ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา  (อ่าน 4878 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
« เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 08:17:17 am »
0
ย้อนกลับไปอ่าน บทเกริ่นนำ ก่อนจะออกตอนที่ 1
ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะนำมูลกรรมฐาน มาถ่ายทอด ต้องนึก ต้องท่อง ต้องจำได้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20911.0



ตอนที่ 1

ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
 
   ความรู้ชัด มี 3 ระดับ

   1.สัญญา   รู้ชัดโดยความจำ
   2.วิญญาณ รู้ชัดด้วยการจำแนกรับรู้
   3.ปัญญา   รู้ชัดสภาวะธรรมและดับสภาวะธรรมนั้นได้

    รู้ชัดโดยความจำ ตรง ๆ ก็คือจำได้ ก็เป็นปํญญาส่วนหนึ่ง เหตุที่จำก็เพราะว่า เห็นประโยชน์ และ มิใช่ประโยชน์ เช่น จำว่า อาหารชนิดนี้หวาน เปรี้ยว เค็มเป็นต้น ที่จำไว้ก็เพราะว่า เป็นเหตุป้องกัน และส่งเสริม อย่างนี้ สัญญานั้นเมื่อจำก็เพียงเป็นส่วนเก็บ

   รู้ชัดด้วยวิญญาณ คือ รู้โดยธรรมชาติ ว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้ผัสสะ ได้อารมณ์ แต่ไม่สามารถกำหนด ลักษณาการลงไปได้ คือไม่สามารถกำหนด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ได้ นี้คือการเห็นตามสัญชาติญาณ แต่รู้ว่าการเห็นนั้น มีค่า หรือ มีคุณ เพราะว่า วิญญาณ มีการปรุงแต่ง ( สังขาร ) นั่นเอง

   รุ้ชัดโดยสภาวะธรรม คือ การรู้เห็นโดยความเป็นจริง ละจากสภาวะธรรม ที่เป็นอัตตา เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน

    ผู้ภาวนา จะรู้ชัด ก็ 3 อย่าง นี้เป็นลำดับ การรู้ชัดในสภาวะธรรม ชื่อว่า การบรรลุ
   
    การรู้ชัดในสภาวะธรรม เป็นไปตามลำดับ การรู้ชัด ดังนี้

       คือ รู้ชัด ใน ศรัทธา
           ศร้ทธา ทำให้ รู้ชัด ซึ่งปีิติ
           ปีติ ทำให้ รู้ชัด ปราโมทย์
           ปราโมทย์ ทำให้ รู้ชัด ใน ฉันทะสมาธิ
           ฉันทะสมาธิ ทำให้ รู้ชัด ใน สมาธิ
           สมาธิ ทำให้ รู้ชัด ใน ยถาภูตญาณทัศศนะ
           ยถาภูตญาณทัศศนะ ทำให้ รู้ชัด ใน นิพพิทา
           นิพพิทา ทำให้ รู้ชัดใน วิราคะ
           วิราคะ ทำให้ รู้ชัดใน วิมุตติ
           วิมุตติ ทำให้ รู้แจ้ง ในนิพพาน
   
     ( ข้าพเจ้า ขอสรรเสริญ พระปัญญาธิคุณ ของพระพุทธเจ้า ณ ส่วนนี้ จะกล่าวว่า เป็นเรื่องที่อันใครๆ ไม่สามารถจำแนกแจกแจงสภาวะธรรมส่วนนี้ ได้อย่างพระพุทธเจ้า การจำแนกสภาวะได้เยี่ยงนี้มีเฉพาะผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเท่านั้น ปัญญาของข้าพเจ้า ก็ไม่สามารถจำแนกสภาวะได้เช่นนี้ จึงเป็นผู้รู้ชัดตามพระองค์
 
      พระพุทธเจ้า เลิศแล้ว กว่าชนทั้งหลาย ด้วยปัญญาธิคุณ นั่นเอง ) 

    สำหรับการภาวนา ในพระกรรมฐาน ย่อมทำให้รู้ชัดไปตามลำดับ
    ในพระพุทธานุสสติ กรรมฐาน สายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงสอนให้ศิษย์ รู้ตามลำดับ เพื่อรู้ชัดตามสภาวะธรรม เริ่ม ตั้งแต่
          พระธรรมปีติ ไปสู่ ยุคลธรรม ไปสู่ สุข  ไปสู่ สมาธิ
         

