ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระธรรม เป็นของให้ฟรี สำหรับ ผู้ที่ต้องการไปสู่ คำว่า ฟรีด้อม ( freedom )  (อ่าน 9955 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การให้คุณค่า กับพระธรรม ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา นั้นต้องพิจารณาที่ความพ้นจากทุกข์
คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

 อยากถามว่า ท่านทีเป็น ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ท่านได้เรียนอะไรจากครูอาจารย์ของท่าน

 ธรรมะ กรรมฐาน จึงเป็นเรื่องลึำกลับ

 ทั้งๆ ที่ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเปิดเผย เปรียบเหมือน
 
 ผู้หงายของที่คว่ำ

 เปิดของที่ปิด

 เป็นผู้ชี้ทาง และ เป็นผู้ส่องทาง

 แต่ครูอาจารย์ของท่าน สอนพระธรรมแบบลึกลับเกินไปหรือไม่
จึงทำให้ท่านทั้งหลายเดินอ้อม หรือ เดินห่างจากพระธรรมกันหรือป่าว ถ้าเป็นดังนั้นการภาวนาของท่านจึงไม่มี
ความก้าวหน้า ไปสู่วิถี แห่ง สุญญตา กัน

 ดังนั้น การภาวนาที่แท้จริง ไม่มีรูปแบบ เพราะกิเลสเข้ามาหาเราได้ทุกสภาวะ ทุกรูปแบบ เราพึ่งฝึกภาวนาโดยการเจริญสติ เป็นหลัก เพราะการเจริญ สติ ไม่มีรูปแบบ

  จึงขอเชิญชวน ท่านทั้งหลาย ที่ต้องการภาวนา มาเจริญสติ แบบเคลื่อนไหว กันมาก ๆ เถิด

  อย่ามัวแต่ นั่งตั้งท่า ตั้งทาง เป็นเฉพาะนั่งสมาธิ หรือ เดินจงกรม ที่มีรูปแบบกันมาก

  :s_hi: :67:

 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติไม่มีรูปแบบ อย่างที่คุณมดตะนอยว่า ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง
 อย่างน้อยก็อาจกล่าวได้ว่า "ปฏิบัติแบบนี้เป็นแบบของคุณมดตะนอย"
 อีกอย่างการเจริญสติมี ๔ แบบหลัก(ไม่นับบรรพต่างๆ) ไม่ใช่ไม่มีรูปแบบ..ขอรับ


ท่านไม่ได้สอนอะไรลึกลับหรอกครับ ใครที่ไม่ได้ขึ้นกรรมฐานกับท่าน ไม่ได้ปฏิบัติธรรมต่อหน้าท่าน
 ท่านไม่สามารถจะกล่าวอะไรกับคนนั้นได้มากนัก เพราะคนนั้นไม่ใช่ศิษย์ของท่าน
 ไม่ได้ยอมรับนับถือท่านเป็นครูด้วย กาย วาจาและใจ หากพูดมากไปก็จะโกรธกับเปล่าๆ
 การแสดงความเมตตากรุณาต้องดูกาละเทศะด้วย อุเบกขาได้ก็ต้องทำ
 พระพุทธเจ้าท่านก็เลือกที่จะใช้เมตตาและอุเบกขา ในสถานการณ์ต่างๆกัน
 ขอให้พิจารณากรณีของ องคุลีมารกับพระเทวฑัตเป็นตัวอย่าง


คนสมัยนี้เอาไปเทียบกับคนสมัยพุทธกาลไม่ได้ คนสมัยนี้มากด้วยทิฏฐิ มีอีโก้สูง
 ไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ หากสอนอะไรไป แล้วทำไม่ได้ก็จะปรามาสกัน หาว่าสอนผิด
 โดยมักจะไม่ดูตัวเองว่า คิด เข้าใจ ปฏิบัติ ได้ถูกหรือไม่อย่างไร
 หากนับถือกันเป็นครูแ้ล้ว โดยธรรมเนียมศิษย์จะต้องเคารพครู ยอมให้ครูอบรม ดุด่าว่ากล่าวได้

 การไม่บอกข้อธรรมบางอย่าง ให้คนที่มีสัทธาไม่ถึง ทิฏฐิไม่คลาย ได้รับรู้ เป็นการป้องกันไม่ให้ปรามาสกัน

 


"พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้  เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ  เปิดของ
 ที่ปิด  บอกทางแก่คนหลงทาง  หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า  คนมีจักษุจักเห็นรูป"


