ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้าเปารวะในหนังแสดงโดยบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ กษัตริย์ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงชม  (อ่าน 741 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ รับบทพระเจ้าโปรุส (เปารวะ) ในภาพยนตร์ อเล็กซานเดอร์ (2004) ภาพจาก Alexander (2004) / Warner Bros. Pictures


"พระเจ้าเปารวะ" ในหนังแสดงโดยบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ กษัตริย์ที่ "พระเจ้าอเล็กซานเดอร์" ทรงชม

ความยิ่งใหญ่ของอินเดียเป็นที่รับรู้ของคนทั่วโลก เรื่องราวในประวัติศาสตร์ทั้งหลายกลายมาเป็นอิทธิพลสำคัญของผู้คนจวบจนปัจจุบัน รายนามเหตุการณ์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์อินเดียซึ่งเกี่ยวข้องกับมหาอำนาจในอดีตกาล มีช่วงที่ตะวันตกสนใจคือห้วงที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ มหาราช นำทัพเข้าถึงอินเดีย ในกาลนั้นมีพระนามของกษัตริย์ที่ต่อกรกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ นั่นคือพระเจ้าปารุส (เปารวะ)

ภาพยนตร์อเล็กซานเดอร์ (Alexander) เมื่อปี 2004 ฉายภาพเส้นทางของกษัตริย์แห่งมาซีโดเนีย หลากหลายด้าน แน่นอนว่า มุมที่พลาดไม่ได้คือการยกทัพปราบปรามดินแดนต่างๆ พระองค์เผชิญหน้ากับกองทัพของอินเดีย ซึ่งพระนามของผู้นำฝั่งอินเดียที่รบกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ตามที่แวดวงประวัติศาสตร์รับรู้กันมีนามของพระเจ้าปารุส (ในสันสกฤตเรียกว่า เปารวะ) ในภาพยนตร์ฮอลลีวูด ตัวละครนี้รับบทโดยบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ นักแสดงชาวไทยที่ผันตัวมาทำงานสาธารณกุศลในหลายปีหลัง

อ่านเพิ่มเติม : กำเนิดป่อเต็กตึ๊ง คณะเก็บศพฯที่ร.6พระราชทานทุน สู่แรงบันดาลใจภารกิจสาธารณกุศลของ บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์

@@@@@@

นักประวัติศาสตร์บอกเล่าเหตุการณ์เมื่อช่วง 330 ปีก่อนคริสต์ศักราช ว่า ช่วงเวลานั้น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งมาซีโดเนีย เป็นกษัตริย์ในช่วงที่เกิดจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่และมีอำนาจ พระองค์ได้รับชัยชนะในการรบกับพระเจ้าดาริอุสที่ 3 กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์อาคิเมนิด จากนั้นก็เริ่มปราบปรามดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิเปอร์เซียมาก่อน เปอร์เซียในช่วงเวลานั้นไม่อยู่ในสภาพปกครองดินแดนที่ห่างไกลอย่างมีประสิทธิภาพมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

เอแอล บาชาม นักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตร์อินเดียอธิบายว่า ก่อนหน้านี้มีกองทหารเล็กๆ จากตะวันตกของแม่น้ำสินธุ พร้อมช้าง 15 เชือก เคยต่อสู้กับพระเจ้าดาริอุสก่อนหน้านั้นกว่า 100 ปี ชาวกรีกเองก็รบกับชาวอินเดียมาก่อน ปรากฏหลักฐานในบันทึกของเฮโรโดตัสว่า ทหารอินเดียเหล่าหนึ่งรบในกองทัพเปอร์เซียในยุทธการที่พลาเต้


@@@@@@

ภายหลังพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทำสงครามในแคว้นบักเตรีย (ติดกับพรมแดนทาจิกิสถานและอัฟกานิสถานในปัจจุบัน) เขตลุ่มแม่น้ำออกซุส พระองค์ข้ามเขาฮินดูกูซ และยึดครองแถบเมืองกาบุล แม้จะเผชิญการต่อต้านอย่างดุเดือดจากชาวเขา แต่แน่นอนว่าย่อมไม่เป็นผล พระองค์นำทัพข้ามหุบเขาไปถึงแม่น้ำสินธุ และข้ามแม่น้ำในฤดูใบไม้ผลิ 326 ปีก่อนคริสต์ศักราช

พระเจ้าโอมผิส (สันสกฤตเขียนว่า อัมภิ) (Omphis) ผู้ปกครองแห่งตักษศิลา ยอมจำนนโดยไม่มีการต่อต้าน แต่ถัดไปจากแม่น้ำเฌลัม เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของกษัตริย์นักรบ พระนามว่า พระเจ้าโปรุส (เปารวะ) แม้แต่พระเจ้าโอมผิสก็ทรงเกรงกลัว และถึงกับยอมจำนนต่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์

@@@@@@

บาชาม บรรยายว่า พระเจ้าโปรุส ซึ่งในภาพยนตร์ฮอลลีวูดรับบทโดยบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เป็นบุรุษสูงใหญ่ สง่างาม กล้าหาญ และหยิ่งทะนง เป็นที่ประทับใจของพวกกรีก แต่ท้ายที่สุดพวกกรีกก็ปราบกองทัพของพระเจ้าโปรุส พร้อมกับจับกุมกษัตริย์แห่งปัญจาบพระองค์นี้ไว้ได้ โดยพวกกรีกก็ต้องข้ามแม่น้ำเฌลัมไปอย่างยากลำบาก

นักวิชาการที่ศึกษาอินเดียบรรยายว่า เมื่อพวกกรีกนำตัวพระเจ้าโปรุสออกมาแสดงหน้าผู้พิชิต พระองค์มีบาดแผล 9 แห่ง เกือบไม่สามารถพยุงตัวได้ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ตรัสถามว่าจะให้ปฏิบัติอย่างไร พระเจ้าโปรุสตรัสอย่างกล้าหาญว่า “ให้เหมาะกับข้า-เหมือนกับกษัตริย์” ร่ำลือกันว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ทรงประทับใจกษัตริย์พระองค์นี้แม้ว่าจะอยู่ในฐานะเชลยศึกก็ตาม พระองค์คืนอาณาจักรให้ปกครองในฐานะประเทศราช เมื่อกรีกถอนทัพกลับ พระองค์ให้พระเจ้าโปรุสปกครองดูแลปัญจาบ


@@@@@@

เมื่อปราบพระเจ้าโปรุสได้แล้ว พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงปราบปรามเผ่าต่างๆ และอาณาจักรเล็กๆ อีกหลายแห่ง แต่เมื่อมาถึงเบอาส พระองค์ต้องถอยกลับ เพราะแม่ทัพของพระองค์เตือนว่าอาจเกิดกบฏในกองทัพเนื่องจากทหารหวั่นเกรงการเดินทัพในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์จำต้องถอยทัพกลับผ่านแคว้นปัญจาบ ทรงตีฝ่าลงมาตามแม่น้ำสินธุ และเผชิญกับการต่อสู้จากนักรบหลายเผ่า พอถึงบริเวณปากน้ำ ทรงแบ่งกองทัพ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งกลับเมโสโปเตเมียทางทะเล อีกส่วนเดินทางทางบกโดยพระองค์ทรงนำทัพเอง การเดินทางต้องผ่านดินแดนมะกรานที่แห้งแล้งและปราศจากผู้อาศัย พระองค์สูญเสียกำลังพลไปมากมายในช่วงผ่านดินแดนที่แห้งแล้ง

@@@@@@

กองทัพทั้งสองมาถึงลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส รวมกับกองทัพเล็กๆ ส่วนหนึ่ง แม้ว่าพระองค์ปรารถนาจะควบคุมดินแดนเอเชียที่ปราบได้ แต่สถานการณ์ไม่เป็นเช่นนั้น มีกบฏเกิดขึ้นหลายส่วนในอินเดีย ขณะที่พระองค์ก็สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน เมื่อ 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรมาซีโดเนียในอินเดียก็สั่นคลอน มีบันทึกว่า ยูดามุส แม่ทัพคนสุดท้ายของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ถอนตัวจากดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียเมื่อ 317 ปีก่อนคริสต์ศักราช

สิ่งที่ชาวกรีกพบเห็นหรือรับรู้ในการเดินทัพไปถึงอินเดียนั้น ส่วนหนึ่งทำให้พวกเขารู้สึก “ประทับใจ” และยกย่องในความกล้าหาญของทหารอินเดีย ความซื่อสัตย์และความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชนเผ่าในปัญจาบและซินด์



ชมวิดีโอคลิปได้ที่ : https://youtu.be/Bh6LKIdxqCU
ขอบคุณ : https://www.silpa-mag.com/history/article_38953
เผยแพร่ : วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ.2562
อ้างอิง : Basham, A.L.. อินเดียมหัศจรรย์. กาญจนี ละอองศรี บรรณาธิการแปล. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2559
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2019, 06:05:20 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น