ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ธุลีธวัช (chai173)
หน้า: 1 2 [3]
81  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เสวนาภาวนาครั้งที่ 4 (12 มิถุนายน 2554) เมื่อ: มิถุนายน 13, 2011, 06:33:56 am
กิจกรรมภาวนาครั้งที่ 4
(12 มิถุนายน 2554)







82  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / สัญจรนำสดับธรรม...ปู่เณรคำ เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 06:00:34 am
ย่ำไกลไปฟังธรรม

     สัญจรสดับธรรม      ใจน้อมนำศรัทธาไป
เดอะมอลล์โคราชไกล      ยากไฉนไปเพื่อธรรม.

                                                                                                  ธรรมธวัช.!




บุษบกประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ณ MCC HALL

หมู่มวลญาติธรรมเต็ม MCC HALL

หมู่มวลศรัทธาเนืองแน่นหวังทำทาน

เบียดเสียดเพียงเพราะศรัทธา

บรรยากาศใน MCC HALL

ชุลมุนของแจกหลวงปู่หน้าประตู

บรรยากาศหน้า HALL
83  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วิสาขะบูชา เพื่อนๆไปที่ไหนกันมาบ้าง? เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:57:22 pm
พระพุทธเมตตาบารมี



คำบูชาพระพุทธเมตตา

วันทามิ อิมัง พุทธะเมตตาปะฏิมัง อิมัสมิง คะยาสีเส
ปูชาระเห สักการะภูเต เจติเย สุปะติฏฐิตัง ฯ
อิมินา ปะนะ วันทะเนนะ มา เม ทะลิททิยัง อะหุ
พะหุชะนานัง ปิโย โหมิ มะนาโป สาธุ โน ภันเต
อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ ฯ
84  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญร่วมงานบุญเนื่องในวาระคล้ายวันมรณะภาพหลวงปู่หนู "พระศีลวิสุทธิดิลก" เมื่อ: เมษายน 15, 2011, 06:58:15 am
ขอเชิญศรัทธาญาติธรรม และศิษยานุศิษย์ร่วมงานบุญ
เนื่องในวาระคล้ายวันมรณะภาพหลวงปู่หนู สุวณฺณโชโต




"พระศีลวิสุทธิดิลก"

ณ วัดปากเพรียว (วัดศรีบุรีรตนาราม) ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี

พระราชเมธากร (ทองย้อย โชติวโร)

และ ชาวตลาดปากเพรียว เป็นเจ้าภาพ

ในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๔

เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. ณ.ศาลาการเปรียญ


(ผู้ใดประสงค์จะสมทบทุนบุญนิธิเพื่อการศึกษาสงฆ์สามารถแสดงความจำนงค์ได้ในวันงาน)
85  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ขงจื้อ : มหาปราชญ์แห่งแผ่นดิน เมื่อ: เมษายน 13, 2011, 01:09:50 am
"ขงจื้อ"

86  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เช็งเม้ง ตังโจ่ย เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ เมื่อ: เมษายน 02, 2011, 07:57:34 pm
การไหว้บรรพบุรุ

(ในช่วงเทศกาล "เช็งเม้ง" ของลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเล)




ชิงหมิง ( qing-ming ) หรือ เชงเม้ง/เช็งเม้ง เป็นชื่อของสารท ( 1 ปีมี 24 สารท )

"เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง

รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์


สารท เชงเม้ง หรือ เช็งเม้ง เริ่มต้นประมาณ 5 เมษา - 20 เมษา

เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น ( ของประเทศจีน )

มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง ( เป็นที่มาของชื่อ สารท เช็งเม้ง )





เทศกาลเช็งเม้ง


ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษ ที่ สุสาน

( ฮวงซุ้ย หรือ ฮวงจุ้ย ) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ

ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ ประเพณีนี้สืบทอดมายาวนานเป็นพันปี

โดยขุนนาง สมัยราชวงศ์โจว โจวกงจีตั้น เป็นผู้กำหนด พิธีการจัดงานศพ


ในสมัยราชวงศ์ัถัง ( ประมาณ ค.ศ. 618 ) พระราชพิธีเซ่นไปไหว้สุสานอดีตกษัตริยาธิราช

มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ปีหนึ่งกระทำกันปีละ 2 ครั้ง คือช่วงเช็งเม้ง และประมาณปลายปี

( คาดว่า น่าจะเป็นช่วงตังโจ่ย )




ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเช็งเม้ง


เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำไว้ ได้ดูแลเรา

ลำบากเพื่ื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต

"เราสบาย เพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษลำบาก"


เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล

โดยทั่วไป การไหว้ที่ดีที่สุด ต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน )

ทำให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะ สังสรรค์กันพร้อมหน้า

เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็น วันรวมญาติ


เป็นกรอบถนนชีวิตของลูกหลานทุกคน "พ่อแม่ตายแล้ว ยังกำหนดชะตาชีวิตลูกหลาน"

เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและลูกหลานควรปฏิบัติตาม


เป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน




ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง


การทำความสะอาด สุสาน ( เซ้าหมอ )

ลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ - คนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว คนเป็นลงสีแดง

( ห้ามถอนหญ้า - อาจกระทบตำแหน่ง ห้าม.!  เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ )


บ้างก็ตกแต่งด้วย กระดาษม้วนสายรุ้ง

( สุสานคนเป็น - แซกี - ใช้สายรุ้งสีแดง :: สุสานคนตาย - ฮกกี - ใช้หลากสีได้ )

ห้ามปักธง ลงบนหลังเต่า เท่ากับทิ่มแทงหลุม

และบางความเชื่อ ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว


กราบไหว้ เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติ และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแล


การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย )

เทียน 1 คู่ + ธูป 5 ดอก ( อาจปักลงบนฟักได้ )

ชา 5 ถ้วย

เหล้า 5 ถ้วย

ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้

*** ควรงดเนื้อหมู - เพราะเคยมีปรากฎว่า เจ้าที่เป็นอิสลาม ***

กระดาษเงิน กระดาษทอง

กราบไหว้ ระลึกถึงพระคุณ ของพ่อแม่ บรรพบุรษ

ตั้งเครื่องบูชาเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของท่าน


การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย - จะต่างกับข้างต้น )

ชา 3 ถ้วย

เหล้า 3 ถ้วย

ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้

* ของไหว้ ตามความเชื่อประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็น ขนมถ้วยฟู - ฮวกก้วย *


กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ

เทียน 1 คู่ + ธูป ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ 1 ดอก


หมายเหตุ

*** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจีี๊ยะปี ( ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ )

เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ ไม่ใช่เก้าอี้นั่ง อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด***



พิธีเช็งเม้ง

ผู้อาวุโส เป็นผู้นำกราบ ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน


ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ

เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ

ป้องกันการแย่งชิง ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) เป็นอันเสร็จพิธี


บางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ เพื่อเป็นการ แสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ




ความเชื่อและข้อเท็จจริงตาม หลักฮวงจุ้


เมื่อทานหอยแครงเสร็จ จะโยนเปลือกหอยแครง ลงบนเนินหลังเต่า

( เนินดินด้านหลัง ป้ายสุสานบรรพบุรุษ ) ความหมายคือ มีลูกหลานมาก

ประเด็นนี้ ไม่ขัดกับหลักวิชา


ทุกครั้งที่มาไหว้ จะขุดเอาดินมากลบบนหลังเต่า โดยเชื่อว่า จะทำให้การค้าเพิ่มพูน

ข้อเท็จจริง : จะทำก็ต่อเมื่อ หลังเต่ามีรูแหว่งไป จึงซ่อมแซม และต้องดูฤกษ์

โดยเฉพาะการขุดดิน ถือเป็นการกระทบธรณี


ปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ

ข้อเท็จจริง : ห้ามปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ มีความหมายด้าน ชู้สาว

แต่ปลูกหญ้าได้


หากต้องการซ่อมแซม สุสานบรรพบุรุษ ทำได้เฉพาะ สารทเช็งเม้ง เท่านั้น

ข้อเท็จจริง : ไม่จำเป็นต้องเป็น เทศกาลเช็งเม้ง ขึ้นอยู่กับฤกษ์

หากทำในสารทนี้โดยไม่ดูฤกษ์ กลับจะเกิดโทษภัยจาก อสูร


จุดประทัด เพื่อกำจัดผีร้ายให้พ้นไป

ข้อเท็จจริง : ตามหลักวิชา การจุดประทัด เป็นการกระตุ้น

หากตำแหน่งถูกต้อง ก็จะได้ลาภ หากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา

( ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง ดาว 9 ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี )


บางครอบครัวต้องการประหยัด จัดอาหารไหว้เพียง 1 ชุด ไหว้หลายแห่ง

ข้อเท็จจริง : ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง บรรพบุรุษ ชุดแรกสุดเท่านั้นที่ได้รับ


บางคนเชื่อว่า จะไม่เผากระดาษทองให้กับ บรรพบุรุษ

นอกจากตายมานานแล้ว ถือว่าได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นเทพ

ข้อเท็จจริง : ตามประเพณีโดยทั่วไปไม่มี


การไว้ทุกข์พ่อแม่ ต้องนาน 3 ปี

ข้อเท็จจริง : ประเพณีบางท้องถิ่น กำหนดเช่นนั้นจริง

โดยเน้นเรื่องความกตัญญูเป็นหลัก


การไป ไหว้บรรพบรุษ ครั้งแรก ต้องดูฤกษ์

ข้อเท็จจริง : เป็นเรื่องถูกต้องตามหลักวิชา ฮวงจุ้ย

โดยปกติแล้ว ซินแส จะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้

หากทิศด้านหลัง สุสาน เป็นทิศห้าม ทิศอสูร ทิศแตกสลาย

*** ต้องใช้ฤกษ์ปลอดภัยเท่านั้น ***


และไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นช่วง เช็งเม้ง เท่านั้น ปีต่อ ๆ ไป ไม่ต้องมีการ ดูฤกษ์ อีก


การไหว้ไม่ได้จำกัดว่า จะต้องไหว้ใน เทศกาลเช็งเม้ง เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน จะพบว่า คนกลุ่มหนึ่งจะไปไหว้ก่อนถึง

เทศกาลเช็งเม้ง เพื่อหลีกหนีปัญหาการจราจร





http://www.fengshuitown.com/fengshui/fengshui-tip-pray-ancestor.htm
87  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญร่วมงานบุญ เททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่สรวง ณ วัดมงคลเทพประสิทธิ์ จ.ลพบุรี เมื่อ: มีนาคม 24, 2011, 03:38:48 am
ขอเรียนเชิญศิษยานุศิษย์และผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานบุญ

เททองหล่อรูปเหมือน"หลวงปู่สรวง" (เท่าขนาดองค์จริง)

                   

เพื่อประดิษฐาน ณ วัดมงคลเทพประสิทธิ์
หมู่ 12 ถ.สาย 21 สระบุรี – หล่มสัก ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี 15180

กำหนดการจัดงาน

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554
เวลา 09.09 น. เริ่มพิธีบวงสรวงเทพเทวดา
เวลา 10.39 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
เวลา 14.09 น. เททองหล่อรูปเหมือนหลวงปู่สรวง


ประธานฝ่ายสงฆ์

พระครูวินัยธรบุญช่วย ขนฺติวโร (หลวงพ่อบุญช่วย)

เจ้าอาวาสวัดมงคลเทพประสิทธิ์





http://superkreang-variety.blogspot.com/2011/02/blog-post_02.html
http://ainews1.com/article444.html
http://www.sriganapati.com/index.php?option=com_content&task=view&id=222&Itemid=50
http://www.tddf.or.th/tddf/newsroom/detail.php?id=0006694
88  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรรมธวัช...ไปกราบหลวงตา (มหาบ้ว) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 07:30:10 am
ธรรมธวัช...สัญจร !



