ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายที่แท้จริง ของ คำว่า “สัมภเวสี”  (อ่าน 1164 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





ความหมายที่แท้จริง ของ คำว่า “สัมภเวสี”

”สัมภเวสี” {สมฺภเวสี=สมฺภวสทฺทูปปท+เอส เอสเน+ณี} แปลว่า สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด หมายถึง ปุถุชน (ชนผู้หนาด้วยกิเลส) รวมถึงพระอริยะที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ซึ่งยังเป็นผู้ที่จะต้องเกิดอยู่ด้วยอำนาจของอวิชชาและตัณหาที่เป็นเหตุประกอบในภพยังเหลืออยู่ อรรถกถากรณียเมตตสูตร ได้อธิบายไว้ดังนี้

สมฺภวเมสนฺตีติ สมฺภเวสี. อปฺปหีนภวสํโยชนตฺตา อายติมฺปิ สมฺภวํ เอสนฺตานํ เสขปุถุชฺชนานเมตํ อธิวจนํ.(1)

@@@@@@@

แปลความว่า :-
สัตว์เหล่าใด แสวงหาที่เป็นแดนเกิดอยู่ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า “สัมภเวสี”คำนี้ เป็นชื่อของพระเสขะ (โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี) และปุถุชนทั้งหลาย ที่กำลังแสวงหาที่เกิด แม้ในกาลต่อไป เพราะความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีภวสังโยชน์ที่อันตนไม่ละแล้ว.

แปลยกศัพท์ว่า :-
(เย สตฺตา) อ.สัตว์ ท. เหล่าใด เอสนฺติ แสวงหาอยู่ สมฺภวํ ซึ่งแดนเกิด, (เต สตฺตา) อ.สัตว์ ท. เหล่านั้น สมฺภเวสี ชื่อว่า สมฺภเวสี, สตฺตา. (สัตว์ผู้แสวงหาแดนเกิด),

เอตํ (วจนํ) อ.คำ นี้ อธิวจนํ เป็นชื่อ เสขปุถุชฺชนานํ ของพระเสขบุคคลและปุถุชน ท. เอสนฺตานํ ผู้แสวงหาอยู่ สมฺภวํ ซึ่งแดนเกิด (เตสํ เสขปุถุชฺชนานํ อตฺตนา) อปฺปหีนภวสํโยชนตฺตา เพราะความที่-แห่งพระเสขบุคคลและปุถุชน ท. เหล่านั้น-เป็นผู้มีภวสังโยชน์อัน-อันตน-ไม่ละแล้ว.




หมายเหตุ : (1) ขุ.ขุ.อ. ๑๗/๕/๒๒๑ (สฺยา.), สารตฺถสมุจฺจย. จตุภาณวาร. อฏฺ. ข้อ ๔๖ หน้า ๒๗๒ (มจร.)
พระไตรปิฎกศึกษา, พุทธธรรม, พุทธศาสน์ในตำนานพระไตรปิฎกศึกษา, พุทธธรรม, สัมภเวสี
ขอบคุณ : dhamma.serichon.us/2020/12/08/ความหมายที่แท้จริง-ของค/
8 ธันวาคม 2020 ,By admin   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความหมายที่แท้จริง ของ คำว่า “สัมภเวสี”
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2020, 07:10:46 am »
0

 :25:

สั ม ภ เ ว สี
จากเว็บบ้านธัมมะ

คำว่า "สัมภเวสี" เป็นคำมาจากภาษาบาลี ว่า สมฺภเวสี (อ่านว่า  สำ-พะ-เว-สี) แปลว่า ผู้แสวงหาการเกิด, ผู้ยังต้องเกิด โดยที่ไม่มีการล่องลอยหาที่เกิดแต่อย่างใด เพราะตายแล้วเกิดทันทีสำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ {สมฺภเวสี  แยกศัพท์เป็น สมฺภว (การเกิด) กับคำว่า เอสี (ผู้แสวงหา) รวมกันเป็น สมฺภเวสี (ผู้แสวงหาการเกิด)} 

ใครก็ตามที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ได้ชื่อว่า เป็นสัมภเวสีทั้งหมด เพราะยังต้องเกิดอยู่ ตามข้อความในปปัญจสูทนี อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัมมาทิฏฐิสูตร ดังนี้

“เหล่าสัตว์ที่เสาะหา คือ แสวงหาการสมภพ คือ การเกิด ได้แก่การบังเกิดขึ้น ชื่อว่า สัมภเวสี. สัตว์เหล่าใด กำลังแสวงหาการเกิด สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สัมภเวสี, คำว่า สัมภเวสี นี้ เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนผู้กำลังแสวงหาการเกิดต่อไป เพราะยังละสังโยชน์ในภพไม่ได้ (คือ ละความติดข้องในภพ ยังไม่ได้)”

@@@@@@@

ชีวิตในแต่ละภพแต่ละชาตินั้น เป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรมเท่านั้น สภาพธรรมเหล่านั้น ได้แก่จิต(สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก(สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และ รูป  (สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่สภาพรู้)

เป็นความจริงที่ว่า สัตว์โลกที่ยังมีกิเลส มีตัณหาและอวิชชา เป็นต้น ก็ยังต้องมีการเกิดในภพต่างๆอยู่ร่ำไป เป็นผู้เดินทางในสังสารวัฏฏ์ จากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้า จากชาติหน้าก็ไปสู่ชาติต่อๆไปอีก ยังไม่พ้นไปจากความเป็นสัมภเวสี ซึ่งเป็นอย่างนี้มานานแล้ว เนื่องจากว่าเกิดมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เป็นมาแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง

และในชาตินี้ เมื่อละจากโลกนี้ไป ก็ต้องเกิดในภพใหม่อีก ขึ้นอยู่กับว่ากรรมใดจะให้ผลนำเกิด กล่าวคือ ถ้ากรรมดีให้ผล ก็ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ หรือเกิดเป็นเทวดา แต่ถ้าถึงคราวที่อกุศลกรรมให้ผลก็ทำให้เกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิ ถึงแม้จะเกิดเป็นอะไรก็ตาม ก็ยังต้องเดินทางต่อไปอีกในสังสารวัฏฏ์ เพราะบุคคลผู้ที่สิ้นสุดการเดินทางในสังสารวัฏฏ์แล้ว  ไม่ต้องเกิดอีก มีเพียงประเภทเดียวเท่านั้น คือ พระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง


@@@@@@@

การเกิดในภพหนึ่งชาติหนึ่งนั้น ไม่ยั่งยืนเลย สั้นมาก เกิดมาในแต่ภพแต่ละชาติ ต้องสิ้นสุดที่ความตายทั้งนั้น   แต่เมื่อยังไม่ได้ดับเหตุที่ทำให้เกิด คือ กิเลส ก็ต้องเกิดอีกในชาติต่อไปอย่างแน่นอน สำหรับการได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น เป็นผลของกุศลกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ยากแสนยาก

เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ยากแสนยากแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันดีงาม เพราะภูมิมนุษย์เป็นภูมิที่เอื้ออำนวยให้สามารถเจริญกุศลได้ทุกๆประการ ทั้งในเรื่องของการให้ทาน การรักษาศีล การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การอ่อนน้อมถ่อมตน การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญา เป็นต้น

และประการที่สำคัญที่สุด การที่ไม่จะประมาทจริงๆ คือ เห็นประโยชน์ของความเข้าใจพระธรรม ความเข้าใจพระธรรม จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงสำหรับชีวิต พึ่งได้ตั้งแต่ในเบื้องต้นจนกระทั่งสูงสุด คือ สามารถดับกิเลสได้ตามลำดับ   ซึ่งจะต้องไม่ขาดเหตุที่ทำให้ปัญญาเจริญขึ้น คือ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวันครับ ยินดีในความดีของทุกๆท่านครับ




ขอบคุณ : https://www.dhammahome.com/webboard/topic/31916
บทความของ khampan.a ,วันที่  3 มิ.ย. 2563
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