ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 707
81  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เหตุให้เกิดสุขและทุกข์ เมื่อ: มีนาคม 20, 2024, 08:28:17 am
.



อะไรเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.?

สุขสูตรที่ ๑. ว่าด้วย : เหตุให้เกิดสุขและทุกข์
เหตุการณ์ : ปริพาชกชื่อสามัณฑกาณิถามท่านพระสารีบุตรว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.?

พระสารีบุตรตอบปริพาชกชื่อสามัณฑกาณิว่า "การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข"

เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้ คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ สัมผัสไฟ สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน ย่อมโกรธเคืองเขา

เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ คือ ความไม่หนาว ความไม่ร้อน ความไม่หิว ความไม่ระหาย ไม่ต้องอุจจาระ ไม่ต้องปัสสาวะ ไม่ต้องสัมผัสไฟ ไม่ต้องสัมผัสท่อนไม้ ไม่ต้องสัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน ย่อมไม่โกรธเคืองเขา

อ่านฉบับเต็ม สุขสูตร ๑





ขอบคุณ : https://uttayarndham.org/node/3738
อ้างอิง : สุขสูตร ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๖๕ หน้า ๑๐๙
ภาพ : https://uttayarndham.org/dhama-daily
82  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผีนัต กับศาสนาของผู้หญิงในพม่า เมื่อ: มีนาคม 20, 2024, 07:21:34 am
.

"พระอินทร์" หัวหน้าแห่งเหล่าผีนัท ณ เจดีย์ชเวดากอง เมียนมาร์ //David Clay


ผีนัต กับศาสนาของผู้หญิงในพม่า

“นัต” คือผีที่ตายร้าย ตายโหง แล้วกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามศาสนาผีพื้นเมืองดั้งเดิมของพม่า

นัตจึงเป็นกึ่งเทพกึ่งผี แต่มีฐานะสูงกว่าผีทั่วไป การถือผีนัตก็เช่นเดียวกับพุทธศาสนา เป็นระบบความเชื่อที่ซับซ้อน มีพิธีกรรมการปฏิบัติ และการดูแลตั้งแต่ระดับของครัวเรือนไปจนถึงที่สาธารณะ แถมเรายังสามารถเห็นผีนัตไปโชว์ตัวอยู่ในวัดของพุทธศาสนาได้เป็นเรื่องปกติในพม่าอีกด้วย

ในทางทฤษฎีถือว่าประเพณีการนับถือผีนัตมีปรากฏอยู่เฉพาะในประเทศพม่าเท่านั้น ส่วนทางปฏิบัติทัวร์คนไทยเวลาไปเที่ยวพม่า ต่างก็นิยมพากันไปเช่าผีนัตอย่าง “เทพทันใจ” มาบูชากันจนเทพทันใจต้องมาเปิดแฟรนไชส์ในวัดไทยหลายแห่งกันเลยทีเดียว

แต่กว่าที่ผีนัตจะเข้ามาอยู่ในปริมณฑลของพระพุทธศาสนาของพม่าได้นั้น ก็ใช้เวลานานอย่างน้อยก็เฉียดๆ จะพันปีเลยทีเดียวนะครับ

เรื่องของเรื่องนั้นเริ่มมาจากครั้งที่พระเจ้าอโนรธา แห่งดินแดนเจดีย์ 5,000 องค์อย่างพุกาม จะนำศาสนาพุทธเข้ามาประดิษฐานในอาณาจักรของพระองค์ เมื่อราวๆ เรือน พ.ศ.1500 ระบบความเชื่อแบบใหม่ในพระพุทธศาสนาต้องปะทะเข้ากับระบบความเชื่อแบบเก่า คือระบบผีนัต อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีนัตประจำเป็นของตนเอง ก็ยิ่งทำให้เรื่องดูยุ่งยากขึ้น

และวิธีจัดการกับปัญหาที่ดังกล่าว ที่พระเจ้าอโนรธาทรงเลือกที่จะกระทำก็คือ “การจัดระเบียบผีนัต”


@@@@@@@

ตำนานเล่าว่า พระเจ้าอโนรธาทรงรวบรวมผีนัตในแต่ละท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 32 ตน จากนั้นจึงทรงแต่งตั้ง “ท้าวสักกะ” ขึ้นเป็นหัวหน้าของนัตทั้ง 32 ตนนั้น เรียกได้ว่าเป็นนัตทั้ง (32+1 รวมเป็น) 33 ตนนี้เป็น “ผี” ที่ได้การรับรอง และสถาปนาขึ้นโดยรัฐ

แต่นัตทั้ง 33 ตนที่พระเจ้าอโนรธาสถาปนาขึ้นมานี้ ก็อาจจะไม่ใช่นัตตนเดียวหรือกลุ่มเดียวกับชาวพม่านับถือในปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับที่นัตทั้ง 33 ตนนี้ ก็อาจจะไม่ใช่ผีที่ชาวพม่าในยุคก่อนพระเจ้าอโนรธานับถือด้วยเช่นกัน

เพราะอย่างน้อยที่สุด หัวหน้าคณะผีนัตคือ “ท้าวสักกะ” ก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธมาก่อน

ตามข้อมูลในวรรณคดีฝ่ายพุทธศาสนาเถรวาท “ท้าวสักกะ” คือชื่อหนึ่งของ “พระอินทร์” เทพเจ้าองค์สำคัญในพุทธศาสนา โดยนัยยะหนึ่ง พระเจ้าอโนรธาจึงใช้ศาสนาพุทธในการควบคุมผี เพราะนอกจากพระองค์จะทรงมอบหมายให้ ท้าวสักกะเป็นหัวหน้าของคณะผีนัตทั้งหลายแล้ว ยังเชื่อกันว่าจำนวน 33 ตนนั้น ก็ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเรื่องภพภูมิ หรือจักรวาลวิทยาจากอินเดีย เพราะสวรรค์ของพระอินทร์ คือสวรรค์ชั้นที่เรียกว่า “ดาวดึงส์” นั้นเป็นที่ประทับของพระอินทร์ และเทพเจ้าอีก 32 พระองค์ รวมเป็น 33 นั่นเอง

และก็โดยนัยยะหนึ่งอีกเช่นกัน การสถาปนานัตทั้ง 33 ตน ของพระเจ้าอโนรธา จึงเปรียบได้กับการควบคุมอำนาจของกลุ่มเมือง หรือสังคมต่างๆ ที่มีมาแต่เดิม ผ่านทางความเชื่อ เพราะแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีนัตประจำเป็นของตนเอง

และแน่นอนด้วยว่า กระบวนการสถาปนาในครั้งนั้น ย่อมมีทั้งการคัดเลือก ตัดทอน หรือแม้กระทั่งสร้างนัตขึ้นมาใหม่ (ในทำนองเดียวกับที่ ท้าวสักกะ ไม่ใช่นัตพื้นเมืองของพม่ามาแต่เดิม)

@@@@@@@

โครงข่ายของนัตที่ต่างก็ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจที่ถูกสถาปนาไว้ภายใต้ท้าวสักกะทั้งหลาย จึงเปรียบได้ไม่ต่างกับปริมณฑลภายใต้อำนาจเมืองพุกาม ที่มีพระเจ้าอโนรธาเป็นผู้นำ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงความเชื่อในพุทธศาสนาที่ว่า พระอินทร์ หรือท้าวสักกะ คือราชาเหนือเทวดาทั้งปวงแล้ว ปริมณฑลของพระราชอำนาจในพระเจ้าอโนรธา ก็คงจะไม่ต่างไปจากอำนาจของท้าวสักกะที่มีต่อผีนัตอีกทั้ง 32 ตนเท่าไรนัก

กษัตริย์พม่าหลายพระองค์ที่ครองราชย์ต่อมาจากพระเจ้าอโนรธา นับตั้งแต่ราชวงศ์พุกามเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์คองบอง (ราชวงศ์คองบองมีอำนาจอยู่ระหว่าง พ.ศ.2295-2428) ต่างก็ทรงพยายามจำกัดขอบเขตของความเชื่อ ความศรัทธา และพิธีกรรมบูชานัต เพื่อให้ประชาชนหันไปให้ความสำคัญกับพุทธศาสนามากขึ้นมาโดยตลอด

จึงไม่น่าประหลาดใจเท่าไหร่นัก ที่รายชื่อของนัตที่ถูกสถาปนาจะไม่ต้องตรงกันทุกสมัย เพราะปริมณฑลในเครือข่ายอำนาจสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดนั่นเอง

ดังนั้น เมื่อผีนัตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในปริมณฑลจักรวาลของพุทธศาสนาแบบพม่าอย่างนี้แล้ว ก็จึงไม่ได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธหรอกนะครับ

ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามเมื่อระหว่างปี พ.ศ.2504-2505 ของนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันคนหนึ่งที่ชื่อ เมลฟอร์ด สไปโร (Melford Spiro, พ.ศ.2463-2556) กระทำการสำรวจความเชื่อเรื่อง “ผีนัต” ในชุมชนชนบทที่ห่างไปออกไปทางตอนเหนือราว 10 ไมล์ จากเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า

พบสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเลยว่า ในชุมชนแห่งนั้นมีผู้ชายเกือบครึ่งหนึ่งที่ไม่เชื่อผีนัต

@@@@@@@

ในขณะที่ผู้หญิงทั้งชุมชนเชื่ออย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งชายและหญิงต่างก็ยอมรับว่า ผู้หญิงจะเกี่ยวข้องกับการนับถือผีนัตมากกว่า กลัวมากกว่า และประกอบพิธีกรรมมากกว่าผู้ชาย

สไปโรยังพบด้วยว่า ผีนัตประจำหมู่บ้านมักจะผู้หญิงเป็นผู้ดูแล และมีผู้หญิงทั้งหมู่บ้านมาร่วมประกอบพิธีกรรม คนทรงก็เป็นผู้หญิงเกือบทั้งหมด ผู้หญิงมักมาบนบานต่อผีนัตในขณะที่ผู้ชายมักจะไม่เชื่อ

ในพิธีฉลองผีนัตทุกบ้านจะเอาของมาถวายหรือเซ่นผีนัตทั้งที่สืบสายมาทางแม่ และทางพ่อ แต่ถ้าหากพ่อแม่ถือผีนัตคนละตนกันก็มักจะเลือกสืบสายทางแม่มากกว่า

ผู้หญิงจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาอาหารมาถวายผี ส่วนผู้ชายจะเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธเต็มตัวอย่างเห็นได้ชัด แถมมักจะเลิกนับถือผีนัตไปเลยกันอยู่บ่อยๆ ลักษณะอย่างนี้ของชุมชนดังกล่าว ยังสามารถเป็นภาพแสดงแทนของชุมชนชาวพม่าได้เกือบทั้งประเทศ เพราะชุมชนไหนๆ ในประเทศพม่าก็มักจะเป็นอย่างนี้นั่นเอง

พูดง่ายๆ อีกทีก็ได้ว่า สำหรับกรณีของพม่าแล้ว “ผีนัต” เป็นศาสนาของ “ผู้หญิง” ในขณะที่ “พุทธ” เป็นศาสนาของ “ผู้ชาย”

นิยามของคำว่า ศาสนา ในยุคสมัยใหม่ (modernity) ทำให้ในปัจจุบันชาวพม่าถือว่า “ผีนัต” ไม่ใช่ “ศาสนา” แต่ในความเป็นจริงผีนัตก็เป็นระบบความเชื่อหนึ่งเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ ซ้ำยังมีความขัดแย้งกันเล็กน้อยระหว่างทั้งสองความเชื่อนี้ เพราะในขณะที่พุทธศาสนายอมรับการมีอยู่ของภูติผีปีศาจ ดังจะเห็นได้จากเรื่องเล่าในทำนองที่เป็นนิทานชาดก หรือพุทธประวัติจำนวนมาก แต่ในทางปฏิบัติกลับปฏิเสธอำนาจของผีมันเสียอย่างนั้น

@@@@@@@

ทั้งศาสนาพุทธและการนับถือผีนัตต่างก็มีอิทธิพลต่อวิถีการดำรงชีวิตของชาวพม่าอย่างลึกซึ้ง และถึงฝ่ายหนึ่งจะถูกกดให้บี้แบนเสียจนมีสถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากการที่พุทธศาสนาถูกมองว่ามีอำนาจเหนือกว่า ในขณะที่การถือผีนัตไม่ถูกนับว่าเป็นศาสนาเสียด้วยซ้ำไป พระสงฆ์ซึ่งเป็นเพศชายได้รับการยกย่อง ต่างจากคนทรงที่มักเป็นผู้หญิงจะถูกดูถูกและเหยียดหยามว่างมงายไร้สาระ สถานภาพที่สูงส่งกว่าของศาสนาพุทธ

ทำให้น่าสงสัยว่า ทำไมการถือผีนัตจึงยังเจริญอยู่ในพม่าตราบจนกระทั่งทุกวันนี้?

ที่เป็นอย่างนี้ นักมานุษยวิทยาเขาอธิบายกันไว้ว่าเป็นเพราะ การถือผีนัตอยู่ในอาณาบริเวณของการควบคุมดูแลของ “ผู้หญิง” ที่อยู่ตรงข้ามกับพื้นที่ของ “ผู้ชาย” ในพระพุทธศาสนา โดยนักมานุษยวิทยาชื่อดัง แถมยังป๊อบปูลาร์อย่าง คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Clifford Geertz, พ.ศ.2469-2549) เคยอธิบายถึงกรณีอย่างนี้ในอุษาคเนย์เอาไว้ว่า

“ปิตาธิปไตย จากศาสนาที่รับจากภายนอก…ไม่สามารถเอาชนะระบบการสืบสกุลทั้งสองฝ่ายของประชากรส่วนใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ได้ เนื่องจากศาสนาใหม่เหล่านั้น ถูกเลือกรับเข้ามาเป็นองค์ประกอบที่บรรลุเพียงความชอบธรรมในเชิงพิธีกรรม และสัญลักษณ์ท่ามกลางการถือผีที่มีปัจเจกเป็นศูนย์กลางเท่านั้น”

การถือผีและการทรงเจ้าที่มีบทบาทอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการครอบงำของศาสนาพุทธ ฮินดู และอิสลาม ในทุกกลุ่มสังคมวัฒนธรรมของอุษาคเนย์ล้วนสนับสนุนคำอธิบายของเกียร์ซ ศาสนาดั้งเดิมจึงมีส่วนถ่วงดุลอำนาจระหว่างชายกับหญิง และเปิดช่องว่างให้มีความเป็นอิสระของบุคคลในชีวิตประจำวันนั่นเอง •


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15-21 มีนาคม 2567
คอลัมน์ : On History
ผู้เขียน : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2567
website : https://www.matichonweekly.com/column/article_753554
83  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การชี้นิ้วของ “นัตโบโบยี” กับพระเจ้าชี้นิ้วที่เชียงตุง เมื่อ: มีนาคม 20, 2024, 06:48:51 am
.



การชี้นิ้วของ “นัตโบโบยี” กับพระเจ้าชี้นิ้วที่เชียงตุง

การที่ดิฉันนำเรื่องราวของสองสิ่งนี้ (นัตโบโบยียืนชี้นิ้ว กับพระชี้นิ้วที่เชียงตุง) มาเปรียบเทียบกันนั้น ก็เนื่องมาจากในช่วงไม่เกิน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในวงการทัวร์พม่า ด้วยการอุปโลกน์เอาเรื่องผีเรื่องพระที่ทำสัญลักษณ์ชี้นิ้วคล้ายกัน (แต่มีที่มาต่างกัน) มาสร้างเป็น “จุดขาย” ให้คนแห่แหนเดินทางไปกราบไหว้ขอพรได้ ไม่แตกต่างกันเลย

เทรนด์ของการแห่ไปสักการะ “เทพทันใจ” หรือการไปยืนใต้เงาพระพุทธรูปสูงตระหง่านให้ศีรษะของเราตรงกับจุด “ปลายนิ้วชี้” นี้ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

@@@@@@@

จากนัตโบโบยี กลายเป็นเทพทันใจ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในฉบับก่อนว่า “นัต” (วิญญาณที่ตายเฮี้ยน) แต่ละตนนั้นต้องมีการสร้างรูปลักษณ์หรือสัญลักษณ์ให้แตกต่างเพื่อง่ายต่อการจดจำ นัตโบโบยีก็เช่นกัน มีสัญลักษณ์พิเศษด้วยการถือไม้เท้าและ “ยืนชี้นิ้ว”

ไม้เท้า (ธารพระกร) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิราช ซึ่งในทางธรรมก็คือ พระพุทธเจ้า นัตโบโบยีถือเป็นผู้อาวุโสที่ได้รับมอบหมายให้เฝ้าดูแล

ส่วนการชี้นิ้วก็มิใช่เพื่อประทานพรผู้คนให้ร่ำให้รวย หากแต่เป็นการชี้บอกทางไปยัง “ดอยสิงกุตตระ” สถานที่ที่จะสร้างพระมหาธาตุชเวดากองนั่นเอง เพราะพระมหาธาตุชเวดากอง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ในภัทรกัป โดยที่นัตโบโบยี ต้องช่วยทำหน้าที่คอยบอกทางไปสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ผู้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาทั้ง 5 ครั้ง

ดังนั้น ชาวมอญ-พม่าจึงสร้างรูปนัตตนนี้ไว้ก่อนถึงพระมหาธาตุชเวดากอง จุดนี้เองกระมังที่เมื่อนักท่องเที่ยวชาวไทยไหลหลั่งไปกราบนมัสการพระมหาธาตุชเวดากองเสร็จแล้ว ก็ต้องผ่านพบนัตโบโบยีด้วย

แทนที่จะมองนัตโบโบยีเป็นวิญญาณของ “พ่อปู่” หรือ “เสื้อวัด” กลับไปให้คำนิยามการชี้นิ้วนั้นใหม่ จากนิ้วชี้สถานที่สร้างพระมหาธาตุ กลายเป็น “นิ้วประทานพร” ให้โชคให้ลาภ ให้ร่ำให้รวยไปเสียนี่

ซ้ำยังไม่ยอมให้เรียก “นัต” ซึ่งหมายถึงวิญญาณหรือ “ผีอารักษ์” อีกด้วย แต่ใช้วิธีเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็น “เทพทันใจ” โดยไปหยิบเอาคำว่า “ทันใจ” มาจาก “พระเจ้าทันใจ” ของวงการพุทธศิลป์ล้านนามาผสมกันด้วยอีกชั้นหนึ่ง


ซึ่งคำว่า “พระเจ้าทันใจ” เอง ผู้คนก็ไขว้เขวกันมาเปลาะหนึ่งแล้ว คือคิดว่าสร้างขึ้นเพื่อให้คนขอพรมุ่งหวังความสำเร็จแบบปุบปับฉับพลัน ทันตาทันใจ

@@@@@@@

ทั้งๆ ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้อธิบายไว้แก่ศิษยานุศิษย์อย่างละเอียดแล้วว่า การสร้างพระเจ้าทันใจก็เพื่อใช้เป็นกุศโลบาย “ทดสอบความสามัคคี” ของคนในชุมชนว่าจะสามารถทำสิ่งเล็กๆ ร่วมกันสำเร็จหรือไม่ ก่อนที่จะคิดทำการใหญ่

ครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงกำหนดให้ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หากหล่อสำเร็จก็สะท้อนว่า อุปสรรคแม้จักหนักหนาเพียงไรก็ไม่พ้นความพยายามของคนในชุมชนที่จะช่วยกันฟันฝ่า

ไม่ว่าใครจะนิมนต์ให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยไปช่วยเป็นประธาน “นั่งหนัก” สร้างวัดในที่ใดก็แล้วแต่ ก่อนที่ท่านจะลงมือสร้าง ท่านมักใช้กุศโลบายทดสอบความสามัคคีของหมู่คณะด้วยการขอให้ช่วยกันทดลองสร้างพระเจ้าทันใจสัก 1-3 องค์ขึ้นก่อนเสมอ จนกระทั่งตัวท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเองก็ได้รับฉายาว่า “ครูบาทันใจ” ด้วยอีกนามหนึ่ง

ในเมื่อ “พระเจ้าทันใจ” ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยบัญญัติขึ้น มีความหมายว่า “คนขยัน รู้รักสามัคคีเท่านั้น จึงจะทำการใหญ่ได้สำเร็จ” ฉะนี้แล้ว จู่ๆ จะให้ “เทพทันใจ” ที่เพิ่งถูกอุปโลกน์กันขึ้นมาไม่เกิน 20 ปี มีความหมายว่าอย่างไรล่ะหรือ

รู้ทั้งรู้ว่า “นิ้วที่ชี้” นั้น คือสัญลักษณ์แห่งการเชื่อมโยง “พุทธันดร” ระหว่างพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆ ในภัทรกัปเข้าไว้ด้วยกัน แต่ก็ไม่วายไปตีความว่า นิ้วของเทพทันใจนั้นหมายถึง การดลบันดาลโชคลาภ และการประทานความสำเร็จให้ผู้กราบไหว้

@@@@@@@

ปางชี้อสุภ หรือการสาปแช่ง.?

ในเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า มีหนองน้ำขนาดใหญ่กลางเมืองเรียกว่า “หนองตุง” ใกล้กับหนองตุงมีวัดแห่งหนึ่งชื่อจอมสัก ถือเป็น 1 ใน 3 จอม ที่นักท่องเที่ยวต้องไปนมัสการให้ครบ ประกอบด้วย วัดจอมมน บ้างเรียกจอมมอญ วัดนี้มีต้นไม้หมายเมืองคือต้นยางใหญ่, วัดจอมคำ และวัดจอมสัก

วัดจอมสักเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องไปชมด้วยความตื่นตะลึงเพราะมี “พระเจ้าชี้นิ้ว” ดูแปลกตา ด้วยขนาดของพระพุทธรูปที่สูงใหญ่ มองเห็นโดดเด่นแต่ไกล นักท่องเที่ยวมักไปยืนอยู่ให้ศีรษะของตนอยู่ในตำแหน่งพอดีกับนิ้วมือที่ชี้ตกลงมา โดยได้ข้อมูลจากไกด์ชาวไทยมาว่า การทำเช่นนี้จะได้รับพรจากองค์พระแบบเต็มๆ

ทำให้ต่างคนต่างมะรุมมะตุ้มยืนต่อคิวกันแน่น ต่างคนต่างพยายามขยับตัวไปมาเพื่อหาจุดที่จะให้นิ้วของพระพุทธรูปชี้ลงบนหัวของตนพอดิบพอดี จากนั้นก็จะได้ยินเสียงกดชัตเตอร์จากมือถือ

ในขณะที่ไกด์พม่าไม่ค่อยชอบใจนัก อธิบายว่าแท้ที่จริงแล้วนิ้วมือที่ชี้นั้น เป็นสัญลักษณ์แห่งการสาปส่งชาวเชียงตุง (ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทขึน คนละชาติพันธุ์กับพม่า) ให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพม่านิรันดร์ไป

ไกด์พม่ากระซิบบอกว่า พระชี้นิ้วเป็นพระพุทธรูปที่ทหารพม่าเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ได้ไม่กี่ปีนี้เอง นิ้วที่ชี้นั้นพุ่งเล็งเป้าไปยังโรงแรมกลางเมือง ซึ่งครั้งหนึ่ง 100 ปีก่อนเคยเป็น “หอคำ” ของเจ้าฟ้าเชียงตุงองค์สุดท้าย คือเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทร์แถลง หอคำหลังนี้สร้างในยุค Colonial หรือยุคล่าอาณานิคม แต่ต่อมาได้ถูกทหารพม่าเผาทำลาย แล้วสร้างเป็นโรงแรมครอบทับสถานที่เดิม เสมือนทำลายความศักดิ์สิทธิ์และย่ำยีจิตวิญญาณของชาวเชียงตุง

เมื่อเราได้พูดคุยกับชาวเชียงตุงในพื้นที่แล้ว ทุกคนบอกว่า ไม่ชอบพระเจ้าชี้นิ้วองค์นี้เลย คงหลอกขายได้เฉพาะแต่นักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น


@@@@@@@

แล้วไฉนดิฉันจึงโปรยหัวเรื่องตอนนี้ว่าเป็น “ปางชี้อสุภ” (อ่านว่า อะ-สุ-ภะ) แปลว่า สิ่งไม่งาม สิ่งที่มองแล้วชวนให้สังเวชใจ

เนื่องจากดิฉันเห็นว่าท่ายืนชี้นิ้วดังกล่าว พ้องกับพระพุทธรูปปางหนึ่ง ที่สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงบัญญัติ “มุทรา” หรือปางของพระพุทธรูปไว้ว่ามีทั้งสิ้น 66 ปาง นั่นคือ “ปางชี้อสุภ” โดยอธิบายว่า

เป็นพระอิริยาบถยืน พระกรซ้ายห้อยข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอบั้นพระองค์ ชี้ดัชนี (นิ้วชี้) เป็นกิริยา “ชี้อสุภ” โดยมีการยกเอาพุทธประวัติตอนหนึ่งขึ้นมาประกอบว่า

    “ในกรุงราชคฤห์มีหญิงนครโสเภณีรูปงามชื่อ สิริมา เป็นน้องสาวของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ครั้นนางได้เฝ้าพระพุทธองค์จึงเลิกอาชีพโสเภณี ฝักใฝ่ในบุญกุศล ต่อมานางเจ็บป่วยเป็นโรคปัจจุบันตอนเช้า ตายในตอนค่ำ พระพุทธองค์โปรดให้ปล่อยศพนั้นไว้ 3 วันก่อนเผา เพื่อให้ผู้คนเห็นว่า เมื่อตายเป็นศพขึ้นอืด น้ำเหลืองไหลจากทวารทั้งเก้า กลิ่นศพเหม็นคลุ้งตลบสุสาน แสดงให้เห็นถึงความไม่ยั่งยืนแห่งสังขารของสรรพสัตว์ทั้งปวง”

กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นปางที่พระพุทธเจ้ายืนชี้ไปที่ซากศพของหญิงงาม เพื่อให้เกิดการปลงอสุภกรรมฐาน

@@@@@@@

แล้วในเมืองไทยมีการทำพระพุทธปฏิมาปางชี้อสุภกันมากน้อยเพียงใด เท่าที่ตรวจสอบพบว่ามีน้อยมาก ไม่ใช่ปางที่นิยม ผิดกับการแสดงเรื่องราวทำนองเดียวกันนี้ด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง พบเห็นบ่อยครั้งกว่า

แล้วพระชี้นิ้วที่วัดจอมสัก เชียงตุง จะเรียกว่า ปางชี้อสุภ ได้หรือไม่ ในเมื่อเจตนาของผู้สร้าง (ทหารพม่า) ตั้งใจจะย่ำยีคนไทขึนเมืองเชียงตุงให้โงหัวไม่ขึ้นมิใช่หรือ?

