ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระภาสกร ภูริวฑฺฒโน แนะ “ธรรมสามสหาย” หลักธรรมที่ทำให้เข้าใจธรรมชาติของโลก  (อ่าน 440 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




พระภาสกร ภูริวฑฺฒโน แนะ “ธรรมสามสหาย” หลักธรรมที่ทำให้เข้าใจธรรมชาติของโลก

โลกใบนี้หมุนโคจรไปอย่างราวกับไม่มีวันสิ้นสุด การที่เราจะอยู่บนโลกใบนี้อย่างมีความสุขนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเราเข้าใจกฎธรรมชาติแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากนักที่เราจะดำเนินชีวิตอย่างเข้าใจการตั้งอยู่ ดับไป และความไม่แน่นอนของทุกสิ่งบนโลก เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราทุกคนได้รับโอกาสดี ที่พระภาสกร ภูริวฑฺฒโน (ภาวิไล) วัดฝายหิน จ. เชียงใหม่ ได้มาบรรยายธรรมบนเวที “เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ” ในหัวข้อ “ธรรมสามสหาย” ถ่ายทอดสดจาก ห้องประชุม 1111 AB ชั้น 11 อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์ ถนนสีลม

พระภาสกร ภูริวฑฺฒโน เล่าว่า กฎธรรมชาติสามารถอธิบายได้ด้วยหลักธรรมสามสหาย ได้แก่ หนึ่ง กฎธรรมชาติของความเปลี่ยนแปลง หรือ “ไตรลักษณ์” สอง กฎธรรมชาติของความเป็นเหตุเป็นผล หรือ “อริยสัจ 4” และ สาม กฎธรรมชาติของความเป็นปัจจัยโยงใยกัน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเองโดยโดดเดี่ยว หรือ “ปฏิจจสมุปบาท”สามสิ่งนี้คือสามสหายหรือสามเกลอซึ่งปรากฎอยู่ใน“ธรรมนิยาม”



สหายท่านที่หนึ่ง “พระไตรลักษณ์” ประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดั่งคำของหลวงปู่ชา “มันบ่แน่ อิหยั่งๆ มันก็บ่แน่” สวยหรือ มันก็บ่แน่ เดี๋ยวมันก็เหี่ยว เดี๋ยวมันก็แก่ ไม่สวยหรือ ไปเกาหลีกลับมาก็สวยปิ๊งได้ เพราะฉะนั้นอะไรมันก็ไม่แน่นอนสิ่งนี้คือ “อนิจจัง” สิ่งปรุงแต่งทั้งเหล่าล้วนแล้วแต่มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา การที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลง จะต้องมีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้อง

เราจะเห็นอนิจจังเมื่อเราเปรียบเทียบสิ่งใน อดีต กับปัจจุบันและอนาคต เมื่อพูดถึง “ทุกขัง” ทุกข์ คือ ความทนอยู่ไม่ได้ เหตุของทุกข์คือ ตัณหา ที่เราทุกข์เพราะเราเล่นกับความอยาก อยากได้สิ่งนั้น อยากได้สิ่งนี้ อยากเป็นสิ่งนั้น อยากเป็นสิ่งนี้

หากท่านทั้งหลายลองถามตัวเองว่า “บนโลกใบนี้มีอะไรตามใจเราอย่างแท้จริงไหม” แม้แต่ร่างกายของเรา พ่อ แม่ พี่ น้อง สามี ภรรยาของเรา หากพิจารณาดูแล้ว เกือบจะทุกสิ่งบนโลกใบนี้มันพร้อมที่จะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ทั้งสิ้น

ดังนั้น การกำหนดรู้ทุกข์ไม่ใช่การไปนั่งทนทุกข์ แต่เป็นการตั้งคำถามว่ามีอะไรไหมที่มันจะต้องสนองกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงมีไหม คำตอบก็คือ “ไม่มี” นั่นแหละคือ “อนัตตา” ไม่มีอะไรที่เป็นที่พึ่งพาได้อย่างแท้จริง ดังนั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่สิ่งที่มีไว้ท่อง แต่เป็นสิ่งที่มีไว้ให้เราสำเหนียงว่าทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างมันไม่ตามใจเรา และสุดท้ายมันหาสาระไม่ได้ ดังนั้น เราจะไปเกาะ ไปเกี่ยว ไปเหนี่ยว ไปรั้งไว้ก็ไม่มีประโยชน์