  คำพูดดังกล่าว เป็นคำพูดของคนที่ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเข้าใจครับ ไม่ได้หมายถึง พระองค์ต้องแสดงธรรมให้ทุกคนฟัง พระองค์จะสอนใคร ต้องดูอินทรีย์ของคนนั้นก่อน หากอินทรีย์ยังอ่อน เทศน์ไปแล้วไม่เข้าใจ
จะเสียเวลา และไม่มีประโยชน์

  อินทรีย์ ๕ ประกอบด้วย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
  คุณมดตะนอย ลองดูตัวเองว่า ขาดอะไร ในกรรมฐานมัชฌิมาฯ


  การปฏิบัติธรรมแนวไหน หากมีครูใหญ่(พระพุทธเจ้า)เป็นคนเดียวกัน
  ก็ขอให้ทุกท่าน อย่าได้ปรามาสเลย
  หากแนวใดก็ตาม ยังยึดการปฏิบัติอยู่ในทางสายกลาง หรือมรรค ๘
  ก็ขอได้โปรดอนุโมทนาด้วย

  การจะปฏิบัติธรรมในอิริยาบถไหน เป็นเรื่องของจริตวาสนาบารมีที่สั่งสมกันมาหลายภพหลายชาติ
  เป็นเรื่องเฉพาะตน ไม่สามารถกำหนดกะเกณฑ์กันได้
  คุณมดตะนอยไม่ชอบนั่งก็เป็นสิทธิ์ของคุณ ผมชอบนั่งก็เป็นสิทธิ์ของผม
  ทุกคนมีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะปฏิบัติในอิริยาบถไหนก็ได้


  แต่..มหาบุรุษอย่างพระพุทธเจ้า ท่านตรัสไว้ว่า
  "ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
  นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า"


  ใช้โยนิโสมนสิการ กันเอาเองนะครับ
  หากพูดแรงไป ก็ขออภัยดัวยครับ

   :welcome::49: :25: ;)
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2011, 01:59:48 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kira-d-note

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 119
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้ ก็กล่าวปรามาส ครูอาจารย์ โดยตรง เลยนะคะ
ส่วนตัวไม่ได้เป็นศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นะคะ
 แต่อ่านแล้ว รู้สึกว่า มันขัด ๆ กันอยู่นะคะ

 ดังนั้นคิดว่า ควรทำความเข้าใจ ในหลักปฏิบัติให้เคลีย ก่อนนะคะ
ผู้โพสต์ น่าจะไม่ใช่ศิษย์กรรมฐาน แต่น่าจะเป็นสายสวนโมกข์ เพราะตามอ่านกระทู้
แล้ว จะกล่าวถึง หลวงพ่อพุทธทาส และ สถานที่ปฏิบัติภาวนาในแนวทาง สวนโมก ทั้งหมด

 :03:

  การภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นคิดว่า เป็นที่จริต และวาสนาด้วยนะคะ
เพราะครูอาจารย์ ก็ไม่ใช่ จะพบกันได้ง่าย ๆ เลยนะคะ ไปถึงที่ยังไม่เจอเลย ขึ้นกรรมฐาน
แล้วยังไม่ได้เรียน เลยนะคะ รุ่นพี่ที่ไปวัดราชสิทธาราม มากันก็บอกว่า วันนี้ยังย่ำต๊อก อยู่ที่

 ฐานจิตที่ 1 อยู่เลยนะคะ แจ้งกรรมฐานกับ หลวงพ่อแล้ว ก็ให้ปฏิบัติอยู่ตรงนั้น นี่ก็ปีที่ 2 แล้ว
ส่วนตัวก็มองว่า อาจจะยากมากนะคะ กรรมฐานนี้ แต่ก็ไม่เคยคิดหมิ่น ครูอาจารย์ สายกรรมฐานเลยคะ

  :88: :character0029:
บันทึกการเข้า
แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากถามว่า ท่านทีเป็น ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ท่านได้เรียนอะไรจากครูอาจารย์ของท่าน

 ธรรมะ กรรมฐาน จึงเป็นเรื่องลึำกลับ


 
 แต่ครูอาจารย์ของท่าน สอนพระธรรมแบบลึกลับเกินไปหรือไม่
จึงทำให้ท่านทั้งหลายเดินอ้อม หรือ เดินห่างจากพระธรรมกันหรือป่าว ถ้าเป็นดังนั้นการภาวนาของท่านจึงไม่มี
ความก้าวหน้า ไปสู่วิถี แห่ง สุญญตา กัน

