ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นั่งกรรมฐาน อย่างไร ให้พ้นจาก วิบากกรรม  (อ่าน 2027 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือ คิดว่า ตนเองสร้าง กรรม ไว้พอควรคะ ในอดีต ในปัจจุบัน ชิวิต จึงมีความลำบากเหมือนมีกรรมมาบังให้พลาด ให้ลำบาก อยู่เสมอ อยากนั่งกรรมฐาน เพื่อให้วิบากลดลง ควรทำอย่างไร คะที่จะทำให้วิบากลดลง

 :'( :'( :c017:
บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นั่งกรรมฐาน อย่างไร ให้พ้นจาก วิบากกรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2013, 02:07:35 am »
0
คิดว่า ภาวนา พุทโธ แล้ว หลังจากภาวนา ก็แผ่ส่วนกุศล ให้ ก็น่าจะช่วยลดวิบากได้บ้าง นะครับ
 อันนี้ไม่แน่ใจ ในคำตอบ นะครับ แต่เห็นว่า ถามไว้แล้วยังไม่มีใครตอบ

  :49:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นั่งกรรมฐาน อย่างไร ให้พ้นจาก วิบากกรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2013, 09:31:59 pm »
0


แนวทางกรรมฐานในเบื้องต้นเพื่อดับทุกข์มีดังนี้ครับ

1. พึงระลึกถึงกุศลธรรมใดๆที่ กาย วาจา ใจ เราได้กระทำมาแล้ว ไม่ระลึกถึงอกุศลธรรมใดๆที่มีมา เพื่อทำให้จิตใจผ่องใส เบิกบาน ไม่เศร้าหมอง

2. รู้ลมหายใจ อุบายในการระลึกอันเป็นกุศล คือ
    - อานาปานสติ ตามรู้ลมหายใจเข้าออกจิตไม่หลุดจากลมหายใจ ไม่ส่งจิตออกนอก
    - ภาวนาพุทโธ ตามรู้ลมหายใจเข้าออกบริกรรมพุทโธ หรือ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทุกแลมหายใจเข้าออก พระราชพรหมญาณสอนไว้ พุทโธคือชื่อของพระพุทธเจ้า ไม่ส่งจิตออกนอก
    - ยุบ-พอง ดูกายเป็นอารมณ์ ไม่ส่งจิตออกนอก
    - เจริญเมตตาจิต แผ่เมตตาให้ตนเองมีกำลัง แล้วแผ่ให้ผู้อื่น สัตว์อื่น ทุกสรรพสัตว์โดยไม่กำหนด เรียกว่า การฝึกเข้าเจโตวิมุตติ
      (โดยต้องเริ่มจากแผ่เมตตาให้เป็นก่อนน่ะครับ วิธีแผ่เมตตาตามจริงดูตาม Link นี้นะครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.msg30508#msg30508)
      ซึ่งจะไม่เหมือนกับที่เราแผ่เมตตาตามที่เข้าใจกันนะครับ การแผ่เมตตาหากผู้ที่เจริญสมถะ(อุบายแห่งกุศลธรรม)มาก่อนจะรู้วิธีเข้าสภาพจิตนั้นดีที่สุด เพราะมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว และ ได้รู้เห็นตามจริงอันเป็นผลสืบต่อมาจากจิตตั้งมั่นนั้นแล้ว (เมตตาและโลภะต่างกันแค่พลิกฝ่ามือ เพราะอาศัยฉันทะเจตสิกเหมือนกัน)


3. พิจารณากำหนดรู้ในพระอริยะสัจกรรมฐาน
    3.1 กำหนดรู้ทุกข์ กำหนดให้รู้ว่าทุกข์สภาพความรู้สึกมันเป็นอย่างไร
         - เริ่มแรกให้กำหนดในชีวิตประจำวันว่า เธอหิว เธอปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ร้อน หนาว เป็นแผล ร่างกายเสื่อม ป่วย ไข้ ไม่สมปารถนา ผิดหวัง เจอสิ่งที่ไม่รักไม่พอใจ พรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ เป็นต้น กายและใจเธอเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร

    3.2 เมื่อมองเห็นแล้วว่า สภาพที่เป็นทุกข์ ความรู้สึกทาง กาย และ ใจ มันเป็นยังไง ก็ให้พิจารณารู้เหตุแห่งทุกข์แล้วละที่เหตุนั้น ข้อนี้สำคัญ หากเธอไม่เห็นทุกข์ เธอจะไม่รู้สมุทัยเป็นอันขาด เธอย่อมเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่า เหตุที่ทำให้เธอทุกข์นั่นเป็นเพราะกรรมเก่าเป็นหลัก เธอก็จะไม่สามารถละพ้นจากทุกข์นั้นได้ เพราะไม่รู้สิ่งที่ควรละ เมื่อไม่รู้สิ่งที่ควรละ ก็ไม่รู้แนวปฏิบัติให้พ้นทุกข์ได้
         - เมื่อเห็นในทุกข์แล้วให้เธอรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วหวนระลึกรู้พิจารณาด้วยความคิดที่จะออกจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท ว่า
                ก. เธอพอใจยินดีในสิ่งใด และ ไม่พอใจยินดีในสิ่งใด มันถึงสืบต่อเป็นทุกข์นั้น
                ข. วันๆหนึ่งเธอหลุดพ้นจากความทุกข์เบื้องต้นในชีวิตประจำวันนั้นได้ไหม เธอจะกล่าวว่าขอให้ฉันไม่พบเจอเรื่องร้ายๆที่ไม่พอใจยินดี ขอให้ฉันไม่พรัดพราก ขอให้ฉันสมปารถนาดั่งที่ใจหวังนั้นในทุกๆวันได้ไหม หรือ ขอให้ฉันไม่มีทุกข์ได้ไหม มันย่อมไม่เป็นไปตามที่ใจปารถนานั้นใช่ไหมครับ และ ไม่สามารถบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจหวังได้ใช่ไหมครับ
                ค. หวนระลึกดูสิว่า เพราะเราไปหวังกับสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ ไม่มีตัวตน กับสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราใช่ไหม จึงเกิดทุกข์นั้น
                ง. หวนระลึกดูสิว่า ที่เราปารถนาในสิ่งใดๆไว้ เพราะเราไปสำคัญมั่นหมายไว้ในใจว่าสิ่งนี้เป็นสุข สิ่งนี้ๆทำให้ทุกข์ ใช่ไหม พอไม่เป็นดั่งที่สำคัญไว้ในใจจึงเกิดทุกข์นั้น
                จ. หวนระลึกดูสิว่า ที่เรานั้นสุข หรือ ทุกข์ เพราะเราไปมีความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดีในสิ่งนั้นๆใช่ไหม พอเจอสิ่งที่พอใจก็สุขโสมนัส เจอสิ่งที่ไม่พอใจก็ทุกข์โทมนัส
                ฉ. แล้วละที่ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี นั่นเสีย

