ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ควรทำความไม่ประมาทในฐานะ 4  (อ่าน 832 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ควรทำความไม่ประมาทในฐานะ 4
« เมื่อ: มกราคม 02, 2021, 07:00:29 am »
0




ควรทำความไม่ประมาทในฐานะ 4

     1. พึงทำความไม่ประมาท โดยการรักษาจิตด้วยสติว่า ขอจิตของเราอย่าได้กำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
     2. พึงทำความไม่ประมาท โดยการรักษาจิตด้วยสติว่า ขอจิตของเราอย่าได้เกิดโทสะในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
     3. พึงทำความไม่ประมาท โดยการรักษาจิตด้วยสติว่า ขอจิตของเราอย่าได้เกิดลุ่มหลงในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง
     4. พึงทำความไม่ประมาท โดยการรักษาจิตว่า ขอจิตของเราอย่าได้เกิดมัวเมาในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

ในกาลใด จิตของภิกษุไม่เกิดกำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะปราศจากความกำหนัดอันเกิดจากการเจริญสติระลึกได้ฉับไว ทำให้สัมปชัญญะรู้เท่าทัน ในกาลนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหว ไม่สะดุ้ง ไม่คลั่งไคล้ อันอารมณ์นั้นๆจะครอบงำได้ แม้ในฐานะที่ 2-4 ก็มีนัยนี้แล (องฺ.จตุกฺก. 21/161/117)

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสสอนให้ทำความไม่ประมาทในการละกายทุจริต ด้วยการประพฤติกายสุจริต ในการละวจีทุจริต ด้วยการประพฤติวจีสุจริต ในการละมโนทุจริต ด้วยการประพฤติมโนสุจริต และในการละความเห็นผิด ด้วยการทำความเห็นให้ถูกตรงต่อความเป็นจริง (องฺ.จตุกฺก. 21/160/116)

@@@@@@@

ถามว่า : ความไม่ประมาท คืออะไร.?
ตอบว่า : คือ ความระวัง อันจะมีขึ้นได้ ก็ด้วยกำลังของสติที่ระลึกได้ฉับไว ทำให้สัมปชัญญะรอบรู้ได้เท่าทันกิเลสนั้นเอง สติที่ระลึกได้ฉับไวอันเกิดจากอบรมภาวนาจึงเป็นประธานในการระวัง เพราะถ้าสติไม่มีกำลังระลึกได้ฉับไว สัมปชัญญะก็ไม่มีโอกาสรอบรู้ได้เท่าทันกิเลส

เมื่อจัดเป็นศีล ข้อ 161 สติเป็นไปในทวารอินทรีย์ 6 มีทางตา ทางหู เป็นต้น เพื่อรับรู้อารมณ์ทางทวารนั้นๆ พร้อมกับทำกิจระวังจิตไม่ให้กำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นต้น ท่านเรียกว่า อินทรีย์สังวรศีล

ส่วนสติที่มีกำลังระลึกฉับไว ข้อ 160 ที่เป็นไปทางทวารกรรม พร้อมกับทำกิจระวังไม่ทำทุจริตทางกาย เป็นต้น ท่านเรียกว่า ปาติโมกขสังวรศีล (นิสสยอักษรปัลลวะ และอักษรสิงหล)




ขอบคุณ : dhamma.serichon.us/2020/12/08/ควรทำความไม่ประมาทในฐา/
พระไตรปิฎกศึกษา ,บทความของ สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ ,8 ธันวาคม 2020 ,posted by admin.   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