ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) ปลุกเสก "สระน้ำมนต์" ที่วัดหงส์รัตนาราม  (อ่าน 27113 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ทางเข้าสระน้ำมนต์อยู่ภายในวัดหงสรัตนาราม

นิมนต์สมเด็จพระญาณสังวร แผ่เมตตาทำบ่อน้ำพระพุทธมนต์ ที่วัดหงส์

ครั้งเกิดโรคห่าลงเมืองคราวนั้น ผู้คนได้พึ่งพาน้ำพระพุทธมนต์ นำไปต้มยากินรักษาโรค และเมื่อคราวกระทำน้ำพระพุทธมนต์ ไล่โรคร้าย ณ.วัดพระศรีรัตนศาสดารามของ สมเด็จพระญาณสังวร และคณะพระราชาคณะทั้งปวง เป็นเรื่องเล่าลือกล่าวขานกันมาก เวลานั้นพระพิมลธรรม(ด่อน) วัดหงส์ ต้องการที่จะให้ประชาชน ได้มีที่พึ่งทางจิตใจ จึงอาราธนานิมนต์ สมเด็จพระญาณสังวร พร้อมด้วยพระปัญญาวิสารเถร(ศรี) วัดสมอราย พระพรหมมุนี (ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิ์เถร วัดพลับฯ ไปแผ่เมตตาจิตทำน้ำพระพุทธมนต์ ที่สระน้ำวัดหงส์ เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับบรรดาญาติโยม

จากหนังสือประวัติวัดสำคัญทางพระพุทธสาสนา เล่ม ๒ กล่าวว่าภายในบริเวณวัดหงส์ มีสระน้ำพระพุทธมนต์ กว้าง ๖ วา ยาว ๒๖ วา เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนกล่าวกันว่า ก่อนอาบกินต้องอธิษฐาน ขอความสำเร็จแล้วจึงอาบกิน แต่ละมุมอำนวยผลต่างกัน
    ๑. มุมด้านทิศตะวันออก ดีทางเมตตามหานิยม กล่าวกันว่า สมเด็จพระญาณสังวร(สุก) วัดพลับ ทรงแผ่เมตตาจิต
    ๒. มุมด้านทิศใต้ ดีทางมหาลาภและการค้า กล่าวว่า พระปัญญาวิสารเถร(ศรี) วัดสมอราย อธิษฐานจิต
    ๓. มุมด้านทิศเหนือ ดีทางบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ กล่าวว่า พระพรหมมุนี(ชิต) ครั้งเป็นพระญาณวิสุทธิเถร วัดพลับ อธิษฐานจิต
    ๔. มุมด้านทิศตะวันตก ดีทางแคล้วคลาด กล่าวว่า สมเด็จพระสังฆราช(ด่อน) ครั้งเป็นพระพิมลธรรม(ด่อน) วัดหงส์ ทรงอธิษฐานจิต


ป้ายประวัติสระน้ำมนต์ภายในวัดหงส์ฯ

จากตำนานพระทองวัดหงส์ กล่าวว่า ผู้เป็นศิษย์วัดหงส์ ได้อาบกินน้ำพระพุทธมนต์ในสระนี้ มีความเจริญรุ่งเรื่องตลอดชีวิต เช่น ท่านเจ้าพระยายมราชได้อาบกิน ก็รุ่งเรืองตลอดวัย ท่านพระยาธรรมปรีชาอาบกิน ก็ได้พ้นราชภัย

คัมภีร์พระเวทย์ของอาจารย์เทพ สาริกบุตร กล่าวว่า ต่อมาได้ค้นพบ พระคาถาที่จารึกในแผ่นศิลาชื่อ "พระคาถาแก้วเรือนฟ้าส่องโลก" บรรจุในสระน้ำพระพุทธมนต์ วัดหงส์ ว่าเป็นพระคาถามหาวิเศษของพระอาจารย์ทั้ง ๔ ท่าน ได้ช่วยกันอธิษฐานจิต ใจความของพระคาถามีดังนี้


        ปัญญาพะลัง ปัญญาเสฏฐัง ปัญญาปาสาทิโก ปัญญาโอภาโส
        ปัญญาปะโชโต ปัญญารัตตะนัง อะโมสิงหลภาษา พะหูสุขัง
        พะหูสิเนหัง สาอุปัชชะติ ภูริปัญโญมะหาญาณัง ปะฐะวีจักขะณา



สระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์วัดหงส์ฯ

อ้างอิง :-
หนังสือพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) หน้าที่ ๓๔๔-๓๔๕
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง http://www.somdechsuk.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ป้ายประวัติสระน้ำมนต์ภายในวัดหงส์ฯ


ประวัติสระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์(จากป้ายด้านบน)

สระน้ำมนต์มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๖ วา ยาวประมาณ ๒๖ วา ลึกประมาณ ๑.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของวัด หลักฐานการสร้างไม่ปรากฏ

สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดอาราธนาให้พระอาจารย์ดี วัดประดู่ กรุงศรีอยุธยา มาชำระพระพุทธศาสนาให้เป็นปึกแผ่น ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑ แห่งกรุงธนบุรี ตามเรื่องว่า ท่านได้จารึกพระพุทธมนต์ลงบนแผ่นหินประกอบพีธีสระน้ำมนต์แห่งนี้ พร้อมพระโพธิวงศ์(ชื่น) เจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้ร่วมจารึกพุทธมนต์ลงบนแผ่นหินด้วย ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๓  เมื่อมีพระราชพีธีสำคัญ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จพระราชดำเนินมาสรงน้ำที่สระน้ำมนต์แห่งนี้ทุกครั้ง


 :25: :25: :25: :25:

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงโปรดอาราธนาพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย คลองตะเคียน แขวงกรุงเก่า มาอยู่ ณ วัดพลับ(วัดราชสิทธาราม) ท่านได้ลงเวทย์มนต์ฝังอาคมพระพุทธมนต์หลายประการทั้ง ๔ ทิศของสระน้ำมนต์

ท่านผู้รู้กล่าวว่า หากท่านใดได้อาบได้ดื่มน้ำมนต์ในสระของแต่ละทิศ จะอำนวยให้สัมฤทธิ์ผลต่างกัน คือ
    ทิศเหนือ  ดีทางด้านบำบัดทุกข์โศก โรคภัยไข้เจ็บ
    ทิศใต้  ดีทางด้านมหาลาภและค้าขาย
    ทิศตะวันออก  ดีทางด้านเมตตามหานิยม
    ทิศตะวันตก  ดีทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัยและอยู่คงกระพันขาตรี


    (จบเท่านี้)





พลับพลามาลาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นำภาพสระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์วัดหงส์ฯ มาให้ชมครับ


              ยังมีต่อ โปรดติดตาม......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2016, 11:06:55 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12

พึ่งจะรู้ครับ ต้องไปเยี่ยม วัดหงษ์ แล้ว

  thk56
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยู่ใกล้ ศิริราช แค่นี้เอง ต้องไป เยี่ยมขอพร ศักดิ์สิทธิ์ เสียหน่อย แล้วคะ

  st11 st12 st12 thk56
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น้ำนี้ดี อย่างไร บ้างคะ แก้อาถรรพ์ ได้หรือไม่ คะ

  :s_hi: :25:
บันทึกการเข้า

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณ ครับ ที่นำข่าว ดี ๆ มาบอกกัน
ผมเองก็พึ่งทราบเหมือนกันครับ รู้สึกว่า จะอยู่ใกล้ อรุณ นะครับ อันนี้

  :49: :49: st11 st12 like1
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เทพทันใจ

พระพุทธมหาเทพฤทธิ์ศักดานุภาพ

พระพุทธมหาเทพฤทธิ์ศักดานุภาพ

เก็บภาพรอบๆสระน้ำมนต์ มาให้ชมครับ
:s_good: :welcome: :s_good:



ปฏิทินอาบน้ำมนต์ปี ๒๕๕๘ (ไม่ใช่ปีนี้) ขอสารภาพว่า ผมไปวัดหงส์ฯ เมื่อกลางปีที่แล้วขอรับ

ปฏิทินอาบน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ประจำปี 2559 สอบถาม โทร.091-716-4107 (ภาพจากเฟซบุ้ควัดหงส์ฯ)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




รักษ์วัดรักษ์ไทย : วัดหงส์รัตนาราม พระอารามประจำพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ

วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
       
       ตามประวัติกล่าวว่า เดิมชื่อ “วัดเจ้าขรัวหง” เป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเศรษฐีชาวจีนชื่อนายหง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ได้กำหนดเขตพระราชฐานขึ้น วัดหงส์ฯจึงเป็นวัดที่ติดกับพระบรมราชวัง ใน พ.ศ. 2319 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชศรัทธาขยายพระอารามให้ใหญ่โตขึ้น ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ ศาลาการเปรียญ และกุฏิเสนาสนะทั้งวัด และทรงยกย่องให้เป็นพระอารามหลวงสำคัญ พร้อมถวายสร้อยนามวัดอย่างเป็นทางการว่า “วัดหงษ์อาวาสวิหาร”
       
       พระอารามแห่งนี้อยู่ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และพระองค์มักเสด็จมานั่งวิปัสสนากรรมฐานในพระอุโบสถเสมอ
       
       ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงชักชวนสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ร่วมบูรณปฏิสังขรณ์วัดหงส์ เนื่องจากอยู่ใกล้พระราชวังของพระองค์ แต่การยังไม่แล้วเสร็จ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีก็สิ้นพระชนม์ก่อน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับพระราชภาระในการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อ จนกระทั่งการเสร็จแต่ยังไม่บริบูรณ์นัก ก็เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิสังขรณ์ต่อมาจนแล้วเสร็จสวยงาม และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดหงส์รัตนาราม”
       