 ดังนั้น การภาวนาที่แท้จริง ไม่มีรูปแบบ เพราะกิเลสเข้ามาหาเราได้ทุกสภาวะ ทุกรูปแบบ เราพึ่งฝึกภาวนาโดยการเจริญสติ เป็นหลัก เพราะการเจริญ สติ ไม่มีรูปแบบ
 

 :34: :25:ดิฉันไม่เข้าใจการใช้คำกล่าววาจาหมิ่นผู้อื่น ว่าเป็นนิสัยของผู้ปฏิบัติได้อย่างไรกัน????.............การแลกเปลี่ยนความรู้ในธรรมของผู้ปฏิบัติย่อมมีแต่ความเป็นกัลยาณมิตรต่อกันแม้จะปฏิบัติในแนวทางที่แตกต่างกัน ในกรณีของคุณมดตะนอย แม้ตัวคุณไม่อยากมีกัลยาณมิตรที่ดี แต่ก็ไม่ควรที่จะแสดงสิ่งที่ไม่เหมาะสม  แสดงกริยา มารยาท ที่แสดงธาตุแท้ของนิสัยที่มีอยู่ มีหลายคนทีปฏิบัติกรรมฐานแตกต่างกันแต่ไม่มีใครแสดงการข่ม ยกตน ขึั้นเหนือผู้อื่น ถึงแม้ว่าเขาเหล่านั้นอาจจะปฏิบัติได้(อาจจะมากกว่าคุณมดตะนอยเสียด้วย....) แต่เขาเหล่านีั้นยังสนธนาธรรมในฐานะผู้ปฏิบัติที่มุ่งช่วยเหลือ แนะนำ... ไม่เคยนำครูบาอาจารย์มากล่าวให้เป็นท่ีบาดหมางเคืองกัน ดิฉันว่าคุณน่าจะหยุดการกระทำทั้งหลายที่แสดงไปแล้ว และที่จะแสดงออกมาอีก....ถ้าคุณคิดว่าในสายที่คุณปฏิบัตินั้นดี คุณก็น่าจะกลับไปพิจารณาในหลักธรรมของคุณเสียใหม่ว่า มีข้อใดที่กล่าวถึงการหมิ่นประมาทครูบาอาจารย์เป็นสิ่งที่ดี แล้วที่คุณแนะนำเส้นทางธรรมนั้น...ไม่ทราบว่าในการปฏิบัติไปถึงไหนแล้ว อย่าเพียงแต่ใช้พระธรรมเป็นข้ออ้างถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเลย.....ให้มองตนเองก่อนเถิดว่าคุณได้อะไรบ้างจากพระธรรมที่อ้างว่าทำให้ก้าวหน้าเพื่อนำไปสู่วิถีแห่งสุญญตา โดยเฉพาะกิเลสอย่างหยาบคุณยังไม่พ้นเลย นับประสาอะไรกับที่คุณจะเข้าใจในการเจริญสติ เพื่อการภาวนาที่แท้จริง......... :s_laugh:
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นข้อจำกัดของผู้เรียน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำัดับ

คือถ้าไม่ขึ้นกรรมฐาน ก็จะยังไม่ได้รับการสอน ..... ที่เต็มรูปแบบ

 แต่ขนาดไม่เต็มรูปแบบ ในเว็บนี้มีให้อ่านกัน อย่างไม่จบเลยนะครับ

 สาธุ

  :49:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



 อยากถามว่า ท่านทีเป็น ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ท่านได้เรียนอะไรจากครูอาจารย์ของท่าน

       จึงทำให้ท่านทั้งหลายเดินอ้อม หรือ เดินห่างจากพระธรรมกันหรือป่าว ถ้าเป็นดังนั้นการภาวนาของท่านจึงไม่มีความก้าวหน้า ไปสู่วิถี แห่ง สุญญตา กัน


 

