ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถาม การเข้าใจเรื่อง ธาตุ เป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา ครับ  (อ่าน 2957 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

เรียนถาม การเข้าใจเรื่อง  ธาตุ เป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา ครับ

 thk56
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



ไม่เจอกันนานเลยนะครับท่านเดินทาง สบายดีมั้ยครับ เป็นคำถามที่มีมากเลยจะรอติดตามอ่านนะครับ




** จริงๆท่านนักเดินทางก็รู้คำตอบนี้อยู่แล้วแต่ตั้งกระทู้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่สมัครมาใหม่ หรือ ศิษย์ใหม่ในสายตรง ผมจึงขออนุญาตตอบแบบผู้ไม่รู้ไปพลางๆในการเปิดกระทู้รอพระอาจารย์มาตอบนะครับ

ขอตอบแบบเป็นกันเองนะครับท่านนักเดินทาง พอให้หายคิดถึงกัน ไม่ได้กวนนะครับ 555 แต่คุยพอให้หายติดถึงครับ คำตอบคือ "แล้วแต่คนๆนั้นจะเห็นได้ครับ จะลงมรรค หรือ ปัญญา"





** ผมจำได้ว่ามีกระทู้เก่า พระอาจารย์และท่านรพลสันต์รวมทั้งท่านนักเดินทางและหลายๆท่านตอบไว้ดีมาก ได้ประโยชน์มากๆ แต่ผมจำไม่ได้ว่าชื่อกระทู้อะไร แต่ตั้งคำถามโดยแบบนี้แหละ ผมก็ก๊อปปี้ไว้อยู่แต่ไม่ได้เข้าเวบนั้นนานแล้ว




เอาขำๆนะครับ แต่อาจจะเป็นประโยชน์และแนวทางให้คนที่หัดปฏิบัติใหม่ได้มีกำลังใจและศรัทธาที่จะปฏิบัติมากขึ้น

โดยส่วนตัวผมที่พอจะมีปัญญาสัมผัสเข้าถึงและเรียนรู้ได้ ซึ่งอาจไม่ใช่ทางที่ถูกต้องตามพระไตรปิฎกและไม่ใช่ทางกับผลแห่งวิชาธาตุของสายมัชฌิมาแบบลำดับ มีดังนี้คือ

- ถ้าลงในมรรค ธาตุเหล่าใดแม้รู้ลักษณะเอกลักษณ์ แต่ยังเห็นว่าเป็น รูปธรรม เห็นว่าเป็นธาตุนั้น-ธาตุโน้น-ธาตุนี้ ก็ยังเป็นสมถะอยู่ แต่เป็นสภาวะสมถะที่ยกขึ้นวิปัสสนา เป็นทางเดินกรรมฐานในวิปัสสนาเบื้องต้นที่ใครๆก็ต้องรู้ก่อนจะวิปัสสนา อันนี้ก็เรียกสมถะ

- ถ้าลงในปัญญา ธาตุหรือสิ่งเหล่าใดที่รู้ลักษณะเอกลักษณ์ ไม่เห็นเป็นตัวตน บุคคลใด ไม่มีชื่อ ไม่มีบัญญัติ ไม่มีสิ่งไรๆเลย แม้ที่เรียกว่าสภาวะธรรมก็ตาม นอกจากผัสสะนั้นๆ เรียกวิปัสสนา
  ผมอาศัยอะไรพูด เมื่อได้สัมผัสของจริง สิ่งที่เห็นเป็นตัวตนบุคคลใด สิ่งของสิ่งไรๆ ไม่ว่าจะนามรูปใดๆ จะผัสสะ เวทนา เจตนา สัญญา มนสิการ มนะธาตุก็ดี มโนวิญญาณธาตุก็ดี จะวิตก วิจารเป็นต้นก็ดี มันไม่มีเลย แม้จะมองเห็นในสิ่งนั้นๆอยู่ แม้ได้ยินอยู่ แม้ลิ้มรสอยู่ แม้สัมผัสทางกาย แม้สัมผัสทางใจ แต่สิ่งนั้นๆมันไม่มีอะไรนอกจากแค่สิ่งใดสิ่งหนี่งที่มีอยู่เท่านั้น ถ้าบัญญัตินี้เขาเรียกว่าแค่สภาวะธรรมเท่านั้น
  ก็เมื่อได้เห็นดังนี้แหละ ได้รู้ดังนี้แล้ว ธรรมชาติของผู้ที่ทำเหตุมาดีแล้ว ย่อมถึงเคียวที่คมกริบตัดสิ้นสมมติทางทาง เคียวนั้นคือปัญญา เพราะเห็นว่าของจริงมันมีอยู่อย่างนี้ไม่มีสิ่งใดน่าพิศมัยยินดีเลย นี่เราหลงอยู่ตั้งนาน ควรสลัด ควรปหาน ควนสละคืนจากสิ่งนี้ๆเสีย เราถูกสมมติกิเลสหลอกมานับชาติไม่ถ้วนกองสะสมจนเป็นตัวตน

(ทำเหตุ ทำพละให้ดี ย่อมสะสมให้เป็นกุศลจริต จริตทำให้เกิดกุศลกรรม กุศลกรรมที่พอกพูนขึ้นทั้งของเก่าของใหม่ ย่อมเป็นกุศลบารมี เมื่อบารมีเต็มปัญญาก็คมมันก็ตัดได้ง่าย ก็เป็นสุขจากความดับความพ้นจากสมมตินั้น ส่วนผู้ที่เห็นของจริงแต่ตัดไม่ได้ นี่แหละ พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในระดับที่เรียกว่า ยถาภูญาณทัสสนะ นิพพิทาญาณ วิราคะ วิมุตติ...มีผมเป็นต้นนี้เพราะเคียวคือปัญญานั้นไม่คม หรือยังไม่สร้างตัวด้วยซ้ำเพราะยังทำเหตุไม่ดี บารมียังไม่พอ)