อีกทั้งการที่เราไปยืนอยู่ใต้นิ้วชี้นั้นจะเป็นมงคลหรือไม่ ไม่ว่าจะตีความว่านี่คือปางชี้อสุภ หรือตีความว่าเป็นปางสาปแช่งชาวเชียงตุง ก็ล้วนแล้วแต่สื่อความหมายไปในทางไม่ค่อยดี

ในความเป็นจริงนั้น เราต่างก็ไม่มีใครทราบถึงเจตนาของผู้สร้างพระชี้นิ้วองค์ดังกล่าว ว่าตั้งใจจะให้เป็นปางอะไรแน่ หากต้องการให้เป็นปางชี้อสุภจริง ก็ต้องถามต่อไปอีกว่า “อสุภ” ที่ว่านั้นคือสิ่งไร อยู่ที่ไหน ในเมื่อนิ้วชี้ไปยังทิศที่เคยเป็นหอคำ ย่อมอดไม่ได้ที่จะให้ชาวไทขึนเมืองเชียงตุงหวาดระแวงเรื่องการสาปแช่งพวกเขา

เห็นได้ว่ารูปเคารพเพียงองค์เดียว สามารถให้นิยามได้หลายความหมาย ขึ้นอยู่กับการตีความของผู้คนแต่ละกลุ่ม แล้วนำมาสร้างคำอธิบายหาเหตุผลประกอบให้ผู้ฟังเกิดอาการคล้อยตาม


@@@@@@@

มุมหนึ่งก็เห็นใจคนทำงานในสายท่องเที่ยว ท่ามกลางยุคสมัยที่เศรษฐกิจตกต่ำย่ำแย่ขั้นขีดสุด จนบริษัททัวร์แทบจะปิดกิจการไปตามๆ กัน คงจำเป็นต้องหาเกร็ดแปลกๆ หามุขพิสดารใหม่ๆ ที่พอจะเห็นแววว่าขายได้แน่ๆ สำหรับคนไทย

ทั้งๆ ที่ในสายตาของชาวพม่าเจ้าของประเทศ มองนัตโบโบยีเป็นผีอารักษ์ตนหนึ่งที่มีคุณูปการในด้านการทำหน้าที่บอกทางไปพระมหาธาตุชเวดากอง พวกเขาไม่เคยรู้จักคำว่า “เทพทันใจ” ตามที่คนไทยตั้งชื่อให้มาก่อนเลย

ไม่ต่างไปจากชาวไทขึนที่มิอาจไว้วางใจในนิ้วชี้อสุภของพระปฏิมาที่หนองตุงนั่น เหตุที่สร้างโดยทหารสลอร์กของพม่า

คงมีแต่พี่ไทย (บางท่าน) ชาติเดียวกระมัง ที่ยินดีกราบไหว้ได้ทุกอย่าง โดยที่ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามต่อสิ่งนั้นๆ






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 18-24 ตุลาคม 2562
คอลัมน์: ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ : วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_240637
84  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ๘ ประการ อันไม่เคยมีมา ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว อภิรมย์อยู่ เมื่อ: มีนาคม 19, 2024, 09:14:16 am
.



ท้าวปหาราธะจอมอสูร : ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ๘ ประการ

เหตุการณ์ : ท้าวปหาราธะจอมอสูรสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า เรื่องธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วอภิรมย์อยู่ โดยพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบธรรมวินัยกับมหาสมุทรที่อสูรทั้งหลายเห็นแล้วอภิรมย์

ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ๘ ประการ อันไม่เคยมีมา ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว อภิรมย์อยู่

๑. มหาสมุทรลาด ลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษา การกระทำ การปฏิบัติ ไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง

๒. มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

๓. มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมยกวัตรเธอเสียทันที

๔. แม่น้ำสายใหญ่ๆ ไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าสมณศากยบุตรทั้งนั้น

๕. แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้จะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ ฉันใด  ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุ ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น

๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส

๗. มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้น มีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ,สัมมัปปธาน ๔ ,อิทธิบาท ๔ ,อินทรีย์ ๕ ,พละ ๕ ,โพชฌงค์ ๗ ,อริยมรรคมีองค์ ๘

๘. มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ ดังนี้ คือพระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล  พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ 






ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : ปหาราทสูตร พระไตรปิฎกสยามรัฐ 23/109/174-180 และอรรถกถา
website : https://uttayarndham.org/node/1807
85  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำความรู้จักตำนาน “พระสุก-พระเสริม-พระใส” พระสามพี่น้องแห่งล้านช้าง เมื่อ: มีนาคม 19, 2024, 08:59:10 am
.



ทำความรู้จักตำนาน “พระสุก-พระเสริม-พระใส” พระสามพี่น้องแห่งล้านช้าง

ชวนทำความรู้จัก! ตำนานพระสามพี่น้อง “พระสุก-พระเสริม-พระใส” พระประจำพระธิดา 3 พระองค์ของกษัตริย์ล้านช้างในอดีต ก่อนจมแม่น้ำโขง

จากกรณีการค้นพบพระพุทธรูปเก่าแก่ริมแม่น้ำโขงบริเวณเมืองต้นผึ้ง สปป.ลาว ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จนทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียลาวพากันตั้งข้อสังเกตว่า พระโบราณที่พบริมน้ำโขง อาจเป็น “พระสุก” ที่จมแม่น้ำโขงสมัยอาณาจักรล้านช้าง

แม้การตั้งข้อสังเกตดังกล่าวยังไม่มีการยืนยันจากหน่วยงานราชการของ สปป.ลาว ว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ก็ทำให้เรื่องราวของพระสุกกลับมาอยู่ในความสนใจของคนในสังคัมอีกครั้ง วันนี้ “พีพีทีวี” จะพาไปทำความรู้จักกับตำนานของ “พระสุก-พระเสริม-พระใส”



พระเสริม วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

โดยตำนานพระสามพี่น้อง “พระสุก-พระเสริม-พระใส” มีตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 พระองค์ของ เป็นธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และถวายนามพระพุทธรูปตามพระนามของพระธิดาแต่ละพระองค์ โดย “พระเสริม” เป็นพระประจำพระธิดาองค์ใหญ่ “พระสุก” ประจำพระธิดาองค์กลาง และ “พระใส”ประจำพระธิดาองค์เล็ก

ซึ่งแต่เดิมพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ถูกประดิษฐานอยู่ที่นครเวียงจันทน์ และถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง กระทั่งต่อมาเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ

เมื่อเมืองเวียงจันทน์สงบแล้ว จึงได้อัญเชิญ “พระสุก-พระเสริม-พระใส” ข้ามแม่น้ำโขงมาที่จังหวัดหนองคาย โดยมีการต่อแพข้ามแม่น้ำโขง สำหรับพระแต่ละองค์ แต่ระหว่างแพของพระสุกกำลังข้ามแม่น้ำโขง ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ หายไป ทำให้บริเวณดังกล่าวได้ชื่อ “เวินสุก” หรือ “เวินพระสุก” ตั้งแต่นั้นมา (เวินสุก บ้านหนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย)

หลังจากพระสุกจมแม่น้ำโขงการอัญเชิญพระสามพี่น้องครั้งนี้จึงเหลือแต่ “พระเสริม” และ “พระใส” ที่สามารถอัญเชิญมาถึงหนองคาย สำหรับ “พระใส” นั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ส่วน “พระเสริม” ได้ อัญเชิญไปไว้ยังวัดหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ และมีการสร้างองค์จำลอง “พระสุก” ไว้ที่วัดศรีคุณเมือง ณ ปัจจุบัน



พระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญ “พระเสริม” ลงไปยังกรุงเทพฯ แต่ด้วยเกิดเหตุปาฏิหาริย์ จึงสามารถอัญเชิญลงมาได้แค่ “พระเสริม” เท่านั้น ส่วน “พระใส” ยังคงประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

โดยปัจจุบัน "พระใส" ยังคงประดิษฐานอยู่ที่ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ดังเดิม ขณะที่ "พระเสริม" ประดิษฐานอยู่ที่ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ส่วน "พระสุก" ที่จมหายไปไม่ปรากฏขึ้นมาอีกเลย เหลือไว้เพียงตำนานที่ถูกเล่าขานถึงของคนสองฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยมา

อย่างไรก็ตามแม้ยังไม่มีหลักฐานหรือการพิสูจน์จากทางการ ที่รับรองการตั้งข้อสังเกตที่ว่าพระพุทธรูปโบราณที่มีการค้นพบบริเวณเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว เป็น “พระสุก” จริงหรือไม่ อีกทั้งมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องเวินพระสุกที่อยู่ห่างไกลกับสถานที่ค้นพระพุทธรูปโบราณดังกล่าว แต่การค้นพบพระโบราณดังกล่าว ก็ทำให้ตำนานของ “พระสุก-พระเสริม-พระใส” พระสามพี่น้อง ถูกพูดถึงอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้






Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/219660 
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 18 มี.ค. 2567 ,15:46น.
86  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทีมวิจัย สหรัฐฯ เผยถึงวิธีที่สมองจัดการกับภาษา เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย เมื่อ: มีนาคม 19, 2024, 08:53:54 am
.



ทีมวิจัย สหรัฐฯ เผยถึงวิธีที่สมองจัดการกับภาษา เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย

คนส่วนใหญ่มักพูดได้ภาษาเดียวหรือ 2 ภาษา ทว่าบางคนก็เชี่ยวชาญและพูดได้หลายภาษา บางคนสลับภาษาในระหว่างสนทนาได้คล่อง เช่น คุยกับยายเป็นภาษาอิตาเลียน แต่ก็โต้เถียงปรัชญากับเพื่อนร่วมชั้นเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ง่ายดาย สิ่งนี้ทำให้เกิดความสงสัยถึงวิธีที่สมองจัดการกับภาษาอันเป็นวิธีหลักในการสื่อสารของมนุษย์

ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยนักประสาทวิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา เผยงานวิจัยใหม่ที่จะให้ความกระจ่างถึงวิธีที่สมองจัดการกับภาษา หลังคัดเลือกอาสาสมัครที่พูดได้อย่างน้อย 5 ภาษามา 34 คน เป็นชาย 20 คน หญิง 14 คน มีอายุ 19-71 ปี โดย 21 คนพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ส่วนที่เหลือเป็นภาษาฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฮังการี และจีนกลาง

ทีมอธิบายว่า การพูดได้หลายภาษาจะสามารถเปรียบเทียบว่าสมองปรับเปลี่ยนการตอบสนองตามหน้าที่ของความเชี่ยวชาญได้ภายในคนคนเดียวอย่างไร นักวิจัยได้ใช้วิธี functional magnetic resonance imaging คือการตรวจเพื่อหาตำแหน่งการทำงานของสมอง โดยบันทึกความเปลี่ยนแปลงในสมองที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ประสาท เพื่อติดตามการทำงานของสมอง

ในขณะที่อาสาสมัครร่วมฟังข้อความใน 8 ภาษาที่แตกต่างกัน มีทั้งภาษาแม่ที่เป็นภาษาหลักที่พวกเขาใช้ และภาษาอื่นอีก 3 ภาษาที่พวกเขามีความเชี่ยวชาญสูง เชี่ยวชาญปานกลาง และเชี่ยวชาญน้อยที่สุด ส่วนอีก 4 ภาษาเป็นภาษาที่พวกเขาไม่รู้จักเลย




ทีมวิจัยพบว่าแม้ว่า เครือข่ายภาษาของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่บางส่วนที่อยู่ในสมองส่วนหน้าและขมับ จะมีชีวิตชีวาขึ้นเมื่อประมวลผลภาษาใดก็ตาม แต่ภาษาแม่ของคนที่พูดได้หลายภาษาจะทำงานได้เข้มข้นน้อยลง สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าภาษาแม่หรือภาษาแรกของคนเราจะได้รับการเข้ารหัสหรือถูกเก็บในสมองเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การเปิดรับภาษาที่ไม่รู้จักสามารถกระตุ้นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินและการมองเห็นได้.






Thank to : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2770240
14 มี.ค. 2567 09:01 น. | ข่าว>ต่างประเทศ>ไทยรัฐฉบับพิมพ์
87  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 4 รูปแบบการนอนของมนุษย์ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพระยะยาวต่างกัน เมื่อ: มีนาคม 19, 2024, 08:47:42 am
.



4 รูปแบบการนอนของมนุษย์ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพระยะยาวต่างกัน

การนอนหลับให้เพียงพอเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้วสามารถช่วยรักษาการทำงานของร่างกาย และส่งผลดีต่อสุขภาพ ในทางตรงกันข้ามแน่นอนว่าการอดนอน นอนน้อย นอนไม่พอก็ส่งผลเสียต่อร่างกาย และสุขภาพได้เช่นเดียวกัน แต่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต (อังกฤษ: Pennsylvania State University) พบข้อมูลว่ารูปแบบของการนอนหลับแต่ละแบบอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวที่แตกต่างกันออกไป

การศึกษาชิ้นนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้ใหญ่ชาวอเมริกันราว 3,700 คน โดยให้พวกเขารายงานพฤติกรรมหรือนิสัยการนอนหลับของตัวเอง ปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่พวกเขาพบเจอ รวมถึงข้อมูลอื่น อย่างระยะเวลาการนอน ช่วงเวลาการนอน ความพึงพอใจในการนอน ความรู้สึกง่วง หรือตื่นตัวในตอนกลางวัน การเก็บข้อมูลชุดนี้ทำใน 2 ช่วงเวลาซึ่งห่างกัน 10 ปี

@@@@@@@

โดยหลังจากการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทีมวิจัยได้แบ่งรูปแบบการนอนออกเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน

    • คนที่สุขภาพการนอนดี นอนได้เป็นปกติ
    • คนที่นอนหลับยาวในช่วงวันหยุด ซึ่งอาจการนอนในช่วงวันทำงานที่ผิดปกติ อย่างการนอนไม่พอ
    • คนที่นอนไม่หลับ หรือมีสุขภาพการนอนที่ไม่ดี เช่น นอนหลับยาก นอนติดต่อกันได้ไม่นาน รวมถึงรู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอนอย่างมากในตอนกลางวัน
    • คนที่นอนหลับตอนกลางคืนได้ปกติ แต่มักงีบหลับตอนกลางวันอยู่เป็นประจำ

นักวิจัยพบว่า 2 กลุ่มหลัง ซึ่งได้แก่คนที่มีโรคนอนไม่หลับ และกลุ่มคนที่มักงีบหลับตอนกลางวันเป็นประจำเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของโรคเรื้อรังสูงกว่ากลุ่มอื่น ตั้งแต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงโรคทางอารมณ์​ อย่างโรคซึมเศร้า จากพฤติกรรมการนอนในลักษณะดังกล่าวกว่า 10 ปี

@@@@@@@

การงีบหลับตอนกลางวันอันตราย.?

สำหรับข้อมูลทางการแพทย์ชิ้นอื่นยืนยันแล้วว่าคนที่มีโรคนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานานนั้นเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายโรค แต่ผู้อ่านหลายคนคงสงสัยว่าทำไมคนที่สามารถนอนหลับตอนกลางคืนได้ปกติ และมีพฤติกรรมงีบหลับตอนกลางวันถึงกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงไปด้วย ทั้งที่ก็นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ซึ่งไม่ใช่แค่การศึกษานี้เท่านั้นที่พบ การศึกษาชิ้นก่อนหน้าก็พบด้วยเช่นกันว่าการงีบหลับบ่อยสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรัง ข้อมูลชุดหนึ่งพบว่าคนที่งีบหลับเป็นประจำ หรือแม้แต่งีบหลับบ้างบางครั้งมีความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บางการศึกษาก็ให้ผลที่ขัดแย้งว่าการงีบหลับอาจลดความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงได้

นอกจากนี้ การรู้สึกง่วงตอนกลางวันอย่างมากอาจสะท้อนถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะขากระตุกขณะนอนหลับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มคาเฟอีน และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

อย่างไรก็ตาม การศึกษาอีกส่วนหนึ่งพบว่าการนอนงีบหลับตอนกลางวันอย่างเหมาะสมระหว่าง 10 ถึง 20 นาทีช่วยรีเฟรชสมองจากความง่วง อารมณ์ และความเหนื่อยล้าได้ การศึกษาบางชิ้นยังพบด้วยว่าการนอนกลางวันส่งผลดีต่อความจำ และประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

@@@@@@@

กลับมาที่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตตที่พบว่า รูปแบบการนอนส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังในระยะยาว โดยผู้นำงานวิจัยชี้ว่าเป็นเรื่องยากที่ผู้คนจะเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสม และไม่ทราบถึงผลกระทบจากพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สำคัญมากต่อการดูแลสุขภาพ แต่นั่นก็อาจเป็นผลมาจากข้อจำกัดทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลให้บางคนนอนมาก และนอนน้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม อาจเริ่มจากการออกกำลังกาย การงดเล่นสมาร์ตโฟนก่อนนอน และงดคาเฟอีนในช่วงบ่าย

สำหรับผู้อ่านที่ได้อ่านมาถึงตรงนี้ คงได้ทราบแล้วว่ารูปแบบการนอนที่คุณนอนอยู่ในทุกวันส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร หากเข้าข่ายกลุ่มคนที่นอนไม่หลับ หรือชอบงีบตอนกลางวันอาจถึงเวลาแล้วที่ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนรูปแบบการนอน เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลในระยะยาว

ดังนั้น การเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันนี้อาจช่วยลดความที่ของโรคเรื้อรังในอนาคตได้ และหากคุณพบปัญหาในการนอนหลับเกิน 1 สัปดาห์ การนอนหลับ หรือความง่วงส่งผลต่อการใช้ชีวิต และการทำงาน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์







ขอบคุณ : https://www.beartai.com/life/1370469
โดย ภูษิต เรืองอุดมกิจ | 21 hours ago

ที่มา :-
    - ScienceDaily, Researchers identify distinct sleep types and their impact on long-term health, 12 มี.ค. 2024
    - Medical News Today, Frequent napping may be a sign of higher risks of stroke, high blood pressure, 27 ก.ค. 2023
    - Sleep Foundation, Managing Excessive Daytime Sleepiness, 16 ม.ค. 2024
    - Mayo Clinic, Napping: Do’s and don’ts for healthy adults, 9 พ.ย. 2022

ภาพหน้าปก : ภาพยนตร์ Eternal Sunshine of the Spotless Mind
88  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เผยพระพุทธรูปขุดพบฝั่งลาว เป็นพระสิงห์สาม เมื่อ: มีนาคม 18, 2024, 01:31:14 pm
.



เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เผยพระพุทธรูปขุดพบฝั่งลาว เป็นพระสิงห์สาม

เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายชี้ พระพุทธรูปที่ขุดค้นเจอในแม่น้ำโขงฝั่ง สปป.ลาว เป็นพระสิงห์สาม ศิลปะเชียงแสน อายุระหว่าง 500-800 ปี

วันที่ 17 มี.ค. 67 จากกรณีที่มีการขุดค้นเจอพระพุทธรูปโบราณจำนวนหลายองค์ ที่ริมแม่น้ำโขง พื้นที่บ้านดอนผึ้ง เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา ชาวบ้านที่ทราบข่าวทั้งฝั่งลาวและไทยต่างพากันมากราบไหว้ โดยเช้าวันนี้ก็ยังมีผู้ที่ทราบข่าวมามุงดูการค้นหากันเป็นจำนวนมาก

โดยทางชุดค้นหาได้นำรถแบ็กโฮมาขุดทรายทำเป็นแนวรอบจุดที่จะทำการขุดค้น ขนาดประมาณ 15x20 ม. และใช้เครื่องไดโว่สูบน้ำที่อยู่ข้างในออกมา และนำรถแบ็กโฮลงขุดค้นเพิ่มเติม ซึ่งล่าสุดวันนี้ได้มีการขุดค้นเจอพระเครื่องทรงยืน สูงขนาดประมาณ 4 นิ้ว พระพุทธรูปไม่มีเศียร หน้าตักประมาณ 9 นิ้ว และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หน้าตักประมาณ 32 นิ้ว




ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่ วัดพระธาตุดอยผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อสอบถามพระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เผยว่า พระพุทธรูปที่ขุดค้นที่ฝั่งลาว เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน เป็นพระสิงห์สาม ซึ่งแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน แต่มีช่วงหนึ่งในอดีตที่แม่น้ำโขงเปลี่ยนเส้นทางไหล และส่งผลให้พื้นที่บางส่วนก็กลายเป็นพื้นที่ของ สปป.ลาว ตามเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขง ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้พระพุทธรูปในครั้งนี้ถือว่าองค์พระมีสภาพสมบูรณ์ สวยงาม เสียดายที่ไม่ได้ค้นพบในฝั่งไทย



เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เผยอีกว่า การขุดพบพระพุทธรูปในฝั่งลาวในครั้งนี้เป็นการขุดพบครั้งที่ 3 ก่อนหน้านี้เคยมีการขุดพบพระพุทธรูปริมแม่น้ำโขงมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกที่บ้านดอนสะหวัน เมื่อปี 2553 ครั้งที่ 2 ที่บ้านใหม่ร่มเย็น เมื่อปี 2556 และครั้งล่าสุดที่บ้านดอนสะหวัน ทั้งหมดอยู่ในเขตเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว




บริเวณที่ขุดเจอพระพุทธรูปครั้งนี้น่าจะอยู่ใกล้กับพระพุทธนวล้านตื้อ ที่สูญหายไปเมื่อครั้งอดีตเมื่อน้ำโขงเปลี่ยนทางไหล ถ้าสามารถนำพระนวล้านตื้อขึ้นมาจากน้ำโขงสำเร็จคาดว่าจะส่งผลดีต่อทั้งพุทธศาสนิกชนทั้งฝั่งไทยและลาว และใน อ.เชียงแสน ก็จะได้รับความสนใจ จะมีคนมาท่องเที่ยวอีกมาก แต่การค้นพบในครั้งนี้ก็ต้องแสดงความดีใจกับพี่น้องชาวลาว ที่เจอพระพุทธรูปดังกล่าว ส่วนพุทธศาสนิกชนชาวไทยก็สามารถข้ามไปกราบไหว้สักการะบูชาได้

พระพุทธิญาณมุนี เผยอีกว่า การค้นพบพระหรือสมบัติในแม่น้ำโขง จะถือว่าเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของทางฝั่ง สปป.ลาว เนื่องจากแม่น้ำโขงอยู่ในเขตของลาว ประเทศไทยจะลงไปขุดค้นของในน้ำโขงโดยพลการไม่ได้ จะถือเป็นละเมิดสิทธิ์ ในอนาคตหากแม่น้ำโขงลดระดับมากกว่านี้ อาจจะเจอทรัพย์สมบัติที่จมอยู่ใต้น้ำโขงอีกมากมาย.






Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/2771229
17 มี.ค. 2567 17:03 น. | ข่าว>ทั่วไทย>ไทยรัฐออนไลน์
89  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนพาลเห็นบาปเหมือนของหวาน เมื่อ: มีนาคม 18, 2024, 07:15:19 am
.



คนพาลเห็นบาปเหมือนของหวาน

ว่าด้วย : พระอุบลวรรณาเถรี
เหตุการณ์ : พระศาสดาทรงปรารภพระอุบลวรรณาเถรี ผู้ไปอยู่ในป่า ถูกข่มขืน จึงมีข้อกำหนดให้ภิกษุณีอยู่ในละแวกบ้านเท่านั้น

พระอุบลวรรณาเถรีตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามปทุมุตตระ กระทำบุญทั้งหลายสิ้นแสนกัลป์ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐีในกรุงสาวัตถีในพุทธุปบาทกาลนี้
 
มารดาบิดาได้ตั้งชื่อนางว่าอุบลวรรณา เพราะนางมีผิวพรรณเหมือนกลีบอุบลเขียว เมื่อนางเจริญวัย พระราชาและเศรษฐีทั้งหลายต่างส่งบรรณาการไปขอนางจากบิดา เศรษฐีคิดว่าไม่สามารถเอาใจคนทั้งหมดได้ จึงได้ถามธิดาว่าจะบวชได้ไหม คำของบิดาเป็นเหมือนน้ำมันที่ต้มแล้วตั้ง ๑๐๐ ครั้ง อันเขารดลงบนศีรษะ เพราะความที่นางมีภพสุดท้าย นางจึงบวช
 
เมื่อบวชแล้วไม่นาน นางตามประทีป กวาดโรงอุโบสถ ยืนถือนิมิตแห่งเปลวประทีป แลดู ยังฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิด กระทำฌานนั้นให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย
 
@@@@@@@

ในกาลนั้น พระศาสดายังไม่ทรงห้ามการอยู่ป่าของพวกนางภิกษุณี พระเถรีนั้นเที่ยวจาริกไปในชนบท แล้วกลับมาสู่ป่าอันธวัน พวกชนสร้างกระท่อม ตั้งเตียงกั้นม่านไว้ในป่าแก่พระเถรีนั้น พระเถรีเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี แล้วออกมา

ฝ่ายนันทมาณพผู้เป็นบุตรของลุงของพระเถรี มีจิตปฏิพัทธ์ต่อพระเถรีตั้งแต่กาลที่ท่านยังเป็นคฤหัสถ์ ได้เข้าไปซ่อนภายใต้เตียงในกระท่อม เมื่อพระเถรีกลับมา เขาปลุกปล้ำข่มขืนพระเถระแล้วหนีไป แผ่นดินใหญ่ได้แยกออก สูบเขาลงไป เขาไปเกิดในอเวจีมหานรก
 
เมื่อพระศาสดาทรงสดับเรื่องแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า
    "บรรดาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นพาล เมื่อทำกรรมลามก ย่อมยินดีร่าเริง ประะดุจได้เคี้ยวกินของหวานมีน้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด เป็นต้น"
 
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า
    "คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้น คนพาลย่อมประสพทุกข์"
 
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล เป็นต้น


@@@@@@@

สมัยต่อมา มหาชนสนทนากันในธรรมสภาว่าพระขีณาสพทั้งหลายยังยินดีกามสุข ยังเสพกาม เพราะพระขีณาสพเหล่านั้นไม่ใช่ไม้ผุ ไม่ใช่จอมปลวก มีเนื้อและสรีระสดใสอยู่
 
เมื่อพระศาสดาทรงทราบ จึงตรัสว่า
 "พระขีณาสพทั้งหลายไม่ยินดีกามสุข ไม่เสพกาม  เหมือนอย่างว่า หยาดน้ำตกลงบนใบบัว ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ย่อมกลิ้งตกไป และเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ที่ปลายเหล็กแหลม ย่อมกลิ้งตกไปแน่แท้ ฉันใด กามแม้ ๒ อย่าง ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น"
 
ดังนี้แล้วเมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    "เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่ที่ปลายเหล็กแหลม ว่าเป็นพราหมณ์ "

พระศาสดารับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมา แล้วตรัสเรื่องกุลธิดา บวชแล้ว อยู่ในป่าเหมือนอย่างกุลบุตรทั้งหลาย คนลามกถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมเบียดเบียนภิกษุณีผู้อยู่ในป่า ด้วยการดูถูกดูหมิ่นบ้าง ด้วยการทำอันตรายแก่พรหมจรรย์บ้าง เพราะฉะนั้น พระราชาควรทำที่อยู่ภายในพระนครแก่ภิกษุณีสงฆ์
 
พระราชาทรงรับสั่งให้สร้างที่อยู่เพื่อภิกษุณีสงฆ์ในพระนคร ตั้งแต่นั้นมาพวกภิกษุณีย่อมอยู่ในละแวกบ้านเท่านั้น







ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : พระอุบลวรรณาเถรี พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ เล่มที่ ๔๑ หน้า ๒๑๓-๒๑๗
URL : https://uttayarndham.org/node/4714
90  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พุทธแท้ - พุทธเทียม เมื่อ: มีนาคม 18, 2024, 07:01:53 am
.