สหายท่านที่สอง “อริยสัจ 4” ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ มีสองสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ สิ่งที่อยากดึงเข้าหรือ “โลภะ” และสิ่งที่อยากผลักออกหรือ “โมหะ” ทั้งสองสิ่งนี้จัดเป็น “ตัณหา” การที่เรามีทั้งสองสิ่งนี้เพราะว่าเรามีการยึดถือ ยึดว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนี้เลว สิ่งที่เราเข้าไปยึดมีอยู่ 4 อย่าง ได้แก่ กามุปาทาน สีลพัตตุปาทาน ทิฏฐุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน

แล้วทำไมเราจึงยึดสิ่งเหล่านี้ เพราะว่าเราไม่รู้ความจริง “เพราะโง่จึงยึด เพราะยึดจึงอยาก เพราะอยากจึงทุกข์” นิโรธเป็นผลที่เกิดการดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ซึ่งต้องอาศัยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งไม่ใช่การไปดับตัณหาเท่านั้น แต่คือกระบวนการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา และการปฏิบัติวิปัสสนา ภาวนา

สหายคนที่สาม “ปฏิจจสมุปบาท” จริงๆ แล้วหากจะให้เห็นภาพชัดเจน สามารถเปรียบธรรมะเป็นระเบิดลูกหนึ่ง “ปฏิจจสมุปบาท” คือการรื้อระเบิดลูกนั้นว่ามีสิ่งใดที่ประกอบขึ้นมาเป็นระเบิดบ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วการใช้ระเบิดเราแค่ถอดสลัก คลายกระเดื่อง ถ่วงเวลา แล้วจึงขว้างใส่ศัตรู เช่นเดียวกับ “ปฏิจจสมุปบาท”

ในทางปฏิบัตินั้นเราอาศัยแค่ 4 วรรคทองเพื่ออธิบาย “หนึ่ง สิ่งทั้งหลายอิงอาศัยกันเกิด สอง อิงอาศัยกันดับ สาม ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเองโดยโดดเดี่ยว สี่ มันจึงเป็นเช่นนั้นเอง” สิ่งต่างๆ ที่มันเกิดเพราะมันมีปัจจัยที่ทำให้มันเกิด แล้วหากเหตุปัจจัยถึงพร้อมมันก็จะดับ ไม่มีอะไรในโลกใบนี้ที่มันเกิดขึ้นเองอย่างโดดเดี่ยว และมันจึงเป็นเช่นนั้นเอง


@@@@@@@

ท่านทิ้งท้ายด้วยเรื่องของ “ทาน” หากพูดถึงเรื่องการทำทานแล้วท่านกล่าวว่า “วัตถุทาน” หรือการให้ข้าวของเงินทอง สร้างวัดวาอาราม อย่างไรก็ตามก็สู้ “อภัยทาน” ไม่ได้ เพราะอภัยทานเป็นการตัดภพ ตัดชาติ ที่จะตามจองล้างจองผลาญกัน แต่อย่างไรก็ตาม อภัยทานก็ยังสู้ “ธรรมทาน” ไม่ได้ ธรรมทานไม่ได้หมายถึงเราต้องไปสั่งสอนคนอื่น แต่เป็นธรรมทานที่เราทำให้กับตนเอง อย่างเช่นในวันนี้ที่เรามาฟังธรรม “เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ”เราและท่านทั้งหลายกำลังเข้ามารับธรรมทานอยู่นั่นเอง

สำหรับผู้สนใจร่วมฟังธรรมบรรยายดี ๆ ในโครงการ “เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ” บุคคลทั่วไปสามารถลงทะเบียนเพื่อร่วมฟังธรรมบรรยายในรูปแบบ New Normal จำนวน 80 ที่นั่ง ลงทะเบียนผ่าน https://forms.gle/QFeQK7FnZWsnDCmE8 เพื่อสำรองที่นั่ง หรือติดตามรับชมผ่านระบบ live สด ทุกวันศุกร์ เวลา 12:00-13:30 น. ทางช่องทาง facebook fanpage CPALL และสามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่ช่องทางเดียวกัน



ขอบคุณ : https://siamrath.co.th/n/184931
สยามรัฐออนไลน์ ,25 กันยายน 2563 09:51 น. ,ศาสนา-ความเชื่อ ,เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