ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมคาถาโบราณจากศรีลังก ครหะสันติคาถา,คาถาปะโชตา (กำลังจักรพรรดิ).สัมพุทธะคาถา.ที่มาชินบัญ  (อ่าน 84083 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
:s_hi: มีพระคาถาโบราณจากศรีลังกามาฝากสำหรับท่านผู้ชื่นชอบการสวดมนต์ ซึ่งปริวรรตมาจากคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา ตามประวัติว่า ตกทอดมาจากลังกา ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (จักรพรรดิล้านนา) แห่งนครเชียงใหม่ (พระประวัติค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต) คือพระคาถาปะโชตา (หรือ จุททะสะคาถา) พระคาถาบทนี้เป็นคาถาที่หายสาบสูญไปประมาณ 500 ปี เป็นพระคาถาประจำพระองค์ของพระเป็นเจ้าติโลกราช ทรงสังวัธยายเป็นประจำทำให้พระองค์มีเดชานุภาพแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ ในรัชสมัยของพระองค์ทรงปราบได้ถึงเมืองพิษณุโลกสองแคว และเมืองปากยม (พิจิตร) นอกจากนี้ยังมีพระคาถาคระหะสันติ (หรือไชยะคุรุง) เป็นบทสวดสำหรับส่งนพเคราะห์ด้วยตนเอง ทำให้ปลอดภัยแคล้วคลาด (ผู้เขียนประสบมาด้วยตนเอง) สัมพุทธะคาถาว่าด้วยกันภัยพิบัติสวดเป็นประจำทำให้เจริญรุุ่งเรือง ในยามแห้งแล้งจะเอาใช้สวดขอฝนก็ได้ เป็นบทนมัสการพระพุทธคุณมี 12 บท (ขอบอกถ้าไม่สวดขอฝนให้สวดเฉพาะ 11 บทข้างต้นก็พอ) และสุดท้ายขอแถม พระคาถาชินบัญชรเกือบครบทุกฉบับ.ประวัติความเป็นมา.ไขปริศนาพระคาถาชินบัญชร/  จาก ภิกษุเกทารบุตร (ลูกชาวนา)

 :welcome:

ชื่อหนังสือ พุทธคุณวัณณนาคาถาจตุกกะ (แทรกอยู่ในหนังสือพระปริตรสังเขปเรียบเรียงโดยพระมหาญาณทฺธโช ป.ธ. 7)

 :25:



ดาว์นโหลดกันได้ที่นี้เลยครับ : http://depositfiles.com/files/rtkjf1diq
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2012, 03:48:19 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
โปรดตรวจสอบ ลิงก์ ด้วย ดาวน์โหลดไม่ได้ เป็นลิงก์เข้าไปห้องเล่นเกมส์
เมื่อ คลิ๊กที่ ดาวน์โหลด

  :c017:
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


จุททสมคาถา(ปโชตา) คาถาที่ใช้สวดคู่กับชินบัญชร

     จุททสมคาถา (ปโชตา) พับสาสัททาพินทุหลวง ของครูบาเตชะวัดหนองเงือก ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

๑.ปถมคาถา
ปะโชตา ธัมมะภา โหตุ  โชติวะโร สะตาวะโห
ตาวะริโย สุวะ ตาภา     ธะโร โยโค จ สุ สัมมา


๒.ทุติยคาถา
โภโนชิโย โยชิโนโภ    โนปาตุโส โสตุปาโน
ชิตุโนมะ มะโนตุชิ       โยโสนะภิ ภิมะโสโย

๓.ตติยคาถา
นะมามิตัง นะระวะรัง     นะเยหิสะ นะรามะรัง
เนตุวา มะตัง ปะระติรัง   นิพพุตโต สัพภิ โย ปะรัง


๔.จตุตถคาถา
โนธิโร มุนิโน มะโน    โนมะโน ทะมะโน ธิโน
โนธิ โนตุถังคาโน      โนโตมาโร ธิโน อูโน

๕.ปัญจมาคาถา
กะรุณาธิ กะจิตตัตโถ     กะตาตโถ สะกะ ธัมมะโท
กะตะนะเม กะพุทธัสสะ   กะตัญชุลิง กะโรมิหัง


๖.ฉัฏฐมคาถา
มะโนชิโต มะโตชิโน   มะโนภิโต มะโตภิโน
มะโนธิโร มะโรธิโน    มะโรตตะโน มะโนตตะโร

๗.สัตตมคาถา
นะมามิ นาถังวะระทังวะราทัง   อะโนมะเกหา ภินะตังภะวัคคัง
กุมาระนาสัง วะราทังนะรานัง   อะกามะเทหาภินะตัง ภัชชะนันติ


๘.อัฏฐมคาถา
โย โพธิปัตเต วะระโท นะรานัง   เทวาติเทโวภิตะมาระนาโส
โยคาธิมุตโต สะระโส มะรานัง   โอวาทะเทตัง ภินะมามินาถัง

๙.นวมคาถา
โย เทติเทวะเทโวคคัง   มัคคังโนคคังผะลังตะโต
นะมามิตัง ระหะมัคคัง   โนโสปาเลตวาปายะโต


๑o.ทสมคาถา
นะมามิพุธธัง ตะมะหังธิโย ธิโย   นะมามิธัมมัง ตะมะหังชิโย ชิโย
นะมามิสังฆัง ตะมะหังริโย ริโย    นะมามิติคคัง ตะมะหัง ภิยโย ภิยโย

๑๑.เอกาทสมคาถา
นะมามิตัง โย วินายัสสะ นายะเก   นะรามะเรหิ ภินะโต วินายะโก
ชิโนริเชยโย วิมะโล วิโมจะโก      ปัชชามะพุเชติ พุทโธ ปะโพธะโก


๑๒.ทวาทสมคาถา
มุนิโน วะทะนาภายะ   ปะโพเธตุ ปัชชาปัชชัง
มุนิโน วะทะนาภายะ   ปะโพเธตุ ปัชชาปัชชัง

๑๓.เตรสมคาถา
สิริกิระณะ กิระโฐ ภาสะปาทะทวะอัคคัง   สิริกิระณะภิมานัง มาระมันตังวิธิสะตัง
สิริกิระณะนิเกตัง เกตุเมกัญจะ ติโลเก     สิริกิระณะกะรัคคังโลกะนาถัง นะมามิหัง


๑๔.จุททสมคาถา
ติโลกะ มัคคา หะนะโก มะตัง นะเย    สะวา สะนัง โยหะ มะลัง ปะธัง สะยิ
ติโลกะ มัคคา หะนะโก มะตัง นะเย    ปะเควะ นิพพานะ ปุรัง ปะเว สิเย


    พระคาถา ๑๔ บทนี้เรียก จุททสมคาถา ผู้ใดจำเริญ ระนึกยังพระคาถา จักเจริญ บริบูรณ์ด้วย เข้าของสมบัติ ยศ สิริเดช อายุ วัณณะ สุขะ พละ ทุกประการ

    คาถานี้เป็นคาถาที่ใช้สวดคู่กับชินบัญชร เพราะชินบัญชร คือ เกราะทองของพระพุทธเจ้า
    แต่ปโชตานี้ คือ สังวาลย์เพชรพระพุทธเจ้า โดยในสมัยโบราณพระเจ้าติโลกราช จักพรรดิล้านนาทรงใช้สวดทั้ง 14 บทปรากฏว่าชนะทุกทิศมีบุญบารมีไพศาล ทรงโปรดให้จารึกเป็นตั๋วอักษรล้านนา ต่อมาครูบาเตชะได้แปลเป็นตัวอักษรไทย จากศิลาจารึกวัดสวนดอก



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://buddhakhun.org/main/index.php?topic=2445.0
http://board.palungjit.com/f17/คาถาที่ใช้สวดคู่กับชินบัญชร-จุททสมคาถา-ปโชตา-320349.html#post5536049



    ans1 ans1 ans1
     
    คาถานี้ยังไม่ได้รับการตรวจชำระ ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า ยังไม่ถูกต้อง
    จึงขอแจ้งว่า ห้ามนำไปอ้างอิงเด็ดขาด ขออภัยมา ณ ที่นี้

     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 24, 2014, 07:45:58 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คำแปล
พระคาถาปโชตา(สังวาลย์เพชรพระพุทธเจ้า)
ของพระเจ้าติโลกราช ล้านนา

๑.ชื่อ อทฺธราม ปถมคาถา
ปโชตา ธมฺมภา โหตุ โชติวโร สตาวโห
ตาวริ โย สุวตาภา ธโร โยโค จ สุ สมฺมา
สังฆราชาพระสิงกุกาม มหานันทารามะชาวใต้ ทือ(ครอบครอง)
ค้ำชู ยส สรี สัมปัตติข้าวของแล ฯ


๒.ชื่อ สพฺพโตภทฺร ทุติยคาถา
โภโนชิโย โยชิโนโภ โนปาตุโส โสตุปาโน
ชิตุโนม มโนตุชิ โยโสนภิ ภิมโสโย
มหาพูกาม มหาสีเกียร ทือ
ค้ำชู ยส สรี สัมปัตติข้าวของดั่งปฐมะคาถาแล ฯ


๓.ชื่อ อฏฺฐกฺขจกฺก ตติยคาถา
นมามิตํ นรวรํ นเยหิส นรามรํ
เนตฺวา มตํ ปรติรํ นิพฺพุตฺโต สพฺภิโย ปรํ
มหาธัมมสาเจติยะทือแล
ห้ามอุปัทวะอนตรายทั้งมวลแล ฯ


๔.ชื่อ ราสีจกฺก จตฺตุตฺถคาถา
โนธิ โร มุนิโน มโน โนมโน ทมโน ธิโน
โนธิ โนตฺถํ คมาโน โนโตมาโร ธิโน อูโน
ห้ามอุปัทวะ ดั่งตติยคาถาแล ฯ

๕.ชื่อ ปทุมฏล ปญฺจมคาถา
กรุณาธิ กจิตฺตตฺโถ กตาตฺโถ สกธมฺมโท
กตนเม กพุทฺธสฺส กตญฺชุลึ(ลิง) กโรมิหํ
มหาราชครูป่าแดงแปลงหื้อแสนขนานกอมทือ พระญาแก้วทือ
เปนที่รักจำเริญใจแก่ฅนแลเทวตาทั้งหลาย แลจำเริญด้วยข้าวของสัมปัตติทั้งมวลแล ฯ


๖.ชื่อ จตุกฺก ฉฏฺฐมคาถา
มโนชิโต มโตชิโน มโนภิโต มโตภิโน
มโน ธิโร มโรธิโน มโรตฺตโน มโนตฺตโร
ราชโมลีหมื่นทือ แล ท้าวมหาพรหมทือ ไว้ในเวียงกุมกามค็วุฑฒิด้วยเข้าของมากนัก
ชนะข้าเสิ้กสัตรู ฅนอันมีใจคดเลี้ยวทั้งมวลแล ฯ


๗.ชื่อ โคมูตฺตวลี สตฺตมคาถา
นมามิ นาถํ วรทํ วราทํ อโนมเกหาภินตํ ภวคฺคํ
กุมารนาสํ วราทํ นรานํ อกามเทหาภินตํ ภชฺชนนฺติ
มหาสัทธะโพธิแสนกัง มหาสิริมํคลเจติยะทือ แล มหาแสนตมกิวัดมหาเจติยะหลวง
เพื่อประจญแพ้(ชนะ)แก่ฅนทั้งหลาย ผู้มีใจคดเลี้ยว มายาสาไถย บ่ซื่อแก่เราแล ฯ



๘.ชื่อ สกฺขบุพฺพ อฏฺฐมคาถา
โย โพธิปตฺเต วรโท นรานํ เทวาติเทโวภิตมารนาโส
โยคาธิมุตฺโต สรโส มรานํ โอวาทเทตํ ภินมามินาถํ
มหาสังฆราชาวัดปราสาททือ มหาญาณกุฏีฅำทือ สวาด ธิยายมีเตชะมากนัก
ปราบแพ้(ชนะ)แก่ฅนทั้งหลายผู้มีใจคดเลี้ยว มายาสาไถย บ่ซื่อแก่เราแล ฯ


๙.ชื่อ นวมคาถา สรีขคฺคเชยฺย
โย เทติเทวเทโวคฺคํ มคฺคํ โนคฺคํผลํตโต
นมามิตํ รหมคฺคํ โนโสปาเลตฺวาปายโต
สังฆราชาหมื่นพล้าว สังฆราชาเชียงหมั้นทือ ลง ดาบสรีกัญไชย
เพื่อประจญข้าเสิ้กสัตรูทังมวลแล ฯ


๑๐.ชื่อ อนฺตยมก ทสมคาถา
นมามิพุธฺธํ ตมหํธิโย ธิโย นมามิธมฺมํ ตมหํชิโย ชิโย
นมามิสงฺฆํ ตมหํริโย ริโย นมามิติคฺคํ ตมหํ ภิยฺโย ภิยฺโย
สรีเชยฺยโตมมํคล สังฆราชาพระสิงหื้อขนานกอมทือแล
มหาขนานอาดใต้สังฆราชาหื้อแก่ขนานกอมทือ มันธารุราชทือ ไว้
ค้ำชูสรีเตชะหื้อรุ่งเรือง ไพสงครามค็จักชนะข้าเสิ้กสัตรูแล ฯ


๑๑.ชื่อ วํสฐานจกฺก เอกาทสมคาถา
นมามิตํ โย วินายสฺส นายเก นรามเรหิ ภินโต วินายโก
ชิโนริเชยฺโย วิมโล วิโมจโก ปชฺชามพุเชติ พุทฺโธ ปโพธโก
มหาแสนทอง ปุพพารามทือ หื้อข้าเสิ้ก สัตรูมีใจหลิ่งน้อมแล ฯ

๑๒.ชื่อ นาคปาส ทวฺาทสมคาถา
มุนิ โน วทนาภาย ปโพเธตุ ปชฺชาปชฺชํ
มุนิโน วทนาภาย ปโพเธตุ ปชฺชาปชฺชํ
มหาสัทธัมมทัสสีฝ่ายเรา(ป่าแดง)ทือแล รักษา
เข้าของสัมปัตติบ่หื้อข้าเสิ้กสัตรูครุบชิงเอาได้ยแล ฯ


๑๓.ชื่อ สรีธชวิชวฑฺฒน เตรสมคาถา
สิริกิรณ กิรโฐ ภาสปาททฺวอคฺคํ สิริกิรณภิมานํ มารมนฺตํ วิธิสตํ
สิริกิรณนิเกตํ เกตุเมกญฺจ ติโลเก สิริกิรณกรคฺคํ โลกนาถํ นมามิหํ
มหาปุสสเทพพหมื่นสารทือแล วุฒินัก พระญาหลวงแสนตะยาย(เมือง)หังสาทือ ดีนักแล
เปนที่รักจำเริญใจ แก่ฅนทั้งหลาย แลชนะข้าเสิ้กสัตรู จำเริญด้วย เตชะ ยส ข้าวของสัมปัตติทังมวลแล ฯ


๑๔.ชื่อ สรีวิเชฺชยฺยอาวุทฺธ จุทฺทสมคาถา มหาปุสสเทพพฝ่ายเราทือแล
ติโลกมคฺคาหนโก มตํ นเย สวาสนํ โย ห มลํ ปธํสยิ
ติ โลกมคฺคา หนโกมตํ นเย ปเคว นิพฺพานปุรํ ปเวสิเย
หื้อลงใส่ดาบ เถี่ยนอันเปนมังคละ คุณดั่งเตรสมคาถาแล/เปต ยมกวํสฐาคาถา
บทนี้ มีคุณูปการมากนักแล


อ้างอิง
โพสต์โดย คุณkengjingjung
http://board.palungjit.com/f17/คาถาที่ใช้สวดคู่กับชินบัญชร-จุททสมคาถา-ปโชตา-320349.html#post5536049
ขอบคุณภาพจาก http://www.uppicweb.com/




บท ๑,๒         ทำให้คนอ่อนน้อมต่อเรา ศัตรูทำอันตรายไม่ได้ ครับ
บท ๓, ๔        กันทุกข์ โศก โรค ภัย
บท ๕             เทวดารักษา
บท ๖             คนใดที่คิดร้ายจักมีอันเป็นไป
บท ๗,๘         มีเชื่อเสียง โด่ด ดัง รวมทั้ว ยศ ฐา บรรดาศักดิ์
บท ๙,๑o        กันคุณไส
บท ๑๑           เด่นด้านโชคลาภ       
บท ๑๒           อำนาจ รักษาทรัพย์
บท ๑๓           มีคนนำลาภ และ เครื่องบรรนาการมาให้จักมิขาด
บท ๑๔          ชนะ ศัตรู หมู่มาร ทั้ง สิบ ทิศ


     นี่คือ อุปเท่ ของพระคาถาปโชตา ทั้งสิบสี่บท ที่ผมพอได้ทราบมาครับ     

     คือ ว่าไปเจอพอดีจากหนังสือเล่มหนึ่ง เขาบอกว่า
     คาถานี้เกิดในเมืองลังกาวี  แล้วพระมหาชัยมงคลเถรเจ้าไปไหว้พระทันตธาตุที่เมืองลังกา เลยขอนำมาถวายแกสมเด็จพระพรหมไตรโลกเจ้า ท่านก็ทรงสวดอยู่เป็นนิดทำให้พระยศพระเกียนติปรากฎไปทั่วต่างประเทศ

     โดยพระคาถาทั้ง ๑๔ บทนี้ชื่อ จุทัสสะคาถา และเมื่อถึงกาลดับขันธ์ก็จะได้ผ่านสวรรค์ ภพภูมิต่างใด หากได้กลับมาเกิดก็จะได้เป็นใหญ่กว่าบุคคลทั้งปวง

     และพระเจ้าตากสินมหาราชได้เรียนและใช้สวดพระคาถาทั้งสิบสี่บทนี้ด้วย โดยพระองค์ท่านได้ทรงจารึกพระตำหรับนี้ไว้เป็นพระตำหรับข้างที่ประจำพระองค์ ด้วยลายพระราชหัตถ์ของพระองคท่านเอง ด้วยครับ


อ้างอิง
โพสต์โดย คุณ santa (มัคคายก)
http://buddhakhun.org/main/index.php?topic=2445.0
ขอบคุณภาพจาก http://thaispecial.com/



 ans1 ans1 ans1
     
    คาถานี้ยังไม่ได้รับการตรวจชำระ ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า ยังไม่ถูกต้อง
    จึงขอแจ้งว่า ห้ามนำไปอ้างอิงเด็ดขาด ขออภัยมา ณ ที่นี้

     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 24, 2014, 07:46:26 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ กับ ท่าน nathponson มากครับที่ นำคาถามาลง

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก

มหายันต์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 154
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นคาถาที่ยาว นะครับ สวดทุกวันก็ไม่น่าจะยาก แต่ ตอนนี้ยัง รัก และ ศรัทธา ในคาถา พญาไก่เื่ถื่อน อยู่ครับถึงแม้จะยังไม่รู้ความหมายหรือ คำแปล ก็ตามก็ยังสวดเป็น นิสัย เหมือนเดิม ครับ คิดว่าเรื่องคาถาแค่นี้ก้น่าจะพอแล้วครับ

  :c017: :25: :13:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
:25:   !! ต้องขออภัยด้วยสำหรับลิ้งค์ทางด้านบน กำลังอยู่ในระหว่างดำเดินการ !!   :25:

คระหะสันติคาถา

http://www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=47130


คระหะสันติคาถา
(คาถาคระหะทั้ง ๙ หรือ ไชยะคุรุง)
. นะระเทวะคุรุง ภะวะปาระคะตัง
นะระเทวะปิยัง ภะวะสันติกะรัง
นะระเทวะปะสังสิตะพุทธะวะรัง [/]
นะระเทวะสุภัง ปะณะมามิ ชินังฯ [/]
. วะระโพธิทุเม ทุมะราชะวะเร
สุนิสินนะมะตุล๎ยะคุโณ สุคะโต
อะติโฆระตะเร พะหุมาระพะเล
สุชินาติ ชิโน ปะณะมามิ ชินังฯ
. กะรุณายุตะสีตะมะนัง สุคะตัง
วะระญาณะปะภายะตะมัง วิหะตัง [/]
สะนะรามะระโลกะหิตัง อะสะมัง
กะรุณานิละยัง ปะณะมามิ ชินังฯ
. ปะระทุกขะนุทัง ปะระโภคะกะรัง
ปะระโสกะนุทัง ปะระสิทธิกะรัง
ปะระสัตตะหิตายะ ทะเม กุสะลัง
ปะระโลกะหิตัง ปะณะมามิ ชินังฯ
. นะระมัชฌะสุภัง มะรุมัชฌะสุภั
ยะติมัชฌะสุภัง กุสะเล กุสะลัง [/]
นะระอัตถะกะรัง มะรุอัตถะกะรัง
ติภะวัตถะกะรัง ปะณะมามิ ชินังฯ60
. กะระวีกะสะรัง วะระพ๎รัห๎มะสะรัง
อะติวัคคุสะรัง สะวะนียะสะรัง
วะระพุทธะวะรัง วะระธัมมะวะรัง
นะระเทวะหิตัง ปะณะมามิ ชินังฯ
. วะระสีสะทะทัง วะระจักขุทะทัง
วะระปุตตะทะทัง วะระทาระทะทัง
วะระรัชชะทะทัง วะระสาระทะทัง
วะระกามะทะทัง ปะณะมามิ ชินังฯ
. สุปะติฏฐิตะปาทะตะลัง สุคะตัง
วะระลักขะณะรัญชิตะปาทะตะลัง
มุทุทีฆะวะฏังคุลิตามพะนะขั
อะติตุงคะนะขัง ปะณะมามิ ชินังฯ
. สุวิสุทธะวะรัง สุคะตัง อะมะลัง
อะวิสุทธะชะนัสสะ สุโธตะกะรัง
อะติอันธะชะนานะมะนันธะกะรัง
ปะริปุณณะปะภัง ปะณะมามิ ชินังฯ
ค๎ระหะสันติคาถา ปะริปุณณา นิฏฐิตาฯ

 
คระหะสันติคาถา (แปล)
. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินเจ้าผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวดา เสด็จถึงฝั่งแห่งภพ ทรงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา กระทำความร่มเย็นแก่ภพ เป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่มนุษย์และเทวดาพากัน สรรเสริญ ทรงสง่างามในหมู่มนุษย์และเทวดาฯ
. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินมาร ผู้ประทับนั่งที่ ต้นพระศรี มหาโพธิ์ อันเป็นพญาพฤกษา มีพระคุณหาผู้เสมอเหมือนมิได้ เสด็จดำเนินไปด้วยดี (หรือมีพระดำเนินที่งดงาม) ทรงชนะมารและพลมารเป็นอันมากซึ่งร้ายกาจยิ่งนักได้อย่างราบคาบฯ
. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชินสีห์ ผู้มีพระหฤทัยเยือกเย็น กอปรด้วยพระกรุณา ทรงกำจัดความมืด [คือโมหะ] ด้วยรัศมีแห่ง พระญาณ ทรงเกื้อกูลชาวโลกทั้งมนุษย์และเทวดา ปราศจากผู้เสมอ เหมือน มีพระกรุณาดังเรือนที่อาศัยฯ
. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชิ นวร ผู้ทรงบำบัดทุกข์โศก อำนวยโภค- สมบัติและความสำเร็จแก่ประชาสัตว์ ทรงฉลาดในอุบายสำหรับ สั่งสอนเพื่อเกื้อกูลประชาสัตว์ ทรงเกื้อกูล [ประชาสัตว์] ถึงโลกหน้าฯ
.ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินเรศ ผู้สง่างามในท่ามกลางหมู่มนุษย์ เทวดา (และ) ภิกษุสงฆ์ ทรงฉลาดในกุศลธรรม บำเพ็ญประโยชน์ แก่มวลมนุษย์ เทวดา (และ) ไตรภพฯ
. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินมุนี ผู้มีพระสุรเสียงดั่งนกการะเวก และพระพรหม ไพเราะชวนฟังยิ่งนั กทรงเป็นพระพุ ทธเจ้าผู้ประเสริ ฐมีพระธรรมอันดีเลิศ ทรงเกื้อกูลหมู่มนุษย์และเทวดาฯ 62
. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระชินบพิ ตร ผู้ทรงสละพระเศี ยร, พระนัยนา, พระโอรสธิดา, พระชายา [เป็นทาน] ประทานพระไอศวรรย์สมบัติประทานพระสาระธรร (และ) ความสำเร็จสมประสงค์อันดีเลิศฯ
. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชิโนภาส ผู้มีพื้นฝ่าพระบาทคู่ตั้งอยู่ ด้วยดี (คือราบเรียบ) มีพื้นฝ่าพระบาทงดงามด้วยพระวรลักษณ์ มีนิ้วพระบาทและนิ้วพระหัตถ์ นวลนุ่ม แฉล้มยาว กลมกลึง มีพระนขาชูช้อนขึ้นข้างบน โก่งงามยิ่งนักฯ
. ข้าพเจ้าขอประณตน้อมพระสุคตชิโนดม ผู้เลิศด้วยพระบริสุทธิคุณ ไม่มีมลทินแปดเปื้อน ทรงขัดสีชนผู้ไม่หมดจด[จากกิเลสมลทิน]ให้หมดจดดีชี้ทางสว่างแก่หมู่ชนผู้มืดมนอย่างยิ่ง มีพระรัศมีเต็ม เปี่ย
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ความเป็นมาของคระหะสันติคาถา
(คาถาคระหะทั้ง ๙ หรือไชยะคุรุง)
คระหะสันติคาถาแปลว่า “คาถาสำหรับสงบระงับเคราะห์” หรือ “คาถาอันนำมาซึ่งสันติของพระเคราะห์” หรือจะแปลให้ใกล้กับคำไทย ที่สุดว่า “คาถาสะเดาะเคราะห์” ดังนี้ก็น่าจะได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คาถาคระหะทั้ง ๙” หรือ “นวคราสทั้ง ๙” และนับเข้าในไชยทั้ง ๗ ของล้านนาเรียกว่า “ไชยะคุรุง” คาถาทั้ง ๙ นี้ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลาน อักษรภาษาล้านนาว่าสืบทอดมาแต่ลังกาทวีปดังนี้
        “ทีนี้จักกล่าวอุปเทสวิธีแห่งคระหะสันติคาถาไว้ให้ปุคละยิงชาย คระหัฏฐ์ และนักบวชเจ้าทังหลายหื้อได้รู้สืบไปพายหน้าก่อนเเลฯ
         ขณะเมื่อพระพุทธเจ้าอธิษฐานธาตุไว้ยังถ้ำเเก้วผลึกในลังกาทวีป มีประตู ๙ อัน เพื่อจักหื้อคระหะทัง ๙ ไข ก็เหตุจักหื้อเปนประโยชนะแก่ คนเเละเทวดาทังหลาย เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระยาลังการู้ข่าว ว่าธาตุมีในถ้ำ ปล่องไขบ่ได้ พระยาอินทร์รู้เหตุอันนั้นจิ่งเอาเทวบุตร ๙ ตน มาแล้วกล่าวว่า ‘กาละอันไขประตูถ้ำไว้หนักแก่เจ้าทังหลายทืน’   คระหะ ทังหลายมีสุริยเทวบุตรเปนต้นก็รับเอาทิพพะราชอาชญาพระยาอินทร์ว่า ‘สาธุเทวะ’ แล้วประณมอัญชุลีกล่าวคาถาอันต้นว่า ‘นะระเทวะคุรุง’ นี้ ยอคุณพระพุทธเจ้า ครั้นแล้วประตูมีแซว่และกลอนหากกระจัดออกได้ไว้ ดีนัก เทวบุตรทังหลายมีจันทิมเทวบุตรเปนต้นก็กล่าวคาถาด้วยล่ำดับกัน สันเดียว ประตูก็ไขไว้ดีนัก คนเเละเทวดาทังหลายก็ได้ไหว้และปูชาวันนั้น เเลฯ ปุคละยิงชายผู้ใดจำเริญเปนธัมมะสังวาธดั่งอั้น  คระหะฤกษ์ยินดี จักหื้อมีสรีสุขะสวัสดีมีทีฆาอายุหมั้นยืนหาไภยะบ่ได้ วุฒิจำเริญมากนักแล” (ฉบับวัดน้ำล้อม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน)
          “คาถาคระหะทัง ๙ นี้ ไหว้พระเจ้าชุวัน คระหัฏฐ์ เพิงใจยิ่งนัก เสมอดั่งเราได้แต่งเข้าพุ่นคู่ปีปูชาพระเจ้าชุวัน หายอุปปัททวะ อายุสวัสดี แล” (ฉบับวัดนาเหลืองใน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน)
          “คาถาคระหัฏฐ์ทัง ๙ จำเริญสิทธิบอระมวรเข้าของหาพยาธิบ่ได้ แม้นอุปปัททวะอันจักมาบังเกิดก็ร่ำงับกับหาย อันบ่มาบังเกิดเทื่อก็บ่อาจ จักมาใกล้ได้แล” (ฉบับวัดเชตวัน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน)
         คาถาคระหะทั้ง ๙ นี้ ได้ตรวจสอบชำระจากต้นฉบับใบลาน ๓ ฉบับด้วยกันกว่าจะได้ฉบับสมบูรณ์อย่างที่เห็น เนื่องจากต้นฉบับเดิม มีที่พิรุธผิดพลาดเป็นอันมาก แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นคาถาคระหัฏฐ์ (คฤหัสถ์) ทั้ง ๙ ตามที่บางฉบับกล่าวไว้ เข้าใจว่าคงเรียกเพี้ยนไปเพราะคำว่า คระหะกับคระหัฏฐ์นั้นมีเสียงใกล้กัน คำว่าคฤหัสถ์ทางล้านนาเรียก คระหัฏฐ์ หรือ คระหัฏฐะ จึงขอชี้แจงไว้ในที่นี้ แต่ถ้าจะเรียกอย่าง นัยหลังควรเขียนใหม่ว่า คระหัส เพราะคำนี้แผลงมาจาก คฺรหสฺ ใน สันสกฤต และมีความหมายเหมือนคำว่า คระหะ ต่างกันแต่รูปเดิม เป็น ส การันต์ เมื่อนำมาใช้ในบาลีจึงปริวรรตเป็น คฺรห เพราะในบาลี ไม่มีพยัญชนะการันต์ มีแต่สระการันต์เท่านั้น โบราณเรียก    คระหัส นั้น ถูกต้องแล้ว แต่เกิดความผิดเพี้ยนทางด้านอักขรวิธีซึ่งคัดลอกต่อๆ กัน มาในภายหลังจึงกลายเป็นคระหัฏฐ์ไป ดังนั้นจึงควรเป็น “คระหะ” หรือ “คระหัส” แต่ไม่ใช่ “คระหัฏฐ์” เพราะตามตำนานท่านกล่าวถึงคระหะ ทั้ง ๙ คือเทพบุตร ๙ องค์ มีสุริยเทพบุตร เป็นต้น อันได้แก่พระนพเคราะห์ (นวัคคหะ) นั่นเอง ซึ่งทางล้านนาเรียกนวคราสทั้ง ๙ คำว่า คระหะในที่นี้ เป็นคำที่ยืมมาจากสันสกฤต (คฺรห) บาลีจริงๆ ใช้คะหะ (คห) จะใช้อย่าง บาลีก็ได้ แต่ต้องการรักษาอักขรวิธีตามต้นฉบับเดิมเอาไว้ จึงคงใช้ตามนั้น นอกจากนี้คำว่า คุรุง ในคาถาที่ ๑ ก็เป็นคำที่ยืมมาจากสันสกฤต เช่นกัน บาลีจริง ๆ ใช้ คะรุง นี่คืออิทธิพลของสันสกฤตที่มีต่อบาลี คาถา ทั้ง ๙ นี้ท่าน     ประพันธ์ด้วยโตฏกคาถาทั้งหมด ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชคตีฉันท์ ๑๒ พยางค์ ในแต่ละบาทประกอบด้วย ส คณะ ๔ คณะ คือ ๑๑๒, ๑๑๒, ๑๑๒, ๑๑๒ (อิห โตฏกมมฺพุธิเสหิ มิตํ - วุตฺโตทย) ตามตำนานพรรณนา คุณานิสงส์ของพระคาถาเหล่านี้ไว้ว่า
         อานิสงส์คระหะสันติ
      “บุคคลใดไม่ว่าหญิงชาย คฤหัสถ์หรือนักบวชสังวัธยายพระคาถา ทั้ง ๙ นี้ อย่างสม่ำเสมอหรือทุกๆ วัน เท่ากับได้ถวายข้าวบูชาพระพุทธ เป็นประจำ จะทำให้พระเคราะห์ทั้ง ๙ ยินดีโปรดปรานดลบันดาล ประทานพร ให้บุคคลนั้นเจริญด้วยสิริสุขสวัสดี มีอายุมั่นยืนยาว บริบูรณ์รุ่งเรืองด้วยข้าวของสมบัติ ปราศจากโรคาพยาธิ แคล้วคลาด   อุปัทวันตราย แม้คราวเกิดเคราะห์ภัยทุกข์เข็ญให้เจริญสาธยายพระ คาถาบทนี้ จะสามารถสงบระงับเหตุเภทภัยต่างๆ ได้ เคราะห์ภัยที่ยังมา ไม่ถึงจะนิราศร้างห่างหายไปในที่สุด”
พระเคราะห์ตามตำราของพราหมณ์ก็คือเทวดาทั้ง ๙ องค์ ที่มา เสวยอายุของคนเรา มีอำนาจบันดาลให้ดีหรือร้าย รับโชคหรืออับโชคตาม ปรารถนา ซึ่งแต่ละองค์เสวยอายุไม่เท่ากันดังนี้
๑. พระอาทิตย์เสวยอายุอยู่ ๖ ปี
๒. พระจันทร์เสวยอายุอยู่ ๑๕ ปี
๓. พระอังคารเสวยอายุอยู่ ๘ ปี
๔. พระพุธเสวยอายุอยู่ ๑๗ ปี
๕. พระพฤหัสบดีเสวยอายุอยู่ ๑๙ ปี
๖. พระศุกร์เสวยอายุอยู่ ๒๑ ปี
๗. พระเสาร์เสวยอายุอยู่ ๑๐ ปี
๘. พระราหูเสวยอายุอยู่ ๑๒ ปี
๙. พระเกตุเสวยอายุอยู่ ๙ ปี
เพราะฉะนั้นจึงมีธรรมเนียมการสวดส่งนพเคราะห์ ส ำหรั บผู้ที่ ไม่เคย เข้าร่วมพิธีเลย ใช้คระหะสันติคาถาทั้ง ๙ บทนี้สวดแทนจะดีมาก เป็นการสวดส่งนพเคราะห์ให้กับตัวเองด้วยตัวของเราเองและประหยัดเวลาด้วย จะสวดวันละกี่จบก็ได้เพราะท่านไม่ได้กำหนดไว้ แต่อย่างน้อยต้อง หนึ่งจบและสวดทุกวัน หรือถ้าสวดได้ครั้งละ ๙ จบ หรือตามกำลังวัน ก็ยิ่งดี กำลังวันนั้นให้นับเท่าจำนวนปีที่พระเคราะห์เสวยอายุ อีกนัยหนึ่ง ถ้านับตามเกณฑ์กำลังวันทั้ง ๗ (ทินเกณฑ์) มีดังนี้
อาทิตย์ ๖, จันทร์ ๒, อังคาร ๘, พุธ ๑, พฤหัสบดี ๕, ศุกร์ ๗, เสาร์ ๓ ซึ่งเป็นที่มาแห่งโศลกวันเสียประจำเดือนของล้านนา โดยแบ่งกลุ่มเดื อนออกเป็น ๔ กลุ่มๆ ละ ๓ เดือน และจั ดกลุ่มเดื อนคี่ ไว้ในจ ำพวกเดือนคี่ กลุ่มเดือนคู่ไว้ในจำพวกเดือนคู่ ในแต่ละกลุ่มจึงเว้นระยะห่างของเดือนไว้ ที่ ๓ เดือน ดังนี้
เดือน วันเสียประจำเดือน
เกี๋ยง ห้า เก้า รวิ, จนฺทํ - อาทิตย์กับจันทร์
ยี่ หก สิบ องฺคารํ - อังคารวันเดียว
สาม เจ็ด สิบเอ็ด โสรี, คุรุ - เสาร์กับพฤหัสบดี
สี่ แปด สิบสอง สุโกฺร (สุโข), พุธา - ศุกร์กับพุธ
จากตารางแสดงโศลกดังกล่าวข้างต้น มักจะมีผู้ตั้งคำถามว่า ทำไม ยี่, หก, สิบ จึงต้องเสียอังคารวันเดียวเท่านั้น ผิดกับเดือนอื่นๆ ที่มีวันเสีย ตั้งสองวัน ถ้าพูดตามหลักความเป็นจริงไม่ต้องเสียเวลาหาเหตุผลก็ตอบ ได้ทันทีว่า เพราะวันมีอยู่เพียงเจ็ดวัน เมื่อจับคู่กันก็จะได้สามคู่ ดังนั้นจึงมี วันเศษอยู่หนึ่งวัน แต่เมื่อว่าตามเหตุผลก็เป็นเรื่องชวนคิดอยู่ว่า ทำไมต้อง เจาะจงเฉพาะวันอังคารล่ะ ก็ขอเฉลยว่า สาเหตุที่เดือนยี่, หก, สิบ เสียอังคาร วันเดียวนั้น คงเนื่องมาจากว่าวันอังคารมีกำลังวันมากกว่าวันอื่นๆ นั่นเอง 
ถ้าลองเอากำลังวันที่เหลือในแต่ละเดือนมาบวกกันก็จะได้กำลังวันเท่ากับ วันอังคารวันเดียว (คือ ๘) ดังนี้
อาทิตย์ + จันทร์ (๖+๒ =๘)
เสาร์ + พฤหัสบดี (๓+๕ =๘)
ศุกร์ + พุธ (๗+๑ =๘)
ดังนั้นเดือนยี่, หก, สิบ จึงเสียวันอังคารวันเดียว
เดือนเกี๋ยงหรือเดือนเจี๋ยงของล้านนาเทียบได้กับเดือนอ้าย (๑) ของทางภาคกลาง แต่ชาวล้านนานับเดือนเร็วกว่าทางภาคกลางสองเดือน เดือนเกี๋ยงหรือเดือนอ้ายของล้านนาจึงตรงกับเดือนสิบเอ็ดของทาง ภาคกลาง ส่วนเดือนยี่ตรงกับเดือนสิบสอง ดังนี้เป็นต้น
คาถาทั้ง ๙ นี้ ตำนานว่าเทพบุตร ๙ องค์กล่าวตามลำดับ ดังนี้
คาถาที่ ๑ พระอาทิตย์กล่าว
คาถาที่ ๒ พระจันทร์กล่าว
คาถาที่ ๓ พระอังคารกล่าว
คาถาที่ ๔ พระพุธกล่าว
คาถาที่ ๕ พระพฤหัสบดีกล่าว
คาถาที่ ๖ พระศุกร์กล่าว
คาถาที่ ๗ พระเสาร์กล่าว
คาถาที่ ๘ พระราหูกล่าว
คาถาที่ ๙ พระเกตุกล่าว
ใจความของพระคาถาทั้ง ๙ นี้ เป็นบทนมัสการพระพุทธเจ้าและ กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ เป็นวรรณกรรมบทสวดบาลีของศรีลังกา สั นนิ ษฐานว่า เข้ามาสู่ล้านนาในรั ชสมั ยพระเจ้าติ โลกราช แห่งนครเชี ยงใหม่ (รัชกาลที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังราย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๐) ข้าพเจ้าค้นพบในคัมภีร์ใบลานอักษรล้านนาจึงได้ทำการปริวรรต และชำระ68
ตรวจสอบนำออกเผยแพร่ เพื่อหวังให้สำเร็จประโยชน์แก่สาธุชนทั้งหลาย ผู้ใคร่ในภาวนามั ยกุ ศล และเพื่ ออนุ รั กษ์บทสดโบราณอันทรงคุ ณค่าเหล่านี้ ไว้มิ ให้สู ญหาย ซึ่ งนั บเป็นการน ำของดี ล้านนากลั บมาเผยแพร่ให้เป็นที่ รู้จักแพร่หลายกว้างขวางมากยิ่งขึ้น แม้หากได้ทรงจำท่องบ่นสาธยาย พระคาถาทั้ง ๙ นี้ เป็นประจำ ถือเป็นการเจริญพุทธานุสสติไปในตัว คือรำลึกนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าด้วย จักเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ทุกเมื่อ ดังที่อานิสงส์พรรณนาไว้ทุกประการ
                                         พระมหาญาณธวัช ญาณทฺธโช
                                               ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙
หมายเหตุ คระหะสันติคาถา (คาถาคระหะทั้ง ๙) หรือไชยะคุรุงนี้ ไม่ปรากฏว่ามีพบในสวดมนต์ฉบับอื่นๆ ของจังหวัดล้านนา ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบนมาก่อน คงพบเฉพาะใน สวดมนต์ฉบับใบลานของเมืองน่านเท่านั้น (ข้อมูลปัจจุบัน) โบราณาจารย์ได้ถอดอักขระต้นของแต่ละบทออกไว้เป็น หัวใจคาถาและเรียกว่า “หัวใจนวคราสทั้ง ๙” สำหรับเขียนใส่ โป่งเทียนบูชาสะเดาะเคราะห์ ดังนี้
นะ วะ กะ ปะ นะ กะ วะ สุ สุ
เวลาจุดเทียนสะเดาะเคราะห์ก็ให้สวดคระหะสันติคาถานี้ ด้วยทุกครั้ง จะหายจากเคราะห์นามและทุกข์โศกโรคภัย ทั้งปวง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2012, 10:47:50 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
จุททะสะคาถา (คาถาปะโชตา)
ฉบับตรวจชำระ พร้อมคำแปล


๑.  ปะโชตา ธัมมาภา โหตุ            โชติวะโร สะตาวะโห
     ตาวะริโย สุวะตาภา-              ธะโรโยโค จะ สุสัมมาฯ

๒.  โภ โนชิโย โย ชิโน โภ               โน ปาตุ โส โสตุปาโน
     ชิตุโนมะมะโนตุชิ                     โย โสมะภิภิมะโสโยฯ

๓.  นะมามิ ตัง นะระวะรัง               นะเยหิ สะนะรามะรัง
     เนต๎วามะตัง ปะระตีรัง               นิพพุโต สัพภิ โย ปะรังฯ

๔.  โน ธิโร มุนิโน มะโน                  โน มะโนทะมะโน ธิโน
     โนธิโนตถังคะมา เตโน’             โน เต มาโร วิโรธิ โนฯ

๕.  กะรุณาธิกะจิตตัตโถ                 กะตาตโถ สะกะธัมมะโท
     กะตะนะเมกะพุทธัสสะ               กะตัญชะลิง กะโรมิหังฯ

๖.  มะโนชิโตมะโต ชิโน                    มะโนภิโต มะโต ภิโน
       มะโนธิโรมะโรธิ โน’                    มะโนตตะโรมะโรตตะโนฯ

๗.  นะมามิ นาถัง วะระทัง วะราทัง   อะโนมะเกหาภินะตัง ภะวัคคัง
       กุมาระนาสัง วะระทัง นะรานัง    อะกามะเทหาภินะตัง ภะชัคคังฯ

๘.  โย โพธิปัตโต วะระโทมะรานัง   เทวาติเทโว ภิตะมาระนาโส
       โยคาธิมุตโต สะระโสมะรานัง    โอวาทะเทตังภินะมามิ นาถังฯ

๙.  โย เทติ เทวะเทโวคคัง             มัคคัง โนคคัง ผะลัง ตะโต
     นะมามิ ตังระหะมัคคัง              โน โส ปาเลต๎วาปายะโตฯ

๑๐. นะมามิ พุทธัง ตะมะหัง ธิโย ธิ โย   นะมามิ ธัมมัง ตะมะหังชิโยชิ โย
       นะมามิ สังฆัง ตะมะหังริโย ริ โย     นะมามิ ติคคัง ตะมะหัง ภิโย ภิ โยฯ

๑๑. นะมามิ ตัง โย วินะยัสสะ นายะโก   นะรามะเรหาภินะโต วินายะโก
         ชิโนริเชยโย วิมะโล วิโมจะโก          ปะชามพุเชภาภิพุโธ ปะโพธะโกฯ

๑๒. มุนิโน วะทะนาภายะ      ปะโพเธตุ ปะชาปะชัง
      มุนิโน วะทะนาภายะ      ปะโพเธตุ ปะชาปะชังฯ

๑๓. สิริกิระณะกิรีโฏ’ภาสะปาทัท๎วะยัคคัง สิริกิระณะภิมานัง มาระมันตัง วิธัส๎ตัง
     สิริกิระณะนิเกตัง เกตุเมกัง ติโลเก สิริกิระณะกะรัคคัง โลกะนาถัง นะมามิฯ

๑๔. ติโลกะมัคคาหะนะโก มะตัง นะเย สะวาสะนัง โยหะ มะลัง ปะธังสะยิ
       ติโลกะมัคคาหะนะโกมะตัง นะเย  ปะเควะ นิพพานะปุรัง ปะเวสิ โยติฯ

(ความละเอียดจะสังเกตุเห็นได้จากการวรรค เพราะมีความหมาย เช่น คำว่า "นั่งตากลม" ถ้าวรรคผิดความหมายก็เปลี่ยน เป็นเช่น "นั่งตา กลม" เป็น "นั่งตาก  ลม" ดังนี้)


จุททะสะคาถา (แปล)
๑. ขอรัศมีแห่งพระสัทธรรมอันรุ่งเรืองจงบังเกิด ตราบเท่าที่อริยธรรม ยังรุ่งเรืองส่องสว่าง นำมาซึ่งภาวะแห่งสัตบุรุษ เป็นที่รองรับแห่ง สัมมาปฏิบัติ (หรือเป็นที่ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรืองคือสัมมาปฏิบัติ) และ เป็นธรรมที่ปราศจากโยคะ โดยราบคาบฯ
(อีกนัยหนึ่ง) ขอรัศมีแห่งพระสัทธรรม จงรุ่งเรือง ขอพระอริยเจ้า ผู้ประเสริฐด้วยความรุ่งเรืองนำภาวะคือความยินดีมาให้ มีพรต งดงาม (หรือมีวัตรปฏิบัติงดงาม) ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรืองและมี ความเพียรโดยชอบ จงรุ่งเรือง ประดุจดังรัศมีแห่งพระสัทธรรมนั้นฯ
๒. ดูกรชาวเรา พระชินเจ้าของพวกเรา ผู้อันข้าศึก [คือกิเลส] ไม่อาจ ผจญได้ ทรงมีพระสัทธรรมรัศมี ทรงยังมวลสาวกให้ดูดดื่มรส พระสัทธรรม โปรดจงทรงรักษาปวงข้าพระองค์ด้วยเถิด พระองค์ทรง มีพระรัศมีอันเย็นฉ่ำ มีพระคติคือทางไปปราศจากความหวาดหวั่น ครั่นคร้าม ทรงผจญเสียซึ่งไฟ [คือราคาทิกิเลส] ด้วยพระทัยอันอุดม ขอจงทรงชนะด้วยเถิดฯ
๓. ขอน้อมไหว้พระองค์ผู้ทรงประเสริฐกว่านรชน ทรงนำประชาสัตว์ ทั้ งมนุ ษย์และเทวดาไปสู่ฟากฝั่งโน้นคื ออมตะนิ พพาน ด้วยวิ ธี แนะนำของสัตบุรุษ เสด็จปรินิพพานแล้วฯ
๔. พระทัยที่ประกอบด้วยปรีชาญาณ แห่งพระมุนีผู้ทรงปรีชาญาณของ พวกเรา สามารถที่จะสั่งสอนใจปวงข้าพระองค์ได้ เพราะเหตุที่สั่งสอน ใจได้นั้น อวิชชาโมหะก็ได้ดับเสียแล้ว มารผู้ต่ำช้าก็มิได้เป็นข้าศึกแก่ พระองค์
๕. พระองค์ทรงตั้งพระทัยอันยิ่งด้วยพระกรุณาไว้ ทรงบำเพ็ญประโยชน์
[คืออัตถจริยา ๓] ปร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2012, 03:38:18 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
มิได้ ให้เลิกสวด เว ทา สา กุ  แต่มาแชร์ความรู้กันนะครับ :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 28, 2012, 08:03:04 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยาวมาก ขอ บาย ก่อนครับ ตอนนี้ขอสั้น ๆ ก่อนครับ

บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ผู้ใดฉลาด จะนำเพียงแค่บางบทสั้นๆ ไปใช้ไปสวดก็ทำได้ มิต้องสวดทั้งหมด ก็สำริตผลที่สวดใช้ จักได้ใช้ชีวิตที่คร่องขึ้น  :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 29, 2012, 03:10:54 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

intro

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมคาถาโบราณจากศรีลังกา ที่มาชินบัญชร
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 30, 2012, 01:31:11 pm »
0
นิทานพจน์

   การสวดมนต์หรือเจริญพระพุทธมนต์นั้นถือเป็นกิจจำเป็นอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชนที่จะต้องให้ความสำคัญพอๆ กับศาสนกิจอื่นๆ และมีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยเฉพาะพระสงฆ์จะต้องทรงจำพระสูตร พระปริตร คาถา ปาฐะต่างๆ ให้ได้มากพอสมควร เพื่อที่จะได้นำไปใช้โปรดศรัทธาญาติโยมในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เช่น ทำบุญต่ออายุ ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น จำต้องใช้บทสวดต่างๆ เหล่านี้ไปสวดสาธยายเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ทายกทายิกาและเคหะสถานบ้านช่อง  จึงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ปรากฏหลักฐานทางฝ่ายบาลีค่อนข้างมากแห่ง ดังนั้นพระสงฆ์จึงคู่กับกิจนิมนต์และเป็นกรณียะอย่างหนึ่งดังปรากฏทางพระวินัยว่า เมื่อรับนิมนต์แล้วไม่ไป เป็นปฏิสสวทุกกฏ (เป็นอาบัติ                  ทุกกฏเพราะรับคำ) ในระยะเริ่มแรกหรือมูลเหตุของการเจริญพุทธมนต์นั้น คงเนื่องมาจากการสาธยายธรรมของภิกษุทั้งหลาย ตามวัดวาอารามต่างๆ โดยมากเป็นไปในรูปแบบของการสาธยายพระกัมมัฏฐาน เช่น สาธยายอาการ ๓๒ ในร่างกาย เพื่อพิจารณาให้เห็นสิ่งปฏิกูลต่างๆ เป็นต้น เป็นการกำหนดพิจารณาอารมณ์กัมมัฏฐานต่างๆ หรือเป็นการสาธยายพระพุทธพจน์เพื่อทรงจำไว้มิให้สูญหาย เป็นการช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง

พิธีกรรมจึงเกิดขึ้นในวัดก่อน ต่อมาจึงแผ่ขยายออกมานอกวัด เริ่มจาก           มีศรัทธาญาติโยมนิมนต์พระมาเลี้ยงที่บ้าน และเพื่อตอบแทนอุปการคุณของทายก      ทายิกาที่ให้การอุปถัมภ์บำรุง พระสงฆ์เองจำต้องมีสิ่งปฏิการะเป็นธรรมบรรณาการด้วยการกล่าวมงคล๑ หรือธรรมกถาบทหนึ่งหรือสองบทเป็นอย่างน้อย เพื่อให้เจ้าภาพอาจหาญ ร่าเริง บันเทิงในพระธรรมคำสอนและอิ่มเอิบในปุญญาวัจจมัยที่ได้บำเพ็ญ    ไปแล้วนั้นและเพื่อปลูกศรัทธาปสาทะของเจ้าภาพให้ยิ่งๆ ขึ้นไป  เบื้องแรกก็คงไว้ภาระให้เป็นหน้าที่ของพระสังฆเถระ(ประธานสงฆ์) หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งซึ่งได้  รับสังฆานุมัติ ทำหน้าที่สวดสาธยายเพียงรูปเดียวก่อน ต่อมาภายหลังจึงนิยมสาธยายพร้อมกันเป็นหมู่คณะ
   บทสวดต่างๆ นั้นเป็นภาษาบาลีหรือมคธพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาลเป็นชาวมคธ หรือผู้ที่ไม่ใช่ชาวมคธก็เข้าใจภาษามคธเป็นอย่างดี  เพราะเป็นภาษากลางทางพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในการประกาศศาสนธรรม ดังนั้นผู้ที่ฟังพระสวดจึงรู้ความหมายเป็นอย่างดีว่า พระท่านสวดอะไรบ้าง เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่ขยายเข้ามาในประเทศของเรา พระเถระทั้งหลายได้นำเอาธรรมเนียมปฏิบัตินี้มา            ใช้ด้วย แต่เนื่องจากบ้านเมืองเราเป็นปัจจันตประเทศ นอกเขตแดนชมพูทวีป มิได้ใช้ภาษาบาลีหรือมคธเหมือนอย่างชาวอินเดียโบราณ จึงไม่สามารถจะเข้าใจความหมายของบทสวดต่างๆ ที่เป็นภาษาบาลีได้ ยกเว้นเฉพาะแต่ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาเท่านั้น ภาษาบาลีจึงกลายเป็นของสำหรับกาลเทศไป เมื่อไม่รู้ความหมาย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงนิยมยกย่องว่า ภาษาบาลีหรือบทสวดบาลีเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นที่รวบรวมพระพุทธวจนะทั้งหมดเอาไว้นั่นเอง จึงนิยมนำมาใช้สวดสาธยายเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ต่อมาเมื่อมีผู้นิยมนับถือมากเข้าก็เลยกลายเป็นธรรมเนียมไป
   ปัจจุบันทางภาคเหนือมีพระภิกษุบางรูป และพุทธศาสนิกชนบางท่านมีอคติ           ต่อการทำวัตรสวดมนต์แปลด้วยคิดเห็นว่า เมื่อแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว คำสวดต่างๆ ก็จะหมดพลังความขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ไป ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า ต้องด้วย               องค์คุณของผู้สวดพระปริตร ๓ ประการคือ
๑.  สวดถูกอักขระ
   ๒. สวดให้ครบบริบูรณ์  ไม่ทำบทพยัญชนะให้ขาดตกบกพร่อง และ                           รู้ความหมายของบทสวดนั้นด้วย 
   ๓.  ตั้งจิตประกอบด้วยเมตตาปรารถนาจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง๑    
   เช่นนี้แล้วพระปริตรจะไม่ทรงอานุภาพได้อย่างไร สำหรับข้าพเจ้านั้นไม่นิยมปฏิบัติ แต่ก็ไม่คัดค้านโดยให้เหตุผล ๓ ประการเช่นกันคือ
๑.    รู้ความหมายบทสวดดีอยู่แล้ว 
   ๒. จะต้องใช้เวลามากในการสาธยาย และ 
   ๓. ต้องการให้การสวดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 
   ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั้งหลายถึงแม้จะไม่รู้ความหมายที่พระท่านสวด แต่ถ้าตั้งใจฟังโดยสัจจเคารพและเลื่อมใสแล้วเชื่อได้เลยว่าจะต้องได้รับการคุ้มครองป้องกันโดยอานุภาพของพระปริตรอย่างแน่นอน ดังเช่น ค้างคาวห้าร้อยตัวฟังพระภิกษุสองรูปสาธยายพระอภิธรรมที่เงื้อมผาแห่งหนึ่งในสมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะ พอสิ้นชีวิตลงได้ท่องเที่ยวไปในระหว่างเทวโลกและมนุษย์โลกนับครั้งไม่ถ้วน ในชาติสุดท้ายได้มาเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล และได้ออกบวชจนสำเร็จเป็น                  พระอรหันต์หมดทุกรูป เป็นตัวอย่าง




บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
บทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์นำมาใช้สวดสาธยายนั้นรวบรวมเอามาจากพระ                พุทธวจนะต่างๆ ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นส่วนมาก และเรียกว่า พระปริตรบ้าง                 พระสูตรบ้าง คาถาและปาฐะบ้าง นอกนั้นก็เป็นเถรภาษิตบ้าง เช่น อังคุลิมาลปริตร เป็นต้น เทวตาภาษิตบ้าง เช่น อาฏานาฏิยสูตร เป็นต้น เป็นบทสวดที่ครูบาอาจารย์ภายหลังแต่งขึ้นมาใหม่ และใช้สวดสืบต่อกันมาบ้าง เช่น โย จักขุมา, สัมพุทเธ เป็นต้น เกี่ยวกับการกำเนิดพระปริตรนั้นอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ ได้เขียนไว้ในหนังสืออานุภาพพระปริตต์ของท่านไว้น่าฟังมากดังนี้ (อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับเดิม)
   เรื่องการนับถือพระปริตต์เป็นของขลังและศักดิ์สิทธิ์คงมีมาก่อนพุทธกาล             เช่น มีอ้างถึงการทำน้ำพระปริตต์ (ปริตฺตปาน) ทรายพระปริตต์ (ปริตฺตวาลุกา) และด้ายพระปริตต์ (ปริตฺตสุตฺต) ในเตลปัตตชาดก๑และมีผู้กล่าวว่าพระพุทธศาสนารับเอาแนวความคิดเรื่องพระปริตต์นี้มาจากรักษมนตร์ ในคัมภีร์อาถรรพเวท (อาถรฺวเวท) แล้วดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและเรียกชื่อเสียใหม่ว่า “ปริตฺตา”*แม้จะมีผู้โต้แย้ง ** แต่ในบางปริตต์ก็ยังนำเอาคำว่า “รกฺษ” มาใช้ในรูปคำบาลี


๑   ชาตกฏฺกถา, ทุติยภาค, น. ๒๓๖ – ๒๔๘   
*   Sacred Book of the Buddhists, Dialogues of the Buddha, part III, pp. 170, 186.
**   ปิยทัสสีเถระ ใน The  Book of Protection, pp. 11-12

ว่า  “รกฺขา” ควบคู่กับ “ปริตฺตา” เช่น กตา เม รกฺขา, กตา เม ปริตฺตา  “ข้าพเจ้าได้ทำการป้องกันรักษาแล้ว, ข้าพเจ้าได้ทำการคุ้มครองป้องกันแล้ว” หรือใช้แทนกัน เช่น  อยํ โข สา มาริส อาฏานาฏิยา รกฺขา “ดูก่อนสหายผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยารักขานั้นนี้แล” และคงรับเข้ามาเป็นแนวปฏิบัติ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมีคำกล่าวถึงในคัมภีร์                 ภิกขุนีวิภังค์***ว่าพระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้นางภิกษุณีเรียนหรือบอกติรัจฉานวิชาใครเรียนหรือบอกต้องอาบัติ แต่ผู้เรียนและบอกพระปริตต์ เพื่อคุ้มครองป้องกันตัวไม่เป็นอาบัติ (รายละเอียดหาอ่านได้จากหนังสือเล่มนั้น)
   ปัจจุบันพระสงฆ์ทางภาคเหนือใน ๘ จังหวัดล้านนาประกอบด้วย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, น่าน, พะเยา, เชียงราย นิยมเจริญพระพุทธมนต์แบบพิสดารที่เรียกว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ สูตรมนต์ตั๋น ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในพิธีมหามังคลาภิเษก อบรมสมโภช เฉลิมฉลองต่างๆ เช่น                   เบิกบายราศี พระเจดีย์ วิหาร อุโบสถที่สร้างใหม่ ยกช่อฟ้าใบระกา ผูกพัทธสีมา                  พุทธาภิเษกพระประธาน บวชต้นโพธิ์ หรือปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ ตลอดจนถึงงานเทศกาลของวัด (งานประเพณีประจำปี) เป็นต้น ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ก็จะใช้บทสวดอย่างพิสดาร และเรียกการสวดในพิธีใหญ่นี้ว่า “สวดมนต์ตั๋น” คือสวดหมดทั้งบทขัดและบทสวด ไม่มีการตัดตอนหรือจะเรียกว่า สวดเต็มสูตร หรือเต็มอัตราก็ได้
   เกี่ยวกับคำว่า “สวดมนต์ตั๋น” นั้น เอาเฉพาะความหมายของคำว่า “ตั๋น” ก่อน                มีผู้รู้หลายท่านให้ทัศนะเกี่ยวกับความหมายไว้หลายนัยดังนี้
   ๑.คำว่า ตั๋น มาจากคำว่า ตันติ ในภาษาบาลีที่แปลว่า ระเบียบแบบแผน หรือเส้นด้าย ดังนั้นจึงควรเขียนใหม่ตามรูปศัพท์เดิมว่า  “มนต์ตันติ์”  เมื่อรวมกับคำว่า  สวด เป็น “สวดมนต์ตันติ์” จึงมีความหมายว่า การสวดอย่างมีระเบียบแบบแผน คือ สวดแบบมีจังหวะทำนองซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาคเหนือตอนบน อย่างทางภาคกลางนิยมสวดเป็นทำนองสังโยคแบบช้าๆ เนิบนาบ แต่ทางล้านนาจะเน้นการสวด