พุทธแท้ - พุทธเทียม : ธรรมะยู-เทิร์น โดยอิทธิโชโต

ธุ วา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น (พุทธพจน์)

เมื่อมีปัญหา คนส่วนใหญ่คิดว่าร้อนก็ไปหลบในที่เย็น เท่านี้ ยังไม่พอ ยังไม่ใช่ธรรมะที่แท้จริง!

ธรรมะจะเกิดขึ้นจริงๆ ต้องเอาใจใส่ รักษากาย วาจา ใจ จะคิดจะพูดจะทำอะไรให้มีสติอยู่เสมอ อยู่เฉยๆ นั่งดูเฉยๆ ธรรมะคงจะเกิดขึ้นได้ยาก เหมือนเราจะปลูกผัก นั่งดูเมล็ดผักกาดมันจะเกิดไหม เราก็ต้องเอาเมล็ดไปเพาะ ไปปลูก ไปรดน้ำมันจึงเกิดพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนั้น

อย่างที่มีปัญหาเกี่ยวกับศาสนาพุทธอยู่ทุกวันนี้ จริงๆ แล้วพระพุทธศาสนาไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหาคือคนที่บอกว่าตัวเองเป็นพุทธแต่ไม่ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอนต่างหาก ปัญหาไม่ใช่มาจากศาสนาอื่นด้วย เราต้องกลับมาถามตัวเองว่า ในจำนวน ๑๐๐ คน มีกี่คนที่เป็นพุทธแท้ๆ จะได้สัก ๑๐ คนไหม ถ้าพุทธแท้ ๑๐ คนใน ๑๐๐ คน อยู่ที่ไหนก็ไม่มีปัญหา อยู่กับสิงสาราสัตว์ก็ไม่มีปัญหา อยู่กับคนก็ไม่มีปัญหา เพราะรู้หมด จะไปมีปัญหาอะไร แต่ที่เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ถ้ารู้แล้ว เข้าใจแล้วก็ไม่มีปัญหา

แต่คนไม่เข้าใจ ปากก็ว่าพุทธ แต่วิธีการไม่ใช่ ก็เหมือนสมัยพุทธกาล บวชกับพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังทะเลาะกันให้เห็น ถือพวก ถือตัวตน ถือเจ้าของจนลืมว่าอะไรควรไม่ควร สมัยนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าให้เห็น แต่ยังมีพระธรรมก็ยังไม่ปฏิบัติ สมัยก่อนมีพระพุทธเจ้าก็ยังไม่ฟังกัน

@@@@@@@

ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ เพราะคนไม่ใส่ใจ ถ้าใส่ใจเรื่องศาสนา ก็จะไม่มีปัญหา พระวิ่งหาลาภ ยศ สรรเสริญ มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น ลาภไปหามาทำไม ยศ ไปหามาทำไม สรรเสริญ ไปหามาทำไม

สุดท้าย เราไม่ต้องไปแก้คนอื่น ต่างคนต่างดูของตัวเจ้าของ ต่างคนต่างชำระความไม่ดีในจิตในใจของตัวเองก็จะไม่มีปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ แต่นี่มันไม่ใช่ ต่างคนต่างเสริม ลาภ สักการะให้แก่กัน ก็เรื่องกิเลสทั้งนั้น เหมือนเรื่องหรูหรา มันเป็นเรื่องของกิเลสพระ พระจะไปหาอะไร ก็ต้องไปหาศีลหาธรรมสิ ธรรมวินัยมีก็หามาสิ โลกวัชชะ ก็มีอยู่ ทำอะไรให้โลกติเตียน คือมันไม่งาม ก็ยับยั้งเสีย

พระเราไม่ต้องไปมีหรอกรถ เอามาทำไม เอามาแสดงธรรม หรือแสดงกิเลส พระขอข้าวเขากินวันละมื้อ จะมีอะไรนักหนา อะไรที่มันเกินงาม เกินพอดีก็ต้องถามตัวเอง เหมือนโทรศัพท์นี้ บางทีเห็นพระใช้ดีกว่าฆราวาสอีก ทั้งๆ ที่ขอข้าวเขากิน เอามาอวดกิเลสเจ้าของ ขายความอยากให้เขาเห็น เป็นเรื่องขายขี้หน้าทั้งนั้น

ถ้ารู้ว่าตัวเจ้าของเป็นพระต้องสำนึกว่าเราเป็นผู้ขอ ถ้าเป็นผู้ขอเลยเถิดเช่น โยม อาตมาต้องการโทรศัพท์เครื่องใหม่ ต้องการรถคันใหม่ มันวิเศษตรงไหน มันประเสริฐตรงไหน ที่พระพุทธเจ้าให้หาอรรถหาธรรม ทำไมไม่หา ไม่ทำ

ทางดับทุกข์ก็เปิดกว้างสำหรับทุกคนอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับศาสนาด้วยซ้ำ ทำให้ได้ ทำให้ถึงพร้อมก็จะดีเอง ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหน นับถือศาสนาไหนก็ตาม ถ้าได้ปฏิบัติก็จะพบธรรมแท้ เป็นพระแท้ด้วยตัวเอง

 




THANK TO :-
image by : https://www.pinterest.com/
website : https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/223681
07 มี.ค. 2559 | 00:00 น.
91  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Q & A : ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน จริงหรือ.? เมื่อ: มีนาคม 17, 2024, 07:03:49 am
.



Q & A : ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน จริงหรือ.?
โดย อาจารย์ไชย ณ พล

Q ถาม : อาจารย์ครับ ผมเอาสุภาษิตที่ถือกันมายาวนานที่ว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" มาทบทวน เพราะในช่วง crisis domino นี้ หลายคนที่ผลงานดี มีความสำเร็จมาก ก็ย่ำแย่อย่างไม่น่าเชื่อ จึงทำให้ผมสงสัยว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลงานจริงหรือเปล่า

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

ค่าของคนอยู่ที่ความบริสุทธิ์อันบรมสุข
ค่าของงานอยู่ที่การสร้างสรรค์ Better Value
ค่าของการบริหารอยู่ที่การประกอบถูกส่วน
ค่าของการจัดการอยู่ที่ Smart Solution

ค่าของระบบอยู่ที่ความเป็นธรรม
ค่าของความสำเร็จอยู่ที่ประโยชน์สุขทุกฝ่าย
ค่าของชีวิตอยู่ที่การทำสิ่งเหล่านี้ให้สัมฤทธิ์ผล
นี่เป็นสัจธรรม และเงาสะท้อนสัจธรรม





ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
website : https://uttayarndham.org/dhamma-sharing/6352/ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจริงหรือ
92  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กมธ.ศาสนาฯสภาฯ ดูงานวัด “ไอ้ไข่” แนะผลักดันวัดสู่ “Soft Power” ด้วยหลักอปริหานิย เมื่อ: มีนาคม 16, 2024, 06:35:30 am
.



กมธ.ศาสนาฯสภาฯ ดูงานวัด “ไอ้ไข่” แนะผลักดันวัดสู่ “Soft Power” ด้วยหลักอปริหานิยธรรม 7

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 15.30 น. ที่วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะกรรมาธิการ เข้ากราบ พระครูพุทธเจติยาภิมณฑ์ หรือ อาจารย์แว่น เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ไอ้ไข่ เพื่อรับฟังเกี่ยวกับแนวทาง การส่งเสริมศาสนา

พระครูพุทธเจติยาภิมณฑ์ กล่าวว่าวัดนี้ในอดีตเกือบเป็นวัดร้าง อาตมามาเป็นลูกวัด ด้วยเพราะสมัยเด็กมีฐานะยากจนบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ เมื่อมาบวชแล้วก็ได้เข้ามา จำพรรษาที่วัดเจดีย์เมื่อปี พ.ศ. 2542 สมัยนั้นต้องบอกว่าวัดเจดีย์เป็นวัดร้าง ไม่มีโบสถ์ ไม่มีพระอุโบสถ ภายหลังจำพรรษาเป็นเวลา 4 ปีได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

หลักการของที่นี่ ก็คือ เอาชาวบ้านเป็นหลัก ตอนเย็นตนมักไปคุยกับชาวบ้าน เพื่อศึกษาความเป็นมา ซึ่งจุดเด่นของวัดนี้หากจะดำเนินการเรื่องวิปัสสนา เรื่องสวดมนต์ หรือเรื่องอื่นๆ ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก จุดเด่นของวัดคือ “ไอ้ไข่” ที่มีคนศรัทธาและมาจุดประทัดมาตั้งแต่โบราณ จึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัด ได้ให้ชาวบ้านตั้งกลุ่มกันเป็นกลุ่ม 42 กลุ่มละ 4 คน หมุนกัน ดูแลด้านดอกไม้ จุดประทัด การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

ซึ่งก็จะมีรายได้จากการบริการและขายอาหาร ในวัดไม่มีขาย เครื่องรางของขลังหรือของเซ่นไหว้ต่างๆ หากจะซื้อต้องไปซื้อข้างนอก ด้วยการบริหารเช่นนี้จึงไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกันระหว่างภายนอกและภายใน

ปัจจุบันได้ตั้งทุนมีเงินทุนถึง 2-3 ล้าน โดยกลุ่มชาวบ้านที่เริ่มต้นอายุมากแล้ว ตอนนี้เริ่มรุ่นหลาน ในช่วงที่รายได้ดี คนมาช่วยงานวัด อาจได้รายได้ต่อคนถึง 20,000 บาทต่อเดือน ในเวลาที่เหลือก็สามารถไปทำงานทำไร่ทำสวนปาล์มชาวบ้านก็มีความสุข อาตมาอยู่มา 25 ปี ทุกที่มีปัญหา ต้องช่วยกันแก้ ในอดีตตอนจัดบวชไม่มีคนบวชก็ขอทหารมาบวช




นางเทียบจุฑา กล่าวว่าตนและคณะหลังจากที่ได้ทราบข้อมูล โดยท่านเจ้าอาวาสท่านได้นำชมวัด สาระสำคัญคือที่นี่เน้นชาวบ้านเป็นศูนย์กลาง โดยมีการปรึกษาหารือมีการประชุมกันอย่างเนืองนิจตาม หลักอปริหานิยธรรม 7
ธรรม สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการความเจริญรุ่งเรืองแก่องค์กรที่ตนเองปกครองมี 7 ประการ คือ

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม)
4. ท่านเหล่าใดเป็นใหญ่ ให้เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง
5. บรรดากุลสตรี กุมารีทั้งหลาย ให้อยู่โดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ
6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
7. จัดให้ความอารักขาคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้หมายความรวมถึงบรรพชิตผู้ดำรงธรรมเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนทั่วไปด้วย) โดยตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วขอให้โดยผาสุกด้วยการมีความสะอาดสะอ้าน บูรณปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง

หาจุดเด่นของวัดและสร้างจุดเด่นเพื่อเป็นจุดขาย ส่งผลให้เป็น Soft Power ของพื้นที่ จนในที่สุดถือว่าเป็น Soft Power ของประเทศเลยทีเดียว ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สามารถนำมาพัฒนามาเป็นต้นแบบ ทั้งการพัฒนา การเป็นแหล่งท่องเที่ยว การศึกษา เมื่อเชื่อมั่นว่าการพัฒนารูปแบบนี้จะทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองอย่างไร้ขีดจำกัด




สำหรับรายชื่อคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนา การอนุรักษ์พัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 15 – 16 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย

1. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการ
2. นายปิยชาติ รุจิพรวศิน รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง
3. นายษฐา ขาวขำ โฆษกคณะกรรมาธิการ
4. นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ โฆษกคณะกรรมาธิการ
5. นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรรมาธิการ
6. นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการ
7. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมาธิการ
8. นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
9. นายคมสรรค์ สุนนทราช ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
10. นางณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
11. นายชุติพงศ์ พูนพล ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
12. พันตรี ประเสริฐ สายทองแท้ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
13. นายประสิทธิ์ โชติรัตน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
14. นายนเรนฤทธิ์ ทีปสว่าง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
15. นางสาวมาตา ขาวขำ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
16. นางสาวนรินทร์นิภา หาญคำอุ้ย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
17. นางสาวชนิษฎา กอหงษ์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
18. นางสาวชัญญา กรรณจนะศิลป์ ผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
19. นายศุภรัตน์ ศรีดีแก้ว วิทยากรชำนาญการพิเศษ
20. นายทีปกร มากเสมอ วิทยากรชำนาญการพิเศษ



Thank to : https://thebuddh.com/?p=78212
93  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “มจร” มอบพระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬา ฯ แก่ “มธ.” เพื่อกระชับสัมพันธ์เนื่องในปีมหามงคล เมื่อ: มีนาคม 16, 2024, 06:20:00 am
.



“มจร” มอบพระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬา ฯ แก่ “มธ.” เพื่อกระชับสัมพันธ์เนื่องในปีมหามงคล

วันที่ 15 มีนาคม 2567  ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มอบให้ พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการฝ่ายวางแผนและพัฒนา ปฎิบัติหน้าที่แทนในพิธีมอบพระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยมี รองอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้า นิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมพิธี  โดยมี รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ ร่วมรับมอบ

พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวว่า วันนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยการดำเนินการของรองอธิการการบดีฝ่ายต่างประเทศ พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน ประธานคณะกรรมการดำเนินงานมอบพระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฺฉลิมพระเกียรติให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยท่านอธิการบดีเดินทางมารับด้วยตนเอง พร้อมกับคณาจารย์ เจ้าหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พระไตรปิกฎที่มอบให้ในวันนี้ สืบเนื่องด้วยปีนี้เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชมนมายุครบ 72 พรรษา ในวโรการปีมหามงคลนี้ประชาคมชาวมหาจุฬา ได้จัดกิจกรรมทั้งทางด้านวิชาการ จิตอาสา ทั้งด้านอื่น ๆ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และเพื่อเทิดทูนสถานชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ในปีมหามงคล

ในการมอบพระไตรปิฏกในครั้งนี้ เป็นฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นพระไตรปิฎก ที่ครูบาอาจารย์ ขอมหาจุฬา  ฯที่นำโดย พระเดชพระคุณ ศาตราจารย์ ดร.พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีเป็นบรรณาธิการใหญ่ ในการแปลจากภาษาลี ซึ่งเป็นต้นฉบับ มาสู่ภาษาไทย

เป็นฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาค พระราชอิสริยยศของสมเด็จพระพันปีหลวง ในสมัยนั้น เป็นพระไตรปิฏกที่ได้รับการพูดถึงว่าอ่านแล้วเข้าใจง่าย แปลสำนวนที่ไม่ทิ้งของเดิม ไม่ทิ้งภาษาบาลี เป็นภาษาร่วมสมัย อ่านแล้วเข้าใจง่ายที่สุดฉบับหนึ่ง






    “เบื้องต้นนี้จึงเจริญพรเรียนท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขอมอบพระไตรปิฏกฉบับสำคัญนี้ ที่ลงทุนด้วยสติปัญญาและความอดทน ต่อประชาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไว้ ในวโรกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    นอกจากนั้น ที่ผ่านมาระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาตลอด มีความสัมพันธ์ทั้งด้านสถานที่ วิชาการ กิจกรรมด้านอื่น ๆ มากมาย ในเบื้องต้นนั้น ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มีความเคารพนับถือใกล้ชิดกับบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ท่านเป็นผู้สร้าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคเริ่มต้น เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียง คือ พระพิลธรรม หรือ หลวงพ่ออาจ ประวัติศาสตร์บอกว่า ท่านสองนี้เป็นกัลยาณมิตรกัน ไปมาหาสู่กัน ปรึกษาหารือกัน และทั้งคู่เป็นผู้ที่มีความคิดล้ำสมัยตั้งแต่นั้น อันนี้ประการที่หนึ่ง

    ส่วนประการที่สอง เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับ พระราชวรมุนี ปัจจุบันคือ พระพรหมบัณฑิต  ซึ่งท่านมีตำแหน่งทางวิชาการคือศาสตราจารย์ และเป็นศาสตราจารย์รูปแรกของ มจร ซึ่งตอนนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากในคณะสงฆ์ที่มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยเห็นความสำคัญของพระภิกษุสงฆ์ 

    ส่วนเรื่องที่สามคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดกว้างทางวิชาการ ระยะแรกๆ  พระภิกษุ สามเณรจะไปศึกษามหาวิทยาลัยยากมาก แต่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแรก ๆ ที่เปิดกระตู่กว้างให้กับพระภิกษุสามเณร ที่เรียกว่าเป็นเสรีภาพทางวิชาการ ใครก็ตามมีคุณสมบัติพร้อมก็มีสิทธิเรียน พวกเราพระภิกษุสามเณรที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็มีทางเลือกมากขึ้น  ซึ่งแต่เดิมไปได้เฉพาะอินเดีย เท่านั้น

ในนามพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาจุฬา และชาวประชาคมมหาจุฬา ทั้งส่วนกลาง วิทยาลัยเขต 11 แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ 28 แห่ง หน่วยวิทยบริการ 4 แห่ง และสถาบันสมทบในต่างประเทศ 5 แห่ง ขอมอบพระไตรปิฏกฉบับเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในปีมหามงคล 6 รอบ 72 พรรษา แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไปศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาดังที่กล่าวมาแล้ว..”






ด้าน รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์น กล่าวว่า “ในนามของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันนี้รู้สึกยินดีปลาบปลื้มเป็นมาก ๆ ที่ได้มีพิธีกรรมที่น่าเลื่อมใส อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง เป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับมอบพระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมีโอกาสรับมอบพระไตรปิฏกในวันนี้

สืบเนื่องจากการที่ทั้งสองสถาบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีความร่วมมือกันทางวิชาการ การศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการวิชาการ ซึ่งสื่อให้เห็นถึงมิตรสัมพันธ์ ไมตรีทั้ง สองมหาวิทยาลัย ที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันมาอันยาวนาน

สุดท้ายขอของกราบขอบพระคุณ พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยทาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเก็บพระไตรปิฏกฉบับนี้ ไว้เป็นสื่อ เพื่อศึกษา ค้นคว้า ให้กับคณาจารย์ นักศึกษา บุคคลากร ตลอดจนประชาชน หรือผู้สนใจ ได้ศึกษาต่อไป..”





Thank to : https://thebuddh.com/?p=78198
94  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “กมธ.ศาสนาฯสภาฯ” ลงพื้นที่เมืองคอน พร้อมหนุนวัดพระมหาธาตุเป็นมรดกโลก เมื่อ: มีนาคม 16, 2024, 06:09:26 am
.



“กมธ.ศาสนาฯสภาฯ” ลงพื้นที่เมืองคอน พร้อมหนุนวัดพระมหาธาตุเป็นมรดกโลก

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะกรรมาธิการ เข้ากราบสักการะพระธรรมวชิรกร เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16,17,18 (ธรรมยุต) พระธรรมวชิรกรได้ให้โอวาทและฝากผลักดันให้วัดพระมหาธาตุ ที่มีการผลักดันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมาเป็นเวลานาน ให้ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วย หลังจากนั้นคณะกรรมาธิการได้ลงพื้นที่เข้าชมบริเวณโดยรอบของวัดพระมหาธาตุ พร้อมทำพิธีห่มผ้าพระธาตุฯ

สำหรับรายชื่อคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนา การอนุรักษ์พัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 15 – 16 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย

1. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการ
2. นายปิยชาติ รุจิพรวศิน รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง
3. นายษฐา ขาวขำ โฆษกคณะกรรมาธิการ
4. นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ โฆษกคณะกรรมาธิการ
5. นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรรมาธิการ
6. นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการ
7. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมาธิการ
8. นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
9. นายคมสรรค์ สุนนทราช ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
10. นางณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
11. นายชุติพงศ์ พูนพล ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
12. พันตรี ประเสริฐ สายทองแท้ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
13. นายประสิทธิ์ โชติรัตน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
14. นายนเรนฤทธิ์ ทีปสว่าง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
15. นางสาวมาตา ขาวขำ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
16. นางสาวนรินทร์นิภา หาญคำอุ้ย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
17. นางสาวชนิษฎา กอหงษ์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
18. นางสาวชัญญา กรรณจนะศิลป์ ผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
19. นายศุภรัตน์ ศรีดีแก้ว วิทยากรชำนาญการพิเศษ
20. นายทีปกร มากเสมอ วิทยากรชำนาญการพิเศษ




จากนั้น คณะกรรมาธิการเข้ารับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์ และพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย รวมทั้งการดำเนินงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนให้พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชเป็นมรดกโลกจากผู้แทนส่วนราชการ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย

1.) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
2.) ผู้อำนวยการกองโบราณคดี นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน
3.) ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช
4.) วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
5.) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ในจุดเด่นของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร คือพระมหาธาตุเจดีย์ซึ่งมีความสูง 37 วา 2 ศอก 1 คืบ (55.99 เมตร) นอกจากนี้ยังมีวิหารสำคัญหลายหลัง เช่น

    1.) พระวิหารหลวง สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรม กษัตริย์แห่งอยุธยา ต่อมาวิหารทรุดโทรมลง เจ้าพระยานครศรีธรรมราช สมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ใน พ.ศ. 2354 ถึง พ.ศ. 2382 วิหารหลังนี้จึงมีคุณค่าในแง่ของการ สืบทอดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์จากสมัยอยุธยา
    2.) วิหารธรรมศาลาและวิหารพระด้าน สันนิษฐานว่าวิหาร สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1919 เพื่อทำหน้าที่เป็นวิหารทิศตะวันออก และทำหน้าที่เป็นศาลาอเนกประสงค์ และการเทศนาธรรม ส่วนวิหารคดสร้างขึ้นภายหลังเพื่อล้อมรอบผังทำให้เกิดพื้นที่เขต พุทธาวาส และเป็นขอบเขตของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์
    3.) พระมหาธาตุเจดีย์และเจดีย์ราย เป็นการสถาปนา พระมหาธาตุเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเจดีย์รายทรง ระฆังที่มีจำนวนมากที่สุดในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ ที่ฐานเจดีย์มีวิหาร ทับเกษตรซึ่งมีช้างล้อม ถือเป็นมหาสถูปที่สร้างตามคติพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์
    4.) วิหารพระทรงม้าและวิหารเขียน วิหารพระทรงม้า เป็นวิหารที่อยู่ต่อจากวิหารเขียน มีหลังคาคลุมบันไดขึ้นสู่ลาน ประทักษิณขององค์พระมหาธาตุเจดีย์ ภายในมีประติมากรรม ปูนปั้นตอนออกบรรพชาอุปสมบท (มหาภิเนษกรมณ์) ที่งดงามยิ่ง
    5.) วิหารโพธิ์ลังกา เป็นสถาปัตยกรรม สัญลักษณ์ พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยนำหน่อต้น พระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้มาปลูกไว้กลางวิหาร

คุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร Outstanding Universal Value (OUV) of Wat Phra Mahathat Woramahawihan วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารมีคุณค่าอันโดดเด่นสอดคล้องตามเกณฑ์ที่ศูนย์มรดกโลกกำหนดไว้ในเกณฑ์ข้อ i และ vi ดังนี้

    เกณฑ์ข้อ (i) แสดงออกถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่า ของมนุษย์ตามกาลเวลาในพื้นที่วัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง ของโลกในแง่สถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี ศิลปะที่คงทน ถาวร ผังเมืองและการออกแบบภูมิทัศน์ และ
    เกณฑ์ข้อ (vi) มีความสัมพันธ์โดยตรงหรือเห็นสัมพันธ์เชิง รูปธรรม กับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังคงอยู่ กับความคิด หรือความเชื่อ หรืองานศิลปะและวรรณกรรมที่มีความสำคัญและ มีความโดดเด่นเป็นสากล




สำหรับกรอบเวลาที่คาดว่าจัดทำเอกสารนำเสนอเป็นมรดกโลก (Nomination Dossier) มีดังนี้

    5 ม.ค. 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเอกสาร Nomination Dossier ถึงอธิบดีกรม (เพื่อเสนอต่อคณะทำงานของกระทรวงวัฒนธรรม)
    1 ก.พ. 2567 รับผลการตรวจแก้แนะนำเอกสาร Nomination Dossier
    1 มี.ค. 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเอกสาร Nomination Dosser (ฉบับภาษาไทย) ที่แก้ไขแล้ว ถึงคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพื่อพิจารณาความถูกต้อง
    1 เม.ย. 2567 แปลและพิมพ์ต้นฉบับ (ภาษาอังกฤษ) + ภาคผนวก
    1 มิ.ย. 2567 ส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญา คุ้มครองมรดกโลกเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    15 มิ.ย. 2567 ส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบ และลงนามใน ฐานะผู้แทนรัฐภาคี
    30 ก.ย.2567 รัฐบาลไทยส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังองค์การยูเนสโกเพื่อรับการพิจารณา
    15 พ.ย. 2567 สำนักเลขานุการศูนย์มรดกโลกตอบรัฐภาคีในเรื่องข้อคิดเห็นและการพิจารณาทบทวนร่าง แฟ้มเอกสารนำเสนอ โดยระบุถึงข้อมูลที่ยังขาดตกบกพร่องและจุดผิดพลาดที่จะต้องแก้ไข ให้ถูกต้อง
    1 ก.พ. 2568 วันสุดท้ายของการได้รับแฟ้มเอกสารนำเสนอ (Nomination Dossier) ที่สมบูรณ์ใน การพิมพ์ตามรูปแบบ เพื่อส่งต่อไปยังองค์กรที่ปรึกษา (Advisory Bodies) ที่เกี่ยวข้องทำการประเมิน

อย่างไรก็ตามนางเทียบจุฑา กล่าวว่า กรรมาธิการใน รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา129 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ รวมถึงการสอบหาข้อเท็จจริงนั้น ตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมพร้อมสนับสนุน วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ขึ้นเป็นมรดกโลก(World Heritage) ของ UNESCO ในประเทศไทย อันจะเป็น Soft power ของไทยต่อไป




Thank to : https://thebuddh.com/?p=78190
95  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / หญิงเป็นนาย ชายเป็นบ่าว อยากมีลูก ไม่อยากมีผัว เมื่อ: มีนาคม 16, 2024, 05:55:34 am
.