       เที่ยวท่องสัญจรนำ               สู่แดนธรรมวัดบ้านตาด
หยั่งกิจเพื่อพุทธศาสน์              ใจศรัทธาจึงน้อมไป
     องค์คุณแห่งองค์สงฆ์          อยู่ธำรง ณ กลางใจ
ย่างกรายผละกิจไว้                ขอกราบเบื้องบาทหลวงตา
     กิจใดหลวงตาสร้าง          จะมิร้างผู้นำพา
"ธรรมธวัช" มาเพียงลา        ขอสืบสานปณิธาน.


                                     
                                                                     ธรรมธวัช.!
89  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "ทีกงแซ" วันเกิดเทพยดาฟ้าดิน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 01:58:34 am
วันไหว้เทพยดาฟ้าดิน "ทีกงแซ"




วันนี้ (11 กุมภาพันธ์ 2554) ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นวันทีกงแซ ของชาวจีน หรือที่

เราเรียกว่าเป็นวันเกิดเทพยดาฟ้าดิน คนไทยเชื้อสายจีนจะทำพิธีสักการะเทพยดาฟ้าดินกันในวันนี้

สิ่งที่ท่านอาจไม่ทราบ คนจีนให้ความสำคัญ กับฟ้าดิน สังเกตได้ว่าทุกศาลเจ้าจะต้องมี เสาสักการะฟ้า พร้อมกระ

ถ่างธูป การไหว้เจ้าแบบจีน เราต้องจุดธูปไหว้ทีกง ก่อน ไหว้เจ้าทุกที่เสมอ

สำหรับการไหว้วันกำเนิด ฟ้าดิน ทีกงแซ ซึ่งเป็นวันเก้าค่ำจีนตามจันทรคติ การไหว้ จะไหว้ง่ายๆ ด้วยส้ม (หรือ

ผลไม้) และกระดาษ กิมจั้ว






ของที่ใช้ในการไหว้วันทีกงแซ (ไหว้แบบฮกเกี้ยน)

1.กระถางธูป

2.ธูปหอม 5

3.เทียนแดง 1 คู่ แนะนำให้เป็นคู่ใหญ่

4.เจดีย์น้ำตาลสีชมพู 5 ตัว

5.หมั่นโถ่สีชมพู 12 ลูก

6.ขนมตระกูลอั้งกู้โก้ยอย่างละ 12 ลูก

7.ขนมอี๋สีชมพู 12 ถ้วย

8.ข้าวเหนี่ยวดำกวน 12 ถ้วย

9.น้ำชา 12 ถ้วย

10.สัปปะรด (อ๋องหลาย) 12 ลูก

11.ถ้วยฟูสีชมพู 12 ลูก

12.หมูหัน 1 ตัว

13.เทียนกงกิม (ทีกงกิม) 24 แผ่น

14.เสี่ยวกิม

15.ต้นอ้อย 1 คู่

16.จี๋ฟูกอ๊อย

17.ทีก้องตั่ว 1 ชุด

18.ฮกเกี้ยนกิม 24 แผ่น

19.กระดาษกิมลายเทียนกวนชูฮก 24 แผ่น ที่เป็นกระดาษใหญ่



อ้างอิง : http://www.oknation.net/blog/chailasalle/2011/01/29/entry-3
            http://www.phuketvegetarian.com/borad/data/2055-1.html
90  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / งานร่วมบุญถวายทานปฏิบัติธรรม 23 มกราคม 2554 เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 02:22:23 am
                พบปะเสวนาร่วมบุญถวายทานปฏิบัติภาวนา
               
                วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ /ปฐมฤกษ์




                                             




 




91  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ศิลปิน/จิต/วิญญาณ/ธรรม/แผ่นดิน เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 05:55:22 pm
ศิลปิน จิต วิญญาณ ธรรม แผ่นดิน





92  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / สามก๊ก ชีวิตอิงวรรณกรรม เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 02:03:39 am


น้ำแยงซีรี่ไหลไปบูรพา
คลื่นซัดกวาดพาวีรชนหล่นลับหาย
ถูกผิดแพ้ชนะวัฏจักรเวียนว่างดาย
สิขรยังคง ตะวันยังฉาย นานเท่านาน
เกาะกลางชล คนตัดฟืนผมขาว เฒ่าหาปลา
สารทวสันต์เห็นมาเหลือหลายที่กรายผ่าน
สรวลสุราขุ่นป้านใหญ่ให้ตำนาน
เก่าๆ ใหม่ๆ เสพสราญว่ากันไป
93  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 11:45:23 pm


สวัสดีปีใหม่

     ดิถีศุกร์ศกสิ้น                   ปีขาล
ชีพล่วงลำดับกาล                 คลาดแคล้ว
ด้วยบุญหยั่งอภิบาล             ปกปัก นาท่าน
เถลิงศกกระต่ายแพร้ว         สุขถ้วนสราญเทอญ.


                                                     ธรรมธวัช.!
94  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / Mozilla Firefox ใช้ไม่ได้ช่วยด้วย...ครับ! เมื่อ: ธันวาคม 08, 2010, 08:01:49 pm
ถึงเว็บมาสเตอร์.....

         ตอนนี้ Internet ผมใช้ Mozilla Firefox อยู่ครับ แต่ขณะนี้ผมมีปัญหา Mozilla Firefox ใช้ไม่ได้

เนื่องจากแถบบาร์ไม่โชว์สัญลักษณ์เว็บไซต์ Madchima มีผลให้ผมไม่สามารถเข้าเว็บไซต์ได้เหมือน

ปกติ จะแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ....ช่วยหน่อยแย่มากๆตอนนี้


                                               
95  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง พระพุทธสีหไสยาสน์ (พระมหาจักรพรรดิพุทธสว่างบุญ) เมื่อ: ธันวาคม 07, 2010, 06:48:55 am


ขอเชิญสาธุชนที่มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง

พระพุทธสีหไสยาสน์ (พระมหาจักรพรรดิพุทธสว่างบุญ)


ความยาว ๑๔๘ เมตร ตารางเมตรละ ๕,๕๐๐ บาท ซึ่งมีทั้งหมด ๑๘,๖๘๑ ตารางเมตร

ท่านที่รับเป็นเจ้าภาพ สร้างองค์พระตั้งแต่ ๑ ตารางเมตรขึ้นไป ทางวัดจะสลักชื่อนามสกุลของท่านไว้

บนแผ่นหิน ๒ ชื่อต่อ ๑ ตารางเมตร


ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ วัดป่าสว่างบุญ ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โทร ๐๓๖-๗๑๔ ๖๐๖

มือถือ ๐๘๐-๖๘๖ ๕๕๕๒ (คุณยายเล็ก)


หากท่านใดมีจิตศรัทธาสามารถโอนเงินผ่าน ธนาคารกรุงไทย สาขาบ้านนา

บัญชีออมทรัพย์ชื่อ วัดป่าสว่างบุญ เลขที่บัญชี ๒๑๒-๑-๑๙๑๖๙-๐




96  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เรียนเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่า เพื่อจัดซื้อกระเบื้องปูห้องน้ำ เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 01:09:55 am
วัดป่าสันติธรรม ; ตำบล ลำพญากลาง อำเภอ มวกเหล็ก จังหวัด สระบุรี




           วัดป่าสันติธรรม เป็นวัดป่ากรรมฐานสายภาคอีสาน ตั้งอยู่กลางหุบเขา เป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การ

ปฏิบัติธรรมโดยมีพระอาจารย์สมชิต สํวโร เป็นประธานสงฆ์ ได้ดำริที่จะจัดสร้างห้องน้ำ 6 ห้อง เพื่อให้หมู่คณะ

ศรัทธาและผู้ที่มาปฏิบัติธรรมได้ประโยชน์ใช้สอย จึงเรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีใน

ครั้งนี้ทั่วกัน

         ในการทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อจัดซื้อกระเบื้องปูพื้นห้องน้ำ และกระเบื้องบุผนังห้องน้ำ ในครั้งนี้ ด้วย

เพื่อนๆ และผมเองนั้นได้ไปอาศัยสถานที่ ณ วัดป่าสันติธรรม ในการถือศีลปฏิบัติธรรม และเล็งแลเห็นถึงความ

ไม่เหมาะสมของห้องน้ำที่ใช้สอยเดิมมีสภาพสังขสีขัดแปะ และอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม กระทั่งได้มีคณะศรัทธา

ผู้มาปฏิบัติธรรม ขอเป็นเจ้าภาพจัดสร้างให้ แต่ด้วยความเป็นเสมือนศิษย์ที่คุ้นเคยจึงรับขอเป็นเจ้าภาพในส่วนพื้น

และผนังที่จะใช้กระเบื้องของทางบริษัท (R C I) ที่ผมและเพื่อนๆทำงานอยู่มาใช้ตกแต่ง สำหรับกระเบื้องปูพื้น

จะใช้แกรนิตจำนวน 50 ตารางเมตร กระเบื้องบุผนังจะใช้ชนิดเคลือบมีลายจำนวน 66 ตารางเมตร รวมใช้

กระเบื้องทั้งปูพื้นและบุผนังต่อห้องน้ำ 1 ห้องประมาณ 20 ตารางเมตร ราคาเฉลี่ย 3,500 บาทต่อห้อง

         กำหนดการนำผ้าป่าไปทอด ณ วัดป่าสันติธรรม ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2553




http://www.edtguide.com/to/BigDcpMap.php?id=WatPaSantiTham_269650&mbid=null&CTIDX=269650&for_extend=true&zlvl=12&cat_type=TVL
97  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 09:34:54 pm
รายนามผู้ร่วมบริจาคจัดสร้างหนังสือกรรมฐาน
“อานาปานสติ ห้อง ๔”
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กลุ่มพนักงาน RCI และ พนักงานรับเหมา SMR บริษัท โรแยลซีรามิคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)     
คุณป๋อย้ง  แซ่เลี้ยง, คุณทองม้วน  สุพันธ์สาย       
คุณธวัชชัย  สุพันธ์สาย 
คุณวีระศักดิ์ - คุณศิริพร  พงศ์พิริยะไมตรี
คุณณัฐพงศ์  ประนิธิ  และครอบครัว
(คุณดรุณี  จักรสุวรรณ, คุณธำรง  ประนิธิ)
ด.ญ.ชัญญาวีร์ - ด.ญ.ศิรวีร์ พงศ์พิริยะไมตรี
ด.ญ.กัญญพัชร  ผลแย้ม
คุณพัชนี  ผลแย้ม
คุณวิรัช  มงคลทอง
คุณวารุณี  สิงห์บรรดิษฐ
คุณชำนาญ - คุณรัชณู  เสมาทัต
คุณไพสารี  ผดุงกิจ
คุณอุบล  ด่านตระกูล
คุณไพรัตน์  นิลดวง
คุณสิริวิชัย  ภูริวิทยวัฒนา
คุณเภ้า - คุณประสาน - คุณตรีวิทย์  สุพันธ์สาย
คุณเฉลิม - คุณสุชาดา  ทองแก้ว
(ด.ช.กิตตินันท์ - ด.ช.เศรษฐพงศ์  ทองแก้ว)
คุณชนันท์  พวงหิรัญ                   
คุณหัศชัย  ทองธานี
คุณพิเชษฐ์ - คุณนงเยาว์  ชุ่มชื่น
(ด.ช.ชัยมงคล, ด.ญ.รสาชล, ด.ญ.ญัฐมน  ชุ่มชื่น)
คุณอารีรัตน์  หลำริ้ว - ด.ญ.ลัขณา  ด้วงพุก
(อุทิศให้ นายจรัญ  ด้วงพุก)
คุณเยาวภา  ภักดิ์โสภา
คุณวรรษมน  สิทธิ์น้อย  และครอบครัว
ด.ญ.นวพร  กลั่นทอง
คุณมาลิสา  ลาลี
คุณธีรชัย  เจียงวัฒนา
คุณพิตรพิบูลกร  มงคล
คุณกวี  ธรรมจริยาวัฒน์
คุณธีรพล  มากแจ้ง
คุณฉลาด - คุณมยุรี - คุณมนตรี  พรมทัตร์
คุณชูศักดิ์ - คุณเฉลา - คุณวชิราภรณ์ - คุณเกริกพล  พวงมณี
คุณปราโมทย์ - คุณสุชน  อินทรจันทร์
คุณพรรษมน  ทองภูธรณ์  และครอบครัว
คุณชวลิต - คุณอุดมรัตน์  ชัชวาลย์
(คุณนิลุบล, คุณฐาปนีย์, คุณรวีวรรณ  ชัชวาลย์ และ คุณเยื้อน  ประสพบุญ)
คุณอรสา  เสริมจบก
คุณกิติภัณฑ์ - คุณรัตนา - คุณวัชราภรณ์ - คุณวนัสนันท์  นาคเตี้ย
ด.ญ.ณิชาภัทร  กลั่นทอง               
คุณจรุง  อินทรจันทร์,  คุณวราภรณ์  จอมวงศ์
คุณวันฤกษ์  แผนสมบูรณ์
คุณกาญจนา  กิตติธาร
คุณจุฑาทิพย์  ราวีศรี  และครอบครัว
คุณสมทบ  สมิงแก้ว
คุณนภารัตน์  อุ่นเรือน
คุณอติกานต์  สุโข
คุณเบญจา  วรพรพิพัฒน์
คุณดรุณี  สุโพธิ์
คุณชาคิต  บุญมา
คุณฐิณัฐตรี  แก้วประทานพร
คุณครอบครัว “ จึงประเสริฐ”
คุณอัญชลี  ชาติบัญชาชัย
ด.ญ.ปวริศา  พึ่งพรหม
คุณกิตติภัทร  เสสะเวช
คุณสำลี  ผูกทอง
คุณภัทรภณ  ผูกทอง
คุณอรรถพล  มงคลทอง
ว่าที่ ร.ต.ญ.ทัศนีย์  ต้นแพง  และครอบครัว
คุณสำเนียง  อุทัยศรี 
คุณไพฑูรย์  ผูววิทยา, คุณดวงกมล  สุพันธ์สาย
คุณนิด - คุณสมหมาย - คุณภิเษก  บูรณะตระกูล
คุณอรุณี  คงกิติมานนท์  และครอบครัว
คุณสำอาง - คุณปัทมา  ภานุอินทร์  และครอบครัว
(อุทิศให้ คุณยายบุญอ้อม  ฤากิจนา)
คุณวิมล  จอโหร่  และครอบครัว           
คุณวิญญู  สุขสวัสดิ์  และครอบครัว
คุณสะอาด  ขุนตา - คุณยุพดี  ธัมมะโชโต
คุณลำพู  ด้วงพุก, ด.ญ.จันจิรา - ด.ญ.ปรายฟ้า  ตรีผล
คุณเปลว  ด้วงพุก     (อุทิศให้ นายจรัญ  ด้วงพุก)
คุณไพวัลย์  เวชสนิท  และครอบครัว               
คุณสุณี  บุญรอด  และครอบครัว             
คุณสนม  สุขาลำ  และครอบครัว           
คุณสมคิด  คำศรี  และครอบครัว           
คุณมยุฉัตร  แซ่อึ้ง  และครอบครัว           
คุณมานิต - คุณสุดใจ  พานทอง           
คุณบังอร  มีมูลทอง                         
คุณบุณยจิตต์  เสือสมบูรณ์             
คุณรุ่งทิพย์  ปานธรรม  และครอบครัว         
คุณพรทิพย์  ทับบุรี                         
คุณภาวนา  ทับทิมบัว                         
คุณไสว  บุญไว  และครอบครัว           
คุณปาริชาติ  ชำนาญป่า  และครอบครัว       
คุณน้ำอ้อย - คุณชอบ - คุณมะนิดา - คุณวันชัย  คชเรนทร์     
คุณสุวัฒชัย - ด.ช.ศุฒิพงศ์  เพ็ชรหลาย       
คุณสำราญ - คุณสมนึก - อิระชา  ลีพุด
(และ คุณพรพรรณ  ฝ่ายวง)คุณมยุรา  สิงห์เพาะ                           
คุณวิชชุดา  เปลื้องศรี  และครอบครัว         
คุณธิศาสตร์  เต่งพิพัฒน์พงศ์                     
คุณจำรงค์  ชาญสวัสดิ์                           
คุณอนุพัทธ์  แช่มแก้ว                           
คุณเสาวลักษณ์  ศักดีสิงห์               
คุณชัยวัฒน์  หุสะ                 
คุณอรวรรณ  ใหม่เอี่ยม               
คุณกนิษฐา  ปั้นสมบูรณ์           
คุณสุวิทย์  ผูกพันธ์                           
ด.ช.ธนาวุฒิ  นักรบ                           
ด.ช.ธนวัฒน์  นักรบ                         
คุณชลธี  คีรีผา                             
คุณลักขณา  พันทองคำ             
คุณมยุรี - ด.ช.ณัฐดนัย  เฟื่องอ่อน           
คุณเหลี่ยม - คุณมะลิลา  ผันผาย         
คุณสุวัฒน์ - คุณอรวีรินทร์  เอกประเสริฐ         
ด.ญ.สุวพร - ด.ช.พีรวัส  เอกประเสริฐ         
ด.ญ.รักษิณา  จันทำดีคุณจิรพันธ์  เสือคล้าย                         
ด.ญ.เปรมกมล  เย็นประเสริฐ                       
คุณจันทร์เพ็ญ  วงศ์ละกา               
คุณน้อย  วงศ์ละกา           
คุณบุญเถิง - คุณบุญทอง  วงศ์ละกา               
คุณเลื่อน - คุณเกษมศรี  เกลียวฝั้น
     


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : กราบนมัสการพระอาจารย์ ด้วยรายนามยังมีเพิ่มเข้ามาอีก ขอความกรุณารอให้ถึงสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ยังมีสมทบเข้ามาอีกเล็กน้อย Aeva Debug: 0.0008 seconds.Aeva Debug: 0.0007 seconds.Aeva Debug: 0.0007 seconds.
98  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ดร.อัมเบดการ์ (Dr.Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 06:01:27 pm
ดร.อัมเบดการ์ มหาบุรุษผู้นำพุทธศาสนากลับคืนสู่มาตุภูมิ






ความนำ
         
          พุทธศาสนาถือกำเนิดและเคยยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป แต่กลับสูญสลายไปจากดินแดนมาตุภูมิไปเกือบสิ้น

ในภายหลัง จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๙๙ ของไทย) [ในอินเดียเป็นปี ๒๕๐๐ อินเดียนับพุทธ

ศักราชเร็วกว่าไทย ๑ ปี เช่นเดียวกับพม่า และลังกา} ได้มีชาวอินเดียวรรณะต่ำประมาณ ๕ แสนคน ประกาศ

ตนมานับถือพระพุทธศาสนา ด้วยการนำของ ดร. อัมเบดการ์ (Dr. Babasaheb Bhimrao Ramji

Ambedkar) จึงได้มีชาวพุทธเกิดขึ้นในอินเดียอีกครั้ง เรียกว่า กลุ่มชาวพุทธใหม่ (New Buddhist) มีมากที่

สุดในเมืองนาคปูร์ ตอนกลางของอินเดีย จากนั้นก็ได้มีชาวอินเดียวรรณะต่ำได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่าง

ต่อเนื่อง และได้มีการประกาศตนเป็นชาวพุทธอยู่หลายเมือง เช่น เมืองนาคปูร์, เมืองคยา, เมืองเดลี ฯลฯ


          ปัจจุบันมีชาวอินเดียที่หันมานับถือพระ พุทธศาสนาประมาณ ๒๐ ล้านคน ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมชาว

พุทธที่อพยพมาจากทิเบตในสมัยที่ถูกจีนรุกราน ซึ่งได้กระจายอยู่ในเมืองต่างๆ ของอินเดีย ผมจึงขอนำข้อมูล

เกี่ยวกับประวัติของ ดร.อัมเบดการ์ บางส่วนที่ปรากฏในหน้าเว็บของวัดดอนสาทรโดยปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย

เพื่อ ความเหมาะสม มานำเสนอให้ผู้อ่านได้ทราบถึงการต่อสู้ของท่าน


ประวัติของ ดร. อัมเบดการ์
         
          ดร. อัมเบดการ์ เกิดในวรรณะจัณฑาลที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหา

ราษฏร์ ทางตอนกลางของอินเดีย เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๓๔ ท่านเกิดในหมู่บ้านคนอธิศูทร (คนวรรณะ

จัณฑาลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น หริจันทร์, จัณฑาล, อธิศูทร, ในที่นี้จะใช้คำว่า อธิศูทร) ชื่อว่า อัมพาวดี เป็น

บุตรชายคนสุดท้อง คนที่ ๑๔ ของ รามจิ สักปาล และนางพิมมาไบ สักปาล


          ก่อนที่ดร.อัมเบดการ์จะเกิดนั้น มีเรื่องเล่าว่า ลุงของพ่อของท่าน ซึ่งไปบวชเป็นสันยาสี(ผู้ถือสันโดษ

ตามแนวคิดเรื่องอาศรม ๔ ของฮินดู พรหมจรรย์ คฤหัสถ์ วนปรัส สันยาสี) อาศัยอยู่ตามป่าเขา ได้มา

พำนักในแถบละแวกบ้าน. รามจิได้ทราบจากญาติคนหนึ่งว่าหลวงลุงของตนมาพำนักอยู่ใกล้ๆ จึงไปนิมนต์ให้มา

รับอาหารที่บ้าน นักบวชสันยาสีนั้นปฏิเสธ แต่ได้ให้พรแก่รามจิว่า "ขอให้มีบุตรชาย และบุตรชายของเธอจงมีชื่อ