ผมไม่รู้ธรรม นะครับ แค่ตอบสนทนาด้วยกับท่านนักเดินทางพอให้หายคิดถึงกันครับ หากไม่ตรงประเด็นหรือผิดเพี้ยนก็ขออภัยด้วยครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2015, 09:48:20 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธาตุ ก็มี ธาตุโดยย่อ ตามลำดับ
  ธาตุ 1 นิพพานธาตุ
  ธาตุ 2 รูปธาตุ และ นามธาตุ
  ธาตุ 3 ---------------
  ธาตุ 4  ดิน น้ำ ลม ไฟ / อรูปธาตุ 4
  ธาตุ 5  ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ
  ธาตุ 6 วิภังคธาตุ จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ รสาธาตุ มนธาตุ
  ธาตุ 7 ธาตุ ผลของโพชฌงค 7
  ธาตุ 8  ---------------
  ธาตุ 9 ---------------
  ธาตุ 10 ---------------
  ธาตุ 11 ---------------
  ธาตุ 12 ---------------
  ธาตุ 13 ---------------
  ธาตุ 14 ---------------
  ธาตุ 15 ---------------
  ธาตุ 16 ---------------
  ธาตุ 17 ---------------
  ธาตุ 18 ---------------
       1. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท — eye element)
       2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์ — visible-data element)
       3. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ — eye-consciousness element)
       4. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท — ear element)
       5. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์ — sound element)
       6. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ — ear-consciousness element)
       7. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท — nose element)
       8. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์ — odor element)
       9. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ — nose-conscious-ness element)
       10. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท — tongue element)
       11. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์ — flavor element)
       12. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ — tongue-consciousness element)
       13. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท — body element)
       14. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ — tangible-data element)
       15. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ — body-consciousness element)
       16. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน — mind element)
       17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์ — mental-data element)
       18. มโนวิญญาณธาตุ
 
    เรากำลัง คุย ธาตุ ไหน กัน
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :welcome:

             ตั้งแต่ห้องที่ 1  ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

                  เป็นทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา


           ส่วนการเข้าถึงธาตุ   ตรงนั้นใกล้จะสำเร็จ  3  ห้อง เตรียมเข้าสะกดแล้วครับ

               เรียกว่าเกือนจะได้ อุคหนิมิต  เป็นพระโสดาบันแล้วครับ




                   ขอตอบว่าเป็นทั้งสองอย่าง      เพราะกรรมฐานนี้   ใช้นิมิต สามประการตั้งแต่ห้องแรก

           ในองค์อุเบกขานิมิต   บริกรรมนิมิต   ปัคคาหะนิมิต

                 องค์อุเบกขา   เป็น วิปัสสนา     มีตั้งแต่ห้องที่ 1 ครับท่าน


                 
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบ ว่า ในสายพระอาจารย์ สนธยา นั้น มีใครผ่านห้องที่สามบ้างแล้ว
 ส่วนตัวไปวัดพลับ มาแล้ว ปฏิบัติต่อเนื่องที่นั่น มาแล้ว ตอนนี้จบห้องที่ 4 แล้ว แต่ทำไมมาอ่าน ความรู้ที่นี่แล้ว รู้สึกเหมือนมันยากจัง เลยคะ

   คือ เกณฑ์การผ่าน ที่นี่ เป็นอย่างไร อยากทราบคะ

  :58: :25: st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ยังไม่มี เนื่องด้วย ฉัน อยู่ วิเวก ลูกศิษย์จึงไม่มึใครได้เวลา แจ้งกรรมฐาน หรือ แจ้งอารมณ์กรรมฐาน หรือ สอบกรรมฐาน หรือ ทดสอบ ( ก็แล้วแต่จะพูดกันไป ) ส่วนใหญ๋ ฉันให้ไปสอบที่วัดพลับ ไปก็สอบผ่านกันหลายท่าน บางท่าน ก็อยู่ห้องที่ 4 แล้ว บางท่าน ก็อยู่ ห้อง 2 และ 3 แต่คนส่วนใหญ่เหล่านั้น ที่ไป ฉันไม่ให้บอกว่า ฉันให้มาสอบ หรือ แจ้งกรรมฐาน ให้ขึ้นกรรมฐาน ที่นั่น โดยที่ไม่ต้องบอกว่า ฉันเป็นคนให้มาด้วย ....

  ปิดทองหลังพระ เพื่อให้ครูอาจารย์ ท่านได้สอนให้เต็มที่ของท่าน
  เพราะเมื่อก่อน ให้บอกว่าฉันส่งไป หลวงพ่อท่าน สอนไม่เต็มที่ และมักจะพูดว่า ให้กลับมาถามฉัน ตั้งแต่นั้นฉันส่งคนไป ก็ให้เก็บไว้ ไม่ต้องบอกว่า รู้จักฉัน หรือ ฉันส่งไป ซึ่งมีจำนวนมากใน 10 ปีนี้ เนื่องด้วย ฉัน วิเวก ก็ 8 ปีเข้าไป แล้ว

   ดั้งนั้น ถ้าจะตอบ ก็คงบอกว่า ไม่มี ....
   แต่ ที่มี ก็ผ่าน จาก วัดพลับ มากกว่า 300 คน

    ;)

   เจริญธรรม / เจริญพร

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