หญิงเป็นนาย ชายเป็นบ่าว อยากมีลูก ไม่อยากมีผัว

อยู่ก่อนแต่ง เป็นประเพณีดั้งเดิมของอุษาคเนย์รวมทั้งไทย มีเหตุจาก “หญิงเป็นนาย ชายเป็นบ่าว” [หมายถึงหญิงมีอำนาจสูงกว่าชาย (ชายมีอำนาจบ้าง แต่ต่ำกว่าหญิง) เป็นคำคล้องจองของตระกูลไท-ไต มีมาแต่ยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์]

เมื่อชายเป็นบ่าวรับใช้บ้านหญิง เพื่อหวังจะแต่งงานเป็นผัวเมียต่อไปข้างหน้า ต้องยอมเป็นบ่าวไปจนกว่าเครือญาติฝ่ายหญิงจะยอมรับ ซึ่งใช้เวลานานเป็นปีๆ หรือหลายปีก็ได้ เช่น 5 ปี 10 ปีก็มี ระหว่างนี้สังคมยุคนั้นยอมให้ “อยู่ก่อนแต่ง” แล้วมีลูกก็ได้

@@@@@@@

อยากมีลูก ไม่อยากมีผัว

“อยากมีลูก แต่ไม่อยากมีผัว” และ “ลูกรู้จักแม่ แต่ไม่รู้จักพ่อ” น่าจะเป็นร่องรอยวิถีชีวิตดั้งเดิมของอุษาคเนย์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว ที่ยกย่องหญิงเป็นใหญ่ในพิธีกรรม (สมัยหลังเรียกเรียกแม่, เม)

หมัวซัวเป็นชื่อชนเผ่าหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนานในจีน ฝ่ายชายจะไปที่บ้านหญิงคนรักแล้วนอนค้างคืนด้วยกัน พอรุ่งเช้าฝ่ายชายก็กลับบ้านของตน

ในเอกสารจีนโบราณ (หมานซู) ระบุว่าบริเวณนี้ลงไปทางใต้จรดทะเล ราว 2,000 ปีมาแล้ว เป็นหลักแหล่งของชนเผ่าร้อยพ่อพันแม่

ยาย เป็นใหญ่สุดในครอบครัว ที่มีสมาชิกราว 40-50 คน

แม่ เป็นผู้มีอำนาจบริหารจัดการงานทุกอย่างในครอบครัว (ซึ่งประกอบด้วย ลุง, ป้า, น้า และเจ๊ๆ หลายคน)

ส่วนลุงและน้าชายมีหน้าที่ทำงานก่อสร้างซ่อมแซมเรือนและเครื่องมือเครื่องใช้

ไม่มีพ่อ ไม่รู้จักพ่อจริงๆ และไม่มีศัพท์คำว่า พ่อ, ผัว เป็นพยานการสืบสกุลทางฝ่ายหญิง เพราะหญิงเป็นเจ้าของบ้าน

@@@@@@@

หญิงเป็นนาย ชายเป็นบ่าว

คําคล้องจองเก่าแก่ว่า “หญิงเป็นนาย ชายเป็นบ่าว” มีมาครั้งไหน? ไม่มีใครบอกได้

แต่แสดงให้เห็นว่าสังคมดั้งเดิมของคนดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ หญิงมีอำนาจสูงกว่าชาย (ชายมีอำนาจบ้างเหมือนกัน แต่มีต่ำกว่าหญิง) แล้วเป็นรากเหง้าให้เรียกหญิงชายในพิธีแต่งงานว่า เจ้าสาว-เจ้าบ่าว

“เอาแฮงโต๋ ต่างควายนา” เป็นภาษาลื้อ (สิบสองพันนา) ถอดเป็นคำไทยว่า เอาแรงตัว ต่างควาย

เป็นคำพังเพยเพื่อจะอธิบายว่าประเพณีลื้อ เมื่อหญิงชายจะแต่งงานเป็นผัวเมียกัน ชายต้องไปทำงานรับใช้พ่อแม่ปู่ย่าตายายที่อยู่บ้านฝ่ายหญิง ต้องใช้แรงตัวเองของชาย ทำงานเหมือนควายให้ฝ่ายหญิง

ชาวขมุ ถือว่าบ้านไหนมีลูกสาว บ้านนั้นมั่งคั่งร่ำรวย เพราะต่อไปจะมีบ่าว คือชายมารับใช้ทำงานทำไร่ไถนาเพื่อเป็นเขย (อย่างนี้ทางปักษ์ใต้เรียก เขยอาสา ทางอีสานเรียก เขยสู่)

เมื่อชายเป็นบ่าวรับใช้บ้านหญิง เพื่อหวังจะแต่งงานเป็นผัวเมียต่อไปข้างหน้า ต้องยอมเป็นบ่าวรับใช้ไปจนกว่าเครือญาติฝ่ายหญิงจะยอมรับ ซึ่งต้องใช้เวลานานเป็นปีๆ หรือหลายปีก็ได้ เช่น 5 ปี 10 ปีก็มี

ระหว่างนี้สังคมยุคนั้นยอมให้ “อยู่ก่อนแต่ง” ได้ แล้วมีลูกก็ได้ แต่ต้องเป็นบ่าวไพร่อยู่ในโอวาทฝ่ายหญิง จะทำขึ้นเสียงไม่ได้

นาง แปลว่า หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่ ใช้กับเพศหญิง (มีความหมายอย่างเดียวกับนายที่ใช้กับเพศชาย)

สาว หมายถึงวัยรุ่นหญิง หนุ่ม หมายถึงวัยรุ่นชาย

เจ้าสาว หมายถึงหญิงที่เข้าพิธีแต่งงาน เจ้าบ่าว หมายถึงชาย (ซึ่งเป็นหนุ่ม) ที่เข้าพิธีแต่งงาน แต่ไม่เรียกเจ้าหนุ่ม ต้องเรียกเจ้าบ่าว เพราะต้องทำงานรับใช้เป็นขี้ข้าในบ้านสาว

ในพิธีส่งเข้าหอ เจ้าบ่าวต้องเดินเกาะหลังเจ้าสาวที่เดินนำหน้า (มีตำนานบันทึกในราชพงศาวดารกัมพูชา)

แล้วต้องเป็นเขยอยู่บ้านเจ้าสาว เพราะเจ้าสาวเป็นผู้รับมรดกบ้านกับที่ดิน และสืบสายตระกูล เจ้าบ่าวต้องรับใช้ในบ้านเจ้าสาวตลอดไป



เจ้าบ่าวต้องไปไหว้ผีและเคารพญาติของฝ่ายเจ้าสาวในพิธีแต่งงานของไทดำ หรือชาวโซ่งที่ จ.สุพรรณบุรี (ภาพเมื่อ พ.ศ.2549)

ฉุด, หนีตาม

หญิงสาวชายหนุ่มรักใคร่ชอบพอกัน แต่ฝ่ายชายยากจน ไม่มีสินสอดพอจะสู่ขอแต่งงานได้ตามประเพณี หรือถูกกีดกันจากพ่อแม่เครือญาติฝ่ายหญิง

มีทางออกให้เลือก คือ ฉุด หรือ หนีตาม เพื่อรวบรัดเป็นผัวเมียกันก่อน แล้วฝ่ายชายจัดพิธีเสียผีขอขมาทีหลัง

ฉุด หมายถึงชายฉุดหญิงไปทำเมีย โดยทั่วไปเข้าใจกันด้านเดียวว่าชายใช้ความรุนแรงตามอำเภอใจฉุดหญิง แต่ในความจริงมักเกิดจากหญิงชายนัดแนะรู้กัน โดยหญิงเต็มใจไปในที่ให้ชายฉุด ส่วนที่ชายหักหาญตามอำเภอใจ เพราะหญิงไม่ชอบชายก็มีไม่น้อย

หนีตาม หมายถึงหญิงหนีพ่อแม่ตัวเองไปอยู่กับชายเป็นผัวเมีย เพราะพ่อแม่ไม่ยอมให้แต่งงาน ซึ่งมีคำชาวบ้านนินทาฝ่ายหญิงว่า “หอบผ้าผ่อนหนีตามผู้ชาย” เพราะร่านและแรดอยากมีผัว แต่พ่อแม่เครือญาติฝ่ายหญิงจะแก้ตัวว่าลูกสาวถูกฉุด

@@@@@@@

แต่งงาน

แต่งงาน หมายถึงพิธีเสียผีที่ฝ่ายชายขอขมาพ่อแม่ฝ่ายหญิงที่ฉุดลูกสาวเขาไปร่วมเพศทำเมียโดยมิได้สู่ขอ เมื่อพ่อแม่รวมทั้งเครือญาติฝ่ายหญิงและชุมชนยอมรับ จะได้อยู่กินเป็นผัวเมียมีลูกเต้าต่อไปตามปกติ [มีรายละเอียดในหนังสือ ปลูกเรือน-แต่งงาน ของเสฐียรโกเศศ สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2507 หน้า 110-121]

ครั้นนานเข้าก็เพิ่มเติมรายการอันเป็นมงคลต่างๆ จนไม่เหลือเค้าดั้งเดิม



เสาสลักรูปนมสองเต้าของ “ลองเฮาส์” คือบ้านยาวของหญิงที่แสดงวัฒนธรรมนับถือผู้หญิงเป็นใหญ่ของชาวเอเด (เรอแดว) บริเวณที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนาม

ท้องแรก, ท้องก่อนแต่ง

ท้องก่อนแต่ง หมายถึงหญิงกับชายมีเซ็กซ์ก่อนแต่งงานเป็นทางการ แล้วฝ่ายหญิงตั้งท้องอ่อนๆ เลยต้องรีบจัดพิธีแต่งงานตามประเพณีให้เป็นที่รู้ทั่วกัน

เมื่อครบกำหนดคลอดลูก บางทีมีชาวบ้านจับผิด แล้วนินทาว่าเพิ่งแต่งงานไม่กี่เดือน ทำไมคลอดเร็วนัก น่าสงสัย?

ผู้ใหญ่ที่มีเมตตาและรู้เท่าทันจะชิงอธิบายตัดบทว่า “ท้องแรกก็เป็นธรรมดาอย่างนี้ทั้งนั้นแหละ ไม่มีใครครบเก้าเดือนหรอก เด็กในท้องมันดิ้นเร็ว”

ก็มีเซ็กซ์กันจนท้องก่อนแต่งเป็นปกติ ไม่เห็นจะต้องงง

@@@@@@@

ชายอยู่บ้านหญิง หลังแต่งงาน

เมื่อเลือกชายขยันทำมาหากินได้ถูกใจ ครอบครัวฝ่ายหญิงก็ให้มีพิธีแต่งงาน แล้วขยายเรือนมีครัวให้อยู่กินออกไปต่างหาก เรียก “แยกครัว” เพราะทำใหม่เพิ่มเฉพาะครัว แต่ตัวเรือนอยู่รวมกันลักษณะเรือนยาว (หรือ “ลองเฮาส์”) สมัยหลังถึงแยกเรือนอีกหลังหนึ่ง

หมายความว่าโดยประเพณีแล้วชายต้องอยู่บ้านหญิง เรียก “แต่งเขยเข้าบ้าน” เท่ากับคนเป็นผัวต้องสงบปากสงบคำ เพราะอยู่ท่ามกลางเครือญาติของเมีย ถ้าโหวตเมื่อไรผัวก็แพ้เมียวันยังค่ำ

เหตุมาจากหญิงเป็นผู้รับมรดกจากครอบครัว เป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน แล้วเป็นผู้สืบตระกูล ไม่ใช่ชาย •


 


ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 8 - 14 มีนาคม 2567
คอลัมน์ : สุจิตต์ วงษ์เทศ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_751932
96  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทัศนคติชนชั้นนำสยามต่อลาวล้านนา จากดูหมิ่น-เหยียด ก่อนยอมรับเป็นพวกเดียวกัน เมื่อ: มีนาคม 16, 2024, 05:38:13 am
.

คนเมือง หรือลาวล้านนา หยุดพักระหว่างเดินทาง ภาพถ่ายราว พ.ศ. 2469 (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ อ้างใน สุรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 10. สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2557)


ทัศนคติชนชั้นนำสยามต่อลาวล้านนา จากดูหมิ่น-เหยียด ก่อนยอมรับเป็นพวกเดียวกัน

เผยทัศนคติชนชั้นนำของ สยาม ต่อ ลาว ลาวล้านนา จากดูหมิ่น-เหยียด ก่อนยอมรับเป็นพวกเดียวกันในอดีตคำว่า “ลาว” ใช้เรียกกลุ่มคน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ทางสองฝั่งของแม่น้ำโขง

ทัศนคติของผู้คนในสมัยอยุธยามีต่อคนลาวในล้านนา คือ รับรู้ว่าเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งที่เป็นคู่สงครามกัน จึงมีทัศนคติแสดงการดูหมิ่นเกลียดชัง

ในสมัยธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์ ชนชั้นนำของลาวในล้านนาและสยามได้ร่วมมือกันขับไล่กองทัพพม่า หลังช่วยเหลือล้านนาสำเร็จ สยามจึงแต่งตั้งเจ้าเมืองล้านนาเป็นเจ้าประเทศราชเพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านในการสืบข่าวและป้องกันศึกจากพม่า แม้ว่าชนชั้นนำของสยามจะเปลี่ยนท่าทีต่อคนลาวในล้านนาในทิศทางที่ดีต่อกันมากขึ้น แต่ทัศนคติที่ดูถูกความเป็นลาวว่ามีฐานะทางการเมืองต่ำต้อยกว่ายังคงปรากฏอยู่



ตลาดใน “ล้านนา” ภาคเหนือของ สยาม

ถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ชนชั้นนำของสยามยังคงมีทัศนคติต่อคนลาวในล้านนาในเชิงดูถูกเหยียดหยาม โดยมองว่าสยามมีความเหนือกว่าทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ส่วนลาวด้อยกว่าในทุก ๆ ด้าน ดังที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แม่ทัพใหญ่กองทัพสยามในศึกเชียงตุง วิจารณ์ว่า ลาวมีนิสัยสันดาน 3 ประการ คือ

   “…เป็นแต่อยากได้ของเขา ไม่อยากเสียของให้แก่ใคร กับเกียจคร้านเท่านั้น เหมือนกันตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ตลอดไปทุกบ้านทุกเมือง ไม่เหมือนชาติภาษาอื่น ๆ ที่จะต่ำช้าเหมือนภาษาลาวไม่มี ไม่รักชาติรักสกุล ถ้าใครให้เงินสักสองชั่งสามชั่งขอบุตรเจ้าเมืองอุปราชราชวงษ์เปนภรรยาก็ได้ ไม่ว่าไพร่ว่าผู้ดี ไม่ถือว่าจีนว่าไทย เอาแต่มีเงิน ถ้าใครได้บุตรเจ้าเปนภรรยาแล้วก็ยกย่องคนนั้นขึ้นเป็นเจ้าด้วย ลาวไม่มีสติปัญญาตรึกตราระวังหลังหามิได้”

ลาวในที่นี้เป็นคนลาวในล้านนาที่มีวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าสยามหรือไทย โดยชนชั้นนำสยามรับรู้ว่าคนลาวด้อยกว่า และมีนิสัยที่ไม่ดี ขี้เกียจ ขี้ขลาด อยากได้ของของผู้อื่น และไม่อยากเสียของของตน

@@@@@@@

ทั้งนี้ ความเป็นลาวและการรับรู้ความเป็นลาวไม่ได้เกิดขึ้นอย่างลอย ๆ แต่เกิดภายใต้เงื่อนไขของพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของสยาม ที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจเข้าสู่การค้าในระบบตลาดตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านโลกทรรศน์ของชนชั้นนำของสยาม จนทำให้เกิดมุมมองต่อความเป็นลาวว่าด้อยกว่าความเป็นไทย เพราะความเป็นลาวหรือหัวเมืองลาวล้านนายังอยู่ในระบบการผลิตเพื่อยังชีพอยู่ มิใช่การผลิตเพื่อขายหรือส่งออกอย่างสยาม ทำให้โลกทรรศน์และระบบคิดยังอยู่ในระบบจารีต จึงถูกรับรู้ว่าด้อยกว่า สยาม

ดังปรากฏในหนังสือกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 4 ของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ว่า

    “…พวกลาวนายหนึ่งคุมไพร่ร้อยหนึ่งสองร้อยก็จริง ก็แต่ว่าขี้ขลาดนัก ได้ยินเสียงปืนหนาไม่ได้ หลีกเลี่ยงหลบเหลี่ยมไป…”

หรือ“…นิสัยลาวมากไปด้วยความเกียจคร้านโดยธรรมดาประเพณีบ้านเมือง ถึงจะทำไร่นาสิ่งใด ถ้าแดดร้อนเข้าต้องหยุดก่อน ต่อเย็นจึงจะทำ เดินทางสายน่อยหนึ่งก็ต้องหยุด เย็น ๆ จึงจะไป ไม่ได้รับความลำบากยากเลย…

ครั้นพระยาราชสุภาวดี…ขึ้นไปอยู่เมืองน่านครั้งก่อน ลาวก็บ่นแทบทุกคน ว่าต้องเสียเงินเสียทองเป็นเบี้ยเลี้ยงแทบจะหมดบ้านหมดเมือง…ด้วยนิไสยสันดานลาวนั้นมีอยู่ 3 อย่าง เปนแต่อยากได้ของเขา ไม่อยากเสียของให้แก่ใคร กับเกียจคร้านเท่านั้น เหมือนกันตั้งแต่เมืองเชียงใหม่ตลอดไปทุกบ้านทุกเมือง…”



การค้าขายที่ถนนท่าแพสมัยก่อนที่จะมีตลาดวโรรสและตลาดต้นลำไย ซ้ายมือเป็นรั้วคุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

อย่างไรก็ตาม หลังการรุกคืบของจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้สยามเสียสิทธิครอบครองพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงใน พ.ศ. 2436 สมัยรัชกาลที่ 5 ชาติตะวันตกล่าอาณานิคมแข่งกับสยามอย่างดุเดือน นั่นทําให้ชนชั้นนำของสยามเปลี่ยนท่าที และได้สร้างการรับรู้ใหม่ว่าคนลาวในล้านนา (รวมถึงคนลาวในหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง) เป็นคนไทยเช่นเดียวกันกับคนสยาม

ทั้งนี้ สยามพยายามใช้วิธีผูกใจเจ้านายในหัวเมืองลาวทั้งหลาย โดยหวังผลให้ราษฎรเข้ากับฝ่ายสยามเพื่อป้องกันการขยายอิทธิพลจากชาติตะวันตก

แม้จะมีความพยายามจะหมายรวมให้ “ลาว” กลายเป็น “ไทย” แต่ทัศนคติที่มองว่าคนลาวในล้านนาเป็นคนแปลกแยกจากต่างถิ่นและต่ำต้อยกว่ายังคงปรากฏอยู่ ดังเห็นได้จากกรณี พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งเข้ามาถวายตัวใน พ.ศ. 2429 ยังได้รับการดูหมิ่นเช่นกัน โดยต่างพากันเรียกตําหนักของพระองค์ว่า “ตําหนักเจ้าลาว” ซึ่งคําเรียกดังกล่าวมีนัยยะของการดูถูกเหยียดหยามร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์กบฏเงี้ยว (รวมถึงกบฏผู้มีบุญในภาคอีสาน) ชนชั้นนำของสยามจึงพยายามปรับเปลี่ยนนโยบายในการปกครองใหม่ โดยสร้างคำอธิบายว่าคนลาวในล้านนาเป็นกลุ่มคนชาติพันธุ์เดียวกันกับคนสยาม อีกทั้งวางรากฐานการสอนหนังสือไทยเพื่อชักจูงให้คนลาวมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสยาม ฯลฯ

อ่านเพิ่มเติม :-

    • “ลาวแพน” เพลงการเมืองเก่าแก่ ถากถางเยาะเย้ยเชลย “ลาว”
    • “แขก แม้ว แกว เจ๊ก” ที่มา-ความหมาย คำเรียกชาติพันธุ์เชิง “เหยียด”
    • สำเนียง คน “กรุงเทพฯ” (บางกอก) เคยถูกเหยียดว่า “บ้านนอก” สมัยนี้เหยียดสำเนียงอื่นแทน





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 ตุลาคม 2564
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_76398

อ้างอิง :-
- เนื้ออ่อน ขวัรทองเขียว. (มกราคม 2556). การรับรู้และทัศนคติของไทยต่อคำว่า “ลาว”. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 34 : ฉบับที่ 3.
- ชัยพงษ์ สำเนียง. (กรกฎาคม, 2558). “ประวัติศาสตร์ของ ‘กบฏ’ ‘กบฏ’ ของประวัติศาสตร์” : กบฏเงี้ยวเมืองแพร่. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 36 ฉบับที่ 9.
97  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เรื่องพระนังคลกูฏเถระ | จงเตือนตนด้วยตนเอง | จงพิจารณาดูตนด้วยตนเอง เมื่อ: มีนาคม 15, 2024, 09:42:29 am
.



๑๐. นังคลกูฏเถรวัตถุ : เรื่องพระนังคลกูฏเถระ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕, พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)

[๓๗๙] ภิกษุ เธอจงเตือนตนด้วยตนเอง  จงพิจารณาดูตนด้วยตนเอง
          ถ้าเธอคุ้มครองตนเองได้แล้ว  มีสติ เธอก็จักอยู่เป็นสุข

[๓๘๐] ตนแล เป็นที่พึ่งของตน  ตนแล เป็นคติ(๑-) ของตน
          เพราะฉะนั้น เธอจงสงวนตน(๒-) ให้ดี  เหมือนพ่อค้าม้าสงวนม้าพันธุ์ดี ฉะนั้น


@@@@@@@

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ภาษาบาลี อักษรไทย
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตฺต. ขุ. ขุทฺทกปาฐ-ธมฺมปทคาถา-อุทานํ-อิติวุตฺตก-สุตฺตนิปาตา


|๓๕.๓๗๙| อตฺตนา โจทยตฺตานํ  ปฏิมํเสตมตฺตนา
               โส อตฺตคุตฺโต สติมา  สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ ฯ

|๓๕.๓๘๐| อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ  อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
               ตสฺมา สญฺญม อตฺตานํ   อสฺสํ ภทฺรํว วาณิโช ฯ


เชิงอรรถ :-
(๑-) เป็นคติ หมายถึง เป็นที่พำนัก หรือเป็นสรณะ (ขุ.ธ.อ. ๘/๘๒)
(๒-) สงวนตน หมายถึง ป้องกันการเกิดอกุศลกรรมที่ยังไม่เกิดในตน (ขุ.ธ.อ. ๘/๘๒)




ขอบคุณที่มา :-
- https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=25&siri=34
- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=35&items=1





๑๐. เรื่องพระนังคลกูฏเถระ [๒๖๑]       
       


ข้อความเบื้องต้น     
         
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนังคลกูฏเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อตฺตนา โจทยตฺตานํ" เป็นต้น.

คนเข็ญใจบวชในพระพุทธศาสนา     
         
ดังได้สดับมา มนุษย์เข็ญใจผู้หนึ่ง ทำการรับจ้างของชนเหล่าอื่นเลี้ยงชีพ. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นเขานุ่งผ้าท่อนเก่า แบกไถ เดินไปอยู่ จึงพูดอย่างนี้ว่า : "ก็เธอบวช จะไม่ประเสริฐกว่าการเป็นอยู่อย่างนี้หรือ."             
มนุษย์เข็ญใจ : ใครจักให้กระผมผู้เป็นอยู่อย่างนี้บวชเล่าขอรับ.
ภิกษุ : หากเธอจักบวช, ฉันก็จักให้เธอบวช.
มนุษย์เข็ญใจ : "ดีละ ขอรับ, ถ้าท่านจักให้กระผมบวช กระผมก็จักบวช."
               
ครั้งนั้น พระเถระนำเขาไปสู่พระเชตวัน แล้วให้อาบน้ำด้วยมือของตน พักไว้ในโรงแล้วให้บวช ให้เขาเก็บไถ พร้อมกับผ้าท่อนเก่าที่เขานุ่ง ไว้ที่กิ่งไม้ใกล้เขตแดนแห่งโรงนั้นแล. แม้ในเวลาอุปสมบท เธอได้ปรากฏชื่อว่า "นังคลกูฏเถระ" นั่นแล.

ภิกษุมีอุบายสอนตนเองย่อมระงับความกระสัน   
         
พระนังคลกูฏเถระนั้นอาศัยลาภสักการะซึ่งเกิดขึ้นเพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เลี้ยงชีพอยู่ กระสันขึ้นแล้ว เมื่อไม่สามารถเพื่อจะบรรเทาได้ จึงตกลงใจว่า "บัดนี้ เราจักไม่นุ่งห่มผ้ากาสายะทั้งหลายที่เขาให้ด้วยศรัทธาไปละ"

     ดังนี้แล้ว ก็ไปยังโคนต้นไม้ ให้โอวาทตนด้วยตนเองว่า
    "เจ้าผู้ไม่มีหิริ หมดยางอาย เจ้าอยากจะนุ่งห่มผ้าขี้ริ้วผืนนี้ สึกไปทำการรับจ้างเลี้ยงชีพ (หรือ)."
     เมื่อท่านโอวาทตนอยู่อย่างนั้นแล จิตถึงความเป็นธรรมชาติเบา(คลายกระสัน) แล้ว.

ท่านกลับมาแล้ว โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน ก็กระสันขึ้นอีก จึงสอนตนเหมือนอย่างนั้นนั่นแล ท่านกลับใจได้อีก. ในเวลากระสันขึ้นมา ท่านไปในที่นั้นแล้ว โอวาทตนโดยทำนองนี้แล.
               
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านไปอยู่ในที่นั้นเนืองๆ จึงถามว่า
"ท่านนังคลกูฏเถระ เหตุไร ท่านจึงไปในที่นั้น."
ท่านตอบว่า "ผมไปยังสำนักอาจารย์ ขอรับ"
ดังนี้แล้ว ต่อมา ๒-๓ วันเท่านั้น (ก็)บรรลุพระอรหัตผล.
             
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะทำการล้อเล่นกับท่าน จึงกล่าวว่า : "ท่านนังคลกูฏะผู้หลักผู้ใหญ่ ทางที่เที่ยวไปของท่าน เป็นประหนึ่งหารอยมิได้แล้ว, ชะรอยท่านจะไม่ไปยังสำนักของอาจารย์อีกกระมัง"
พระเถระ : อย่างนั้น ขอรับ, เมื่อกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องยังมีอยู่ ผมได้ไปแล้ว แต่บัดนี้ กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ผมตัดเสียได้แล้ว เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่ไป.
               
ภิกษุทั้งหลายฟังคำตอบนั้นแล้ว เข้าใจว่า "ภิกษุนี่ พูดไม่จริง พยากรณ์พระอรหัตผล"
ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระศาสดา.

ภิกษุควรเป็นผู้เตือนตน        
     
พระศาสดาตรัสว่า "เออ ภิกษุทั้งหลาย นังคลกูฏะบุตรของเรา เตือนตนด้วยตนเองแล แล้วจึงถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิต" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

    ๑๐. อตฺตนา โจทยตฺตานํ  ปฏิมํเสตมตฺตนา
         โส อตฺตคุตฺโต สติมา  สุขํ ภิกฺขุ วิหาหิสิ.
         อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ  อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
         ตสฺมา สญฺญม อตฺตานํ  อสฺสํ ภทฺรํว วาณิโช.

         เธอจงตักเตือนตนด้วยตน จงพิจารณาดูตนนั้นด้วยตน,
         ภิกษุ เธอนั้นมีสติ ปกครองตนได้แล้ว จักอยู่สบาย.
         ตนแหละ เป็นนาถะของตน, ตนแหละ เป็นคติของตน
         เพราะฉะนั้น เธอจงสงวนตน ให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้า สงวนม้าตัวเจริญ ฉะนั้น.


@@@@@@@

แก้อรรถ               
               
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โจทยตฺตานํ ความว่า จงตักเตือนตนด้วยตนเอง คือจงยังตนให้รู้สึกด้วยตนเอง.
บทว่า ปฏิมํเส คือ ตรวจตราดูตนด้วยตนเอง.
               
บทว่า โส เป็นต้น ความว่า ภิกษุ เธอนั้นเมื่อตักเตือนพิจารณาดูตนอย่างนั้นอยู่ เป็นผู้ชื่อว่าปกครองตนได้ เพราะความเป็นผู้มีตนปกครองแล้วด้วยตนเอง เป็นผู้ชื่อว่ามีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว จักอยู่สบายทุกสรรพอิริยาบถ.
               
