ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เป็นไปได้หรือไม่ คะ เมื่อเราบรรลุธรรมแล้ว เราจะเข้าใจธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา  (อ่าน 3669 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นไปได้หรือไม่ คะ เมื่อเราบรรลุธรรมแล้ว เราจะเข้าใจธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา

คืออาจจะคิดไปเองว่า ไม่ต้องไปเรียนอะไรมากมายในปริยัติ เพียงแต่เรียนพอปฏิบัติ เพราะเมื่อปฏิบัติได้แล้ว ก็น่าจะรู้ธรรมส่วนที่ยังไม่รู้เอง ความคิดอย่างนี้เป็นไปได้ หรือไม่ คะ

 มีตัวอย่างให้เข้าใจกับเรื่องนี้ หลังจากผู้บรรลุธรรมแล้วเข้าใจธรรม โดยที่ไม่ต้องเรียน

  ทั้งหมด ยึดความคิดมาจากคำว่า เสขะ  ผู้ต้องศึกษา และ อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา

 ขอบคุณมากคะ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
   



พระจูฬปันถกเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

    พระจูฬปันถก เป็นน้องชายร่วมมารดาบิดาเดียวกันกับท่านพระมหาปันถก เมื่อพระมหาปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสาสวะทั้งปวงแล้ว มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถก น้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้าง

    จึงไปขออนุญาตจากธนเศรษฐีผู้เป็นคุณตา ซึ่งก็ได้รับอนุญาตและให้ความร่วมมือด้วยดี เพราะคุณตาก็เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อจูฬปันถกได้รับการอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหาปันถกผู้เป็นพี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาพุทธคุณหนึ่งคาถา ความว่า...

    ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ
    ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ
    องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ
    ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลฺเข ฯ

    “ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบานตั้งแต่เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษร
    หอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดูพระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากร
    ส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น”


   
    ปัญญาทึบพี่ชายไล่สึก

    ด้วยคาถาเพียงคาถาเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าพระจูฬปันถก เรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ ท่านพระมหาปันถกพี่ชาย พยายามเคี่ยวเข็ญอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็เห็นว่าท่านเป็นคนโง่เขล่าปัญญาทึบ เป็นคนอาภัพในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถจะบรรลุคุณพิเศษเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาได้ จึงตำหนิประณามท่านแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป ด้วยคำว่า

    “จูฬปันถก เธอใช้เวลาถึง ๔ เดือน ยังไม่อาจเรียนคาถาแม้เพียงบาทเดียวได้ นับว่าเธอเป็นคนอาภัพ ไม่สมควรอยู่ในพระศาสนานี้ เพียงคาถาเดียวยังเรียนไม่ได้แล้วจะทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจงออกไปเสียจากที่นี้เถิด”

    ในวันนั้น หมอชีวกโกมารภัจ ได้กราบอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ไปเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้นในฐานะที่พระมหาปันถก ผู้มีหน้าที่เป็นภัตตุทเทศก์ ได้จัดนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ ทั้งหมดในพระอาราม ในฉันภัตราหารที่บ้านของ หมอชีวกโกมารภัจ นั้น เว้นเฉพาะพระจูฬปันถก เพียงรูปเดียวเหลือไว้ในพระอาราม

    พระจูฬปันถก เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตและวาสนาของตนเอง คิดว่าตนเองเป็นอาภัพบุคคลในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถที่จะบรรลุโลกุตรธรรมได้ จึงตัดสินใจที่จะสึกออกไห้เป็นฆราวาสแล้วทำบุญสร้างกุศลต่างๆ ตามควรแก่ฐานะ จึงได้หลบออกจากวัดตั้งแต่เช้าตรู่



    ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอเดินมาจึงตรัสถามว่า:-

    “จูฬปันถก นั้นเธอจะไปไหนแต่เช้าตรู่เช่นนี้ ?”

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระมหาปันถกได้ขับไล่ข้าพระพุทธเจ้าออกจากอาราม ดังนั้นข้าพระพุทธเจ้าจะไปลาสิกขา พระเจ้าข้า”

    “จูฬปัถก เธอมิได้บวชเพื่อที่ชาย เธอบวชเพื่อตถาคตต่างหาก เมื่อพี่ชายขับไล่เธอ เหตุไฉนเธอจึงไม่มาหาตถาคต การกลับไปอยู่ครองเรือนจะมีประโยชน์อะไร มาอยู่กับตถาคตจะประเสริฐกว่า”


    พระบรมศาสดา พาเธอไปที่พระคันธกุฏี ประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ผืนเล็ก ๆ ให้เธอผืนหนึ่ง แล้วทรงแนะนำให้เธอบริกรรมด้วยคาถาว่า "รโชหรณํ รโชหรณํ" พร้อมกับใช้มือลูบคลำผ้าผืนนั้นไปด้วย เธอรับผ้ามาด้วยความเอิบอิ่มใจ แสวงหาที่สงบสงัดแล้วเริ่มปฏิบัติบริกรรมคาถา

    ลูบคลำผ้าที่พระพุทธองค์ประทานให้เธอบริกรรมได้ไม่นาน ผ้าขาวที่สะอาดบริสุทธิ์ผืนนั้น ก็เริ่มมีสีคล้ำเศร้าหมองเหมือนผ้าเช็ดมือ จึงคิดขึ้นว่า “ผ้าผืนนี้เดิมทีมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่อาศัยการถูกต้องสัมผัสกับอัตภาพของเรา จึงกลายเป็นผ้าสกปรก เศร้าหมอง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ”

    แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับอัตตภาพร่างกายเป็นอารมณ์ ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือปัญญาอันแตกฉานมี ๔ ประกา รคือ

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ


    ครั้งรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังเรือนของหมอชีวกโกมารภัจ เพื่อเสวยภัตตาหารตามที่หมอชีวกกราบอาราธนาไว้ เมื่อหมอชีวกน้อมนำภัตตาหารเข้าไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ทรงปิดบาตรแล้วตรัสว่า “ยังมีพระภิกษุอีกรูปหนึ่ง อยู่ที่วัด” หมอชีวกจึงส่งคนไปนิมนต์ให้ท่านมาฉันภัตตาหาร



   
    ประกาศความเป็นอรหันต์

    ขณะนั้น พระจูฬปันถก เพื่อจะประกาศความเป็นพระอรหันต์ของตน ให้ปรากฏ จึงได้เนรมิตพระภิกษุขึ้นถึงจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ในพระอารามอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ กัน บ้างก็สาธยายพุทธคุณ บ้างก็ซักจีวร บ้างก็ย้อมจีวร เป็นต้น

    เมื่อคนรับใช้มาถึงวัดได้เห็นพระภิกษุจำนวนมากมายอย่างนั้น จึงรีบกลับไปแจ้งแก่หมอชีวก พระพุทธองค์ทรงสดับอยู่ด้วย จึงรับสั่งให้คนใช้นั้นไปนิมนต์ท่านที่ชื่อจูฬปันถก คนรับใช้ไปกราบนิมนต์ตามพระดำรัสนั้น ด้วยคำว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้า พระบรมศาสดารับสั่งให้มานิมนต์พระจูฬปันถก ขอรับ”
    ปรากฏว่าพระภิกษุทุกรูปต่างก็พูดเหมือนกันว่า
    “อาตมา ชื่อพระจูฬปันถก”
    คนรับใช้ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงต้องกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดา


    ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีก พระพุทธองค์ ตรัสแนะว่า:-
    “ถ้าพระภิกษุรูปใดพูดขึ้นก่อน เธอจงจับมือภิกษุรูปนั้นไว้แล้วนำท่านมา ส่วนพระภิกษุที่เหลือก็จะหายไปเอง”
    คนรับใช้ ปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำนั้นแล้ว ได้นำพระจูฬปันถก สู่ที่นิมนต์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงมอบให้ท่านเป็นผู้กล่าวภัตตานุโมทนา อันเป็นการเสริมศรัทธาแก่ทายกทายิกา



    บุพกรรมของพระจูฬปันถก
  ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระจูฬปันถก ได้บวชเป็นพระภิกษุ ในครั้งนั้นด้วย ท่านเป็นผู้มีปัญญาดี จำทรงหลักธรรมคำสอนได้เร็วแม่นยำ ท่านเห็นเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งปัญญาทึบท่องสาธยายหัวข้อธรรมเพียงบทเดียวก็จำไม่ได้ จึงหัวเราะเยาะท่าน ทำให้ภิกษุรูปนั้นเกิดความอับอายเลิกเรียนสาธยายหัวข้อธรรมนั้น เพราะกรรมเก่าในครั้งนั้นจึงเป็นผลติดตามให้ท่านมีปัญญาทึบโง่เขลาในอัตภาพนี้

    พระจูฬปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เป็นกำลังช่วยกิจการพระศาสนาตามความสามารถของท่านและโดยที่ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมโนมยิทธิ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน



ที่มา http://84000.org/one/1/35.html
ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com/,http://img2.uploadhouse.com/,http://topicstock.pantip.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป็นอย่างนั้น อยู่แล้ว สำหรับ ผู้ที่ภาวนาบรรลุธรรม อย่างน้อยก็จะรู้ อยู่ รู้ สำหรับสายวิปัสสก

   คือ 1.วิปัสสนาญาณ  รู้ส่วนนี้ได้อย่างดี
        2. ขยญาณ รู้ส่วนที่ได้ละกิเลสเป็น พระอรหันต์