    3.3 ทีนี้เธอพึงเจริญจิตให้รู้แจ้งในสภาพที่เราได้ดับทุกข์แล้ว ละความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดีได้แล้ว เช่น หากเธอละเหตุแห่งทุกข์นี้ๆไปได้ ทุกข์นั้นย่อมไม่เกิดแก่เราอีก แม้ลมจะแรง ฝนจะตกหนัก โลกจะร้อน จะหนาว จะต้องพานพบสิ่งใดๆ เธอก็จักไม่ทุกข์อีก ไม่รู้สึกอึดอัดอัดอั้นคับแค้นกายและใจ  ไม่โศรกเศร้าร่ำไรรำพัน ไม่ร้อนรุ่มกายและใจ ไม่เดือนร้อนกายและใจ ไม่ทรมานกายและใจ ไม่ผวา ไม่หวาดกลัว มีความสงบรำงับ เธอจักหลุดพ้นจากทุกข์นั้น จิตเธอย่อมโสมนัสเป็นสุขทั้งกายและใจจากความพ้นทุกข์นั้น กายและใจเธอจะสบายปลอดโปร่ง เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเธอจึงควรดับทุกข์ให้ได้เพื่อจะได้อยู่ในสภาวะอันเป็นบรมสุขนั้น
      (ข้อนี้สำคัญถ้าเราไม่ปฏิบัติ ไม่เห็นตามจริง เราจะไม่เข้าใจว่าทำไม ตถาคตจึงตรัสใน นิโรธ ก่อน มรรค แล้วทำไมนิโรธจึงต้องทำให้แจ้ง แล้วเกิดก่อนมรรค ผมพอจะมีปัญญาอันน้อยนิดปฏิบัติพิจารณาเห็นจำแนกอย่างนี้ว่า..แรกเริ่มก่อนปฏิบัตินิโรธนี้ยังเป็นสุขในอุดมคติอยู่ ลองนึกดูนะครับว่า เวลาเราระลึกตรึกนึกคิดว่าเราจะพบสิ่งที่ตนเองพอใจยินดีนี้ๆสุขอย่างนี้ ปิติ สุข ย่อมเกิดขึ้นแก่เราก่อนทั้งๆที่ยังไม่เริ่มทำ เหมือน คนสูบบุหรี่กินเหล้า เมื่อคิดว่าจะเลิกแล้วหากเลิกได้เราจะมีเงินเยอะขึ้น การงาน ครอบคัวก็ไม่เสีย ไม่อยู่ในสภาพที่มึนเมา มีสภาพที่ผ่องใส จิตใจเราก็จะเกิดปิติ ปัสสัทธิ และ สุข อันเกิดจากกุศลจิตนั้น เมื่อรู้ทุกข์จากมัย รู้เหตุแห่งทุกข์นั้น รู้ว่ามันสุขอย่าไรเมื่อดับมันไป จิตเราก็จะมีเจตนาตั้งมั่นกระทำ แล้วก็จะเห็นทาง มรรค ๘ และ แนวปฏิบัติต่อไป เมื่อปฏิบัติใน มรรค ๘ ได้แล้ว นิโรธจริงๆก็จะปรากฎแก่เรา)

    3.4 หากเธอกำหนดรู้มองเห็นและพิจารณาเข้าไปรู้ตามในข้อที่ 3.1,3.2 และ 3.3 แล้ว เธอจะเห็นว่า ไอ้ทุกข์นี้ มันมาจากการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาเป็นอารมณ์ของจิต ว่าสิ่งนี้ๆทำให้เป็นสุข สิ่งนี้ๆทำเป็นทุกข์ จากความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีของเรานี้เอง ดังนั้นเธอจักละเหตุเแห่งทุกข์นั้นให้ได้ เพื่อความดับทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้
         3.4.1 ลองหวนระลึกรู้ เธอก็จะเห็นว่า ทุกข์นี้มันเกิดขึ้นเพราะเข้าไปยึดเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในเวทนาใดๆจากการรับรู้อารมณ์ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ จนเกิดเป็นความร้อนรุ่ม ร้อนรนใจ ทะยานอยากและไม่อยากจนเกิดเป็นตัวเป็นตนในสิ่งนั้นๆ เกิดเป็นการกระทำไรๆที่เป็นทั้ง กุศล และ อกุศล ตามความทะยานอยากในสิ่งที่เราถืออุปาทานนั้นๆ
         - ทั้งๆที่ สิ่งนี้ๆมันไม่คงอยู่ มีความเสื่อมสภาพ สูญสลาย แปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ตามกาลเวลา สภาพแวดล้อมภายนอก สภาพธรรมปรุงแต่งภายใน และ การดูแลรักษา
         - ทั้งๆที่ สิ่งนี้ๆมันไม่มีตัวตน อันที่เราไม่อาจจะบังคับ-จับต้อง-ยื้อยึด-ฉุดรั้งให้มันเป็นไปดั่งที่ใจเราได้
         - เพราะสิ่งนี้ๆ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
         - ด้วยเหตุนี้ เราย่อมมีความไม่สมปารถนาใคร่ได้ยินดีเป็นธรรมดาจะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้ เราจักพบสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจเป็นธรรมดาอยู่ทุกขณะ เราต้องเจอความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่เจริญใจทั้งสิ้นไปเป็นที่สุด
         - สภาพทุกอย่างย่อมเป็นไปตามกรรม กรรม คือ การกระทำใดๆทาง กาย วาจา ใจ ในปัจจุบันขณะใดๆไม่ว่าจะเป็น กุศล หรือ อกุศล ซึ่งเราจะหลีกเลี่ยงผลอันเกิดจาก กรรม คือ การกระทำนั้นๆไปไม่ได้ เราจักเป็นทายาทจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป (หากกรรมนั้นเป็นกุศลมาก ผลบุญย่อมแสดงก่อน หากอกุศลมากผลกรรมย่อมแสดงก่อน แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งที่น้อยกว่าจะหายไป มันก็ยังสะสมไปเรื่อยๆอยู่นั้นถ้าหากมันมีมากขึ้นๆจนมากกว่าอีกฝ่ายเมื่อไหร่มันก็จะแสดงผลออกมาทันที)
         3.4.2 เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เธอก็ควรยอมรับความจริงในสัจธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ไปกล่าวโทษสิ่งใด บุคคลใด สัตว์ใด สภาวะธรรมใด ยอมรับผลอันเกิดจากการกระทำนั้นๆไปเสีย เมื่อทำไปแล้วมันไปแก้อะไรไม่ได้ หนีไม่ได้เราต้องยอมรับมัน แล้วอยู่กับความจริงที่ต้องเผชิญนั้นให้ได้
** เมื่อเธอยอมรับและเข้าในในข้อที่ 3.4.1 และ 3.4.2 แล้วจิตเธอจะปล่อยวาง จะเกิด ขันติ คือ รู้สิ่งที่ควรลด สิ่งที่ควรละ สิ่งที่ควรปล่อย สิ่งที่ควรวาง จะมีอุเบกขาจิตเกิดขึ้นร่วมด้วย คือ มีใจวางไว้กลางๆมากขึ้น ร้อมรุ่มใจน้อยลง
         3.4.3 การละในเหตุเพื่อดับทุกข์นั้น เธอควรพึงเจริญกาย วาจา ใจ ดังนี้
         -  ทำให้จิตเป็นกุศล คือ ระลึก หรือ หวนระลึกในเรื่องที่ดีงามเป็นกุศล ทั้งที่ทำมาแล้ว และสิ่งที่ควรทำใดๆ