มีสิ่งดี ๆ หลายอย่างที่พระอาจารย์ได้สอน แต่บางอย่างก็แจ้งให้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นศิษย์ไม่ได้แต่มีสิ่งหนึ่งที่ คิดว่าคุณมดตะนอยก็คงจะทำได้ด้วยตนเอง......คือ ตรวจสอบความสำเร็จในกรรมฐาน หรือสมาธิที่ตัวคุณมีอยู่ ที่เฝ้าคอยเพียรบอกผู้อื่นนะ........แล้วเป็นอย่างไร ???? ไม่ต้องแจ้งบอกให้คนอื่นรู้หรอกนะ ให้รู้ที่ตัวคุณแล้วพิจารณาต่อไปสิว่า......
        "การภาวนาที่แท้จริง ไม่มีรูปแบบ เพราะกิเลสเข้ามาหาเราได้ทุกสภาวะ ทุกรูปแบบ เราพึ่งฝึกภาวนาโดยการเจริญสติ เป็นหลัก เพราะการเจริญ สติ ไม่มีรูปแบบ กับ ความก้าวหน้า ไปสู่วิถี แห่ง สุญญตา "
สิ่งที่กล่าวไว้ คุณมดตะนอยได้ไปถึงไหนแล้ว.........เปิดสัมผัสภายนอกบ้าง อย่าอยู่แต่ความคิดภายในตนเองที่คอยครอบการเรียนรู้ให้อยู่กับตนเองเท่านั้น  ควรกล่าวในสิ่งที่ปฏิบัติได้ เห็นผลได้นะ...... :25:
 
 :67: พระอาจารย์ได้สอนวิธีการวัดความสำเร็จในกรรมฐาน หรือสมาธิ ไว้ 3 แบบ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2861.0
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."

samathi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
อยากถามว่า ท่านทีเป็น ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ท่านได้เรียนอะไรจากครูอาจารย์ของท่าน

เรียนกรรมฐาน จ้า

อ้างถึง
จึงทำให้ท่านทั้งหลายเดินอ้อม หรือ เดินห่างจากพระธรรมกันหรือป่าว ถ้าเป็นดังนั้นการภาวนาของท่านจึงไม่มีความก้าวหน้า ไปสู่วิถี แห่ง สุญญตา กัน

ไม่รู้สิว่าทางนี้อ้อม หรือ ตรง แต่รู้ว่าเป็นทางที่ชอบเดิน และ มีความหวัง จ้า
เพราะประกอบด้วย องค์ 8 สมบูรณ์ ในตอนภาวนา สินะจ๊ะ

 :25:
บันทึกการเข้า

sompong

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 218
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

 เป็นกรรมฐาน ที่มีแนวทาง แบบแผนเป็นไปอย่างมีระบบ แต่ ลูกศิษย์ ต้องปฏิบัติได้ด้วย จึงจักไปได้ตามแนวกรรมฐาน ถ้าไม่ได้ก็ต้องซ้ำชั้น อยู่อย่างนั้น

  ดังนั้น คนที่มาฝึกแล้ว ซ้ำชั้นนั้นผมว่ามีอยู่เป็นจำนวนมาก และ ก็มีผู้ผ่านชั้นอีกจำนวนมาก

  เมื่ออยู่ในวงสนทนา หรือ ภาวนาด้วยกันแล้ว ข้อเสียจึงมีเพราะระดับผู้ภาวนาไม่เสมอกัน จึงทำให้เกิดความระหองระแหงในหมู่ศิษย์ ที่ละกิเลสเป็นพื้นฐานไม่ได้

  เชื่อหรือไม่ครับ เพื่อนผมหลาย ๆ คนพอรู้ว่าผม ได้อนุญาต ห้อง อานาปานสติ ( ห้องที่สี่ ) ในขณะที่พวกเขายังอยู่ห้องที่ 1 แทนที่เพื่อนจะอนุโมทนากับ ไม่จอยกับผมกันซะแล้ว นาน ๆ มาก็ขอแยกวงไปภาวนาที่อื่น อันนี้ผมเองก็ยังภาวนา ไป ๆ มา ๆ อยู่ที่ วัดราชสิทธาราม อยู่นะครับ

  ดังนั้นครูอาจารย์ ท่านจะสอนก็ดูความสามารถของศิษย์ด้วยครับ แต่ถ้าอยากปฏิบัติเรียนเอง หลวงพ่อพระครูท่านก็ทำตำราออกมา หลายเล่ม นำไปอ่านศึกษาปฏิบัติ ด้วยตนเองก็ได้ครับ ไว้มีศรัทธา อยากจะภาวนาจริง ๆ แล้วก็ค่อยมาขึ้นกรรมฐานเรียนกันอย่างจริงจัง

