ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความไม่ยินดี ยินร้าย ใช่ อุเบกขา หรือ ไม่ ?  (อ่าน 6974 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

จตุพร

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มาชวนทุกท่าน ร่วมธรรมวิจารณ์ ยามเช้าครับ



ความไม่ยินดี ยินร้าย ใช่ อุเบกขา หรือ ไม่ ?

 เนื่องด้วยได้เห็น ทุกที่ ไม่ว่าที่เรียน ที่ทำงาน ที่บ้านเราเอง

 มักจะใช้ คำว่า ไม่ยินดี ยินร้าย อย่าไปสนใจ ไร้สาระ ความหมายนี้ ตรงกับคำว่า อุเบกขา ในพระพุทธศาสนา หรือไม่ หรือ อุเบกขา ยังมีความหมายอีกมาก

ถ้าหากทุกท่านเคยชมภาพยนต์เรื่อง ฟอร์เรสต์ กัม ที่ พระเอกปัญญาอ่อน อาการที่แสดงออกอย่างนี้เรียกว่า ไม่ยินดี ยินร้าย หรือไม่ครับ


บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความไม่ยินดี ยินร้าย ใช่ อุเบกขา หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2011, 10:00:31 am »
0
อุเบกขา
       1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น,

ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง,

ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง


           อุเบกขามีใน
           ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔,
           ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, 
           ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐,
           ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐


       2. ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข);
           (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



  พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์, ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ )

       1. เมตตา (ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า)

       2. กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์)

       3. มุทิตา (ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป)

       4. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน)

       ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตากรุณา และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วยอุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้เสียธรรม

       พรหมวิหารนี้ บางทีแปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมเครื่องอยู่อย่างพรหม, ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหม, หรือธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่

       พรหมวิหาร 4 เรียกอีกอย่างว่า อัปปมัญญา 4 เพราะแผ่สม่ำเสมอโดยทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต

       พรหมวิหารมีในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ด้วยสังคหวัตถุเป็นต้น.
       อนึ่ง ในการที่จะเข้าใจและปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ให้ถูกต้อง พึงทราบรายละเอียดบางอย่าง โดยเฉพาะสมบัติและวิบัติของธรรม 4 ประการนั้น ดังนี้


       ก. ความหมายโดยวิเคราะห์ศัพท์
       1.    เมตตา = (มีน้ำใจ)เยื่อใยใฝ่ประโยชน์สุขแก่คนทั้งหลาย หรือน้ำใจปรารถนาประโยชน์สุขที่เป็นไปต่อมิตร
       2.    กรุณา = ทำความสะเทือนใจแก่สาธุชน เมื่อคนอื่นประสบทุกข์ หรือถ่ายถอนทำทุกข์ของผู้อื่นให้หมดไป หรือแผ่ใจไปรับรู้ต่อคนสัตว์ทั้งหลายที่ประสบทุกข์
       3.    มุทิตา = โมทนายินดีต่อผู้ประกอบด้วยสมบัติหรือผลดีนั้นๆ
       4.    อุเบกขา = คอยมองดูอยู่ โดยละความขวนขวายว่า สัตว์ทั้งหลายจงอย่าผูกเวรกัน เป็นต้น และโดยเข้าถึงความเป็นกลาง


       ข. ลักษณะ หน้าที่หรือกิจ (รส) ผลปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน) และปทัสถาน (เหตุใกล้)
       1.    เมตตา = (ในสถานการณ์ที่คนอื่นอยู่เป็นปกติ)
   ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการเกื้อกูลแก่คนสัตว์ทั้งหลาย
   หน้าที่ = น้อมนำประโยชน์เข้าไปให้แก่เขา
   ผลปรากฏ = กำจัดความอาฆาตแค้นเคืองให้ปราศไป
   ปทัสถาน = เห็นภาวะที่น่าเจริญใจของคนสัตว์ทั้งหลาย
       2.    กรุณา = (ในสถานการณ์ที่คนอื่นตกทุกข์เดือดร้อน)
   ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการปลดเปลื้องทุกข์แก่คนสัตว์ทั้งหลาย
   หน้าที่ = ไม่นิ่งดูดาย/ทนนิ่งอยู่ไม่ได้ต่อทุกข์ของคนสัตว์ทั้งหลาย
   ผลปรากฏ = ไม่เบียดเบียน/อวิหิงสา
   ปทัสถาน = เห็นภาวะไร้ที่พึ่ง/สภาพน่าอนาถของคนสัตว์ทั้งหลายที่ถูกทุกข์ครอบงำ
       3.    มุทิตา = (ในสถานการณ์ที่คนอื่นมีสุขสำเร็จหรือทำอะไรก้าวไปด้วยดี)
   ลักษณะ = พลอยยินดี/ยินดีด้วย
   หน้าที่ = ไม่ริษยา/เป็นปฏิปักษ์ต่อความริษยา
   ผลปรากฏ = ขจัดความริษยา ความไม่ยินดีหรือความทนไม่ได้ต่อความสุขสำเร็จของผู้อื่น
   ปทัสถาน = เห็นสมบัติ/ความสำเร็จของคนสัตว์ทั้งหลาย
       4.    อุเบกขา = (ในสถานการณ์รักษาธรรมตามความรับผิดชอบต่อกรรมที่เขาทำ)
   ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการเป็นกลางต่อคนสัตว์ทั้งหลาย
   หน้าที่ = มองเห็นความเสมอภาคกันในคนสัตว์ทั้งหลาย
   ผลปรากฏ = ระงับความขัดเคืองเสียใจและความคล้อยตามดีใจ
   ปทัสถาน = มองเห็นภาวะที่ทุกคนเป็นเจ้าของกรรมของตนว่า สัตว์ทั้งหลายจักได้สุข พ้นทุกข์ ไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้ที่ถึง ตามใจชอบได้อย่างไร