***      อนาปตฺติ.....คุตฺตตฺถาย  ปริตฺตํ  ปริยาปุณาติ....วาเจติ. วินยปิฏก, ภิกขุนีวิภังค์ ๓
      น. ๑๗๗, ๑๗๘

แบบเร็ว ก็จะมีจังหวะและท่วงทำนองไปอีกแบบหนึ่ง และทำนองจังหวะของแต่ละจังหวัดก็จะแตกต่างกันออกไป อย่างเมืองน่านจะใช้จังหวะม้าย่ำไฟหรือ ม้าเหยียบไฟ เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะการสวดแบบเร็วมาก ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ชาวภาคกลางฟังพระทางเหนือสวดแล้วไม่รู้เรื่อง เพราะชินกับทำนองสวดของทางภาคกลางนั่นเอง หรือมีความหมายว่าการสวดที่ยืดยาวใช้เวลามาก โดยอุปมาด้วยความยาวของเส้นด้าย
   ๒. คำว่า ตั๋น ในที่นี้เป็นภาษาล้านนาตรงกับภาษาไทยกลางว่า ตัน นั่นเอง ดังนั้นจึงเขียนตามรูปศัพท์ได้ว่า “สวดมนต์ตัน” และออกเสียงตามภาษาล้านนาว่า                   “สวดมนต์ตั๋น” ซึ่งมีความหมายว่า การสวดโดยบรรจุบทสวดหรือพุทธมนต์ลงไปให้ครบหมดจนเกือบทุกสูตร หรือสวดเต็มที่นั่นเอง บางแห่งเรียกการสวดในลักษณะนี้ว่า            “สูตรตังลำ” คือสูตรทั้งลำหรือทั้งท่อน  มีคำกล่าวเกี่ยวกับการสวดในลักษณะทำนองนี้ว่า “ตั๋นผิ๊ตั๋นผิง” หรือ “เข้าเลิ้กเข้าเดิ้ก”  คือจะต้องชักมาสวดจนหมดไส้หมดพุงกันเลยทีเดียว ดังนั้น มนต์ตั๋นจึงมีลักษณะที่ไม่ตายตัว จะลดหรือเพิ่มบทสวดขึ้นอยู่กับประธานสงฆ์ผู้นำสวด
   ๓.  คำว่า ตั๋น มาจากคำว่า ตันตระ ซึ่งเอามาจากลัทธิตันตระของพราหมณ์ดังนั้นจึงควรเขียนใหม่ว่า “สวดมนต์ตันตร์” เกี่ยวกับความหมายตามลัทธิตันตระซึ่งออกมาจากอาถรรพเวท และมีผู้เพิ่มหลักการในคัมภีร์ฮินดูเข้ามาใหม่แบ่งออกเป็น ๔ ภาค คือ
   ๓.๑ ศรุติ  หมายถึง พระเวทที่ฤๅษีทั้งหลายรับทราบมาจากเทพเจ้า  เรียกยุคนี้ว่า
“สัตยยุค” หรือ “กฤตยุค” อันได้แก่ยุคทองหรือยุคที่ธรรมะสมบูรณ์เต็มที่
   ๓.๒ สมฤติ  หมายถึง ยุคความรู้ที่ฤๅษีทั้งหลายระลึกได้ สำหรับยุคนี้เรียกว่า                     “เตรดายุค” อันเป็นยุคที่ธรรมะเสื่อมลง ๑ ใน ๔
   ๓.๓ ปุราณะ หมายถึง นิยายเก่าแก่ที่ใช้เล่าเพื่อช่วยให้ผู้มีสติปัญญาเสื่อมลงกว่าเดิม เข้าใจหลักธรรมได้ดีกว่าเดิม เรียกยุคนี้ว่า “ทวาปรยุค” อันเป็นยุคที่ธรรมะเสื่อมลงครึ่งหนึ่ง
   ๓.๔ ตันตระ หมายถึง ปัญญาที่แผ่ไปเพื่อป้องกันอันตรายสำหรับ
“กลียุค”  คือ ยุคปัจจุบันอันเป็นยุคเสื่อม หรือยุคแห่งการทะเลาะวิวาท ซึ่งธรรมะเสื่อมลงไป ๓ ใน ๔ (การแบ่งยุคตามลัทธิฮินดูซึ่งไม่เหมือนศาสนาอื่น)

คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกาแสดงอายุของยุคทั้ง ๔ ไว้ดังนี้
   ตตฺร กตยุคสฺส มนุสฺสสงฺขฺยาย ปมาณํ อฏฺวีสติ สหสฺสาธิกานิ สตฺตรสวสฺส-                ลกฺขานิ. (กฤตยุคมีอายุประมาณ ๑,๗๒๘,๐๐๐ ปีของมนุษย์)
   เตฺรตาย ฉนฺนวุติสหสฺสาธิกานิ ทฺวาทส วสฺสลกฺขานิ. (เตรดายุคมีอายุประมาณ ๑,๒๙๖,๐๐๐ ปีของมนุษย์)
   ทฺวาปรสฺส จตุสฏฺิสหสฺสาธิกานิ อฏฺ วสฺสลกฺขานิ. (ทวาปรยุคมีอายุประมาณ ๘๖๔,๐๐๐ ปีของมนุษย์)
   กลิสฺส พาตฺตึสสหสฺสาธิกานิ จตฺตาริ วสฺสลกฺขานิ. (กลียุคมีอายุประมาณ ๔๓๒,๐๐๐ ปีของมนุษย์)
   ภาษาบาลีคำว่า “ตัน” มาจาก  ตนฺ ซึ่งเป็นธาตุ (Verbal root)  แปลว่า “แผ่ไป”                (to strech, extend) ตระ เป็นปัจจัยใช้แทนคำว่า “ป้องกัน” หรือ “ช่วยให้ปลอดภัย” ดังนั้นสวดมนต์ตันตร์ หรือ สวดมนต์ตั๋นตร์ ตามนัยนี้จึงมีความหมายว่าสวดมนต์ที่          แผ่ไปเพื่อป้องกันอันตราย โดยนัยดังกล่าวเชื่อกันว่าสวดมนต์ตั๋นตร์เป็นบทสวดที่สามารถชำระล้างอุบาทว์จัญไรต่างๆ ได้ เมื่อนำไปสวดในสถานที่ใดจะทำให้เกิดสวัสดิมงคลขึ้นในที่นั้น
   ๔.   คำว่า ตั๋น ในที่นี้ตามทัศนะของข้าพเจ้า สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “สุตตันตะ” ซึ่งหมายถึง พระสูตรอันนับเข้าหนึ่งในสามของพระไตรปิฎก แยกออกเป็นสองคำคือ สุตตะ + อันตะ รวมกันเป็น สุตตันตะ  อันตะ เป็นเพียงสกัตถปัจจัยไม่มีความหมายอะไร ดังนั้นคำว่า สุตตะ กับ สุตตันตะ จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน และคำว่า “สวดมนต์ตั๋น” ในที่นี้น่าจะมาจาก “สวดตั๋น” ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า                  “สูตรตั๋น” และคำว่า “สูตรตั๋น”  ก็เพี้ยนมาจากคำว่า “สุตตันตะ” อีกต่อหนึ่ง ส่วนคำว่า มนต์ เป็นคำที่เพิ่มเข้ามาภายหลัง ตามนัยนี้คำว่า สวดมนต์ตั๋น ควรเรียก “สูตตันต์” และออกเสียงตามสำเนียงล้านนาว่า “สูตตั๋นต์”
   คำว่า “สวด” นั้นเป็นคำที่ใช้ในภาษากลางเท่นั้น ภาษาล้านนาไม่มีใช้ แต่จะใช้คำว่า “สูตร” ซึ่งที่จริงควรเขียน “สูต” เพราะมาจากคำว่า สุตตันตะ หรือจะเขียน “สูด” ก็ได้ แต่ความหมายไปซ้ำกับกริยาที่แปลว่า ดม จึงเขียน สูตร หรือ สูต เสียดังนี้

เนื่องจาก ชาวไทยกลางกับล้านนาเวลาออกเสียงลิ้นไม่เหมือนกันจึงพูด สูด เป็น สวด ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับอิทธิพลการพฤทธิ์สระมาจากภาษาบาลีกล่าวคือ อุ อู เป็น โอ, โอ เป็น อว โดยนำมาดัดแปลงใหม่เพื่อให้เข้ากับลิ้นของตน จาก อุ อู เป็น โอะ โอ จาก โอะ โอ เป็น อัวะ อัว และไทยเผ่าต่างๆ นิยมออกเสียงต่างกัน เช่น คำว่า กำพุ้ง, กำพ้ง-                     กำโพ้ง, กำพ้วง (หมายถึง แมลงมุม) ในทางกลับกัน อัวะ อัว ก็อาจกลับเป็น โอะ โอ หรือ โอะ โอ ก็กลับเป็น อุ อู ได้เช่นกัน เหมือนคำว่า “หัว” ไทยบางเผ่าออกเสียง “โห” คำว่า “ห้วน” ในภาษาไทยกลาง ไทยเผ่าอื่นออกเสียงเป็น “หุ้น” นอกจากนี้ยังยักเยื้องไปเป็น หิ้น,เหี้ยน ได้อีก หรืออย่างคำว่า “ลง” “ข้น” ไทยบางเผ่าออกเสียง “ลุง” “ขุ้น” เป็นต้น
   ดังนั้น คำว่า สูต หรือ สูด ในภาษาล้านนาจึงกลายมาเป็น สวด ในภาษา                 ไทยกลาง และนำมาใช้เป็นคำกริยาหมายถึง ท่องบ่นสาธยาย ซึ่งคำว่า “สวด” ในภาษาไทยกลางน่าจะตรงกับคำว่า สวาธ (อ่านควบกล้ำ ไม่อ่านสะหวาด) ในภาษาล้านนา ซึ่งตัดเอามาจากคำว่า สวาธยาย (ดูวินิจฉัยคำว่า สวาธ - สังวาธ ในหนังสือล้านนาวินิจฉัยของข้าพเจ้า) หมายถึง สวดมนต์, ร่ายมนต์, ท่องมนต์ หรือเสกคาถา            ซึ่งทางล้านนามีที่ใช้ต่างกันดังนี้  ถ้าเป็นการสวดมนต์อย่างเจริญพุทธมนต์ ไม่เรียก สวาธ แต่เรียก สูตร หรือ ตั้งสูตร บางทีเรียก สูตรมังคละ หรือ สูตรมนต์ ซึ่งหมายถึงเจริญพุทธมนต์นั่นเอง แต่ถ้าเป็นสวดหรือท่องอย่างท่องมนต์คาถาจะเรียกว่า สวาธ ดังนั้นคำว่า “สวดมนต์ตั๋น”  จึงควรเรียกให้ตรงตามคำล้านนาเดิมว่า  “สูตรมนต์ตั๋น”
   ตามทัศนะของข้าพเจ้าๆ ให้น้ำหนักกับนิยามคำว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ                      สูตรมนต์ตั๋น ข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๔ มากกว่าข้ออื่นๆ กล่าวคือ คำว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ สูตรมนต์ตั๋น ตามนัยข้อ ๒ นั้นมาจากคำว่า   สวดมนต์ หรือ สูตรมนต์ และคำว่า ตั๋น ซึ่งมีความหมายว่า ตัน สองคำรวมกัน และมีความหมายในตัวไม่ต้องแปล ส่วนตามนัยข้อที่ ๔ นั้น ทั้งสองคำนี้มาจากคำว่า สวดตั๋น หรือ สูตรตั๋น ซึ่งมีรากศัพท์เดิมมาจาก        คำว่า สุตตันตะ (สุตฺตนฺต) ในภาษาบาลี ดังนั้นคำๆ นี้ควรจะเขียนให้ตรงกับรากศัพท์เดิมว่า สูตตันต์ หรือ ปรับปรุงใหม่ว่า สูตรตันต์ และออกเสียงตามสำเนียงล้านนาว่า สูตตั๋นต์  ซึ่งตามนัยที่ ๔ นี้ ค่อนข้างจะใกล้ความเป็นจริงอยู่มาก เพราะบทสวดต่างๆ ที่

พระสงฆ์ทางล้านนานำมาใช้สวดโดยมากจะมาจากพระสูตร หรือสุตตันตปิฎกทั้งสิ้น ต่อมาจึงเพิ่มคำว่า มนต์ เข้ามาในระหว่างกลางของคำจึงเป็น สูตมนต์ตั๋นต์ แล้วปรับปรุงใหม่เป็น  สูตรมนต์ตั๋นต์ ซึ่งหมายถึงการสวดหรือสาธยายธรรมตามแนวพระสุตตันตปิฎก แต่ถ้าพิจารณาตามนัยข้อ ๒ คำว่า สูตรมนต์ตั๋นตามความเข้าใจของคนทั่วไปก็น่าจะแปลได้อีกนัยหนึ่งว่า ต้นตำรับของการสวดมนต์แบบพิสดารหรือยืดยาวนั่นเอง โดยให้ความหมายของคำว่า สูตร ในนี้หมายถึงตำรับ ซึ่งก็ออกจะใกล้ทางความเป็นจริงเช่นกัน เพราะปรากฏว่าพระสงฆ์ทางล้านนาจะท่องจำบทสวดมนต์ได้มากกว่าพระสงฆ์ภาคอื่นๆ  ส่วนคำว่า “สวด” นั้นเป็นคำไทยกลางที่เรายืมมาใช้ ซึ่งคำล้านนาเดิมเราใช้ “สูตร”  สรุปแล้วการสูตรมนต์ตั๋น ก็คือ การเจริญพุทธมนต์แบบพิสดารตามแบบฉบับของล้านนา ซึ่งเมื่อพิจารณาตามนัยทั้ง ๔ ข้อข้างต้นนั้น คำว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ สูตรมนต์ตั๋น ก็จะเขียนได้ดังนี้
๑.   สวดมนต์ตั๋นติ์, สูตรมนต์ตั๋นติ์ (สูตมนต์ตั๋น) - การสวดหรือบทสวดที่มี               
แบบแผนหรือเป็นเอกลักษณ์
๒.   สวดมนต์ตั๋น, สูตรมนต์ตั๋น (สูตมนต์ตั๋น) - การสวดหรือบทสวดแบบครบ
เต็มสูตร
   ๓.   สวดมนต์ตั๋นตร์,  สูตรมนต์ตั๋นตร์ (สูตมนต์ตั๋นตร์) - การสวด หรือบทสวดที่แผ่ไปเพื่อป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆ
   ๔.   สวดมนต์ตั๋นต์, สูตรมนต์ตั๋นต์ (สูตมนต์ตั๋นต์) หรือ สวดตั๋นต์, สูตตั๋นต์
      - การสาธยายธรรมตามแนวพระสุตตันตปิฎก หรือบทสวดที่นำมาจาก            พระสูตรต่างๆ
   และมีความหมายตามนัยทั้ง ๔ ข้อ ดังกล่าวมา แต่นิยมเขียนแบบสามัญทั่วไปว่า สวดมนต์ตั๋น, สูตรมนต์ตั๋น โดยตัดสะกดการันต์ข้างท้ายออกเสียตามรูปแบบการใช้อักขรวิธีของอักษรธรรมล้านนาเป็น สวฯดม฿น์ตฯตันฯ (สวดมนต์ตั๋น) และ สูต์ม฿น์ตฯตันฯ              (สูตรมนต์ตั๋น - สูตมนต์ตั๋น)  เฉพาะคำว่า สูตร (สูต) เป็นได้ทั้งคำนามและกริยา ที่เป็นคำนามหมายถึงบทสวด อนึ่งคำว่า สูตรมนต์ตั๋น

จะเรียกสั้นๆ ว่า มนต์ตั๋น ดังนี้ก็ได้ และสูตรมนต์ตั๋น๑ นี้น่าจะตรงกับสวดสิบสองตำนาน (สวดมนต์ใหญ่ หรือสวดมนต์ฉบับหลวง) ของทางภาคกลางนั่นเอง แต่มีจุดประสงค์ของการนำไปใช้ต่างกัน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สูตรมนต์หลวง๒  หรือ มังคละหลวง (มหามังคละปริตร)  ส่วนสวดเจ็ดตำนานนั้นเรียกว่า สูตรมนต์น้อย หรือสูตรมนต์ทั้ง ๕ (ปัญจมังคละปริตร) หรือบางทีก็เรียก มังคละ อย่างเดียว ดังปรากฏในคาถาอ้อผะหยาของล้านนาว่า              “เรียนสูตรมนต์น้อยหื้อได้หมดขวง เรียนสูตรมนต์หลวงหื้อได้หมดพร้อม” ดังนี้
   พูดถึงสูตรมนต์ทั้ง ๕ หรือ เจ็ดตำนานนั้นมีที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ แต่เดิมพระสงฆ์ทางล้านนาคงจะสาธยายเพียง ๕ พระสูตร หรือ ๕ ปริตรเท่านั้น คือ เยสันตา, ยานี , กะระณี, ธะชัคคะ, วิปัสสิ ดังที่โบราณาจารย์ทางล้านนาได้ผูกเป็นคาถาหัวใจ         สูตรมนต์ทั้ง ๕ เอาไว้ว่า  เย ยา กะ ธะ วิ    
   อันมนต์ตั๋นนั้นถือว่าเป็นองค์คุณหรือภูมิชั้นของครูบาก็ว่าได้ หมายความว่าพระภิกษุรูปใดจะได้รับการแต่งตั้งหรือยอยกขึ้นเป็นครูบานั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติพิเศษหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้

คุณสมบัติของครูบา

   ๑.    เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งด้วยพรรษายุกาล
   ๒.   มีศีลาจารวัตรเพียบพร้อมงดงามเป็นที่เคารพนับถือของศรัทธาสาธุชนทั่วไป
   ๓.   มีความรู้เชี่ยวชาญในบาลีอรรถกถาและคัมภีร์สัททาวิเสสเป็นต้น เรียกว่า
รู้อัตถะบาลีธรรม
   (แทรกกล่าว) เล่ากันว่าครูบาสมัยก่อนโน้นรู้ภาษาสัตว์ต่างๆ สามารถฟังเสียงร้องของนกกาเป็นต้น เข้าใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้เล่าเรียนจบคัมภีร์สัททานก คัมภีร์ที่ว่า

๑   ต่อจากนี้จะใช้คำนี้ทั้งหมด ที่เรียกสวดมนต์ตั๋นนั้นอนุโลมให้ใช้ตามไทยกลาง ส่วนคำล้านนาเดิมคง
   ใช้สูตรมนต์ตั๋น
๒   ปัจจุบันเรียกพุทธมนต์หลวง แต่ชื่อนี้เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่
นี้อาจจะเนื่องด้วยบทมนต์ ผู้ที่รู้มนต์บทนี้เรียกว่า  “สัพพรวัญญู”  (รู้เสียงสัตว์ทั้งปวง)
ในสมัยพุทธกาลมีผู้ที่รู้มนต์บทนี้เหมือนกัน ได้แก่พระเจ้าพิมพิสาร ท่านยกสาธกมากล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบทเรื่องกุมภโฆสก การรู้เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ นี้ นับเนื่องในโลกวิสัย เป็นวิสัยที่ปุถุชนทั่วไปถึงแม้จะไม่ใช่กัลยาณปุถุชนก็ทำได้ 1 ถือเป็นคุณพิเศษทางโลก แสดงว่าครูบาในสมัยก่อนๆ ท่านศึกษาเจนจบในภูมิโลกเป็นอย่างดี บัดนี้คัมภีร์ดังกล่าวได้อันตรธานสาบสูญไปแล้ว แต่ถ้าหมายเอาพระอริยบุคคล                    ผู้แตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา ถือว่าเป็นเรื่องพ้นโลกวิสัย  เพราะการรู้ภาษาสัตว์               ทั้งปวงนี้นับเข้าในนิรุตติปฏิสัมภิทา คือปัญญาที่แตกฉานในภาษาต่างๆ ตามที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามัคควัณณนาว่า๑  เทสภาสา  นาม  เอกสตโวหาร-กุสลตา, วิเสเสน ปน มาคธิเก โกสลฺลํ.  “ชื่อว่า เทสภาสา  คือ ฉลาดในโวหารร้อยหนึ่ง [พูดได้ร้อยกว่าภาษา] แต่โดยพิเศษคือช่ำชองในคำพูดของชาวมคธ”
   ภาษามคธหรือบาลีนั้นเป็นภาษาดั้งเดิมของสรรพสัตว์ (...สภาวนิยา มาคธิกาย  สพฺพสตฺตานํ มูลภาสาย 2 ปเภทคตํ  าณํ นิรุตฺติปฏิสมฺภิทา.) เป็นสภาวนิรุตติ (ภาษาที่มีอยู่ตามปกติ) คือไม่แปรผัน เป็นภาษาสากลใช้ได้ทั่วทั้งจักรวาล ท่านเล่าเรื่องไว้ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคว่า
   เมื่อมารดาบิดาให้บุตรทารกนอนบนเตียงหรือตั่ง พูดอะไรๆ ก็ตาม เด็กก็จะทำตามสิ่งที่พูดนั้นๆ เด็กจะจดจำเอาภาษาของเขาทั้งสองว่า พูดอย่างนี้ๆ พอนานๆ ไปก็ จะเรียนรู้ภาษาทั้งหมดและพูดได้เอง ยกตัวอย่าง มารดาเป็นชาติทมิฬ บิดาเป็นชาติ      อันธกะ ถ้าเด็กฟังคำพูดข้างมารดาก่อนก็จะพูดภาษาทมิฬ ถ้าฟังข้างบิดาก่อนก็จะพูดภาษาอันธกะ ถ้าฟังพร้อมๆ กันไป ก็จะพูดได้ทั้งสองภาษา แต่เมื่อไม่ได้ฟังภาษา             ทั้งสองก็จะพูดภาษามคธ (เกี่ยวกับเรื่องนี้ดูตำนานพระธาตุหริภุญชัย ตอนพระเจ้าอาทิจจราช โปรดให้นำเด็กที่เกิดใหม่ ๗ วัน มาชุบเลี้ยงไว้ร่วมกรงกับอีกา เพื่อให้เรียนเอาภาษากา พอครบ ๗ ปีบริบูรณ์ ก็รู้ทั้งภาษากา ภาษาคน ในจามเทวีวงศ์และชินกาล-มาลีปกรณ์)

๑ ที่นำมาอ้างถัดจากนี้ในกรณีที่ไม่ได้บอกชื่อคัมภีร์ไว้ พึงทราบว่ามาจากคัมภีร์เดียวกันทุกแห่ง

อนึ่งคนที่เกิดในป่าทึบเป็นมนุษย์โทนคนเดียว ไม่มีเพื่อน๑ ทั้งไม่เคยสดับภาษาของมนุษย์มาก่อน เมื่อจะพูดก็พูดแต่ภาษามคธนี้เท่านั้น ซึ่งพูดได้ตามธรรมดาของตน ภาษามคธจึงเป็นภาษาสากล (สภาวนิรุตติ) ของจักรวาล ดังสาธกบาลีในปฏิสัมภิทา- มัคควัณณนาว่า นิรเย  ติรจฺฉานโยนิยํ  เปตฺติวิสเย  มนุสฺสโลเก เทวโลเกติ  สพฺพตฺถ มาคธิกา  ภาสา ว  อุสฺสนฺนา.  (ภาษามคธเท่านั้นใช้กันดื่นในนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์โลก และเทวโลก)  และปัญญาที่แตกฉานในนิรุตติภาษานี้ท่านกล่าวว่ามีเสียงเป็นอารมณ์ หามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่ (เอวมยํ  นิรุตฺติปฏิสมฺภิทา                           สทฺทารมฺมณา  นาม  ชาตา, น  ปญฺตฺติอารมฺมณา) หมายความว่าพอได้ยินเสียงก็กำหนดได้ว่าเป็นสภาวนิรุตติ และสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมีนามบัญญัติสำหรับเรียก เป็นต้นว่า นาย นาง หรือ สูง ต่ำ ดำ ขาว เหตุนี้กระมังท่านจึงกล่าวว่า สามารถฟังสำเนียงเสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายเข้าใจหรือรู้ภาษาสัตว์ทั่วไปได้ ซึ่งมิได้รวมไปถึงการหยั่งทราบวาระจิตของบุคคลอื่น หรือที่เรียกว่า  เจโตปริยยญาณ (ญาณกำหนดรู้จิตของสัตว์ทั้งหลาย) แต่ในสัตติคุมพชาดก วีสตินิบาต ปรากฏเรื่องของ
นกแขกเต้าสองตัวคือสัตติคุมพะ (พุ่มหอก) และปุปผกะ (ดอกไม้) สนทนากับโจร           พ่อครัวและพระเจ้าปัญจาละโดยใช้ศัพท์ว่า มนุสฺสภาสาย กเถสิ (พูดด้วยภาษามนุษย์) และ ปฏิสณฺารมกาสิ (ทำปฏิสันถาร) คนกับสัตว์คุยกันรู้เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นจินตนาการของผู้แต่งคัมภีร์ ที่ต้องการให้ตัวละครแสดงบทบาทมากกว่า เทียบได้กับการ์ตูนสมัยนี้นั่นเอง  เพราะคงไม่มีนกแสนรู้ตัวไหนสามารถเลียนสำเนียงและพูดภาษามนุษย์ได้จริงๆ ถ้าจะบอกว่าเป็นวิสัยของพระโพธิสัตว์ย่อมทำได้  ทว่านกอีกตัวหนึ่งนอกนี้ (คือสัตติคุมพะ) หาใช่พระโพธิสัตว์ไม่ จึงถือว่าพ้นวิสัย เรื่องนี้ชอบกลอยู่
   ผู้ที่ปฏิบัติได้ถึงชั้นนี้ก็คือ ผู้ที่เล่าเรียนธรรมจบปิฎกกันไตร แตกฉานในภาษามคธ ซึ่งจะต้องศึกษาคัมภีร์สัททาวิเสส (ไวยากรณ์บาลี)3 เป็นพื้นฐาน จนเข้าใจช่ำชองถึงฝั่งแห่งภาษานี้ จึงจะแตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทาได้ และการบรรลุปฏิสัมภิทานี้                 

๑     น่าจะเป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งเกิดด้วยอุปปาทปฏิสนธิ อรรถกถาบอกว่าเป็นคนป่า ชะรอยจะตรงกับ
   ทาร์ซานของพวกฝรั่งกระมัง ?

มีได้เฉพาะในหมู่อริยสาวกเท่านั้นในหมู่ปุถุชนหามีไม่  (พหุมฺปิ  อุคฺคเหตฺวา  ปน   ปุถุชฺชนสฺส  ปฏิสมฺภิทาปฺปตฺติ  นาม  นตฺถิ, อริยสาวโก  โน  ปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต  นาม  นตฺถิ) นอกจากนี้ท่านยังจำแนกประเภทแห่งปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ คือ อัตถปฏิสัมภิทา (แตกฉานในอรรถ), ธัมมปฏิสัมภิทา (แตกฉานในธรรม), นิรุตติปฏิสัมภิทา (แตกฉานในภาษา)  และ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (แตกฉานในปฏิภาณ) แต่ละประเภทออกเป็น             ๒ ชั้น คือ เสขะ และ อเสขะ
    ในสมัยพุทธกาลผู้ที่บรรลุปฏิสัมภิทาระดับอเสขภูมิ (ชั้นอเสขะ) มีหลายท่าน เช่น  พระสารีบุตรเถระ,  พระมหาโมคคัลลานเถระ, พระมหากัจจายนเถระ,พระ               โกฏฐิตเถระ เป็นต้น ส่วนผู้ที่บรรลุปฏิสัมภิทาระดับเสขภูมิ (ชั้นเสขะ) ก็มีมาก เช่น พระอานนท์เถระ, จิตตคฤหบดี, ธัมมิกอุบาสก, อุบาลีคฤหบดี,  ขุชชุตตราอุบาสิกา      เป็นต้น (ดูอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค)
   เป็นไปได้ไหมว่าการที่ครูบาทั้งหลายในสมัยโบราณสามารถฟังสำเนียงเสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เข้าใจได้ เพราะท่านบรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา และอย่างน้อยต้องเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นโสดาบันขึ้นไป ถ้ายกเรื่องเล่าในตอนต้นนั้นเสียเป็นไปได้อีกหรือไม่ว่า พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงบรรลุปฏิสัมภิทาชั้นเสขะ เพราะพระองค์ทรงเป็นพระโสดาบัน แต่เมื่อว่าโดยพระชาติกำเนิด พระองค์ก็ทรงเป็นชาวมคธอยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ยิ่งทำให้ฉงน ในเมื่อภาษามคธเป็นสภาวนิรุตติ ไฉนชาวมคธทั่วไปจึงไม่รู้จักเสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายเล่า? มิเช่นนั้นคำที่กล่าวว่าสภาวนิรุตติมีเสียงเป็นอารมณ์จะมีประโยชน์อะไร? หรือว่าภาษามคธในชั้นหลังๆ ท่านเพิ่มนามบัญญัติเข้ามาจึงไม่จัดเป็นสภาวนิรุตติทั้งหมด ส่วนที่เป็นสภาวนิรุตติก็ยังคงอยู่ และเรียกว่า สุทธมาคธิกา (ภาษามคธบริสุทธิ์หรือภาษามคธล้วนๆ) แต่เมื่อพิจารณาความจากศัพท์ว่า                     สัพพรวัญญู ดูเหมือนหนึ่งจะเป็นตำราที่ว่าด้วยการทำนายทายทักมากกว่า เพราะตามเนื้อเรื่องมีอยู่ว่า  พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับเสียงของนายกุมภโฆสก ผู้ดีตกยากมีทรัพย์นับได้อ่านโกฏิ แต่ไม่กล้านำออกมาใช้ด้วยกลัวทางการจับไปสอบสวน หวั่นถูกตั้งข้อหาว่าเป็นโจร จึงปลอมตัวเป็นคนรับจ้าง ทำหน้าที่เป็นยามประจำรุ่ง คอยปลุกชาวเมืองให้ตื่นในเวลาเช้าตรู่ทุกวัน  หลังจากที่พระองค์ได้สดับเสียงของเขาก็ทรงรู้ได้ทันทีว่า เจ้าของเสียงปลุกเป็นคนมั่งมีโภคะ จึงตรัสบอกนางสนมที่เฝ้าอยู่ใกล้ๆ นางทราบดังนั้นจึงใช้ให้คนไปสืบดูได้ความว่า   ป็นเพียงคนกำพร้า เข็ญใจ จึงกราบทูลแก่พระราชา  ท้าวเธอก็ตรัสยืนยันอย่างเดิม ในที่สุดนางขันอาสาไปสืบด้วยตนเอง สุดท้ายความจริงก็ปรากฏ และเป็นจริงดังพระดำรัสทุกประการ (รายละเอียดหาอ่านได้จากธรรมบทภาคที่ ๒)
   ที่นำเรื่องคัมภีร์สัททานกมาเล่านั้น เป็นเพียงแต่ได้ยินคนแต่ก่อนเล่าให้ฟังสืบๆ กันมา ความจริงสัททานกในที่นี้ น่าจะได้แก่สัททาวิเสสนั่นเอง เนื่องจากมีการร่ำลือถึงกิตติศัพท์ของครูบารุ่นก่อนๆ ว่ารู้ภาษานกภาษากากันทั่วไปในดินแดนล้านนานี้  ก็เลยเรียกชื่อสัททาวิเสสเป็นสัททานกไปเสีย ดังนี้กระมัง?
   ๔.   มีความรู้ด้านอักษรศาสตร์สามารถเขียนอ่านอักษรธรรม ลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ และจารคัมภีร์ใบลานได้
   ๕.   มีความรู้ด้านนวกรรมและสถาปนิกตลอดถึงช่างฝีมือเช่น แกะสลัก                   ปั้นและหล่อพระพุทธรูป เป็นต้น
   ๖.   มีความรู้ด้านเวชกรรมหรือแพทย์แผนโบราณ
   ๗.   มีความรู้ด้านโหราศาสตร์ ดูฤกษ์งามยามดีต่างๆ เป็นต้น
   ๘.   ทรงวิทยาคุณแก่กล้าอาคมเวทย์มนต์ สามารถขจัดปัดเป่าบรรเทาทุกข์ร้อนของญาติโยมได้
   ๙.   มีความรู้ด้านประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พุทธาภิเษก เป็นต้น หรือเป็น              เจ้าพิธี
   ๑๐. มีความรู้เชี่ยวชาญในวิชาการแขนงอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุ

   คุณสมบัติพิเศษที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือ จะต้องมีภูมิความรู้ ทรงจำพระสูตรหรือ             บทสวดบาลีต่างๆ  (อันนับเข้าในข้อที่ ๓) ได้อย่างแม่นยำชำนาญจึงจะสมกับดีกรีครูบาที่ได้รับ  ภิกษุผู้เก่งสูตรเก่งเรียนจะได้รับการยกย่องนับถือและมีชื่อเสียงมาก ส่วนภิกษุผู้มีคุณสมบัติของความเป็นครูบาเพียบพร้อมแต่มักน้อยสันโดษ ฝักใฝ่ทางวิปัสสนาถือธุดงค์ และชอบอยู่ป่าเป็นวัตร จะได้รับการขนานนามที่พิเศษออกไปว่า “ครูบามหาป่า”
หรือ “มหาป่า”๑ ซึ่งคำนี้น่าจะเอามาจากคำบาลีว่า อรัญญวาสี หรือ วนวาสี ที่แปลว่า พระหนป่า หรือสายป่า คือ สายปฏิบัติ เทียบได้กับวิปัสสนาจารย์ในสมัยนี้นั่นเอง  แต่ครูบามหาป่ามีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าก็ตรงที่ท่านเชี่ยวชาญทั้งปริยัติและปฏิบัติ (โดยมาก) และครูบามหาป่านี้บางทีก็เรียก “ครูบาศีลธรรม” บ้าง ถ้าหากอายุพรรษายังหนุ่มแน่นอยู่มักจะเรียก   “ตุ๊เจ้าศีลธรรม” หรือ “ศีลธรรม” อย่างเดียว  ไหนๆ เมื่อพูดถึงครูบาแล้วจะได้พรรณนาเรื่องราวเกี่ยวกับปฏิปทาของครูบาในสมัยก่อน เพื่อประดับความรู้ไว้เป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าเท่าที่พอจะสืบค้นข้อมูลได้ ดังนี้
   เนื่องจากปัจจุบันมีพระสงฆ์หลายรูปสมมติตนขึ้นเป็นครูบาทั้งที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ หรือมิรู้จักองค์คุณของครูบาว่าเป็นอย่างไร หรือมีอะไรบ้าง ด้วยซ้ำไป เพียงเพราะหวังลาภยศชื่อเสียง จึงเน้นการสร้างศาสนวัตถุมากกว่าศาสนบุคคล ด้วยการชักชวนมหาชนให้เลื่อมใส แล้วแข่งขันกันสร้างวัดวาอารามเสียใหญ่โตโอ่อ่า เพื่อต้องการอวดบารมีกัน ต่างจากปฏิปทาของครูบารุ่นก่อนๆ อย่างสิ้นเชิง พร้อมกันนั้นก็มีคำค่อนแคะในหมู่ครูบาด้วยกันว่า “องค์โน้นเป็นครูบาจริง องค์นั้นเป็นครูบาอุปโลกน์ อะไรทำนองนั้น”  ไม่ทราบว่า เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ทั้งที่ยังไม่เคยมีการศึกษาค้นคว้า และกำหนดคุณสมบัติของครูบาอย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน ดังนั้น           คำว่า ครูบา จึงไม่คงพลังความขลังอีกต่อไป และต่อแต่นี้ไปจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นครูบาขึ้นมาใหม่ให้เป็นระบบมาตรฐาน เพื่อยกระดับศักยภาพของครูบาในยุคปัจจุบันให้ทัดเทียมกับครูบาในยุคอดีต ซึ่งผู้ที่จะเป็นครูบาได้นั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติและองค์ความรู้หลายๆ ด้านดังที่กล่าวแล้ว
    ที่มีคำค่อนแคะกันว่า องค์นั้นองค์นี้ไม่ใช่ครูบาจริง ทั้งนี้คงเป็นเพราะยังไม่ได้ผ่านพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “เถราภิเษก” คือ การรดน้ำสรงมุทธาภิเษกยอยกขึ้นเป็นครูบานั่นเอง (ทำนองอย่างพิธีราชาภิเษก) ซึ่งผู้ที่ได้ผ่านพิธียอยกมาแล้วเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นครูบาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง  กลับกลายเป็นมีอัสมิมานะ ยึดติดกับลำดับชั้น

๑   มหาป่าที่มีชื่อเสียงหรือเคยได้ยินมาบ้างเช่น มหาป่าเกสระปัญโญ วัดไหล่หิน เกาะคา ลำปาง, มหาป่า
   กัญจนะวัดสูงเม่น แพร่,  มหาป่าชวนะ วัดเปา นาน้อย  น่าน เป็นต้น

ตำแหน่งไปก็มีมาก  เคยได้ยินมาบ้างเหมือนกันว่า  “ทุกวันนี้ครูบาจริงๆ มีเพียงไม่              กี่องค์เท่านั้น”   แต่ไม่ขอยืนยันว่า ใครพูด  เพราะจะกลายเป็นต่อความยาวสาวความยืด
เดี๋ยวเรื่องจะลุกลามใหญ่โตไป คำกล่าวข้างต้นนั้นส่งทั้งผลเสียและผลดีต่อแวดวง           ครูบา กล่าวคือ  พวกที่หวังยกย่องตนเองหรือครูบาอาจารย์ของตนให้เด่นกว่าผู้อื่น          จัดเข้าในประเภท อตฺตุกฺกํสนปรวมฺภนา หรือ ยกตนข่มท่าน ด้วยคิดเห็นว่าตนเองหรืออาจารย์ของตนเท่านั้นที่เป็นครูบาจริงๆ เพราะผ่านพิธีการแต่งตั้งยอยกขึ้นเป็นครูบามาแล้วนั่นเอง กลายเป็นหนักในพิธีกรรมไป ส่วนพวกที่วางตนเป็นกลางหรือที่เรียกว่า                 ตตฺรมชฺฌตฺตุเปกฺขา เล่า?  ก็คิดเห็นไปอีกแบบหนึ่งกับคำค่อนแคะดังกล่าว ซึ่งตามประสงค์ของท่านคงหมายถึงครูบาที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานจริงๆ มีอยู่น้อยรูปนั่นเอง ครูบาในสมัยโบราณกับสมัยนี้จึงแตกต่างกันมาก เพราะสมัยก่อนท่านสร้างวัดด้วย เจริญเมตตาภาวนาด้วย ยกตัวอย่างครูบาศรีวิชัย เป็นต้น








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2012, 10:45:48 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้เป็นแต่เพียงยืมคำเขามาพูดมิได้มีเจตนาหวังจะตำหนิหรือกระทบกระเทียบครูบาอาจารย์รูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะก็หาไม่ เพราะครูบาอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบก็มีอยู่มาก แต่ที่นำมาเกริ่นไว้ในที่นี้ก็เพื่อจะกระตุ้นเตือนครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่กำลังปฏิบัติตามแนวทางสายครูบา เพื่อก้าวสู่ความเป็นครูบา                 ในอนาคต  ควรจะดำเนินตามแบบอย่างปฏิปทาของโบราณเถราจารย์รุ่นก่อนๆ ซึ่งได้สืบเถรวังสปรัมปรามาโดยลำดับ อย่าได้เห็นแก่โลกามิสและสรรเสริญจนเกินไป   ความจริงการชักชวนศรัทธาญาติโยมทำบุญสร้างวัดใช่ว่าจะผิดหลักพุทธประสงค์         เสียทีเดียว เพราะพระพุทธองค์ตรัสว่า บูชามี ๒ อย่าง คือ อามิสบูชา (บูชาด้วยสิ่งของหรือวัตถุ) และ ปฏิบัติบูชา (บูชาด้วยการทำตามคำสอน) แต่พระองค์ทรงสรรเสริญบูชาอย่างหลังมากกว่า เพราะสามารถธำรงรักษาพระศาสนาไว้ได้นานกว่าบูชา            อย่างแรก บูชาอย่างแรกเปรียบเสมือนเปลือกนอก หรือกระพี้หุ้มแก่น ส่วนอย่างหลังเปรียบได้ดังแก่นในหรือเนื้อแท้ของต้นไม้ ข้าพเจ้าชอบใจวาทะของท่านพระครู         วิจิตรนวการโกศล (ครูบาสมจิต จิตฺตคุตฺโต) แห่งวัดสะแล่ง ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่  ได้กล่าวไว้ในหนังสือประวัติวัดสะแล่งของท่านตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้าอยากจะให้มีพระทองคำไว้เป็นสมบัติของวัดมานานแล้ว คิดว่าถ้ามีพระทองไว้จะเป็นสิ่งจูงใจให้คนเข้าวัดมากขึ้น ให้คนเข้าวัดไว้มากๆ จะเป็นการดี อย่างไรๆ ก็ให้เข้าวัดไว้ก่อน จะด้วยศรัทธาจริตหรืออะไรก็ช่าง คนหลงวัดหลงวา      หลงบุญนั้นดีกว่าหลงบาป หลงไปในทางอบายมุขเป็นไหนๆ”
   คำว่า ครูบา นี้เป็นเหมือนคำศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงแสดงถึงพลังของความเข้มขลังเสริมบารมีให้กับผู้ที่ถูกเรียกว่าครูบามาทุกยุคทุกสมัย หมายความว่าพระภิกษุรูปใดจะเป็นครูบาได้นั้นจะต้องมีบุญญาบารมี และอำนาจวาสนาที่สูงส่ง ประกอบด้วย                  รูปสมบัติมีบุคลิกที่โดดเด่นและวิชาสมบัติทรงภูมิความรู้ด้านต่างๆ เป็นต้น จึงมิใช่เรื่องง่ายๆ ที่ใครๆ ก็เป็นครูบาได้ เว้นเสียแต่อุปโลกน์ตนเองขึ้นมาเท่านั้น  ซึ่งต่างจากที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่า “ครูบาอาจารย์” โดยสิ้นเชิง จึงปรากฏว่าปัจจุบันนี้ทางล้านนาในแต่ละปีมีครูบาหนุ่มน้อยผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด ซึ่งสมัยก่อนนั้นตำแหน่งครูบาของทางล้านนาใช้เรียกพระมหาเถระที่มีอายุพรรษามาก  คงแก่เรียน มีปฏิปทาน่ายกย่องเลื่อมใส จึงได้รับการยอมรับนับถือจากศรัทธาสาธุชนยอยกขึ้นเป็นครูบา คงไม่ได้ผ่านพิธีเถราภิเษกทุกองค์ไป ตำแหน่งครูบาในสมัยก่อน ถ้าเทียบกับสมัยนี้เห็นจะได้แก่สมภารวัดนั่นเอง เนื่องจากวัดในสมัยก่อนเป็นสถานศึกษาที่รวมแหล่งสรรพวิชาการต่างๆ เอาไว้ในที่แห่งเดียวกัน เพราะสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือก็คือ พระสงฆ์  ดังนั้นสมภารหรือครูบาเจ้าวัดจะต้องมีภูมิความรู้ในวิชาการแขนงต่างๆ ดังที่กล่าวมาในระดับดีพอสมควร เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดหลักสรรพวิทยาให้กับลูกศิษย์ลูกหาสามารถนำไปใช้ประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนได้ และการที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูบานั้น ก็เพราะมีความรู้ความสามารถ คือ จะต้องมีทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิด้วย ครูบาตามลักษณะดังกล่าวจึงหมายเอาสมภารเจ้าวัด
   พูดถึงพิธีเถราภิเษกในดินแดนล้านนาสมัยก่อนคงนิยมปฏิบัติกันเฉพาะบางแห่งหรือบางท้องที่เท่านั้นในกรณีที่มีการยอยกภิกษุเจ้าวัดขึ้นเป็นครูบา และธรรมเนียมนี้น่าจะได้รูปแบบมาจากทางเชียงตุง เพราะปัจจุบันนี้ยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ ลักษณะพิธีก็คงจะคล้ายๆ หรือไม่แตกต่างไปจากพิธีสรงน้ำพระเณรของทางล้านนาซึ่งยังนิยมปฏิบัติกันอยู่ในบางท้องที่มากนัก นอกจากนี้แล้วก็มีการเจริญพุทธมนต์ อ่านตราตั้ง


ประกาศเป็นต้น เหมือนกับพิธีแสดงมุทิตาสักการะทั่วไปนั่นเอง เนื่องจากทางล้านนาไม่ได้ให้ความสำคัญกับพิธีดังกล่าวเท่าไหร่นัก คงจะมองว่าเป็นพิธีเล็กๆ จึงไม่นิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย (ผู้เขียน) ซึ่งต่างกับเชียงตุงที่จัดกันใหญ่โตและถือว่าเป็นพิธีสำคัญของรัฐด้วย ยกตัวอย่างในเมืองน่านหาเค้ามูลพิธีที่ว่านี้ไม่ได้แล้ว๑ เห็นแต่หลักฐานที่ปรากฏทางวรรณกรรมเท่านั้น ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเคยมีพิธีนี้ในสมัยโบราณ ซึ่งนิยมปฏิบัติกันในพิธีใหญ่ๆ เช่น สถาปนาสมเด็จพระสังฆราชา หรือสมเด็จราชครู เป็นต้น ดังปรากฏในคำเบิกภาสีหลวง (เบิกพาขวัญศรี) ในพิธีสู่ขวัญของล้านนาว่า  “ท่านจักหดสรงสมเด็จพระสังฆราชาขึ้นกินหัววัดใหม่ก็ว่าดีในวันนี้ยามนี้” ซึ่งหมายถึงรัฐพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชา และให้ย้ายไปสถิตยังพระอารามที่ใกล้           ราชฐาน (คุ้มหลวง) หรือที่เรียกกันว่า วัดหลวงประจำเมือง ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณทั้งสยามและล้านนา ภายหลังประเพณีนี้ได้ถูกยกเลิกไปสมเด็จพระสังฆราชายังคงสถิต ณ พระอารามเดิม โดยในการนี้ทางฝ่ายสงฆ์และบ้านเมืองจะพิจารณาคัดเลือกพระมหาเถระที่มีอาวุโสทางพรรษา ทรงภูมิโลก ภูมิธรรม ขึ้นดำรงตำแหน่ง ดังนั้นตำแหน่งของพระเถระในสมัยก่อนจึงพิจารณาจากวัยวุฒิและคุณวุฒิเป็นหลัก ทั้งนี้ลำดับชั้นของพระสงฆ์ล้านนาโบราณเท่าที่สืบค้นมามีดังนี้ 
   ๑. ครูบา
   ๒. มหาเถร
   ๓. สามี
   ๔. สังฆราชา
   ๕. ราชครู
   ๖. มูฬี
   ส่วนสาธุ หรือสาธุเจ้านั้น คงเป็นลำดับชั้นธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป ในที่นี้จึงไม่ได้จัดเข้าไว้ในลำดับ เฉพาะครูบาใช้สำหรับนำหน้าชื่อ ส่วนที่เหลือใช้เป็นคำตามหลัง

๑   สมัยข้าพเจ้ายังเป็นสามเณรได้ยินว่ามีการจัดพิธีดังกล่าวนี้ครั้งล่าสุดขึ้นที่วัดนาคำ ต.ศิลาเพชร อ.ปัว ด้วยเหมือนกัน ซึ่งผู้ที่ได้รับการยอยกครั้งนั้นก็คือ ครูบาสิงห์คำ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว) แต่ยังไม่ได้สืบถามข้อมูลจากคนในท้องที่ว่าเป็นพิธีที่ปฏิบัติกันมาช้านานหรือไม่ และมีพิธีปฏิบัติอย่างไรบ้าง



ครูบาและมหาเถรนั้นอาจมีตำแหน่งเทียบเท่ากัน หรือไม่ก็อย่างเดียวกัน เพียงแต่ใช้เรียกควบคู่กันเท่านั้น๑ ส่วนสามี (บางทีเรียก สวามี, มหาสามี หรือ มหาสวามี) สังฆราชา, ราชครู, มูฬี (หรือโมฬี) น่าจะมีตำแหน่งเทียบเท่ากัน เพียงแต่เรียกต่างกันตามคณะนิกายเท่านั้น และต้องได้รับการสถาปนา ดังนั้นอาจจะมีคำนำหน้าว่า สมเด็จด้วยก็ได้ เช่น สมเด็จราชครู เป็นต้น ได้ยินว่า ตำแหน่งสามีเป็นตำแหน่งที่มีมาจากทางลังกาและรามัญซึ่งก็คงสืบทอดมาจากลังกาอีกต่อหนึ่ง ได้แพร่หลายเข้ามาทางสุโขทัยก่อนแล้ว   จึงเข้าสู่ดินแดนล้านนาในเวลาต่อมา ดังเช่น พระอุทุมพรมหาสามีที่มาจากเมืองพัน (เมาะตะมะ) พำนักอยู่วัดป่ามะม่วงเมืองสุโขทัย และเป็นครูของพระมหาธรรมราชาลิไท ก็เป็นชาวรามัญ ตำแหน่งสามี (หรือสวามี) จึงเป็นของทางลังกา และถือเป็นตำแหน่งเฉพาะของภิกษุนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ในล้านนาเท่านั้น ส่วนตำแหน่งสังฆราชาก็ดี ราชครูก็ดี มูฬีก็ดี คงเป็นตำแหน่งดั้งเดิมของภิกษุในนิกายพื้นเมือง นี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน  ดังปรากฏในคำเรียกขวัญสามเณรว่า “หื้อได้เป็น ครูบาตนองอาจ หื้อได้เป็นสมเด็จราชครูเล่าแด่เทิอะ” อนึ่งคำว่าครูบานี้โดยมากนิยมเรียกควบคู่กับคำว่า มหาเถร เป็น ครูบามหาเถร ก็มี ใช้เรียกพระภิกษุผู้บวชเรียนต่อเนื่องมาตั้งแต่เป็นสามเณร จนถึงชรากาลแก่เฒ่าเป็นรัตตัญญู โดยไม่ผ่านการสึกในระหว่างมาก่อน ดังนั้นทางล้านนาจึงถือเอาอายุพรรษา ความเป็นพหูสูตในด้านต่างๆ เป็นเกณฑ์หลักในการกำหนดคุณสมบัติของครูบา

พิธีเถราภิเษกในดินแดนล้านช้างและภาคอีสานของไทย

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานของไทยบางจังหวัดปัจจุบันนี้ยังนิยมจัดพิธีเถราภิเษกแบบชาวบ้านหรือที่เรียกว่า “บุญกองฮด” อยู่บ้าง เป็นบางพื้นที่ หลังจากที่ถูกยกเลิกไปเสียคราวหนึ่ง พิธีบุญกองฮดก็คือ พิธีการแต่งตั้งหรือเลื่อน      สมณศักดิ์พระภิกษุสงฆ์ของชาวอีสาน แต่เดิมการจัดตำแหน่งสมณศักดิ์พระภิกษุสงฆ์ทางภาคอีสานในสมัยอิทธิพลราชธานีไทยนั้น ไม่ได้จัดทำเนียบตำแหน่งสมณศักดิ์ตาม

๑    แต่ในที่อื่นท่านกล่าวว่าเป็นครูบา, เป็นเถร, เป็นสังฆ์ ดูเหมือนจะเรียงลำดับไว้ชัดเจน คำว่า เถร ก็คือ
   มหาเถร จะต้องสูงกว่า ครูบา ส่วนคำว่า สังฆ์ ก็คือ สังฆราชา สูงกว่า ๒ ชั้นข้างต้น

แบบคณะสงฆ์ส่วนกลาง แต่ยังคงใช้สมณศักดิ์ตามแบบของอาณาจักรล้านช้างอยู่              ซึ่งจัดลำดับไว้ดังนี้
๑)  สำเร็จ  คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรงครั้งที่ ๑
๒)  ซา  คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรงครั้งที่ ๒
๓)  คู (ครู) คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรงครั้งที่ ๓
   ๔)  คูหลักคำ หรือ หัวคูหลักคำ คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรง 
      ครั้งที่ ๔
๕)  คูลูกแก้ว หรือ หัวคูลูกแก้ว คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรง
   ครั้งที่ ๕
๖)  คูยอดแก้ว หรือ หัวคูยอดแก้ว คือภิกษุหรือสามเณรที่ได้รับเถราภิเษกฮดสรง
   ครั้งที่ ๖
จะเห็นได้ว่า ท่านไม่ได้จัดตำแหน่งครูบา เข้าไว้ในพิธีเถราภิเษกเหมือนกับทางล้านนา  เพราะครูบาของทางอีสานหมายถึง ภิกษุผู้บวชใหม่ ยังไม่ถึง ๕ พรรษา หรือที่เรียกว่า พระนวกะ นั่นเอง อันมีลักษณะของการกลายความหมายทางรูปศัพท์
เมื่อพระภิกษุสามเณรภาคอีสานบวชเรียนไปได้ระยะหนึ่งจนสามารถท่องมนต์เจ็ดตำนาน สวดพระปาติโมกข์ เรียนภาษาบาลีถึงขั้นตอนหนึ่งๆ ชาวบ้าน มัคนายกวัด เจ้าบ้านผ่านเมือง ก็จะจัดพิธีฮดสรงให้พระภิกษุสามเณรรูปนั้น เพื่อที่จะเลื่อน               สมณศักดิ์ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง แต่กระนั้นก็ตามพระสงฆ์สามเณรที่จะได้รับพิธี                  เถราภิเษกฮดสรงนั้น ต้องมีจริยวัตรอันดีงาม ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา และต้องขยันหมั่นเพียรศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ศึกษาคัมภีร์ต่างๆ ได้ตามลำดับที่กำหนดไว้ จึงจะได้รับเลื่อนสมณศักดิ์
ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าสังคมจะคอยควบคุมจริยวัตรของพระภิกษุสงฆ์ไปในตัวด้วย เพราะชาวบ้านมีความใกล้ชิดกับวัดวาพระศาสนาจึงรู้ว่า พระภิกษุสามเณรรูปใดมี        จริยวัตรงดงาม และขยันหมั่นเพียรในการศึกษาพระธรรมวินัย สมควรได้รับเถราภิเษก
ธรรมเนียมการเลื่อนสมณศักดิ์ของพระสงฆ์แบบชาวบ้าน โดยญาติโยมมีส่วนรู้เห็นในการเถราภิเษกฮดสรงนี้ ได้กระทำกันมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่สมัยอิทธิพล

อาณาจักรล้านช้างและราชธานีไทย จนถึงสมัยปฏิรูปการปกครองหัวเมืองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล และได้ส่งข้าหลวงประจำมณฑลจากส่วนกลางไปกำกับราชการตาม            หัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน ประกอบกับคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายได้แพร่หลายเข้าไปยังมณฑลอุบลราชธานี และได้สถาปนาวัดสุปัฏนารามเป็นอารามของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในครั้งนั้น จนถึง พ.ศ.๒๔๕๖ พระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส ภายหลังได้รับโปรดเกล้าสถาปนาเป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี เห็นว่าการเลื่อนสมณศักดิ์แบบธรรมเนียม              ของภาคอีสานเริ่มฟั่นเฝือกันใหญ่ ชาวบ้านก็สามารถเลื่อนสมณศักดิ์พระภิกษุได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
เมื่อครั้งพระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) เป็นผู้รั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานี ทางฝ่ายคณะสงฆ์และฝ่ายกรรมการมณฑลได้ประชุมปรึกษาหารือกันเรื่องการบริหารและทำนุบำรุงกิจการพระศาสนาในมณฑลอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ ณ ศาลากลางมณฑล สรุปว่า
 “ตามข้อประกาศนี้ (ประกาศเถราภิเษกฮดสรง) ได้ความว่าเป็นของครั้ง              เจ้าผู้ครองเวียงจันทน์ทำขึ้นไว้ สำหรับเป็นประเพณีแต่งตั้งสมณศักดิ์ และพร้อมด้วยเจ้าครองเวียงจันทน์รู้เห็นด้วย แต่ชาวเราไปเก็บเอามาใช้จนฟั่นเฝือ ถึงราษฎรโดยมากก็แต่งตั้งสมณศักดิ์ได้โดยความเข้าใจผิด ที่คิดห้ามเสียคราวนี้ ก็เป็นการสมควรมาก”
นับแต่นั้นมาธรรมเนียมเถราภิเษกเลื่อนสมณศักดิ์แบบล้านช้างก็ถูกยกเลิกไป และมณฑลอื่นๆ ในภาคอีสานก็ได้ปฏิบัติตามประกาศของมณฑลอุบลราชธานี ยกเลิกตำแหน่งสมณศักดิ์แบบจารีต และการแต่งตั้งสมณศักดิ์จากส่วนกลางได้เข้าไปบทบาทแทนที่สืบต่อมา
จากบันทึกเส้นทางการจาริกธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับพิธีเถราภิเษกอยู่ตอนหนึ่งดังนี้
สิบห้าวันที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส (ระหว่างที่ท่านเดินทาง ย้ายจากจังหวัดอุดรธานีมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ในปี พ.ศ.๒๔๘๕) มีเหตุการณ์ที่ควรนำมาเล่า คือ  “เรื่องเถราภิเษก” ภาษาอีสานเรียกว่า กองฮด (ฮด หมายถึง รด หรือเทราด


ลงไป) คือนำผ้าไตรมา แล้วมีการสรงน้ำพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ถวายบริขารใหม่ สมมติเป็นสมเด็จพระอุปัชฌาย์ (ซา) เป็นราชครู (คู) ลาภหนึ่ง ลาภสอง๑ ไปเรื่อยๆ              ชาวสกลนครได้นำไตรจีวรจะมาฮดสรง ท่านพระอาจารย์ไม่ยอมรับ ท่านอธิบายว่า       
“เป็นประเพณีที่มีมาจากเวียงจันทน์ ที่อื่นไม่มี ครั้งพุทธกาลไม่มี แล้วพวก        ญาติโยมจะมาแต่งอาตมาให้เป็นอะไรอีก เป็นพระอาตมาก็เป็นแล้ว พระสงฆ์ อุปัชฌาย์อาจารย์แต่งให้แล้ว เป็นพระโดยสมบูรณ์ คณะสงฆ์รับรองแล้ว”
 “พระพุทธเจ้ามีใครไปฮดไปสรงให้เป็นพระพุทธเจ้าบ้าง ไม่มี พระองค์               ตรัสรู้เอง พระสาวก พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ฮดไม่ได้สรง ทั้งพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแล้วได้บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน นี่มีอำนาจกว่า แล้วจะมาฮดสรงแต่งอาตมาให้วิเศษกว่าพระพุทธเจ้าหรือ”
 “อันเรื่องเถราภิเษกหรือฮดสรงนี้ เป็นขัตติยประเพณีสำหรับอภิเษกแต่งตั้งพระมหาสังฆนายก สมเด็จพระสังฆราชต่างหาก มีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ไม่ใช่ของราษฎรบุคคลสามัญจะทำกัน ทางเวียงจันทน์ก็ทำเหมือนกัน ครั้นราษฎรสามัญเห็นเข้า                  ขออนุญาตให้ราษฎรทำบ้าง ก็เลยเป็นประเพณี”
 “ส่วนพระผู้ถูกฮดสรง ก็ไม่เห็นว่าวิเศษ ได้สำเร็จอะไร สึกหาลาเพศไปมีครอบครัว  มีกิเลสถมเถไป  ไม่เห็นวิเศษวิโสอะไร  แล้วพวกท่านเป็นฆราวาส อาตมา
เป็นพระ ตักน้ำมาฮดหัวอาตมาๆ เป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกท่าน แทนที่จะได้บุญกลับเป็นบาปเสียอีก”
   เป็นที่รู้กันว่าครูบาในสมัยก่อนมักจะถ่อมตนเสมอ สังเกตได้จาการใช้คำนำหน้าชื่อจะไม่ใช้คำว่าครูบานำหน้าชื่อของตนหรือเรียกขานตนเองว่าครูบาโดยเด็ดขาด              คำว่า ครูบา จะเป็นคำสำหรับผู้อื่นซึ่งเคารพนับถือหรือลูกศิษย์ลูกหาใช้เรียกเท่านั้น            แต่จะใช้คำว่า ภิกขุ ต่อท้ายฉายานามของตนแทน ถึงแม้จะมีอายุพรรษามากก็ตามเช่น ครูบาอุปปละ, ครูบานารทะ, ครูบาป่าชวนะ ก็จะเรียก อุปปละภิกขุ, นารทะภิกขุ,                  ชวนะภิกขุ เป็นต้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้คำว่า ครูบา นำหน้าด้วยตนเองมักจะเลี่ยงไป

๑   ทั้งสองชื่อนี้ไม่ปรากฏในลำดับชั้นข้างต้น คงจะเพิ่มเข้ามาทีหลัง หรือเป็นตำแหน่งเฉพาะท้องที่ (ผู้เขียน)



ใช้ชื่อสำนักหรือวัดแทนเช่น “พับลูกนี้ครูบาหลวงหนองเทาแต้มไว้หื้อหนานหลวงปัญญา..” เป็นต้น ซึ่งท่านบอกเพียงว่าเป็นครูบาหลวงหรือสมภารใหญ่วัดหนองเทาเท่านั้น ไม่ได้ออกชื่อตนเองไว้ ธรรมเนียมการใช้ชื่อสถานที่แทนชื่อตนเองนี้ทางพม่าก็นิยมเช่นกัน ปัจจุบันยังมีใช้อยู่ เช่น อูโสภณมหาเถระ ชาวพม่านิยมเรียกชื่อท่านตาม ชื่อวัดด้วยความเคารพว่า “มหาสีสยาด่อ”  ซึ่งหมายถึง พระอาจารย์ใหญ่หรือเจ้าอาวาสวัดมหาสี (วัดกลองใหญ่) แต่จะไม่ออกชื่อจริงของท่าน หรืออย่างชาวล้านช้างนิยมเรียกพระมหาเถรโพนสะเม็ด (โพนสะเม็ก ก็เรียก) ว่า “ญาครูขี้หอม” แทนชื่อจริง             ของท่าน เป็นต้น ซึ่งชื่อเหล่านี้เรียกว่า เนมิตตกนาม (ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยอาศัยนิมิตเหตุ)
   การไม่เอ่ยนามหรือชื่อจริงของผู้ใหญ่เวลาอยู่ต่อหน้าท่านนี้ เป็นธรรมเนียมเดิมที่มีมาจากอินเดีย ซึ่งผู้น้อยจะต้องปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ เป็นการให้ความเคารพผู้ที่อยู่สูงกว่าหรือมีฐานะมากกว่าตน ยกตัวอย่างเช่น พวกคณาจารย์ หรือเจ้าลัทธิต่างๆ ในสมัยพุทธกาลนิยมเรียกพระพุทธเจ้าของเราว่า พระสมณโคดม โดยใช้ชื่อโคตรหรือสกุลแทน  (ฝรั่งก็มีธรรมเนียมนี้ คือจะเอาชื่อสกุลขึ้นก่อน ตามด้วยชื่อตัวเป็นชื่อรอง) ทั้งนี้ถือเป็นการให้เกียรติหรือยกย่อง  เพราะพระพุทธองค์ประสูติในวรรณะกษัตริย์แห่งชาวศากยะ พระโคตรของพระองค์คือ โคตมโคตร
   ทางพระวินัยมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระกรรมวาจาจารย์สวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรมโดยใช้ชื่อสมมติหรือชื่อโคตรแทนชื่ออุปัชฌาย์และอุปสัมปทาเปกข์ในกรณีที่ไม่อาจสวดด้วยชื่อจริงได้ (มาในพระวินัยปิฎกเล่ม ๓ หน้า ๑๒๙)
   ในสารัตถทีปนีฎีกาเล่ม ๓ หน้า ๒๖ กล่าวว่า

   เยน เกนจิ นาเมน อนุสฺสาวนา กาตพฺพาติ วทนฺติ.
   “อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ควรทำการสวดกรรมวาจาด้วยชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง”
   
   ในวิมติวิโนทนีฎีกาเล่ม ๒ หน้า ๑๓๐ กล่าวว่า

   โคตฺตาทินาเมน ตํขณิกนาเมน จ อนุสฺสวนํ กาตุ วฏฺฏติ. ตสฺมึปิ ขเณ อยํ ติสฺโส วา นาโค วา นามํ กโรนฺเตหิ อนุสฺสาสกสมฺมุติโต ปมเมว กาตพฺพํ.