       สิ่งสำคัญในวัดหงส์รัตนารามมีมากมาย อาทิ

       
พระอุโบสถ

       • พระอุโบสถ กว้าง 19.50 เมตร ยาว 42 เมตร หลังคาเป็นมุขลด 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันทำเป็น 2 ชั้น ชั้นบนประดับลายรูปหงส์ ชั้นล่างทำเป็นพื้นเรียบเจาะเป็นช่อง 4 เหลี่ยม 2 ช่อง ภายในช่องประดับด้วยลายปูนปั้นปิดทองรูปหงส์
       
       ภายในพระอุโบสถมีเสาอยู่ด้านข้าง 2 ข้าง ประดับลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งเป็นรูปพันธุ์พฤกษา ฐานเสาเป็นลายเชิง ผนังพระอุโบสถด้านในเหนือระดับหน้าต่าง เป็นจิตรกรรมรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งลายดอกไม้ ภาพเขียนระหว่างช่องหน้าต่างเป็นเรื่องพุทธประวัติ ส่วนบนกรอบประตูและหน้าต่างมีกรอบไม้จำหลักมีภาพจิตรกรรมเรื่องรัตนพิมพวงศ์ (ประวัติพระแก้วมรกต) ตั้งแต่แรกสร้าง

       

       • พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอู่ทอง หน้าตักกว้าง 2.60 เมตร สูง 3.50 เมตร ไม่มีพระนามและไม่ทราบประวัติว่าสร้างขึ้นในสมัยใด
       
หลวงพ่อแสน

       • หลวงพ่อแสน เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2 ศอกเศษ โลหะเนื้อสัมฤทธิ์สีทองต่างกันเป็น 4 ชนิด พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระแสน มาประดิษฐานเบื้องหน้าพระประธานในพระอุโบสถ
       
       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ประวัติไว้ว่า “พระแสน (เมืองเชียงแตง) พระพุทธรูปองค์นี้ เชิญมาแต่เมืองเชียงแตง เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401 ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม”
       
       หลวงพ่อแสนเป็นที่เคารพกราบไหว้ของพุทธศาสนิกชนเป็นอันมาก เพราะถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

       
พระทองโบราณ

       • พระพุทธรูปทองโบราณ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ มีวรรณะสีทองอ่อนดุจทองคำแท้ แต่เดิมนั้นหุ้มปูนพอกไว้ให้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเมื่อ ปี 2499 พระสุขุมธรรมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามในขณะนั้น ได้พบรอยกะเทาะของปูนหุ้มที่พระอุระหลุดออก เห็นเนื้อในเป็นทองสีสุกปลั่ง เป็นทองโบราณสมัยสุโขทัย รุ่นเดียวกับหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม
       

ภายในวิหาร

       • พระวิหาร ตั้งหันหน้าขวางเข้าหาพระอุโบสถ มีประตูเข้าออกได้ด้านเดียวทางพระอุโบสถ วิหารหลังนี้ได้สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารเดิมที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสร้างไว้
       
       โดยเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธรูปทองโบราณ ทอดพระเนตรเห็นพระวิหารชำรุดทรุดโทรมมาก จึงมีพระราชดำรัสแก่พระสุขุมธรรมาจารย์ เจ้าอาวาส ว่า
       
       “พระวิหารนี้ ถ้ามีผู้มีจิตศรัทธาจะสร้างใหม่ ต้องสร้างให้เหมือนแบบเดิมทุกกระเบียด ตลอดจนลวดลาย ตามสมัยแบบเดิมทั้งสิ้น เพื่อรักษาแบบเดิม ดำรงไว้ซึ่งแบบโบราณสมัยของวัดหงส์รัตนารามนี้ มีอายุนับเป็นร้อยปี ใกล้พระราชนิเวศน์โดยแท้จริง”
       
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ พระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม และได้ทรงยกช่อฟ้าพระวิหารหลังนี้ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526
       
       ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปเรียงกัน 5 องค์ โดยมีพระพุทธรูปทองโบราณประดิษฐานอยู่ตรงกลาง

       
ศาลพระเจ้าตาก

       • ศาลพระเจ้าตาก ตั้งอยู่ที่ริมคลองคูวัด เชิงสะพานข้ามคลองหน้าวัด ด้านทิศตะวันตก ประชาชนในละแวกใกล้เคียง พร้อมใจกันสร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์ เดิมเป็นศาลไม้ แต่ปัจจุบันสร้างใหม่เป็นศาลก่ออิฐถือปูน ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนเป็นอย่างมาก
       
สระน้ำศักดิ์สิทธิ์

       • สระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ กว้าง 6 วา ยาว 26 วา ลึก 1.50 เมตร สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะเสด็จมาสรงน้ำที่นี่เมื่อมีพิธีสำคัญของแผ่นดิน ที่กลางสระน้ำจะมีหินอาคมอยู่ เชื่อกันว่าผู้ใดที่ได้อาบดื่มกิน จะได้ผลสัมฤทธิ์ดังที่อธิษฐานไว้
       
       ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา วัดหงส์รัตนารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยลำดับ จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ล่าสุด ปี 2557 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้ามาสนับสนุนงานบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร ภูมิทัศน์เขตพุทธาวาส และงานปรับปรุงท่าน้ำ โดยในปี 2558 จะเริ่มดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถเป็นเบื้องต้น
       
       ที่สำคัญ ในหนังสือประวัติวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร ได้ระบุว่า วัดหงส์รัตนารามนี้ ถือว่าเป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุที่ในการพระราชพิธีสงกรานต์นั้น เจ้าอาวาสวัดหงส์จะต้องเข้าไปในการสดับปกรณ์พระบวรอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่หอพระนาคในพระบรมมหาราชวังเป็นประจำทุกปี

       
จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 172 เมษายน 2558 โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
http://manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9580000037082
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สระนำมนต์วัดหงส์ฯ ภาพจากเฟซบุ้ควัดหงส์รัตนาราม‎

สระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์
(ภายในวัดหงส์รัตนาราม)

สระน้ำมนต์รูปสระเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๖ วา ยาวประมาณ ๒๖ วา ลึกประมาณ ๑.๕๐ เมตร ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกส่วนท้ายของวัด แต่ตามพื้นที่เดิมของวัดทั้งหมดแล้วอยู่ตรงกลางติดไปทางตะวันตก สมัยเมื่อผู้เขียนยังเด็กเคยมาอาบเสมอๆ ผู้คนหนาแน่นยิ่งเสาร์ห้าด้วยแล้วต้องรอกันเป็นชั่วโมงจึงจะได้อาบ ผู้เฒ่าผู้ใหญ่เคยเล่าว่าศักดิ์สิทธิ์นัก และประสิทธิ์ประสาทความขลังความศักดิ์สิทธิ์ให้ได้ตามเจตน์จำนงทีเดียว

จางหลวงพรหมาธิบดี(จัน) ผู้เชี่ยวชาญทางประพันธ์และมหาชาติ จนมีชื่อปรากฏอยู่ในมหาชาติฉบับแบบศึกษาเล่มปัจจุบันนี้ ในฐานะผู้ตรวจความ ซึ่งอยู่ ณ บ้านใกล้วัดนี้ และพระครูพิสิษฐ์ธรรมานุรักษ์(อุย) ผู้เป็นพระสงฆ์ในวัดนี้ ซึ่งท่านทั้งสองมีอายุยืนถึง ๘๐ เศษทั้งสองท่าน ได้เล่าอานิสงส์และคุณความดีของน้ำมนต์สระนี้นานาประการและส่งผู้พบปะให้อาบเสมอ

 :25: :25: :25: :25:

ในสมัยก่อนนี้บริเวณสระนี้มีศาลาพักด้านเหนือและใต้ มีที่อาบน้ำทำเป็นที่ตักลงรางไหลลงสู่ที่ขังไหลเป็นก๊อกมายังผู้อาบ แต่ต้องระวังลื่นตะไคร่จับหนาแน่นเพราะมีคนอาบไม่ขาด เรียกกันสมัยนั้นว่า “บ่อโพง” ด้านใต้ทางทิศตะวันตกมีศาลาเป็นเรือนไม้กั้น ฝาสามด้านตั้งเครื่องสักการะเต็มกว้างประมาณ ๓ วา หันหน้าเข้าสู่สระธูปเทียนดอกไม้ไม่มีขาด เฉพาะก้านธูปเผาคนไหม้และเป็นที่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระสังฆราชชื่น ซึ่งที่ฐานพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้มีอักษรจารึกว่า
    "รูปสมเด็จพระสังฆราชวัดหงส์ฯ หม่อมเจ้าหญิงกระจ่าง หม่อมเจ้าหญิงชม หม่อมเจ้าสฤษดิ์ ได้พร้อมใจกันหล่อพระรูปเจ้าของสระ"

    จารึกนี้ก็แสดงว่า ความสำคัญของสระนี้เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้อยู่เหมือนกัน สมเด็จพระสังฆราชองค์นี้เป็นองค์ที่ ๓ , องค์ที่ ๒ คือ สมเด็จพระสังฆราชศรี , องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราชดี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ส่วนพระประวัติองค์ที่ ๓ มีกล่าวแล้วในหนังสือนี้แล้ว แต่จารึกและพระรูปนี้สร้างราวในรัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ นี้เอง