บทว่า นาโถ ความว่า เป็นที่อาศัย คือเป็นที่พำนัก (คนอื่นใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้) เพราะบุคคลอาศัยในอัตภาพของผู้อื่น ไม่อาจเพื่อเป็นผู้กระทำกุศลแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือเป็นผู้ยังมรรคให้เจริญแล้ว ทำผลให้แจ้งได้ เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า "คนอื่นชื่อว่าใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้."
บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า เหตุที่ตนแลเป็นคติ คือเป็นที่พำนัก ได้แก่เป็นสรณะของตน.
               
พ่อค้าม้าอาศัยม้าตัวเจริญ คือม้าอาชาไนยนั้น ปรารถนาลาภอยู่ จึงเกียดกันการเที่ยวไปในวิสมสถาน (ที่ไม่สมควร) แห่งม้านั้น ให้อาบน้ำ ให้บริโภคอยู่ ตั้งสามครั้งต่อวัน ชื่อว่าย่อมสงวน คือประคับประคองฉันใด,
               
แม้ตัวเธอ เมื่อป้องกันความเกิดขึ้นแห่งอกุศลซึ่งยังไม่เกิด ขจัดที่เกิดขึ้นแล้วเพราะการหลงลืมสติเสีย (ก็) ชื่อว่า สงวนคือปกครองตนฉันนั้น ; เมื่อเธอสงวนตนได้อย่างนี้อยู่ เธอจักบรรลุคุณพิเศษทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระ เริ่มแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป.
               
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องพระนังคลกูฏเถระ จบ.     
         



ขอบคุณที่มา : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=35&p=10
ขอบคุณภาพจาก : https://uttayarndham.org/dhama-daily
98  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คาถาป้องกันภัย 10 ทิศ สวดเป็นประจำ อยู่เย็นเป็นสุขจากสิ่งชั่วราย เมื่อ: มีนาคม 15, 2024, 07:30:22 am
.



คาถาป้องกันภัย 10 ทิศ สวดเป็นประจำ อยู่เย็นเป็นสุขจากสิ่งชั่วราย

ใครได้สวด คาถาป้องกันภัย 10 ทิศ จะสามารถป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่านานาชนิด และภูตผีปีศาจทั้งหลายได้ ถ้าผู้ใดสวดเป็นประจำ ก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน และรอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย จงตั้งใจสวดทุกเช้าทุกเย็น ก่อนออกจากบ้านไหนก็ตาม ถ้าสวดคาถานี้จะเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง มีโชคมีลาภและป้องกันอันตรายต่างๆ

@@@@@@@

คาถาป้องกันภัย 10 ทิศ


บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง
บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูระพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

อาคะเนยรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง
อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง
หรดีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง
พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง
พายัพรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง
อุดรรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

อิสานรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อิสานรัสมิง พระธัมเมตัง
อิสานรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง
อากาศรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ

ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง
ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย สัพพะทุกข์ สัพพะโศก
สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม
รักขันตุ สุรักขันตุ


@@@@@@@

บทคาถานี้ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้เมตตาประทานไว้ เชื่อกันว่าช่วยป้องกันภัยอันตรายจากทั้ง 10 ทิศ เสริมสิริมงคล โชคลาภ วาสนา ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม

    - พระคาถามงคลจักรวาลแปดทิศ สวดก่อนนอนแคล้วคลาดปลอดภัย




Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/26109/
11 มี.ค. 67 (11:00 น.)
99  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ สวดก่อนนอนทุกวัน แคล้วคลาดปลอดภัย เมื่อ: มีนาคม 15, 2024, 07:26:09 am
.



พระคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ สวดก่อนนอนทุกวัน แคล้วคลาดปลอดภัย

พระคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ เป็นอีกหนึ่งบทสวดที่หลายๆ คนนำมาสวดก่อนนอน โดยเป็นบทสวดให้แคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันภัย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และยังช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลในชีวิตตนเองด้วย

สำหรับการสวดคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ นั้น จะเป็นบทสวดก่อนนอน เมื่อเราสวดแผ่เมตตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยสวดคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ และอย่าลืมว่าการรักษาศีล 5 นั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญ


@@@@@@@

บทสวดพระคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ

อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว

อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ พุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ

อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว

อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ

อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว

อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ ปัจเจกะพุทธะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ

อิมัสมิง มงคลจักรวาฬทั้งแปดทิศ ประสิทธิจงมาเป็นกำแพงแก้วทั้งเจ็ดชั้น มาป้องกันห้อมล้อมรอบครอบทั่ว

อะนัตตา ราชะ เสมานา เขตเต สะมันตา สะตะโยชะนะสะตะสะหัสสานิ สังฆะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ

@@@@@@@

อานิสงส์ของการสวดมนต์คาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ

การสวดมนต์คาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ เปี่ยมไปด้วยอานิสงส์มากมาย เชื่อกันว่าช่วยป้องกันภัยอันตราย เสริมสิริมงคล เสริมสร้างอำนาจบารมี ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้จิตใจสงบ ช่วยให้สมปรารถนา เป็นสิริมงคลแก่สถานที่ เป็นกุศลผลบุญ เชื่อมโยงกับพลังศักดิ์สิทธิ์ และฝึกฝนสมาธิ ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นทั้งด้านกาย ใจ และจิตวิญญาณ

คาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ เป็นบทสวดมนต์ที่มีพุทธคุณสูง เชื่อกันว่าช่วยเสริมสิริมงคล ป้องกันภัยอันตราย และทำให้จิตใจสงบ การสวดคาถามงคลจักรวาล 8 ทิศ แนะนำให้สวดทุกวัน เช้าหรือเย็น และควรนั่งสมาธิให้สงบก่อนสวด สวดด้วยความตั้งใจ และศรัทธา


อ่านเพิ่มเติม

    - คาถาป้องกันภัย 10 ทิศ สวดเป็นประจำ อยู่เย็นเป็นสุขจากสิ่งชั่วราย





Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/212697/
Mintra T. : ผู้เขียน |11 มี.ค. 67 (11:37 น.)
100  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พบ ใบเสมา สมัยทวารวดี กว่า 80 ใบ เชื่อเป็นชุมชนโบราณ ชาวบ้านแห่กราบไหว้ เมื่อ: มีนาคม 15, 2024, 07:14:07 am
.



พบ ใบเสมา สมัยทวารวดี กว่า 80 ใบ เชื่อเป็นชุมชนโบราณ ชาวบ้านแห่กราบไหว้

พบ ใบเสมา สมัยทวารวดี กว่า 80 ใบ พร้อมชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เชื่อเป็นชุมชนโบราณ ชาวบ้านแห่กราบไหว้ นำน้ำไปบูชา เชื่อศักดิ์สิทธิ์

วันที่ 14 มี.ค. 67 เจ้าหน้าที่กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้ทำการขุดค้นศึกษาแหล่งโบราณคดีโนนสำโรง บ้านปะเคียบ ต.ปะเคียบ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์  ในโครงการศึกษาและกำหนดอายุแหล่งโบราณคดี ประเภทใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดี 

โดยการขุดค้นครั้งนี้พบ ใบเสมา สมัยทวารวดีสภาพสมบูรณ์ และยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมไม่มีการเคลื่อนย้ายจำนวน 8 ใบ และพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่ใช้ในการดำรงชีวิต รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้พิธีกรรมความเชื่อของคนสมัยก่อนด้วย จากหลักฐานที่พบจึงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชุมชนโบราณที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 และจากข้อมูลพบว่าในหมู่บ้าน ปะเคียบ ม.1 และบ้านหลักเมือง ม.16 ต.ปะเคียบ มีการค้นพบ ใบเสมาโบราณกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ประมาณ 80 - 90 ใบ ซึ่งมากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ   






แต่บางส่วนได้ถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ตามวัดบ้าง ศาลากลางบ้าง แต่ยังคงมีพื้นที่โนนสำโรงแห่งนี้ ที่ใบเสมายังคงอยู่ในตำแหน่งเดิมไม่มีการเคลื่อนย้ายออก ทางสำนักศิลปากรที่ 10  จึงได้ทำโครงการขุดค้นครั้งนี้ เพื่อศึกษาและกำหนดอายุแหล่งโบราณคดีโนนสำโรงแห่งนี้ โดยเจ้าหน้าที่จะเก็บตัวอย่างดินและภาชนะดินเผาที่ขุดพบบางส่วนไปตรวจหาค่าทางวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดอายุสมัยแหล่งโบราณคดีให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนที่เหลือก็จะเก็บไว้ที่เดิมแล้วทำการปิดหลุม  โดยให้ชุมชนร่วมกันดูแลอนุรักษ์

ขณะที่ชาวบ้าน ผู้สูงอายุที่ทราบข่าวก็ได้มาจุดธูปเทียนกราบไหว้ขอโชคลาภ และนำภาชนะใส่น้ำจากหลุมที่ขุดค้น  เพื่อนำไปบูชา และทาตามร่างกายตามความเชื่อ   เพราะเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์   

นายกิตติพงษ์ สนเล็ก ผอ.กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กล่าวว่า   ที่ผ่านมากรมศิลปากรเคยมาสำรวจพื้นที่โนนสำโรงบ้านปะเคียบ ม.1 และบ้านหลักเมือง ม.16 ต.ปะเคียบ  อ.คูเมือง เมื่อปี 2532 และเคยมีรายงานที่บันทึกไว้ว่าพบ คูเมืองโบราณ และ ใบเสมามากถึง 80 – 90 ใบ ถือว่าเยอะมากหากเทียบกับแหล่งโบราณคดีอื่นๆ จะค้นพบเพียง 30 – 40 ใบเท่านั้น และที่อื่นมีการเคลื่อนย้ายไปไว้ตามสถานที่ต่างๆ แต่ที่โนนสำโรงแห่งนี้ยังอยู่ตำแหน่งเดิมและสภาพค่อนข้างสมบูรณ์  จึงเชื่อว่าเป็นชุมชนโบราณสมัยทวารวดี ซึ่งการขุดค้นครั้งนี้ก็เพื่อกำหนดค่าอายุแหล่งโบราณคดีให้เกิดความชัดเจน และยังได้ศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมของคนสมัยโบราณด้วย   






ด้านนายอำนาจ ควินรัมย์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.1 บ้านปะเคียบ บอกว่า จุดที่ทำการขุดค้นเป็นพื้นที่ของนางสอน พอกแก้ว อายุ 67 ปี  แต่ที่ผ่านมาจะมีสภาพรกร้าง เพราะไม่มีกล้าเข้ามา จากคำบอกเล่าแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ที่เข้ามสำรวจในพื้นที่แห่งนี้ ก็จะเจอกับเรื่องลี้ลับที่มองไม่เห็นต้องทำพิธีขอขมา ซึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านก็เชื่อว่าพื้นที่ตรงนี้ศักดิ์สิทธิ์ ในส่วนของผู้นำชุมชนก็จะขอความร่วมมือให้ชาวบ้านร่วมกับดูแลอนุรักษ์ 

ขณะที่นางสะอาด แดงศรีบัว หนึ่งในชาวบ้านที่มากราบไหว้ และนำภาชนะมาใส่น้ำจากหลุมที่มีการขุดค้นโบราณคดีดังกล่าว บอกว่า หลังจากทราบข่าวว่ามีชาวบ้านนำน้ำจากหลุมที่ขุดค้นไปทาแล้วอาการปวดขัดที่ขาดีขึ้น ก็เลยนำภาชนะมาใส่ไปบูชาและทาตามร่างกาย เพราะเชื่อว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ จากที่ผ่านมาไม่กล้าเข้ามาในพื้นที่นี้เลย เพราะมีเด็กเคยเข้ามาเอารังต่อในที่แห่งนี้แล้วไปปัสสาวะจนโดนเหมือนมีใครตบศีรษะอย่างแรงจนล้ม  จึงเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในที่แห่งนี้





Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/210167
14 มี.ค. 67
101  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สังคมตั้งคำถาม อาจารย์โพสต์ขายคอร์ส ไปนิพพาน จ่าย 25,000 เป็นอรหันต์ได้ เมื่อ: มีนาคม 15, 2024, 07:04:43 am
.



สังคมตั้งคำถาม อาจารย์โพสต์ขายคอร์ส ไปนิพพาน จ่าย 25,000 เป็นอรหันต์ได้

สังคมตั้งคำถาม อาจารย์โพสต์ขายคอร์ส ไปนิพพาน 25,000 บาท เป็นอรหันต์ได้ ใครสนใจบัตรเครดิตรูดได้ 0% 10 เดือน เคลมรู้สึกไม่จบ ยินดีคืนเงิน

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์ เมื่อทวิตเตอร์ X ของ Red Skull โพสต์ข้อความตั้งคำถามถึง อาจารย์ท่านหนึ่งที่โพสต์เปิดคอร์สพิเศษผู้ที่เข้าเรียนสามารถจบมาเป็นอรหันต์ได้

โดย Red Skull เขียนข้อความ ระบุว่า นิพพานง่ายๆ หยุดการเกิดดับในราคา 25,000 บาท คือไม่มีหน่วยงานไหนที่กำกับดูแลพวกแบบนี้จริงๆเหรอ

ประเทศนี้แม่งแค่อุปโลกน์ตัวเป็นครูมีพลังวิเศษ ตั้งตนเป็นอาจารย์ หากินได้ง่ายๆแล้ว ผ่อน 0% 10 เดือนได้อีกตะหาก อรหันต์แบบใด

ทั้งนี้ในโพสต์ของอาจารย์รายดังกล่าว เขียนเชิญชวนผู้ที่จะเข้าร่วมอบรม ความว่า

คอร์สพิเศษ มีที่นี่ที่เดียว ดึงมะเร็ง ดึงตัวบันทึกกรรม และจบเป็นอรหันต์ ไม่มีตัวบันทึกกรรม ตัวบันทึกกรรม ให้ต้องเกิดคือตัว อวิชชา

คอร์ส จบกิจหยุดการเกิด คอร์สนี้มาเพื่อคนที่ต้องการการหลุดพ้น เป็นอรหันต์ในเพศฆราวาส โดยไม่ต้องนั่งปฏิบัติเอง ตัวบันทึกกรรมจะถูกถอดออนออกไป ผู้ลงคอร์ส จะทราบถึงความเปลี่ยนแปลงภายในวันนั้นเลย

*ถ้าไม่รู้สึกว่าจบ ยินดีคืนเงิน

*เรื่องแบบนี้ โกหกกันไม่ได้ มันเป็นเรื่องหลอกหลวงประชาชนสามารถรูดบัตรเครดิต 0เปอร์เซ็นต์นาน 10 เดือน

*ราคานี้เฉพาะเดือน กุมภาพันธ์ 2567 นะคะ เดือนมีนาคม ราคา 25,000 บาท นะคะ







Thank to : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8139750
14 มี.ค. 2567 - 23:48 น.
102  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “สงครามศาสนา” ในแผ่นดินเขมร ส่วนหนึ่งของ “ยุคมืด” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อ: มีนาคม 14, 2024, 07:35:38 am
.

ภาพเขียนนครวัด โดย Lucille Sinclair Douglass (จาก Metropolitan Museum of Art)


“สงครามศาสนา” ในแผ่นดินเขมร ส่วนหนึ่งของ “ยุคมืด” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อกล่าวถึง “สงครามศาสนา” สงครามครูเสดอาจเป็นภาพจำแรก ๆ ที่หลายคนนึกออก อย่างไรก็ตาม ภูมิภาค “อุษาคเนย์” หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็มีหลักฐานความขัดแย้งทางศาสนาอยู่เช่นกัน นั่นคือระหว่าง พราหมณ์-ฮินดู กับ พุทธศาสนา หากแต่ปรากฏข้อมูลค่อนข้างน้อย เพราะอยู่ในห้วงเวลาที่นักวิชาการนิยามว่าเป็น “ยุคมืด” ทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้

ในความพร่าเลือนดังกล่าว ดินแดนเนื่องในวัฒนธรรมเขมรโบราณมีร่องรอยหลักฐานความขัดแย้งข้างต้นชัดเจนที่สุด โดย ไมเคิล ไรท เล่าถึงประเด็นนี้ไว้ตอนหนึ่งของบทความ “‘ยุคมืด’ หรือช่องว่างในประวัติศาสตร์สยาม ‘A Dark Age’, or Gap in Siamese History” ในหนังสือ ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทย หลังบายน พุทธเถรวาท การเข้ามาของคนไทย (สนพ. มติชน, พิมพ์ครั้งแรก มิถุนายน 2559)

ไมเคิล ไรท วิเคราะห์ให้เห็นถึงสงครามศาสนาระหว่างพราหมณ์กับพุทธ จากศูนย์กลางบริเวณดินแดนลุ่มทะเลสาบ ซึ่งเขานิยามว่า “โลกเขมร” เพื่อสื่อถึงวัฒนธรรมหลักของกลุ่มชน แทนที่จะหมายถึงเขตแดนและเชื้อชาติ จากอิทธิพลแนวคิดสมัยใหม่ยุคจักรวรรดินิยมเมื่อ 150 ปีที่ผ่านมา

สงครามศาสนาเกิดขึ้นตั้งแต่หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรพระนครเป็นต้นไป โดยสะท้อนผ่านความเชื่อ (ที่แตกต่าง) ของกษัตริย์เขมรแต่ละพระองค์ รวมถึงร่องรอยโบราณสถาน-โบราณวัตถุ และความเปลี่ยนแปลงของบรรดารูปเคารพในปราสาทหลังต่าง ๆ

ไมเคิล ไรท ชี้ให้เห็นว่า สงครามศาสนาในโลกเขมรเป็นส่วนหนึ่งใน “ยุคมืด” ทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคอุษาคเนย์ ห้วงเวลาที่วัฒนธรรมโบราณอย่างทวารวดี ศรีวิชัย ค่อย ๆ เลือนหายไป และนครเอกอย่างเมืองพระนครกับพุกามเสื่อมอำนาจลง ไล่เลี่ยกันนั้น รัฐของกลุ่มชนไทย-ลาว อย่าง อยุธยา สุโขทัย ล้านนา ล้านช้าง เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนับถือพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เหมือนกัน ส่วนดินแดนหมู่เกาะ (ปลายคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะของอินโดนีเซีย) หันไปรับอิสลาม

ไทม์ไลน์ของสงครามศาสนาที่เกิดขึ้นใน “โลกเขมร” จากบทความของ ไมเคิล ไรท มีดังนี้ [เว้นวรรคคำ ปรับย่อหน้าใหม่ และเน้นคำเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม]




สงครามศาสนาในโลกเขมร

ในครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 12 (พ.ศ. 1656 / ค.ศ. 1113 – ราว พ.ศ. 1693 / ค.ศ. 1150) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างนครวัดในศาสนาฮินดู (ไวษณพนิกาย) สวรรคตแล้วทรงพระนามว่า “บรมวิษณุโลก” เท่าที่เรามีหลักฐาน “โลกเขมร” สมัยนั้นโดยมากเป็นฮินดูอย่างมั่นคง (แม้ในต่างจังหวัดบางแห่ง เช่น ที่พิมายและศรีจนาศะเป็นพุทธมหายานอยู่แล้ว) อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่ามีความขัดแย้งกันถึงขนาดเกิดศึกสงครามทางศาสนา

ต่อมา พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1693-1708? / ค.ศ. 1150-1165?) ยังทรงบำรุงเทวสถานของพระบิดาจึงคงเป็นฮินดู

ต่อมา พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน (พ.ศ. 1708-1720? / ค.ศ. 1165-1177?) มาแทรก เราไม่ทราบว่าพระองค์เป็นใครมาจากไหนหรือทำอะไร แต่เป็นที่น่าสนใจว่าพระนาม “ภูวนาทิตย์” ไม่เคยปรากฏในจารึกเขมรก่อนหน้านั้น แต่เป็นที่นิยมบ่อยในจารึกและตำนานในโลกมอญ – พม่า ในพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 / คริสต์ศตวรรษที่ 12 – 13

ต่อมามีช่องว่างราว 4-5 ปี (พ.ศ. 1720-1724 / ค.ศ. 1177-1181) นักประวัติศาสตร์ตีความจารึกว่าเขมรคงรับศึกชาวจามจากทิศตะวันออกในเวียดนามปัจจุบัน แต่จารึกปราสาทบันทายฉมาร์ (ใกล้ชายแดนอรัญประเทศปัจจุบัน) ระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และโอรสทรงเดินทัพออกไปรับศึกในทิศตะวันตก

ชะรอยชาวจามมีสัมพันธมิตรในทิศตะวันตก (โลกมอญ?) มาคอยจี้เขมรจากด้านหลัง?

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชย์ในพระนครปี พ.ศ. 1724 / ค.ศ. 1181 แล้วทรงแปลงเมืองพระนครเป็นเมืองพุทธมหายาน เราไม่ทราบว่าพระองค์เป็นใคร มาจากไหน แต่อาจจะเป็นทายาทสืบวงศ์จากราชวงศ์ “มหิธรปุระ” ที่เคยครองอยู่เมืองพิมาย

ในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1763? / ค.ศ. 1181-1220?) พระองค์ทรงแปลงพระนครเป็นเมืองพุทธมหายานโดยสร้างปราสาทบายน (พระนาคปรก/ไภษัชคุรุ/ชยพุทธมหานาถ) ปราสาทพระขรรค์ (อวโลกิเตศวร) และปราสาทตาพรหม (ปรัชญาปารมิตา)

เท่าที่เราทราบ ยังไม่เกิดความขัดแย้งทางพุทธศาสนา ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะแม้ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธเป็นหลัก แต่ยังคงรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นพราหมณ์ไว้เหมือนเดิม



พระอวโลกิเตศวร สันนิษฐานว่า ใบหน้าถ่ายแบบมาจาก พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ทรงครองราชย์ราว พ.ศ. 1763-1786 / ค.ศ. 1220-1243 เชื่อกันว่าเป็นโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และน่าจะนับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกับบิดา จารึกเท่าที่เหลือไม่อ้างถึงกิจการหรือนโยบายของพระองค์ แต่น่าสงสัยว่าท่านอาจจะเล่นงานถอดถอนอภิสิทธิ์ของชนชั้นพราหมณ์ ทั้งนี้น่าเชื่อ เพราะปฏิกิริยารุนแรงที่เกิดขึ้นในรัชกาลต่อไป

พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ทรงครองราชย์ราว พ.ศ. 1786-1838 / ค.ศ. 1243-1295 ทรงเป็นใครมาจากไหนไม่มีหลักฐาน แต่น่าจะเป็นพราหมณ์ที่นับถือฮินดูไศวนิกาย ในรัชกาลของพระองค์เกิดสงครามทางศาสนา (ฮินดูกับพุทธ) อย่างเห็นได้ชัด

พระพุทธรูปประธานในปราสาทบายนถูกทุบให้แตกเป็นเสี่ยง ๆ แล้วทิ้งลงบ่อ พระพุทธรูปสลักนูนต่ำตามฝาและหน้าบันวัดอื่น ๆ ถูกสกัดออกให้มีแต่ช่องว่างหรือถูกดัดแปลงเป็นศิวลึงค์หรือฤษี จารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถูกทุบแล้วฝังดินหรือถูกขีดเขียนจนเสียความอ่านปะติดปะต่อไม่ได้

ในสมัยหลังนี้ (40 ปีที่ผ่านมา) มีการขุดค้นพบไหขนาดใหญ่ภายในบรรจุพระพุทธรูปสำริดยุคบายนที่ถูกฝังมาแต่โบราณ เช่น ยุคสงครามศาสนาครั้งพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 จุดที่พบมีตั้งแต่สนามบินเมืองเสียมเรียบถึงอำเภอประโคนชัยในอีสานตอนใต้และสถาบันราชภัฏลพบุรี

แสดงว่าสงครามศาสนาไม่ได้เกิดเฉพาะเมืองพระนคร แต่คงแผ่ไปอีกถึงเขตโคราชและลพบุรีอย่างน้อย

@@@@@@@

เป็นที่น่าเชื่อถือว่าสงครามศาสนาระหว่างพุทธกับพราหมณ์ครั้งนี้มีความรุนแรงมาก และแผ่เกือบไปทั่วอุษาคเนย์แผ่นดินใหญ่ รวมทั้งโลกเขมร โลกมอญ และโลกลาว-ไทย

แต่นั้นมา พระเจ้าศรีนทรวรมัน เสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 1838-1850 / ค.ศ. 1295-1307 ตามโดยโอรสชื่อ ศรีนทรชัยวรมัน (พ.ศ. 1850-1870 / ค.ศ. 1307-1327) ทูตจีน โจวต้ากวาน บันทึกในปี พ.ศ. 1840 / ค.ศ. 1297 ว่า “กษัตริย์องค์ใหม่เป็นลูกเขยองค์ก่อน พระธิดารักพระสวามีจึงลักพระขรรค์ชัยศรีมอบให้ แล้วพระสวามียึดอำนาจถอดถอนพระยุพราชองค์จริง”

หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ได้เทียบหลักฐานของโจวต้ากวานกับหลักฐานในจารึกหลักที่ 2 (หน้า 1, บรรทัด 31-35) แล้วเสนอว่า พระเจ้าศรีนทรวรมัน กับ พระยาผาเมือง/ศรีอินทราทิตย์ น่าจะเป็นคนเดียวกัน

พระเจ้าศรีนทรวรมันจะเป็นใครก็ตาม พระองค์ทรงส่งเสริมรื้อฟื้นฟูพุทธศาสนา และอาจจะเป็นผู้สร้างวัดป่าเลไลย์ในนิกายเถรวาทติดกำแพงพระราชวัง ในรัชกาลของโอรส (พระเจ้าศรีนทรชัยวรมัน) ปรากฏจารึกภาษาบาลีครั้งแรกในเมืองพระนคร ระบุปี พ.ศ. 1852 / ค.ศ. 1309 แสดงว่าพุทธศาสนาฟื้นขึ้นมาได้แล้วและน่าจะเป็นนิกายเถรวาท-ลังกาวงศ์

พระเจ้ากรุงเขมรองค์สุดท้ายที่ปรากฎพระนามในจารึกคือ พระเจ้าชัยวรมันปรเมศวร จารึกไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชกิจหรือนโยบายของพระองค์ แต่พระนามนั้นน่าสนใจเพราะ “ชัยวรมัน” ทำให้นึกถึงพุทธกษัตริย์ (อย่างพระเจ้าชัยวรมันที่ 7) ในขณะที่ “ปรเมศวร” สะท้อนความเป็นไศวะ

ชะรอยท่านหมายจะประสานแผลระหว่างพุทธกับพราหมณ์คล้ายกับพระสันตะปาปาจอห์น-ปอลที่ 1 และที่ 2 ที่ประสมชื่อ John ที่ 23 (ฝ่ายปฏิรูป) และ Paul ที่ 6 (ฝ่ายอนุรักษนิยม) เพื่อลดความขัดแย้งอย่างเดือดร้อนสุดขีดภายในศาสนจักรโรมันคาทอลิก


อ่านเพิ่มเติม :-

    • ยุคมืดในประวัติศาสตร์สยาม และ อุษาคเนย์ ในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ
    • ข้อสันนิษฐาน “รัฐทวารวดี” ล่มสลาย เพราะกัมพูชานำ “กลียุค” มาสู่ชาวรามัญ






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 12 มีนาคม 2567
website : https://www.silpa-mag.com/history/article_128959
103  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปริศนาธรรม “รองเท้าฟองน้ำ” แสนทรหด เมื่อ: มีนาคม 14, 2024, 06:48:39 am
.



ปริศนาธรรม “รองเท้าฟองน้ำ” แสนทรหด

รองเท้าฟองน้ำคู่นี้ชราภาพมากแล้ว มันเต็มไปด้วยบาดแผล และริ้วรอยแห่งความบอบช้ำ คงจะผ่านการเดินทางสมบุกสมบันมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าใครจะสวมใส่แล้วพามันเหยียบย่ำไปในที่หนใดก็ตาม จะเป็นหนทางที่เต็มไปด้วยขวากหนามดินโคลนสกปรก หรือหนทางที่ปูลาดด้วยผืนพรมที่มีลวดลายอันวิจิตรงดงาม รองเท้าก็มิเคยได้รังเกียจรังงอน

แม้ทุกย่างก้าวจะสร้างความบอบช้ำให้กับมันมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ตาม แต่มันก็ยังคงทำหน้าที่ของมันอย่างทรหด บางครั้งเหยียบถูกเศษแก้ว หรือเศษหินแหลมคมจนพื้นมันฉีกขาด แต่มันก็ยังพอคงสภาพอยู่ได้ แม้มันจะเก่าชราคร่ำคร่าจนหาความงามมิได้ แต่มันก็ยังทำหน้าที่ปกป้องฝ่าเท้าของผู้ที่เหยียบย่ำอยู่บนตัวมันได้อย่างดีเยี่ยมจนวินาทีสุดท้าย…

วินาทีที่เจ้าของจะโยนมันทิ้งไปอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตสู่สิ่งที่เรียกว่า…ถังขยะ คือที่สุดท้ายของทุกสรรพสิ่งก่อนที่จะถูกย่อยสลายไป

ร่างกายของคนเราก็เปรียบเหมือนรองเท้าฟองน้ำคู่นี้ ใจก็เปรียบเหมือนคนที่เหยียบย่ำลงไปบนรองเท้า ใจนี้ก็อาศัยร่างกายท่องเที่ยวไปกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมากมาย ทั้งเรื่องดี เรื่องชั่ว สมกับคำกล่าวที่ว่า  “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” อย่างแท้จริง

@@@@@@@

กาลเวลาที่ผ่านไป ก็บีบคั้นให้ร่างกายต้องชำรุดทรุดโทรมแก่ชราคร่ำคร่าอยู่ตลอดเวลา แม้ใจจะพยายามบำรุงบำเรอร่างกายนี้อย่างทะนุถนอมสักปานใด ยาดี ๆ อาหารดี ๆ มีเท่าไหร่ก็ไขว่คว้าหามาทุ่มเทให้กับมันหมด ก็ไม่อาจช่วยให้ร่างกายนี้สามารถต้านทานการบดขยี้ของโรคาพยาธิทั้งปวงได้

ยิ่งบางคนเอาสุรายาเมามาปรนเปรอร่างกาย ก็ยิ่งทำให้ร่างกายนี้ถึงความวิบัติพินาศเร็วยิ่งขึ้น เหมือนรองเท้าคู่นั้น ถ้าเจ้าของไม่ใช้มันอย่างระมัดระวัง มันก็คงถึงแก่ความหายนะเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น แต่รองเท้าก็มิได้ทำตัวให้เป็นภาระแก่ผู้เป็นเจ้าของมันสักเท่าไหร่นัก

ร่างกายคนเราก็เป็นฉันนั้น คงทำหน้าที่รับใช้ใจนี้ไปจนถึงวินาทีสุดท้าย… จะต่างกันก็แต่ร่างกายใช่จะไม่เป็นภาระเหมือนรองเท้า

ร่างกายย่อมเป็นภาระอันหนักอึ้งของใจเพราะใจจำต้องถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูร่างกายให้ดีตลอดเวลา แต่กายก็หาดีด้วยไม่ ยังคงเอาโรคภัยไข้เจ็บ ความแก่ชราคร่ำคร่ามากวนใจ ให้ใจต้องเผชิญกับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอยู่เสมอ ๆ

จนวินาทีสุดท้ายที่ใจจำต้องสลัดร่างกายนี้ทิ้งไป ใจก็ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส จนกว่าจะสิ้นลม…

ป่าช้าคือที่สุดท้ายอันเป็นที่รวมลงของทุกสรรพสัตว์ ก่อนที่ร่างกายจะแตกทำลายไปตามกฏแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


@@@@@@@

การเดินทางท่องเที่ยวอันยาวนานของร่างกายก็จบลงที่ตรงนี้ ท่ามกลางเสียงร้องไห้คร่ำครวญ หรือเสียงด่าทอของผู้คนที่หลงรักหลงชังในร่างกายอันนี้

แต่ใจไม่ได้จบลงพร้อมกับร่างกายเลย ใจเป็นธาตุอมตะที่ไม่มีวันตาย ไม่มีวันแตกสลาย ใจยังได้ไปต่อ… ไปหาร่างกายใหม่มาเป็นเครื่องอาศัยอยู่ต่อไป

เหมือนเจ้าของรองเท้า โยนรองเท้าคู่เก่าทิ้งลงถังขยะไปแล้ว ก็ไปหารองเท้าคู่ใหม่มาใส่แทน จะไฉไลกว่าเก่าหรือจะอัปลักษณ์กว่าเก่า ก็สุดแล้วแต่เงินในกระเป๋าจะบันดาลให้เป็นไป

ใจก็เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อสลัดร่างกายนี้ทิ้งไปแล้ว ใจก็จะไปหาร่างกายใหม่มาใส่แทน จะได้ดีกว่าเก่า หรือจะเลวร้ายกว่าเก่า ก็สุดแล้วแต่ความดี กับความชั่วที่สั่งสมเอาไว้ตอนเป็น ๆ อยู่นั่นแล จะบันดาลให้เป็นไป

ชื่อว่า “ความดี” จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ใจทุกดวงจะต้องเก็บสั่งสมให้มากเข้าไว้ อย่าได้รีรอเมินเฉยจนลมหายใจสุดท้ายมาเยือน

                                     เสียงธรรม จากดอยแสงธรรม





Thank to : https://www.thairnews.com/ปริศนาธรรม-รองเท้าฟองน/
โดย thairnews - 27/09/2562
104  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เสียงกลอง เสียงระฆัง เสียงแห่งสัญลักษณ์ “วิถีไทย-วิถีพุทธ” เมื่อ: มีนาคม 14, 2024, 06:29:25 am
 :25: :25: :25:

เสียงกลอง เสียงระฆัง เสียงแห่งสัญลักษณ์ “วิถีไทย-วิถีพุทธ”







ตีกลอง ตีฆ้อง ตีระฆัง

ในสมัยก่อนบ้านเมืองยังไม่เจริญอย่างในปัจจุบันนี้ นาฬิกามักจะมีเฉพาะตามวัดเท่านั้น พระท่านก็ต้องตีกลองหรือฆ้องระฆัง เป็นสัญญาณบอกให้ทราบเวลาเป็นระยะๆ ไป เช่น ในเวลา ๑๘.๐๐ น. ตามวัดต่างๆ ในชนบทท่านมักจะ ย่ำกลอง หรือ ย่ำฆ้อง ย่ำระฆัง เพื่อบอกเวลาให้ชาวบ้าน ด้วยเหตุที่ทุกวันนี้ชาวบ้านมักมีนาฬิกาใช้กันทั่วไปแล้ว การย่ำกลอง ย่ำฆ้อง หรือย่ำระฆัง ในปัจจุบันจึงชักค่อยๆ หมดไป

แต่ก็ยังคงพอได้ยินเสียงกลองเพล เสียงระฆัง รวมทั้งเสียง “ย่ำกลองย่ำฆ้อง” อยู่บ้าง จากวัดใน จ.นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นนทบุรี ปทุมธานี และ จ.พระนครศรีอยุธยา

เสียงกลองจากวัดที่เราได้ยินกันจนคุ้นหู คือ การตีกลองเพล เวลา ๑๑.๐๐ น. เพื่อบอกเวลาฉันเพล ทั้งนี้จะตีโดยใช้ไม้เดียว ๓ ลา หน่วยวัดจังหวะที่ว่า “ลา” มาจากการรัวกลองหรือระฆังจนข้อมือล้า จากช้าไปเร็วสุด จบด้วยการตี ๓ ส่วนเสียงระฆังนั้นหลายคนอาจจะไม่ค่อยได้ยินเท่าไรนัก โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมือง

การตีระฆัง ถ้าเป็นช่วงในพรรษาจะมีการตีระฆังในช่วงเช้ามืดทุกวัน เวลาประมาณ ๐๔.๐๐-๐๔.๓๐ น. โดยจะตี ๓ ลา และจะตีนานถึง ๓๐ นาที เพื่อปลุกพระให้ตื่นจากการจำวัด เพื่อลงประชุมทำวัตรสวดมนต์เช้ามืด เป็นการกำจัดกิเลส ทำตนให้เป็นเขตนาบุญ

เมื่อออกบิณฑบาตโปรดญาติโยมในเวลาเช้า โยมจะได้บุญมากๆ จะมีผลต่อความเจริญของผู้ใส่บาตร ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาเตรียมกับข้าวกับปลาใส่บาตร อย่างไรก็ตาม การตีระฆังจะมีการตีอีก ๒ ช่วงเวลา เพื่อสวดมนต์ทำวัตร คือ
   ครั้งแรก ตีประมาณ ๐๘.๐๐ น. เพื่อส่งสัญญาณให้พระลงทำวัตรเช้า และ
   ตีอีกครั้งหนึ่งเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น จะตี ๓ ลา
   ทั้งนี้จะใช้เวลาตีไม่เกิน ๑๐-๑๕ นาที เพื่อส่งสัญญาณให้พระลงประชุมทำวัตรเย็น

เหตุที่ใช้เวลาตีนานต่างกัน เพราะตอนเช้ามืดพระท่านง่วง กลัวจะนอนเพลินไป ไม่ได้ลุกขึ้นทำวัตรเช้ามืด ส่วนตอนเย็นพระท่านตื่นอยู่แล้ว


@@@@@@@

สำหรับความพิเศษของการตีกลองตีระฆังส่งสัญญาณการทำวัตรนั้น ต้องยกให้ การตีกลองตีระฆังย่ำค่ำ กล่าวคือ ในช่วงพรรษา เมื่อทำวัตรเย็นจบแล้ว ประมาณ ๑๗.๓๐-๑๘.๐๐ น. จะมีการตีกลองย่ำค่ำ ซึ่งเป็นการตีกลองและระฆังประสานเสียงกัน โดยตีกลอง ๔ ครั้ง เป็นจังหวะ ตะ-ลุ่ม-ตุ่ม-ตุ่ม ทั้งนี้จะตีระฆังพร้อมๆ กับกลองในจังหวะตุ่มสุดท้ายพร้อมกัน จากนั้นก็จะเร่งจังหวะเร็วขึ้น ต่างรูปต่างรัวจนรัวไม่ไหว จึงเป็นอันว่าเสร็จ ๑ ลา และจะต้องตีเช่นนี้อีก ๒ ลา รวมเป็น ๓ ลา และทิ้งท้ายอีก ๓ ครั้ง เป็นการประกาศชัยชนะกิเลสของพระวัดนั้นๆ โดยผู้ที่อยู่ทางบ้าน หรือไกลออกไป เมื่อได้ยินเสียงกลองย่ำค่ำ ก็จะยกมือขึ้นประนมจบศีรษะอนุโมทนาบุญ

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการตีกลองและระฆังอีก ๒ เรื่อง คือ

   ๑. ตีเมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นในวัด เช่น ไฟไหม้ โจรปล้น พระภิกษุมรณภาพ หรือต้องอาบัติหนักถึงขั้นปาราชิก ทั้งนี้ จังหวะการตีกลองระฆังไม่เป็นจังหวะเหมือนย่ำค่ำ จะเป็นการตีรัวทั้งกลองและระฆัง เมื่อชาวบ้านได้ยินก็จะรีบออกไปที่วัดทันที และ

   ๒. ตีเมื่อเกิดจันทรคราส และสุริยคราส ก็จะตีกลองระฆัง แต่ใช้การตีแบบจังหวะย่ำหรือลีลาย่ำค่ำ จนกว่าจันทรคราส และสุริยคราสจะคลาย อันนี้ต้องใช้พระเณรหลายรูป ส่วนใหญ่ก็จะตีกันจนมือพอง ขณะเดียวกัน ชาวบ้านก็จะตีปี๊บ ตีเกราะ เคาะไม้ เพื่อให้พระราหูคลายจากการอมพระอาทิตย์ พระจันทร์

อีกคติหนึ่งเนื่องจากพระเป็นโหราจารย์ คำนวณสุริยจักรวาลได้ เช่นเดียวกับ ร.๔ เป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านดูท้องฟ้า “สมเด็จพระญาณวโรดม” อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กทม. ท่านเคยอบรมพระเณรที่เรียนใน มมร.ว่า

    "พระเณรเดี๋ยวนี้ละเลยไม่ศึกษาวิถีพุทธวิถีไทย เรื่องตีกลองตีระฆัง บางรูปขึ้นไปบนหอระฆังได้คว้าไม้ตีระฆัง ก็ตีจ้ำเอ้า จำเอา ตี ๓ ลา ไม่ถึง ๕ นาที หมาอ้าปากจะหอนสักหน่อยก็ตีจบซะแล้ว ส่วนบางรูปก็ตีอ้อยสร้อย  หมาหอนจะขาตะไกค้างก็ยังตีไม่จบ"

นี่เป็นการแสดงความห่วงใยกระตุ้นให้พระเณรได้ศึกษา และรักษาวิถีพุทธวิถีไทย และวัฒนธรรมทางศาสนา

@@@@@@@

ประเพณีตีกลองของภาคอีสาน

1. ประเพณีตีกลองเดิก(ดึก)

กลองดึก คือ กลองตีสัญญาตอนเวลาประมาณ ๐๓.๐๐-๐๔.๐๐ น. เพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้ประชาชนรู้ว่า ถึงวันโกนวันพระ (ขึ้นหรือแรม ๗-๘-๑๔ และ ๑๕) แล้ว ให้งดเว้นสิ่งที่ควรงด ตื่นขึ้นมาสมาทานศีล ไหว้พระสวดมนต์ เจริญภาวนา กลองดึกนี้เป็นสัญญาณเตือนก่อนตื่นนอน เพื่อให้ลุกขึ้นประกอบกรรมดีแต่เช้า กลางวันจะตั้งใจทำอะไรดีก็จะเตรียมตัวไว้แต่เช้า และจะไปบำเพ็ญความดีทั้งวัน ในวันโกนวันพระทั้งสองวัน เพื่อเตือนพระภิกษุสงฆ์ และญาติโยมว่า เป็นวันพระที่จะต้องทำกิจทางพระพุทธศาสนา

2. ส่วนประเพณีตีกลองแลง

คือ การตีกลองสัญญาณในตอนเย็น เพราะคำว่า แลง หมายถึง ช่วงตอนเย็นเป็นเวลาระหว่างเวลา ๑๕.๐๐-๑๖.๓๐ น. จะตีกันในวันโกนวันพระขึ้นและแรม ในวันขึ้น ๘, ๑๔ และ ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน เมื่อถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. จะมีการตีกลองแลง วันดังกล่าวเป็นวันพระ พระภิกษุสามเณรจะหยุดการศึกษาเล่าเรียน จะซักสบง จีวร ปัดกวาดบริเวณวัดให้สะอาด ลงฟังเทศน์ในวันพระ สำหรับญาติโยมจะหยุดพักงานมาทำบุญรักษาศีล ฟังเทศน์ การตีกลองแลงจะมีเฉพาะในพรรษาเท่านั้น

3. ในขณะที่ประเพณีตีกลองงัน

คือ การตีกลองเวลาค่ำคืนประมาณ ๑๙.๐๐-๒๐.๐๐ น. ซึ่งจะตีทุกวันในช่วงเข้าพรรษา จุดมุ่งหมายของการตี นอกจากจะเป็นการรักษาประเพณีในช่วงเข้าพรรษาเอาไว้แล้ว ยังเป็นการให้สัญญาแก่คนหนุ่มสาวไปร่วมกันที่บริเวณวัด ซึ่งเรียกว่า ลงวัด เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ดายหญ้า ฝึกร้องสารภัญญ์ เป็นต้น

ในสมัยก่อน จะมีการตีกลองงัน บรรดาชายหนุ่มหญิงสาว จะนำเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน หมากพลู บุหรี่ ไปถวายวัด แล้วพากันทำวัตรค่ำ รับศีลฟังเทศน์ หากมีเวลาก็จะหันสรภัญญ์ หรืออบรมศีลธรรมพอสมควร





ขอขอบคุณ :-
ไตรเทพ ไกรงู : รายงาน
https://www.thairnews.com/เสียงกลอง-เสียงระฆัง-เสี/
โดย thairnews - 04/10/2561
105  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / องค์แห่งทักษิณาทาน |กองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นบุญอันเลิศ เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 10:32:09 am
.



องค์แห่งทักษิณาทาน |กองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นบุญอันเลิศ



๗. ทานสูตร ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน

[๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น อุบาสิกาชื่อนันทมาตา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ ในหมู่ภิกษุมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธาน

พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมาตาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นแล้ว จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายอุบาสิกาชื่อนันทมาตาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น ถวายทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ในหมู่ภิกษุมีสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นประธาน

    @@@@@@@

    ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร.?
    คือ ฝ่ายทายก(ผู้ให้) มีองค์ ๓ ประการ , ฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) มีองค์ ๓ ประการ
             
    องค์ ๓ ประการของทายก อะไรบ้าง.?
    คือ ทายกในธรรมวินัยนี้
       ๑. ก่อนให้ก็มีใจดี
       ๒. กำลังให้ก็ทำจิตให้เลื่อมใส
       ๓. ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน
    นี้คือองค์ ๓ ประการของทายก

    องค์ ๓ ประการของปฏิคาหก อะไรบ้าง.?
    คือ ปฏิคาหกในธรรมวินัยนี้
       ๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ
       ๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ
       ๓. เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ
    นี้คือองค์ ๓ ประการของปฏิคาหก

    องค์ ๓ ประการของทายก , องค์ ๓ ประการของปฏิคาหก มีด้วยประการฉะนี้
    ภิกษุทั้งหลาย ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล

    @@@@@@@
                                                 
    ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณบุญแห่งทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างนี้ว่า ‘ห้วงบุญ ห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำความสุขมาให้ มีอารมณ์ดีเลิศ(๑-) มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญ ห้วงกุศลแห่งทักษิณานั้นถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’

    เปรียบเหมือนการกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง น้ำในมหาสมุทรนั้นถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’ ฉันใด

    ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณบุญแห่งทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างนี้ว่า ‘ห้วงบุญ ห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำความสุขมาให้ มีอารมณ์ดีเลิศ มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญ ห้วงกุศลของทักษิณานั้น ถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’ ฉันนั้น

    @@@@@@@

ทายกก่อนให้ก็มีใจดี เมื่อกำลังให้ก็ทำจิตให้เลื่อมใส ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ(๒-)

ปฏิคาหกผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ ย่อมเป็นเขตที่สมบูรณ์แห่งการให้

ทายกต้อนรับปฏิคาหกด้วยตนเอง ถวายทานด้วยมือตนเอง ยัญนั้นย่อมมีผลมาก เพราะตน(ทายกผู้ให้ทาน) และเพราะผู้อื่น(ปฏิคาหก)เป็นบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ มีศรัทธา มีใจพ้นแล้ว(๓-) บูชายัญอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงโลกที่ปราศจากความเบียดเบียน เป็นสุข

                                           ทานสูตรที่ ๗ จบ



เชิงอรรถ :-
(๑-) มีอารมณ์ดีเลิศ ในที่นี้หมายถึงให้กามคุณ ๕ ประการ มีรูปเป็นต้นที่เลิศ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘)
(๒-) ยัญ ในที่นี้หมายถึงทาน หรือเครื่องไทยธรรม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๐/๓๔๑, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๗/๑๑๘)
และดู ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๓๐๕/๒๑๖
(๓-) มีใจพ้นแล้ว หมายถึงมีใจพ้นจากความตระหนี่ลาภเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๗/๑๑๘)





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘๖-๔๘๗ | พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต , ๔. เทวตาวรรค , ๗. ทานสูตร
website : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=288
ภาพจาก : https://uttayarndham.org/dhama-daily





อรรถกถาทานสูตรที่ ๗ 
             
พึงทราบวินิจฉัยในทานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวฬุกณฺฏกี ได้แก่ เป็นชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ.
บทว่า ฉฬงฺคสมนฺนาคตํ ความว่า ประกอบไปด้วยองค์คุณ ๖ ประการ.
บทว่า ทกฺขิณํ ปติฏฐาเปติ ความว่า ถวายทาน.

บทว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน ความว่า เป็นผู้ถึงความโสมนัสตั้งเดือนหนึ่งว่า เราจักถวายทาน.
อธิบายว่า บุรพเจตนา ในคำว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน นี้ ย่อมมีแก่ผู้เริ่มต้นทำนา โดยคิดอยู่ว่า เราจักถวายทานด้วยข้าวกล้าที่เกิดจากนานี้ จำเดิมแต่กาลที่เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักถวายทาน.
               
ส่วนมุญจนเจตนา(ความตั้งใจสละ) ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อให้ย่อมยังจิตให้ผ่องใสดังนี้ ย่อมมีได้ในเวลาให้ทานเท่านั้น แต่อปรเจตนานี้ว่า ครั้นให้แล้วก็มีจิตปลาบปลื้มดังนี้ ย่อมมีแก่ผู้ระลึกถึงในภายหลัง ในกาลต่อๆ มา.

               
@@@@@@@

บทว่า วีตราคา ได้แก่ พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ.
บทว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา ความว่า ดำเนินปฏิปทาที่เป็นเหตุนำราคะออกไป.

และเทศนานี้เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์ แต่มิใช่สำหรับพระขีณาสพอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน โดยที่สุดแม้สามเณรผู้ถือภัณฑะบวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้วย่อมชื่อว่าประกอบไปด้วยองค์ ๖ ทั้งนั้น. เพราะว่า แม้สามเณรก็บวชเพื่อโสดาปัตติมรรคเหมือนกัน.

ความบริบูรณ์แห่งทาน ชื่อว่า ยัญสัมปทา.

บทว่า สญฺญตา ความว่า สำรวมแล้วด้วยคำสำรวมคือศีล.
บทว่า สยํ อาจมยิตฺวาน ความว่า ตนเองล้างมือ ล้างเท้า แล้วล้างหน้า.
บทว่า สเกหิ ปาณิภิ ความว่า ด้วยมือของตน. ปาฐะเป็น สเยหิ ก็มี.

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ เชื่อคุณพระรัตนตรัย.
บทว่า มุตฺเตน เจตสา ความว่า มีจิตหลุดพ้นจากความตระหนี่ในลาภ เป็นต้น.
บทว่า อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลกํ ได้แก่ เทวโลกที่ปราศจากทุกข์ มีแต่สุข และโสมนัสอันโอฬาร.

                             จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๗       
       




ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : pinterest
website : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=308
106  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ตามไปดู ยกโบสถ์วัดใหม่ยายแป้น “๑ เดียว” ในกรุงเทพมหานคร เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 07:53:49 am
.



ตามไปดู ยกโบสถ์วัดใหม่ยายแป้น “๑ เดียว” ในกรุงเทพมหานคร

“ผู้เขียน” บวชเรียนมา 15 พรรษา  เป็นสามเณร 8 ปี และเป็นพระภิกษุอีก 7 ปี  ผ่านโบสถ์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 โบสถ์ คือ อาศัยวัดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 วัด ทั้งชั่วคราวและจำพรรษา ยังไม่เคยไปร่วมกิจกรรม “ยกโบสถ์” สักครั้งหนึ่งในช่วิต  ส่วนใหญ่ไปร่วมงาน “ปิดทองฝังลูกนิมิต” หรือไม่ก็ “งานวัดประจำปี” น้อยสุดเคยร่วมแค่ “ทาสีโบสถ์”

พระพรหมวชิรปัญญาจารย์  (ป.ธ.9 ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายคำว่า “โบสถ์” ไว้ว่า  เป็นคำเรียกสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่นสวดพระปาติโมกข์ ให้อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต คำว่า โบสถ์ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในพระพุทธศาสนา

“โบสถ์” เรียกเต็มคำว่า อุโบสถ หรือโรงอุโบสถ ถ้าเป็นของพระอารามหลวงเรียกว่า พระอุโบสถ บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือสิม

“โบสถ์” เป็น “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์”  เป็นที่ “ประทับของพระพุทธเจ้า” เป็นเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่สงฆ์เป็นพิเศษ เรียกว่า “วิสุงคามสีมา” ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัยจะต้องมีสังฆกรรมที่เรียกว่าผูกสีมา หรือผูกพัทธสีมาก่อน

@@@@@@@

ส่วนคำว่า “พัทธสีมา” พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า สีมา หมายถึงเขตหรือแดนที่กำหนดไว้สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์ เป็นเขตชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งพระสงฆ์กำหนดว่าผู้อยู่ในเขตนั้นจะต้องร่วมกันทำสังฆกรรมโดยความพร้อมเพรียงกัน

“พัทธสีมา” หมายถึงสีมา หรือเขตแดนที่พระสงฆ์ผูกไว้แล้ว คือพระสงฆ์ร่วมกันกำหนดให้เป็นเขตทำสังฆกรรมตามพระวินัย เรียกพิธีกรรมที่กำหนดอย่างนั้นว่า ผูกสีมา โดยทั่วไปเรียกพัทธสีมาว่า โบสถ์ หรืออุโบสถ เขตหรือแดนที่จะผูกเป็นพัทธสีมานั้น จะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน เพราะต้องเป็นเขตแยกต่างหากจากเขตแดนบ้าน ซึ่งเรียกว่า “วิสุงคามสีมา”

โบสถ์ เป็น “ศาสนสำคัญ” ในทางพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่สร้าง “คน” เสกคน ให้เป็น “พระภิกษุ”
ยุคโบราณ มีคำกล่าวว่า “คนร้าย”  หนีเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อหนีเข้าไปใน “โบสถ์” เจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่ตามจับ เพราะถือว่าเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และหมายความถึงว่า “ผู้ร้าย” ตนนั่น ยอมมอบตัวไว้ใน พระพุทธศาสนา แล้ว






“ผู้เขียน” ไปดูการ “ยกโบสถ์” วัดใหม่ยายแม้น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นวัดสร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ประมาณปี 2390 โดย “คุณยายแม้น สตรีชาวมอญ”  หลักฐานเหล่านี้มีทั้ง “ระฆังใบเก่า” และบนหลังคาอุโบสถหลังเก่ามีไก่ 2 ตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าสร้างเสร็จในปีระกา 2391

แต่ความจริง วัดแห่งนี้น่าจะมีอายุมากกว่านี้ เพราะธรรมดาทั่วไปคนมอญหรือคนไทยยุคเก่าเวลาจะสร้างวัดต้องนิมนต์พระมาอยู่ก่อน มาจำพรรษาสัก 5 -10 พรรษา เมื่อเห็นว่าพระอยู่ได้ ชาวบ้านศรัทธา จึงสร้างวัดแบบมั่นคงและถาวร