“พระกรรมวาจาจารย์ควรสวดกรรมวาจาด้วยชื่อโคตรเป็นต้น หรือชื่อชั่วคราว          แม้ในขณะนั้นพระกรรมวาจาจารย์ก็ควรตั้งชื่อว่า องค์นี้ชื่อติสสะ หรือองค์นี้ชื่อนาคะ ก่อนที่จะมีการสวดสมมติตน”
   ถ้าถือตามสาธกหลักฐานดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นอันแก้ความสงสัยในข้อที่เคยยึดถือกันมานาน กล่าวคือ ปัจจุบันนี้มีพระภิกษุบางรูปเข้าใจว่า ชื่อฉายาไม่สามารถเปลี่ยนได้ ถ้าต้องการเปลี่ยนก็จะต้องสวดกรรมวาจาใหม่ และเริ่มนับพรรษาหนึ่งใหม่ ความเห็นดังกล่าวนี้คลาดเคลื่อนจากบาลี อรรถกถาและฎีกา เพราะที่จริงในพระวินัยอนุญาตให้สวดกรรมวาจาด้วยชื่อสมมติได้อยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อทำความสะดวกแก่                พระกรรมวาจาจารย์จะได้ไม่ต้องลำบากในการสวด  เวลาประกอบวิภัตติคำบาลีที่ยาวๆ หรือยากๆ มักจะมีปัญหาในเรื่องของการเปลี่ยนวิภัตติ ก็ให้ใช้ชื่อสมมติแทนได้
   ส่วนที่อนุญาตให้ใช้ชื่อโคตรแทนได้นั้น เท่ากับเป็นการแสดงความเคารพ              นับถือผู้ใหญ่ไปในตัวด้วย เพราะโดยมากพระอุปัชฌาย์จะมีอายุพรรษามากกว่า           พระกรรมวาจาจารย์  ถ้าไม่ประสงค์จะออกชื่อจริงของพระอุปัชฌาย์ ก็ให้เปลี่ยนไปใช้ชื่อสมมติหรือชื่อโคตรแทนได้
   ชื่อมคธหรือที่เรียกกันว่า ฉายา นั้น มีความสำคัญมากในเวลาสวดกรรมวาจา เพราะไม่สามารถสวดด้วยภาษาเดิมของตนได้ ดังนั้นเวลาทำสังฆกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุปสมบทกรรม จึงจำเป็นต้องตั้งชื่อสมมติที่เป็นภาษามคธขึ้นมาแทนชื่อเดิม เพื่อไม่ให้ขัดต่อกรรมวาจาในเวลาสวด เนื่องจากเป็นคนละภาษานั่นเอง ปัจจุบันพระสงฆ์ในเมืองไทยเรานิยมใช้ชื่อฉายาต่อท้ายชื่อจริง ส่วนประเทศเถรวาทอื่นๆ เช่น พม่า ลังกา เป็นต้น นิยมใช้ชื่อฉายา (ชื่อตอนเป็นพระ) แทนชื่อจริง (ชื่อตอนเป็นคฤหัสถ์) และชื่อนี้ก็เป็นชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้มาตั้งแต่ตอนเป็นสามเณรแล้ว (สมัยก่อนทางล้านนาก็มีเหมือนกัน) คนส่วนมากจึงเข้าใจผิดว่า สามเณรก็มีฉายาเหมือนกับพระ ส่วนพระสงฆ์ทางประเทศลาวจะไม่ใช้ชื่อฉายาต่อท้ายชื่อจริงอย่างพระสงฆ์ไทย แต่จะใช้ชื่อสกุลแทนเหมือนสามเณรและฆราวาสทั่วไป เพียงแต่มีคำว่า พระ นำหน้าชื่อจริงเพื่อบอกตำแหน่งฐานะเป็นต้นเท่านั้น

บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวข้างต้น มีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา                อรรถกถาวินัยอยู่แห่งหนึ่ง คือ เมื่อคราวที่พระสิคควเถระปรารภที่จะส่งติสสสามเณร (พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ) ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน ไปยังสำนักพระจัณฑวัชชี-เถระ เพื่อเรียนพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ก่อนที่จะส่งไปได้อบรมสามเณรถึงมารยาทอันดีว่า  เมื่อไปถึงแล้วฝากถามสาระทุกข์สุกดิบแทนตัวท่านด้วย และให้เรียนพระเถระว่า  พระอุปัชฌาย์ส่งกระผมมาหาใต้เท้าขอรับ ถ้าพระเถระถามว่า  อุปัชฌาย์เธอชื่อไร?  ก็ให้ตอบว่า พระสิคควเถระขอรับ ถ้าท่านถามว่า เราชื่ออะไร? (หมายถึงรู้จักเราไหม?) ต้องตอบอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌาย์ของกระผมรู้จักใต้เท้าดีขอรับ  ดังนี้แล้วจึงส่งสามเณรไป
   ฝ่ายสามเณรก็กราบลาพระอุปัชฌาย์ แล้วออกเดินทางไปพบพระจัณฑวัชชีเถระ เมื่อไปถึงสำนักพระเถระ ทำสามีจิกรรมเรียบร้อยแล้วถูกท่านถามว่า
   เถ.    สามเณรมาจากไหน?
   สา.   พระอุปัชฌาย์ส่งกระผมมาหาใต้เท้าขอรับ
   เถ.    อุปัชฌาย์เธอชื่อไร?
   สา.    พระสิคควเถระ ขอรับ
   เถ.    เรา๑ ชื่อไร?
   สา.    พระอุปัชฌาย์ของกระผมรู้จักใต้เท้าดี ขอรับ
   พระเถระเห็นแววฉลาดของสามเณรจึงรับเข้าไว้ในสำนักเพื่อให้ศึกษาพระ         พุทธพจน์ต่อไป
   มีบาลีสาธกจากคัมภีร์ดังกล่าวดังนี้
   เถโร  สามเณร กุโต อาคโตสีติ อาห. อุปชฺฌาโย มํ ภนฺเต ตุมฺหากํ สนฺติกํ ปหิณีติ.
โก นาม เต อุปชฺฌาโยติ. สิคฺควตฺเถโร นาม ภนฺเตติ. อหํ โก นามาติ. มม อุปชฺฌาโย            ภนฺเต ตุมฺหากํ นามํ ชานาตีติ. ปตฺตจีวรํทานิ ปฏิสาเมหีติ. (สมนฺต. ๑/๔๐)
   พระเถระถามว่า สามเณรมาจากไหน?

๑   คือพระจัณฑวัชชีเถระผู้ถาม


สา.  พระอุปัชฌาย์ส่งกระผมมาหาใต้เท้า ขอรับ   
   เถ.  อุปัชฌาย์เธอชื่อไร?
   สา.  พระสิคควเถระ ขอรับ
   เถ.  เราล่ะชื่อไร?
   สา.  พระอุปัชฌาย์ของกระผมรู้จักใต้เท้าดี ขอรับ
   เถ.  จงรีบเก็บบาตรจีวรเข้าที่เสียเดี๋ยวนี้
   จากหลักฐานบาลีข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ธรรมเนียมของชาวอินเดียแต่โบราณนั้น เวลาอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ จะไม่ระบุชื่อของท่านตรงๆ อันเป็นการแสดงออกถึงการมีสัมมาคารวะ ซึ่งผู้มีอาวุโสน้อยกว่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้มีอาวุโสมากกว่า ที่ว่า “พระอุปัชฌาย์ของกระผมรู้จักใต้เท้าดีขอรับ” เป็นคำตอบที่ไม่จำเป็นต้องตอบตรงๆ ซึ่งอาจจะฟังดู                   อ้อมค้อมคดเคี้ยวสักหน่อย แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า หมายถึงพระจัณฑวัชชีเถระนั่นเอง เพราะถ้าอุปัชฌาย์ของสามเณรรู้จักพระเถระเป็นอย่างดีแล้ว ไฉนเลยสามเณรจะไม่รู้จักพระเถระเล่า? อย่างน้อยก็คงจะเคยได้ยินชื่อของท่านบ้าง เพราะพระเถระทั้งสองเป็นสหายกัน ในประโยคนี้จึงไม่ควรถือว่า  ผู้พูด (คือสามเณร) ไม่รู้จักกาละเทศะหรือที่สูง           ที่ต่ำ อย่างที่เรียกกันสมัยนี้ว่า “พูดยียวนกวนประสาท” แต่เป็นความฉลาดของผู้พูด ซึ่งได้รับการฝึกหัดมาดี อันแสดงออกถึงการมีปฏิภาณไหวพริบ วิธีเช่นนี้ในบาลีเรียกว่า  “อวุตตสิทธินัย” คือ วิธีที่สำเร็จโดยไม่ต้องกล่าว หมายความว่า ถึงแม้จะไม่กล่าวตรงๆ แต่ก็เข้าใจได้โดยโลกโวหารเหมือนที่พูดกันว่า  “รู้โดยนัย”  “รู้โดยอุปมา”  ฉะนั้น
   จะเห็นได้ว่าครูบาอาจารย์แต่ก่อนมาท่านดำเนินรอยตามพุทธจริยาวัตรเหมือนครั้งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่  เวลาออกพระนามพระองค์จะทรงใช้คำว่า “เรา” หรือ “ตถาคต” คำใดคำหนึ่งแทนคำว่า “พระพุทธเจ้า” ในลักษณะถ่อมพระองค์  ในกรณีที่ต้องใช้คำว่า “พระพุทธเจ้า” ก็จะทรงเลี่ยงไปใช้ในลักษณะอื่น                    ที่มีความหมายรวม ด้วยความที่ทรงเป็นผู้ฉลาดในโวหาร (โวหารกุสลตา) เช่นตรัสว่า “ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” ซึ่งคำว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายในที่นี้มิได้หมายเอาเพียงพระองค์เองเท่านั้น  แต่หมายรวมถึงพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ด้วย โดยทรงประกอบรูปศัพท์เป็นพหูพจน์ (พุทฺธา จ นาม) เห็นมีอยู่ที่หนึ่งทรงใช้คำว่า พุทฺโธ แทนพระองค์


ทั้งนี้เป็นการตรัสกับคนลัทธิอื่น ซึ่งยังไม่เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เพื่อจะ          ย่ำยีปรัปปวาทะของพวกอัญญเดียรถีย์ คือ เมื่อคราวเสด็จโปรดมิคารเศรษฐีพ่อผัวของนางวิสาขา โดยทรงประกาศพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าว่า  อหํ พุทฺโธ นาม, สกฺโกมิ ตํ มม สทฺทํ สาเวตุ. (ขุ.ธมฺมปทฏฺ. ๓/๖๔)  “เราได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า สามารถยังท่านให้ได้ยินเสียงเราได้”  ทั้งนี้เพราะเศรษฐีถูกพวกอาชีวกคอยกีดกันไม่ให้ฟังธรรม            ด้วยกลัวว่าเมื่อเศรษฐีเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้วพวกตนจะเสื่อมจากลาภสักการะ        จึงกั้นม่านเสียแน่นหนา แล้วให้เศรษฐีทำทีอย่างนั่งฟังอยู่ข้างนอกม่านแทน  พระองค์จึงตรัสพุทธฎีกานี้เพื่อประกาศพุทธานุภาพ พวกพาหิรลัทธิคณาจารย์ถึงแม้จะไม่เคารพนับถือในพระรัตนตรัย แต่ก็กริ่งเกรงในพุทธานุภาพอยู่บ้าง ด้วยเชื่อว่า พระพุทธองค์ทรงมีมนต์บทหนึ่งที่เรียกว่า “อาวัฏฏนมนต์” (มนต์กลับใจ) จึงกลัวว่า พวกตระกูลอุปัฏฐากของตนจะแปรพักตร์หันไปเคารพเลื่อมใสพระพุทธศาสนาหมด  หลังจากที่ได้ฟังธรรมแล้ว จึงพยายามกีดกันทุกวิถีทาง
    ดังนั้นการที่จะใช้คำว่า ครูบา นำหน้าชื่อได้ก็โดยอาการที่ผู้อื่นซึ่งมีความเคารพเลื่อมใสใช้เรียกเท่านั้น แต่จะใช้นำหน้าชื่อด้วยตนเอง หรือเรียกตนเองว่า “ครูบา”            หาควรไม่
   ลำดับชั้นของพระสงฆ์ล้านนาโบราณเท่าที่ทราบมา ดังแสดงไว้ข้างต้นนั้น           แต่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่า ลำดับตามที่เรียงไว้นั้นจะถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ เพราะไม่รู้ว่าตำแหน่งไหนสูงต่ำกว่ากัน ระหว่าง สามี, สังฆราชา, ราชครู, และมูฬี แต่ถ้าสืบตามเค้ามูลเดิมคงกำหนดได้เพียง ๓ ชั้นเท่านั้นคือ ครูบา, มหาเถร, และสังฆราชา                  ส่วนราชครู เป็นตำแหน่งพิเศษ หมายเอาภิกษุผู้เป็นราชอุปัธยาจารย์เท่านั้น ทั้งนี้ภิกษุ
ผู้เป็นราชครู (อัครราชครู) อาจจะมีตำแหน่งควบเป็นสังฆราชา (มหาสังฆราชา) สามี (มหาสามี) หรือมูฬี (อัครราชมูฬี) ด้วยก็ได้ (ผู้เขียน) ส่วนของทางเชียงตุงนั้นท่านกำหนดไว้ดังนี้
   ๑.   สามเณร
๒.   ภิกขุ (ต่ำกว่า ๑๐ พรรษาลงมา)
   ๓.   สิทธิ (๑๐ พรรษาขึ้น)
๔.   สามี (๒๐ พรรษาขึ้น)
      ๕.   ครูบา (แล้วแต่เห็นสมควรบางองค์เป็นสามีจนชราภาพไม่ได้เป็น               ครูบา ก็มี)
   ๖.   อาชญาธรรม (ตำแหน่งสูงสุดเทียบสังฆราชาหรือสังฆนายก)
   ซึ่งที่จริงถ้าว่าตามตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งแล้วควรยก ๒ ข้อแรกเสีย และนับตั้งแต่ข้อ ๓ เป็นต้นไป เพราะ ๒ ข้อแรก เป็นเพียงลำดับชั้นธรรมดาเท่านั้น จะเห็นได้ว่าตำแหน่งครูบาของทางเชียงตุงนั้นสำคัญมาก ภิกษุที่จะดำรงตำแหน่งครูบาได้อย่างน้อยจะต้องมีอายุพรรษา ๓๐ ขึ้นไป และจะต้องมีความรู้ความสามารถประกอบคุณงามความดีในหลายๆ ด้าน จึงจะได้รับเลื่อนขึ้นเป็นครูบา ซึ่งจารีตธรรมเนียมนี้ได้สืบทอดกันมายาวนาน ส่วนการที่มีพระสงฆ์จากทางล้านนาไปเข้าพิธีเถราภิเษก ณ ประเทศนั้นได้รับการยอยกขึ้นเป็นครูบาถือว่า ต้องตามธรรมเนียมของเขา ไม่ต้องตามธรรมเนียมของเรา จะมาตู่เอาว่าเป็นครูบาที่ถูกต้องตามธรรมเนียมดูไม่ชอบเหตุ แต่ก็นับว่าเป็นเกียรติคุณที่ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนในประเทศนั้นสำหรับ         ท่านไป เพราะธรรมเนียมในบ้านเมืองเรานี้ไม่มีมาแต่เดิม หรือถ้าเคยมีก็เลิกปฏิบัติไปตั้งช้านาน บัดนี้ไม่มีพิธีนั้นเสียแล้วจึงไม่ควรที่จะยกขึ้นเป็นอัพภาจิกขนวาทะค่อนแคะให้หมางใจกัน เพราะการที่จะเป็นครูบาหรือไม่นั้น ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ต้องผ่านพิธียอยกหรือเถราภิเษกเพียงอย่างเดียว มิเช่นนั้นใครๆ ก็เป็นครูบาได้ เพียงเพราะผ่านพิธียอยกมาเท่านั้น แต่อยู่ที่ข้อวัตรปฏิบัติเป็นรัตตัญญูรอบรู้สรรพวิชาการ ซึ่งต้องตามองค์คุณของครูบาดังกล่าวแล้ว แม้ถ้าหากจะให้มีการรื้อฟื้นหรือจัดพิธีนี้ขึ้นมาใหม่ในบ้านเมืองเรา จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของพิธีกรรมตายตัวเป็นแบบเดียวกัน โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ถูกต้องเสียก่อน และได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะทำอย่างลวกๆ ไร้ระเบียบแบบแผน
   แต่ถ้าเน้นหนักในหลักการจนเกินไปก็จะกลายเป็นยึดติดมัวเมา ถ้ามิเช่นนั้น พระเถระทั้งหลายตั้งแต่ก่อนมาก็คงเรียกครูบาได้อย่างไม่สนิทปากหรือเป็นครูบาที่ไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมไป อย่างเช่น ครูบาศรีวิชัย เป็นต้น เพราะตามชีวประวัติของท่านไม่เคยมีบันทึกเอาไว้ว่า ได้ผ่านพิธีเถราภิเษกมาก่อน แต่การที่ท่านได้รับยกย่องให้
เป็นนักบุญแห่งล้านนาและครูบาองค์หนึ่ง ก็ด้วยข้อวัตรปฏิบัติที่เพียบพร้อมและศีลธรรมกัมมัฏฐานของท่าน ตลอดถึงผลงานในด้านบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม           ต่างๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ต่างหาก  ประชุมชนจึงเคารพนับถือยกย่องให้เป็นครูบา ซึ่งอันที่จริงการที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูบาโดยไม่ต้องผ่านพิธียอยกนี้ควรถือเป็นการยอยกได้เช่นกัน โดยความเป็นอุสสทโวหาร ที่ชนหมู่มากพากันเรียกขานอาศัย           วจีภาชนะ (การรับรองด้วยคำพูด) จึงเป็นการยอยกโดยทางอ้อม ส่วนเถราภิเษกนั้นอาศัยสังวิธานภาชนะ (การรับรองด้วยพิธีกรรม) การยอยกทั้ง ๒ รูปแบบนี้จึงนับว่าสำเร็จตามนัยแห่งตน จะมีใครบ้างกล้าโจทก์ได้ว่า มิใช่ครูบา  ลำพังตัวท่านเองมักใช้คำนำหน้าชื่อว่า พระศรีวิชัยภิกขุบ้าง พระชัยยาชนะภิกขุบ้าง แต่จะไม่ใช้คำว่า ครูบา
   ถ้าจะเทียบเท่าตำแหน่งครูบากับสมณศักดิ์สมัยนี้ ก็จัดเป็นสมณศักดิ์ของชาวบ้านหรือที่ประชุมชนตั้งให้ ไม่ใช่สมณศักดิ์ที่เป็นทางการ ถ้าเทียบกับสมภารหรือเจ้าอาวาส ก็เป็นเพียงระดับสังฆาธิการ แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปนั้น คำว่าครูบา ออกจะดูโดดเด่นสูงส่งมากกว่าคำว่า สมภารหรือเจ้าอาวาสเป็นไหนๆ  และความเป็นครูบานี้สำเร็จได้โดยภาวะแห่งตน ไม่จำเป็นต้องให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาแต่งตั้งยอยกก็ได้ (จะได้กล่าวต่อไปในตอนที่ว่าด้วยที่มาของคำว่าครูบาข้างหน้า)
   ดังนั้นการที่จะจัดให้มีพิธียอยกหรือไม่นั้น จึงไม่ถือว่าสลักสำคัญอะไร เพราะการยอยกมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือโดยอ้อม และโดยตรงดังกล่าวแล้ว จึงไม่ควรโต้เถียงกันโดยหวังจะเอาชนะ ความจริงพิธียอยกแบบเถราภิเษกนั้นเป็นเพียงการประกาศให้ประจักษ์แก่สาธุชนทั่วไปเท่านั้น เรียกว่าเป็นการ “เสกส้อมย้อมยศ” เช่นเดียวกับการทำพิธีมังคลาภิเษกอย่างอื่นๆ โดยเหตุที่คุณปรากฏได้ ๒ ทางคือ กิตติศัพท์ชื่อเสียงอย่างหนึ่ง และการประกาศต่อหน้าประชุมชนอย่างหนึ่ง เพราะถึงแม้ว่าจะได้ผ่านพิธีกรรม    เถราภิเษกมาแล้วก็ตาม แต่ถ้าขาดคุณสมบัติของครูบาตามที่กล่าวมา ก็ยังเป็นครูบาไม่ได้อยู่ก่อน ต่อเมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงจะเรียกว่า               ครูบาได้อย่างแท้จริง ส่วนการที่มีศรัทธาญาติโยมบางท่านเรียกพระสงฆ์ที่ตนเองเคารพนับถือ หรือ พระสงฆ์ด้วยกันใช้เรียกกันด้วยความเป็นสภาคชอบพอว่า “ครูบา” นั้นเป็นอันพ้นโทษตำหนิ


การสืบทอดตำแหน่งครูบาในสมัยโบราณนั้นคงสืบทอดกันตามลำดับ
เจ้าอาวาส (เถรักกมะ) และถือว่าเป็นครูบาโดยตำแหน่ง เมื่อถึงกาลสมควรและมีคุณสมบัติเหมาะสมก็เป็นครูบาได้ ส่วนการเรียก “ครูบาเจ้า” นั้น ควรใช้เรียกพระสงฆ์ที่เป็นราชนิกูลสืบเชื้อสายมาแต่เจ้านายทางฝ่ายเหนือโดยตรงเท่านั้น ถือเป็นการให้เกียรติโดยฐานะทั้งยังเป็นการกำหนดคำจำกัดความลำดับชั้นและฐานันดรให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกด้วย เช่น ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นต้น เหมือนอย่างที่เรียกสมเด็จพระมหาสมณเจ้า และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในภาคกลางนั่นเองส่วนที่มาจากสกุลสามัญควรเรียก “ครูบา” อย่างเดียวก็พอ แต่การที่จะปฏิบัติตามหรือไม่นั้นไม่มีผลบังคับใช้ เป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น ด้วยสมัยนี้กุลบุตร                     ผู้บวชเรียนซึ่งมาจากชั้นเจ้านาย หรือมีฐานันดรศักดิ์สูง หาได้ยากเสียแล้ว มีแต่ชั้นสามัญชน ดังนั้นจะอนุโลมให้ใช้คำว่า “ครูบาเจ้า” ก็ควร เพราะโดยปกติก็เรียกกันโดยยกย่องอยู่แล้วว่า “พระสงฆ์องคเจ้า” ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร ส่วนคำว่า “พระครูบา”  นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกกันในชั้นหลังๆ แต่เดิมไม่มี ดังนั้นพระภิกษุรูปไหนจะเป็นครูบาจริงหรือไม่จริงนั้น ก็ขอให้ตรวจสอบดูคุณสมบัติที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ก็จะทราบได้ว่ามีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ หรือขาดข้อไหนไปบ้าง ถ้าเด่นทางด้านคันถธุระและ              โยธาธุระ ก็เป็นครูบาฝ่ายคามวาสีหรือครูบาสามัญ แต่ถ้าเด่นทางด้านวิปัสสนาธุระและถืออรัญญิกังคะก็เป็น ครูบาฝ่ายอรัญญวาสี หรือ วนวาสี เป็นครูบาพิเศษเรียกว่า     ครูบามหาป่า, ครูบาป่า, มหาป่า หรือ มหาอรัญญวาสี ก็ได้ ซึ่งเป็นภาพรวมของครูบาโดยสรุป แต่นี้ไปจะกล่าวถึงที่มาของคำว่า “ครูบา”

ที่มาของคำว่า “ครูบา”

   คำว่า ครูบา นี้ ชั้นเดิมเป็นคำที่ใช้เรียกกันในหมู่พระสงฆ์เท่านั้น ภายหลังนำมาใช้เรียกในหมู่คฤหัสถ์ด้วย อย่างที่เรียกกันว่า “ครูบาอาจารย์” ดังนี้บ้าง แต่อัน             ที่จริงคำว่า ครูบา นี้ ควรเป็นคำสำหรับใช้เรียกเฉพาะพระสงฆ์อย่างเดียว ซึ่งทางล้านนาหมายเอาภิกษุผู้เป็นสมภารหรือเจ้าวัด แต่ภิกษุผู้จะเป็นครูบาได้นั้นจะต้อง

ประกอบด้วยคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างดังที่กล่าวแล้ว ในที่นี้ต้องการให้ทราบเพียงความหมายและที่มาของคำว่า ครูบา เท่านั้น รายละเอียดต่างๆ จะไม่กล่าวถึงอีก
   คำว่า ครูบา นี้ สันนิษฐานว่ามาจากคำเดิมว่า ครูปัธยาย หรือ ครูปาธยาย โดยการแผลงศัพท์แล้วแผลงต่อเป็น ครูปาธิยาย และ ครูบาธิยาย อีกต่อหนึ่ง  ดังปรากฏข้อความในตอนลงท้ายของมนต์กุมารภิไชยหลวงล้านนา (ภาคกลางเรียกโองการ        มารวิชัย) อยู่บทหนึ่งว่า   “....ครูบาธิยายให้กัมมะสิทธิแก่กู อมสวาหะ”   (เหมือนอย่างคำว่า สาธยาย แผลงเป็น สวาธยาย หรือ สังวัธยาย ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน ทางล้านนาแผลงเป็น สวาทธิยาย [อ่านกล้ำไม่อ่านสะหวาด] โดยแทรกเสียงสระอิ              เข้ามาเช่นเดียวกับ ครูบาธิยาย) 
   คำว่า ครูบา จึงเป็นคำที่ตัดย่อเอามาจากคำเต็มว่า ครูปัธยาย หรือ ครูปาธยาย  ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การออกเสียงไม่ให้ขัดกับลิ้นจึงกร่อนศัพท์ให้สั้นลง พร้อมกันนั้นยังได้เปลี่ยนตัว ป เป็น บ ตามแบบฉบับที่นิยมกันทั่วไปอีกด้วย เหมือนอย่างคำว่า ปตฺต หรือ ปตฺร แผลงเป็น บัตร,บาตร, ปาป แผลงเป็น บาป เป็นต้น (คือแทนที่จะพูดว่า                ครูปา ก็พูด ครูบา เสียดังนี้) รากศัพท์เดิมของคำว่า ครูบา นี้จึงมาจากคำว่า ครูปัธยาย หรือ ครูปาธยาย แล้วกลายมาเป็น ครูบา ในที่สุด ซึ่งคำๆ นี้เป็นบาลีผสมสันสกฤตกล่าวคือ ครุ + อุปธฺยาย (หรือ ครุ+ อุปาธฺยาย) คำว่า ครุ เป็นบาลี แปลว่า ครู (สันสกฤตใช้ คุรุ) ส่วนคำว่า อุปธฺยาย เป็นสันสกฤต  แปลว่า  ผู้เข้าไปเพ่งโทษน้อยใหญ่ คือชี้แนะ
ว่า สิ่งไหนควรไม่ควร ตรงกับคำบาลีว่า อุปชฺฌาย๑ หรือคำไทยว่า อุปัชฌาย์ นั่นเอง บางครั้งก็เรียกอย่างสันสกฤตว่า อุปัธยาย์ แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เมื่อนำคำทั้งสองมาทำสมาสสนธิกันจึงเป็น ครูปธฺยาย และใช้เรียกอย่างไทยว่า ครูปัธยาย, ครูปาธยาย,          ครูบาธยาย และครูบาธิยาย ตามลำดับ ภายหลังจึงตัดย่อให้สั้นเข้าอีก เพื่อให้เรียกง่าย เป็น ครูบา
   คำว่า ครูบา จึงมีความหมายตามรากศัพท์เดิมว่า “ครูและอุปัชฌาย์” (ตรงกับบาลีว่า ครูปชฺฌาย) เป็นคำที่ใช้กันในวงการพระสงฆ์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคฤหัสถ์แต่อย่างใด

๑      เทียบอักขรวิธีระหว่างสันสกฤตกับบาลีดังนี้ ธฺย = ชฺฌ เช่น  สํ.อธฺยาศย (อัธยาศัย)
      ป. อชฺฌาสย (อัชฌาสัย) เป็นต้น