       ค. สมบัติ (ความสมบูรณ์หรือความสัมฤทธิ์ผล) และวิบัติ (ความล้มเหลว หรือการปฏิบัติผิดพลาด ไม่สำเร็จผล)
       1.    เมตตา:    สมบัติ = สงบหายไร้ความแค้นเคืองไม่พอใจ
      วิบัติ = เกิดเสน่หา
       2.    กรุณา:    สมบัติ = สงบหายไร้วิหิงสา
      วิบัติ = เกิดความโศกเศร้า
       3.    มุทิตา:    สมบัติ = สงบหายไร้ความริษยา
      วิบัติ = เกิดความสนุกสนาน
       4.    อุเบกขา:    สมบัติ = สงบหายไม่มีความยินดียินร้าย
      วิบัติ = เกิดความเกิดความเฉยด้วยไม่รู้ (เฉยโง่ เฉยเมย เฉยเมิน)


      ง. ข้าศึก คือ อกุศลซึ่งเป็นศัตรูคู่ปรับที่จะทำลายหรือทำธรรมนั้นๆ ให้เสียไป
       1.    เมตตา:    ข้าศึกใกล้ = ราคะ
      ข้าศึกไกล = พยาบาท คือความขัดเคืองไม่พอใจ
       2.    กรุณา:    ข้าศึกใกล้ = โทมนัส คือความโศกเศร้าเสียใจ
      ข้าศึกไกล = วิหิงสา
       3.    มุทิตา:    ข้าศึกใกล้ = โสมนัส (เช่น ดีใจว่าตนจะพลอยได้รับผลประโยชน์)
      ข้าศึกไกล = อรติ คือความไม่ยินดี ไม่ใยดี ริษยา
       4.    อุเบกขา:    ข้าศึกใกล้ = อัญญาณุเบกขา (เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย)
      ข้าศึกไกล = ราคะ (ความใคร่) และปฏิฆะ (ความเคือง) หรือชอบใจและขัดใจ


       จ. ตัวอย่างมาตรฐาน ที่แสดงความหมายของพรหมวิหารได้ชัด ซึ่งคัมภีร์ทั้งหลายมักยกขึ้นอ้าง
       1.    เมื่อลูกยังเล็กเป็นเด็กเยาว์วัย
   แม่ - เมตตา รักใคร่เอาใจใส่ ถนอมเลี้ยงให้เจริญเติบโต
       2.    เมื่อลูกเจ็บไข้เกิดมีทุกข์ภัย
   แม่ - กรุณา ห่วงใยปกปักรักษา หาทางบำบัดแก้ไข
       3.    เมื่อลูกเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวสวยสง่า
   แม่ - มุทิตา พลอยปลาบปลื้มใจ หรือหวังให้ลูกงามสดใสอยู่นานเท่านาน
       4.    เมื่อลูกรับผิดชอบกิจหน้าที่ของตนขวนขวายอยู่ด้วยดี
   แม่ - อุเบกขา มีใจนิ่งสงบเป็นกลาง วางเฉยคอยดู


       พึงทราบด้วยว่า
       ฉันทะ คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ (ความอยากจะทำให้ดี หรือความต้องการที่จะทำให้คนสัตว์ทั้งหลายดีงามสมบูรณ์ปราศจากโทษข้อบกพร่อง เช่น อยากให้เขาประสบประโยชน์สุข พ้นจากทุกข์เป็นต้น) เป็นจุดตั้งต้น (อาทิ) ของพรหมวิหารทั้ง 4 นี้
       การข่มระงับกิเลส (เช่นนิวรณ์) ได้ เป็นท่ามกลาง
       สมาธิถึงขั้นอัปปนา (คือ ภาวะจิตที่มั่นคงเรียบรื่นสงบสนิทดีที่สุด) เป็นที่จบของพรหมวิหารทั้ง 4 นั้น



อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจากwww.dmc.tv
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2011, 10:31:24 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความไม่ยินดี ยินร้าย ใช่ อุเบกขา หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2011, 10:24:08 am »
0


โพชฌงค์ 7 (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้)

       1. สติ (ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง)
       2. ธัมมวิจยะ (ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่องสืบค้นธรรม)
       3. วิริยะ (ความเพียร)
       4. ปีติ (ความอิ่มใจ)
       5. ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ)
       6. สมาธิ (ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์)

       7. อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง)

       แต่ละข้อเรียกเต็มมีสัมโพชฌงค์ต่อท้ายเป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.



บารมี 10 หรือ ทศบารมี (ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น — perfections)

       1. ทาน (การให้ การเสียสละ)
       2. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย)
       3. เนกขัมมะ (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม)
       4. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง)
       5. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่)
       6. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล และแนวทางความประะพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส )
       7. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ)
       8. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน และดำเนินตามนั้นแน่นแน่)
       9. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ)

       10. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง)




  วิปัสสนูปกิเลส 10 (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, ธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้ตรุณวิปัสสนา หรือวิปัสสนาอ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางให้ไม่ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ)

       1. โอภาส (แสงสว่าง)
       2. ญาณ (ความหยั่งรู้)
       3. ปีติ (ความอิ่มใจ)
       4. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น)
       5. สุข (ความสุขสบายใจ)
       6. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ)
       7. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี)
       8. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด)
       9. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง)
       10. นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ)




เวทนา 3 (การเสวยอารมณ์, ความรู้สึกรสของอารมณ์)

       1. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม)
       2. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม)

       3. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา)



อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก www.rd1677.com, www.palungdham.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความไม่ยินดี ยินร้าย ใช่ อุเบกขา หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2011, 10:37:15 am »
0

   ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า องค์ธรรมอุเบกขา อยู่โดดๆไม่ได้ ต้องมีองค์ธรรมอื่นประกอบ

ขอตั้งประเด็นการวิเคราะห์ไว้ดังนี้ครับ
 ๑. อุเบกขาประกอบดัวยกิเลส
 ๒. อุเบกขาไม่ประกอบด้วยกิเลส
 ๓. อุเบกขาในสังขารุเบกขาญาณ
 ๔. อุเบกขาของอริยบุคคล
 
  เชิญเพื่อนๆวิเคราะห์กันตามอัธยาศัย
:49: ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2011, 10:42:43 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความไม่ยินดี ยินร้าย ใช่ อุเบกขา หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2011, 08:52:26 am »
0
เนื่องด้วย คำว่า ไม่ยินดี ยินร้าย อย่าไปสนใจ ไร้สาระ ความหมายนี้ ตรงกับคำว่า อุเบกขา ในพระพุทธศาสนา หรือไม่

อุเบกขา

           อุเบกขามีใน
           ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔,
           ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, 
           ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐,
           ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐




          ในความหมายที่ว่า "อุเบกขา" นั้น ขอให้สังเกตอย่างนี้ครับ ว่า "อุเบกขา ความวางเฉย" นั้น จะเป็นองค์ธรรม

ในเบื้องท้ายเสมอ ด้วยที่ว่า ทุกเหตุต้นผลกรรมล้วนต้องผ่านการกลั่นกรองด้วยองค์ธรรมอื่นก่อนแล้ว จึงถึงซึ่งวาง

อุเบกขา ด้วยเห็นเช่นนั้น อย่างนั้น ปลงใจให้เป็นไป แก้ไขไม่ได้ เหตุนั้นจึงวางเฉย หากแต่วางเฉย ไม่ใส่ใจทอด

ธุระเสีย ไม่ใช่เรื่อง(สาระ) ไม่เอาภาระทางใจใดใด นี้ไม่กล่าวว่าเป็น "อุเบกขาธรรม" แต่เรียกว่า "เห็นแก่ตัว" หรือ

ไม่ยินดียินร้าย เป็นจริตวิกลขาดเสียซึ่งวิจรณะคิดไม่เป็นอย่างนี้ก็ไม่ใช่ ดังนั้น "อุเบกขา ความวางเฉย" ใช้ได้ก็ต่อ

เมื่อเป็นเสียอย่างอื่นไม่ได้แล้วเท่านั้น




http://en-gb.facebook.com/note.php?note_id=172524592764228
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2011, 09:26:47 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา