมฐานได้ 2 ชั่วโมง โดยมีความรู้สึกเหมือนนั่งแค่ 15 นาที ตั้งแต่นั้นมาดิฉันก็ปฏิบัติได้มาเรื่อยๆจนขึ้นไปตามขั้นที่ท่านสอน
ในขณะเดียวกันก็ได้ทราบถึงหลักธรรม และวิธีที่เจริญวิปัสสนา อย่างที่ไม่น่าเชื่อว่าจะง่ายๆๆ อย่างนี้ แต่ดิฉันก็เข้าใจ และมองเห็นตามความเป็นจริง
จึงทำให้มั่นใจว่า ควรปฏิบัติตามหลักที่พระอาจารย์ได้สอน ทุกวันนี้ก็ปฏิบัติตามอยู่

แนวทางการปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติแล้ว ได้ผลหรือไม่
ถ้าปฏิบัติไม่ได้ผล เราก็เปลี่ยนแนวทางอื่นก็ได้ ซึ่งครูบาอาจารย์ มีเยอะมาก แต่ผู้ปฏิบัติได้จริงมีน้อยมาก

ไม่รู้ว่าจะตอบถูกใจ หรือป่าว ?
และไม่รู้ว่าอาจารย์ จะตอบอย่างนี้หรือป่าว ? แต่ที่เคยฟังท่านอธิบาย ก็เหมือนจะอธิบายอย่างนี้


470  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: อวยพรปีใหม่ ซะหน่อย เพื่อนๆนักปฏิบัติร่วมอวยพรด้วยเด้อ เมื่อ: ธันวาคม 04, 2009, 09:46:44 am
ฟ้าใส ก็เป็นศิษย์ อาจารย์อยู่ที่ กาญจนบุรี รับโทรศัพท์จากอาจารย์เมื่อวานว่าเปิดเว็บ

ขออวยพรให้เพื่อนสมาชิก ทุกท่านปฏิับัติธรรมได้สำเร็จโดยไว
และขอให้แรงช่วยงาน อาจารย์ ในการเผยแผ่พระกรรมฐานโดยไม่มีอุปสรรค :-* :-*
หน้า: 1 ... 10 11 [12]