สระนำมนต์วัดหงส์ฯ ภาพจากเฟซบุ้ควัดหงส์รัตนาราม‎

     ส่วนเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องของสระก็น่าจะเป็นได้เหมือนกัน เพราะสมเด็จเจ้าประคุณองค์นี้เป็นเจ้าอาวาสวัดหงส์ฯนี้ และทรงคุณธรรมเป็นพระโพธิวงศาจารย์ แสดงถึงพระเกียรติคุณในทางศักดิ์สิทธิ์และขลัง
     ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช แม้จะถูกราชภัยรุนแรงประการใดก็ไม่ถึงล่มจม ประคองพระองค์อยู่ได้จนสิ้นพระชนม์ ทั้งยังทรงเชี่ยวชาญทางพระปริยัติและความรู้พระพุทธศาสนาถึงขั้นปรมัตถ์และวิปัสสนา สามารถชำระพระอภิธรรมปิฎก เมื่อสังคายนาในรัชกาลที่ ๑

     สระน้ำมนต์นี้ในระยะหลังต่อมามีผู้ศรัทธาทำการลอกกันครั้งหนึ่ง ผู้เป็นหัวหน้าจัดการ คือ พันตำรวจเอกพระยาธุรการกำจัด ได้ขุดลอกทั่วถึงลึกพอหยั่งถูกก้อนหินที่ลงอาคมกลางสระ ก็พอดีฝนตกใหญ่ ฟ้าคะนองกันปนาท น้ำเต็มล้นสระ ผู้ขุดลอกต้องพักและรอโอกาสใหม่
     เมื่อฝนหายหยั่งไม่พบหินก่อนนั้นเสียแล้ว ไม่ทราบว่าเคลื่อนที่ไปไหน

     ดูเป็นการเท่ากับรับรองว่า หินอาคมนั้นเชื่อเถอะยังอยู่มีและยังศักดิ์สิทธิ์อาบกินเถิด แต่อย่าเอาขึ้นไปเลยต้องการอยู่อย่างนี้ จึงมีอาการปรากฏดังกล่าวมานั้น


      :96: :96: :96: :96: :96:

สระน้ำมนต์นี้ประวัติไม่ปรากฏแน่ เห็นจะมีมานานคู่กับวัดนี้ จึงไม่มีผู้ใดจะทรงจำได้เพราะหมดคนรุ่นนั้นไปนานแล้ว ข้าพเจ้าเคยเรียนถามท่านผู้ใหญ่แต่ก่อน ๆ ที่มีอายุตั้งแต่ ๘๐–๙๐ ท่านก็ตอบให้แน่ใจไม่ได้คงก่อนอายุท่านนานนัก แต่ตามสันนิษฐานนั้นพอเล่าได้ดังนี้ คือ

ตามหลักฐานของท่านเจ้าคุณรัตนมุนีเล่าว่า มีพระวัดหงส์ฯนี้รูปหนึ่งไปธุดงค์ ไปพักที่วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดอยุธยา พบกับพระเถรอาจารย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ถามถึงสระน้ำมนต์นี้แล้วฝากหินกายสิทธิ์ลงอาคมมาแผ่นหนึ่งให้มาใส่ในสระนี้ เมื่อพระวัดหงส์ฯนี้กลับถึงวัดก็เล่าให้เพื่อนพระเณรฟังและต่างขอดู พอเอาออกจากย่ามมาถึงข้างนอกกลายเป็นก้อนมหึมายกคนเดียวไม่ได้เป็นอัศจรรย์ พระเณรจึงช่วยกันยกไปใส่ไว้ในสระนี้ นี่ประการหนึ่ง

อีกหลักฐานหนึ่งว่าดังนี้ สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้เสาะสืบหาพระสงฆ์จัดการพระศาสนา พระศรีภูมิปรีชาได้อาราธนาพระอาจารย์ดี วัดประดู่ซึ่งท่านรู้คุณธรรมมากและมีพรรษาอายุเป็นผู้เฒ่ามายังกรุงธนบุรีและได้สถาปนาท่านเป็นพระสังฆราช ตามเรื่องว่า ท่านลงแผ่นหินประกอบพิธีสระน้ำมนต์นี้

อีกหลักฐานหนึ่งว่า สมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง แผ่นดินที่หนึ่งเมื่อได้อาราธนาพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย คลองตะเคียน แขวงกรุงเก่า มาอยู่วัดพลับ ท่านได้ลงเวทมนต์ฝังอาคมด้วยพุทธมนต์หลายประการเป็นสี่ทิศ เพื่ออาบแก้ทุกข์โศกโรคภัยและอำนวยโชคลาภยศศักดิ์อัครฐานนานาชนิดเข้าไว้
    พระอาจารย์สุกองค์นี้ ต่อมาได้เป็นพระสังฆราชทรงความรู้สูงและมีคุณธรรมเยี่ยมในเวลานั้น สามารถเรียกไก่ป่ามาให้เชื่องได้ด้วยอำนาจเมตตา เขาว่า เมื่อท่านย้ายวัดข้ามฟากจากวัดพลับไปอยู่ฝั่งพระนครท่านเดินข้ามน้ำไปได้ ทั้งนี้เพราะมีผู้นับถือบูชาท่านต่างนำเรือมาจอดแน่นขนัดยาวยืดแต่วัดพลับถึงฝั่งพระนคร ท่านจึงเดินไปบนเรือนั้นแต่วัดถึงฝั่งพระนครได้เป็นอัศจรรย์
    แต่เรื่องปลุกเสกเวทมนต์สระน้ำนี้นั้น เขาเล่าว่า ท่านทำร่วมกับพระอาจารย์ศรี วัดสมอราย ผู้วิเศษขลังอีกองค์หนึ่ง ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าคุณปัญญาวิลาลเถร


ภาพจากเฟซบุ้ควัดหงส์รัตนาราม โดยศุภพิชญ์ เลนุกูล‎

เรื่องนี้จะยุติประการใดสุดแต่ท่านผู้อ่านจะเชื่อ แต่ความขลังความศักดิ์สิทธิ์นั้นมีจริง จะพิสูจน์ได้ก็เชิญทดลองดูจะอัศจรรย์ทีเดียว เขาว่ากันว่า ผู้ที่ดีได้ความเจริญรุ่งเรืองที่ออกจากวัดนี้ไปนั้น
    แม้แต่เจ้าพระยายมราชที่รุ่งเรืองตลอดวัย และ
    พระยาธรรมปรีชา(แก้ว) ที่พ้นราชภัยและมียศศักดิ์ขึ้นในสมัยแผ่นดินที่ ๑ นี้
    ก็เพราะอาบกินน้ำมนต์สระนี้เป็นแรงส่งด้วย

ในขณะเขียนเรื่องสระน้ำมนต์นี้อยู่ หมื่นราชพัตถ์ผดุงได้บันทึกหนังสือส่งมาให้เป็นใจความว่า ท่านผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ท่านฟังว่า จะอาบจะกินต้องคารวะและอธิษฐานขอความสำเร็จแล้วจึงอาบกิน แต่สระน้ำมนต์นี้อำนวยผลให้สัมฤทธิ์ ต่างกันแต่ละมุมสระ คือ
         มุมทางทิศตะวันออก ดีทางเมตตามหานิยม
         มุมทางทิศใต้ ดีทางหาลาภและค้าขาย
         มุมทางทิศเหนือ ดีทางบำบัดทุกข์โศกโรคภัยไข้เจ็บ
         มุมทางทิศตะวันตก ดีทางแคล้วคลาดและอยู่คงกะพันชาตรี
     เรื่องที่กล่าวมานี้มีผู้กล่าวเคยได้ยินนานมาแล้วและหลายรอบ



Posted on August 21, 2013April 26, 2015 by mitsumasa   
ที่มา www.wathong.com/sanctuary/สระน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์/



      ยังมีต่อ โปรดติดตาม......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2016, 08:59:45 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ask1 โดยคุณ รักหนอ

น้ำนี้ดี อย่างไร บ้างคะ แก้อาถรรพ์ ได้หรือไม่ คะ

  :s_hi: :25:


 ans1 ans1 ans1 ans1

คุณรักหนอครับ ลองอ่านให้ละเอียด ลองไปอาบไปดื่มดู
ผมนำปฏิทินอาบน้ำมนต์มาโพสต์ให้แล้ว
ขอให้โชคดี ค้าขายร่ำรวย เฮงเฮงเฮง


  :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2016, 08:40:42 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0









นำภาพรอบๆสระน้ำมนต์มาให้ชมอีกชุดหนึ่ง จากกล้องมือถือครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
จากประสบการณ์ ที่ได้เดิน เที่ยวฝั่งธนบุรี ฝั่งพระนคร ก่อนสิ้นปี มานั้น กล้าพูดว่า

    วัดในย่านฝั่งธนบุรี ความร่มรื่น ด้วยพันธ์ไม้ ต้องยกให้วัดราชสิทธาราม
    สำหรับ วัดหงษ์ พื้นที่ไม่ได้มีมาก แต่การบริหารจัดการ วัดเป็นแบบ พาณิชย์ ชัดเจน เพราะมีจุดบริการ หลายจุด ซึ่งต่างจากวัดราชสิทธาราม ที่ยังเหมือนวัดเก่า อยู่

     วัดหงษ์มี ปูชนียวัตถุ ของครูอาจารย์ ในสายกรรมฐาน อยู่ แม้สมเด็จ สังฆราชองค์ที่ 5 ต่อจากหลวงปู่ ก็ไปจากวัดนี้ และวัดนี้เป็นวัดในวัง สมัย กรุงธนบุรี ศิลปกรรม จึงมีอยู่มาก ตามวัดสำคัญ


    เจริญพร ขอบคุณที่นำเนื้อหา ส่วนนี้มาแจกจ่าย
 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ลานจอดรถวัดหงส์ วันที่ไปเกือบจะไม่มีที่จอด เนื่องจากเป็นวันอาบน้ำมนต์
อาคารที่กำลังก่อสร้าง คือ ร.ร.พระปริยัติธรรม

ที่เห็นหลังคาสูงๆ ขวามือกำลังบูรณะคือโบสถ์ ซ้ายมือคือวิหารหลวงพ่อทองคำ เราจะไปชมวิหารนี้กันก่อน



เห็นประตูก็รู้ว่า วิหารหลังนี้เก่าแก่มาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2016, 08:11:57 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระพุทธรูปทองโบราณ

พระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ เดิมเป็นพระหุ้มปูนมีพระลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์  ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลังพระอุโบสถซึ่งชำรุดทรุดโทรมหักพังใช้การไม่ได้จนคนทั้งหลายเรียกว่า “วิหารร้าง” ทั้งนี้เพราะไม่ใช่เพียงแต่ชำรุดทรุดโทรมหักพังเท่านั้น  ยังรกรุงรังด้วยเศษอิฐและไม้กับมีเครือเถาและต้นไม้ขึ้นปกคลุมด้วย  ต่อมาเมื่อพระสุขุมธรรมาจารย์ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้  จึงได้ดำเนินการทำความสะอาดและจัดการให้มีความเรียบร้อย ตัววิหารนี้จึงมีสภาพพอที่จะเห็นได้ภายในและพอที่จะเข้าออกได้ 

ต่อมาเมื่อวันที่  ๒๖ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๙๙  การณ์จึงปรากฏขึ้นว่า พระพุทธรูปในพระวิหารนี้องค์กลางที่ยังเหลืออยู่เป็นองค์พระในรูปที่ชำรุดทรุดโทรมพอกับตัวพระวิหาร เป็นพระโบราณสวยงามมีค่ามากหุ้มปูนอยู่ภายใน  ความจริงตัวพระวิหารหลังนี้ตั้งอยู่ในลักษณะยาวไปทางทิศตะวันตกและตะวันออก  หันหน้าขวางเข้าหาพระอุโบสถ มีประตูเข้าออกได้ด้านเดียวทางพระอุโบสถ ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปเรียงเป็นแนวเดียวกัน หลังพระพุทธรูปติดฝาผนังพระวิหารและพันพระพักตร์ออกสู่ประตูพระวิหาร



พระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ประดิษฐานอยู่ตรงกลางในแนวเดียวกันกับพระพุทธรูปอื่นๆ แต่ขณะที่ประชาชนพากันสนใจในพระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้นั้น พระพุทธรูปองค์อื่นๆ ได้หักพังและถูกทำลายไปสิ้นแล้ว คงเหลือแต่องค์นี้ประดิษฐานเด่นอยู่ลำพังองค์เดียว การที่ทราบได้ว่า พระพุทธรูปนี้มีค่ายิ่งนั้น ก็เพราะบังเอิญคือรอยกะเทาะของปูนหุ้มที่พระอุระหลุดออกเห็นเนื้อในเป็นทองสีสุกงาม และเกิดโจษขานกันนานาประการ เรื่องต่อมาจึงปรากฏเป็นที่ทราบกันทั่วไปบัดนี้ว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญครั้งโบราณกาลและมีเนื้อทองเข้าขั้นมีค่าควรสงวน  ทางวัดมีพระสุขุมธรรมาจารย์เป็นประมุข  จึงดำเนินการเข้าพิทักษ์รักษาร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและกองทัพเรือ

ครั้นต่อมา นางสาวสังวาลย์กับนางสาวเนื่องน้อย ชูโต เคหสถานอยู่ ณ ตำบลเจริญพาสน์ กิ่งอำเภอบางกอกใหญ่  จังหวัดธนบุรี  ได้ศรัทธาสร้างศาลาเทคอนกรีต ๓ มุข  มีประตูเหล็กขึ้นถวายเพื่อประดิษฐานเป็นที่ปลอดภัยในบริเวณทิศตะวันตกของพระวิหารและให้ชื่อว่า “ศาลาตรีมุข”  ส่วนการเคลื่อนย้ายนั้นกองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือ คือ พลเรือเอก หลวงชำนาญอรรถยุทธ เป็นประธาน  ได้รับการขอร้องและได้ถวายการอุปถัมภ์ 

การเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปทองโบราณนี้จึงได้ถูกกำหนดและได้ประกอบพิธีอัญเชิญมาจากพระวิหารสู่ศาลาตรีมุข  เมื่อวันที่ ๒๗  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๕๐๑  เวลา ๐๙.๑๙ เป็นปฐมฤกษ์  โดยผู้บัญชาการทหารเรือได้มาเป็นประธานอำนวยการหลังจากการเคลื่อนย้ายแล้วทางกองทัพเรือได้ส่งช่างไปขัดสีชำระมลทินในส่วนใหญ่ออกแต่ยังคงสภาพรักษาโบราณวัตถุและศิลปกรรมไว้เพื่อประโยชน์การศึกษาในวิชาแขนงนี้ พร้อมกันนี้ทางวัดและกองทัพเรือพร้อมกับท่านผู้ศรัทธาเลื่อมใสทั้งหลาย ได้กำหนดงานสมโภชขึ้น เริ่มแต่วันที่ ๒๙ พฤษภาคม  ถึงวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๑ รวม ๕ วัน ๕ คืน

 



พระพุทธรูปทองโบราณ เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประทานข้อสังเกตไว้ว่า “ทำเป็น ๓ ยุค”

ยุคแรก  วงพระพักตร์กลมเดินแบบพระพุทธรูปลังกา เช่น พระอัฏฐารศ ในพระวิหารวัดสระเกศ พระนครบัดนี้  ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดวิหารทอง พิษณุโลก

ยุคกลาง วงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เป็นฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์ และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระนคร และมีอยู่จำนวนมากกว่ายุดแรก

ยุคหลัง  วงพระพักตร์รูปไข่ หรือลักษณะผลมะตูม คล้ายแบบอินเดีย แต่งามยิ่งนัก พร้อมทั้งแก้ไขพระพุทธลักษณะเป็นไปตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่ได้ประชุมสอบสวนได้หลักฐานในยุคนี้ เช่น แก้ปลายพระพักตร์ยาวเสมอกัน ๔ นิ้ว เป็นต้น ได้แก่ พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก และพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศน์ พระนคร  และทำกันต่อมาแพร่หลายทั้งข้างเหนือและใต้ แต่ไม่ได้งามดัง ๒ องค์ที่กล่าวมา ยุคนี้อยู่ในราวรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไท





พระพุทธรูปทองโบราณองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างทำตามแบบสุโขทัยยุคกลาง  ซึ่งเป็นฝีมือประติมากรรมศิลปะขั้นเยี่ยมทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติสูงสุดของไทย  คือ พระเกตุมาลาลักษณะเปลวเพลิง มีอุณาโลมเป็นเกลียวไหวขึ้นสูง และด้านข้างมีรัศมีแผ่ทั้งสอง มีรูปเป็นกลีบขึ้นเป็นชั้นๆ รูปพระเศียรและวงพระพักตร์เป็นดังรูปไข่  พระโขนงโก่งดังคันศรและงดงามเป็นสัน พระเนตรดังตาเนื้ออยู่ในอาการสำรวม พระนลาฏกว้างไม่มีเส้นไรพระศกและมีเม็ดพระศกย้อยลงมาตรงกลางเบื้องบนพระนลาฏ พระนาสิกเป็นรูปของอโง้งงุ้มดุจจะงอยนกแก้ว พระโอษฐ์เล็กคล้ายแย้มเผยอตรัส พระหนุเสี้ยมดังเมล็ดมะม่วงและมีรอยหยิก พระกรรณเหมือนกลีบบัวและยาวซ้อนๆ มีรูเจาะทะลุตอนเบื้องปลาย พระปรางเต่งดุจผลมะปรางแต่บางองค์ก็ชะลูดลงบ้าง ภาพวงพระพักตร์เพ่งดูแล้วดูดดื่มซึ้งตรึงใจอย่างน่าอัศจรรย์ พระศอเป็นปล้องคือมีรอยปรากฏอยู่ ๔ เส้นเป็นชั้นๆ

พระอังสากว้างสมส่วนพระองค์ พระอุระนูนผึ่งผายดูคล้ายศีรษะช้าง หัวพระถันโปนเห็นชัดทั้ง ๒ ถัน พระกายกลมกล่อมนุ่มนวลอ่อนละไมและสะโอดสะอง พระกฤษฎีคือยั้นพระองค์(เอว) แคบลงและค่อยๆ ผายขึ้นไปหาส่วนกว้างที่พระอุระและพระกัจฉะประเทศ พระกรกลมและยาวดุจงวงช้างจนแตะพระเพลาได้โดยไม่ต้องก้ม  และเบนออกไปน้อย ๆ ได้ส่วนกับพระชานุเบื้องขวา




หลังพระหัตถ์เบื้องขวานูนงามพาดพระเพลาลงอย่างอ่อนไม่ทื่อและแข็งพระองคุลีเรียวเป็นลำเทียนยาวสั้นไม่เสมอกันอย่างสามัญมนุษย์ มีพระนขาปรากฏชัดและช้อนงอนขึ้นพองาม บางองค์ยกพระอนามิกา(นิ้วนาง) และพระกนิษฐา(นิ้วก้อย) ขึ้นเล็กน้อย(เล่นนิ้ว)  ตรงพระนาภีมีรอยบุ๋มพอเป็นที่สังเกต พระเพลาเรียวดูกลมกลืนไปโดยลำดับถึงพระชงฆ์และข้อพระบาท

