ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝ่ามือยูไล  (อ่าน 15296 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ฝ่ามือยูไล
« เมื่อ: กันยายน 20, 2010, 03:35:08 pm »
0
เห็นน้าหมวย โพสต์เรื่อง ลมปราณล้างไขกระดูก

หนูก็มานำเสนอ ฝ่ามือยูไล ต่อคะ





    
ฝ่ามือยูไล หรือ พุทธสุขภาพ หรือ ตีลัญจกร
   
การบรรยายประชุมวิชาการ เรื่อง พุทธสุขภาพ ตีลัญจกร   
     
  โดย : อ.ศุภชัย จารุสมบูรณ์   
     
     
  สรุปการบรรยายประชุมวิชาการกรมพัฒน์ฯ (วันพุธ)
เรื่อง "พุทธสุขภาพ ตีลัญจกร"
โดย อ.ศุภชัย จารุสมบูรณ์
วันพุธที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุมเบญจกูล กรมพัฒน์ฯ

--------------------------------------------------------------------------------

คำว่า ตีลัญจกร อาจารย์ศุภชัย จารุสมบูรณ์ เป็นผู้บัญญัติขึ้น
ตี เป็นคำกริยา หมายถึง กดให้เข้ากัน
ลัญจกร เป็นคำนาม หมายถึง รูปแบบ ตราที่เอาไว้ประทับ


ตี ลัญจกร คือ การประสานฝ่ามือ ให้เป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง วิชานี้ศาสตร์การแพทย์แผนจีน เรียกว่า เทียน ฝ่อ เจิ้น คือ หัตถ์พุทธองค์ ศาสตร์นี้สามารถทำด้วยตัวเองไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมทำได้ทุกที่ทุกเวลา จะมีการสอนหัตถ์พุทธองค์ในวิชามนตราบำบัด ที่วัดโจคัง ประเทศทิเบต นั่นคือ ตีลัญจกร ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งในวิชามนตราบำบัด มนต์ทั้งหลายในโลกใบนี้ แบ่งเป็น 3 อย่าง คือ


1. มนตรา ได้แก่ อสัมวิสุโร ปุสาภุพะ ต้องสวดไม่ใช่ฟัง สวดเสร็จ ต้องขอคือการสั่งจิตใต้สำนึก สวดมนตราต้องใช้สติ สวดยากและสวดให้ได้108 คาบ ห้ามนับลูกประคำ จะทำให้คลื่นสมองลดจากเบต้าเป็นอัลฟาและสั่งจิต เช่น สั่งให้น้ำตาลในเลือดลดลงในผู้ป่วยเบาหวาน
2. มนต์คาถา ได้แก่ อิติปิโส ภควาฯ ถ้ารักษาโรคต้องฟังไม่ใช่สวด หัวใจ คือ ผู้สวดต้องมีพลังผู้ฟังต้องพนมมือรับตีลัญจกร ปรางค์ มือพระพุทธรูปต่างๆ สวดเสร็จผู้สวดต้องแผ่เมตตา ผู้ฟังจึงจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ
3. เวทมนต์ คือ ได้แก่ อิติปิโส ภควาฯ จากขวาไปซ้ายหรือสวดจากล่างขึ้นบน สำคัญที่สุด ต้องปล่อยคุณและไสย


สมัยก่อนวัดเป็นสถาบันรักษาโรค ศาสนาป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ คำสอนคือศีล ศีล 5 คืออุบายการรักษาโรค
ศีลข้อ 1. ห้ามฆ่าสัตว์ ทำให้เกิดการโมโห โมเลกุลของตนเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ
ศีลข้อ 2. ห้ามลักทรัพย์ มีผลกระทบต่อปอด หายใจแรงขึ้นเมื่อจะลักทรัพย์
ศีลข้อ 3. ไม่ประพฤติผิดในกาม การเคารพผู้อื่น ทำให้หัวใจแข็งแรง แต่การผิดลูกผิด เมียผู้อื่น ถือเป็นการไม่เคารพผู้อื่น
ศีลข้อ 4. ห้ามพูดปด จะมีปัญหาเรื่องม้ามและกระเพาะ
ศีลข้อ 5 ห้ามดื่มเครื่องดองของเมา การดื่มของมึนเมาทำให้ขาดสติ ถ้าสติสัมปะชัญญะไม่ดีไตก็จะมีปัญหา (ไตควบคุมสติสัมปะชัญญะ)


ตี ลัญจกร คือ การกด รัด ทับ เชื่อม ตรงจุดต่างๆ ในมือเราให้เกิดเป็นรูปลักษณ์ใดรูปลักษณ์หนึ่ง หรือที่เราเรียกว่า แผงวงจรอิเลกทรอนิคในร่างกาย ให้เป็นเสารับอากาศรับคลื่นจากพลังธรรมชาติเข้าสู่ร่างกาย การกินน้ำ กินอาหาร ล้วนแล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังชีวิต หรือที่เราเรียกว่า พลังชี่ พลังคอสมิก พลังจักรวาล ฯลฯ

คนจีนเราแบ่งพลังงานเป็น 2 รูปแบบ


1. อู่ฉี่หรือบ๊อเก๊ก นั่นคือพลังงานที่มองไม่เห็นรูป ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ควาร์ก (quark) เป็นพลังงานที่เล็กกว่าอิเลคตรอนหรือรวมเรียกว่า คลาวมตั้มนั่นเอง สมัยก่อนใช้สัญลักษณ์ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม แทนพลังงานต่างๆ เหล่านี้

2. ไทจี๋ คือ พลังงานเห็นรูป นั่นก็คือ หยินกับหยาง หรือขั้วบวกขั้วลบ


ใน ร่างกายของเราต้องการพลังงานไร้รูปด้วยให้เป็นระเบียบเวลานอนหลับ สามารถพลังงานต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาเหนี่ยวนำโมเลกุลที่วางตัวไม่เป็นระเบียบให้เป็นระเบียบ เช่น โมโหมาก โมเลกุลของตับเรียงตัวไม่เป็นระเบียบและถ้าวิตกกังวลด้วย โมเลกุลของม้ามของกระเพาะเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ

ตกใจกลัว ทำให้ไตมีปัญหา ธาตุในน้ำมีปัญหา, ถ้าโกรธรีบร้อน ธาตุไม้มีปัญหา, รีบเร่งดีใจเกินเหตุเป็นธาตุไฟ, ขี้น้อยใจเสียใจเป็นธาตุทองเกี่ยวกับปอดลำไส้ใหญ่ ในชีวิตประจำวันทำให้โมเลกุลของร่างกายไม่เป็นระเบียบ การนอนหลับจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้สนามพลังงานจากธรรมชาติที่เรามองไม่ เห็นเข้าสู่สมองตรงกระหม่อมออกที่ปลายเท้าและที่มือ และเหนี่ยวนำให้สารโมเลกุลของร่างกายเรียงตัวเป็นระเบียบ

มีการบันทึกจากการแพทย์แผนจีนว่า
- หัวใจและลำไส้เล็ก ได้รับอิทธิพล แรงเหนี่ยวนำ สนามแม่เหล็ก ในระดับที่มีรูปหรือเรียกว่า ไทจี๋ จากดาวอังคาร
- กระเพาะ, ม้าม ได้รับอิทธิพลแรงสั่นสะเทือน จากดาวเสาร์ คนจีนแยกเป็นธาตุดินในร่างกาย ถ้าธาตุดินมีปัญหา จะทำให้วิตกกังวล และมีนิสัยชอบกินของหวาน
- ตับ ถุงน้ำดี ได้รับแรงอิทธิพลแรงสั่นสะเทือน จากดาวพฤหัส ทำหน้าที่ระบบนิเวศน์ธาตุไม้ในร่างกาย หรือคนไทยเรียกว่า ธาตุลมนั่นเอง ถ้าธาตุลมมีปัญหาจะขี้โมโหและชอบกินเปรี้ยว
- ปอด ลำไส้ใหญ่ ได้รับแรงอิทธิพลแรงสั่นสะเทือน จากดาวศุกร์ เป็นธาตุน้ำ จะเป็นคนขี้น้อยใจ เสียใจ ชอบกินเผ็ด
- ไต กระเพาะปัสสาวะ ได้รับอิทธิพลแรงสั่นสะเทือน จากดาวพุธ เป็นธาตุน้ำ น้ำจะเป็นคนขี้ตกใจกลัว ขี้กลัว ชอบกินเค็ม
- หัวใจ ลำไส้เล็ก ได้รับแรงอิทธิพลแรงสั่นสะเทือน จากดาวอังคาร เป็นธาตุไฟ เป็นคนใจร้อนชอบกินขม


การตีลัญจกร จะช่วยการแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้ โดย มือ 2 ข้าง มีเส้นลมปราณอยู่ 6 เส้น