     สิ่งที่ผู้ปฏิบัติมักจะผิดพลาดกันเสมอคือ พยายามไปสร้างรูปนิมิตร กัน โดยไม่ทำความรู้ชัด ในสภาวะ ที่เรียกว่า ปีติ ยุคลธรรม และ สุข ดังนั้นหลาย ๆ ท่านจึงบอกว่า ตนเองไม่ได้สำเร็จ ทั้ง ๆ ที่สภาวะธรรม ส่วนพระลักษณะ นั้นชัดเจน แจ่มแจ้ง ทุกครั้งเมื่อภาวนา อันที่จริง พระลักษณะ กับ พระรัศมี เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่บารมีธรรม ของพระรัศมีนั้นเป็นฝ่าย เจโตวิมุตติ แต่พระลักษณะเป็นคุณธรรม ของ ฝ่าย วิปัสสก หลาย ๆท่านบางครั้งก็ดื้อ เพื่อจะยื้อเอาคำว่า เจโตวิมุตติ เท่านั้น จึงพยายามสาระวน อยู่กับนิมิตร ที่มันไม่เกิด ก็เป็นส่วนที่น่าเสียดาย

     ดังนั้นการรู้ชัด ตามสภาวะธรรม ก็คือการบรรลุ ไปตามลำดับ นั่นเอง

     ใจสงบเป็นสมาธิ ย่อมเห็นต่าง จากตอนที่ใจไม่สงบ
     ลองพิจารณา เรื่องเดียวกัน ดูสิ ท่านจะเห็นคำตอบไม่เหมือนกัน ในระหว่างที่ใจใส สบาย กับ ในระหว่างที่ใจตก ลำบาก สองสภาวะนี้มีสภาวะการตัดสินใจ และทำลงไป ไม่เหมือนกัน

     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2016, 01:58:35 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
การจำแนก ปัญญา ในการ ภาวนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 08:58:53 am »
0
ปํญญา ว่าโดย หมวด

  หมวดหนึ่ง
    ปัญญา หมายถึง การรู้แจ่มแจ้งสภาวธรรม

  หมวดสอง
    นัยหนึ่ง
    1. โลกิยปัญญา
    2. โลกุตตรปํญญา
   
   นัยสอง
    1.ปัญญามีอาสวะ
    2.ปัญญาไม่มีอาสวะ
 
   นัยสาม
    1.ปัญญากำหนดนาม
    2.ปัญญากำหนดรูป
 
   นัยสี่
    1.ปัญญาที่สหรคตด้วยโสมนัส
    2.ปัญญาที่สหรคตด้วยอุเบกขา

   นัยห้า
    1.ปัญญาที่เป็นทัศศนภูมิ
    2.ปัญญาที่เป็นภาวนาภูมิ

  หมวด 3
    นัยที่หนึ่ง
    1.จินตามยปัญญา
    2.สุตมยปัญญา
    3.ภาวนามยปัญญา

    นัยที่สอง
     1.ปัญญาที่เป็นปริตตะรัมมณะ
        ปัญญาที่ปรารภธรรมที่เป็นกามาวจร เป็นไปด้วยการภาวนา
     2.ปัญญที่เป็นมหัคคตารัมมณะ
        ปัญญาที่ปรารภรูปาวจรและอรูปววจร เป็นไปด้วยการภาวนา
     3.ปัญญาที่เป็นอัปปมาณารัมมณะ
        ปัญญาที่ปรารภพระนิพพาน เป็นไปด้วยการภาวนา
    นัยที่สาม
     1.ปัญญาที่เป็นอายโกศล
        ความรู้ชัดด้วยการพิจารณา ว่าอะไรเป็นทางเจริญ อะไรเป็นทางเสื่อม
     2.ปัญญาที่เป็นอปายโกศล
        ความรู้ชัดด้วยพิจาณาธรรม ว่าเมื่อพิจารณาธรรมเหล่านี้ ธรรมเหล่านี้จักไม่เสื่อม
     3.ปัญญาที่เป็นอุปายโกศล
        ความรู้ชัดด้วยการตั้งอุบาย ให้ธรรมที่สู่ความเจริญไม่ให้เสื่อมไป
    ( เป็น ปัญญาที่เป็น อัชฌัตตาภินิเวส ( มุ่งมั่นข้างใน )ด้วยการพิจารณาขันธ์ของตน
      เป็น ปัญญาที่เป็น พหิทธาภินิเวส ( มุ่งมั่นภายนอก )ด้วยการพิจารณาขันธ์ของผู้อื่น )

    หมวดที่ 4
     ญาณในสัจจะ 4 ประการ   
      1. ทุกขญาณ  ความรู้ชัดในทุกข์
      2. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ชัดในเหตุแห่งทุกข์
      3. ทุกขนิโรโธญาณ ความรู้ชัดในนิโรธ
      4. ทุกขนิโรธคามิณีปฏิปทาญาณ ความรู้ชัดในหนทางไปสู่่นิโรธ
     