  ถ้าจะถามผมว่า ลึำกลับ หรือ ไม่ ก็ตอบว่าไม่ลึกลับ ครับในคำสอนกรรมฐาน

  แต่ถ้ามองจากมุมของผู้ที่ไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน ที่กำลังพยายามถามแนวกรรมฐาน อันนี้ก็จเป็นเรื่องลึกลับครับเพราะดูจะหาคำตอบได้ยากในกรรมฐาน เพราะครูอาจารย์ ท่านจะตอบให้แบบเลี่ยง ๆ ไปไม่ได้ตอบให้ในเนื้อหาซึ่ง เราก็จะทำให้ผู้ถามเกิดความรู้สึกว่า ครูอาจารย์ หวงวิชา ก็ประมาณนี้ครับ
  ( ผมว่าอารมณ์นี้ เลี่ยงไม่ได้ สำหรับคนที่อยากศึกษาปฏิิบัติด้วยตนเอง โดยที่ไม่ขึ้นกรรมฐาน )

  ก็ลองพิจารณาดู แล้ว ผู้ที่ชอบศึกษาด้วยตนเองนั้น จัดได้ว่าเป็นผู้มีความพยายามสูง

  ส่วนตัวผมนั้น เลือกที่จะเรียนกับครูอาจารย์ ครับเพราะ คิดว่าการมี กัลยาณมิตร นั้นไม่ได้เป็นเพียงแต่ผู้สอนกรรมฐานเท่านั้น ผมยังนับถือเป็นเนื้อนาบุญ ได้สั่งสมบุญบารมี ถ้าจะให้ผมเลือกไปทำบุญกับพระทั่วไป ผมก็ทำได้ครับ แต่ถ้าผมมีเวลาผมขอทำบุญกับครูอาจารย์ ที่เป็นเนื้อนาบุญที่ นั่งกรรมฐานประจำดีกว่าครับ น่าจะได้บุญมากกว่า ทำบุญสุ่มไปทั่ว

   ดังนั้น ครูอาจารย์ ไม่ใช่เป็น เพียงแค่ผู้สอน แต่หากยังเป็นที่สั่งสมบุญ ให้กับศิษย์ด้วยครับ

   ยามมีทุกข์ ก็ได้ปรึกษา ....

   ยามไม่สบายใจ ก็ได้สนทนา....

   ยามติดขัด .....ก็มีผู้ช่วย

   ยามต้องการสร้าง บารมี ....ก็มีที่พึ่ง

    :s_hi: :13: :13: :13:
 
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
"การภาวนาที่แท้จริง ไม่มีรูปแบบ เพราะกิเลสเข้ามาหาเราได้ทุกสภาวะ ทุกรูปแบบ เราพึ่งฝึกภาวนาโดยการเจริญสติ เป็นหลัก เพราะการเจริญ สติ ไม่มีรูปแบบ กับ ความก้าวหน้า ไปสู่วิถี แห่ง สุญญตา "

 การเจริญสติ ไม่ต้องมีกระบวนท่า รู้เห็นตามความเป็นจริง
วางใจ เมื่อ ตา กระทบ กับ รูป  ดับความพอใจ และความไม่พอใจ  เป็นต้น คะ
เพราะมีสติ รู้ ก็จะทำให้ สัมปชัญญะ ทัน เมื่อ ทันกิเลสก็เกิดไม่ได้ คะ

 ดังนั้นการฝึกสติ ไม่เหมือนกับการ นั่งกรรมฐาน คะ เพราะการนั่งกรรมฐาน นั้นเหมือนเอาหินทับหญ้าไว้ คะ
พอออกจากสมาธิ กิเลสก็พรั่งพรูเข้ามา เหมือนเดิม คะ ไม่สามารถที่ไปถึงคำว่า มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงได้

อ่านข้อความจากท่าน สมาชิก Natthaponson ประกอบดูสิคะ
สมาหิโต ยถาภูตัง ปชานาติ" ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5371.msg19928;topicseen#msg19928

ดังนั้นถ้าต้องการไปสู่ nirvana หรือ freedom แล้วต้องใส่ใจเรื่อง สติ เพื่อให้เกิดปัญญามากที่สุดคะ
มีสติ รู้ทัน ดับกิเลส  และ สิ่งเหล่านี้ก็ปรากฏอยู่ด้วยพระพุทธพจน์ ที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วคะ

 
บันทึกการเข้า

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้วทำให้นึกถึง User ท่านหนึ่ง เลยนะครับ

 น้า ISSARAPPAP ไปไหน ไม่เห็นนานแล้วนะครับ
 
 น่าจะคุยกันได้ กับ คุณ modtanoy

  :035: :035: :035:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

  คุณมดตะนอยครับ ไม่มีใครปฏิเสธการเจริญสติ หรอกครับ
 และทุกคนก็รู้ว่า "สมาธิเป็นบาทฐานของวิปัสสนา"