ดังนั้นจึงมีทางที่พอจะสันนิษฐานได้อีกประการหนึ่งว่า ผู้ที่จะเป็นครูบาได้นั้น จะต้องเป็นทั้งครูและอุปัชฌาย์ของคณะไปพร้อมๆ กันด้วย ข้อนี้เห็นจะเป็นความจริง              สมัยโบราณเมื่อยังไม่มีการสอบและแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ ในยุคที่การปกครอง           คณะสงฆ์ล้านนายังเป็นระบบหัวหมวดอยู่นั้น สมภารวัดก็ทำหน้าที่เป็นทั้งอุปัชฌาย์ให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยถือว่าถ้ามีคุณสมบัติครบตามที่ธรรมวินัยกำหนดก็เป็นอุปัชฌาย์ได้ พร้อมกันนั้นก็ทำหน้าที่เป็นครูหรืออาจารย์สั่งสอนสัทธิวิหาริกไปในตัว จึงได้รับการเรียกขานว่า “ครูบา” ต่อมาคำๆ นี้ ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายกว้างขวางมากขึ้น ภิกษุผู้ไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ หรือมีพรรษายังไม่ถึงเกณฑ์ก็พลอยเรียกตนเองและชอบที่จะให้คนอื่นเรียกเจ้าตัวว่า                 “ครูบา” ด้วย  หนักเข้ามักจะล้อกันเป็นที่สนุกปากว่า “ครูบาอุ๊กแก๊ส” ดังนี้ก็มี ซึ่งหมายถึง ครูบาที่มีคุณสมบัติยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเรียกครูบาได้ แต่อุปโลกน์ตนเองขึ้นมาเป็นครูบาก่อนเวลาอันควร เปรียบเหมือนผลไม้ที่ไม่ได้สุกตามระยะกาลหรือเป็นไปตามธรรมชาติแต่ทำให้สุกเร็วขึ้นโดยวิธีใช้แก๊สบ่มเอาฉะนั้น  และพวกที่ถูกเรียก               ครูบาอุ๊กแก๊สนี้เมื่อถูกล้อบ่อยๆ ก็มักจะออกอาการหนาวร้อนไปตามๆ กัน ในเมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็สามารถอุปโลกน์ตนเองให้เป็นครูบาได้เช่นนี้ พอนานๆ ไป ความหมายของคำว่า ครูบา ก็ถูกลืมเลือน หรือตีความเป็นอย่างอื่น ซึ่งผิดไปจากชั้นเดิม
แต่สิ่งที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของครูบาอยู่ก็คือ ผู้ที่จะเป็นครูบาได้นั้นจะต้องเป็น “เจ้าอาวาสหรือสมภารวัด” เท่านั้น
   อีกอย่างหนึ่งคำว่า ครูบา นี้เป็นศัพท์เรียกรวม ถึงแม้จะมีความหมายว่า “ครูและอุปัชฌาย์”  แต่เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน เพราะครูได้ชื่อว่า อุปัชฌาย์ ดังนั้นในมหาขันธกวัณณนาท่านจึงกล่าวว่า  อนุปชฺฌายกาติ วชฺชาวชฺชํ อุปนิชฺฌายเกน ครุนา วิรหิตา. (สมนฺต ๓/๓๔)  “บทว่า อนุปชฺฌายกา ความว่า ผู้เว้นจากครูผู้คอยเพ่งโทษน้อยใหญ่”  คำว่า อุปัชฌาย์ ในที่นี้จึงหมายถึงครูผู้คอยสอดส่องโทษน้อยใหญ่นั่นเอง ดังนั้นในสมัยโบราณผู้ที่จะเป็นครูบาได้นั้นจะต้องเป็นอุปัชฌาย์ด้วย และคำว่า ครูบา นี้ใช้สำหรับเรียกพระภิกษุเถระอย่างเดียว อย่างน้อยต้องมีพรรษาครบเกณฑ์เป็นอุปัชฌาย์ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอุปัชฌาย์ก็ได้ (เฉพาะในยุคปัจจุบันต้องได้รับการแต่งตั้งก่อน)
เพราะอนุปสัมบัน ได้แก่ สามเณรหรือคฤหัสถ์ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นอุปัชฌาย์ได้  แต่เมื่อว่าโดยรุฬหินัย๑  จะเรียก  “ครูบา”  ก็ได้ เพราะเป็นเรื่องของพลังศรัทธาห้ามกันยาก สุดแท้แต่ใครจะเรียก ในลักษณะเช่นนี้คำว่า ครูบา กลายเป็นรุฬหิศัพท์ไป
   ส่วนการที่มีผู้รู้บางท่านกล่าวอ้างว่า คำว่า ครูบา มาจากคำบาลีว่า ครุปิ อาจริโย แปลว่า “เป็นทั้งครูเป็นทั้งอาจารย์” นั้น ข้าพเจ้ายังหาหลักฐานที่มาไม่พบ แต่พอจะสรุปตามแนวทางความเห็นของผู้นำเสนอได้ดังนี้
   เมื่อนำศัพท์ทั้งสองมาสนธิกันก็จะได้รูปใหม่ว่า ครุปาจริโย โดยตัดบทว่า            ครุ+อปิ+อาจริโย และเมื่อกร่อนศัพท์ลงก็จะเหลือเพียง ครุปา เมื่อนำมาแผลงอีกต่อหนึ่งจึงเป็น ครูบา การอธิบายตามลักษณะนี้ไม่ตรงตามหลักศัพทศาสตร์เป็นเพียง    อัตโนมติของผู้อธิบายเท่านั้น ในเชิงความหมายนั้นพอฟังได้อยู่ คือ “เป็นทั้งครูเป็นทั้งอาจารย์”  หรือ  “แม้ครูก็เรียกว่าอาจารย์”  แต่ในเชิงรูปศัพท์เห็นว่า ไม่มีเหตุผลเพียงพอ
ในการนำศัพท์ทั้งสองมาสนธิกัน โดยให้ อา อักษร มาติดอยู่ท้าย อปิ ศัพท์ เพื่อให้ได้      คำว่า ครุปา แล้วนำไปแผลงเป็น ครูบา อีกต่อหนึ่ง การทำสนธิในฐานะเช่นนี้ถือว่า                ไม่เหมาะสม และไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด  เพราะเมื่อนำศัพท์ทั้งสองมารวมกันเป็น   
ครุปาจริโย แล้ว ทำให้สับสนคลุมเครือในการตีความทางรูปศัพท์ ผู้ไม่รู้อาจจะตัดบทสนธิว่า  ครุ+อุปาจริโย ดังนี้ก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ความหมายก็จะเปลี่ยนไปตาม คือแปลว่า  “อาจารย์รองจากครู”  หรือ  “อาจารย์เป็นรองครู” จะเกิดการตีความหมายผิดทันที นอกจากนี้คำนี้ยังสามารถแยกเป็นบทสมาสได้อีกว่า  ครุ/ปาจริโย (ครูและอาจารย์ใหญ่ หรือ อาจารย์ใหญ่ของครู) ดังนั้นคำที่กล่าวว่า ครูบา มาจาก ครุปิ อาจริโย จึงไม่ควรเชื่อถือโดยสาระ รวมไปถึงคำที่กล่าวว่า ครูบา มาจาก ครู+บา ก็เช่นกัน เพราะถ้าถือเอาตามนัยนี้ก็เป็นบาลีแบบไทยๆ ไม่มีความหมายพิเศษอะไร
   คำว่า อุปชฺฌาย ในภาษาบาลี ทางสกสมยลัทธิถือว่า สำเร็จมาจาก อุป+เฌ ธาตุ+ณ ปัจจัย หลังจากเอการันตธาตุ อาเทศ เอ เป็น อาย และซ้อน ชฺ (อุป+ฌาย = อุปชฺฌาย)               
   
๑  คือชั้นเดิมถือเอาเนื้อความตามความหมาย (อันวัตถนัย) ต่อมาความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมจึงไม่ได้
   ถือเอาตามความหมาย (รุฬหินัย) แต่ยังคงเรียกตามคำเดิมอยู่ กลายเป็นรุฬหินามคือชื่อที่ไม่ตรงตาม
   ความหมายไป


ตรงกับรูปสันสกฤตว่า อุปธฺยาย (อุป+ไธฺย ธาตุ)  ส่วนทางปรสมยลัทธิถือว่า สำเร็จมา
จาก อุป+อธิ+อิ ธาตุ+ ณ ปัจจัย แปลงอธิ เป็น อชฺฌ (สํ.  อธฺย ) พฤทธิ์ อิเออย และทำทีฆะ (อยอาย) ด้วยอำนาจ ณ ปัจจัย (อุป+อชฺฌ+อาย = อุปชฺฌาย)  ในสันสกฤตทีฆะ อ ที่ อุป เป็น อา อีกทีหนึ่ง จึงมีรูปว่า อุปาธฺยาย (อุป+อธฺย+อาย = อุปาธฺยาย) ตามนัยแรก  อุปธฺยาย หมายถึง ผู้คอยสอดส่อง ตามนัยหลัง อุปาธฺยาย หมายถึง ผู้สอนอย่างใกล้ชิด ในบาลีทั้งสองคำนี้มีรูปอย่างเดียวกันเป็น อุปชฺฌาย เหมือนคำว่า ทนฺต                  ที่แปลว่า ฟัน และ ทรมานแล้ว ในบาลีมีรูปอย่างเดียวกัน แม้จะสำเร็จมาจากธาตุคน          ละตัว แต่ในสันสกฤตจะมีรูปต่างกันชัดเจน คือ ทนฺต (ฟัน) ทานฺต (ทรมานแล้ว) ที่ลง                  อ ปัจจัยมา มีรูปเป็นอาการันต์ว่า  อุปชฺฌา  (สํ. อุปธฺยา)  ดังบาลีว่า  ปมํ อุปชฺฌํ                  คาหาเปตพฺโพ, อุปชฺฌํ คาหาเปตฺวา ปตฺตจีวรํ อาจิกฺขิตพฺพํ. (ก่อนอื่นต้องให้สามเณรถืออุปัชฌา ครั้นให้ถืออุปัชฌาแล้ว พึงบอกบาตรและจีวร)  ดังนั้นคำว่า ครูบา จึงมีที่มาจากรูปศัพท์เดิมว่า ครูปธฺยาย (ครูปัธยาย) และ ครูปาธฺยาย (ครูปาธยาย) ตามนัยหลังนี้                 ครูปาธยาย  หมายถึง ครูผู้สอนอย่างใกล้ชิด
      อันบทสวดที่จัดเป็นองค์คุณของครูบาทั้งหลายนี้ได้แก่สูตรมนต์ตั๋นที่กล่าวถึงข้างต้นนั่นเอง ซึ่งพระภิกษุสามเณรสมัยก่อนจะต้องทรงจำเล่าเรียน พร้อมกับการการศึกษาศาสตร์แขนงอื่นๆ ควบคู่กันไป ตามที่โบราณาจารย์ได้กำหนดไว้ ดังปรากฏในคาถาอ้อธรรมล้านนาว่า

   “…ขอหื้อผู้ข้ามีผะหยาปัญญาไหลเปลวเปล่ง  รัดเร่งปัญจละนิกาย  ยายยัง              มานารอด  เกี้ยวกอดเถิงนะโม  ปัจจะโยทั้ง ๔  อิติปิโสคลี่เป็นตรา  เยสันตาเป็นเอก  เอวัมเมเบกลงบด  ยานีจดแถวถี่  การะณีคลี่เป็นคำ  สัพพาจำแจ้งจอด  ยัสสาขอดเป็นอิ 
วิปัสสิเถิงยอด  ธชัคคะขอดในมะโน  ยะโตหังเป็นเขต  ยันทุนเทสเสียภัย  ทุกขัปปัตตาไหลเร็วรอด  ชะยันโตบ่เถิงผล  สักกัตวาลงเป็นยิ่ง เอกะนามะกิงจิ่งเป็นเกณฑ์  อุเทนผันเร็วรอด  วิรูปักเขสอดเถิงโว  พะหุตัพภักโขลงติดต่อ ทะสะหิเมก่อเป็นตรา ทั้งเมตตาเป็นยอด  จันทิมาสุริยะรอดจุนโท  กัสสปะพุทโธ  นะโมเมกลิ้งเกลื่อน  ปราภวะ   


เลื่อนลงหา ทัสสะปา๑ ยาวยอด  ไชยะปกะ๒ขอดธัมมจักร  มหาสมัยหักลงต่อ สัททา ๘ คัมภีร์ม่อสังคหะ คิริ, อิสี, ยะเป็นสาร  มหาภาณ๓บริโยค  ปาติโมกข์ลงบด  วินัยทั้ง ๕ ขดลงไส้ อภิธัมมาใหญ่ ๗ คัมภีร์ ปิฏกะทั้ง ๓ ดีแจ้งจอด จุ่งหื้อเขาะขอดเข้ามาอยู่ใน         มะโนทวาระวิถีจิตแห่งผู้ข้า…”  ดังนี้
   จะเห็นได้ว่าครูบาสังฆะแต่ก่อนมา ท่านจะทรงจำบทสวดต่างๆ ได้มากกว่าสมัยปัจจุบันนี้ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเรียนสูตรเรียนธรรมเป็นอย่างมาก ตกยามเย็นย่ำจะได้เห็นภาพของพระเณรตามวัดวาอารามต่างๆ นั่งเรียงรายล้อมวงกันท่องบ่นตำรา  สาธยายพระพุทธมนต์อย่างเอาใจจดจ่อ สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิตเก่าๆ ของพระเณรในชนบทได้เป็นอย่างดี ดังที่นักกวีล้านนาได้พรรณนาถึงบรรยากาศดังกล่าวไว้ในคร่าวฮ่ำคำเมืองตอนหนึ่งว่า

   “....สูตรนะโมเม สะเทล่วงล้ำ บ่เหมือนสูตรหน้อยยานี ตายใคร่ออกวัด                     สะพัดลาหนี  สูตรการะณี  วรรคยาวบ่อสั้น วิรูปะคา  สัพพาเข้าขั้น๔ เป็นสูตรมนต์เย็น   
แพ้๕เคราะห์ ยามตาวันแลง แสวงเลียบเลาะ เอาพับสูตรหน้อยมาแยง๖ สิกโยมพระน้อย
เรียงยายเป็นแผง รอดตาวันแลง๗ เรียงยายเป็นเส้น....”  ดังนี้   


๑   ได้แก่บทสวดปาระมี ต่าง ๆ อันขึ้นต้นด้วยบท ทานะปาระมี  เป็นต้น คำว่า ทัสสะปา ในที่นี้มา
   จากคำว่า ทะสะปาระมี นั่นเอง
๒   ได้แก่บทสวดไชยทั้ง ๗ หรือ ไชยะปกรณะ
๓   หมายถึง บทภาณยักษ์ บางฉบับเป็น มหาปัฏฐาน แต่เห็นว่าไม่ถูกต้องเพราะมหาปัฏฐานท่านจัดเข้า
   ในอภิธัมมา ๗ คัมภีร์แล้ว
๔   คือ คั่น ในที่นี้ต้องการเสียงโท และออกเสียงต่างจากไทยกลาง หมายความว่า ก่อนสวดวิรูปักเขต้องสวด
   สัพพาสีคั่นก่อน
๕   หมายถึง ชนะ เป็นภาษาเก่าทางล้านนายังใช้อยู่ ภาคกลางไม่ใช้แล้ว มีอยู่ในศิลาจารึกของพ่อขุนราม   
คำแหงด้วย
๖   แยง – จ้อง, มอง, พิจารณา, ส่อง – แยงแว่น (ส่องกระจก) โดยปริยายหมายถึงเอาหนังสือมาท่อง
   มิใช่จ้องดูเฉยๆ
๗   แลง – เย็น , ค่ำ ยามตาวันแลง – ยามตะวันพลบค่ำ
พระสูตรบางบท เช่น มหาสมัย, คิริมานนท์, อิสิคิลิ เป็นต้น หาผู้ทรงจำได้ยาก       เสียแล้วในบัดนี้ ฉะนั้นในหนังสือสูตรมนต์ตั๋นเล่มนี้จึงได้เพิ่มบทมหาสมัย เป็นต้น  เข้าไว้ด้วย เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูบทสวดโบราณเหล่านี้ให้พระเณรหันมาใส่ใจเล่าเรียน      ทรงจำกันอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งบทสวดบางบทมีอยู่แต่ในใบลานและเป็นอักษรธรรม ล้านนาเท่านั้น ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เป็นอักษรไทยกลางอย่างแพร่หลาย ที่ตีพิมพ์แล้วยังมีคลาดเคลื่อนตกหล่นอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบชำระกันอย่างจริงๆ จังๆ จึงใช้กันมาตามนั้น โดยไม่มีผู้ใดคิดจะสังคายนา ส่วนหนึ่งรู้แล้วเพิกเฉย    หรือนิ่งนอนใจเสีย ครั้นจะแก้ไขให้ถูกต้องก็เกรงถูกตำหนิจากผู้ใหญ่ทางฝ่ายสงฆ์           และไม่ได้รับการยอมรับจึงไม่เอาเป็นธุระ
   ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้เรียบเรียงสูตรมนต์ตั๋นล้านนาฉบับนี้ขึ้นมา และใช้ชื่อฉบับว่า “ฉบับคุลีการ-น่านประยุกต์” อันหมายถึง ฉบับที่รวบรวมเอาสูตรมนต์ตั๋นจากหนังสือหลายเล่มเข้าไว้ด้วยกัน โดยได้ตรวจสอบชำระบทสวดโบราณต่างๆ ที่มีอยู่ในใบลานของเมืองน่านเป็นหลัก ร่วมกับสวดมนต์ฉบับอื่นๆ  ปริวรรตออกมาเป็นอักษรไทยกลางและนำมาลงไว้ในสูตรมนต์ตั๋นเล่มนี้  เท่าที่จะสามารถสืบค้นหาได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดของเรื่องเวลาในการจัดทำหนังสือ (ถ้าพอมีเวลาจะได้เรียบเรียง     สูตรมนต์หลวงล้านนาฉบับสมบูรณ์ในโอกาสต่อไป)   
    แต่ก็นับว่ามากและเพียงพอที่จะให้ครูบาอาจารย์ทั้งหลายได้ใช้เล่าเรียน              ท่องบ่น และยึดถือเป็นแบบฉบับได้ ทั้งนี้ได้อาศัยลำดับสูตรมนต์ตั๋นของเมืองน่านในปัจจุบันเป็นแบบฉบับในการเรียบเรียง  และได้เรียงลำดับเพิ่มเติมใหม่เป็นบางบท อาจจะแตกต่างไปจากฉบับของจังหวัดอื่นๆ บ้างเล็กน้อย  แต่ก็ถือเป็นแบบฉบับที่                           ครูบาอาจารย์แต่ก่อนใช้สวดสืบต่อกันมา ซึ่งมนต์ตั๋นเมืองน่านเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง
ปรากฏว่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘  ได้มีทีมงานสำรวจวิจัยคณะหนึ่งเดินทางมาจังหวัดน่าน
เพื่อบันทึกเสียงสูตรมนต์ตั๋นต้นตำรับของเมืองน่านโดยเฉพาะ ที่วัดพระธาตุแช่แห้งด้วย  (ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)
   ดังนั้นเพื่อความเป็นเอกลักษณ์จึงได้คงปาฐะเดิมไว้บ้าง เช่น อะจะลา ไม่เป็น         อะจะลัง,  ทะเสนะ ไม่เป็น ทะสะหิ เป็นต้น และได้ขัดเกลาแก้ไขตกเติมไวยากรณ์เป็นบางที่เพื่อให้ถูกต้องยิ่งขึ้น โดยลงเชิงอรรถกำกับไว้ทุกๆ แห่ง ในการลงเชิงอรรถนั้นขอชี้แจงว่าได้จัดทำเป็น ๒ ส่วนคือ
๑)   เชิงอรรถที่ไม่ยาวมากหรือเชิงอรรถยาวแต่ต้องการเน้นความสัมพันธ์กับเนื้อหาจะอธิบายหน้าต่อหน้าโดยใช้สัญลักษณ์เป็นเลขไทย
   ๒)   เชิงอรรถที่ยาวมาก หรือเชิงอรรถสั้นแต่ต้องการอธิบายไว้ในที่เดียวกัน              จะทำดรรชนีอธิบายไว้ตอนท้ายบทสวด  ลักษณะการอธิบายจะเป็นแบบต่อเนื่องเฉพาะหัวข้อเรื่องนั้นๆ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ดาว์นโหลดหนังสือได้แล้วนะครับ ที่นี้เลย :http://depositfiles.com/files/rtkjf1diq
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2012, 05:29:35 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมคาถาโบราณจากศรีลังก (ต่อ)
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: เมษายน 29, 2012, 12:36:44 pm »
0
ในหน้าหนึ่งๆ อาจจะมีตัวเลขที่ซ้ำกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการสับสน  จึงได้ใส่หัวข้อเรื่องกำกับไว้ในดรรชนีด้วย  โดยใช้สัญลักษณ์เป็นเลขอารบิค ทั้งนี้ต้องการเน้นในส่วนที่เป็นเนื้อหาหลัก คือ บทสวด และไม่ให้หนังสือรุงรังไปด้วยเชิงอรรถมากนั่นเอง
   อนึ่งพึงทราบว่าบทสวดที่ไม่เป็นสากลทั่วไปแต่มีใช้ในบางสำนักข้าพเจ้าไม่ได้นำมาลงไว้ในเล่มนี้ เพราะได้ตรวจตราดูไวยากรณ์ทุกแห่งแล้วพบว่ายังมีฐานะพิรุธผิดพลาดอยู่เป็นอันมาก ไม่อาจนำมาใช้เป็นฉบับมาตรฐานได้ ยกเว้นเฉพาะบางบท เช่น พุทโธติโลกะ, พุทธาอะนูนา เป็นต้น เพราะจุดประสงค์ในการรวบรวมของข้าพเจ้านั้นมีนัยสำคัญรวมไปถึงเป็นการสังคายนาบทสวดด้วย ดังนั้นข้าพเจ้าจะละบทที่เป็นวิรุทธปาฐะทั้งหลายเสีย เลือกเอาแต่บทที่เป็นสุทธปาฐะเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาต่างก็ใช้กันตามอาจริยปรัมปราจึงมีผิดบ้างถูกบ้างเป็นธรรมดา ส่วนบทที่เป็นอิติปิปาฐะนั้นได้ลงเชิงอรรถกำกับไว้ทุกแห่ง ตามแต่ถนัดของผู้จะใช้เถิดไม่ถือว่าผิดแต่อย่างใด เช่น   ปุสโส จะสวด ผุสโส ก็ได้
   ในการตั้งชื่อบทสวดแต่ละบทนั้น ตั้งตามชื่อโดยตรงก็มี เช่น ธะชัคคะปริตร เป็นต้น เอาบทต้นของแต่ละบทมาตั้งก็มี เช่น เยสันตา, ราชะโต เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับพระสูตรบางบท และอักขระย่อของบทสวดต่างๆ ที่               โบราณาจารย์ได้ถอดออกไว้เป็นหัวใจคาถาหรือตับต๊องคาถา พร้อมทั้งวิธีนำเอาไปใช้เท่าที่พอจะรวบรวมได้ ไว้ในตอนท้ายเล่มอีกด้วย พร้อมกันนี้ได้ขออนุญาตนำรูป                 ครูบาสังฆะแห่งล้านนาผู้แตกฉานในคัมภีร์สัททาวิเสส และผู้ชำนาญด้านมนต์ตั๋นแห่งเมืองน่านและจังหวัดใกล้เคียงทั้งในอดีตและปัจจุบันมาลงไว้ เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้ปรากฏแพร่หลายสืบไป 
   หนังสือสูตรมนต์ตั๋นล้านนาฉบับนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกในงานครบรอบทำบุญ                อายุวัฒนมงคล ๗๖ ปี ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมนันทโสภณ เจ้าคณะ       จังหวัดน่าน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร พระอารามหลวง โดยใช้ชื่อว่า             สูตรมนต์ตั๋นเมืองน่าน ฉบับวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร บัดนี้ฉบับพิมพ์ครั้งก่อนได้              จ่ายแจกหมดลง จึงดำริจัดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ ในการพิมพ์ครั้งที่สองนี้๑ ได้ปรับปรุงแก้ไข        คำนำโดยเปลี่ยนเป็นความนำ๒ และเพิ่มบทสวดบางบทเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจาก
นี้ยังได้เปลี่ยนชื่อและฉบับเดิมของหนังสือเป็นชื่อและฉบับใหม่ด้วย  เพื่อที่จะได้ใช้เป็นแบบฉบับสากลทั่วไปได้ โดยได้คงส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระเดิมไว้ทั้งหมด                 มีแก้ไขปรับปรุงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น
   อนึ่งขอชี้แจงว่า สาระหลักของหนังสือเล่มนี้เน้นเนื้อหาของบทสวดเป็นสำคัญ   โดยมุ่งให้ผู้ใช้ได้รู้ถึงที่มาที่ไปของมนต์ตั๋นและบทสวดที่ใช้ในพิธีสูตรมนต์ตั๋นว่ามีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร ส่วนรายละเอียดด้านพิธีกรรมต่างๆ ไม่ได้นำมาลงไว้ เนื่องจากมีครูบาอาจารย์หลายท่านพิมพ์ออกมาเผยแพร่ก่อนหน้านี้บ้างแล้ว สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับหนังสือเล่มนี้ได้ เพราะการที่จะกำหนดรูปแบบตายตัวขึ้นมา แล้วให้หลายๆ สำนักยึดถือปฏิบัติเป็นแบบฉบับเดียวกันนั้นดูเป็นเรื่องยากอยู่                     เหตุเพราะแต่ละสำนักต่างก็ได้ยึดถือปฏิบัติตามรูปแบบครูบาอาจารย์ของตน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถือเป็นแบบฉบับเฉพาะของแต่ละสำนักไป ดังมีคำกล่าวว่า
   “ศิษย์ต่างครู  อาจารย์ต่างวัด  ปั๊บต่างหน่วย  หนังสือก้อมต่างคนต่างมี”
   รูปแบบพิธีกรรมก็คงจะคล้ายคลึงกัน ไม่ต่างกันมากนัก อาจจะมียักเยื้องกันไปบ้างเป็นส่วนน้อย ไม่ถึงกับทำให้เสียสาระที่สำคัญแต่อย่างใด ครั้นจะยกเลิกเสียทีเดียวก็จะกลายเป็นว่าไม่เคารพมติของครูบาอาจารย์ไป  แต่ถ้าหากจะประยุกต์รูปแบบของ

๑   ฉบับพิมพ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๖
๒   ฉบับพิมพ์ครั้งล่าสุดตั้งแต่ครั้งที่ ๕ เป็นต้นมา เปลี่ยนเป็น นิทานพจน์ และได้เพิ่มบทสวดภาคอักษรล้านนาเข้าไว้ด้วย
หลายๆ สำนักเข้าด้วยกัน ก็คงจะเป็นการดีมิใช่น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุคสมัย จะดัดแปลงแก้ไขก็เอาให้พอเหมาะพอดี อย่านิยมรูปแบบใหม่จนลืมพิธีกรรมดั้งเดิมไป พิธีกรรมนั้นคนคิดขึ้นทีหลังจึงต่างกันได้ ส่วนบทสวดมีอยู่ก่อนแล้วคงถือเป็นอันเดียวกัน เพียงแต่ต้องชำระให้ถูกต้องเป็นฉบับมาตรฐานเดียวกัน อนึ่งการที่ข้าพเจ้าละส่วนที่เป็นภาคพิธีกรรมเสีย ก็ด้วยเกรงจะเป็นคันถคุรุไป จึงใส่ภาคผนวกเข้าไว้แทนเพราะเห็นว่าน่าจะได้สาระประโยชน์มากกว่า ส่วนพิธีกรรมนั้นสามารถเรียนรู้จากภาคปฏิบัติได้โดยไม่ยากนัก
   ดังได้ชี้แจงแล้วว่า การพิมพ์หนังสือสูตรมนต์ตั๋นเล่มนี้ขึ้นมา จุดประสงค์หลักเป็นการรวบรวมบทสวดที่นำไปใช้ในพิธีสูตรมนต์ตั๋น ซึ่งได้นำมาจากหนังสือสูตรต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนใช้สวดสืบต่อกันมา โดยบันทึกไว้ในสมุดพับสาหรือคัมภีร์ใบลานเป็นอักษรล้านนา นำมาชำระสอบทานใหม่ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ทั้งนี้มุ่งให้ความสำคัญกับบทสวดมากกว่าพิธีกรรม บทสวดบางบทในหนังสือเล่มนี้อาจจะไม่มีอยู่ในหนังสือเล่มอื่นๆ ก็สามารถนำเอาไปใช้ควบคู่กันได้ ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า “มนต์ตั๋นมีลักษณะที่ไม่ตายตัว จะลดหรือเพิ่มบทสวดขึ้นอยู่กับประธานสงฆ์ผู้นำสวด”  แต่จะต้องสวดให้ครบเต็มสูตร และถือเอาเวลามากน้อยเป็นสำคัญ
   หนังสือสูตรมนต์ตั๋นเล่มนี้จะสำเร็จเป็นรูปเล่มไม่ได้เลย ถ้าหากไม่ได้รับกำลังใจและคำชี้แนะปรึกษาที่ดีจากครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้เป็นกัลยาณมิตรไม่ว่าจะเป็นพระมหาเถระและพระเถระทุกรูปที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนให้จัดทำจนสำเร็จเป็นรูปเล่มขึ้นมา จึงกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกรูปผู้มีส่วนร่วมไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
   กุศลสมภารใดอันเกิดจากการเรียบเรียงหนังสือสวดมนต์ตั๋นล้านนาฉบับนี้                จะพึงมี ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาคุณพระศรีรัตนตรัย คุณบิดามารดาและครูอุปัชฌาย์อาจารย์ทุกท่าน ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการทางด้านภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต           ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยให้หนังสือนี้อุบัติขึ้นมาในบรรณโลก และบรรดาท่านผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามาโดยลำดับ กับทั้งอุทิศเป็นบุพพเปตพลีแก่สรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่า ขอให้ได้รับอานิสงส์แห่งคุณความดีในครั้งนี้ทุกถ้วนหน้า
   หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือสูตรมนต์ตั๋นล้านนาฉบับนี้คงจะอำนวยประโยชน์  กับท่านผู้ใช้พอสมควร ขออำนวยพรให้ท่านผู้ใช้หนังสือสูตรมนต์ตั๋นฉบับนี้ จงได้รับผลานิสงส์แห่งกุศลสาธยายอันเกิดจากทรงจำเล่าเรียนท่องบ่นบทสูตรมนต์ตั๋น สมดังเจตนาปณิธานของข้าพเจ้า และถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในศาสนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกัน

      ทุกฺขปฺปตฺตา จ นิทฺทุกฺขา      ภยปฺปตฺตา จ นิพฺภยา
      โสกปฺปตฺตา จ นิสฺโสกา      โหนฺตุ สพฺเพปิ ปาณิโน.