เสียง เกียรติ ในอนาคต ได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย" ซึ่งพรนั้นก็มาสำเร็จสมปรารถนาในเวลาต่อ

มา เมื่อวันที่ ดร.อัมเบดการ์เกิดนั้นเอง บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้ว่า "พิม"


          แม้จะเกิดมาในครอบครัวอธิศูทรที่ยากจน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียจนเด็กชายพิม สามารถเรียนจนจบ

ประถม ๖ ได้ เมื่อจบแล้ว บิดาก็ไม่ได้หยุดที่จะให้บุตรได้รับความรู้ พยายามอดมื้อกินมื้อ เงินที่ได้รับจากการ

รับจ้างแบกหามก็เอามาส่งเสียเป็นค่าเล่าเรียนให้กับเด็ก ชายพิม จนกระทั่งสามารถส่งให้เรียนจนจบมัธยมได้

สำเร็จ แต่ในระหว่างการเรียนนั้น พิมจะต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยียดหยามของทั้งครู-อาจารย์ และนัก

เรียนซึ่งเป็นคนในวรรณะสูงกว่า


          เรื่องบางเรื่องที่กลายเป็น ความช้ำใจในความทรงจำของพิม เช่นว่า เมื่อท่านเข้าไปในห้องเรียน ทั้งครู

และเพื่อนร่วมชั้นต่างก็แสดงอาการขยะแขยง รังเกียจ ในความเป็นคนวรรณะต่ำของท่าน ท่านไม่ได้รับ

อนุญาตแม้แต่การที่จะไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน ท่านต้องเลือกเอาที่มุมห้อง แล้วปูกระสอบ นั่งเรียนอยู่อย่าง

นั้น แม้แต่เวลาจะส่งงานต่ออาจารย์ อาจารย์ก็มีทีท่ารังเกียจ ไม่อยากจะรับสมุดของท่าน เวลาที่เขาถูกสั่งให้มา

ทำแบบทดสอบหน้าชั้นเรียน นักเรียนในห้องที่เอาปิ่นโต ห่ออาหารที่นำมากินที่โรงเรียน วางไว้บนกระดานดำ จะ

เร่งกรูกันไปเอามาไว้ก่อน เพราะกลัวว่าความเป็นเสนียดของพิมจะไปติดห่ออาหารของพวกเขาที่วางอยู่บน

กระดานดำ แม้แต่เวลาที่ท่านจะไปดื่มน้ำที่ทางโรงเรียนจัดไว้ ท่านก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะไปจับต้องแท็งก์น้ำ

หรือแก้วที่วางอยู่ เพราะทุกคนรังเกียจว่าเสนียดของท่านจะไปติดที่แก้วน้ำ ท่านต้องขอร้องเพื่อนๆ ที่พอมีความ

เมตตาอยู่บ้าง ให้ตักน้ำแล้วให้พิมคอยแหงนหน้า อ้าปาก ให้เพื่อนเทน้ำลงในปากของพิม เพื่อป้องกันเสนียดใน

ความเป็นคนต่างวรรณะของท่าน ซึ่งเป็นความน่าเจ็บช้ำใจยิ่งนัก


          อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ยักษ์มาร ครูคนหนึ่งซึ่งเป็นวรรณะพราหมณ์ แต่เป็นผู้มีเมตตา

ผิดกับคนในวรรณะเดียวกัน บางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหาร ของตนให้กับพิม แต่เขาก็แสดงออกมากไม่

ได้ เพราะอาจจะถูกคนในวรรณะเดียวกันเกลียดชังไปด้วย ครูท่านนี้คิดว่า เหตุที่พิมถูกรังเกียจ เพราะความที่นาม

สกุลของท่านบ่งชัดความเป็นอธิศูทร คือนามสกุล "สักปาล" ครูท่านนั้นได้เอานามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับพิม

โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้เขาใช้นามสกุลว่า "อัมเบดการ์" พิมจึงได้ใช้นามสกุลใหม่นั้นเป็นต้นมา


          หลังจากอดทนต่อความยากลำบาก การถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง ที่รู้ว่าท่านเป็นคนอธิศูทรแล้ว ท่านก็

ได้สำเร็จการศึกษาจบมัธยม ๖ ซึ่งนับว่าสูงมาก สำหรับคนวรรณะอย่างพิม แต่มาถึงขั้นนี้ พ่อของท่านก็ไม่

สามารถที่จะส่งเสียให้เรียนต่อไปได้อีกจนจบปริญญาตรี เคราะห์ดีที่ในขณะนั้น มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ซึ่ง

เป็นมหาราชาผู้มีเมตตา พระองค์ไม่มีความรังเกียจในคนต่างวรรณะ ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับ

อธิศูทร พระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อของพิม โดยให้เป็นเงินทุนเดือนละ ๒๔ รูปี ทำให้พิม

สามารถเรียนจบปริญญาตรีได้


เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กลับมาสอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม
         
          ต่อมา มหาราชาแห่งบาโรดาได้ทรงคัดเลือกนักศึกษาอินเดีย เพื่อจะทรงส่งให้ไปเรียนต่อที่

มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพิมได้รับการคัดเลือกด้วย ท่านได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า

อิสรภาพ และความเสมอภาค เพราะที่อเมริกานั้นไม่มีคนแสดงอาการรังเกียจท่านในความเป็นคนอธิศูทร เหมือน

อย่างในประเทศอินเดีย หลังจากจบการศึกษาถึงขั้นปริญญาเอกแล้ว ท่านจึงมีชื่อเรียกว่า ดร. พิม อัมเบดการ์

และได้เดินทางกลับมายังอินเดีย


          ดร.อัมเบดการ์ ได้ทำงานในหลายๆ เรื่อง หลังจากจบการศึกษาที่อเมริกาแล้ว ท่านได้เป็นอาจารย์

สอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม เมืองบอมเบย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าชายแห่งเมืองโครัก

ขปูร์ ซึ่งเป็นผู้มีพระทัยเมตตาเช่นเดียวกับมหาราชาแห่งบาโรด้า ซึ่งปรารถนาที่จะถอนรากถอนโคนความ

อยุติธรรม ที่สังคมฮินดู กีดกันคนในวรรณะอื่นๆ ได้ทรงอุปถัมภ์ให้คนอธิศูทร มารับราชการในเมืองโครักขปุร์ แม้

นายควาญช้าง พระองค์ก็เลือกจากคนอธิศูทร. เจ้าชายแห่งโครักขปุร์ ได้ทรงอุปถัมภ์ในการจัดทำหนังสือพิมพ์

"ผู้นำคนใบ้" ของ ดร.อัมเบดการ์ เช่นอุปถัมภ์ค่ากระดาษพิมพ์ และอื่นๆ ซึ่ง ดร.อัมเบดการ์ไม่ได้เป็น

บรรณาธิการเอง แต่อยู่เบื้องหลัง และเขียนบทความลงตีพิมพ์


          ในบทความชิ้นหนึ่งมีถ้อยคำที่น่าสนใจว่า "อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูง สังคมฮินดู

นั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูงตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอน แต่ไม่มีบันไดหรือช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่

หอคอยอันนั้นได้ คนที่อยู่ในหอคอยนั้นไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ และจะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้น

หนึ่งก็ทำไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตายในชั้นนั้น"


          ท่านได้กล่าวถึงว่า สังคมฮินดูมีส่วนประกอบอยู่สามประการ คือ พราหมณ์, มิใช่พราหมณ์, และอธิ

ศูทร. พราหมณ์ผู้สอนศาสนามักกล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร แต่

พราหมณ์กลับรังเกียจคนอธิศูทร เห็นเป็นตัวราคี นั่นแสดงว่าท่านกำลังเห็น พระเจ้าเป็นตัวราคีใช่หรือไม่


          ดร.อัมเบดการ์ มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวหลายๆ อย่างในอินเดียขณะนั้น ท่านเป็นอธิศูทรคนแรก

ที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช เป็นผู้ร่วมร่างรัฐ

ธรรมนูญของอินเดีย ท่านเป็นผู้ที่ชี้แจงต่อที่ประชุมในโลกสภา โดยการอนุมัติของ ดร.ราเชนทรประสาท ให้ชี้

แจงอธิบายต่อผู้ซักถาม ถึงบางข้อบางประเด็นในรัฐธรรมนูญ หนังสือพิมพ์บางฉบับลงเหตุการ์ตอนนี้ว่า "ด.ร.อัม

เบดการ์ ทำหน้าที่ชี้แจงอธิบาย เรื่องร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ร่วมประชุม ประดุจพระอุบาลีเถรเจ้า วิสัชชนาข้อวินัย

บัญญัติ ในที่ประชุมปฐมสังคายนา ต่อพระสงฆ์ ๕๐๐ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ฉะนั้น" และท่านเป็นผู้ต่อสู้

เพื่อทำลาย ความอยุติธรรมที่คนในชาติเดียวกันหยิบยื่นให้กับคนในชาติเดียวกัน แต่ต่างวรรณะกันเท่านั้น


ดร.อัมเบดการ์ กับการพบรัก และการประกาศตนเป็นชาวพุทธ
         
          ดร.อัมเบดการ์ ได้พบรักกับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า ชาดา คาไบ ในโรงพยาบาล

ที่เขาไปรับการรักษาอาการป่วย และเป็นครั้งแรกที่คนในวรรณะต่ำเช่นท่านได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูง คือ

วรรณะพราหมณ์ และมีคนใหญ่คนโต นักการเมือง พ่อค้า คนในวรรณะต่างๆ มาร่วมงานแต่งงานของท่านมาก

มาย.หลังจากนั้น ดร.อัมเบดการ์ ได้ลงจากเก้าอี้ทางการเมือง ท่านถือว่าท่านไม่ได้ชื่นชอบกับตำแหน่งทางการ

เมืองอะไรนัก ที่ท่านเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ก็เพราะท่านต้องการทำงานเพื่อเรียกร้องความถูกต้องให้แก่

คนที่อยู่ในวรรณะ ต่ำที่ได้รับการข่มเหงรังแกเท่านั้น


          เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ที่ ดร.อัมเบดการ์ได้กระทำ และเป็นสิ่งซึ่งมีคุณูปการมากต่อพระพุทธ

ศาสนาในประเทศอินเดียคือ การเป็นผู้นำชาวพุทธศูทรกว่า ๕ แสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ซึ่ง ดร.อัม

เบดการ์สนใจพระพุทธศาสนามานานแล้ว โดยเฉพาะจากการได้อ่านหนังสือพระประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเขียน

โดยพระธัมมานันทะ โกสัมพี ชื่อว่า "ภควาน บุดดา"(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ท่านได้ศึกษาแล้วว่า พระพุทธศาสนา

เป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษาพระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพ แก่

คนทุกชั้น ในจิตใจของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้ว แต่ท่านตั้งใจจะทำให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้นก็คือ

การปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธพร้อมกับพี่น้องชาวอธิศูทร ในงานฉลองพุทธชยันติ (Buddhajayanti)


          ดร.อัมเบดการ์ ได้กล่าวสดุดีพระพุทธศาสนา โดยเขียนหนังสือเผยแผ่พระพุทธธรรมหลายเล่ม เช่น

"พุทธธรรม" (Buddha and His Dhamma) "ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา" (The Essential of

Buddhism) และคำปาฐกถาอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลัง เช่น "การที่พระพุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย"

(The down fall of Buddhism in india) เป็นต้น


          ก่อนหน้าที่จะมีงานฉลองพุทธชยันตี เป็นที่ทราบกันดีว่า อินเดียในขณะนั้น มีชาวพุทธอยู่แทบจะเรียก

ได้ว่าเป็น อัพโภหาริก คือน้อยจนเรียกไม่ได้ว่ามี แต่เหตุใดจึงมีงานฉลองนี้ขึ้น คำตอบนี้น่าจะอยู่ที่ ท่าน

ยวาห์ ราล เนรูห์ ซึ่งได้กล่าวคำปราศรัยไว้ในที่ประชุมโลกสภา (รัฐสภาของอินเดีย) เรื่องการจัดงานฉลองพุทธ

ชยันตี ว่า "พระพุทธเจ้า เป็นบุตรที่ปราดเปรื่องยิ่งใหญ่และรอบรู้ที่สุดของอินเดีย ในโลกนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความ

วุ่นวาย เคียดแค้น และรุนแรง คำสอนของพระพุทธเจ้าส่องแสงเหมือนดวงอาทิตย์ที่รุ่งโรจน์ ไม่มีคนอินเดียคนใด

ที่จะนำเกียรติยศ เกียรติภูมิ กลับมาสู่อินเดียได้เท่ากับพระพุทธองค์ หากเราไม่จัดงานฉลองท่านผู้นี้แล้ว เราจะ

ไปฉลองวันสำคัญของใคร"


          ในงานฉลองพุทธชยันตินั้น รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรงบประมาณการจัดงาน ฉลองตลอด ๑ ปีเต็ม

โดยวนเวียนฉลองกันไปตามรัฐต่างๆ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ อย่างเช่น ทำการตัดถนนเข้าสู่พุทธสังเวชนีย

สถานต่างๆให้ดีขึ้น สร้างธรรมศาลา อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานพุทธชยันตีจากประเทศต่างๆ จัดพิมพ์

หนังสือสดุดีพระพุทธศาสนา จัดทำหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนา โดยนักปราชญ์หลายท่านเขียนขึ้น

ประธานาธิบดีราธกฤษนัน เขียนคำนำสดุดีพุทธคุณ ให้ชื่อว่า "2500 years of Buddhism" (๒๕๐๐ ปีแห่ง

พระพุทธศาสนา) ทั่วทั้งอินเดีย ก้องไปด้วยเสียง พุทธัง สรณัง คัจฉามิ


นำการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
         
          ส่วนในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ นั้น ดร.อัมเบดการ์ได้นำชาววรรณะศูทร ปฏิญาณตนเป็น

พุทธมามกะที่เมืองนาคปูร์ สาเหตุที่ท่านเลือกเมืองนี้แทนที่จะเป็นเมืองใหญ่ๆ อย่าง บอมเบย์ หรือเดลี ท่านได้ให้

เหตุผลว่า "ผู้ที่ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตอนแรกๆ นอกจากพระสงฆ์คือพวกชนเผ่านาค ซึ่งถูกพวกอารยัน

กดขี่ข่มเหง ต่อมาพวกนาคได้พบกับพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนพวกนาคเหล่านั้นเลื่อมใส

ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธและเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่ว เมืองนาคปูร์นี้ เป็นเมืองที่พวกนาคตั้งหลักแหล่งอยู่"

(คำกล่าวของท่านอัมเบดการ์มีมูลอยุ่ไม่น้อย และจะว่าไปแล้ว หลังจากพระพุทธศาสนาเริ่มถูกทำลายจาก

อินเดีย เมืองนาคปูร์เป็นเมืองที่มีชาวพุทธอาศัยอยู่มาก และเป็นเมืองที่มีชนชั้นศูทร หรือคนวรรณะต่ำอยู่มาก

อีกด้วย ดังนั้นศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนในอินเดียปัจจุบันที่เป็นคนวรรณะศูทร จึงอยู่ที่นาคปูร์)


          ในการปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ ๕ แสนคน เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ (๒๔๙๙ของไทย)นั้น

มีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย ๓ รูป คือ พระสังฆรัตนเถระ (Ven. M.

Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสะเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทะ

เถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณ

ตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ และ คำปฏิญญาน ๒๒ ข้อ ของ ดร.อัมเบดการ์ ดังนี้


๑. ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป

๒. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป

๓. ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป

๔. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป

๕. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า

๖. ข้าพเจ้าจะไม่ทำพิธีสารท และบิณฑบาตแบบฮินดูต่อไป

๗. ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า

๘. ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทำพิธีทุกอย่างไป

๙. ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน

๑๐. ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน

๑๑. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ โดยครบถ้วน

๑๒. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ โดยครบถ้วน

๑๓. ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก

๑๔. ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น

๑๕. ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม

๑๖. ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด

๑๗. ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา

๑๘. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนในทาน ศีล ภาวนา

๑๙. ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ

๒๐.ข้าพเจ้าเชื่อว่าพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง

๒๑. ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง

๒๒. ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด


          หลังจากปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะแล้ว ท่านกล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู

แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน"


          คำปราศรัยในที่ประชุมปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ของ ดร.อัมเบดการ์ นั้น เป็นการแสดงถึงความ

เข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ต่อมาได้มีผู้พิมพ์คำปราศรัยนี้ลงเป็นหนังสือ เป็นคำปราศรัยที่ยาว

ถึง ๑๒๖ หน้า ขนาด ๘ หน้ายก มีตอนหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เช่น "พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

มาจากตระกูลต่างๆ กัน ย่อมมีความเสมอกันเมื่อมาสู่ธรรมวินัยนี้แล้ว เหมือนมหาสมุทร ย่อมเป็นที่รวมของน้ำที่

ไหลมาจากแม่น้ำและทะเลต่างๆ เมื่อมาสู่มหาสมุทรแล้ว ก็ไม่สามารถจะแยกได้ว่าน้ำส่วนไหนมาจากที่ใด"


          "พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ปฏิเสธระบบวรรณะ และคนบางคนไม่มีเหตุผลจะโจมตีพระพุทธศาสนา

หรือไม่มีเหตุผลมาหักล้างคำสอนได้ ก็อ้างเอาอย่างหน้าด้านๆ ว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของพวกนอกวรรณะ"

"ถ้าหากจะมีพระนามใด ที่โจษขานกันนอกประเทศอินเดียที่โด่งดัง และกล่าวกันด้วยความเคารพสักการะแล้ว จะ

มิใช่พระนามของพระราม หรือพระกฤษณะ แต่จะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า เท่านั้น "


          เมื่อนักหนังสือพิมพ์ถามถึงเหตุผลในการนับถือพระพุทธศาสนา ท่านกล่าวว่า "เพราะการกระทำอัน

ป่าเถื่อนของชาวฮินดูที่มีต่อคนวรรณอธิศูทรเช่นเรามา นานกว่า ๒๐๐๐ ปี" พร้อมกันนั้นท่านกล่าวต่อว่า "พอเรา

เกิดมาก็ถูกตราหน้าว่าเป็นวรรณะอธิศูทร ซึ่งมีค่าต่ำกว่าสุนัข อะไรจะดีเท่ากับการผละออกจากลัทธิป่าเถื่อน ปลีก

ตัวออกจากมุมมืดมาหามุมสว่าง พุทธศาสนาได้อำนวยสุขให้ทุกคนโดยไม่เลือกหน้า โดยไม่เลือกว่าเป็นวรรณะ

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ความจริงข้าพเจ้าต้องการ เปลี่ยนศาสนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่เหตุการณ์ยังไม่

อำนวย ข้าพเจ้าขอกล่าวว่าระบบวรรณะควรจะสูญไปจากอินเดียเสียที แต่ตราบใดที่ยังมีผู้นับถือพระเวทอยู่ ระบบ

นี้ก็ยังคงอยู่ กับอินเดียตลอดไป อินเดียก็จะได้รับความระทมทุกข์ ความเสื่อมโทรมตลอดไปเช่นกัน พวก

พราหมณ์พากันจงเกลียดจงชังพระพุทธศาสนา แต่หารู้ไม่ว่าพระสงฆ์ในพุทธกาล ๙๐ % เป็นคนมาจากวรรณะ

พราหมณ์ทั้งสิ้น ข้าพเจ้าอยากจะถามพวกพราหมณ์ในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้น กับพวกเขาหรือ"


          เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังจากพิธีปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธได้ ๓ เดือน ดร.อัมเบดการ์ ก็ได้ถึงแก่กรรม

ลง ด้วยโรคร้าย ในวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ (ในอินเดียเป็นปี ๒๕๐๐ อินเดียนับพุทธศักราชเร็วกว่า

ไทย ๑ ปี เช่นเดียวกับพม่า และลังกา) สร้างความยุ่งเหยิงให้กับชาวศูทรมากมาย เพราะยังไม่ทันพาพวกเขาไป

ถึงจุดหมาย ท่านก็มาด่วนถึงแก่กรรมไปเสียก่อน เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ


ดร.อัมเบดการ์ ถึงแก่กรรม
         
          เมื่อ ดร.อัมเบดการ์ ถึงแก่กรรมนั้น มีหลายท่านแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง เมื่อข่าวการมรณะกรรม

ของท่านแพร่สะพัดออกไป มีทั้งรัฐมนตรี นักการเมือง เดินทางมาเคารพศพและแสดงความเสียใจแก่ภรรยาของ

ดร.อัมเบดการ์ นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า "เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว" ในวันต่อมา

นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวไว้อาลัย ดร.อัมเบดการ์ และสดุดีความดีของท่านอย่างมากมาย ตอนหนึ่งท่านได้

กล่าวว่า "ชื่อของอัมเบ็ดการ์ จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อลบล้าง

ความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อัมเบดการ์ต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องต่อสู้ อัมเบดการ์ได้เป็นคน

ปลุกให้สังคมของฮินดูได้ตื่นจากความหลับ". นอกจากนี้ยังได้ให้มีการหยุดประชุมโลกสภา เพื่อไว้อาลัยแด่

ดร. อัมเบดการ์ ด้วย


          หลังจากนั้น ได้มีคนสำคัญต่างๆ และผู้ทราบข่าวการมรณกรรมของ ดร.อัมเบดการ์มากมาย ได้ส่ง

โทรเลขไปแสดงความเสียใจต่อภรรยาของ ดร.อัมเบดการ์ มุขมนตรีของบอมเบย์ คือนาย ชะวาน ถึงกับประกาศ

ให้วันเกิดของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของ ดร.อัมเบดการ์


          ภรรยาของท่านต้องการจะนำศพของดร.อัมเบดการ์ ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษ

ให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของ ดร.อัมเบดการ์ หลายคน

ที่ไม่สามารถอดกลั้นความเศร้าไว้ได้ต่างก็ร้องไห้ไปตามๆ กัน


ท้ายเรื่อง
         
          ดร.อัม เบดการ์ ผู้เกิดมาจากสังคมอันต่ำต้อย ต่อสู้เพื่อตัวเอง เพื่อสังคม และเพื่อประเทศชาติอันเป็น

ส่วนรวม ตั้งแต่เกิดจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต บัดนี้ท่านได้จากไปแล้ว ทิ้งแต่ความดีเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้จดจำ

และสรรเสริญ. ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่า วิญญาณของ ดร.อัมเบดการ์คงยังไม่ไปไหน จะคงอยู่กับพวกเขา คอย

ช่วยพวกเขา เพราะ ดร.อัมเบดการ์ไม่เคยทิ้งคนจน ไม่เคยลืมคนยาก ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น

ต่อท้ายจากบทสวดสังฆรัตนะ พวกเขาจึงอ้างเอา ดร.อัมเบดการ์ เป็นสรณะด้วย โดยสวดว่า


พิมพัง (ขื่อเดิมของ ดร.อัมเบดการ์) สรณัง คัจฉามิ อยู่จนทุกวันนี้.