     ญาณในปฏิสัมภิทา 4 ประการ
      1.อัตถะปฏิสัมภิทา
          ความรู้ในทุกข์
      2.ธัมมะปฏิสัมภิทา
          ความรู้ในเหตแห่งทุกข์
      3.นิรุตติปฏิสัมภิทา
          ความรู้ในนิโรธ
      4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา     
          ความรู้ในการดำเนินมรรค
 
      ความรู้ในปฏิสัมภิทา ย่อมถึงความแตกฉาน 2 ประการ
       1.เสขะภูมิ   2. อเสขะภูมิ
          2 ภูมินี้จะแจ่มใสได้ ด้วยอาการ 5 ประการ
               1.อธิคม  การบรรลุเป็นพระอรหันต์
               2.ปริยัติ  การเล่าเรียนพระธรรม
               3.สวนะ   การสดับตรับฟังพระธรรม
               4.ปริปุจฉา การประกอบซึ่งการอนุโลมและปฏิโลมด้วยการภาวนาเนือง ๆ
               5.ปุพพโยคะ การเป็นผู้เคยได้กระทำความเพียรในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
                 
     อะไรเป็น สรีระ ( ร่างกาย ) ของปัญญา
        ศีลวิสทธิ และ จิตตะวิสุทธิ เป็นร่างกายของปัญญา

     อะไรเป็นมูล ( ต้นตอไปสู่กำเนิด ) ของปัญญา
        ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นมูล ของปัญญา

     อะไรเป็นเครื่องภูมิ  ( อุปกรณ์ หรือ กิจ ) ไปสู่ ปัญญา
       ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทริย์ 22  สัจจะ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12 เป็นภูมิของ ปัญญา


   

     
             
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รูปขันธ์ สำหรับการภาวนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 09:20:20 am »
0
รูปขันธ์ จัดเป็น ขันธ์แรกไปสู่การภาวนา และเป็นคำตอบของเรื่อง นิมิตรภายใน และ ภายนอกด้วย

    รูปขันธ์ แบ่งออก เป็นสองส่วน
 
    1. ภูตรูป มี 4 ได้แก่
       1. ปฐวีธาตุ    2. อาโปธาตุ  3.เตโชธาตุ  4.วาโยธาตุ 
       ( รายละเอียดเรื่องนี้ จะแสดง ใน จตุธาตุววัตถาน ธาตุ 4 )

    2.อุปาทายรูป มี 24 ประการ
       1.จักขุ 2.โสตะ  3.ฆานะ  4.ชิวหา 5.กาโย  6.รูปัง  7.สัทโท 8.คันโธ 9.รโส 10.อิตถินทรีย์ 11.ปุริสินทรีย์  12.ชีวิตินทรีย์ 13.หทัยวัตถุ 14.กายวิญญัติ 15.วจีวิญญัติ 16.อากาสธาตุ 17.รูปลหุตา 18.รูปมุทุตา 19.รูปปาคุญญตา  20.รูปอุปจยะ 21.รูปสันตติ 22.รูปชรตา 23.รูปอนิจจตา 24.กวกฬิงการาหาร
      ( รายละเอียดแสดงในห้อง พระพุทธคุณที่ 1 ไว้แล้ว )
   
     

      ภูตรูป เปรียบเหมือน ด้านบนมหาสมุทร
      อุปาทายรูป เปรียบเหมือนสิ่งที่ ทำให้เป็นมหาสมุทร
 
      ศิษย์ทุกคนโปรดสังเกต
      โปรดสังเกต ว่า อากาสธาตุ ไม่เป็น ภูตรูป แต่เป็น อุปาทายรูป
       หทัยวัตถุ ก็เป็น อุปาทายรูป 

       
  อ่านต่อตอนที่ 2
  รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ( หมายถึง เป็นเอกเทศโดยส่วนเดียว จากขันธ์ทั้ง 5 )
  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20904.0
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2016, 02:02:18 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 12:24:10 pm »
0
การจะบรรลุธรรม จำเป็น ต้อง รู้ละเอียด อย่างนี้เลยหรือ สมัยก่อนเขาฟังธรรมแค่ ประโยคสองประโยค ก็บรรลุธรรมแล้ว ทำไมจึงแสดงใหเยิ่นเย้อ ยืดยาวอ่านแล้วมันเกี่ยวกับปฏิบัติตรงไหน ?

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 08:06:49 pm »
0

      ความลังเลสงสัย เป็นกิเลส มิใช่ธรรม..จงละธรรมดำเสีย เพราะเป็นอวิชชา
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 10:50:02 pm »
0

    จงเตือนตนเอง แก้กิเลสตัวเอง แก้ความชอบใจ แก้ความไม่ชอบใจ และละความกลัว

       รวมทั้งความกลัวสร้างความดี

   การสร้างความดีพาให้ถึงความอิ่มใจ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2016, 12:10:17 pm »
0
 st12 st12 st12 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