ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอโทษ กับ ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ครับ  (อ่าน 10460 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ขอโทษ กับ ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2012, 12:20:04 pm »
0
ขอโทษ กับ ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ครับ
ตามหัวข้อเลยครับ สมมุติว่าผมทำผิดกับครูอาจารย์ แล้วผมเดินไปกล่าวคำขอโทษ
ทำอย่างนี้ ก็ใช้ได้แล้วใข่หรือไม่ครับ

  :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอโทษ กับ ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2012, 08:00:50 pm »
0


ขมาโทษ สมาโทษ : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

        การบวชนาค แห่นาค การบวชนาค และแห่นาค ประเพณีไทยแต่โบราณนานมาแล้วไม่เรียกพิธีอุปสมบทว่าบวชคนให้เป็นพระ แต่เรียกบวชนาค (ให้เป็นพระ) ในพระวินัยของพระพุทธเจ้าไม่มีเรื่องบวชนาค (ให้เป็นพระ) ฉะนั้นพิธีบวชนาค จึงไม่มีในชมพูทวีป (คืออินเดียโบราณ) แต่เป็นประเพณีพื้นเมืองของภูมิภาคอุษาคเนย์ โดยเฉพาะบริเวณผืนแผ่นดินที่เป็นพม่า (มอญ) เขมร ลาว และไทย
 
        การเตรียมตัวก่อนบวชผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลี หรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
 
        นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เครื่องอัฏฐบริขาร เครื่องอัฏฐบริขารของที่ต้องใช้ในการบวช ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ คำขอขมาเพื่อลาบวช คำขอขมาบิดา
   
        ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐ, ผู้ไม่มีทุกข์, ผู้ไม่ทำบาป
 
        นาค ในที่ทั่วไปหมายถึง ผู้ไปอยู่วัดเพื่อเตรียมตัวเพื่อจะบวช หรือเรียกผู้ปลงผมนุ่งห่มชุดนาคตอนจะเข้าโบสถ์ เรียกว่า เจ้านาค ก็มีที่นำคำว่า นาค มาใช้เรียกผู้จะบวชนั้น ต้นเค้ามาจากนิทานที่ว่ามีพญานาคปลอมตัวมาบวชเป็นพระตอนหลังถูกจับได้จึงต้องสละสมณเพศไป พญานาคมีความเสียดายและเสียใจที่เป็นพระไม่ได้เพราะเป็นสัตว์ดิรัจฉาน จึงขอฝากคำว่า นาค สำหรับเรียกคนที่จะบวช เพื่อเป็นเคล็ดว่านาคสามารถบวชพระได้
 
        ส่วนความหมายของคำว่า "ขมาโทษ" คือ การกล่าวคำขอโทษต่อผู้ที่ตนทำผิด หรือล่วงเกินด้วย กาย วาจา ใจ ใช้ว่า "สมาโทษ" ก็มี
 
       ขมาโทษ นิยมปฏิบัติในหลายกรณี เช่น นาคไปขมาโทษต่อญาติผู้ใหญ่ก่อนอุปสมบท พระสงฆ์ไป"ทำวัตร" พระผู้ใหญ่ในเทศกาลเข้าพรรษา
       "คำทำวัตร" ก็คือ "คำขอขมาโทษ" กล่าวคำขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยก่อนปฏิบัติกรรมฐาน หรือในเวลาทำวัตรเย็น เป็นต้น
 
       ขอขมาโทษ ในแต่ละกรณีจะมีคำว่าเป็นพิเศษต่างหาก แต่ใจความเป็นแบบเดียวกัน คือ ขออภัยหากล่วงเกินด้วย กาย วาจา ใจ หรือ ด้วยการทำผิด คิดร้ายต่อหน้าและลับหลัง ทั้งที่จำได้และจำไม่ได้
 
       มักจะกล่าวว่า
       "กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่าน
       ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี
       ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า
       นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนตราบเท่านิพพานเทอญ"



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20120727/136217ขมาโทษสมาโทษ:คำวัดโดยพระธรรมกิตติวงศ์.html#.UBNkHqDjrnU
http://www.bloggang.com,http://www.sawasdee.us/





ขมา
    [ขะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ เช่น ไปขมาศพ.น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น ขอขมา, ษมา ก็ใช้. (ป.; ส. กฺษมา).


สมา
    [สะมา] ก. ขมา.


ขอโทษ, ขอประทานโทษ
    ก. ขอให้ยกเว้นโทษ, ใช้เป็นคำสุภาพเมื่อรู้สึกว่าจะเป็นการล่วงเกินผู้อื่น.



ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒



       
        คำกล่าวขอขมาของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
        (ถือพานดอกไม้ หรือเทียนแพ กล่าวคำขอขมาต่อพระรัตนตรัย)       
        อุกาสะ วันทามิ ภันเต,
        สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,
        มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง,
        สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง,
        ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
        สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

        (ถวายพานดอกไม้หรือเทียนแพ ต่อพระอาจารย์กรรมฐาน และกราบ ๑ ครั้ง)
        สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,
        อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
        สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต,
        อุกาสะ ขะมามิ ภันเต (กราบ ๑ ครั้ง)

        (นั่งพับเพียบ ฟังการแนะนำเบื้องต้น โดยอาการเคารพ)




       
      ความเห็นส่วนตัว คำว่า"ขอโทษ" เป็นแค่คำสุภาพ เป็นคำกล่าวแบบเกรงใจ
      ไม่มีเหตุก็พูดได้ หรือมีเหตุก็เป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่มีสาระ และไม่ควรเป็นโทษ


      แต่คำว่า "ขอขมา" ใช้กับเหตุที่ขวางนิพพาน หรือ ทำการใดๆที่ผิดต่อบุพการี
      หรือผู้มีคุณ หรือมีเหตุที่่ยากจะให้อภัย


       การกระทำการใดๆที่ผิดต่อครูบาอาจารย์ ด้วยกายวาจาใจ ต้องใข้คำว่า "ขอขมา"

         :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2012, 08:02:47 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