    2 รู้ นี้รู้ได้ด้วยการภาวนา

     ส่วนอีก 8 รู้นั้น เป็นไป วาสนาบารมี ที่สั่งสม มานะจีะ

  เจริญธรรม

   ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นไปได้หรือไม่ คะ เมื่อเราบรรลุธรรมแล้ว เราจะเข้าใจธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา

คืออาจจะคิดไปเองว่า ไม่ต้องไปเรียนอะไรมากมายในปริยัติ เพียงแต่เรียนพอปฏิบัติ เพราะเมื่อปฏิบัติได้แล้ว ก็น่าจะรู้ธรรมส่วนที่ยังไม่รู้เอง ความคิดอย่างนี้เป็นไปได้ หรือไม่ คะ

 มีตัวอย่างให้เข้าใจกับเรื่องนี้ หลังจากผู้บรรลุธรรมแล้วเข้าใจธรรม โดยที่ไม่ต้องเรียน

  ทั้งหมด ยึดความคิดมาจากคำว่า เสขะ  ผู้ต้องศึกษา และ อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา

 ขอบคุณมากคะ

  :c017: :25:

     กระทู้นี้น่าจะเป็นกระทู้แรกในห้องนี้ในฐานะผู้ตั้ง ของคุณครูอริสา แม่หญิงแห่งล้านนา
     แม่หญิงคงมีความเข้าใจเรื่องนี้อยู่ระดับหนึ่งแล้ว แต่ผมขออนุญาตลงรายละเอียดสักนิด
     เพื่อให้เพื่อนสมาชิกทุกท่านได้ มีความเข้าใจที่ตรงกัน


เสขะ  ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
       โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค
       ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
       พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี


อเสขะ  ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
        ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;
        คู่กับ เสขะ



       การที่บุคคลใดจะชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดนั้น มาตรฐานชาวพุทธต้องกล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ สิ่งนั้นเป็นบุพกรรมที่สร้างไว้ในกาลก่อน บุพกรรมนั้นได้ตามมาถึงชาติหลังๆ เป็นวิบากกรรมและเป็นจริตนิสัยวาสนา

       การเล่าเรียนปริยัติมากมายจนเป็นผู้เชี่ยวชาญ ใช่ว่าจะเป็นเครื่องยืนยันว่าจะรู้วิธีปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น พระโปฐิละ มีลูกศิษย์มากมาย หลายคนก็บรรลุธรรมไปแล้ว แต่ท่านเองกลับหาวิธีปฏิบัติให้บรรลุไม่ได้ จนต้องไปอ้อนวอนเณรน้อยให้สอนวิธีปฏิบัติให้


       กรณีของพระจูฬปันถก ก่อนที่ท่านจะบรรลุ ท่านไม่รู้อะไร ท่องจำอะไรก็ไม่ได้ แต่ก็อาศัยบารมีธรรมที่สั่งสมมา ได้พระพุทธเจ้าช่วย จนสำเร็จอรหันต์เป็น อเสขะบุคคลที่ แตกฉานทั้งอรรถและธรรม ในปัจจุบันคงหาคนแบบพระจูฬปันถกได้ยากมาก

       คำถามของแม่หญิงอริสาที่ว่า เป็นไปได้ไหมที่เรียนแค่พอปฏิบัติได้ จนสำเร็จอรหันต์แล้ว จะรู้ธรรมที่เหลือเอง  เรื่องนี้เป็นไปได้ครับ ขอให้ไปอ่านประวัติเหล่าอรหันต์สาวกในต้นๆพุทธกาล เช่น ปัญจวัคคีย์ ยสกุลบุตร พ่อแม่และเพื่อนของยสกุลบุตร กลุ่มภัทรวัคคีย์ ชฎิลสามพี่น้อง พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอะไรที่พิสดาร

       แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะดำรงสัทธรรมไว้ให้ครบห้าพันปีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ปริยัติอย่างละเอียด

สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี,
       ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ อย่าง คือ
           ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
           ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
           ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน


     พระพุทธเจ้าได้กล่าวึถึง การรักษาสัทธรรมไว้ใน "สัทธรรมสัมโมสสูตร" ดังนี้
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม  ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

    ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ดี ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมเป็นเนื้อความที่มีนัยดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่ายเป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูตเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ย่อมบอกแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมไม่ขาดเค้ามูล มีหลักฐานอยู่ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ย่อมไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในทางวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ 

    อีกประการหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี ชื่นชมต่อกันไม่วิวาทกัน มีอุเทศเป็นอย่างเดียวกัน อยู่สบาย ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดีไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการแข่งขันกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕

    เหนื่อยแล้วครับ ขอคุยเพียงเท่านี้
:25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 21, 2012, 02:23:03 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


สาธุ ขอบคุณในน้ำใจของทุกท่าน คะ
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน