ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บุคคลที่ไม่ต้องเกณฑ์ ทหาร  (อ่าน 121489 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บุคคลที่ไม่ต้องเกณฑ์ ทหาร
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2010, 07:59:19 am »
0
บุคคลที่ไม่ต้องเกณฑ์ ทหาร

โดยปกติแล้วชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ในปีใดจะต้องไปเกณฑ์ทหารทุกคนแต่กฎหมายก็ยังเปิดโอกาสให้สิทธิแก่ บุคคลบางประเภท
ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเกณฑ์ทหารเช่นบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๕๘๗ โดยมีรายละเอียดสรุปพอเป็นสังเขปดังนี้


           ๑. ยกเว้นให้ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม (มาตรา ๑๓ )ได้แก่
               

๑.๑ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์หรือที่เป็นเปรียณและนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์ (ถ้าได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้
แล้วให้จำหน่ายออกจากบัญชีทหาร) แต่ถ้าลาสิกขาให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่หรือทำการประจำ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ลาสิกขา หากแจ้งเกินกำหนดนี้จะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและถ้าอายุยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย
                ๑.๒ คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ.๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๗๙ เช่น ต้อหิน หูหนวกทั้งสองข้างลิ้นหัวใจพิการ หืด เบาหวาน โรคจิต ใบ้ คนเผือก ฯลฯ บุคคลประเภทนี้ต้องไปรับหมายเรียก ฯ ตามกำหนดและเข้ารับการตรวจเลือกตามกฎหมายเรียก ฯ เมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกเห็นว่ามีอาการโรคตามที่กำหนดในกฎหมายกระทรวงจริง จะปลดเป็นพ้น
ราชการทหารประเภทที่ ๒ และทางจังหวัดจะออกใบสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน               
                 ๑.๓ บุคคลซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้ เฉพาะบางท้องที่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราช
บัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ บุคคลประเภทนี้ได้แก่ ชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ในบางพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้หนังสือภาษาไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีก็แตกต่างกันด้วยดังนั้น ทางราชการจึงไม่ประสงค์ที่จะให้บุคคลประเภทนี้เป็นทหาร เช่น ชนชาวกระเหรี่ยง บ้านแม่สอด หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองลาน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ฯลฯ
             ๒. ยกเว้นให้เฉพาะในยามปกติเท่านั้น (มาตรา ๑๔ )ได้แก่
                 ๒.๑ พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง (ให้นำหลักฐาน
การสำเร็จนักธรรม ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอหรือคณะกรรมการตรวจเลือกเพื่อดำเนินการยก เว้นให้  กรณีนี้ควรจะทำก่อนวันตรวจเลือกเพื่อดำเนิน
การยกเว้นให้กรณีนี้ควรจะทำก่อนวันตรวจเลือกเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปในตรวจ เลือกจะเป็นการสะดวกกว่า) แต่ประจำอยู่ภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ลาสิกขา หากแจ้งเกินกำหนดนี้จะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าอายุไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย
                 ๒.๒ นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนา ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้ (กรณีนี้ให้ไป
ติดต่อขอยกเว้นต่อนายอำเภอท้องที่ ซึ่งสุเหร่า อาราม หรือสำนักตั้งอยู่เพื่อตรวจสอบหลักฐาน เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะดำเนินการยกเว้นให้แต่เมื่อพ้นจากฐานะประจำ
ในกิจของศาสนา ให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่หรือทำการอยู่ภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นจากฐานะเช่นนั้นหากแจ้งเกินกำหนดจะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองร้อยบาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ และถ้าอายุยังไม่ถึง ๓๐ ปี บริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย
                 ๒.๓ บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร(นศท.) และนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม(กรณีนี้เจ้าตัวต้องประสาน กับสถาบันการศึกษา เพื่อดำเนินการของยกเว้น)
                 ๒.๔ ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนด
ในกฎหมายกระทรวง และผุ้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้(เจ้าตัวจะต้องประสานกับส่วนราชการ ต้นสังกัด เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)
                 ๒.๕ นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม (เจ้าตัวจะต้องประสานกับศูนย์ฝึก ฯ เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)
                 ๒.๖ บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ และบุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหลายครั้งรวมกัน ตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน (กรณีนี้ให้นำหลักฐานการแปลงสัญชาติหรือหลักฐานการต้องโทษไปแสดงต่อเจ้า หน้าที่สัสดีอำเภอ เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)

        อธิบายศัพท์
           
            - คนผ่อนผัน คือ ทหารกองเกินที่อยู่ระหว่างการศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือโรงเรียนอาชีวะ และโรงเรียนประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ ตามที่กำหนดในกฎหมาย ซึ่งสถานศึกษาได้ส่งรายชื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาทหารแล้ว
            - คนหลีกเลี่ยงขัดขืน คือ ทหารกองเกินที่รับหมายเรียกของนายอำเภอแล้วไม่มา ให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก ซึ่งได้ตัวมาดำเนินคดี และศาลได้พิพากษาให้ลงโทษ
            - คนที่ขาดการตรวจเลือกคือ ทหารกองเกินที่รับหมายเรียกของนายอำเภอ และไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก  แต่ยังไม่ได้ตัว
มาดำเนินคดี หรืออยู่ในระหว่างดำเนินคดี
            - คนยกเว้น คือ ทหารกองเกินที่ได้รับการยกเว้นไม่เรียกมาตราจเลือกในยามปกติ เช่น พระภิกษุนักธรรม ผู้ที่อยู่ระหว่างการฝึกวิชาการทหาร ฯลฯ
            - คนจำพวที่ ๑ ได้แก่ ทหารกองเกินซึ่งมีรายการสมบูรณ์ดี
            - คนจำพวกที่ ๒ได้แก่ คนซึ่งมีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ ๑ แต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗
            - คนจำพวกที่ ๓ ได้แก่ คนซึ่งมีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้ เพราะป่วยซึ่งจะบำบัดให้หายภายในกำหนด ๓๐ วัน
ไม่ได้
            - คนจำพวกที่ ๔ ได้แก่ คนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗
            - ขนาดรอบตัว คือ ความกว้างของรอบอกซึ่งมีวิธีวัดโดยให้คล้องแถบเมตรรอบตัว ในลักษณะการแขนหรือยกแขนทั้งสองข้างขึ้นให้ริมล่างของ
แถมเมตรได้ระดับราวนมโดยรอบ และเมื่อได้ลดแขนลงในลักษณะท่าตรงแล้วให้วัดเมื่อหายใจออกเต็มที่หนึ่งครั้ง และหายใจเข้าเต็มที่หนึ่งครั้ง
            - ขนาดถัดรอง คือ ผู้ที่มีขนาดสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๕๙ เซนติเมตร ลงมาถึง ๑ เมตร ๔๖ เซนติเมตร และมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ ๗๖ เซนติเมตรขึ้นไป ในเวลาหายใจออก
            - คนไม่ได้ขนาด คือ ผู้ที่มีขนาดสูงไม่ถึง ๑ เมตร ๔๖ เซนติเมตร หรือมีขนาดรอบตัวไม่ถึง ๗๖ เซนติเมตร

 

 

ที่มา จาก เวป กระทรวงกลาโหม
บันทึกการเข้า