         - หวนระลึกถึงสิ่งที่ดีงามทั้งหลายทั้งปวงที่เราเคยทำมาแล้ว เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและคนอื่น ที่ไม่ทำร้าย เบียดเบียน จองเวร พยาบาทใคร และ ไม่ได้ทำไปด้วยความติดใจเพลิดเพลินยินดีใคร่ตาม
         - เมื่อระลึกดั่งข้อข้างต้นแล้ว ให้เจริญเมตตาจิต จิตจะเป็นกุศลได้ไวมาก (วิธีเจริญเมตตาจิตผมได้โพสท์ให้ตาม Link ในข้อที่ 2 แล้วนะครับ)
         - ทีนี้เมื่อจิตใจเธอเป็นกุศลแล้ว ผ่องใส-แจ่มใส-เบิกบาน ไม่เศร้ามัวหมองใจแล้ว และ กาม-ราคะ-โมหะ-พยาบาทเบาบางลงแล้ว กุศลจิตก็จักเกิดขึ้นแก่เธอ
         -  เมื่อจิตเป็นกุศลแล้วความเห็นจริงในพระอริยะสัจก็เกิด เมื่อความเห็นจริงเป็นกุศลเกิดก็จะมีความคิดเป็นกุศล เมื่อมีคิดเป็นกุศลเกิดแล้วการกระทำทางกาย วาจา ใจ ก็เป็นกุศล
         - เมื่อกุศลธรรมทั้งปวงเกิดแก่เธอแล้ว เธอพึงระลึกและพิจารณาว่าเธอเข้าไปติดใจในสิ่งใดๆ แล้วเกิดเป็นความชอบ ไม่ชอบ เอามาสำคัญมั่นหมายไว้ในใจว่านี่คือสุข นี่คือทุกข์ของเธอ
         -  แล้วละสิ่งนั้นๆไปด้วยมองว่า ติดใจไรๆมันไปก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขใดๆ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นแก่เรา ติดข้องใจมันไปก็ไม่มีสิ่งไรๆเลยนอกจากทุกข์
         -  แล้วพึงระลึกรู้ว่า สิ่งที่เราติดข้องใจทั้งหลายทั้งปวงนี้มันเป็นทุกข์ เราควรละมันไปเสีย ปล่อยมันไปเสีย อย่าให้ความสำคัญใดๆกับมัน
         -  สิ่งใดๆเหล่านี้มันแค่จรเข้ามา เพียงชั่วคราว แล้วมันก็ดับไป ไม่มีสิ่งใดที่เป็นเรา ไม่มีสิ่งใดเป็นของเรา เราจักละสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรานี้ๆไปเสีย
         -  เราจักไม่ปารถนาในสิ่งไรๆที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ว่าจะเป็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพผะ ธรรมมารมณ์ หรือ ความชอบใจ ไม่ชอบใจใด มันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
         - ความร้อนรุ่มทั้งหลาย ความเศร้ามัวหมองใจทั้งหลาย มันไม่ใช่จิต มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันแค่อาศัยจิตเกิดขึ้น มันเป็นเพียงสิ่งที่จรเข้ามาเท่านั้น เราจักรู้ตัวอยู่ รู้ตามอยู่
         -  ความร้อนรุ่มทั้งหลาย ความเศร้ามัวหมองใจทั้งหลายเหล่านี้ เราจะสักแต่แลดูอยู่  เราจักเป็นผู้มีจิตแจ่มใสเบิกบานระลึกรู้ตามมันอยู่เท่านั้น เราไม่เข้าไปร่วมกับมัน จักไม่เข้าไปเสพย์มัน
         - พึงมีความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ ทีความระลึกรู้ตามทันจิตทันความรู้สึกนึกคิดไรๆก่อนจะทำสิ่งใดลงไป
         - พึงมีใจเจริญขึ้นด้วยกุศล ทำจิตใจให้แจ่มใส เบิกบาน คิดดี พูดดี ทำดี ไม่ทำร้ายเบียดเบียนใคร ไม่ผูกเวรใคร ไม่พยาบาทใคร ตามรู้ลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา


ทำได้ครบ 3 ข้อ คุณจะไม่ทุกข์กับสิ่งไรๆอีกเลยอย่างแน่นอน การกระทำทางกาย วาจา ใจ คุณก็จะงดงาม เป็นกุศล ไม่ต้องไปทุกข์ทนกับอกุศลธรรมใดๆอีก
แต่ยังมีแนวทางปฏิบัติอีกหลายวิธีนะครับ เจริญในแบบมัชฌิมาแบบลำดับได้นี่ก็จะเห็นผลเร็วเช่นกันครับ ลองศึกษาและ สอบถามพระอาจารย์และผู้รู้ทั้งหลายดูครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2013, 01:25:16 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