   “ขอสัตว์ทั้งหลายผู้ประสพทุกข์จงไร้ทุกข์  ผู้ประสพภัยจงปลอดภัย                 ผู้ประสพโศกจงหายโศก ทุกถ้วนทั่วสัตวนิกรเทอญ”

   สิริปวร “าณทฺธชา’ภิเธยฺยวิสฺสุตมุนิสีหคณุตฺตโมทิตภิกฺขุ สาสนปฺปภูต,                   สทฺธมฺมปริยตฺติธร,วิสิฏฺปริตฺตภาณก,ปาติโมกฺขุทฺเทสโกปาธิธารี,รตนโกสินฺท-                  เทวนครสฺส เวมชฺฌภาเค ชยมณฺฑปารามนิวาสี.  (๘๙-๖ ชื่อว่า สิทธิ ได้ไชยะเศษแล)

ขออำนวยพร
พระมหาญาณธวัช  ญาณทฺธโช
๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
(ผู้เขียน;ผู้ชำระ)
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เหตุที่ทำให้มนต์เสื่อมเป็นต้น

      อสชฺฌายมลา มนฺตา    อนุฏฺานมลา ฆรา
      มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ    ปมาโท รกฺขโต มลํ.
               (ธมฺมปท)
         มนตราเว้นบ่นพร่ำ    เกิดมละ นา
      คร้านเกียจแผ้วฆรา    ไป่เกลี้ยง
      สกนธ์บ่ชำระ    เหม็นสาบ ท่านเนอ
      ประมาทเลินเล่อเพี้ยง    ทรัพย์ท่านเสียหายฯ
               (ญ.ญ.ม.)

   มนต์ไม่หมั่นสาธยายก็ลืมเลือน บ้านเรือนไม่หมั่นปัดกวาดเช็ดถูก็สกปรก
ร่างกายไม่หมั่นขัดสีฉวีวรรณก็เศร้าหมอง มีหน้าที่เฝ้าดูแลแต่เผลอเรอ ข้าวของก็เสียหาย



คำชี้แจงวิธีออกเสียงอักขระแบบล้านนาในการสวด

   ๑.   พยัญชนะเหล่านี้คือ ก จ ฏ ต ป เป็นอักษรสูงออกเสียงเหมือนมีวรรณยุกต์จัตวากำกับเวลาเป็นเสียงทีฆะหรือ ครุ เช่น
      อาโลโก      อ่านว่า   อา – โล– โก๋
      กัมมัง      อ่านว่า   ก๋ำ – มัง
      วาจา      อ่านว่า   วา-จ๋า
      สัจจัง      อ่านว่า   สัด – จั๋ง
      กูฏัง      อ่านว่า   กู๋ –ฏั๋ง
      อะระหะโต      อ่านว่า   อะ –ละ – หะ – โต๋
      ยะถาภูตัง      อ่านว่า   ญะ – ถา – ภู– ตั๋ง (ย นาสิกเหมือน ñ - ญ)
      สัมปันโน      อ่านว่า   สำ – ปั๋น – โน
      ปาระมี      อ่านว่า   ป๋า – ละ – มี
   ๒.   พยัญชนะเหล่านี้คือ ค ช ท พ ออกเสียงเหมือน ก จ ต ป (แต่อักษรต่ำ) เช่น
      คัจฉามิ      อ่านว่า   กั๊ด – ฉา – มิ
      โรคา      อ่านว่า   โล– กา
      วิราคัง      อ่านว่า   วิ – ลา – กัง
      ชิเน      อ่านว่า   จิ๊ – เน
      วิชชา      อ่านว่า   วิด – จา
      อุชุ      อ่านว่า   อุ – จุ๊
      ทุกขัง      อ่านว่า   ตุ๊ก – ขัง
      ทานัง      อ่านว่า   ตา – นัง
      ทิฏฐิ      อ่านว่า   ติ๊ด – ถิ
      พุทโธ      อ่านว่า             ปุ๊ด – โท
      นิพพานัง      อ่านว่า      นิบ – ปา – นัง
      โพธิยา      อ่านว่า      โป– ทิ – ยา
   ๓.   ในที่มีเครื่องหมาย ยมักการ (  ๎  ) กำกับมีวิธีใช้ดังนี้

      ถ้ามีพยัญชนะ ย, ว อยู่ด้วยให้ออกเสียงควบกล้ำ เช่น
      พ๎ยาธิ      อ่านว่า      เปีย – ทิ  (คล้ายสระเอีย แต่ลากเสียงยาว)
      พ๎ยัญชะนา      อ่านว่า      เปียน – จ๊ะ – นา
      อาโรค๎ยะ      อ่านว่า      อา – โล– เกี๊ยะ
      สัก๎ยะ      อ่านว่า      สัก – เกี๊ยะ
      ภาค๎ยัง      อ่านว่า      ภา – เกียง
      ส๎วากขาโต       อ่านว่า      สวาก – ขา – โต๋  (อ่านกล้ำ/ไม่อ่าน                     สะหวาก  ส๎วาขาโต ก็เช่นกัน)
      สักกัต๎วา      อ่านว่า      สัก – กัด – ตว๋า (คล้ายสระอัวแต่ลาก                     เสียงยาว)   
      ต๎วัง      อ่านว่า      ตวั๋ง  (อ่านกล้ำ/ไม่อ่าน ตะ-วัง)
   ภะวัต๎วันตะราโย   อ่านว่า      ภะ–วัด–ตวั๋น–ตะ–ลา –โย  (อ่านกล้ำ/
               ไม่อ่าน ภะ–วัด–วัน)
      ทิส๎วา      อ่านว่า      ติ๊ด – สว๋า
      ปูเรต๎วา      อ่านว่า      ปู๋ – เล็ด – ตว๋า
      ท๎วัตติงสะ      อ่านว่า      ตวั๊ด – ติ๋ง – สะ เป็นต้น
   ถ้ามีพยัญชนะ ร กล้ำอยู่ด้วยให้ออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไป จากตัวที่ตนเองกล้ำ เช่น
      ค๎รีเมขะลัง      อ่านว่า      ฆี – เม – ขะ – ลัง  ( คฆ)
      สัต๎รู      อ่านว่า      สัด – ถู ( ตถ)
      อินท๎ริยานิ      อ่านว่า      อิน – ธิ -  ยา – นิ  (ทธ)
      พ๎รัห๎มัง      อ่านว่า      ภำ – มัง  (พภ) เป็นต้น
   
   ๔.   พยัญชนะ ฑ. ออกเสียง ด. เช่น

      กัณฑะกะ      อ่านว่า      กั๋น – ดะ – กะ  (ไม่อ่าน กัน – ทะ)
      โกณฑัญโญ      อ่านว่า      โก๋น – ดัน – โย  (ไม่อ่าน โกน – ทัน)                     เป็นต้น
   ๕.   พยัญชนะ ย ซ้อนกัน (ยย) และทำหน้าที่เป็นตัวสะกดคำที่ประสมกับสระเอ นิยมออกเสียงเป็น ไอย เช่น
      เวยยากัปโป      อ่านว่า      ไวย – ยา – กับ – โป๋
      เสยยะถาปิ      อ่านว่า      ไสย – ยะ – ถา – ปิ
      อุปะวะเทยยุง      อ่านว่า      อุ – ปะ – วะ – ไตย – ยุง
      อุลโลเกยยาถะ      อ่านว่า      อุน – โล – ไก๋ย – ยา – ถะ   เป็นต้น
   ๖.    คำควบกล้ำที่สะกดคำอ่านได้สองแบบจะเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่ง เช่น
      เท๎ว      ไม่ใช้      ท๎เว
      เต๎ววะ      ไม่ใช้      ต๎เววะ
      อาโรเค๎ยนะ      ไม่ใช้      อาโรค๎เยนะ   เป็นต้น
   ๗.   ในกรณีที่ทำหน้าที่สะกดคำหน้าด้วยจะใช้อักขรวิธีแบบทั่วไป เช่น
      วิรุฬ๎โห      ไม่ใช้      วิรุโฬ๎ห  (อ่านว่า วิ–ลุน–ลฺโห)
      มิฬ๎เห      ไม่ใช้      มิเฬ๎ห     (อ่านว่า มิน–ลฺเห)   เป็นต้น
   ๘.   พยัญชนะอัฑฒสระที่มีเสียงสูญเสียไปในสำเนียงภาษาของเรา คงใช้ตามสำเนียงปัจจุบัน เช่น
      ตัณหา       อ่านว่า      ตั๋น-หา  (ไม่ใช้ ตัณ๎หา)   
      อุณหัสสะ      อ่านว่า      อุน-หัด-สะ (ไม่ใช้ อุณ๎หัสสะ)
      ตุมหากัง      อ่านว่า      ตุ๋ม-หา-กั๋ง  (ไม่ใช้ ตุม๎หากัง)  เป็นต้น
   ๙.   พยัญชนะ ฐ - ถ ใช้แทนกันได้ ดังที่คัมภีร์สัททนีติตั้งสูตรไว้ว่า ตฺถานํ ฏฺยุคํ.แต่ในเล่มนี้จะใช้รูปที่เป็น ถ โดยมาก เช่น
      ปะถะวี       ไม่ใช้       ปะฐะวี
      ปะถะโม      ไม่ใช้       ปะฐะโม    เป็นต้น
      นอกจากนี้พยัญชนะ ต - ฏ ก็อาจใช้แทนกันได้ เช่น นะลาเต - นะลาเฏ           
    ปะติ - ปะฏิ  เป็นต้น
   ๑๐.   พยัญชนะ ร, ล, ฬ ในสำเนียงล้านนาออกเสียงไม่ต่างกัน
   ๑๑.   พยัญชนะ ญ, ย  ออกเสียงนาสิก (ขึ้นจมูก) ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรให้ตรงกับเสียงภาษาไทยมาตรฐานได้ เนื่องจากภาษาไทยปัจจุบันไม่มีเสียงนี้ นอกจากใช้สัทอักษรในถ่ายทอดเท่านั้น ดังนั้นจะต้องอาศัยการฟังและหัดออกเสียงให้ได้ด้วยตนเอง
   ๑๒. ในการชำระศัพท์บาลีบางศัพท์จำต้องเทียบเคียงกับสันสกฤต โดยอิงอาศัยกฎเกณฑ์ทางภาษาศาสตร์ และอนุวรรตตามสันสกฤต เพื่อให้ถูกต้องแม่นยำตรงกัน ทั้งสองภาษา เช่น
   น๎หาตะกัสสะ, น๎หารู   บางฉบับใช้  นะหาตะกัสสะ, นะหารู  ทั้งสองรูปนี้ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะในสันสกฤตมีรูปที่เป็นสังยุกตพยัญชนะว่า สฺนาตก, สฺนายุ เมื่อปริวรรตมาเป็นบาลีจะมีการสลับที่ตำแหน่งพยัญชนะ และพยัญชนะ ศ,ษ,ส ในสันสกฤตจะกลายมาเป็น ห ในบาลี ดังนั้น สฺนาตก จึงเป็น นฺหาตก, สฺนายุ เป็น นฺหารุ (ยร) ขอให้เทียบกับคำอื่นๆ ดังนี้
   ปฺรศฺน ปญฺห (ศ↷ห, นฺ↷ญฺ)      ปัญหา,คำถาม ไทยแทรกเสียง อิ เป็น ปริศนา
   ตฺฤษฺณาตณฺหา (ษ↷ห, ฤ↷อ)    ตัณหา,ดำฤษณา
   สฺนานนฺหาน (ส↷ห)         สรง,สนาน,อาบน้ำ   เป็นต้น
   จะสังเกตเห็นได้ว่า  ถึงแม้จะมีการสลับที่อักษรและเปลี่ยนเสียงพยัญชนะ แต่สังโยคยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม ในกรณีที่ไม่ต้องการสังโยคและสลับตำแหน่งอักษร ภาษาบาลีจะใช้วิธีแทรกเสียงสระ และไม่มีการเปลี่ยน ศ,ษ, ส เป็น ห แต่จะใช้ ส ตัวเดียวเท่านั้น เช่น
   ตฺฤษฺณาตสิณา   สฺนานสินาน   เสฺนหสิเนห  เป็นต้น
   ดังนั้นรูปว่า นะหาตะกัสสะ (นหาตกสฺส) ก็ดี นะหารู (นหารู) ก็ดี จึงถือว่า                  ไม่ตรงตามกฎเกณฑ์ทางภาษาศาสตร์
   อนึ่งขอชี้แจงว่า ปาฐะบางบทในหนังสือเล่มนี้ที่เป็นคำเดียวกัน แต่เขียนต่างกันก็มี เช่น สฺวากฺขาต - สฺวาขาต ในเล่มนี้มีใช้ทั้ง ๒ รูป (ต้องการทราบรายละเอียดโปรดดูคำอธิบายในภาคผนวก)



ที่ได้นำมาลงไวนี้เป็นแค่เพียงบางส่วน สามารถดาว์นโหลดฉบับเต็มไปศึกษาได้ ที่นี้เลย :http://depositfiles.com/files/rtkjf1diq
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ความเป็นมาของคาถาชินบัญชร

   คาถาชินบัญชรมีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “ชินะปัญชะระปริตร” บ้าง                           “ชะยะปัญชะระคาถา” บ้าง ทางล้านนาจัดเข้าในไชยทั้ง ๗ เรียกว่า “ไชยะเบ็งชร” มีอยู่มากมายหลายฉบับ แต่ฉบับที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ ฉบับของเจ้าประคุณสมเด็จ                   พระพุฒาจารย์  (โต พฺรหฺมรํสี)  วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร เพราะ                         เจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้นำมาเผยแพร่ก่อนเป็นองค์แรก คนทั่วไปจึงเข้าใจว่าสมเด็จท่านเป็นผู้แต่งพระคาถาบทนี้ เมื่อเห็นชินบัญชรต้องนึกถึงสมเด็จก่อน แต่ที่จริงคาถาชินบัญชรนี้เป็นของโบราณ สมเด็จท่านค้นพบในคัมภีร์ใบลานและนำมาเผยแพร่อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นจึงปรากฏว่ามีอยู่มากมายหลายฉบับและแตกต่างกันออกไปบ้าง                         แต่ยังคงเค้าเดิมไว้เป็นส่วนมาก แสดงว่าผู้แต่งเป็นคน ๆ เดียวกัน ที่แผกกันน่าจะมาดัดแปลงแก้ไขในชั้นหลัง ๆ และถึงแม้จะต่างกันโดยพยัญชนะ แต่ก็ไม่ทำให้เสีย                   อรรถะและความมุ่งหมายของท่านผู้แต่งแต่อย่างใด เกี่ยวกับเรื่องนี้หลวงพ่อธรรมสร สิริจนฺโท แห่งวัดตึ๊ดใหม่ อ.เชียงกลาง จ.น่าน เคยกล่าวไว้ว่า “คาถาชินบัญชรมีอยู่มากมายหลายฉบับ ผู้ใดขึ้นใจได้บทใด หรือถือฉบับใดก็ดีทั้งนั้น”  ที่เป็นดังนี้เพราะคัดลอกต่อๆ กันมานั่นเอง ย่อมจะผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ใครได้สำนวนไหนก็อย่าสงสัยให้ท่องจำตามนั้น อย่าไปหาว่าของคนอื่นผิด เพราะต่างก็ไม่ใช่คนแต่ง ถึงจะเพี้ยนกันไปบ้างก็ไม่ถึงกับทำให้เสียความ ซึ่งยังมีอีกหลายแห่งที่จดจำแตกต่างกันมา และไม่ได้ลงอธิบายไว้ เพราะเกรงจะยืดยาวไป แต่แทบทั้งหมดแปลได้ไม่ผิดไวยากรณ์ เห็นมี            ที่เดียวเท่านั้นที่ดูเหมือนจะมีปัญหาว่าผิดไวยากรณ์หรือไม่ซึ่งข้าพเจ้าวิจารณ์ไว้ในเชิงอรรถข้างต้นแล้ว คือ  อาสุง  อานันทะราหุโล
   อนึ่งบทที่ ๑๕ ของคาถา หรือบทสุดท้ายตามฉบับของไทยนั้น ของเดิมท่านคงแต่งไว้ในรูปของฉันท์หรือคาถา (ร้อยกรอง) เพราะมีเค้าโครงของฉันทลักษณ์อยู่ในบาทที่ ๑, ๓ และ ๔ สามารถตรวจคณะและครุ,ลหุ ตามกฎของฉันท์ได้ ส่วนบาท             ที่เหลือดูไม่เป็นรูปคาถา ผู้ชำระในภายหลังจึงเหมาเอาว่ามิใช่คาถา เพราะตรวจ            คณะฉันท์ไม่ได้ จึงวางรูปคาถาเป็นจุณณิยะ (ร้อยแก้ว) เสียเป็นส่วนมาก เห็นมีแต่ฉบับลังกาเท่านั้นที่วางเป็นรูปคาถาได้ถูกต้อง
    อันที่จริงบทที่ ๑๕ นี้ ท่านแต่งไว้เป็นคาถาอยู่แล้ว แต่ที่ไม่เป็นคาถาก็เพราะมีการแต่งเพิ่มและแก้ไขต่อๆ กันมานั่นเอง บาทที่ ๑ ว่า  อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข นั้น ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ ฉบับลังกาเป็น  อิจเจวะมัจจันตะกะโต                     สุรักโข ก็ถือว่าถูกต้อง ฉบับล้านนาบางฉบับเป็น อิจเจวะเมกะโต รักโข สุรักโข นี้                   พิรุธอยู่  บาทสุดท้ายตามฉบับล้านนาทั่วไปว่า จะรามิ ธัมมานุภาวะปาละโตติ นี้ก็พิรุธเพราะผิดคณะฉันท์                                                                                                   
   อนึ่งคำว่า  ปิฏฐิภาคัส๎มิง ฉบับทั่วไปมีที่ซ้ำกันสองที่คือ บทที่ ๔ และที่ ๖ แต่      ชินบัญชรที่ข้าพเจ้านำมาชำระใหม่นี้ บทที่ ๔ ใช้ ปุพพะภาคัส๎มิง ตามใบลานฉบับหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏในฉบับอื่นเห็นว่าแปลกดี และไม่เสียความหมาย กลับทำให้มี                       ความหมายเพิ่มขึ้นเสียอีก อนึ่งในบทนมัสการพระอรหันต์แปดทิศก็ปรากฏข้อความตรงกันว่า โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ  บทว่า ปุพพะภาคัส๎มิง  กับบทว่า  ปุพพะภาเค เป็นสัตตมีวิภัตติมีคำแปลอย่างเดียวกัน คือ แปลว่า “ข้างหน้า” ได้นำความกราบเรียนพระอาจารย์คันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ท่านเห็นชอบด้วย โดยให้เหตุผลว่าพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นปฐมสาวกได้บรรลุธรรมก่อนพระสาวกองค์อื่นทั้งปวง จึงควรอยู่ข้างหน้า บทว่า ปิฏฐิภาคัส๎มิง จึงน่าจะซ้ำกัน ส่วนในฉบับของพม่าเป็น ปัจฉาภาคัส๎มิง คงมีความหมายดุจเดียวกับบทว่า ปิฏฐิภาคัส๎มิง คือแปลว่า  “ข้างหลัง”  เหมือนกัน
   เพราะฉะนั้นพึงทราบว่าฉบับที่ข้าพเจ้าชำระไว้นี้จะปรากฏบทที่แตกต่าง                จากฉบับทั่วไป และเป็นฉบับที่รวบรวมชินบัญชรเกือบทุกฉบับไว้ในฉบับเดียวกัน             ก็ว่าได้  แต่จะไม่ยึดเอาความเก่าแก่ของต้นฉบับใบลานว่าอันไหนจารก่อนหลัง เพราะฉบับที่มีอายุมากที่สุดที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในเวลานี้ซึ่งจารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒ แก่กว่าฉบับของ               วัดบวรนิเศวิหารที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรทรงใช้อ้างอิงและตรวจชำระไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ตั้งสองปี (จารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔  ต้นฉบับของวัดไชยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน) ซึ่งถือกันว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในเวลานี้ และเพิ่งจะถูกทำลายสถิตินั้น ก็ยังปรากฏว่ามีที่พิรุธอยู่ ดังนั้นการที่จะถือเอาอายุของใบลานมาเป็นบรรทัดฐานว่าต้นฉบับเดิมเป็นอย่างไรนั้น ยังมิใช่หลักฐานที่พอจะทำให้เชื่อถือได้ เพราะอาจจะยังมีต้นฉบับที่มีอายุเก่าแก่กว่านี้อยู่อีกก็ได้ การอาศัยการจดจำทางมุขปาฐะต่างหาก พอจะนำมาเป็นหลักฐานได้ในที่นี้ เพราะต่างครูก็ต่างอาจารย์ต่างก็จดจำกันมาคนละฉบับ       ถ้าใกล้เคียงหรือเหมือนกันมากก็แสดงว่าคัดลอกหรือจดจำเรียนเอามาจากสำนักเดียวกัน ถ้าเป็นสำนักเดียวกันถึงแม้อายุของต้นฉบับจะห่างกันมากน้อยก็ตาม ก็จะลงเป็นฉบับเดียวกัน ถ้าต่างกันก็ต่างสำนัก แสดงว่ามีการแก้ไขกันอีกทีหนึ่ง แต่สิ่งที่นับว่าน่าภูมิใจก็คือได้มีการชำระขัดเกลาบทที่ ๑๕ ให้ถูกต้องตามรูปแบบของฉันทลักษณ์และใกล้เคียงต้นฉบับเดิมมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เป็นการนำของเดิมมาชำระให้ถูกต้อง นับว่าคาถาทั้ง ๑๕ บทนี้ มีความถูกต้องสมบูรณ์อย่างเต็มที่ ตามที่ปรากฏท้ายชินบัญชรฉบับล้านนาว่า ปัณณะระสะคาถา (คาถา ๑๕ บท) เพราะแต่เดิมนับได้เพียง ๑๔ บทข้างต้นเท่านั้น บทที่ ๑๕ ดูเหมือนไม่ใช่คาถาเพราะตามลักษณะของคาถาทั่วไปจะไม่มีบาทเศษ ซึ่งถือเป็นข้อห้ามของการแต่งฉันท์ คำว่าคาถานั้นก็คือฉันทลักษณ์ ๔ บาทรวมกันเรียกว่าหนึ่งคาถา ถ้ามี ๖ บาทก็จะเรียกคาถากึ่ง ถ้า ๘ บาท ก็เรียกสองคาถา ดังนี้เป็นต้น คาถาที่มีบาทเศษเป็นบาทคี่หรือเกินมานั้น ถึงแม้จะ ผิดกฎเกณฑ์ของ ฉันทลักษณ์แต่ก็ปรากฏว่ามีใช้ในพระบาลีบ้าง ดังเช่นในรัตนสูตร เป็นต้น ดังนั้นท่านจึงอนุโลมให้ใช้ได้ในเวลาแต่งฉันท์หรือประพันธ์คาถาเฉพาะกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ห้ามใช้พร่ำเพรื่อนอกจากนี้ในที่มีบาทหย่อนกว่า ๔ บาท ก็ควรนับเป็นคาถาได้เช่นกัน เช่น
         พุทฺธํ   สรณํ      คจฺฉามิ
         ธมฺมํ   สรณํ      คจฺฉามิ
         สงฺฆํ      สรณํ      คจฺฉามิ.

            ซึ่งคาถานี้พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า “อริยสาวิตรีคาถา”  ที่มี ๓ บาท ๒๔ พยางค์ นัยว่าพระองค์ตรัสเรียกไตรสรณคมน์ทั้ง ๓ ว่า อริยสาวิตรีคาถานี้ ถือเป็นพุทธวิธี          อย่างหนึ่งที่ทรงใช้เปลี่ยนแนวความเชื่อดั้งเดิมของพราหมณลัทธิทั้งหลายที่ถือว่า สาวิตรีคาถาเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์พระเวท  ก่อนที่จะสาธยายพระเวทจะต้องสาธยายสาวิตรีคาถาเป็นปฐมบทก่อน ด้วยการเผยแพร่แนวความเชื่อใหม่ว่า สาวิตรีคาถาใช่จะมีอยู่แต่ในลัทธิพราหมณ์เท่านั้น ถึงในพุทธศาสนาก็มีสาวิตรีคาถาเช่นกัน โดยทรงนำคำว่า สาวิตรี มาปรับเปลี่ยนใหม่เป็น อริยสาวิตรี แปลว่า สาวิตรีของพระอริยเจ้า และให้พระสาวกใช้สาธยายเป็นสาวิตรีคาถาของทางพุทธศาสนา ทางพราหมณ์ถือว่า สาวิตรีคาถาเป็นต้นกำเนิดของพระเวทฉันใด ทางพุทธก็ถือว่า อริยสาวิตรีคาถาเป็น            ต้นกำเนิดของพระไตรปิฎกฉันนั้นเหมือนกัน ดังมีสาธกในอรรถกถาว่า
   เอตฺถ จ ภควา ปรมตฺถเวทานํ  ติณฺณํ ปิฏกานํ  อาทิภูตํ ปรมตฺถพฺราหฺมเณหิ 
สพฺพพุทฺเธหิ  ปกาสิตํ  อตฺถสมฺปนฺนํ  พฺยญฺชนสมฺปนฺนํ  ‘พุทฺธํ  สรณํ  คจฺฉามิ,  ธมฺมํ  สรณํ  คจฺฉามิ,  สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามี’ ติ อิมํ อริยสาวิตฺตึ สนฺธาย ปุจฺฉติ.  (สุตฺตนิปาต                ๒/๒๒๖)
   “อนึ่งในที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัสถามหมายเอาสาวิตรีคาถาของพระอริยะคือ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ,  สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ที่เพียบพร้อมด้วยอรรถ และพยัญชนะ เป็นเบื้องแรกของพระไตรปิฎก อันเป็นพระเวทโดยปรมัตถ์ เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ผู้เป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ ได้ทรงประกาศไว้นี้”
   มีพระบาลีที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สาวิตฺตี ฉนฺทโส มุขํ๑ (สาวิตรีเป็นประธานแห่ง
พระเวท) สาวิตรีคาถาของพราหมณ์นั้นมีปรากฏในคัมภีร์ฤคเวทซึ่งจารึกเป็นภาษาสันสกฤตดังนี้

      tTsivtuvRrei[y<
      ÉgaeR devSy xImih
            ixyae yae n> àcaedyat!.
                      (\Gved, m{fl 3, sU´ 62, mNÇ 10)

๑   ขุ.สุ. ๒๕/๕๗๔/๔๔๙         
            ตตฺ สวิตุรฺ  วเรณิยํ๑
            ภรฺโค  เทวสฺย  ธีมหิ
         ธิโย โย นะ ปฺรโจทยาตฺ.
                    (ฤคฺเวท มณฺฑล 3 สูกฺต 62 มนฺตฺร 10)

   คาถาที่ ๑๕ นี้ นับว่าโบราณาจารย์ท่านแต่งไว้ถูกต้อง เพราะไม่ผิดจากลักษณะพระบาลีดังกล่าวแล้ว ถึงแม้จะมีบาทเกินมาก็ตาม นอกจากนี้ฉันทลักษณ์ที่มีเพียง            ๒ บาท ก็เรียกว่าคาถาได้เช่นกัน เช่น

      กุลาลภณฺเฑ อาณายํ      อายุเธ  ทานราสิสุ. 
                      (อภิธาน คาถา ๗๘๒)

   คาถา ๒ บาทนี้ก็ถือว่าเป็นหนึ่งคาถาได้ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา (อธิบายคาถา ๗๘๒) กล่าวยืนยันเรื่องนี้ว่า  สทฺธคาถาปิ คาถาเยว (คาถาที่มีครึ่งหนึ่งคือมี                  ๒ บาท ก็ถือว่าเป็นคาถาได้เช่นกัน) คาถาที่มีสองบาทนี้พบได้ในมหาเวสสันดรชาดกเป็นต้น
   ใจความของคาถาชินบัญชรก็คือ เป็นบทสวดที่กล่าวอาราธนาพระพุทธเจ้า ๒๘พระองค์  พระสาวก และพระปริตรทั้งหลายให้มาประทับอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งนับได้ดังนี้คือ กระหม่อม, ศีรษะ, นัยน์ตา,หน้าอก, หัวใจ, ข้างขวา, ข้างซ้าย, ข้างหน้า, ข้างหลัง, หูทั้งสองข้าง, ปลายผมหรือท้ายทอย, ปาก (ใบหน้า,แก้ม), หน้าผากและอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย โดยได้อัญเชิญพระรัตนตรัยเป็นต้น ให้เข้ามาดำรงอยู่ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเหล่านี้ เพื่อพิทักษ์คุ้มครองผู้สวดสาธยายให้แคล้วคลาดปลอดภัย เสมือนหนึ่งอยู่ในแวดวงกรงล้อมของพระชินเจ้าทั้งหลาย สำหรับอานิสงส์ของพระคาถานี้ท่านสรุปแสดงไว้ว่า


๑   บางครั้งเป็น โอมฺ ตตฺ สวิตุรฺ  วเรณฺยํ  ถ้าไม่มี โอมฺ อยู่ข้างหน้าก็ให้ลง อิ มาที่ วเรณฺย เป็น วเรณิย
อานิสงส์คาถาชินบัญชร

   “ผู้ใดสวดเป็นประจำจะป้องกันรักษาตนได้ ย่อมได้ชัยชนะในทุก ๆ แห่ง นอกจากนี้ยังเอาชนะศัตรูที่ยังชนะไม่ได้ ถึงจะยืนปราศัยในที่ทั้งปวง เป็นต้นว่า                 ราชสกุล ก็ตาม จะปราศจากความหวาดหวั่นครั่นคร้าม ให้ตั้งสติมุ่งตรงต่อพุทธารมณ์เป็นอาทิ โดยสัจจเคารพจะสามารถป้องกันอันตรายมีราชันตรายเป็นต้นได้ และย่อมสวัสดีมีชัยในที่ทุกสถาน”   (ดูเชิงอรรถที่ ๒๘ ข้างต้น)

การนับจำนวนคาถาชินบัญชรในแต่ละฉบับ


   คาถาชินบัญชรนี้ปรากฏว่าได้รับความนิยมนับถือจากพุทธศาสนิกชน                     ๓ ประเทศคือ ไทย พม่า และลังกา ดังนั้นต้นฉบับจึงมีอยู่ใน ๓ ประเทศ (อาจมีประเทศอื่นด้วย) ของเดิมคงมีอยู่เพียง ๑๔ บท เท่านั้นตามฉบับพม่าเดิม ชำระโดยนายเจมส์ เกรย์ ชาวอังกฤษ เป็นฉบับพิมพ์อักษรพม่า มีคำอธิบายคำศัพท์และคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ พิมพ์ที่เมืองโมลมิน (มะละแหม่ง) ประเทศพม่า (ปัจจุบันมี ๑๕ บท)                ทางพม่าเรียก  “รัตนะบัญชร” และมีชื่อเป็นภาษาพม่าว่า “รัตนะชวยไช่” (กรงทองแห่งพระรัตนตรัย) ของไทยมีอยู่ ๑๕ บท โดยบทสุดท้ายเป็นนิคมคาถาสรุปคาถา ๑๔ บทข้างต้น ของลังกาแต่งเพิ่มเข้ามาอีกเป็น ๒๒ บท ซึ่งมากกว่าฉบับอื่นๆ และเรียก                     “ชินะปัญชะระยะ” ส่วนทางล้านนาเรียก “ชะยะปัญชะระ” หรือ “ไชยะเบ็งชร”
   ความจริงเครื่องคุ้มครองป้องกันที่ท่านแสดงไว้ในชินบัญชรนั้น สมบูรณ์อยู่แล้วด้วยคาถา ๑๔ บทข้างต้น และคาถาทั้ง ๑๔ บทนี้มีเหมือนกันหมดในฉบับต่างๆ อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ดังนั้นฉบับที่มี ๑๔ บทนี้จึงน่าจะเป็นมูลฉบับ (ฉบับดั้งเดิม)
   เกี่ยวกับความเป็นมารวมถึงชื่อผู้แต่งหรือสถานที่ๆ แต่งคาถาชินบัญชรนี้ นักปราชญ์ทางพม่าเชื่อว่าแต่งขึ้นที่เชียงใหม่ของไทย ในสมัยอาณาจักรล้านนาโดยพระเถระรูปหนึ่งไม่ปรากฏนาม (ดูอัครมหาบัณฑิตานุสรณ์ วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง
๒๕๓๔)  เป็นวรรณกรรมบาลีที่แต่งในประเทศไทย๑ แต่นักปราชญ์ทางล้านนาเชื่อว่า
ตกทอดมาแต่ลังกา๒ ดังปรากฏข้อความในคัมภีร์ใบลานภาษาล้านนาฉบับหนึ่งว่า


อุปปัตตินิทาน

   “อุปปัตตินิทานอันเกิดแห่งคาถาไชยะเบ็งชรอันนี้ว่ายังมีลูกพระยาเมืองลังกาเกิดมาแล้วหมอโหราทวายว่า ‘มีอายุได้ ๗ ปี ปลาย ๗ เดือน เจ้าราชบุตรลูกมหาราชเจ้าจักตายด้วยฟ้าผ่าชะแล’ ว่าอั้นเถิงเวยยะอายุได้ ๗ ปี เปี่ยง ๗ เดือนแท้ พระยาตนพ่อมีคำเคืองใจมากนัก จิ่งไปไหว้อรหันตาเจ้าทังมวลในเมืองลังกาที่นั้น อรหันตา ๕ ร้อยตน๓พร้อมกันขอดและตนและคาถาเหนือปราสาทชั้นถ้วน ๗ ที่ใกล้ปล่องเบ็งชรแล้ว           ก็หื้อพระยาปูชาเอาด้วยอาสนา, ฉัตร, พัด, ช่อ, ทุง, ธูปเทียน, ประทีป, เข้าตอก, ดอกไม้ชู่อันแล้วหื้อลูกพระยาเรียนเอาแล้วจำเริญไหว้ชู่วันไจ้ ๆ เถิงเมื่ออายุได้ ๗ ปี ปลาย                 ๗ เดือนแท้ ฟ้าก็ผ่าแท้ลวดบ่จับไปจับหินก้อนนึ่ง อันมีทิสะวันตก แจ่งเวียงลังกา               ราชกุมารน้อยตนนั้นก็ลวดมีอายุยืนยาวไปพ้นจากไภยะทังมวลแล้วได้เป็นพระยาแทนพ่อวันนั้นแลฯ คาถา ๑๕ บท๔นี้ มีคุณมากนักแล คาถานี้ ๘ ตัวไหน เป็นบาทนึ่ง คือว่า ๔ บาท เป็นคาถาแล”



๑   เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธนวมวินิจฉัยของพม่า ในวินยสมูหวินิจฉัยกล่าวถึงคาถาชินบัญชร               
   ว่าแต่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา รัชกาลที่  ๒๐ ซึ่งเป็นกษัตริย์พม่าที่มาครองนครเชียงใหม่ระหว่าง
      พ.ศ. ๒๑๒๑ – ๒๑๕๐ เรื่องนี้น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ความจริงคาถาชินบัญชรคงจะมี
      มาก่อนหน้าตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าติโลกราชแล้วและมีอายุมากกว่านั้น ภายหลังเสื่อมความนิยมลงจึง
   มีการฟื้นฟูขึ้นมาสวดใหม่ในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา ด้วยเหตุผลบางประการดังปรากฏข้อความใน
   คัมภีร์นั้นว่าทรงโปรดให้ชาวเมืองใช้สวดแทนการบูชาดาวนพเคราะห์ที่ไม่คล้อยตามคำสอนในพระ
   พุทธศาสนา ความน่าจะเป็นดังนี้ แต่มิใช่แต่งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระองค์อย่างแน่นอน (ผู้เขียน)
๒   สันนิษฐานว่าพระมหาเถรชยมังคละแห่งนครหริภุญชัยนำมาแต่ลังกาทวีปพร้อมทั้งคาถาปะโชตา               แล้วคัดลอกถวายพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๕   
๓   บ้างว่า ๑๔ ตน (รูป/องค์) ซึ่งน่าจะตรงกับจำนวนพระคาถาในที่นี้
๔   ๑๔ บท (เฉพาะที่เป็นวัตตคาถา) แสดงว่าฉบับเดิมมีเพียง ๑๔ บทเท่านั้น
   จากเรื่องเล่าข้างต้นนั้นถอดเป็นใจความได้ว่า  สมัยหนึ่งยังมีราชกุมารของกษัตริย์ลังกาพระองค์หนึ่ง (ในประวัติไม่ได้ระบุพระนามไว้) เมื่อแรกคราวประสูติมาโหรหลวงทำนายว่า พระกุมารจะมีพระชนม์อยู่ได้เพียง ๗ ชันษาเท่านั้น ก็จะถูกอสุนีบาตหรือฟ้าผ่าตกต้องพระองค์อย่างแน่นอน พอมีพระชนมายุใกล้ครบ ๗ ปี บริบูรณ์ พระราชบิดาทรงวิตกกังวลพระทัยเป็นยิ่งนัก จึงเสด็จไปนมัสการพระอรหันต์ทั้งปวงในลังกาทวีป เพื่อขอคำชี้แนะปรึกษาและหาทางแก้ไข พระอรหันต์ทั้งปวงจึงประชุมกันบนปราสาทชั้นที่ ๗ ใกล้สีหบัญชร ได้ช่วยกันผูกพระคาถานี้ขึ้น ณ ตรงที่ใกล้ปล่องสีหบัญชรนั้น เหตุนั้นพระคาถานี้จึงปรากฏชื่อว่า “ชินบัญชร” แปลว่า กรง หรือหน้าต่างของพระชินเจ้า ซึ่งโดยปริยายหมายถึงเครื่องป้องกัน โดยนำคำว่าบัญชรซึ่งเป็นมงคลนามมาใช้ในการตั้งชื่อพระคาถา ส่วนชื่อ “ชยปัญชระหรือไชยะเบ็งชร” ตามภาษาล้านนานั้น แปลว่า กรงล้อมแห่งชัยชนะ ถือว่าเป็นมงคลนามเช่นกัน                   
    หลังจากนั้นก็ให้พระองค์บูชาเอาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ แล้วให้พระกุมารเรียนเอาพระคาถาทั้งหมดและสาธยายเป็นประจำทุกวัน พอพระชนมายุครบ ๗ ปี บริบูรณ์ ฟ้าก็ผ่าจริงตามคำทำนายของโหราจารย์ แต่กลับผ่าไม่ถูกพระราชกุมารแต่อย่างใด ได้พลาดไปถูกศิลาใหญ่ก้อนหนึ่งซึ่งอยู่ทางมุมเมืองด้านทิศตะวันตกของเมืองลังกาแทน ขณะกำลังประทับอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง พระกุมารจึงพ้นจากมรณภัยและมีพระชนมายุยืนยาวไปจวบจนกระทั่งได้สืบราชสมบัติเป็นกษัตริย์ลังกาต่อจากพระ         ราชบิดา เพราะอานุภาพของคาถาชินบัญชรๆ จึงได้รับการยกย่องนับถือตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
   อาศัยเหตุที่ พระกุมารรอดพ้นจากมรณภัยครั้งนั้น พระคาถาบทนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คาถาฟ้าฟีก” ซึ่งหมายถึง ฟ้าหลีก นั่นเอง โดยโบราณาจารย์ล้านนาได้ถอดอักขระย่อออกไว้เป็นตับต๊อง (ตับท้อง) และหัวใจคาถาเรียกว่า  ตับต๊องชินบัญชรหรือ หัวใจฟ้าฟีก ดังนี้ ระตะนัง ปุระโต อาสิ (อยู่ในบทที่ ๑๐)  มีประสิทธิคุณทางภาวนาป้องกันอันตราย ให้ปลอดภัยแคล้วคลาดจากฟ้าผ่า ไฟไหม้ เป็นต้น นับถือกันว่าประสิทธินัก บ้างก็เรียก คาถายอดตาลหิ้น ใช้ไปในทางอยู่ยงคงกระพันก็มี มีเรื่องเล่าว่า    ในดินแดนล้านนาสมัยของเจ้าหนานติ๊บจ๊าง (ทิพย์ช้าง) วีรบุรุษต้นตระกูล            ทิพย์ช้าง, เจ้าเจ็ดตน ผู้กอบกู้นครลำปาง แค่ได้ยินชื่อเสียงเรียงนามก็คงพอรู้แล้วว่าเก่งกล้าสามารถขนาดไหน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ยังอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวั ดลำปาง เป็นรอยกระสุนทะลุผ่านรั้วทองเหลืองกำแพงแก้วล้อมองค์พระธาตุ  เมื่อครั้งเจ้าหนานนำกองกำลังบุกเข้าไปยิงท้าวมหายศแม่ทัพพม่าตาย          ซึ่งยึดบริเวณลานวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นที่พักกำลังพล ทำให้ทัพพม่าแตกกระจัดกระจายไป เผอิญมีกระสุนนัดหนึ่งทะลุไปถูกรั้วทองเหลืองปรากฏร่องรอยหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ นับเป็นวีรกรรมกู้ชาติที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญอีกวีรกรรมหนึ่ง๑ ท่านเป็นเจ้าปู่ของเจ้าชีวิตอ้าว องค์นี้ก็เช่นเดียวกันอุทานว่าอ้าวเมื่อไหร่ เป็นต้องจับประหาร              เมื่อนั้น เจ้าหนานมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งซึ่งนับถือมาก (เล่ากันว่าได้แก่พระมหาเถร             วัดชมพู) เป็นผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาอาคมทั้งหลายให้กับเจ้าหนาน วันหนึ่งท่านเรียกเจ้าหนานเข้าไปหาบอกว่าจะให้ของดี มันเป็นคาถาแต่ยังไม่มีชื่อเรียก มีอยู่ ๘ คำ ซึ่งได้แก่คาถาดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง เมื่อเจ้าหนาน ท่องจำจนขึ้นใจแล้วต้องการพิสูจน์ความขลัง จึงสั่งให้พวกทหารเอาปืนมาอยู่ใต้ต้นตาลให้มากที่สุด จากนั้นก็ขึ้นไปอยู่บนยอดตาลแล้วสั่งให้พวกทหารระดมยิง ยิงเท่าไหร่ก็ไม่จับ แต่ลูกกระสุนกลับถูกยอดของต้นตาลจนปลายด้วนหมด เจ้าหนานจึงตั้งชื่อคาถาบทนี้ว่า “ยอดตาลหิ้น” ซึ่งหมายถึง “ยอดตาลเหี้ยน” นั่นเอง และใช้เรียกตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา๒
   ชินบัญชรฉบับล้านนานั้นจะใกล้เคียงกับฉบับลังกาเป็นส่วนมาก มีที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นโดยฉบับลังกาจะเน้นการสวดให้ผู้อื่น ส่วนฉบับล้านนาและฉบับอื่นๆ จะเน้นการสวดให้กับตนเอง ต่อแต่นี้จะได้นำคาถาชินบัญชรฉบับลังกา ฉบับพม่า พร้อมทั้งฉบับวัดระฆังโฆสิตาราม มาลงไว้เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกันของแต่ละฉบับ และให้สาธุชน ทั้งหลายได้เลือกสวดตามความพอใจ ดังนี้
           

๑     ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง มีนามว่า เจ้าพระยาสุลวฦๅชัยสงคราม159
๒    แต่ในตำราอื่นๆ เกจิอาจารย์เรียกคาถาพระเจ้าดับจิต (พุทธนิพพาน) ว่า “ยอดตาลหิ้น” ก็มี
         Cskm[acrh

1   chdik.;d jSrd         fc;ajd udrx ijdysksx
   p;=iÉpdu;rix         fha msjsxi= krdiNd
2   ;Kahxlrdofhda nqoaOd      wgaGjSi;s kdhld
   iífn m;sÜGs;d ;=hayx      u;a:fla f;a uqksiaird
3   isfr m;ssÜGs;d n=oaOd      Oïfuda p ;j f,dapfka
   ixf>da m;sÜGsf;da ;=hayx      Wfar iín.=Kdlfrda
4   yofha wkqreoafOda p         idrsmq;af;da p olaÅfKa
   fldKav[af[da msÜGsNd.iusx      fud.a.,a,dfkdais jdufla
5   olaÅfKa ijfka ;=hayx      wdyqx wdkkaordyq,d
   liaifmda p uydkdfuda      WfNdaiqx jdufida;fla
6   flikaf; msÜGsNd.iausx   iQrsfhdA jsh mNxlfrdA   
   ksiskafkda isrsiïmkafkda   fidaNsf;da uqksmqx.fjda
7   l=udrliaifmda kdu   ufyaiS ps;%jdoflda
   fida ;=hayx jofka ksÉpx   m;sÜGdis .=Kdlfrda
8   mqKAfKda wx.=,sudf,da p   Wmd,SkkaoiSj,S
   f:ard m[ap bfï cd;d   ,,dfÜ ;s,ld ;j
9   fiidiS;s uydf:ard   jscs;d cskidjld
   c,ka;d iS,f;afcak   wx.uxf.aiq iKaGs;d   
10   r;kx mqrf;da wdis   olaÅfKa fu;a;iq;a;lx
   Oc.a.x mÉPf;da wdis   jdfï wx.=,sud,lx
11   LkaOfudarmrs;a;[ap   wdgdkdgshiq;a;lx
   wdldiÉPokx wdis   fiaid mdldri[a[s;d
12   cskdKdn,ixhq;af;a   Oïumdldr,xlf;a
   jif;da f;a p;=lsÉfÉk   iziïnqoaOm[acfar
13   jd;ms;a;dosi[acd;d   ndysrcaCO;a;=moaojd
   wfiaid js,hx hka;=   wkka;.=Kf;acid
14   cskm[acrucaCOÜGx   jsyrka;x uyS;f,a
   iz mdf,ka;= ;ajx iífí   f;a uydmqrsidiNd
      15   bÉfÉjuÉpka;lf;da iqr   lafLda   
         cskdkqNdfõk cs;+mmoaofjda
         nQoaOdkQNdfõk y;drsixf>da
         prdys ioaOïukqNdjmd,sf;da
      16   bÉfÉjuÉpka;lf;da iqr   lafLda   
         cskdkqNdfõk cs;+mmoaofjda
         OïudkqNdfõk y;drsixf>da
         prdys ioaOïukqNdjmd,sf;da
      17   bÉfÉjuÉpka;lf;da iqr   lafLda   
         cskdkqNdfõk cs;+mmoaofjda
         ix>dkqNdfõk y;drsixf>da
         prdys ioaOïukqNdjmd,sf;da
      18   ioaOïumdldrmrslaÅf;dais
            wÜGdrshd wÜGosidiq fydka;s
         t;a:ka;far wÜGkd:d Njka;s
         WoaOx js;dkxj cskd Gs;d f;a
   19   Nskaokaf;da udrfiakx ;j isris Gsf;da fndaêsudrehay i;a:d
   fud.a.,a,dfkdais jdfï ji;s N=c;fÜ olaÅfKa idrsmq;af;da
   Oïfuda ucafCè Wriausx jsyr;s Njf;da fudlaLf;da fudarfhdaksx
   iïm;af;da fndaêsi;af;da prKhq..f;da Ndkq f,daflal kdf:da
         20   iíndjux.,uqmoaojÿkaksus;a;x
            iíî;sfrda..yfodaiufiaikskaz
            iínka;rdhNhÿiaiqmskx wlka;x
             nqoaOdkqNdjmjfark mhd;= kdix
         21   iíndjux.,uqmoaojÿkaksus;a;x
            iíî;sfrda..yfodaiufiaikskaz
            iínka;rdhNhÿiaiqmskx wlka;x
             OïudkqNdjmjfark mhd;= kdix
         22   iíndjux.,uqmoaojÿkaksus;a;x
            iíî;sfrda..yfodaiufiaikskaz
            iínka;rdhNhÿiaiqmskx wlka;x
             ix>dkqNdjmjfark mhd;= kdix
      


                         


(คำอ่าน)
 ชินะปัญชะระยะ
(ชินบัญชรฉบับลังกา)

   ๑.   ชะยาสะนะคะตา วีรา      เชต๎วา มารัง สะวาหินิง
   จะตุสัจจามะตะระสัง      เย ปิวิงสุ นะราสะภา ฯ
   ๒.   ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
   สัพเพ ปะติฏฐิตา ตุยหัง      มัตถะเก เต มุนิสสะรา ฯ
     ๓.   สิเร ปะติฏฐิตา พุทธา      ธัมโม  จะ  ตะวะ โลจะเน
      สังโฆ  ปะติฏฐิโต  ตุยหัง         อุเร  สัพพะคุณากะโร ฯ
   ๔.   หะทะเย อะนุรุทโธ จะ      สาริปุตโต จะ ทักขิเณ
   โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัส๎มิง      โมคคัลลาโนสิ วามะเก ฯ
   ๕.   ทักขิเณ สะวะเน ตุยหัง      อาหุง อานันทะราหุลา
   กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุโภสุง วามะโสตะเก ฯ
   ๖.   เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง      สุริโย วิยะ ปะภังกะโร
   นิสินโน สิริสัมปันโน      โสภิโต มุนิปุงคะโว ฯ
   ๗.   กุมาระกัสสะโป นามะ      มะเหสี จิต๎ระวาทะโก
   โส ตุยหัง วะทะเน นิจจัง      ปะติฏฐาสิ คุณากะโร ฯ
   ๘.   ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ      อุปาลีนันทะสีวะลี
   เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา      ละลาเฏ ติละกา ตะวะ ฯ
   ๙.   เสสาสีติ มะหาเถรา      วิชิตา ชินะสาวะกา
   ชะลันตา สีละเตเชนะ      อังคะมังเคสุ สัณฐิตา ฯ
   ๑๐.   ระตะนัง ปุระโต อาสิ      ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
   ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ      วาเม อังคุลิมาละกัง ฯ

   ๑๑.   ขันธะโมระปะริตตัญจะ      อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
   อากาสัจฉะทะนัง อาสิ      เสสาปาการะสัญญิตา ฯ
   ๑๒.   ชินาณาพะละสังยุตเต      ธัมมะปาการะลังกะเต
   วะสะโต เต จะตุกิจเจนะ      สะทา สัมพุทธะปัญชะเร ฯ
   ๑๓.   วาตะปิตตาทิสัญชาตา      พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
   อะเสสา วิละยัง ยันตุ      อะนันตะคุณะเตชะสา ฯ
   ๑๔.   ชินะปัญชะระมัชฌัฏฐัง      วิหะรันตัง มะหีตะเล
      สะทา  ปาเลนตุ  ต๎วัง   สัพเพ         เต  มะหาปุริสาสะภา ฯ
         ๑๕.   อิจเจวะมัจจันตะกะโต  สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ  ชิตูปะปัททะโว
      พุทธานุภาเวนะ  หะตาริสังโฆ
      จะราหิ  สัทธัมมะนุภาวะปาลิโต ฯ
      ๑๖.   อิจเจวะมัจจันตะกะโต  สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ  ชิตูปะปัททะโว
      ธัมมานุภาเวนะ  หะตาริสังโฆ
      จะราหิ  สัทธัมมะนุภาวะปาลิโต ฯ
      ๑๗.   อิจเจวะมัจจันตะกะโต  สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ  ชิตูปะปัททะโว
      สังฆานุภาเวนะ  หะตาริสังโฆ
      จะราหิ  สัทธัมมะนุภาวะปาลิโต ฯ
      ๑๘.    สัทธัมมะปาการะปะริกขิโตสิ
      อัฏฐาริยา  อัฏฐะทิสาสุ  โหนติ
      เอตถันตะเร  อัฏฐะนาถา  ภะวันติ
      อุทธัง  วิตานังวะ  ชินา  ฐิตา  เต ฯ

๑๙.   ภินทันโต  มาระเสนัง  ตะวะ  สิระสิ  ฐิโต โพธิมารุยหะ สัตถา
   โมคคัลลาโนสิ วาเม  วะสะติ  ภุชะตะเฏ ทักขิเณ สาริปุตโต
   ธัมโม มัชเฌ  อุรัส๎มิง วิหะระติ  ภะวะโต  โมกขะโต  โมระโยนิง
สัมปัตโต โพธิสัตโต จะระณะยุคะคะโต ภานุ โลเกกะนาโถ ฯ๑      ๒๐.       สัพพาวะมังคะละมุปัททะวะทุนนิมิตตัง
      สัพพีติโรคะคะหะโทสะมะเสสะนินทา
      สัพพันตะรายะภะยะทุสสุปินัง อะกันตัง
      พุทธานุภาวะปะวะเรนะ  ปะยาตุ  นาสัง ฯ
      ๒๑.   สัพพาวะมังคะละมุปัททะวะทุนนิมิตตัง
      สัพพีติโรคะคะหะโทสะมะเสสะนินทา
      สัพพันตะรายะภะยะทุสสุปินัง อะกันตัง
      ธัมมานุภาวะปะวะเรนะ  ปะยาตุ  นาสัง ฯ
      ๒๒.   สัพพาวะมังคะละมุปัททะวะทุนนิมิตตัง
      สัพพีติโรคะคะหะโทสะมะเสสะนินทา
      สัพพันตะรายะภะยะทุสสุปินัง อะกันตัง
      สังฆานุภาวะปะวะเรนะ  ปะยาตุ  นาสัง ฯ


      (ปริวรรตจากต้นฉบับอักษรสิงหล)






๑   สัทธรา ๒๑  (มฺรา  ภฺนา โย โยตฺร เยนตฺติมุนิยติยุตา สทฺธรา กิตฺติตายํ-วุตฺโตทย)
&weyÍ&*gxm

1   Z,moem*wm Ak'<g   ZdwGm rm&H  o0g[eH
   pwkopPrw&oH   a, yd0öok e&mobm ?
2   w%SuF&m'a,m Ak'<g   tÏ0Dowd em,um
   oaAŠ ywdÏdwm r,SH   rwˆau aw rked\&m ?
3   oDao ywdÏdawm aemod   Aka'<g "arRm 'dGavmpae
   oaCFm ywdÏdawm r,SH   Oa& oAŠ*k%mua&m ?
4   ['a, ar tEk&ka'<g   om&dykawWm p 'udQa%
   aum¾anm yp>mbm*oRö   arm*~v†maem p 0grau ?
5   'udQa% o0ae r,SH   tmokH tmeEN&m[kvm
   u\ayg p r[memarm   OabmokH 0graomwau ?
6   auoaE© ydÏdbm*oRö   ok&da,m0 ybuFa&m
   edodaEMm od&dor`aEMm   aombdawm rkedyk*Fa0g ?
7   ukrm&u\ayg emr   ra[oD pd=w0g'aum
   aom r,SH 0'ae edpPH   ywdÏmod *k%mua&m ?
8   ykaÀm t*Fkvdrmavm p   OygvdeENoD0vd    
   Tar yÌ r[max&m   evmaË wdvum 0d, ?
9   aw[d aoom r[max&m   Zdw0aE©m Zdaem&om
   ZvE©m oDvawaZe   t*~ra*Fok o¿dwm ?
10   &weH yk&awm tmod   'udQa% arwWokwWuH
   "Z*H~ yp>awm tmod   0gar t*FkvdrmvuH ?
11   cE<arm&y&dwWÌ   tmËmemËd,okwWuH
   tmumao q'eH tmod   aoom ygum&vuFwm ?
12   ZdemeH AvoH,kawW   "rRygum&vuFaw
   0oawm ar tudap>e   orRmorŠK'<yÍa& ?

13   0gwydwWm'doÍmwm   Am[d&ZÆwWKy'N0g
   taoom 0demoH ,EWK   teEW*k%awZom ?
14   ZdeyÍ&rZÆrdS   0d[&EWH r[Dwav
   o'g ygavEWK rH oaAŠ   aw r[myk&domobm ?
15   uawm TapP0aruEWH   ok&auQm ZdeawZom
   *k%mu&\ oCF\   ba0,sH okcdawm t[HH ?   

 





                       
                                         







(คำอ่าน)
 รัตนะบัญชรหรือรัตนะชวยไช่
(ชินบัญชรฉบับพม่า)

   ๑.   ชะยาสะนาคะตา พุทธา   ชิต๎วา มารัง สะวาหะนัง
   จะตุสัจจะมะตะระสัง   เย ปิวิงสุ นะราสะภา ฯ
   ๒.   ตัณหังกะราทะโย พุทธา   อัฏฐะวีสะติ นายะกา
   สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง   มัตถะเก เต มุนิสสะรา ฯ
   ๓.   สีเส ปะติฏฐิโต โนสิ   พุทโธ ธัมโม ท๎วิโลจะเน
   สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง   อุเร สัพพะคุณากะโร ฯ
   ๔.   หะทะเย เม อะนุรุทโธ   สาริปุตโต จะ ทักขิเณ
   โกณฑัญโญ ปัจฉาภาคัส๎มิง   โมคคัลลาโน จะ วามะเก ฯ
   ๕.   ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง   อาสุง อานันทะราหุลา
   กัสสะโป จะ มะหานาโม   อุโภสุง วามะโสตะเก ฯ
   ๖.   เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง   สุริโยวะ ปะภังกะโร
   นิสินโน สิริสัมปันโน   โสภิโต มุนิปุงคะโว ฯ
   ๗.   กุมาระกัสสะโป นามะ   มะเหสี จิต๎ระวาจะโก
   โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง   ปะติฏฐาสิ คุณากะโร ฯ
   ๘.   ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ   อุปาลินันทะสีวะลิ
   อิเม ปัญจะ มหาเถรา   นะลาเฏ ติละกา วิยะ ฯ
   ๙.   เตหิ  เสสา มะหาเถรา   ชิตะวันโต ชิโนระสา
   ชะลันตา สีละเตเชนะ   อัคคะมังเคสุ สัณฐิตา ฯ
   ๑๐.   ระตะนัง ปุระโต อาสิ   ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
   ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ   วาเม อังคุลิมาละกัง ฯ

   ๑๑.   ขันธะโมระปะริตตัญจะ   อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
   อากาเส ฉะทะนัง อาสิ   เสสา ปาการะลังกะตา ฯ
   ๑๒.   ชินานัง พะละสังยุตเต         ธัมมะปาการะลังกะเต
   วะสะโต เม อะกิจเฉนะ   สัมมาสัมพุทธะปัญชะเร ฯ
   ๑๓.   วาตะปิตตาทิสัญชาตา   พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
   อะเสสา วินาสัง ยันตุ   อะนันตะคุณะเตชะสา ฯ
   ๑๔   ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ   วิหะรันตัง มะหีตะเล
   สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ   เต มะหาปุริสาสะภา ฯ
   ๑๕.   กะโต อิจเจวะเมกันตัง   สุรักโข ชินะเตชะสา
   คุณากะรัสสะ  สังฆัสสะ    ภะเวยยัง สุขิโต  อะหัง ฯ
   
(คัดจากท้ายหนังสือ คัมภีร์สังขยาปกาสกฎีกา)


      





                                       





ชินปัาร
   ๑   ชยาสนากตา พุท   เชต มารํ สวาหนํ
   จตุสจสภํ รสํ   เย ปิสุ นราสภา ฯ
   ๒   ตณงราทเยา พุท   อฏวีสติ นายกา
   สเพ ปติฏิตา มยํ   มตเก เต มุนิสรา ฯ
   ๓   สีเส ปติฏเตา มยํ   พุเท ธเม ทิเลาจเน
   สเง ปติฏิเตา มยํ   เร สพคุณากเรา ฯ
   ๔   หทเย เม อนุรุเท   สารีปุเต จ ทกิเณ
   เกาณเ ปิฏิภาคส   เมาคลเนา จ วามเก ฯ
   ๕   ทกิเณ สวเน มยํ   อาสุ อานน ราหุเลา
   กสเป จ มหานเมา   ภาสุ วามเสาตเก ฯ
   ๖   เกสเตา ปิฏิภาค   สุริเยาว ปภงเรา
   นิสิเน สิริสมเน   เสาภิเตา มุนิปุงเวา ฯ
   ๗   กุมารกสเป เถเรา   มเหสี จิตวาทเกา
   เสา มยํ วทเน นิจํ   ปติฏสิ คุณากเรา ฯ
   ๘   ปุเณ องลิมาเลา จ   ปลีนนสีวลี
   เถรา ป เม ชาตา   นลาเฏ ติลกา มม ฯ
   ๙   เสสาสีติ มหาเถรา   วิชิตา ชินสาวกา
   เตสีติ มหาเถรา   ชิตวเน ชิเนารสา
   ชลน สีลเตเชน   องมเงสุ สณิตา ฯ

   ๑๐   รตนํ ปุรเตา อาสิ   ทกิเณ เมตสุตกํ
   ธชคํ ปจเตา อาสิ   วาเม องลิมาลกํ ฯ
   ๑๑   ขนเมารปริต   อาฏานาฏิยสุตกํ
   อากาเส ฉทนํ อาสิ   เสสา ปการสณิตา ฯ
   ๑๒   ชินานานาวรสํยุต   สตปการลงตา
   วาตปิตทิสตา   พาหิรชตปทวา ฯ
   ๑๓   อเสสา วินยํ ยน   อนนชินเตชสา
   วสเตา เม สกิเจน   สทา สมทปเร ฯ
   ๑๔   ชินปรมชมิ   วิหรนํ มหีตเล
   สทา ปเลน มํ สเพ   เต มหาปุริสาสภา ฯ
      ๑๕   เจวมเน สุคุเต สุรเก
         ชินานุภาเวน ชิตูปทเวา
         ธมนุภาเวน ชิตาริสเง
         สงนุภาเวน ชิตนตราเยา
   สทมนุภาวปลิเตา   จรามิ ชินปเรติ ฯะ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าสนใจมากครับ อนุโมทนาด้วยตรับ
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
และก็ถึงเวลาที่มาของชินบัญชร ตามนี้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7579.0
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม