ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฆราวาสธรรม 4 ประการ  (อ่าน 3275 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ฆราวาสธรรม 4 ประการ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2011, 05:57:37 am »
0
ฆราวาสธรรม ทั้ง 4 คือ

1. สัจจะ ความจริง จะทำสิ่งใดก็ต้องทำอย่างจริงจัง จริงใจ ต้องซื่อตรงต่อพุทธวัจนะ และความจริง ไม่ใ่ช่ซื่อตรงต่อตัวบุคคล พวกพ้องหรือหมู่คณะ

2. ทมะ ความข่มใจ รู้จักกดข่มกิเลส ไม่ใช่ปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นเรื่อยๆ เกิดขึ้นเฉยๆ หรือรู้เฉยๆ โดยไม่ทำอะไร แล้วปล่อยให้กิเลสดับไปเอง การรู้เฉยๆ นั้น เป็นการรู้อารมณ์ของอกุศล จิตก็ย่อมเป็นอกุศล แม้จิตจะไม่ตรึกในอกุศล แต่อารมณ์ที่จิตรับย่อมมีธรรมชาติเป็นอกุศล และสั่งสมป็นอกุศลวิบาก กิเลสหรืออกุศลตัวหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อกุศลหรือกิเลสตัวอื่นๆเกิดขึ้นต่อๆไปไม่มีที่ สิ้นสุด

3. ขันติ ความอดทน รู้จักอดทนต่ออารมณ์ที่น่ายินดี น่าพอใจ จากภาพ เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่เรารักใคร่ พอใจ ชอบใจหรือเคยติดใจ หรือคุ้นเคยจนเป็นนิสัย อันนำไปสู่การปฏิบัติตนแบบมักง่าย ไม่รู้จักอดทน จนเป็นเหตุให้ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็เลือกทำ เลือกเอาแต่ที่ถูกใจเป็นหลัก แทนที่จะเลือกทำแต่สิ่งที่ถูกต้องถูกทำนองคลองธรรม

4. จาคะ ความเสียสละ ต้องรู้จักเสียสละความสุขทางกามคุณทั้ง 5 อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส (โผฏฐัพพะ) ต้องรู้จักสละมานะ อันได้แก่ความกระด้าง ความถือตัว ต้องไม่ติดดี ต้องสละละวาง อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น อันจะนำไปสู่การสะสม สังโยชน์ทั้ง 10 ประการ

กลับมาที่เรื่องของ อิทธิบาท ข้อสุดท้ายข้อที่ 4 ต้องมีวิมังสา ต้องรู้จักทบทวน ตรวจสอบ คัดทาน การกระทำที่ผ่านๆมา ที่แล้วๆมา ของตัวเอง ว่าบกพร่อง ตรงไหน ด้วยเหตุอะไร ต้องกล้าตีแผ่พฤติกรรมของตนเองอย่างตรงไปตรงมา ห้ามหาเหตุผลมาปกป้องตัวเอง หรือความคิด ความเชื่อ ความชอบของตนเองหรือพวกพ้อง

การตรวจสอบต้อง ตรวจสอบจากหลายๆแห่ง หลายๆที่โดยใช้หลักกาลามสูตร คำคัดค้าน คำทัดทาน คำทักท้วง คำติติงจากผู้อื่นควรนำมาพิจารณาให้มาก แม้จะฟังหรืออ่านแล้วไม่ถูกใจเรา ฟังหรืออ่านแล้วรู้สึกขัดใจเราก็ตาม ทั้งนี้เพราะพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า

"คนเรา ควรมองผู้มีปัญญาใด ๆ ที่คอยชี้โทษ คอยกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไปว่าคนนั้นแหละ คือผู้ชี้ขุมทรัพย์

ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น
เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่
ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย"

(ปณฑตวคฺค ธ. ขุ. ๒๕/๒๕/๑๖.)
บันทึกการเข้า