ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "การทานมังสวิรัติ" ​เป็นศีล ข้อปาณาติบาต ​หรือไม่.​?  (อ่าน 713 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณภาพจาก https://www.healthandtrend.com/


"การทานมังสวิรัติ" ​เป็นศีล ข้อปาณาติบาต ​หรือไม่.​?

- การทานมังสวิรัติ ​เป็นศีลข้อปาณาติบาต​หรือไม่.​?
- จะใช่หรือไม่ ด้วยเหตุผลและหลักฐานอย่างไร.?​
- ตกลงปาณาติบาต​และมังสวิรัติ ​เป็นศีลประเภทไหนกันแน่.?
- แม้ทานซึ่งประพฤติ​ปฏิบัติได้ง่ายกว่า ยังมีนัย​ที่สุขุมลุ่มลึกให้ศึกษากันเลย แล้วไฉน​ศีลซึ่งประพฤติ​ปฏิบัติ​ได้ยากกว่า​ จะไม่มีความสุขุมลุ่มลึก​ให้ศึกษาเล่า.?

@@@@@@@

​ตัวอย่าง เช่น เมื่อกล่าวทานโดยเล็งถึงผลที่ประสงค์ ซึ่งทานหมวดนี้มักมีหมวดละ 2 อย่าง เป็นคู่กัน เช่น
     1. อามิสทานการให้วัตถุสิ่งของ ส่งผลให้มีทรัพย์สมบัติ
     2. ธรรมทาน การให้ความรู้ ส่งผลให้มีปัญญา

ทานคู่นี้ ธรรมทานประณีตกว่าอามิสทาน ดังมีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า ”สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ” แปลว่า “การให้ความรู้ชนะการให้ทั้งปวง”

     1. สาหัตถิกทานการให้ด้วยตนเอง ส่งผลให้มีทรัพย์สมบัติ แต่ไม่มีบริวาร
     2. อาณัตติกทาน การใช้ผู้อี่นให้ ส่งผลให้มีบริวาร แต่ไม่มีทรัพย์สมบัติ
     ทานคู่นี้ ต่างส่งผลพร่อง
     ถามว่า ถ้าต้องการได้ทั้งทรัพย์สมบัติ ได้ทั้งบริวารจะต้องทำทานเช่นไรเล่า.?
     ตอบว่า ต้องเป็นผู้นำชักชวนให้ผู้ร่วมทำทานด้วย เช่นกฐินสามัคคีเป็นต้น

     ทานหมวดสองคู่ต่อไป
     1. สัมปชานทาน การให้ด้วยความรอบรู้ในเรื่องของทานและผลของทาน ส่งผลให้มี ทั้งทรัพย์ทั้งความฉลาดรอบคอบ
     2. อสัมปชานทาน การให้โดยไม่มีความรอบรู้ในเรื่องของทานและผลของทาน ส่งผลให้มีทรัพย์ แต่ไม่มีความฉลาดรอบคอบ


@@@@@@@

เพื่อให้ท่านได้เห็นความรอบรู้ในเรื่องอกุศลกรรม มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น จักส่งผลให้ความฉลาดรอบคอบเกิดได้อย่างไร เป็นธรรมดาของมนุษย์ชีวิตต้องดำรงอยู่ด้วยอาหาร เมื่อไม่มีเงินซื้อกินก็ต้องดิ้นรนหาเอง เช่น ต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ มีปลาเป็นต้น ก็ต้องแสวงหาและฆ่ากินเอง

ถามว่า ระหว่างเนื้อสัตว์ที่ซื้อมาจากตลาด ที่เขาฆ่าและชำแหละเสร็จแล้ว กับเนื้อสัตว์ที่แสวงหาและฆ่าเอง มีองค์ของปาณาติบาต ต่างกันอย่างไร.?
ตอบว่า เนื้อสัตว์ที่ฆ่าเอง มีองค์ ปาณาติปาต ทั้ง 5 ครอบ คือ
     1. สัตว์นั้นมีชีวิต
     2. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชึวิต
     3. มีจิตคิดจะฆ่า (วธกเจตนา) สัตว์นั้น
     4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
     5. สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น

ส่วนเนื้อสัตว์ที่ซื้อมาจากตลาดที่เขาฆ่าชำแหละเสร็จแล้วนั้น ไม่มีองค์ของปาณาติปาต แม้นแต่องค์เดียว ดังนั้นแล ผู้รอบรู้เรื่องอกุศลกรรม จึงฉลาดรอบคอบ ไม่ประมาทดูแคลนเรื่องของทาน อันเป็นเหตุให้ขัดสนทรัพย์ จำต้องฆ่าสัตว์เลี้ยงชีพ ฉะนี้แล

นอกจากนั้นความรอบรู้ในองค์ของปาณาติปาต ยังทำให้ฉลาดในการรักษาศีลข้อปาณาติบาตให้สะอาดหมดจดได้อีกด้วย กล่าวคือวธกเจตนา (เจตนาที่คิดจะฆ่า) จะเกิดขึ้นได้ ต้องรู้ว่า สัตว์นั้นมีชีวิตอยู่ ซึ่งจะรู้ได้ทางตา ทางหู ทางใจ

     ดังมีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า
    “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาติให้ฉันเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิด้วยส่วนทั้ง 3 คือ:
     1. ไม่เห็นว่าเขาฆ่า เพื่อถวายจำเพาะเจาะจงตน(=รับรู้ทางตา)
     2. ไม่ได้ยินว่าเขาฆ่า ถวายจำเพาะเจาะจงตน(=รับรู้ทางหู)
     3. ไม่ได้ลังเลสงสัยว่าเขาฆ่าถวายจำเพาะเจาะจงตน(=รับรู้ทางใจ)

@@@@@@@

ถามว่า การทานมังสวิรัติ เป็น ศีลข้อปาณาติปาตหรือไม่.?
ตอบว่า เมื่อไม่เกี่ยวข้องกับองค์ของปาณาติปาตเลย จักเป็นศีลข้อปาณาติปาตได้อย่างกัน

ถามว่า เมื่อไม่เป็นศีลข้อปาณาติปาตแล้ว เป็นศีลอะไร.?
ตอบว่า ศีลมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
       1. วาริตศีล(ศีลที่เป็นข้อห้าม) มีปาณาติบาตเป็นต้น
       2. จาริตศีล(ศีลที่เป็นข้อปฏิบัติ) มีการประพฤติห่างไกลจากปาณาติบาตเป็นต้น เช่น การทานมังสวิรัติ ดังนั้น จึงตอบได้เลยว่า การทานมังสวิรัติไม่ใช่ศีลข้อปาณาติปาตแน่นอน

ถามว่า ก็แล้วทำไม พระพุทธองค์ จึงไม่ทรงห้าม ไม่ทรงปฏิเสธเรื่องการทานมังสวิรัติ ทรงแล้วแต่ความสมัครใจ
ตอบว่า เพราะความบริสุทธิ์ หมดจดของศีลปาณาติปาต มีช่องทางการรับรู้ 3 ทางดังกล่าวเป็นหลัก และการทานอาหารใดๆก็ตาม ไม่เว้นแม้นแต่การทานอาหารมังสวิรัติ จะบริสุทธิ์หมดจดได้ ก็ด้วยการสำรวมชิวหาทวารเป็นหลัก

เพื่อให้ท่านเห็นประโยชน์ความรอบรู้องค์ของปาณาติบาตชัดเจนยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้ความฉลาดรอบคอบเกิดขึ้น จะขอยกตัวอย่าง การปิดหน้าต่างหนีบทับจิ้งจกตาย องค์ของปาณาติปาตไม่ครอบ แต่ทำใจไม่เป็น(อกุศลมโนกรรม)

เพราะขาดความรอบรู้องค์ปาณาติปาต จึงสมน้ำหน้าว่า ”ตายเสียได้ก็ดี ไม่ใช่ที่ไม่ใช่ทางเสียหน่อย” เจตนาก่อนทำและขณะไม่มีก็จริง แต่เพราะไม่ฉลาดรอบคอบในการทำใจ เหตุเพราะไม่มีความรอบรู้ดังกล่าว เจตนาหลังทำที่ไม่ควรเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นได้ฉะนี้แล


@@@@@@@

ทานหมวดสองคู่ต่อไป

    1. วัฎฎนิสสิตทาน การให้ทานที่อิงอาศัยวัฎฎะ ด้วยความปรารถนาโภคสมบัติ(อยากรำรวยมั่งมี) และภวสมบัติ(อยากเกิดเป็นมนุษย์เป็นเทวดา) เป็นเพียงทานสามัญ เพราะมีความอยากได้(โลภะที่มีกำลัง= ตัณหา)เป็นปัจจัย
    2. วิวัฏฏนิสสิตทาน การให้ทานที่อิงอาศัยวิวัฏฏะ ด้วยความประสงค์จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระปัจเจกโพธิญาณ อัครสาวกโพธิญาณ มหาสาวกโพธิญาณ ปกติสาวกโพธิญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเห็นโทษของตัณหาอันเป็นเหตุนำมาซึ่งวัฎฎะ

ทานประเภทนี้จึงมีอโลภะเป็นปัจจัย จัดเป็นทานบารมี​ ต่อไปถ้ามีโอกาส​จะขอนำเรื่องทานและเรื่องศีลตามพุทธ​วิสัย​ ทั้งนัยอรรถกถา​จารย์​ และทั้งนัยนิสสยาจารย์ มาเสนอเพื่อนๆผู้ใคร่ธรรมโดยละเอียดครับ




ขอบคุณ : dhamma.serichon.us/2020/10/21/การทานมังสวิรัติ%E2%80%8Bเป็นศ/
บทความของ : สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
21 ตุลาคม 2020 ,posted by admin.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 27, 2021, 06:26:02 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