ถ้าพิจารณามรรค ๘ ในสมาธิสิกขา(อธิจิตสิกขา) ประกอบด้วย สัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาสมาธิ
 ถามว่า ทำไมในมรรค ๘ ต้องมีสมาธิ และทำไมต้องกำหนดให้ สติและสมาธิมาอยู่ด้วยกัน


นั่นเพราะการเดินมรรค ต้องพร้อมด้วยองค์ ๘ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
 ไอ้เรื่องเอาหินทับหญ้า เห็นด้วยครับ แต่เรื่องนี้มันเก่าไปแล้ว ใครๆก็รู้


อยากให้เข้าใจว่า การเจริญวิปัสสนา หรือเจริญสติ ต้องประกอบด้วยสมาธิเสมอ
 ส่วนจะเป็นสมาธิระดับไหน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


  [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน


        ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้ามรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
        เมื่อเธอเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

        อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
        เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

        อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
        เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

        อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอเธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
        เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด

       ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

       จบปฏิปทาวรรคที่ ๒



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๔๒๓๗ - ๔๒๙๙.  หน้าที่  ๑๘๒ - ๑๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4237&Z=4299&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=161


คุณมดตะนอย คุณบอกว่าให้เอาพระไตรปิฎกเป็นครู คุณลองอ่านพระสูตรข้างบนดู

     - เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
     - เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า

   สองประโยชน์นี้ คืออะไร คุณจะอธิบายอย่างไง เห็นอยู่ชัดๆว่า วิปัสสนาต้องมีสมถะเสมอ

   และขอบอกว่า กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไม่ได้สอนสมถะอย่างไร ตามที่คุณมดตะนอยเข้าใจ
   สติปัฏฐาน ๔ ก็สอนด้วย การเจริญกรรมฐานทุกครั้ง ทำทั้งสมถะและวิปัสสนา


   บทความที่คุณมดตะนอยยกมาอ้างนั้น ผมเป็นคนโพสต์ ข้อธรรมที่สำคัญอยู่ตรงนี้ครับ
    “สมาธึ ภิกขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ”
   ภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิดเถิด ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง


   คุณมดตะนอย จะยังปฏิเสธพุทธพจน์อยู่หรือเปล่า พระพุทธองค์ัยังบอกให้ทำสมาธิเลย

    ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สติ เป็น เหตุเกิด สมาธิ อันนี้ยอมรับคะ
แต่ สมาธิ ในองค์มรรค นั้นหมายถึง สมาธิ ขั้นอัปปนา หรือ คะ หรือ ขั้น อุปจาระ สมาธิกัน

 อันแท้จริง ในสายเจริญ สตินั้น พึ่ง สมาธิ เพียงแค่ ขณิกะสมาธิ เท่านั้นคะที่จะเจริญจิตเข้าสู่
 วิปัสสนาญาณ ต่าง ๆ ดังนั้น การสอนให้มุ่งจิตเป็น อุปจาระสมาธิ หรือ อัปปนา สมาธิ จึงเป็น
เรื่องที่ดูเหมือนจะอ้อม และ จะมีกี่คนมากน้อยทีี่่สามารถ ละสุข จากสมาธินั้นมาเจริญ วิปัสสนา
นั้นได้คะ ดังนั้น สมาธิ ที่เป็นขณิกะ สมาธินั้น มีอยู่ใน อิริยาบถ มีอยู่ในชีิวิตประจำวัน ซึ่งเราต้อง
ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ นั้นภายใต้ชื่อเรียกว่า การงาน หรือ งาน ดังนั้นการทำงานให้เป็นสุข คือ
ปราศจากกิเลส นั้นจัดเป็น การงานที่ดับสละกิเลส คือ ภาวะนิพพาน ใครทำได้มากก็เป็น พระอริยะ
ตามลำดับชั้น หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อปัญญา ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เพราะท่าน
สอนให้ ชาวพุทธในเมืองไทย รู้จักคำว่า การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่แยกชีวิต ออกไป
นั่งกรรมฐาน อันเป็นรูปแบบ ที่ไม่ใช่หลักการเจริญวิปัสสนา แต่อย่างใด