นั่งขัดสมาธิรายได้สละสลวยหากลากเส้นนอนใต้พระเพลาจะได้เส้นโค้งน้อยขึ้นช้อนรับเส้นตั้งรอบพระองค์ที่ลากลงมาแต่พระเกตุมาลาจะเป็นเส้นที่เคลื่อนลงมาอย่างสลวยอ่อนไหวไม่กระด้างขัดนัยน์ตา พระบาทแบราบ ซ้อนเท้าขวาทับเท้าซ้ายและเห็นฝ่าพระบาทอูม  เรียบร้อยดังเท้าผู้มีบุญญาธิการฉะนั้น  นิ้วพระบาทก็แสดงศิลปให้ปรากฏชัดเจนเป็นลักษณะนิ้วทุกประการไม่เป็นพืดแผ่น




พระอาการประทับนั่งก็ผึ่งผายมีส่วนหน้าตักกว้างลากเส้นทะแยงแต่พระชานุรับกับพระอังสกุฏและพระเศียรส่วนกลมแต่ละด้าน ทั้งซ้ายขวา ทรงพระวรกายอยู่ที่นั่งทับ (ก้น) ทำให้เห็นตรงข้อพระบาทอ่อนลงน้อย ๆ และดูพระชานุ (เข่า) ตลอดถึงพระชงฆ์สูงขึ้นนิ ๆ เป็นเส้นโค้ง  เบื้องพระพาหาขวาไม่มีอะไรปกปิดแต่เส้นเอนและกล้ามเนื้อไม่ปรากฏอย่างคนสามัญ 

ส่วนพระอังสาและพระพาหาซ้ายมีจีวรบางแนบสนิทพระวรกายปกคลุมลงมาเบื้องพระองค์  มีรอยปลายจีวรปิดเลยพระชานุตามพระวินัยเป็นพระอาการทรงครองผ้าแนบเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คือลดไหล่เบื้องขวา  ทอดพระหัตถ์ซ้ายหงายโชว์ฝ่าพระหัตถ์และพระองคุลีเรียวงามอ่อนช้อย  และทิ้งพระพาหาซ้ายได้ส่วนสัดไม่เก้งก้าง 

เบื้องพระวรกายส่วนล่างทรงสบงปกคลุมแต่บั้นพระองค์มีรอยผ้าปรากฏและปิดพระวรกายส่วนนี้จนถึงข้อพระบาทอย่างเรียบร้อยแนบสนิท  ผ้าทาบสังฆาฏิก็แสดงส่วนซ้อนทับเป็นชั้นพาดแต่พระอังสาซ้าย ทาบลงมาข้างหน้าเป็นผืนแผ่นเล็กเรียบเสมอกันถึงระดับพระนาภี และช้อยไปทางซ้ายพระองค์น้อยๆ พอสังเกตเห็นตรงชายผ้าทาบสังฆาฏิเป็นสองแฉกมีลวดลายคล้ายฟันปลาหรือเขี้ยวตะขาบ ส่วนด้านพระปฤษฎางค์แถบผ้าสังฆาฏิได้ลาดยาวลงมาเกือบถึงทับเกษตร



อนึ่ง ฐานรองพระพุทธรูปสุโขทัยปางประทับนั่งมารวิชัยหรือสมาธิ  เป็นฐานเรียบๆ ไม่มีเครื่องตบแต่งเรียกกันว่า ฐานเขียง ส่วนกลางเว้าลงเล็กน้อยและผายออกทั้งสองข้างเสมอกันจนถึงปลายฐานและเป็นฐานเตี้ยมาก  สำหรับรองนี้ที่มีกลีบดอกบัวหงายและคว่ำสลับกันเป็นลักษณะงามยิ่งไม่มีสมัยใดทำได้เหมือน ก็มีอยู่เหมือนกันแต่เป็นส่วนน้อยมาก

ในหนังสือนี้จะได้นำมติความคิดเห็นในเรื่องลักษณะพระพุทธรูปสุโขทัยของท่านผู้เชียวชาญและทานผู้สนใจมาพิมพ์ไว้เพื่อประกอบความรู้ในการพิจารณาพระพุทธรูปสมัย ในอันดับต่อไป (พระเกตุมาลาองค์นี้หาย ทำใหม่โดยฝีมือ น.ต.จุมพล อุทาสิน ร.น.)





ขอเสริมข้อสังเกตในเรื่องแบบพระสุโขทัยที่เป็นคุณสมบัติพิเศษ ธรรมดาและดาดๆ ไว้ตามนัยของศิลปิน ณ  ที่นี้ คือ พระสุโขทัยผีมือครู  ต้องงดงามเป็นเลิศส่วนของพระองค์ก็เหมาะเจาะ  ไม่ขัดนัยน์ตายิ่งพิศซึ่งดึงดูดให้ต้องซมแล้วซมเล่าข้อนี้อยู่ที่เส้นนอกเส้นในของพระพุทธรูปนั้น อ่อนสลวยประสานกลมกลืนกันสนิทและได้ฉากกันดี

พระพุทธลักษณะทุกส่วนมีความไหวละมุนละไมไม่กระด้าง  แม้เส้นลวดลายผ้าทายผ้าทรงก็นวยนาดอ่อนโคงดงาม และสร้างความมีชีวิตจิตใจให้ปรากฏในองค์พระพุทธรูปนั้นเป็นสำคัญยิ่ง  ส่วนผีมือขั้นธรรมดานั้นเป็นผีมือลูกศิษย์ เพลาลงมามือไม่ถึงครู  ได้เพียงถ่ายทอดเป็นลักษณะเลียนแบบ ส่วนสัดองค์พระจึงทีสะดุดนัยน์ตาอยู่บ้าง พระพุทธลักษณะก็ดี เส้นสายลายผ้าทรงและผ้าทายก็ดี มักแข็งกระด้างมาอ่อนไหว ถึงเส้นวงนอกวงในในองค์พะก็ไม่เคลื่อนไหวละมันละไมประสมประสานกลมกลืนกันสนิท มักขัดๆกันและทื่อๆแข็งๆ  แม้จะงามก็ไม่ถึงงามเลิศ และเป็นของย่อมเยาว์ ในเรื่องชีวิตจิตใจ จะมีก็มีพื้นๆ ไม่ถึงขนาดดูดดื่มเร่งเร้าจิตใจ 

อีกชนิดหนึ่ง คือ ฝีมือดาดๆ เป็นพวกมุ่งอาชีพด้วยการผลิตเพื่อจำนวนได้เอาคุณสมบัติ คือ ศีลเป็นที่ตั้ง เรียกในปัจจุบันนี้ว่า “พระตลาด” ในยุคนี้เห็นจะได้แก่พระพุทธรูปที่แต่งพระพักตร์เสียสวยอย่างหน้าผู้หญิงสวยๆ ฉะนั้น   เรียกกันว่าพระหน้านาง 




เรืองการพินิจพิจารณาเชิงศิลปะนี้  ต้องอาศัยการสอบสวนทางตำราและของจริงประกอบ แต่พระสุโขทัยนั้นแม้จะไม่งามเลิศก็อยู่ในเกณฑ์งาม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปสุโขทัยว่ าเป็นยอดผีมือทั้งนั้น แม้ท่านอาจารย์ศิลป์  พีระศรี ก็กล่าวสดุดีช่างสมัยสุโขทัยในเรื่องประติมากรรมไว้ดังต่อไปนี้

     “ประติมากรรมสุโขทัย สวรรคโลกและพิษณุโลก จะเว้นเสียไม่ได้มี่จะเอาไปเปรียบเทียบกับปฏิมากรรมสมัยคลาสสิคจองกรีก  การเปรียบเทียบกันนี้  ถ้าว่าตามความคิดเห็นของผู้อานมากท่านดูจะเป็นการผืนอยู่  แต่ก็ปรากฏอยู่ว่าศิลปะทั้งสองนี้อาศัยหลักอุดมคติอย่างเดียวกัน  คือ อาการสำแดงรูปสมมติซึ่งมีลักษณะประสานกันมีรูปประณีตสมบูรณ์และมีอาการสำแดงเป็นทิพย์ลักษณะ เพื่อให้ผู้มองเห็นยังเกิดเลื่อมใสศรัทธาและยังเกิดปีติซาบซึ้งในพระศาสนา จะมีกล้ามพระมังสะที่เห็นเป็นอย่างคนสามัญก็หาไม่  รายละเอียดที่ไม่จำเป็นหรือท่าทางเป็นอย่างละครก็ไม่มี  มีก็ซึ่งเกิดจากความประสานกันของลายเส้นใหญ่และปริมาตรเท่านั้น เหล่านี้คือลักษณะอันแท้จริงของศิลปะสมัยคลาสสิคไม่ว่าประเทศใด”



Posted on August 21, 2013April 26, 2015 by mitsumasa   
ที่มา www.wathong.com/sanctuary/พระพุทธรูปทองโบราณ/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2016, 09:03:46 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ทางเข้าพระอุโบสถวัดหงส์ฯ

วันที่ไปโบสถ์กำลังบูรณะ


พระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่อยู่หน้าพระประธานคือ หลวงพ่อแสน

วันที่ไปเป็นวันพระ พระที่เห็นกำลังสวดปาติโมกข์
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


 

พระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม

ตัวพระอุโบสถสร้างแบบก่ออิฐถือปูนขนาดกว้าง ๑๙.๕๐ เมตร ยาว ๔๒ เมตร หลังคาเป็นมุขลด ๒ ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกาหน้าบันทำเป็น ๒ ชั้น ทั้งด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถ ชั้นบนประดับลายรูปหงส์ ชั้นล่างทำเป็นพื้นเรียบเจาะเป็นช่อง ๔ เหลี่ยม ๒ ช่อง  ภายในช่องประดับด้วยลายปูนปั้นปิดทองรูปหงส์หันหน้าเข้าหากันประดับอยู่บนพื้นทานสีแดงชาด ถัดจากหน้าบันลงมาเป็นมุขยื่นออกมาค้ำด้วยเสาระเบียงรายรอบพระอุโบสถ คันทวยทำเป็นรูปหงส์ซุ้มหน้าต่างเป็นลวดลายปูนปั้น ด้านหน้ามีประตู ๓ บาน บานตรงกลางเป็นบานใหญ่ บานข้าง ๆ มีขนาดเล็กกว่า มีลวดลายปูนปั้นประดับที่ซุ้มประตูด้านหลังมีประตู ๒ บาน รอบพระอุโบสถมีระเบียงล้อมรอบ



พระอุโบสถมีลักษณะแบบพระอุโบสถในสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ภายในพระอุโบสถกว้าง มีเสาอยู่ด้านข้างพระอุโบสถทั้ง ๒ ข้าง เสาประดับด้วยลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งเป็นรูปพันธุ์พฤกษา ฐานเสาเป็นลายเชิง ผนังพระอุโบสถด้านในเหนือระดับหน้าต่าง เป็นจิตรกรรมรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งลายดอกไม้  ประดับอยู่บนพื้นสีดำ   ภาพเขียนระหว่างช่องหน้าต่างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ  “พระทศชาติ”
 

พระประธานในโบสถ์วัดหงส์ ไม่มีชื่อและไม่มีประวัติ


พระประธานในพระอุโบสถ

พระพุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะในสมัยอู่ทอง(เป็นปูนปั้นลงรักปิดทอง) ขนาดหน้าตักกว้าง  ๒.๖๐ เมตร  สูง ๓.๕๐ เมตร  ไม่มีพระนาม และไม่ทราบประวัติว่า สร้างขึ้นในสมัยใด จึงสันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา


พระอุโบสถ Posted on August 20, 2013April 26, 2015 by mitsumasa   
ขอบคุณข้อมูลจาก www.wathong.com/sanctuary/โบสถ์/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

    สาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

หลวงพ่อแสนองค์จริง ประดิษฐานอยู่หน้าพระประธาน ภายในโบสถ์วัดหงส์ฯ

หลวงพ่อแสน วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะ เรียกกันว่า “หลวงพ่อแสน”  เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย  หน้าตักประมาณ ๒ ศอกเศษ  หรือประมาณ ๒๕ นิ้วครึ่ง เป็นโลหะเนื้อสัมฤทธิ์สีทองต่างกัน เป็น ๔ ชนิด ดังนี้

     เบื้องพระศอตอนบทจนถึงพระเศียรและพระพักตร์สีทองเป็นนวโลหะสัมฤทธิ์แก่
     เบื้องพระศอตอนล่างลงมาจนถึงพระองค์ และฐานรองสีทองสัมฤทธิ์เนื้ออ่อนกว่าตอนพระเศียรและพระพักตร์
     เนื้อทองจีวรเป็นอีกสีหนึ่งเข้มกว่าเนื้อทองส่วนพระองค์ แต่ไม่เข้มกว่าตอนพระพักตร์และพระเศียร
     แต่เป็นสังฆาฏิชนิดยาวทาบลงมาถึงพระนาภีแบบลังกาวงศ์ 
     พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีเป็นเปลวยาวขึ้นแบบลังกาวงศ์ รอบฝังแก้วผลึก ๑๕ เม็ด 
     นิ้วพระหัตถ์ไม่เสมอกันแบบพระเชียงแสนและสุโขทัยยุคแรก 
     พระเศียรโตเขื่องกว่าส่วนขององค์พระจนสังเกตเห็นชัด
     พระเนตรฝังแก้วผลึกไม่ส่วนสีขาวและฝังนิลในส่วนสีดำ
     ฐานรองเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงาย

 :25: :25: :25: :25:

ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเบื้องหน้าองค์พระประธานออกมา จัดเป็นพระพุทธรูปสำคัญและงามเป็นพิเศษแตกต่างจากบรรดาพระพุทธรูปอื่นๆ มีลักษณะเป็นชนิดหนึ่งหาเหมือนพระพุทธรูปในที่อื่นไม่ เป็นของเก่าโบราณ

หลวงพ่อแสนองค์นี้แหละเป็นพระที่ขึ้นชื่อลือชา เป็นที่นับถือของชาวบ้านชาววัดถิ่นนี้ทั่วกัน และถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก อำนวยความสำเร็จให้แก่ผู้ปรารถนาได้นานาประการ และเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก จนมีนิยายเล่ากันปรัมปราสืบๆมาว่า
     หลวงพ่อแสนองค์นี้นะลอยน้ำมา มีคนอัญเชิญขึ้นหลายแห่งถึงกับใช้แรงคนดึงลากขึ้นเป็นจำนวนแสนคนก็ไม่เสด็จขึ้น เมื่อลอยมาถึงวัดหงส์ฯ นี้แล้ว เพียงอาราธนาอัญเชิญก็เสด็จขึ้นด้วยกำลัง ๔ – ๕ คนเท่านั้น

ดังนั้นหลวงพ่อองค์นี้จึงมีนามว่า “หลวงพ่อแสน”  คือ คนเป็นแสนแสนดึงไม่ขึ้นนั่งเอง ก็อัศจรรย์อยู่ถึงกับมีเรื่องอัศจรรย์ปรัมปราเป็นนิยายประจำพระพุทธรูปองค์นี้ ทั้งนี้เห็นจะเนื่องด้วยหลวงพ่อแสนองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปนั้นเอง


หลวงพ่อแสนองค์จำลอง

ตามตำนานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงจัดไว้ในประเภทพระพุทธรูปสำคัญ ทรงพระนิพนธ์ประวัติไว้ในตำนานของพระองค์ท่านดังนี้ “พระแสน(เมืองเชียงแตง) พระพุทธรูปองค์นี้ เชิญมาแต่เมืองเชียงแตง เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม”  คิดเป็นเวลาขวบปีได้  ๑๐๐ ปีแล้วจนบัดนี้

อนึ่ง หลักฐานการอัญเชิญมาก็เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่เป็นมูลเหตุ  ดังพระบรมราชาธิบายของรัชกาลที่ ๔  ในหนังสือชุมนุมพระบรมราชธิบายในพระองค์  เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องเกี่ยวกับหลวงพ่อแสน  ซึ่งมีพระราชดำรัสเป็นลักษณะทรงโต้ตอบกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ใจความว่า 

    “ถ้าฉันพอใจจะให้มีพระพุทธรูปสำคัญมีชื่อที่คนนับถืออยู่ที่วัดหงส์ฯ เป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ให้เป็นพระเกียรติยศแล้ว พระชื่อพระแสนอยู่เมืองเชียงแตงอีกองค์หนึ่งงามหนักหนา ถ้าฉันจะมีตราไปเชิญมาท่านจะให้พระยาราชโยธาที่ครั้งนั้นเป็นพระยาสุเรนทร์ ใช้คนให้นำไปชี้องค์พระให้ ฉันเห็นว่าท่านประสงค์ดังนั้น ไม่มีเหตุที่ควรจะขัด ฉันก็ไม่ได้ขัด ฉันก็ได้ให้มหาดไทยมีตราไปเชิญพระนั้นลงมา
      พระยาสุเรนทร์ใช้พระลาวรูปหนึ่งเป็นผู้รับอาสานำไป ฉันก็ได้ให้ผ้าไตรไปถวายพระสงฆ์ลาวรูปนั้นไตรหนึ่ง  แล้วก็ให้นำท้องตราไป ได้เชิญพระแสนลงมาถึงกรุงเก่าแล้ว ฉันก็ได้บอกถวายวังหน้าให้ท่านจัดการไปแห่รับมาไว้ที่วัดหงส์ทีเดียว แลฐานที่จะตั้งพระนั้น ฉันให้ท่านทำเป็นการช่างในพระบวรราชวัง ฉันจะเป็นแต่รับปิดทอง  ฐานพระนั้นก็ยังทำค้างอยู่ บัดนี้ก็ยังไม่ได้ปิดทอง ว่ามาทั้งนี้เป็นการเล่าถึงเหตุที่เป็นแลถ้อยคำที่ได้พูดกันแล้วแต่ก่อนนี้ไป  ห้ท่านทั้งปวงทราบ”
  ดังนี้ 

 ask1 ans1 ask1 ans1

และที่มาอีกแห่งหนึ่งคือ พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.๒๔๐๑ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ค.ศ.๑๘๕๘ ข้อความว่าดังนี้

    “ฉันขึ้นไปกรุงเก่า ได้นมัสการพระแสน เมืองเชียงแตงแล้ว รูปพรรณเป็นของเก่าโบราณหนักหนา แต่เห็นชัดว่าอย่างเดียวกับพระแสนเมืองมหาชัยแน่แล้ว ของคนโบราณจะนับถือว่า พระแสนองค์นี้ องค์ใดองค์หนึ่งจะเป็นของเทวดาสร้างหรือว่าเหมือนพระพุทธเจ้าแท้ แล้วจึงถ่ายอย่างกันข้างหนึ่งเป็นแน่แล้ว แต่เมื่อดูสีทองแลชั้นเชิงละเอียดไป  ดูทีเห็นว่าพระแสนเมืองเชียงแตงจะเก่ากว่า สีทองที่พระเศียรและพระพักตร์เป็นสีนาคเนาวโลหะเช่นกับพระอุมาภควดีเก่าในเทวสถาน ตมูกฤาพระนาสิกก็ดูบวมมากเหมือนกันที่เดียว ที่พระองค์ พระหัตถ์ พระบาทนั้น สีทองเป็นอย่างหนึ่ง ติดจะเจือทองเหลืองมากไป ที่ผ้าพาดนั้นเป็นแผ่นเงินฝังทาบทับลง แต่ดูแน่นหนาอยู่

