ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อริยสจฺจาน ทสฺสนํ แปลว่า การเห็นอริยสัจ หรือเห็นความจริงอันประเสริฐทั้งสี่ประการ  (อ่าน 1378 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



การเห็นอริยสัจ | เห็นความจริงอันประเสริฐทั้งสี่ประการ
สูตรสำเร็จในชีวิต (43) : การเห็นอริยสัจ (1)

วันนี้ถึงสูตรสำเร็จข้อ อริยสจฺจาน ทสฺสนํ ที่ถูกคือ อริยสจฺจานํ ทสฺสนํ นิคหิต (สระ อํ) ที่ นํ หายไปนั้น มิใช่ท่านพิมพ์ผิด แต่เพราะฉันทลักษณ์บังคับตรงนี้ให้ใช้ลหุ แทนครุ อิรยจฺจานํ จึงเป็น อริยสจฺจาน ด้วยประการฉะนี้

ก็ไม่รู้จะอธิบายไวยากรณ์บาลีไปทำไม เพราะชาวบ้านทั่วไปเขาไม่ต้องการทราบลึกขนาดนั้น ต้องการรู้ว่าแปลว่าอย่างไรก็พอ ปล่อยผมสักวันเถอะครับ วันนี้อยากทำอะไรลึกๆ แบบขงเบ้งบ้าง

อริยสจฺจาน ทสฺสนํ แปลว่า การเห็นอริยสัจ หรือ เห็นความจริงอันประเสริฐทั้งสี่ประการ

เห็น ในที่นี้หมายถึงการเห็นด้วย “ตาใน” เป็นความสว่างโพลงภายใน เข้าใจถึงสภาวะทั้งหลายตามเป็นจริง ความรู้ระดับนี้มิใช่ระดับขี้ไก่ เป็นระดับ ยถาภูตยาณ (การหยั่งรู้ตามเป็นจริง) หรือ ธรรมจักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) ปุถุชนคนมีกิเลสถ้าเกิดความรู้เห็นระดับนี้ จะกลายเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบันทันที

@@@@@@@

ดังกรณีพระอัญญาโกณฑัญญะนั่นแหละ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง อัญญาโกณฑัญญะก็เกิดญาณ (การหยั่งรู้) ขึ้นมาว่า ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ แปลเป็นไทยว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา

ฝรั่งแปลว่า “Whatever is by nature to be born is by nature to be extinguished. เขมรแปลว่า… (ช่างเขมรมันเถอะนะ!)

การรู้เห็นระดับนี้แหละครับที่ประสงค์ในที่นี้ เมื่อรู้เห็นระดับนี้แล้ว ไม่มีทางตกต่ำ มีแต่จะแก่กล้าขึ้นไปเรื่อยๆ จนสามารถขจัดกิเลสเครื่องมัวหมองใจในที่สุด จะว่าไปแล้วสูตรสำเร็จข้อนี้เป็นความสำเร็จขั้นโลกุตระแล้ว มิใช่ความสำเร็จระดับโลกๆ


@@@@@@@

อริยสัจสี่ มีอะไรบ้าง คงรู้กันทุกคน เพราะเรียนมาตั้งแต่โรงเรียนมัธยม ทบทวนอีกก็ได้คือ

ทุกข์ มีปัญหาของชีวิตทุกรูปแบบที่เผชิญอยู่

สมุทัย สาเหตุของปัญหาชีวิต สรุปให้สั้นคือ “ตัณหา” ความทะยานอยากสามลักษณะคือ ยังไม่ได้ ยังไม่มี ยังไม่เป็น อยากได้ อยากมี อยากเป็น, ได้แล้วมีแล้วเป็นแล้ว ถ้ามันเป็นที่พอใจยากให้มันคงอยู่ตลอดไป และบางครั้งถ้าเบื่อขึ้นมาอยากหนีหรือสลัดทิ้งไป

นิโรธ การแก้ปัญหาได้ หรือการที่ปัญหาหมดไปโดยสิ้นเชิง

มรรค วิธีการแก้ปัญหา ได้แก่ มรรคแปดประการ สรุปให้สั้นคือ ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจ) ศีล (ควบคุมกาย-วาจาให้เรียบร้อย, ควบคุมพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความรู้นั้น) และ จิตต (คนไทยชอบเรียกว่าสมาธิ) (การควบคุมพลังจิตให้แน่วแน่มั่นคงต่อเป้าหมาย, การที่จิตมีคุณภาพ, สมรรถภาพและสุขภาพ)

@@@@@@@

รู้อริยสัจต้องรู้ครบวงจร คือ รู้ว่าทุกข์หรือปัญหาคืออะไร, ควรจะทำอย่างไร, ทำลงไปแล้วได้ผลอย่างไรก็รู้, ในเรื่องสมุทัย นิโรธ มรรคก็เช่นเดียวกัน รู้ครบวงจรอย่างนี้กิเลสจึงจะลดลงไปได้ บางคนสงสัยว่า ตนเองก็ท่องอริยสัจสี่ได้คล่อง ทำไมยังมีกิเลสอยู่เหมือนเดิม บางครั้งมีมากกว่าเดิมอีก

นั่นเพียงความรู้จำเท่านั้นเอง มิใช่การรู้เห็นอริยสัจดอกนะจะบอกให้ (ขอบคุณ คุณคำรณ หว่างหวังศรี ที่ให้ยืมวลีนี้มาใช้)




ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 25-31 ธันวาคม 2563
คอลัมน์ : เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ผู้เขียน : เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2563
ขอบคุณ : https://www.matichonweekly.com/column/article_386145
ขอบคุณภาพจาก : https://www.gotoknow.org/posts/648895
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

boiler

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า