สาธุ ยามเช้า คะ
 
 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สติ เป็น เหตุเกิด สมาธิ อันนี้ยอมรับคะ
แต่ สมาธิ ในองค์มรรค นั้นหมายถึง สมาธิ ขั้นอัปปนา หรือ คะ หรือ ขั้น อุปจาระ สมาธิกัน

 อันแท้จริง ในสายเจริญ สตินั้น พึ่ง สมาธิ เพียงแค่ ขณิกะสมาธิ เท่านั้นคะที่จะเจริญจิตเข้าสู่
 วิปัสสนาญาณ ต่าง ๆ ดังนั้น การสอนให้มุ่งจิตเป็น อุปจาระสมาธิ หรือ อัปปนา สมาธิ จึงเป็น
เรื่องที่ดูเหมือนจะอ้อม และ จะมีกี่คนมากน้อยทีี่่สามารถ ละสุข จากสมาธินั้นมาเจริญ วิปัสสนา
นั้นได้คะ ดังนั้น สมาธิ ที่เป็นขณิกะ สมาธินั้น มีอยู่ใน อิริยาบถ มีอยู่ในชีิวิตประจำวัน ซึ่งเราต้อง
ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ นั้นภายใต้ชื่อเรียกว่า การงาน หรือ งาน ดังนั้นการทำงานให้เป็นสุข คือ
ปราศจากกิเลส นั้นจัดเป็น การงานที่ดับสละกิเลส คือ ภาวะนิพพาน ใครทำได้มากก็เป็น พระอริยะ
ตามลำดับชั้น หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อปัญญา ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เพราะท่าน
สอนให้ ชาวพุทธในเมืองไทย รู้จักคำว่า การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่แยกชีวิต ออกไป
นั่งกรรมฐาน อันเป็นรูปแบบ ที่ไม่ใช่หลักการเจริญวิปัสสนา แต่อย่างใด

สาธุ ยามเช้า คะ
 

    ขอนัดคุณมดตะนอย ไปคุยกันสักที่หนึ่ง มีให้เลือก ๓ ที่
    ดุสิต สุทธาวาส นิพพาน
    สะดวกที่ไหน ก็แจ้งมา
:49:
   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

jittree

  • บุคคลทั่วไป
0
เร่าร้อน.......................เป็นทุกข์
สงบ..สว่าง..สอาด.................เป็นสุข

 :32: :32: :32:
บันทึกการเข้า

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้ว รู้สึกถึงความต้องการของผู้ปฏิบัติ กันตอนนี้ ต้องการวิธีการใหม่ มากกว่า ที่จะยึดตามหลักการเดิม
ในพระไตรปิฏก ล้วนแล้วจะกล่าวถึง ขั้นตอนการปฏิบัติกรรมฐาน โดยเฉพาะอานาปานสติ กับ โพชฌงค์ 7
มากที่สุด ส่วนการดูจิต ระวังอายตนะ สติ หรือสติปัฏฐาน นั้น ล้วนแล้วผนวกกับ วิธีการทั้ง 2 แบบครับ

 การเจริญสติ เป็นเรื่องดี อนุโมทนา ครับ

 แต่หลังจากเจริญ สติ แล้วนี่สิครับ เอาเวลานั้นไปทำอะไร ที่มีสติ

 ดังนั้นใน มหาสติปัฏฐาน จึงกล่าวเรื่อง บรรพ ต่าง ๆ ตั้งแต่

  อานาปานบรรพ
  สัมปชัญญบรรพ
  อิริยาปถบรรพ
  ธาตุบรรพ
  อาทีนวบรรพ
 เป็นต้นไป เพื่อให้สติ มั่นคง ในขณะที่เจริญไปนั้น สมาธิ ก็ต้องมั่นคงไปด้วย

  พิจารณาให้ดีครับ สติ สัมปชัญญ สมาธิ วิิิริยะ เป็นสิ่งที่ต้องไปด้วยกันครับ

  :49:
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ขอนัดคุณมดตะนอย ไปคุยกันสักที่หนึ่ง มีให้เลือก ๓ ที่
    ดุสิต สุทธาวาส นิพพาน
    สะดวกที่ไหน ก็แจ้งมา