พระแสนองค์นี้ฉันถวายแล้ว โปรดทรงดำริดูเถิด จะให้ไปเชิญลงมาเมื่อไรอย่างไร ก็ตามแต่จะโปรด ยังมีพระที่มีชื่อ เอามาจากเวียงจันทร์อีกสององค์ พระอินทร์แปลง หน้าตัก ๒ ศอกเศษ พระอรุณหน้าตักเศษ พระสององค์นี้ องค์ที่ออกชื่อก่อน  ฉันจะรับประทานไปไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม (จ. พระนคร) วัดตะเคียนที่ให้ไปสร้างขึ้นไว้ใหม่

พระอรุณนั้นฉันคิดว่าจะเชิญลงมาไว้ในพระวิหารวัดอรุณ (จ.ธนบุรี) เพราะชื่อวัดกับชื่อพระต้องกัน  สมควรแต่จะให้จัดแจงที่ฐานเสียให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะเชิญลงมาต่อน่าน้ำ



ยังพระไม่มีชื่ออีกหลายองค์ องค์หนึ่งหน้าตัก ๒ ศอกหย่อน แต่รูปพรรณนั้นเห็นชัดว่า ทำเอาอย่างพระแสนเมืองมหาชัย ไม่สู้ผิดนัก ทั้งลาดเลาพระพักตร์และส่วนพระหัตถ์พระบาททุกอย่าง พระองค์นี้ ฉันคิดว่าจะไปไว้ที่พระวิหารหลวงพระพุทธบาท พระขัดสมาธิเพชรใหญ่องค์หนึ่ง ฐานมีรูปสัตว์ต่างๆ ฉันคิดว่าจะเชิญมาไว้ในพระอุโบสถวัดเขมาภิรตาราม(จ.นนทบุรี)  มีอีกองค์หนึ่งหน้าตักศอกเศษ คล้ายพระแสนแต่ไม่สู้ชัดนักนั้น ฉันคิดว่าจะเชิญไปไว้ในพระอุโบสถวัดชัยพฤกษมาลา

พระแสนเมืองเชียงแตงนั้นตามแต่จะโปรดเถิด  ถ้าจะเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดหงส์ ฯ ก็ดีอยู่ จะได้เป็นคู่กับพระอรุณที่วัดอรุณ เหมือนดัง ๒ องค์ที่จะเชิญลงไปไว้ที่วัดชัยพฤกษมาลาและวัดเขมาภิรตารามนั้นเป็นพระเกียรติยศ แลส่วนพระราชกุศลถวายทูลกระหม่อมและสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ แต่ถ้าจะโปรดเอาพระแสนเมืองเชียงแตงไว้ในวังแล้ว ฉันจะถวายอีกองค์หนึ่งหน้าตักศอกเศษ เป็นทองสองสี เพื่อจะได้ไปที่วัดหงส์ฯ แทน ตามแต่จะโปรด เรือสติมเมอร์ “มีตีออร์” ขึ้นไปก็ไม่ถึงกรุงเก่า ไปค้างติดตื้นอยู่ที่ปากคลองตะเคียน ต่อเวลา  ๘ ทุ่ม  ( ๒ A.M.) น้ำขึ้นมากจึงจะกลับมาได้  ต้องหยั่งน้ำหาร่องมา  พึ่งมาเมื่อ ๙ โอคล๊อค “๒๐ – A.M.”

 ans1 ans1 ans1 ans1

ตามพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ยังทรงแสดงให้เห็นความพิเศษของหลวงพ่อแสนนี้ว่า น่าจะเป็นเทวดาสร้าง คนโบราณนับถือกันและเก่าแก่ยิ่งกว่าหลวงพ่อแสนอีกองค์หนึ่งที่ในพระวิหารวัดปทุมวนารามในพระวิหาร จังหวัดพระนคร ทั้งยังเป็นพระหัวหน้าชุดด้วยกันที่เดินทางมาจากที่เดียวกัน คือ แคว้นลานช้าง
    นับว่าหลวงพ่อแสนวัดหงส์ฯ นี้เป็นพี่เอื้อยในบรรดา
    หลวงพ่อแสนเมืองมหาชัย วัดปทุมวนาราม (วัดสระประทุม)
    หลวงพ่ออินทร์แปลงในวิหารวัดเสนาสนาราม จังหวัดอยุธยา
    หลวงพ่ออรุณในวิหารวัดอรุณราชวราราม ธนบุรี 
    หลวงพ่อองค์อื่นๆ ในวิหารหลวงพระพุทธบาท ในพระอุโบสถวัดเขมาภิรตาราม และ
    ในพระอุโบสถวัดชัยพฤกษ์มาลาด้วยกัน ก็น่าอัศจรรย์หลวงพ่อแสนวัดหงส์ฯ องค์พี่ใหญ่นี้



   อีกแห่งหนึ่งได้กล่าวถึงการมาของหลวงพ่อแสนไว้ คือ หนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗๐ ว่าดังนี้
   “พระแสนนั้นก็อยู่ที่เมืองเชียงแตงมาจนถึงแผ่นดินปัจจุบันนี้ (รัชกาลที่ ๔) พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบทราบต้องพระราชประสงค์ เสด็จลงมากราบทูลขอให้มีท้องตราให้ข้าหลวงขึ้นไปเชิญอาราธนาลงมา  เมื่อปีมะแมนักษัตรเอกศกศักราช ๑๒๒๑  ตรงกับปีมีคฤสตศักราช ๑๘๕๙ ครั้นเชิญเสด็จพระแสนลงมาถึงแล้วก็พระราชทานไปในพระบวรวังตามพระราชประสงค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีรับสั่งให้อัญเชิญไปสร้างแท่นประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม ริมคลองบางกอกใหญ่อยู่จนทุกวันนี้  พระแสนนั้น  รูปพรรณเป็นฝีมือช่างลาวโบราณประหลาด"  ดังนี้ 

คิดเป็นระยะปีมาอยู่วัดหงส์ฯของหลวงพ่อแสนตามประชุมพงศาสดารนี้ ได้ ๙๙ ปี ตก พ.ศ.ราว ๒๔๐๒  หลังพระราชหัตถเลขาที่กล่าวมาแล้ว ๑ ปี  แต่เรื่องตามนัยหลังนี้ได้เขียนไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖  ห่างระยะเวลาอัญเชิญพระมา ๔ ปี  ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เป็นปีที่ ๑๑ ในรัชกาลนี้ เมื่อวันพุธ  เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช  ๑๒๒๓

 :25: :25: :25: :25:

ในอันดับนี้จะได้เล่าประวัติความบังเกิดขึ้นของหลวงพ่อแสน วัดหงส์ฯนี้ ซึ่งได้จากตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ รวม ๓ ฉบับ คือ ฉบับพระยามหาอำมาตยาธิบดี  ฉบับหม่อมราชวงศ์วิจิตร(ม.ร.ว. ปฐม) และฉบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์ กับราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์  ว่าไว้เป็นเรื่องละม้ายคล้ายกัน ดังนี้ 

   คือ ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้มีบุญแต่ปางก่อนอุปถัมภ์ ท่านฉลาดไหวพริบดีและแตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นคนเมืองพาน  เป็นสานุศิษย์พระครูลึมบองและพระครูยอดแก้ว ได้รับยกย่องเป็นราชาจั่วและได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุ  มีพระสงฆ์นั่งหัตถบาสถึง ๕๐๐ รูป ในพระอุโบสถน้ำ โดยพระเจ้าเมืองเวียงจันทร์ถวายอุปการะ ท่านมีผู้คนนับถือและเกียรติชื่อเสียงเลืองลือไปทั่ว แต่เมื่อยังเป็นสามเณร และทรงไว้ซึ่งอภินิหารมหัศจรรย์มาก

ต่อมาท่านได้รับฐานันดรศักดิ์เป็นพระครู และจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพนเสม็ด คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อท่านว่า  “พระครูโพนเสม็ด”  ท่านผู้นี้ยังได้ปฏิบัติกรรมฐานบรรลุอภิญญาสมาบัติ มีฤทธิ์อำนาจเป็นพิเศษอีกด้วย จึงเป็นที่ทั้งเกรงทั้งเคารพนับถือและบูชาสักการะของคนทั่วไปในถิ่นนั้น 

 :25: :25: :25: :25:

ครั้นต่อมาเจ้านครเวียงจันทน์พิราลัย พระยาเมืองแสนชิงราชสมบัติได้เป็นเจ้าเมืองแต่ประพฤติมิชอบและคิดกำจัดท่าน  ท่านพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ชาวบ้านและมเหสีโอรสเจ้าเวียงจันทร์เดิม  จึงทิ้งถิ่นเดิมอพยพย้ายกันเป็นหมู่ใหญ่จำนวนนับพันมาอยู่ยังตำบลจะโรยจังวา คือตำบลบ้านแหลม  ซึ่งต่อมาตำบลนี้เป็นนครพนมเปญ  ท่านประสบศุภนิมิตคือได้พระบรมธาตุจากยายเป็น เป็นผู้ถวาย จึงสร้างเจดีย์เป็นพนมขึ้นแล้วบรรจุพระบรมธาตุนั้นไว้ ณ ที่เจดีย์พนมนี้  แล้วท่านจึงหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์หนึ่ง ได้แต่เพียงพระเศียรลงมาถึงพระกรขวา ยังไม่เสร็จทั้งองค์ ก็มาเกิดเรื่องพระเจ้ากรุงกัมพูชาจะเก็บส่วยเป็นเงินครัวละ ๘ บาท ท่านจึงพาญาติโยมเคลื่อนที่ขึ้นไปตามลำน้ำโขงโดยลำดับแล้วมาอธิษฐานขอที่อยู่อาศัย ด้วยอำนาจกุศลธรรมของท่าน ก็เกิดเกาะเป็นหาดขึ้นเรียกกันว่า “หาดท่านพระครู” มาจนทุกวันนี้ 

ท่านและญาติโยมก็อยู่พำนักอยู่ ณ ที่นี้ และสร้างพระพุทธปฏิมากรต่อพระอังสาพระกรเบื้องซ้ายตลอดพระแท่นรองสำเร็จแล้วให้ศิษย์ไปนำส่วนพระเศียรและพระกรเบื้องขวามาต่อสวมเข้าเป็นองค์บริบูรณ์ ตรงนั้นเรียกเกาะหาดทรายมาจนบัดนี้ และท่านขนานนามพระปฏิมากรองค์นี้ว่า “พระแสน” และสร้างวิหารถวายประดิษฐาน ณ ที่นี้

อนึ่งพระครูโพนเสม็ดรูปนี้เป็นผู้ให้กำเนิดเมืองเชียงแตงและนครจำปาศักดิ์  พร้อมทั้งเจ้าท้าวพระยาอีกด้วย  และท่านยังได้สร้างพระพุทธปฏิมากรองค์อื่นๆ  อีกภายหลังพระแสนองค์นี้ 



เมื่อพิจารณาตามประวัตินี้ หลวงพ่อแสนได้กำเนิดจากการกระทำของท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์ คือพระครูโพนเสม็ด ในเนื้อที่ ๒ แห่ง  คือที่บ้านแหลมอันต่อมากลายเป็นราชธานีนครพนมเปญ และเกาะหาดเกาะทราย ซึ่งต่อมาในบริเวณที่แถบนี้กลายเป็นนครจำปาศักดิ์ และศิษย์ท่านผู้เป็นเชื้อสายเจ้านครเวียงจันทร์เดิม พระนามว่า“เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” โดยท่านเป็นผู้สถาปนาขึ้น และโอรสเจ้าสร้อยศรีสมุทรองค์สุดท้อง ทรงพระนามว่า  “พระไชยเชษฐ์”  รองเมืองเชียงแตง คือบ้านหางโค ปากน้ำเซกอง ฝั่งโขงตะวันออก บัดนี้ นับว่าหลวงพ่อแสนเป็นพระฤกษ์อันสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ และเป็นต้นสกุลองค์หนึ่งของพระแคว้นลานช้าง

เรื่องนามของหลวงพ่อแสน  ตามนัยแห่งตำนานนี้ว่า  พระครูโพนเสม็ดกับครอบครัวได้อพยพมาจากเมืองเขมรมาตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงแตงจึงได้เรี่ยไรพวกครอบครัวที่อพยพมานั้น ประมวญทองแดงทองเหลืองเป็นอันมากหนักได้  ๑๖๐ ชั่งเศษ  แล้วหล่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปพระองค์หนึ่งเนื้อหนาดี  ขัดสีเกลี้ยงเกลางาม  พระครูโพนเสม็ดถวายพระนามว่า  “พระแสน” เพราะคิดน้ำหนักได้กว่าแสนเฟื้อง และตั้งไว้ในวัดซึ่งเป็นที่อยู่ของพระครูโพนเสม็ด ณ เมืองเชียงแตง 

ดังนั้น “แสน” หมายเอาคำว่า “กว่าแสนเฟื้อง ประการหนึ่ง และ “แสน” หมายเอาทองแดงทองเหลืองมากมาย  หนักตั้ง ๑๖๐ ชั่งเศษ  เพราะ “แสน”  คำนี้พจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า “มากยิ่ง” ประการหนึ่ง

แต่ “แสน”  คำนี้จะหมายเอาถิ่นที่เกิดของพระและช่างผู้หล่อเป็นชาวถิ่นนั้น คือ แคว้นลานช้าง  เลยขนานนามตามนัยนี้ว่า พระแสนลานช้าง แต่ตัดคำหลังเพื่อกระทัดรัดเข้าเพียงเรียกว่า “พระแสน” ดังนี้ประการหนึ่งก็เป็นได้

 st12 st12 st12 st12

แม้ในหนังสือโบราณคดีกล่าวไว้ว่า “อาศัยเหตุที่เชียงแสนได้เคยเป็นชื่อราชธานี มานมนานตั้งแต่สมัยเมื่อชนชาติไทยได้เข้ามาปกครองมณฑลลานช้างราว พ.ศ.๑๖๐๐ นักปราชญาทางโบราณคดีจึงสมมติ  ชื่อโบราณวัตถุสถานอันเป็นฝีมือช่างไทยได้ทำไว้แต่ครั้งนั้น และต่อมาในอาณาจักรลานนาและลานช้างว่า “สมัยเชียงแสน” และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรามพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงให้เหตุผลไว้ในหนังสือพุทธเจดีย์ว่า “พุทธเจดีย์แบบเชียงแสนเป็นต้นแบบต่อไปถึงประเทศลานช้าง คือ เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทร์  ลงมาจนเมืองจำปาศักดิ์” ดังนี้ 

นัยนี้คำว่า  “พระแสน” ก็หมายเอา “พระสมัยฝีมือเชียงแสน” นั่นเอง แต่เรียกสั้นก็ว่า “พระแสน” 
ฉะนั้น หลวงพ่อแสนองค์นี้ นับเข้าเป็นพระงามยิ่งองค์หนึ่งในบรรดาพระพุทธรูปลานช้างที่งามด้วยกัน คือพระแสนวัดหงส์ๆ นี้องค์หนึ่งและพระแสนกับพระเสริม วัดประทุมวนาราม อีก ๒ องค์ด้วยกัน



ขอสอดแทรกเรื่องชื่อพระครูโพนเสม็ด ในเชิงภาษาไว้ ณ ที่นี้อีกนัยหนึ่ง นอกจากที่กล่าวไว้ในเรื่อง ว่าอาศัยสถานที่อยู่ของท่านเป็นเหตุ  ท่านจึงชื่อว่า “โพนเสม็ด” แต่คำนี้อาจจะเป็นภาษาเขมรก็ได้  คือ โพน = โพล ได้ในความหมายไทยว่า  “กล่าวหรือพูดแล้ว” และ “เสม็ด”  ได้ในความหมายไทยว่า  “สำเร็จ – สมปรารถนา  บรรลุผล – เจริญร่ำรวย  สุข – สมหวัง” 

ซึ่งคำนี้เขมรอาจดัดแปลงมาจากคำบาลีสันสกฤต คือ สิทฺธ สมิทฺธ แผลงเป็นเสมทฺธและเสม็ด รวมสองคำว่า ผู้กล่าวสำเร็จศักดิ์สิทธิ์  คือ ปากพระร่วงนั่นเอง
    ทางอักษรศาสตร์เขมรเขาแผลงสระอิเป็น เอ ได้ในเมื่อพยัญชนะตัวต้นเป็นอโฆสะและเขายกเอาตัว  “ส”  และ “ณ”  เป็นอโฆสะพิเศษ 
    ส่วนทางภาษานั้น คำวิเศษณ์และกริยาวิเศษณ์ ของเขาก็อยู่หลังนามและกริยาอย่างของไทยเหมือนกัน 

อีกคำหนึ่งในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  คือ เนาวโลหะความหมายก็คือ โลหะเก้าอย่าง ตามตำราประสมทองสร้างพระ กำหนดไว้ดังนี้
    ได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง ดีบุก สังกะสี เหล็กละลายตัว ชินปรอท และเจ้าน้ำเงินบ้างหรือเจ้าบริสุทธิ์บ้าง  หรือมาดต่างๆบ้าง  ท่านว่าทองนวโลหะหรือเนาวโลหะนี้  เพียงผสมดังนี้ก็มีแรงศักดิ์สิทธิ์และขลังแล้ว 
    ดังนั้น อาจารย์ผู้สร้างพระเครื่องชนิดโลหะจึงผสมทองให้เป็นนวโลหะ เช่น พระกริ่งต่างๆ เนื้อนวโลหะนั้นจะสวยงามและเป็นสัมฤทธิ์น่าชม โปรดชมพระพักตร์หลวงพ่อแสนเป็นตัวอย่าง เป็นเนื้อนวโลหะแท้และเยี่ยม



อ้างอิง :-
หนังสือ สมโภชหลวงพ่อทองวัดหงส์รัตนาราม
www.wathong.com/sanctuary/หลวงพ่อแสน/
Posted on August 21, 2013April 26, 2015 by mitsumasa   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

       ข้อสังเกตุ ก็คือ  ชัยภูมิที่ถูกกำหนดให้เป็นบ่อน้ำ มนต์ศักดิ์สิทธิ์

                 
       ......ครูบาอาจารย์ ท่านมีวิชชา..  ท่านก็ต้องดูจนดีแล้วครับ

           
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12
    บ่อน้ำทิพมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์