(หมายเหตุ: "พิมพัง" เป็นขื่อเดิมของ ดร.อัมเบดการ์)






อ้างอิงที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=inthedark&month=31-07-2007&group=22&gblog=15
99  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ครูอาจารย์ อยู่กับเราไม่นาน แม้เราก็มีชีวิตไม่นาน ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 06:22:55 pm
ตอนนี้ผมหยุดการศึกษาในตำราแล้ว ครับ

หันมาใช้ชีวิตช่วง สุดท้าย กับการภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครับ

ครูอาจารย์ นั้น ท่านอยู่ไม่นานครับ รีบขวนขวายการภาวนา เถอะครับ




       ผมเป็นคนหนึ่งที่ศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติธรรมมาด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ชีวิตในช่วงเยาว์นั้นสนใจในเรื่อง

พุทธประวัติ และปฏิปทาวัตรปฏิบัติของพระอริยะสงฆ์สายวัดป่านับเริ่มแต่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล,หลวงปู่มั่น ภูริฑตฺ

โต,หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ,หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม,หลวงปู่ขาว อนารโย,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร,หลวงปู่เทสน์ เท

สรงฺสี,หลวงปู่ชา สุภทฺโท,หลวงปู่ดุลย์ อตุโล,หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ณ วันนี้ผมทิ้ง

หมดไม่ขวนขวายที่จะตามรู้ตามค้น มันไม่ต่างอะไรกับนักส่องพระรู้หมดทุกรุ่นทุกคณาจารย์แต่ใจไม่ซึ้งถึงแก่น

แท้แก่นธรรมนำตนคนอื่นไม่ได้ ได้แต่คุยข่มถมคนอื่นเป็นนักรู้อยู่อย่างนั้น ผมผ่านการบวชเรียนมาแล้วไม่ชอบ

เรียนไวยากรณ์มคธพจน์วจนะ แต่แอบอ่านเรียนรู้ธรรมบทพจน์ภาษาที่เราพอใจซึ้งถึงแก่นธรรมจำมาจนทุกวันนี้

ซึ่งก็ทิ้ง เมื่อมาเจอะเจอกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

       ผมและเพื่อนๆ ตะลอนๆ ท่องเที่ยวหาครูบาอาจารย์ไปทั่วได้สนทนาธรรมบ้าง ไม่ได้บ้าง ได้อะไรก็แค่ทำ

ทานกับพระสงฆ์สุปฏิปันโน โดยเฉพาะหลวงปู่เณรคำ ฉตฺติโก วัดป่าขันติธรรม อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ผมดั้น

ด้นไปหาอยู่หลายครั้งที่สุดได้เพียงคำว่า “ธรรมะมีอยู่ในทุกที่ ไม่ต้องมาหาหลวงปู่ถึงที่วัดก็ได้” จากวันนั้นผมก็

เข้าใจและขวนขวายที่จะเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็ด้วยเหตุว่ากรรมฐานหลากหลายรูปแบบในหลาย

สำนักผมลองมาหมด แต่จะถนัดอานาปานสติ (เข้า “พุท” ออก “โธ”) สายหลวงปู่มั่น สิ่งที่ผมได้ก็เพียง ปิติ

ธรรม จำมาจนทุกวันนี้ แสวงหาคำตอบไม่ได้เลยจากการอ่านถาม จนในที่สุดพบพระอาจารย์องค์สำคัญ ณ กึ่ง

พุทธกาลนี้ก็ว่าได้ที่ให้คำตอบได้ชี้นำปฏิบัติได้และเห็นผลจริงผมพิสูจน์ประจักษ์มาแล้วด้วยตนเอง

       ณ.กึ่งพุทธกาลนี้กรรมฐานที่สำคัญเป็นหลักแก่นวิชาการลำดับเป็นขั้นเป็นตอนทั้งในเชิงปริยัติ ปฏิบัติ และ

ปฏิเวธ ที่ไม่ควรปรามาสคือ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ผมไปศึกษาตามรู้ตามเรียนเท่าที่ฟังครูบาอาจารย์

ดังๆ ก็ไม่ได้อะไรมาก หลายคนชอบใจแม้กับเพื่อนๆ ผมเองก็แค่ได้ทำบุญ แต่คนใฝ่รู้ใฝ่ปฏิบัติจริงๆ อย่างผมผิด

หวังอย่างแรงไม่ได้อะไรเลยกลับมางมกับตัวเองต่อไป ผมกำลังจะบอกว่ามาเรียนกรรมฐาน มาภาวนา ใกล้ครูบา

อาจารย์ที่ชี้นำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์มีที่มาที่ไปชัดเจน มีพระอริยคณาจารย์เป็นตำนานมากมายก็ พระกรรมฐาน

มัชฌิมา แบบลำดับ นี้เท่านั้น เราท่านทั้งหลายมาถูกทางแห่งวิถีมรรควิถีผลแล้วอย่าพลาดพลั้งเดินเลยไปชีวิตนี้

ไม่นาน ลาถ ยศ สุข สรรเสริญ ไม่จีรัง มาสร้างสมอบรมวาสนาบารมีธรรมเป็นกำลังให้แก่ตนเองกันเถอะครับ

       ทั้งหมดที่กล่าวมาก็ล้วนกล่าวเล่าความจากประสบการณ์ของผมเองทั้งสิ้น จริงเท็จก็ก้าวเดินมาแล้วครึ่งชีวิต

นี้สำหรับผม...สวัสดี
100  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / นายถาวร พรหมมีชัย VS โรงพยาบาลเสาไห้ จัดงาน “ลานธรรมสู่ลานบุญ” เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2010, 05:38:04 pm
นายถาวร  พรหมมีชัย   ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี

   

ร่วมกับ   

โรงพยาบาลเสาไห้ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.สระบุรี


 
จัดงาน  “ลานธรรมสู่ลานบุญ”

ณ. ศาลากลางจังหวัดสระบุรี

วันที่ 14 กรกฏาคม พ.ศ.2553 : ตั้งแต่เวลา 16.00 น.-21.30 น.


โดยอาราธนานิมนต์  “หลวงปู่เณรคำ  ฉตฺติโก”

แห่งวัดป่าขันติธรรม แสดงธรรม



ขอเชิญศรัทธาสาธุชนร่วมฟังธรรมเทศนา...โดยพร้อมเพรียงกัน.

โอกาสนี้สามารถขอรับวัตถุมงคล

"พระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต"

ได้ในวันงาน


101  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทศชาติชาดก (เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว) เมื่อ: มิถุนายน 13, 2010, 07:37:00 pm
พระเตมีย์ชาดก (บำเพ็ญเนกขัมมบารมี)



พระ ราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้ากาสิกราช ครองเมืองชื่อว่า พาราณสี มีพระมเหสี พระนาม

ว่า จันทรเทวี พระราชาไม่มีพระราชโอรสที่จะครองเมืองต่อจากพระองค์ จึงโปรดให้ พระนางจันทรเทวีทำพิธีขอ

พระโอรสจากเทพเจ้า พระนางจันทรเทวีจึงทรงอธิษฐานว่า

"ข้าพเจ้าได้รักษาศีล บริสุทธิ์ตลอดมา ขอให้บุญกุศลนี้บันดาลให้ข้าพเจ้ามีโอรสเถิด"

ด้วย อานุภาพแห่งศีลบริสุทธิ์ พระนางจันทรเทวีทรงครรภ์ และประสูติพระโอรสสมดังความปราถนา พระโอรส มี

รูปโฉม งดงามยิ่งนัก ทั้งพระราชาพระมเหสี และประชาชนทั้งหลาย มีความยินดีเป็นที่สุด พระราชาจึงตั้งพระนาม

โอรสว่า เตมีย์ แปลว่า เป็นที่ยินดีของคนทั้งหลาย บรรดาพราหมณ์ผู้รู้วิชาทำนายลักษณะบุคคล ได้กราบทูล

พระราชาว่า พระโอรสองค์นี้มีลักษณะประเสริฐ เมื่อเติบโตขึ้น จะได้เป็นพระราชาธิราชของมหาทวีปทั้งสี่ พระ

ราชาทรงยินดี เป็นอย่างยิ่ง และทรงเลือกแม่นมที่มีลักษณะดีเลิศตามตำรา จำนวน 64 คน เป็นผู้ปรนนิบัติเลี้ยงดู

พระเตมีย์กุมาร วันหนึ่ง พระราชาทรงอุ้มพระเตมีย์ไว้บนตัก ขณะที่กำลัง พิพากษาโทษผู้ร้าย 4 คน พระราชา

ตรัสสั่งให้เอาหวาย ที่มีหนามแหลมคมมาเฆี่ยนผู้ร้ายคนหนึ่ง แล้วส่งไปขังคุก ให้เอาฉมวกแทงศีรษะผู้ร้ายคนที่

สาม และให้ใช้หลาว เสียบผู้ร้ายคนสุดท้าย

       พระเตมีย์ซึ่งอยู่บนตักพระบิดาได้ยินคำพิพากษาดังนั้น ก็มีความตกใจหวาดกลัว ทรงคิดว่า

"ถ้า เราโต ขึ้นได้เป็นพระราชา เราก็คงต้องตัดสินโทษผู้ร้ายบ้างและคงต้องทำบาป เช่นเดียวกัน

นี้ เมื่อเราตายไป ก็จะต้องตกนรกอย่างแน่นอน"


       เนื่อง จากพระเตมีย์เป็นผู้มีบุญ จึงรำลึกชาติได้และทรงทราบว่า ในชาติก่อนได้เคยเป็นพระราชาครอง

เมือง และได้ตัดสินโทษ ผู้ร้ายอย่างเดียวกันนี้ เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์จึงต้องตกนรก อยู่ถึง 7,000 ปี ได้รับ 

ความทุกข์ทรมาณเป็นอันมาก พระเตมีย์ทรงมีความหวาดกลัวอย่างยิ่ง ทรงรำพึงว่า

   "ทำอย่างไร หนอ เราจึงจะไม่ต้องทำบาป และไม่ต้องตกนรกอีก"

       ขณะนั้นเทพธิดาที่รักษาเศวตฉัตรได้ยินคำรำพึงของพระเตมีย์ จึงปรากฏกายให้พระองค์เห็นและแนะนำ

พระเตมีย์ว่า

   "หาก พระองค์ทรงหวั่นที่จะกระทำบาป ทรงหวั่นเกรงว่าจะตกนรก ก็จงทำเป็น หูหนวก เป็นใบ้

และเป็นง่อยเปลี้ย อย่าให้ชนทั้งหลาย รู้ว่าพระองค์เป็นคนฉลาด เป็นคนมีบุญ พระองค์ จะต้องมีความอดทน ไม่

ว่าจะได้รับความเดือดร้อนอย่างใดก็ต้องแข็งพระทัย ต้องทรงต่อสู้ กับพระทัย ตนเองให้จงได้ อย่ายอมให้สิ่งหนึ่ง

สิ่งใดมาชักจูงใจ พระองค์ไปจากหนทางที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้"


       พระเตมีย์กุมารได้ยินเทพธิดาว่าดังนั้น ก็ดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า

"ต่อไปนี้ เราจะทำตนเป็นคนใบ้ หูหนวก และง่อยเปลี้ย ไม่ว่าจะมีเรื่องอันใดเกิดขึ้น เราก็จะ ไม่

ละความตั้งใจเป็นอันขาด"


       นับ แต่นั้นมา พระเตมีย์ก็ทำพระองค์เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้ และเป็นง่อย ไม่ร้อง ไม่พูด ไม่หัวเราะ และ

ไม่เคลื่อนไหว ร่างกายเลย พระราชาและพระมเหสีทรงมีความวิตกกังวล ในอาการของพระโอรส ตรัสสั่งให้พี่

เลี้ยงและแม่นมทดลอง ด้วยอุบายต่างๆ เช่น ให้อดนม พระเตมีย์ก็ทรงอดทน ไม่ร้องไห้ ไม่แสดงความหิวโหย

ครั้นพระราชาให้พี่เลี้ยง เอาขนมล่อ พระเตมีย์ก็ไม่สนพระทัย นิ่งเฉยตลอดเวลา พระราชาทรงมีความหวังว่า พระ

โอรสคงไม่ได้หูหนวก เป็นใบ้ และง่อยเปลี้ยจริง จึงโปรดให้ทดลอง ด้วยวิธีต่างๆ เป็นลำดับ เมื่ออายุ 2 ขวบ เอา

ผลไม้มาล่อ พระกุมารก็ไม่สนพระทัย อายุ 4 ขวบ เอาของเสวยรสอร่อยมาล่อ พระกุมารก็ไม่สนพระทัย อายุ

5 ขวบ พระราชาให้เอาไฟมาขู่ พระเตมีย์ก็ไม่แสดงความ ตกใจกลัว อายุ 6 ขวบ เอาช้างมาขู่ อายุ 7 ขวบ เอางู

มาขู่ พระเตมีย์ก็ไม่หวาดกลัว ไม่ถอยหนีเหมือนเด็กอื่นๆ พระราชาทรงทดลองด้วยวิธีการต่างๆเรื่อยมา จนพระเต

มีย์ อายุได้ 16 พรรษา ก็ไม่ได้ผล พระเตมีย์ยังทรงทำเป็นหูหนวก ทำเป็นใบ้ และไม่เคลื่อนไหวเลย ตลอด

เวลา 16 ปี

       ในที่สุด พระราชาก็ให้หาบรรดาพราหมณ์และที่ปรึกษาทั้งหลายมาและตรัสถามว่า

"พวก เจ้าเคยทำนายว่า ลูกเราจะเป็น ผู้มีบุญ เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อลูกเรามีอาการเหมือน

คน หูหนวก เป็นใบ้ และเป็น ง่อยเช่นนี้ เราจะทำอย่างไรดี"


พราหมณ์และที่ปรึกษาพากันกราบทูลว่า

   "เมื่อ ตอนที่ประสูตินั้นพระโอรส มีลักษณะเป็นผู้มีบุญ แต่บัดนี้ เมื่อได้กลับกลายเป็นคนหู

หนวก เป็นใบ้ เป็นง่อย ก็กลายเป็นกาลกิณีจะ ทำให้บ้านเมืองและประชาชนเดือดร้อน ขอให้พระองค์สั่งให้นำ

พระโอรสไปฝังที่ป่าช้าเถิดพะย่ะค่ะ จะได้สิ้นอันตราย"


       พระราชาได้ยินดังนั้น ก็ทรงเศร้าพระทัยด้วยความรักพระโอรส แต่ก็ไม่อาจแก้ไขอย่างไรได้ เพราะเป็น

ห่วงบ้านเมืองและ ประชาชน จึงต้องทรงทำตามคำกราบของพราหมณ์และ ที่ปรึกษาทั้งหลาย พระนางจันทเทวี

ทรงทราบว่า พระราชาให้นำ พระโอรสไปฝังที่ป่าช้า ก็ทรงร้องไห้คร่ำครวญว่า

   "พ่อ เตมีย์ลูกรัก ของแม่ แม่รู้ว่าลูกไม่ใช่คนง่อยเปลี้ย ไม่ใช่คนหูหนวก ไม่ใช่คนใบ้ ลูกอย่า

ทำอย่างนี้เลย แม่เศร้าโศกมา ตลอดเวลา 16 ปีแล้ว ถ้าลูกถูกนำไปฝัง แม่คงเศร้าโศกจนถึงตายได้นะลูก

รัก"


       พระเตมีย์ได้ยินดัง นั้นก็ทรงสงสารพระมารดาเป็นอันมาก ทรงสำนึกในพระคุณของพระมารดา แต่ในขณะ

เดียวกันก็ทรงรำลึกว่า พระองค์ตั้งพระทัยไว้ว่า จะไม่ทำการใดที่จะทำให้ต้องไปสู่นรกอีก จะไม่ทรงยอมละความ

ตั้งใจที่จะทำเป็นใบ้ หูหนวก และเป็นง่อย จะไม่ยอมให้สิ่งใดมาชักจูงใจพระองค์ ไปจากหนทางที่ทรงวางไว้แล้ว

นั้นเป็นอันขาด

       พระราชาจึงตรัสสั่งให้ นายสารถีชื่อ สุนันทะ นำพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้า พาไปที่ป่าช้าผีดิบ ให้ขุดหลุม

แล้วเอาพระเตมีย์โยนลงไปในหลุมเอาดินกลบเสียให้ตาย นายสุนันทะจึงทรงอุ้มพระเตมีย์ขึ้นรถเทียมม้าพาไปที่

ป่าช้าผีดิบเมื่อไปถึง ป่าช้านายสุนันทะก็เตรียม ขุดหลุมจะฝังพระเตมีย์ พระเตมีย์กุมารประทับอยู่บนราชรถ ทรง

รำพึงว่า

   "บัด นี้เราพ้นจากความทุกข์ ว่าจะต้องเป็นพระราชา พ้นความทุกข์ว่า จะต้องทำบาป เราได้อด

ทนมาตลอดเวลา 16 ปี ไม่เคยเคลื่อน ไหวร่างกายเลย เราจะลองดูว่า เรายังคงเคลื่อนไหวได้หรือไม่ มีกำลังร่าง

กายสมบูรณ์หรือไม่"


       รำพึงแล้ว พระเตมีย์ก็เสด็จลงจากราชรถ ทรงเคลื่อนไหว ร่างกาย ทดลองเดินไปมา ก็ทราบว่า ยังคงมี

กำลังร่างกาย สมบูรณ์เหมือนคนปกติ จึงทดลองยกราชรถ ก็ปรากฏว่าทรงมีกำลังยกราชรถขึ้นกวัดแกว่ง ได้

อย่างง่ายดาย จึงทรงเดินไปหา นายสุนันทะที่กำลังก้มหน้าก้มตาขุดหลุมอยู่ พระเตมีย์ตรัสถาม นายสุนันทะว่า

   "ท่านเร่งรีบขุดหลุมไปทำไม"

นายสุนันทะตอบ คำถามโดยไม่ได้เงยหน้าขึ้นดูว่า

   "เรา ขุดหลุมจะฝังพระโอรส ของพระราชา เพราะพระโอรสเป็นง่อย เป็นใบ้ และหูหนวก พระ

ราชาตรัสสั่งให้ฝัง เสีย จะได้ไม่เป็นอันตรายแก่บ้านเมือง"


พระเตมีย์จึงตรัสว่า

   "เราไม่ได้เป็นใบ้ ไม่ได้หูหนวก และไม่ง่อยเปลี้ย จงเงยขึ้นดูเราเถิด ถ้าท่านฝังเราเสีย ท่านก็

จะประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม"


       นายสารถีเงยขึ้นดู เห็นพระเตมีย์ก็จำไม่ได้ จึงถามว่า

   "ท่านเป็นใคร ท่านมีรูปร่าง งามราวกับเทวดา ท่านเป็นเทวดาหรือ หรือว่าเป็นมนุษย์ ท่านเป็น

ลูกใคร ทำอย่างไร เราจึงจะรู้จักท่าน"


       พระเตมีย์ตอบว่า

   "เรา คือเตมีย์กุมาร โอรสพระราชา ผู้เป็นนายของท่าน ถ้าท่านฝังเราเสียท่านก็จะได้ชื่อว่า ทำ

สิ่งที่ไม่เป็นธรรม พระราชาเปรียบเหมือนต้นไม้ ตัวเราเปรียบเหมือนกิ่งไม้ ท่านได้อาศัยร่มเงาไม้ ถ้าท่านฝังเรา

เสีย ท่านก็ได้ชื่อว่า ทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม นายสารถียังไม่เชื่อว่าเป็นพระกุมารที่ตนพามา พระเตมีย์ทรง ประสงค์

จะให้นายสารถีเชื่อ จึงตรัสอธิบาย ให้เห็นว่าหาก นายสารถีจะฝังพระองค์ก็ได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร ทรงอธิบายว่า "ผู้

ไม่ทำร้ายมิตร จะไปที่ได ก็มีคนคบหามาก จะไม่อดอยาก ไปที่ใดก็มีผู้สรรเสริญบูชา โจรจะไม่ข่มเหง พระราชา

ไม่ดูหมิ่น จะเอาชนะศัตรูทั้งปวงได้ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร เมื่อมาถึงบ้านเรือนของตน หมู่ญาติและประชาชน จะพากัน

ชื่นชมยกย่อง ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ย่อมได้รับการสักการะ เพราะเมื่อสักการะท่านแล้ว ย่อมได้รับการสักการะตอบ

เมื่อเคารพบูชาท่านแล้ว ย่อมได้รับการเคารพตอบ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ย่อมรุ่งเรืองเหมือนกองไฟรุ่งโรจน์ ดังเทวดา

เป็นผู้มีมิ่งขวัญสิริมงคลประจำตนอยู่เสมอ ผู้ไม่ทำร้ายมิตร จะทำการใดก็สำเร็จผล โคจะมีลูกมาก หว่านพืชลงใน

นา ก็จะงอกงาม แม้จะพลัดตกเหว ตกจากภูเขา ตกจากต้นไม้ ก็จะไม่เป็นอันตราย ผู้ไม่ทำร้ายมิตร ศัตรูไม่อาจ

ข่มเหงได้ เพราะเป็นผู้มีมิตรมาก เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่มีราก ติดต่อพัวพัน ลมแรงก็ไม่อาจทำร้ายได้ "



       นายสารถีได้ยินพระเตมี ย์ตรัส ยิ่งเกิดความสงสัย จึงเดินมาดูที่ราชรถ ก็ไม่เห็นพระกุมารที่ตนพามา ครั้น

เดินกลับมาพินิจพิจารณาพระเตมีย์อีกครั้งก็จำได้ จึงทูลว่า "ข้าพเจ้าจะพาพระองค์กลับวัง ขอเชิญ

เสด็จกลับไป ครองพระนครเถิด"

 

       พระเตมีย์ตรัสตอบว่า

" เราไม่กลับไปวัง อีกแล้ว เราได้ตัดขาดจากความ ยินดีในสมบัติทั้งหลาย เราได้ตั้งความอดทน

มาเป็นเวลาถึง 16 ปี อันราชสมบัติ ทั้ง พระนครและความสุข ความรื่นเริงต่างๆ เป็นของน่าเพลิดเพลิน แต่าเรา

ไม่ปรารถนาจะหลงอยู่ในความเพลิดเพลินนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำบาปอีก เราจะไม่ก่อเวรให้เกิดขึ้นอีกแล้ว บัด

นี้เราพ้นจากภาระนั้นแล้ว เพราะพระบิดาพระมารดา ปล่อยเราให้พ้นจากราชสมบัติมาแล้ว เราพ้นจากความ

หลงใหล ในกิเลสทั้งหลาย เราจะขอบวชอยู่ในป่านี้แต่ลำพัง เราต่อสู้ได้ชัยชนะในจิตใจของเราแล้ว"

 
       เมื่อตรัสดังนั้น พระเตมีย์กุมารมีความชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง รำพึงกับพระองค์เองว่า

"ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี"

       นายสุนันทะสารถีได้ฟัง ก็เกิดความยินดี ทูลพระเตมีย์ว่า จะขอบวชอยู่กับพระเตมีย์ในป่า แต่พระองค์ เห็น

ว่าหากนายสารถีไม่กลับไปเมือง จะเกิดความสงสัยว่าพระองค์ หายไปไหน ทั้งนายสารถี ราชรถ เครื่องประดับทั้ง

ปวงก็สูญหายไป ควรที่นายสารถีจะนำสิ่งของทั้งหลายกับไปพระราชวัง ทูลเรื่องราวให้พระราชาทรงทราบเสีย

ก่อน แล้วจึงค่อยกลับมา บวชเมื่อหมดภาระ นายสุนันทะจึงกลับไปกราบทูลพระราชาว่า พระเตมีย์กุมาร มิได้วิกล

วิการ แต่ทรงมีรูปโฉมงดงามและ ตรัสได้ไพเราะ เหตุที่แสร้งทำเป็นคนพิการก็เพราะไม่ปรารถนาจะครองราช

สมบัติ ไม่ปรารถนาจะก่อ เวรทำบาปอีกต่อไป

       เมื่อพระราชาและพระ มเหสีได้ทรงทราบ ก็ทรงปลื้มปิติยินดี โปรดให้จัดกระบวนไปรับพระเตมีย์กลับจาก

ป่า ขณะนั้น พระเตมีย์ทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในบรรณศาลาซึ่งเทวดา เนรมิตไว้ให้ เมื่อพระบิดา พระมารดา

เสด็จไปถึง พระเตมีย์จึงเสด็จมาต้อนรับ ทักทายปราศรัยกันด้วยความยินดี พระราชาเห็นพระโอรสผนวชเป็น

ฤาษี เสวยใบไม้ลวก เป็นอาหาร และประทับอยู่ลำพังในป่า จึงตรัสถามว่าเหตุใด จึงยังมีผิวพรรณผ่องใส ร่างกาย

แข็งแรง พระเตมีย์ตรัส ตอบพระบิดาว่า "อาตมามีร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส เพราะไม่

ต้องเศร้าโศกถึงอดีต ไม่ต้องรอคอยอนาคต อาตมาใช้ชีวิตให้เป็นไปตามที่สมควรในปัจจุบัน คนพาลนั้นย่อมซูบ

ซีดเพราะมัวโศกเศร้าถึงอดีต เพราะมัวรอคอยอนาคต"


       พระราชาตรัสตอบว่า

"ลูกยังหนุ่มยังแน่นแข็งแรง จะมามัวอยู่ทำอะไรในป่า กลับไปบ้านเมืองเถิดกลับ ไปครองราช

สมบัติ มีโอรสธิดา เมื่อชราแล้วจึงค่อยมาบวช"


       พระเตมีย์ตรัสตอบว่า "การ บวชของคนหนุ่มย่อมเป็นที่สรรเสริญ ใครเล่าจะนอนใจได้ว่ายังเป็นหนุ่ม ยังอยู่

ไกลจากความตาย อายุคนนั้นสั้นนัก เหมือนอายุของปลาในเวลาที่น้ำน้อย"

       พระราชาตรัสขอให้พระเตมีย์กลับไปครองราชสมบัติ ทรงกล่าวชักชวนให้นึกถึงความสุขสบายต่างๆ

พระเตมีย์จึงตรัสตอบว่า "วัน คืนมีแต่จะล่วงเลยไป ผู้คนมีแต่ จะแก่ เจ็บและตาย จะเอาสมบัติไป

ทำอะไร ทรัพย์สมบัติและ ความสุขทั้งหลายเอาชนะความตายไม่ได้ อาตมาพ้นจาก ความผูกพันทั้งหลายแล้ว

ไม่ต้องการทรัพย์สมบัติอีกแล้ว"


       เมื่อพระราชาได้ยินดัง นั้น จึงเห็นประโยชน์อันใหญ่ยิ่ง ในการออกบวช ทรงประสงค์ที่จะละทิ้งราชสมบัติ

ออกบวช พระมเหสี และเสนาข้าราชบริพารทั้งปวง รวมทั้งบรรดา ประชาชนทั้งหลายในเมืองพาราณสี ก็พร้อมใจ

กันออกบวช บำเพ็ญเพียรโดยทั่วหน้ากัน เมื่อตายไปก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความผูกพัน ในโลกมนุษย์ ทั้ง

นี้เป็นด้วยพระเตมีย์กุมาร ทรงมีความอดทนมีความตั้งใจ อันมั่นคงแน่วแน่ในการที่ไม่ก่อเวร ทำบาป ทรงมุ่งมั่น

อดทน จนประสบผลสำเร็จดังที่หวัง เหมือนดังที่ทรงรำพึงว่า

   " ผู้ที่ไม่ใจเร็วด่วนได้ ผู้ที่มีความอดทน ย่อมได้รับผลสำเร็จด้วยดี "
 

คติธรรม : บำเพ็ญเนกขัมมบารมี

"เมื่อ มีประสงค์ในสิ่งใดก็สมควรมุ่งมั่นตั้งใจกระทำตามความมุ่งหมายนั้นอย่างหนัก

แน่น อดทนอย่างเพียรพยายามเป็นที่สุด และความพากเพียรอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่นั้น ย่อมนำบุคคลนั้นไปสู่ความ

สำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง"




102  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / ศูนย์ศึกษาปฏิบัติ "พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สระบุรี" เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2010, 01:13:30 pm
  :043:    :25:    :043:
:015:ผมมีโอกาสไปศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรมบ้านโค้งดารา จ.ชลบุรี ทำให้มีแนวคิดว่า หากเราท่าน

ทั้งหลายผู้มีวาสนาในธรรม ในพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จะมาร่วมด้วยช่วยฟื้นฟู พระกรรมฐาน

มัชฌิมา แบบลำดับ ในกึ่งพุทธกาลนี้กับครูบาอาจารย์ เป็นไปได้ไหม ที่เราท่านทั้งหลายจะสามารถสร้าง ศูนย์

ศึกษาปฏิบัติ "พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สระบุรี" ให้เป็นมรดกธรรมตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลัง นี่เป็น

เพียงความคิด ความตั้งใจ ที่เล็งแลเห็นคุณค่าแห่งธรรมที่มีไว้ค้ำจุนโลก หากอาศัยสถานที่อาวาสใดนั้นด้วยอาศัย

ความเป็นไปของโลกธรรมเกรงว่าจะต้องต่อสู้กับทิฏฐิอันคับแคบของปุถุชนแม้บรรพชิตและฆราวาสที่ยังเป็นเสขะ

บุคคล หลายท่านชอบแสวงหาป่า เขา ถ้ำ ธารน้ำตก อันสัปปายะ เพื่อเจริญภาวนา แต่ธรรมะย่อม

ต้องอยู่กับคน
คนอยู่ในเมืองธรรมะย่อมต้องอยู่ในเมือง ผมใคร่อยากให้ธรรมะอยู่กับคนในเมือง ยิ่งมี

ครูบาอาจารย์ที่มีภูมิรู้ภูมิธรรมสูงชี้นำได้ ผมฝันให้มี ศูนย์ศึกษาปฏิบัติ "พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

สระบุรี" ใครมีความคิดดีดี บอกกล่าวชักนำใครมาร่วมด้วยช่วยกันได้เป็นมหากุุศลใหญ่เท่ากับเราสืบสานรักษา

พระศาสนารักษาพระธรรมคำสอนให้อยู่ถ้วนทั่ว ๕,๐๐๐ พระวัสสา ได้ทำหน้าที่พุทธบริษัท ไม่เสียทีที่เกิดมาได้

สร้างบารมี ไม่เป็นโมฆะบุคคล ผู้ว่างเปล่าจากกุศล


:015:หากเราให้ธรรมทิ้งเมืองไปอยู่ป่า คนก็จะยิ่งทิ้งธรรม ครูบาอาจารย์ดีดีมีแต่หนีเข้าป่า เรา

มาช่วยกันรักษาครูบาอาจารย์ให้ท่านอยู่ช่วยชี้นำเรากันในเมืองเถอะครับ ฝันที่จะมีศูนย์ศึกษาปฏิบัติ "พระ

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สระบุรี" เป็นไปได้ไหม? ผมขอนำธรรมะหลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต ที่เราท่านรู้จักและ

ให้ความเคารพศรัทธาและเชื่อว่าท่านเป็นพระขีณาสพมาให้เราท่านพินิจกัน ดังนี้




"คนไม่สนใจธรรม ธรรมก็ไม่เข้าถึงใจคน

จึงกลายเป็นคนก็สักว่าคน ธรรมก็สักว่าธรรม

ไม่อาจยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ แม้คนจะมีจำนวนมาก และ

แสดงธรรมให้ฟังทั้งพระไตรปิฎก จึงเป็นเหมือนเทน้ำใส่หลังหมา

มันสลัดออกเกลี้ยงไม่มีเหลือ ธรรมจึงไม่มีความหมายในใจของคน

เหมือนน้ำไม่มีความหมายบนหลังหมา ฉะนั้น"


 
                                                      หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



103  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / โพสต์ภาพไม่ได้ยากมากครับ.! เมื่อ: เมษายน 24, 2010, 05:51:07 pm
:signspamani:  :banghead: ขออภัย...ที่รบกวนทราบว่าเวลาไม่ค่อยมี
ผมพยายามโพลล์ภาพแต่ไม่สำเร็จ และไม่เข้าใจ
วิธีการที่ให้ไว้ในเว็บ...จะทำอย่างไรดี...เฮ้อ
--------------------------------------------------
 :41:  :91:  :33:
--------------------------------------------------
 :17:
หน้า: 1 2 [3]