สะดวกที่นี่ คะ ตามวัน เวลาดังกล่าว คะ

  :25: :88:
บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กระทู้นี้คุณมดตะนอยจัดหนักเลยนะครับ
1เราคิดง่ายๆนะว่า อรหันต์ที่เห็น สัก20ปีที่แล้วมีแบบการเจริญสติแบบที่คุณว่ากี่คน และแบบนั่งฌาณกี่คน ใครมากกว่ากัน
2ผู้ที่ปฏิบัติดีแล้ว จะไม่ไปว่าคนอื่น อันนี้ให้กลับไปคิดใหม่ เขาจะตรงหรืออ้อมเราก็ไม่มีสิทธิ์ไปว่าเขา
จริตมันมาอย่างนั้น ผมมีเพื่อนที่มาบอกว่าผมเดินสายออ้ม ผมก็บอกเขาว่า คนเราที่มาไม่เหมือนกัน ที่ไปก็ไม่เหมือนกัน  คนที่ฝึกสติบางคนจะมีปัญหาว่านั่งแล้วฌาณไม่เข้า นั่งไม่ได้
3 กรรมฐานแบบมัชฌิมา นี่แหละเป็นตัวฝึกสติอย่างดี แต่คุณไม่เข้าใจ ลองดูซิ เขาเริ่มจากปีติ  เขากำหนดรู้ตลอด
อันนี้เป็นสติแบบหนึ่ง  แต่พวกที่ฝึกอิริยาบทชอบบอกว่า  แบบนี้อย่างเดียวที่เป็นสติปัฎฐาน
อนาปานสติก็เป็นสติปัฎฐานเหมือนกัน ไปหาดูหนังสือท่านพุทธทาสก็ได้
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อันแท้จริง ในสายเจริญ สตินั้น พึ่ง สมาธิ เพียงแค่ ขณิกะสมาธิ เท่านั้นคะที่จะเจริญจิตเข้าสู่
วิปัสสนาญาณ ต่าง ๆ ดังนั้น การสอนให้มุ่งจิตเป็น อุปจาระสมาธิ หรือ อัปปนา สมาธิ จึงเป็น
เรื่องที่ดูเหมือนจะอ้อม และ จะมีกี่คนมากน้อยทีี่่สามารถ ละสุข จากสมาธินั้นมาเจริญ วิปัสสนา
นั้นได้คะ ดังนั้น สมาธิ ที่เป็นขณิกะ สมาธินั้น มีอยู่ใน อิริยาบถ มีอยู่ในชีิวิตประจำวัน ซึ่งเราต้อง
ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ นั้นภายใต้ชื่อเรียกว่า การงาน หรือ งาน ดังนั้นการทำงานให้เป็นสุข คือ
ปราศจากกิเลส นั้นจัดเป็น การงานที่ดับสละกิเลส คือ ภาวะนิพพาน ใครทำได้มากก็เป็น พระอริยะ
ตามลำดับชั้น หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อปัญญา ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เพราะท่าน
สอนให้ ชาวพุทธในเมืองไทย รู้จักคำว่า การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่แยกชีวิต ออกไป
นั่งกรรมฐาน อันเป็นรูปแบบ ที่ไม่ใช่หลักการเจริญวิปัสสนา แต่อย่างใด

จากที่ผมพิจารณาเนื้อความที่ได้ยกอ้างแล้วนี้ ผมเข้าใจในมรรควิถีของคุณมดตะนอย ก็ขออนุโมทนา ครับ

หากแต่แบบแผนตำรามีกล่าวไว้หลายบทตอน ผมคนหนึ่งหละที่ขอเปิดหน้าถัดๆไป ไปให้จบหนึ่งเล่มตำรา

ขอให้คุณมดโชคดีเพียรให้ถึงฝั่งในแนวทางของตน 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2011, 01:53:54 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระธรรม ไม่ได้เป็นของได้มาฟรี ๆ นะจ๊ะ คุณโยมเข้าใจผิดแล้ว

การที่เราจะบรรลุธรรม ขั้นใด ขั้นหนึ่ง นั้น รอให้บรรลุธรรม หรือ ให้ใครนำมาให้นั้นไม่ได้นะจ๊ะ

 พระธรรม ต้องลงแรง ทั้งแรงกายและแรงใจ เรียกว่า การสร้างบารมี

  เช่นการสั่งสมให้ทาน รักษาศีล และ หมั่นอบรมภาวนา ทั้ง 3 อย่างนี้ รวมอยู่ในคำว่า ความเพียร

 
ดังนั้น พระธรรม ไม่ได้เป็นของให้เปล่า เหมือนพวก ซีดี หนังสือ อันนั้นเป็นเพียงวัตถุ

ส่วน พระธรรม ที่อยู่ในวัตถุนั้น ต้องลงแรงกาย แรงใจ ด้วย


เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