เส้นที่ 1 หลังมือ ลำไส้ใหญ่
เส้นที่ 2 นิ้วนาง ระบบภูมิต้านทานโรค
เส้นที่ 3 นิ้วก้อยด้านนอก ลำไส้เล็ก
เส้นที่ 4 นิ้วหัวแม่มือ ปอด
เส้นที่ 5 นิ้วกลาง เยื่อหุ้มหัวใจ
เส้นที่ 6 นิ้วก้อยด้านใน หัวใจ
2 ข้างเหมือนกัน มือยังมีจุดสะท้อนเหมือนฝ่าเท้าทุกอย่างการตีลัญจกร คือ การกด รัด ทับ เชื่อม ฝ่ามือ ให้เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิคเหมือนเสาอากาศ รับคลื่นสนามแม่เหล็ก เช่น เจ็บหน้าอก บกพร่องธาตุไฟ พระจะสวดคาถาหัวใจ เราต้องติดตั้งเสาอากาศรับคลื่นสนามแม่เหล็กดาวอังคาร คำสวดของพระ คือ ไดสตาร์ท ให้พลังงานในร่างกายเราเชื่อมกับสนามแม่เหล็กของจักรวาลและเหนี่ยวนำหรือดูด ซึมโดยแผงวงจรอิเลคทรอนิค ที่เราเรียกว่า ตีลัญจกร

ขั้นตอนการบำบัดโรคร้ายโดย “ตีลัญจกร”


เนื่อง จาก “ตีลัญจกร” คือการบำบัดและป้องกันโรคร้าย โดยใช้การ กด รัด พับ เชื่อมจุดต่างๆ บนฝ่ามือ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้ “ตีลัญจกร” ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า ช่วงเวลาระหว่างรถติด ระหว่างการประชุม แม้กระทั่งก่อนนอน ซึ่งถ้าเราทำต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน เป็นประจำประมาณ 2 สัปดาห์ก็เริ่มเห็นผล

ข้อควรระวังในการฝึก “ตีลัญจกร”


1. ไม่ควรฝึกในขณะที่อิ่ม หรือหิวจัด เมาค้าง หรืออดนอน
2. ควรใส่เสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัด
3. ควรฝึกแต่ละครั้งอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15 นาที แต่ไม่เกิน 30 นาที
4. เพื่อให้เกิดผลควรฝึกอย่างต่อเนื่องประมาณ 2 สัปดาห์

ตีลัญจกร


หัตถ เวชศาสตร์เพื่อการบำบัดและป้องกันโรคร้ายตอนโรคร้ายคนเมือง ปัจจุบันคนเมืองมีโรคร้ายที่ต้องประสบอยู่หลายโรค ส่วนหนึ่งเป็นอาการที่เกิดจากอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่สมดุล ซึ่งโรคและอาการเหล่านี้สามารถบำบัดและป้องกันได้ด้วย “ตีลัญจกร” ซึ่งได้แก่ อาการนอนไม่หลับ, อาการเครียด, ไมเกรน, โรคประสาทอัตโนมัติสับสน,โรคมะเร็งและซิสต์ ฯลฯ

เรียบเรียงโดย
งานถ่ายทอดเทคโนโลยี
กองการแพทย์ทางเลือก




เครดิตภาพ จาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pennymba&month=04-2010&date=26&group=3&gblog=11
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 20, 2010, 03:40:27 pm โดย ปอง »
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ลมปราณอมตะ ของบู๊ตึ๊ง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 20, 2010, 08:00:33 pm »
0
คล็ดวิชาลมปราณอมตะหรือฉันซือจิ้งคือวิชาพลังรังไหมของมวยไท่เก็ก

ผู้คิดค้นคือ จางฟานฟงแห่งสำนักบู๊ตึ๊ง





(นี่เป็นการนำเสนอเคล็ดวิชาเท่านั้น ถ้าต้องการเรียนให้ลึกซึ้งจริงๆต้องเสาะหาอาจารย์เก่งๆมาสอน)

1. ฮือเล้งเตงแก่ (ซวีหลิงติ่งจิ้ง)คือ ศรีษะตั้งตรงจิตแล่นขึ้นบนกระหม่อม อย่าใช้กำลัง ถ้าใช้กำลังคอ
จะเกร็งแข็ง เลือดลมจะเดินไม่สะดวก ต้องใช้จิตที่เบาและคล่อง ถ้าไม่มีฮือเล้งเตงแก่ ย่อมไม่สามารถ
ยกจิตให้มีสติได้

2. ห่ำเฮงปวกป่วย (หันเซียงป๋าเป้ย)ห่ำเฮง คือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าอก ทำให้ขี่ (ชี่)จมลงสู่ตังชั้ง
(ตันเถียน) ห้ามการเบ่งอก เบ่งอกทำให้ขี่กักอยู่บริเวณหน้าอกมีผลให้ร่างกายส่วนบนหนักส่วนล่างเบา
เมื่อยกเท้าขึ้นเตะร่างกายก็เบาลอย ปวกป่วย คือ การที่ขี่แล่นแนบติดกระดูกสันหลัง ถ้าสามารถทำห่ำ
เฮงได้ก็จะทำปวกป่วยได้โดยอัตโนมัติ สามารถปวกป่วยได้ก็จะสามารถส่งพลังออกจากหลังได้ทำให้
ไร้คู่ต่อสู้

3. ซงเอีย (ซงเอียว)คือการผ่อนคลายเอว เอวเป็นส่วนที่ควบคุมร่างกายเป็นอันดับแรก สามารถผ่อนคลาย
เอวภายหลังสองขาจึงจะมีกำลัง รากฐานมั่นคง ฮือซิก(ว่างและเต็ม)รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอาศัยเอวเป็น
ตัวจักรสำคัญ ดั่งคำว่า“จิตสั่งงานเริ่มต้นที่เอว” มีส่วนใดของร่างกายไม่ถูกต้องให้ปรับที่เอวและขาก่อน

4. ฮุงฮือซิก (เฟินซวีสือ)คือการแบ่งเต็มและว่าง ซึ่งเป็นหลักใหญ่อันดับแรกของมวยไท่เก๊ก ตัวอย่างเช่น
หากน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดอยู่บนขาขวา เช่นนั้น ขาขวาคือเต็ม ขาซ้ายคือว่าง น้ำหนักของร่างกาย
ทั้งหมดอยู่บนขาซ้าย เช่นนั้นแล้วขาซ้ายคือเต็มขาขวาคือว่าง เมื่อสามารถแบ่งเต็มและว่าง เมื่อนั้นการ
เคลื่อนไหวและการหมุนตัวย่อมคล่องแคล่วไม่ต้องเสียกำลังแม้แต่น้อย ถ้าไม่สามารถแบ่งแยกได้ เมื่อ
นั้นการก้าวเท้าก็จะหนักและฝืด ยืนไม่มั่นคงง่ายต่อการถูกผู้อื่นทำให้เซได้

5. ติ่มโกยตุ่ยอิ้ว (เฉินเจียนจุ้ยโจ่ว)ติ่มโกย คือ การลดและผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่ หากไม่สามารถผ่อน
คลายได้ สองไหล่ก็จะยกขึ้น เมื่อนั้นขี่ก็จะแล่นตามขึ้นข้างบน ทั้งร่างกายจะไม่มีพลัง ตุ่ยอิ้ว คือ การ
ผ่อนคลายข้อศอกและให้ปลายข้อศอกคล้ายกับมีน้ำหนักถ่วงลงพื้น หากศอกยกขึ้นก็จะทำให้ไม่สามารถ
ลดหัวไหล่ลงได้ ไม่สามารถตีคนให้กระเด็นออกไปไกลได้

6. เอ่งอี่ปุกเอ่งลัก (ย่งอี้ปู๋ย่งลี่)คือ การใช้จิตมาสั่งการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ใช้กำลังมาเคลื่อนไหว ใน
คัมภีร์ไท่เก๊ก มีตอนหนึ่งกล่าวว่า“ทั้งหมดนี้ คือ ใช้จิตไม่ใช้กำลัง”การฝึกมวยไท่เก๊ก ต้องผ่อนคลายทั้ง
ร่างกาย ไม่ใช้กำลัง (ที่กระด้าง)แม้แต่น้อยนิด ซึ่งจะขัดขวางการเดินของเลือดลม ถ้าสามารถไม่ใช้กำลัง
ได้เมื่อฝึกนานวันเข้าก็จะบรรลุถึความเบาคล่องสามารถหมุนและเปลี่ยนแปลงได้ดั่งใจต้องการ มีคำถาม
ว่าหากไม่ใช้กำลังไฉนพลัง(ภายใน)จะก่อเกิดได้ คำตอบคือ ในร่างกายของคนเรามีเส้นลมปราณอยู่ทั้ง
ร่าง เฉกเช่นสายน้ำ สายน้ำไม่ถูกอุดตันน้ำย่อมไหลไปได้ ฉันนั้นเมื่อร่างกายกล้ามเนื้อแข็งเกร็งขึ้นย่อม
ไปบีบรัดเส้นลมปราณทำให้เลือดลมไหวเวียนไม่คล่อง การเคลื่อนไหวย่อมไม่คล่องไปด้วย ถูกดึงแม้
เพียงเส้นผมย่อมกระเทือนไปทั่วร่าง แต่หากว่าใช้จิตไม่ใช้กำลัง จิตถึงที่ใดลมปราณย่อมถึงที่นั้นด้วยถ้า
เป็นเช่นนี้แล้วเมื่อฝึกทุกวันลมปราณเคลื่อนไปทั่วร่างกายไม่มีหยุดไหล ฝึก นานวันเข้าย่อมบรรลุถึง
กำลังภายในอันแท้จริง ดั่งคัมภีร์มวยไท่เก๊กกล่าวไว้ว่า“อ่อนหยุ่นถึงที่สุด ภายหลัง(ย่อม)แข็งแกร่งถึงที่
สุด”ผู้ที่ฝึกมวยไท่เก๊กจนบรรลุฝีมือแล้ว แขนคล้ายดังปุยนุ่นที่หุ้มเหล็กไว้ภายในและมีน้ำหนักมาก ผู้ที่
ฝึกฝนมวยภายนอก เมื่อใช้กำลังย่อมปรากฎกำลังออกมาแต่ยามไม่ได้ใช้กำลังจะเบาลอยอย่างมาก
สามารถเห็นกำลังนั้นเป็นกำลังที่อยู่ภายนอกอย่างชัดเจนไม่ใช้จิตแต่ใช้กำลังง่ายต่อการถูกชักนำให้
เคลื่อน

7. เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย (ซ่างเซี่ยเซียงสุย)หมายถึง ส่วนบน(ของร่างกาย)และส่วนล่างเคลื่อนตามกัน คัมภีร์มวย
ไท่เก๊กกล่าวว่า“รากนั้นอยู่ที่เท้า เคลื่อน(พลัง)จากขา ควบคุมด้วยเอว รูปลักษณ์ที่นิ้วมือจากเท้าไปยังขา
สู่เอวทั้งหมดนี้ต้องสมบูรณ์ด้วยพลังเดียว(กัน)“มือเคลื่อน ,เอวเคลื่อน ,ขาเคลื่อน สายตามองตามการ
เคลื่อนไหว เรียกว่า เจี้ยแอ๋เซียงซุ้ย มีส่วนใดไม่เคลื่อนย่อมสับสนไม่เป็นระเบียบ

8. ไหล่หงั่วเซียงฮะ (เน่ยไห้วเซียงเหอ)หมายถึงภายในและภายนอกสัมพันธ์กัน มวยไท่เก๊กเน้นที่การฝึกจิต
และสติ ดังคำกล่าว“สติคือแม่ทัพ ร่างกายคือทหาร”สามารถยกสติให้ตั้งอยู่ได้ การเคลื่อนไหวย่อมเบา
คล่องเป็นธรรมชาติ ท่วงท่าไม่ทิ้ง(หลัก)เต็มว่างและแยกรวม(ไคฮะ)ไค (แยก)นั้นไม่เพียงแต่มือเท้าเปิด
จิตก็ต้องเปิดด้วย ฮะ(รวม)ไม่เพียงมือเท้ารวม จิตก็ยังต้องรวมด้วย

9. เซียงเลี้ยงปุกต๋วง (เซียงเหลียนปู๋ต้วน)คือการต่อเนื่องไม่ขาดสาย วิชาของมวยภายนอก พลังนั้นเป็นพลัง
หลังฟ้าที่กระด้าง คือมีขึ้นมีหยุด มีขาดมีต่อ แรงเก่าหมดไปแล้วแรงใหม่ยังไม่ก่อเกิด ในขณะนั้นเป็นการ
ง่ายอย่างมากต่อผู้อื่นที่จะเข้ากระทำ มวยไท่เก๊กใช้จิตไม่ใช้กำลัง ตั้งแต่ต้นจนจบต่อเนื่องไม่ขาดสายวน
ครบรอบก็ขึ้นต้นใหม่หมุนวนไม่รู้จบ คัมภีร์กล่าวว่า “ดุจดั่งแม่น้ำสายใหญ่ไหลไม่มีวันหมด “

10. ต๋งตังขิ่วแจ๋ (ต้งจงฉิวจิ้ง)คือความสงบในความเคลื่อนไหว วิชามวยภายนอก เวลาฝึกฝนเมื่อใช้พลังเต็ม
ที่กระโดดโลดเต้นหลังฝึกฝนเสร็จย่อมเกิดอาการเหนื่อยหอบ มวยไท่เก๊กสงบในความเคลื่อนไหว แม้ว่า
เคลื่อนไหวแต่ว่าสงบ ดังนั้นการฝึกจึงยิ่งช้ายิ่งดี ช้าทำให้ลมหายใจยาวลึกขี่จมสู่ตังซั้ง

บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;