“วัดใหม่ยายแป้น” เจ้าอาวาสรูปก่อน ๆ มาจากภาคใต้คือ “จังหวัดพัทลุง” เป็นส่วนใหญ่ เพราะสืบเชื้อจากรุ่นต่อรุ่น ปัจจุบันก็ยังมีคนในตระกูล “ณ พัทลุง” มาคอยดูและอุปถัมภ์วัดอยู่ ซึ่งตระกลู ณ พัทลุงนี้ก็ใช่ใครอื่นๆ คือ “สายคุณหญิงแป้น” ที่ไปแต่งงานกับ “พระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก” แล้วตามไปอยู่ภาคใต้ ตั้งรกรากอยู่ที่นั้น

เมื่อแต่งงานแล้ว “ขุนคางเหล็ก” ท่านก็เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลามมาเป็นชาวพุทธ ไม่เหมือนยุคนี้..ใครแต่งงานกับคนอิสลามต้องเข้านับถือรีตอิสลามทันที ไม่ว่าจะเป็น “ชายหรือหญิง”

@@@@@@@

“เจ้าคุณหรรษา” พระเมธีวัชรบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น ท่านเป็น “พระนักวิชาการ” มีตำแหน่งทางวิชาการ นอกจาก เป็น “ด๊อกเตอร์” แล้ว ยังได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น “ศาสตราจารย์” ด้วย หากนับพระภิกษุในประเทศไทยเป็นรูปที่ 4 ของคณะสงฆ์
   - รูปแรก คือ พระพรหมบัณฑิต
   - รูปที่ 2 พระธรรมวัชรบัณฑิต
   - รูปที่ 3 พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ซึ่งอยู่วัดใหม่ยายแป้นเช่นกัน และ
   - รูปที่ 4 ก็คือ พระเมธีวัชรบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณหรรษา” 

“ผู้เขียน” ยกมาเล่าแบบนี้เพื่อสื่อถึงว่า “โบสถ์” วัดใหม่ยายแป้น มิใช่โบสถ์ธรรมดา เป็นโบสถ์ที่ “สร้างพระนักวิชาการ” รับใช้สังคม รับใช้คณะสงฆ์ ถึง 2 รูป ยังไม่มีวัดใดทำได้ ขนาด “วัดหลวง”  วัดดัง ๆ ที่ว่ามีเงินเยอะ คนไปท่องเที่ยวเยอะ มีพระจำพรรษาเยอะ ยังสู้ “โบสถ์วัดใหม่ยายแป้น” วัดราษฎร์ไม่ได้

“ผู้เขียน” ถาม “เจ้าคุณหรรษา” ว่าใช้งบประมาณเท่าไร ท่านบอกว่าประมาณ 20 ล้านบาท ใช้เวลา 5 ปี  เพราะ “ยกโบสถ์” ขึ้นมาทั้งหลังตอนนี้ยังไม่มีเจ้าภาพหลัก ไม่มีเจ้าภาพรายใหญ่

สาเหตุที่ยกท่านบอกว่า เพราะวัดติดคลอง เวลาฝนตกน้ำทะลักขึ้นมาท่วมลานโบสถ์ และที่สำคัญพื้นลานโบสถ์ ต่ำมาก ในขณะที่ “ลานวัด” ถมที่สูง ระยะยาวปล่อยไว้นานโบสถ์ “จะทรุด”




“ผู้เขียน” ไม่กล้าถามต่อว่า งบประมาณสูงขนาดนี้เอาที่ไหน เพราะเท่าที่มีประสบการณ์รู้ว่า “พระนักวิชาการ” หาเงินยาก จะออกปากบอกโยม..“กระด้างปาก อาย เขิน เกรงใจ ไม่กล้า” ไม่เหมือนพวก “พระหมอดู-พระปลูกเสก-พระสร้างวัตถุมงคล” พวกนี้โยมเข้าหาเยอะ เงินแค่ 20 ล้าน สร้างพระรุ่นเดียว อย่าว่าแต่ “ยกโบสถ์” เลย สร้างโบสถ์ “ทั้งหลัง” ยังได้สบาย

ตอนนี้พระสงฆ์วัดใหม่ยายแป้น “เดือดร้อน” เวลาลงพระปาฏิโมกข์ คนในชุมชนบวช ต้องไปอาศัยวัดใกล้เคียง ยังคิดอยู่ว่า “รับกฐิน” ปีนี้จะไปทำ “สังฆกรรม” ที่ใด

เท่าที่สืบค้นหาข้อมูลดู การยกโบสถ์ มีอานิสงส์มาก ไม่ต้องคิดอื่นไกล “โบสถ์” คือสถานที่ สร้างคนให้เป็นพระ แค่เป็นเจ้าภาพบวชพระภิกษุ ชาวพุทธเราถือว่าได้บุญ ได้อานิสงส์มากแล้ว นี่คือ “อุโบสถ” สถานที่ “สร้างคนให้เป็นพระ” น่าจะสุดยอดแห่งบุญแล้ว 

และเท่าที่สอบถามจากเพื่อนๆบ้าง พระภิกษุสงฆ์บ้าง ณ ตอนนี้ วัดใหม่ยายแป้น น่าจะเป็นวัดเดียวในกรุงเทพมหานคร ที่ “ยกใหม่” ส่วนวัดอื่นๆ ยังไม่มีข้อมูลว่ามีการยกโบสถ์แล้วบูรณะใหม่เหมือน “วัดใหม่ยายแป้น”

@@@@@@@

ยกโบสถ์ ยกชีวิต “สายมู” บอกว่า “แก้เคราะห์” ได้ทุกชนิด ทั้งเจ็บป่วย ค้าขาย และอุทิศส่วนกุศลให้ “เจ้าเวร-นายกรรม” เป็นต้น

“ผู้เขียน”จึงเชิญชวนชาวพุทธ หากท่านใดเห็นว่าการยกโบสถ์สำคัญต่อวัด สำคัญต่อพระพุทธศาสนาขอเชิญชวน “ร่วมด้วยช่วยกัน” หรือไปเที่ยววัด ไปชมวัดที่สะอาดรื่นรมย์ 

ติดต่อได้ที่เบอร์สำนักงานโทร 096-256-5142 หรือหากไม่สะดวกจะไปที่วัด โอนเงินเข้าบัญชีวัด ธ.กรุงไทย หมายเลข 026-028-0135 ก็ได้บุญเฉกเช่นเดียวกัน





ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78079
107  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฟังพระเล่า : วิกฤตใหญ่ที่ไทยกำลังเผชิญ.!! เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 07:04:25 am
.



ฟังพระเล่า : วิกฤตใหญ่ที่ไทยกำลังเผชิญ.!!

วันที่ 12 มีนาคม 67  เพจสติ ได้นำคำบรรยายของ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้พูดถึง “วิกฤตใหญ่ที่ไทยกำลังเผชิญ” ซึ่งสำรวจโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและธนาคารโลก ว่า

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีข่าวเล็ก ๆ อยู่ข่าวหนึ่ง ที่จริงไม่ควรจะเป็นข่าวเล็ก น่าจะเป็นข่าวใหญ่ เพราะเป็นเรื่องราวข่าวคราวข้อมูลเกี่ยวกับคนไทยทั้งประเทศ แล้วก็มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับตัวเราเองหรือว่าลูกหลานของเราถ้วนหน้าเลย แล้วก็เป็นข่าวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ น่าเป็นห่วง

ก็คือธนาคารโลก กับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเขาเปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานของคนไทยทั้งประเทศ เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต จะเรียกว่าเพื่อความอยู่รอดในสังคมสมัยใหม่ก็ได้

แต่ว่ามากกว่านั้นก็คือเพื่อชีวิตที่ปกติสุขด้วย เขาเรียกว่าเป็นทักษะพื้นฐานหรือว่าบางทีก็ใช้คำว่าทักษะทุนชีวิตเลย ซึ่งเป็นคำใหม่ เป็นทักษะที่เป็นต้นทุนสำหรับการดำเนินชีวิต มีอยู่ 3 อย่าง 
    1) ทักษะด้านการอ่าน 
    2) ทักษะด้านดิจิตอล 
    3) ทักษะทางสังคมและอารมณ์

@@@@@@@

ทักษะด้านการอ่าน และทักษะด้านดิจิตอล คนไทยเกือบ 70%  มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์ ต่ำกว่ามาตรฐาน นับว่าไม่ใช่น้อยเลย เท่ากับค่อนประเทศเลย ทักษะด้านการอ่านเขาไม่ได้หมายถึงเฉพาะอ่านออกหรือรู้หนังสือ แต่รวมถึงการเข้าใจแล้วก็นำไปปฏิบัติได้ ฉะนั้นเขาให้อ่านฉลากยา ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทุกคนจะต้องอ่านเป็น แล้วเข้าใจ เอาไปปฏิบัติถูก คนไทยจำนวนไม่น้อยอ่านไม่ออก หรือที่อ่านนั้นถึงจะอ่านออกก็ปฏิบัติไม่ถูก ไม่เข้าใจ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก

ส่วนทักษะด้านดิจิตอล เขาไม่ได้หมายถึงเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือเป็น ออนไลน์เป็น สามารถใช้ Facebook โซเชียลมีเดียได้ แต่เขายังหมายถึงว่าสามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ดิจิตอลได้ เช่น ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์หรือว่าสามารถจะเอามาใช้หาข้อมูลที่จำเป็นกับการดำเนินชีวิตทุกอย่าง

ตัวอย่างเช่น เขาให้โจทย์มาเกี่ยวกับราคาค่าบริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งก็มีหลายตัวอย่าง ปรากฏว่าส่วนใหญ่ไม่สามารถจะบอกได้ว่าค่าบริการโทรศัพท์ของหน่วยงานใดมันถูกที่สุด คือไม่สามารถจะเปรียบเทียบได้

แล้วยังรวมถึงความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตก็ยังทำไม่ได้ หาข้อมูลเกี่ยวกับดาราคู่จิ้นนั้นไม่ยาก แต่พอหาข้อมูลที่เกี่ยวกับรายจ่ายรายได้หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ทำไม่เป็น เปรียบเทียบไม่ได้ว่า อะไรดีกว่าอะไร อะไรถูกกว่า 70% ความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์

@@@@@@@

ส่วนทักษะด้านอารมณ์ เขาหมายถึงว่า การรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้ว่าคนที่เรากำลังเกี่ยวข้องเขามีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร แล้วควรจะปฏิบัติกับเขาอย่างไร ควรจะพูดจาอย่างไร คือทักษะด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่น

ที่สำคัญรวมถึงทักษะด้านจัดการกับอารมณ์ของตัวและแก้ทุกข์ของตัวได้ อันนี้ดีหน่อย ดีหน่อยหมายความว่าแย่น้อยหน่อย 30% ของคนไทย มีความสามารถด้านนี้ทักษะด้านนี้ต่ำกว่าเกณฑ์

ที่ว่ามา 2 ทักษะแรก ต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 70% ซึ่งมันน่าคิดว่าคนไทยเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลเลยก็ว่าได้ เด็กอนุบาลคือตั้งแต่เล็ก 2-3 ขวบก็เข้าอนุบาลแล้ว หรือว่าเข้าพรีอนุบาลแม้กระทั่งในชนบท ซึ่งโรงเรียนอนุบาลก็ไม่ได้สอนอะไร ไม่ได้ให้เด็กเล่นแต่ให้เด็กอ่านหนังสือ

เด็กไทยอ่านหนังสือตั้งแต่เล็กในขณะที่เด็กยุโรปเล็ก ๆ อนุบาลเขาไม่ให้อ่านหนังสือ เขาให้เล่นให้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกและชีวิต แต่เด็กไทยเรียนหนังสือตั้งแต่เล็ก เข้าเรียน อ่านออกเขียนได้ตั้งแต่อนุบาล แล้ววัน ๆ หนึ่งแม้เด็กประถมเด็กมัธยมก็เรียนกันหลายชั่วโมง ยังไม่นับที่เรียนพิเศษ




เด็กไทยใช้เวลาในการเรียนหนังสือในห้องเรียนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สิงคโปร์ ฟินแลนด์ หรือว่าสวีเดน จำนวนวันที่เด็กเรียนหนังสือน้อยกว่าของไทยเยอะเลย แต่ทำไมเด็กไทยหรือคนไทยกลับมีทักษะด้านการอ่านแย่

อันนี้ยังไม่ได้ทดสอบทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เราก็เรียนตั้งแต่เล็ก แต่ว่าภาษาอังกฤษของเราต่ำมาก แพ้เวียดนามหลายช่วงตัวเลยทีเดียว ทั้งที่เวียดนามเกิดศึกสงครามมา 30 ปี เพิ่งจะเริ่มพัฒนาประเทศจริงจังก็เมื่อ 40 ปีที่แล้ว แต่เขาไปไกลแล้วด้านภาษา ยังไม่ได้พูดเรื่องภาษาต่างประเทศ เอาแค่ภาษาไทย อ่านรู้เรื่องแต่ว่าเข้าใจความหมายได้น้อยมาก

แล้วทักษะด้านดี ๆ ก็แปลกที่คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้โซเชียลมีเดียวันหนึ่งหลายชั่วโมง ติดอันดับต้น ๆ ของโลกเหมือนกัน แต่ทำไมทักษะด้านนี้ถึงต่ำมาก หรือว่าเราใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการเสพสุข หรือว่าเพื่อการปรนเปรอ เพื่อความสนุกสนาน แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

อันนี้นอกจากจะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความบกพร่องในการเรียนรู้ของคนไทย มันยังสะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องของการเลี้ยงดู หรือการให้การศึกษาแก่เยาวชน เริ่มตั้งแต่ครอบครัวจนถึงโรงเรียนเลย พ่อแม่คงไม่ค่อยได้เลี้ยงดูให้การศึกษาลูกเท่าไหร่

โรงเรียนก็เหมือนกัน เด็กไทยเรียนหนังสือเยอะแต่ว่าความรู้ อ่านออกเขียนได้ด้านภาษาต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งด้านคณิตศาสตร์ การคำนวณ ก็เรียกว่าถดถอยมาก

@@@@@@@

แต่แปลกทักษะประการที่ 3 ซึ่งไม่ค่อยได้เรียน หรือว่าสอนกันในโรงเรียน คือ ทักษะด้านสังคมและอารมณ์ คนไทยจำนวนน้อยกว่าที่มีทักษะด้านนี้ต่ำกว่าเกณฑ์ คือ 30% แสดงว่าคงจะเรียนรู้จากวัฒนธรรม จากสังคม แต่ว่าก็ยังเรียนรู้ไม่พอ ไม่อย่างนั้นมันไม่มีตัวเลขแบบนี้

อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก ซึ่งทำให้หลายคนเขาวิตกมาก เฉพาะมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ  เขาบอกว่า ความตกต่ำด้านทักษะของคนไทยหรือทักษะด้านพื้นฐาน ถ้าคิดเป็นตัวเงินแล้วก็ประมาณ 20% ของ GDP หรือของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ก็หลายหมื่นล้านหรือแสนล้านเลยทีเดียว

ถึงบอกว่ามันเป็นข่าวใหญ่ ที่ไม่ควรจะเป็นข่าวเล็ก ๆ ที่พ่อแม่ หรือว่าโรงเรียน ครูบาอาจารย์ควรจะตื่นตัว แล้วก็ตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรการศึกษาของเรามันถึงจะดีขึ้นกว่านี้ ปฏิรูปกันมาไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ในช่วง 40 ปี แต่ว่ามันไม่ได้ดีขึ้นเลย มีคนเขาบอกว่ามันต้องยกเครื่องแล้ว ไม่ใช่ปะผุ ซ่อมตรงนี้ทีแก้ตรงนั้นที

แต่ว่าเรื่องนี้ก็ไม่ค่อยได้มีผู้นำประเทศนี่สนใจเท่าไหร่ กระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นคนที่มีความสามารถด้านนี้ มาเป็นรัฐมนตรีก็เพียงเพราะมีตำแหน่งให้ลง แต่ว่าไม่ได้มีความสนใจที่จะผลักดันขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่รัฐมนตรีก็ไม่พอถ้าหากว่าระบบราชการทั้งหมดยังเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ก็คงยาก.





ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78072
108  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “มจร” เตรียมพร้อมจัดพิธีอัญเชิญ “พระพุทธมหาจุฬาฯ” เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 06:54:20 am




“มจร” เตรียมพร้อมจัดพิธีอัญเชิญ “พระพุทธมหาจุฬาฯ” 

วันที่ 11 มีนาคม 2567  พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 ที่จะถึงนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีกำหนดการจัดพิธีอัญเชิญพระพุทธปฎิมา “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา”

เพื่อประดิษฐานบนฐานชุกชี ณ มณฑลพิธี ลานเอนกประสงค์บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา




“ตอนนี้ฐานชุกชีสร้างเสร็จแล้ว พระพุทธรูปหล่อเรียบร้อยแล้ว ทางคณะผู้บริหาร มจร จึงได้กำหนดจัดงานเพื่ออัญเชิญมาตั้งในวันที่ 21 นี้ โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ หรือ “เจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตโต” เป็นประธานในพิธี อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ จะเป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ในขณะที่เจ้าภาพซึ่งเป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง คือ คุณเพ็ญศรี ชั้นบุญ จะกล่าวถวายรายงาน

ต่อนั้นก็จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ กล่าวสัมโมทนียกถา ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ญาติโยมที่มาร่วมงาน เป็นอันเสร็จพิธี ซึ่งพิธีดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกาเป็นต้นไป..”











ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78059
109  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เตือน “พระอุปัชฌาย์ต่างประเทศ” ไม่ควรกลับมา ให้การบรรพชาอุปสมบทในไทย เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 06:41:24 am




เตือน “พระอุปัชฌาย์ต่างประเทศ” ไม่ควรกลับมา ให้การบรรพชาอุปสมบทในไทย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรฯ เป็นประธาน เปิดการฝึกซ้อมอบรมพระสังฆาธิการ เพื่อสอบความรู้แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ 57 ครั้งที่ 1

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กล่าวในการเป็นประธาน เปิดการฝึกซ้อมอบรมพระสังฆาธิการ เพื่อสอบความรู้แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ 57 ครั้งที่ 1 จำนวน 338 รูป เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่วัดสามพระยา ว่า

พระอุปัชฌาย์เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ โดยในจริยาพระอุปัชฌาย์นั้นระบุว่า ต้องเอื้อเฟื้อ สังวร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และกฎหมายอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎ มส. ตามคำสั่งหรือคำแนะนำชี้แจงของผู้บังคับบัญชา ที่สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎ มส. และต้องระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้บกพร่อง

ซึ่งในทางพระธรรมวินัย พระอุปัชฌาย์ถือว่ามีความสำคัญ เพราะต้องมีหน้าที่กลั่นกรองกุลบุตรผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เข้ามาเป็นสมาชิกในหมู่สงฆ์ ต้องเป็นประธานและรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท ทั้งต้องปกครอง ดูแล อบรม สั่งสอน สัทธิวิหาริก (คำเรียกผู้ที่ได้รับการบวชจากพระอุปัชฌาย์ใครเคยบวชจากพระอุปัชฌาย์รูปใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์นั้น) ให้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติ ต้องขวนขวายให้ได้รับการศึกษาตามพระธรรมวินัย ซึ่งถือเป็นภาระ ธุระของพระอุปัชฌาย์ โดยสัทธิวิหาริกที่พรรษายังไม่พ้น 5 หากจะไปอยู่ที่ใด พระอุปัชฌาย์ต้องมีหน้าที่คอยติดตามด้วย




สมเด็จพระพุฒาจารย์ กล่าวต่อไปว่า ในที่นี้จะขอพูดถึงหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ และสัทธิวิหาริก ตามวินัยมุข ซึ่งเป็นหน้าที่ที่เกิดจากความเคารพซึ่งกันและกัน

โดยหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ต่อสัทธิวิหาริก เรียกว่า สัทธิวิหาริกวัตร มีอยู่ 4 ข้อ
1. มุ่งการศึกษาของสัทธิวิหาริก
2. สงเคราะห์สัทธิวิหาริกด้วยสมณบริขาร
3. ป้องกันความเสื่อมเสียที่จะพึงเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วแก่สัทธิวิหาริก
4. ให้การรักษาพยาบาลเมื่อสัทธิวิหาริกเจ็บไข้ได้ป่วย

ส่วนหน้าที่ของสัทธิวิหาริอ ต่อพระอุปัชฌาย์ เรียกว่า อุปัชฌายวัตร มี 7 ข้อ
1. อุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์
2. มุ่งการศึกษา
3. ป้องกันความเสื่อมเสียที่จะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วกับพระอุปัชฌาย์
4. รักษาน้ำใจของพระอุปัชฌาย์
5. มีความเคารพต่อท่าน
6. ไปไหนมาไหนบอกกล่าวท่าน
7. เมื่อพระอุปัชฌาย์เจ็บไข้ ต้องรักษาพยาบาล

ทั้งนี้ เมื่อปฏิบัติต่อกันดังกล่าวจะเกิดความผูกพันกัน นอกจากนี้ ยังมีการอนุญาตให้พระอุปัชฌาย์ สามารถขับไล่สัทธิวิหาริก ที่ไม่มีความเลื่อมใส ไม่มีความละอาย ไม่มีความเคารพ และพระอุปัชฌาย์สามารถประณามสัทธิวิหาริกได้




สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) กรรมการ มส. ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม บรรยายพิเศษว่า สำหรับพระอุปัชฌาย์ที่เป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศนั้น ในการจะดำเนินการบรรพชาอุปสมบทในต่างประเทศนั้น จะต้องทำให้ถูกกฎหมายในแต่ละประเทศ และถูกต้องตามพระธรรมวินัยด้วย ไม่ควรให้การบรรพชาอุปสมบทนอกเขตของตนเองที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศนั้นๆ

เพราะในแต่ละประเทศ ทางสมัชชาสงฆ์ไทยจะมีการแบ่งเขตในการปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้ว ถ้าให้การบรรพชาอุปสมบทนอกเขต ต้องขออนุญาตจากสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศนั้นก่อน และพระอุปัชฌาย์ในต่างประเทศ เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว ไม่ควรมาให้การบรรพชาอุปสมบทในประเทศไทย เพราะจะเกิดปัญหา แม้จะได้รับการนิมนต์ให้กลับมาทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ในไทย ก็ไม่ควรรับ ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3250086/
12 มีนาคม 2567 , 12:57 น. | การศึกษา-ศาสนา
110  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ที่มา : บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง 'มหามนตรา' เมื่อ: มีนาคม 12, 2024, 10:25:54 am
.



สรุป มหากรุณาหฤทัยธารณีมูลมนตร์ ฉบับพระวัชรโพธิ

  ๑. นโม รตฺนตฺรยายฯ
      นม อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย
      มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย
      สรฺวพนฺธนจฺเฉทนกราย
      สรฺวภวสมุทฺรโศษณกราย
      สรฺววฺยาธิปฺรศมนกราย
      สรฺเวตฺยุปทฺรววินาศนกราย
      สรฺวภเยษุตฺราณราย ฯ
      ตสฺไม นมสฺกฤตฺวา อิมํ อารฺยาวโลกิเตศฺวรภาษิตํ นีลกณฺฐนาม ฯ

  ๒. หฤทยํ วรฺตยิษฺยามิ สรฺวารฺถ สาธกํ ศุภมฺ ฯ
      อเชยํ สรฺวภูตานํา ภวมารฺควิโศธกมฺ ๚


 ๓/๑ ตทฺยถา ฯ
      โอํ อาโลก เอ อาโลกมติ โลกาติกฺรานฺต
      เอหิ หเร อารฺยาวโลกิเตศฺวร มหาโพธิสตฺตฺว ฯ
      เห โพธิสตฺตฺว เห มหาโพธิสตฺตฺว เห วีรฺยโพธิสตฺตฺว
      เห มหาการุณิก สฺมร หฤทยมฺ ฯ
      เอหฺเยหิ หเร อารฺยาวโลกิเตศฺวร มเหศฺวร ปรมารฺถจิตฺต มหาการุณิก ฯ

      กุรุ กุรุ กรฺม ฯ
      สาธย สาธย วิทฺยามฺ ฯ
      เทหิ เทหิ ตฺวรํ กามํคม วิหํคม วิคม สิทฺธโยเคศฺวร ฯ

      ธุรุ ธุรุ วิยนฺต เอ มหาวิยนฺต เอฯ
      ธรธร ธเรนฺเทฺรศฺวร ฯ
      จลจล วิมลามล ฯ
      อารฺยาวโลกิเตศฺวร ชิน ฯ
      กฤษฺณชฏามกุฏา’วรม ปฺรรม วิรม  มหาสิทฺธวิทฺยาธร ฯ

      พลพล มหาพล
      มลฺลมลฺล มหามลฺล
      จล จล มหาจล ฯ
      กฤษฺณวรฺณ ทีรฺฆ กฤษฺณปกฺษ นิรฺฆาตน เห ปทฺม หสฺต ฯ
      จร จร นิศาจเรศฺวร กฤษฺณสรฺปกฤต ยชฺโญปวีต ฯ

 ๓/๒ เอหฺเยหิ มหาวราหมุข
      ตฺริปุรทหเนศฺวร
      นารายณพโลปพลเวศธร ฯ
      เห นีลกณฺฐ เห มหากาล
      หลาหล วิษ นิรฺชิต โลกสฺย
      ราควิษวินาศน
      ทฺเวษวิษวินาศน
      โมหวิษวินาศน

      หุลุหุลุ มลฺล ฯ
      หุลุ หเร มหาปทฺมนาภ ฯ
      สร สร สิริ สิริ สุรุ สุรุ มุรุมุรุฯ
      พุธฺย พุธฺย โพธย โพธย ไมตฺริย นีลกณฺฐ ฯ

      เอหฺเยหิ วามสฺถิตสิํห มุข ฯ
      หส หส มุญฺจ มุญฺจ มหาฏฺฏหาสมฺ ฯ
      เอหฺเยหิ โภ มหาสิทฺธโยเคศฺวร ฯ
      ภณ ภณ วาจมฺ ฯ

      สาธย สาธย วิทฺยามฺ ฯ
      สฺมร สฺมร ตํ ภควนฺตํ โลกิตวิโลกิตํ โลเกศฺวรํ ตถาคตมฺ ฯ
      ททาหิ เม ทรฺศนกามสฺย ทรฺศนมฺ ฯ
      ปฺรหฺลาทย มนะ สฺวาหา ฯ

 ๓/๓ สิทฺธาย สฺวาหาฯ
      มหาสิทฺธาย สฺวาหา ฯ
      สิทฺธโยเคศฺวราย สฺวาหา ฯ
      นีลกณฺฐาย สฺวาหา ฯ
      วราหมุขาย สฺวาหา ฯ
      มหานรสิํหมุขาย สฺวาหาฯ
      สิทฺธ วิทฺยาธราย สฺวาหา ฯ
      ปทฺมหสฺตาย สฺวาหา ฯ
      กฤษฺณสรฺปกฤตยชฺโญปวีตาย สฺวาหา ฯ
      มหาลกุฏ ธราย สฺวาหาฯ จกฺรายุธาย สฺวาหา ฯ
      ศํขศพฺท นิโพธนาย สฺวาหา ฯ
      วามสฺกนฺธเทศสฺถิต กฤษฺณาชินาย สฺวาหา ฯ
      วฺยาฆฺรจรฺม นิวสนาย สฺวาหา ฯ
      โลเกศฺวราย สฺวาหา ฯ
      สรฺวสิทฺเธศฺวราย สฺวาหา

  ๔. นโม ภควเต อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย
      มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย ฯ
      สิธฺยนฺตุ เม มนฺตฺรปทานิ สฺวาหา ๚





คำอ่าน

  ๑. นะโม รัตนะ-ตระยายะ ฯ
     นะมะ อารยา-วะโลกิเต-ศวะรายะ โพธิ-สัตตวายะ
     มะหา-สัตตวายะ มะหา-การุณิกายะ
     สรรวะ-พันธะนะ-จเฉทะนะ-กะรายะ
     สรรวะ-ภะวะ-สะมุทระ-โศษะณะ-กะรายะ
     สรรวะ-วยาธิ- ประศะมะนะ กะรายะ
     สรรเวต-ยุปะทระวะ -วินาศะนะ- กะรายะ
     สรรวะ- ภะเยษุ-ตราณะ-กะรายะ ฯ
     ตัสไม นะมัส-กฤตวา อิมัม อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ-ภาษิตัม นีละกัณฐะ-นามะ ฯ

 ๒. หฤทะยัม วรรตะ-ยิษยามิ สรร-วารถะ สาธะกัม ศุภัม ฯ
     อะเชยัม สรรวะ-ภูตานาม ภะวะ-มารคะ-วิโศธะกัม ๚

๓/๑ ตัทยะถา ฯ
     โอม อาโลกะ เอ อาโลกะ-มะติ โลกาติ-กรานตะ
     เอหิ หะเร อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ มะหา-โพธิ-สัตตวะ ฯ
     เห โพธิ-สัตตวะ เห มะหา-โพธิ-สัตตวะ เห วีรยะ-โพธิ-สัตตวะ
     เห มะหา-การุณิกะ สมะระ หฤทะยัม ฯ
     เอห-เยหิ หะเร อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ มะเห-ศวะระ ปะระ-มารถะ-จิตตะ มะหา-การุณิกะ ฯ

     กุรุ กุรุ กรรมะ ฯ
     สาธะยะ สาธะยะ วิทยาม ฯ
     เทหิ เทหิ ตวะรัม กามัม-คะมะ วิหัง-คะมะ วิ-คะมะ สิทธะ-โยเค-ศวะระ ฯ

     ธุรุ ธุรุ วิยันตะ เอ มะหา-วิยันตะ เอฯ
     ธะระ ธะระ ธะเรนเทร-ศวะระ ฯ
     จะละ จะละ วิมะลา-มะละ ฯ
     อารยาวะ-โลกิเต-ศวะระ ชินะ ฯ
     กฤษณะ-ชะฏา-มะกุฏา วะระมะ ประระมะ วิระมะ มะหา-สิทธะ-วิทยา-ธะระฯ

     พะละ พะละ มะหา-พะละ
     มัลละ มัลละ มะหา-มัลละ
     จะละ จะละ มะหา-จะละ ฯ
     กฤษณะ-วรรณะ ทีรฆะ-กฤษณะ-ปักษะ-นิรฆาตะนะ เห ปัทมะ-หัสตะ ฯ
     จะระ จะระ นิศาจะเร-ศวะระ กฤษณะ-สรรปะ-กฤตะ ยัชโญปะวีตะ ฯ

๓/๒ เอห-เยหิ มะหา-วะราหะ-มุขะ
     ตริปุระ-ทะหะเน-ศวะระ
     นารายะณะ-พะโลปะ-พะละ-เวศะ-ธะระ ฯ
     เห นีละ-กัณฐะ เห มะหา-กาละ
     หะลา-หะละ วิษะ นิร-ชิตะ โลกัสยะ
     ราคะ-วิษะ-วินาศะนะ
     ทเวษะ-วิษะ-วินาศะนะ
     โมหะ-วิษะ-วินาศะนะ

     หุลุ หุลุ มัลละ ฯ
     หุลุ หะเร มะหา-ปัทมะ-นาภะ ฯ
     สะระ สะระ สิริ สิริ สุรุ สุรุ มุรุ มุรุฯ
     พุธยะ พุธยะ โพธะยะ โพธะยะ ไมตริยะ นีละ-กัณฐะ ฯ

     เอห-เยหิ วามะ-สถิตะ-สิงหะ- มุขะ ฯ
     หะสะ หะสะ มุญจะ มุญจะ มะหาฏ-ฏะหาสัม ฯ
     เอห-เยหิ โภ มะหา-สิทธะ-โยเค-ศวะระ ฯ
     ภะณะ ภะณะ วาจัม ฯ

     สาธะยะ-สาธะยะ วิทยาม ฯ
     สมะระ- สมะระ ตัม ภะคะวันตัม โลกิตะ-วิโลกิตัม โลเกศ-วะรัม ตะถาคะตัม ฯ
     ทะทาหิ เม ทรรศะนะ-กามัสยะ ทรรศะนัม ฯ
     ประหลาทะยะ มะนะห์ สวาหา ฯ

๓/๓ สิทธายะ สวาหา ฯ
     มะหา-สิทธายะ สวาหา ฯ
     สิทธะ-โยเค-ศวะรายะ สวาหา ฯ
     นีละ-กัณฐายะ สวาหา ฯ

     วะราหะ-มุขายะ สวาหา ฯ
     มะหา-นะระ-สิงหะ-มุขายะ สวาหาฯ
     สิทธะ-วิทยา-ธะรายะ สวาหา ฯ
     ปัทมะ-หัสตายะ สวาหา ฯ

     กฤษณะ-สรรปะ-กฤตะ-ยัชโญปะวีตายะ สวาหา ฯ
     มะหา-ละกุฏะ-ธะรายะ สวาหาฯ
     จะกรา-ยุธายะ สวาหา ฯ
     ศังขะ-ศัพทะ-นิโพธะนายะ สวาหา ฯ

     วามะ-สกันธะ-เทศะ-สถิตะ- กฤษณา-ชินายะ สวาหา ฯ
     วยาฆระ จรรมะ- นิวะ-สะนายะ สวาหา ฯ
     โลเก-ศวะรายะ สวาหา ฯ
     สรรวะ-สิทเธ-ศวะรายะ สวาหา ฯ

๔. นะโม ภะคะวะเต อารยาวะโลกิเตศวะรายะ โพธิสัตตวายะ
    มะหาสัตตวายะ มะหาการุณิกายะ ฯ
    สิธยันตุ เม มันตระ – ปะทานิ สวาหา ๚





คำแปล

 ๑. ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ฯ
    ขอนอบน้อมแด่ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
    มหาสัตว์ ผู้ทรงมหากรุณา
    ผู้ช่วยปลดเปลื้องพันธนาการทั้งปวง
    ผู้ทำให้มหาสมุทรแห่งภพทั้งหลายให้เหือดแห้งไป
    ผู้บรรเทารักษาโรคาพยาธิทั้งปวง
    ผู้ทำลายอุปัทวะทั้งปวงให้วินาศไป
    ผู้ทรงช่วยให้รอดพ้นจากความกลัวทั้งหมดทั้งสิ้น
    ครั้นขอถวายความนอบน้อมแด่พระองค์แล้ว ธารณีนี้มีชื่อว่า นีลกัณฐะ เป็นภาษิตแห่งพระอารยอวโลกิเตศวรที่ทรงแสดงไว้

๒. เราจักกล่าว หัวใจ [คือธารณี] อันรุ่งเรืองนี้ ซึ่งจะทำให้สำเร็จประโยชน์ที่มุ่งหวังทั้งปวง
     ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้ สามารถชำระทางแห่งภพของสรรพชีวิตให้บริสุทธิ์

๓/๑ โอม แสงสว่าง ถึง ปัญญาอันสว่างไสว การก้าวพ้นโลก ฯ
     มาเถิด พระหริ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ฯ
     โอ้โพธิสัตว์.! โอ้มหาโพธิสัตว์.! โอ้ โพธิสัตว์ผู้มีความเพียร.! โอ้ มหากรุณา จงระลึกถึงหัวใจ [ธารณี] นี้ ฯ
     มา.! มาเถิดพระหริ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระมเหศวร ที่มีจิตอันเป็นปรมัตถ์ด้วยมหากรุณา ฯ

     ทำ ทำ กิจนั้น.! ฯ [เสียงมนตร์ กุรุ หมายถึง ทำ]
     ทำให้บรรลุ ทำให้บรรลุ ซึ่งวิทยา.!  (ผู้เป็นใหญ่แห่งฟ้าสวรรค์)
     [เสียงมนตร์ ธุรุ เป็นการแผลงเสียง รูปแบบไม่ปกติ จากธาตุ ธฺฤ หมายถึง ยึด จับ ค้ำ สนับสนุน]

     แบก แบก ไว้เถิดพระธเรนเทรศวร  (ผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน)
     [เสียงมนตร์ ธะระ หมายถึง แบก ถือ มาจากธาตุ ธฺฤ เช่นเดียวกัน]
     เคลื่อนไป เคลื่อนไป สู่ความสะอาด ไร้มลทิน
     [เสียงมนตร์ จะละ หมายถึง สั่น, เคลื่อนที่]
     โอ้ พระอารยอวโลกิเตศวร ผู้มีชัย ทรงมกุฎด้วยมุ่นมวยผมสีดำขลับ(ชฎามกุฎ) และทรงเครื่องประดับระย้าที่พระศอและพระกร ผู้เป็นพระมหาสิทธวิทยาธร (ผู้สำเร็จผู้ยิ่งใหญ่ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้)

    พลัง พลังแห่งพระมหาพละ  (ผู้มีพลังอันยิ่งใหญ่)
    [เสียงมนตร์ พะละ หมายถึง พลัง]
    แข็งแกร่ง แข็งแกร่งแห่งพระมหามัลละ  (ผู้เป็นนักปล้ำสู้ผู้แข็งแกร่งยิ่ง)
    [เสียงมนตร์ มัลละ หมายถึง แข็งแกร่ง]
    เคลื่อนไป เคลื่อนไปสู่พระมหาอจละ  (ผู้ไม่สั่นไหวที่ยิ่งใหญ่)
    [เสียงมนตร์ จะละ หมายถึง สั่น, เคลื่อนที่]

    พระผู้มีวรรณะคล้ำ ในปักษ์ข้างแรมอันยาวนาน จงกำจัดให้สิ้น  โอ้ ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว
    จรไป จรไปเถิดพระนิศาจเรศวร  (ผู้เป็นเจ้าผู้ดำเนินไปในเวลาค่ำคืน) ข้าแต่ผู้ที่มีสายยัชโญปวีตเป็นงูดำ [เสียงมนตร์ จะระ หมายถึง จร ย้าย เดิน]

๓/๒ มา.! มาเถิด พระผู้เป็นใหญ่ที่มีหน้าเป็นหมูป่า พระผู้เป็นเจ้าผู้เผาทำลายตรีปุระ ฯ
    พระผู้ประกอบด้วยกำลังอันทรงพลังด้วยการสำแดงกายเป็นพระนารายณ์ ฯ
    โอ้ พระนีลกัณฐะ โอ้ พระมหากาล  ผู้ควบคุม “หลาหละ” พิษแห่งโลก
    ผู้ทำพิษแห่งราคะให้วินาศไป
    ผู้ทำพิษแห่งโทสะให้วินาศไป
    ผู้ทำพิษแห่งโมหะให้วินาศไป

    หุลุ.! หุลุ ! แข็งแกร่ง.!
    [เสียงมนตร์ หุลุ เป็นเสียงเชียร์ หรือโห่ร้องด้วยความดีใจ ในวรรณกรรมสันสกฤต]
    หุลุ.! โอ้พระหริ ผู้เป็นใหญ่ที่มีดอกบัวออกจากพระนาภี(สะดือ)
    สะระ.! สะระ.! สิริ.! สิริ.! สุรุ.! สุรุ.! มุรุ.! มุรุ ฯ
    [เสียงมนตร์ สะระ จากธาตุ สฺฤ แปลว่า ทำให้เคลื่อนไป ผลักดัน ไหลลงมา ส่วน สิริ สุรุ เป็นการแผลงเสียงไม่ปกติ จากธาตุ สฺฤ เพื่อให้เป็นจังหวะ นัยว่าเป็นการอัญเชิญให้พระโพธิสัตว์ลงมา (Descend, come down, condescend) ส่วน มุรุ เป็นเสียงมนตร์ส่วนมากพบอยู่กับ สะระ สุรุ มุรุ]
    ตื่นรู้ ตื่นรู้ รู้แจ้ง รู้แจ้ง พระนีลกัณฐะผู้มีไมตรี
    [เสียงมนตร์ พุธยะ หมายถึง ตื่น, รู้, เข้าใจ และ โพธะยะ หมายถึง รู้แจ้ง]

    มา.! มาเถิด พระผู้มีหน้าเป็นสิงห์สถิตอยู่ด้านซ้าย ฯ
    หัวเราะ หัวเราะ ปลดปล่อย ปลดปล่อยด้วยเถิดพระอัฏฏหาสะผู้ยิ่งใหญ่(ผู้หัวเราะเสียงดัง) [เสียงมนตร์ หะสะ หมายถึง หัวเราะ ส่วน มุญจะ หมายถึง ปลดปล่อย]
    มา.! มาเถิด โอ้ข้าแต่พระสิทธโยเคศวร
    กล่าว จงกล่าวถ้อยคำนี้ ฯ
    [เสียงมนตร์ ภะณะ หมายถึง กล่าว, สวด, เปล่งเสียง]

    ทำให้บรรลุ ทำให้บรรลุ ซึ่งวิทยา.! ฯ
    ระลึก จงระลึกถึงพระองค์นั้น ถึงพระภควาน(ผู้มีโชค) ถึงพระผู้ทรงเฝ้ามองและเพ่งดูอยู่ ถึงพระโลเกศวร(พระผู้เป็นเจ้าแห่งโลก) ถึงพระตถาคตเจ้า(ผู้ไปถึงแล้วอย่างนั้น)
    จงโปรดประทานสิ่งข้าที่ปรารถนาที่จะเห็น ให้ข้าพเจ้าได้เห็น ฯ
    โปรดทำให้จิตใจของข้าพเจ้าให้เบิกบาน สวาหา ฯ

๓/๓ แด่พระสิทธะ สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จ)
    แด่พระมหาสิทธะ สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จผู้ยิ่งใหญ่)
    แด่พระสิทธโยเคศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งการสำเร็จโยคะ)
    แด่พระนีลกัณฐะ สวาหา ฯ (ผู้มีคอสีน้ำเงินเข้ม)

    แด่พระวราหมุขะ สวาหา ฯ (ผู้มีหน้าเป็นหมูป่า)
    แด่พระมหานรสิงหมุขะ สวาหา ฯ (ผู้มีหน้าเป็นนรสิงห์ผู้ยิ่งใหญ่ )
    พระสิทธวิทยาธร สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จ ผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยมนตร์)
    แด่ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว สวาหา ฯ

    แด่ผู้ที่มีสายยัชโญปวีตเป็นงูดำ สวาหา ฯ
    แด่ผู้ถือไม้มหาลกุฏะ สวาหา ฯ
    แด่ผู้มีอาวุธจักร สวาหา ฯ
    แด่ผู้มีสังข์อันมีเสียงปลุกให้ตื่นรู้ สวาหา ฯ (สิ่งของต่างๆ ดูหมายเหตุ )

    แด่ผู้ห่มหนังละมั่งดำ พาดเฉวียงบ่าทางซ้าย สวาหา ฯ
    แด่ผู้นุ่งหนังเสือ สวาหา ฯ
    แด่พระโลเกศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งโลก )
    แด่สรรพสิทเธศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งความสำเร็จทั้งปวง)

๔. ขอนอบน้อมแด่พระภควาน พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
    มหาสัตว์ ผู้ทรงมหากรุณา
    ขอให้มนตร์ทั้งหลายแห่งข้าพเจ้าเหล่านี้ จงสำเร็จเถิด สวาหา ๚






ขอบคุณภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
111  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 3 อาหารต้องห้ามในงานศพ โบราณว่าไว้ อย่าเอามาเสิร์ฟ เมื่อ: มีนาคม 12, 2024, 06:58:13 am
.



3 อาหารต้องห้ามในงานศพ โบราณว่าไว้ อย่าเอามาเสิร์ฟ

”พิธีกรรมและความเชื่ออยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ วันนี้ทางสายกินจะมาพูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับอาหารต้องห้ามในงานศพ มีอะไรบ้างและเพราะอะไร

แน่นอนว่าคนไทยเรามีความเชื่อต่างๆสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณปู่ย่าตายายและถูกถ่ายทอดมายังลูกหลาน อีกทั้งยังมีประเพณีและพิธีกรรมต่างๆที่ถูกส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น มีทั้งงานมงคล งานอวมงคล งานขาวดำต่างๆซึ่งในงานเหล่านี้ต่างก็มีความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้ามต่างๆที่ห้ามทำในงานเหล่านั้น รวมถึงเรื่องของอาหาร มีทั้งอาหารที่เป็นมงคลและอาหารที่ไม่เป็นมงคลในแต่ละงาน วันนี้ทางสายกินขอพูดถึง เมนูอาหารต้องห้ามในงานศพ

โดยทาง The Ghost Radio เคยได้ให้ข้อมูลไว้ ความเชื่อตั้งแต่โบราณ ในงานศพเป็นงานที่สื่อถึงการจากลา พลัดพรากจากกัน และก็มีเมนูที่ไม่ควรนำมาเสิร์ฟในงานศพเพราะแฝงความหมายที่ไม่ดีเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็เป็นเรื่องของความเชื่อส่วนบุคคล ส่วนอาหารที่ไม่ควรเสิร์ฟในงานศพมีอะไรบ้างนั้น ไปเริ่มกันที่อย่างแรกกันเลย




1. อาหารหรือขนมประเภทเส้น

เมนูไหนก็ตามที่เป็นอาหารประเภทเส้น ไม่ว่าจะเป็น ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า ผัดไทย ผัดหมี่ และพวกขนมหวานอย่างฝอยทองก็ไม่ได้ เพราะคนโบราณกล่าวไว้ว่า อาหารประเภทเส้นเหล่านี้ เป็นเหมือนเส้นใยผูกพัน ทำให้ญาติพี่น้องที่ยังคงมีชีวิตอยู่กับผู้เสียชีวิตอาจผูกพันกันจนไม่สามารถตัดขาดจากกันได้ เนื่องจากวิญญาณของผู้เสียชีวิตยังมีห่วงอยู่และไม่ไปเกิดใหม่ ทั้งยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการตายต่อ ๆ กันในเครือญาติ เนื่องจากความยาวของเส้นอาหารต่าง ๆ เป็นเหมือนเส้นใยนำทางให้วิญญาณนำพาชีวิตของคนในครอบครัวไปอยู่ด้วยนั่นเอง




2. อาหารที่ห่อด้วยใบตอง

ตั้งแต่ในอดีตคนโบราณมักนำใบตองหรือใบกล้วยที่มีขนาดใหญ่ มารองศพและปิดร่างศพเอาไว้ เพราะใบตองในสมัยนั้นหาง่าย ดังนั้นการนำอาหารที่ห่อด้วยใบตองมาเสิร์ฟในงานศพจึงเป็นเรื่องไม่ดีไม่เหมาะสม เป็นเหตุผลที่ไม่เห็นงานศพที่ไหนใช้ใบตองมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดโต๊ะอาหาร




3. ขนุน

ตามความเชื่อโบราณ ขนุนเป็นผลไม้มงคลของคนไทย หากปลูกต้นขนุนไว้หน้าบ้าน จะมีคนคอยจุนเจือช่วยเหลือให้รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง รอดพ้นจากการนินทาว่าร้าย จะช่วยหนุนนำชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้น ช่วยเสริมสิริมงคล นำพาโชคลาภและเงินทองมาให้กับครอบครัว ขนุนจึงกลายเป็นอาหารต้องห้ามในงานศพ ที่ไม่นำมาเสิร์ฟในงานศพ เนื่องจากเหมาะนำไปเสิร์ฟงานมงคงพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานทำบุญ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โปรดใช้วิจารณญาณ




Thank to : https://www.thainewsonline.co/lifestyle/food/868065
11 มีนาคม 2567
112  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มจร.วัดไร่ขิง เตรียมวิจัยสร้างนวัตกรรมการเจรจาเยียวยาจิตใจ เน้นบุคคล-คนในชุมชน เมื่อ: มีนาคม 12, 2024, 06:52:17 am
.




มจร.วัดไร่ขิง เตรียมวิจัยสร้างนวัตกรรมการเจรจาเยียวยาจิตใจ เน้นบุคคล-คนในชุมชน

มจร.วัดไร่ขิง เตรียมวิจัยสร้างนวัตกรรมการเจรจาเยียวยาจิตใจ เน้นบุคคล-คนในชุมชน สร้างสังคมสันติสุข จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ

เมื่อวันที่ 11 มี.ค.67 ผศ.ดร.นพ.บรรพต ต้นธีรวงศ์ ผอ.หลักสูตรการเจรจาเพื่อเยียวยาและฟื้นคืนความสมานฉันท์ (จ.ย.ส.) วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร. วัดไร่ขิง กล่าวว่า เตรียมดำเนินการวิจัยค้นคว้าข้อมูล สร้างหลักสูตร เพื่อเร่งหานวัตกรรม การเจรจาเพื่อการเยียวยาการบาดเจ็บทางจิตใจ

โดยเน้นที่บุคคล และกลุ่มคนในชุมชน เพื่อสร้างสังคมสันติสุข จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ ในสังคม ซึ่งในปัจจุบันมักเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้แก่ การกระทำทารุณ หรือทำร้ายทางกายในเด็ก คนชรา สตรี ทั้งการข่มขืน การกระทำทรมาน การกระทำทารุณ

รวมไปถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ การบังคับใช้ กฎหมายประหารชีวิต ความยากจน การไร้ที่อยู่อาศัย การเป็นผู้ลี้ภัย การลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และการขาดโอกาสในการเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน รวมถึงการสังหารหมู่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สงครามที่ฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ การอยู่ภายใต้การยึดครองหรือในสภาวะจำยอมหรือระบบทาส ภัยพิบัติสาเหตุจากมนุษย์ สารเคมีรั่วทะลัก โรงงานระเบิด ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ น้ำท่วม โคลนถล่ม การแพร่กระจายของโรค ระบาด การก่อการร้ายชีวภาพ




การทอดทิ้งผู้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ การสูญเสียอย่างกะทันหัน ได้แก่ บุคคลอันเป็นที่รัก การสูญเสียสถานภาพ อัตลักษณ์ทรัพย์สิน บ้าน ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงกระทันหันของกฎระเบียบ ซึ่งจะเห็นได้ว่าบาดแผลทางจิตใจ มีหลากหลายสาเหตุและรูปแบบ ปัญหาคือ เราจะตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านี้อย่างไร ซึ่งจะต้องดำเนินการวิจัยเพื่อหาคำตอบ

ผศ.ดร.นพ.บรรพต กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ มจร. วัดไร่ขิง ยังได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรวุฒิบัตรการเจรจาเพื่อเยียวยาและฟื้นคืนความสมานฉันท์ (จ.ย.ส.) รุนที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้อบรมสามารถวิเคราะห์สถานการณ์สะเทือนขวัญ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ความขัดแย้งที่ร้าวลึก การสูญเสียความเสียหาย สาเหตุ จุดยืน ความต้องการ ลักษณะความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

2. เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสภาวะการบาดเจ็บทางจิตใจ เทคนิควิธีการเยียวยา สร้างความสมานฉันท์การเจรจาอย่างมียุทธศาสตร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมมนุษยชน

3. เพื่อให้ผู้อบรมมีทักษะความเชี่ยวชาญ การเจรจาเพื่อเยียวยาและฟื้นคืนความสมานฉันท์ในสถานการณ์สะเทือนขวัญ และนำพุทธวิธีมาบูรณาการ โดยจัดอบรมตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. – 17 มี.ค. 2567





Thank to : https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_8133988
11 มี.ค. 2567 - 17:57 น.
113  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "โถกหวาครัน ไม่ทุ่มพ่าน" ถอดรหัสบอกบุญวัดดัง มันแปลว่าอะไรนะหลวงพ่อ เมื่อ: มีนาคม 12, 2024, 06:48:29 am
.



"โถกหวาครัน ไม่ทุ่มพ่าน" ถอดรหัสบอกบุญวัดดัง มันแปลว่าอะไรนะหลวงพ่อ

วัดเลียบจัดให้! ขึ้นป้ายบอกบุญญาติโยมเป็นภาษาใต้ คนภาคอื่นอ่านแล้วเกาหัวไม่เข้าใจ แต่ถ้าคนใต้อ่านแล้วเก็ตทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่วัดเลียบ อ.เมืองสงขลา ตอนนี้ใครที่ขับขี่รถผ่านไปมาหต้องสะดุดตากับป้ายภาษาใต้ที่ติดไว้ที่กำแพงวัด ตรงสี่แยกไฟแดง โดยมีข้อความเป็นภาษาใต้ว่า “พวงหรีดตัวอย่าง โถกหวาครัน ไม่ทุ่มพ่าน ได้บุญตรัน น้ะโยม เห็นด้วยและบอก ตต กันน้ะโยม”




หมายความว่า “ทางวัดมีความประสงค์ต้องการที่จะเปลี่ยนพวงหรีดที่ญาติโยมนำมาแสดงความเสียใจในงานศพให้กับผู้วายชนม์ โดยขอให้เปลี่ยนจากพวงหรีดมาเป็นต้นไม้อยู่ในกระถางและปักชื่อของผู้ที่มอบให้เนื่องจากราคาถูกกว่ามาก เสร็จงานแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ทิ้งเพ่นพ่านรวมทั้งได้บุญอีกด้วย หากเห็นด้วยขอให้บอกต่อๆกันไป”

พร้อมกับตัวอย่างของต้นไม้อยู่ในกระถางและปักชื่อของผู้ที่มอบให้เป็นตัวอย่างตั้งอยู่ใต้ป้ายให้ดูของจริง เรียกว่าใครที่ผ่านไปผ่านมาหน้าวัด ถ้าเป็นคนใต้อ่านแล้วก็เข้าใจได้ทันที แต่ถ้าคนภาคอื่นที่ไม่เข้าใจภาษาใต้ก็อาจจะงงๆ หรือไม่เข้าใจความหมายได้






พระครูนพกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดเลียบ ซึ่งจะเป็นคนเขียนป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวัดเองทั้งหมด และจะใช้ภาษาพูดภาษาถิ่นของชาวใต้มาเขียนให้อ่านได้เข้าใจกันง่ายๆ ไม่ต้องแปล ติดไว้ที่กำแพงหรือภายในวัดอยู่บ่อยๆ กล่าวว่า ตอนนี้ทางวัดมีแนวคิดว่าจะเปลี่ยนจากการใช้พวงหรีดที่ญาติโยมนำมาแสดงความเสียใจกับผู้วายชนม์บางครั้งมีเป็นจำนวนมากและราคาแพงอีกด้วย เมื่อเสร็จงานแล้ว ก็จะไม่รู้จะนำไปทิ้งไว้ที่ไหน มันเยอะเกินไป

จึงมีแนวคิดว่า หากเปลี่ยนจากพวงหรีด มาเป็นต้นไม้อยู่ในกระถาง ซึ่งราคาถูกกว่า และทางวัดยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ไปปลูกในบริเวณวัดเพื่อความร่มรื่นสวยงาม ก็จะดีกว่าอีกด้วย จึงได้ขึ้นป้ายสอบถามญาติโยมถึงแนวคิดข้อนี้ว่า เห็นด้วยไหม ซึ่งก็เป็นการได้บุญเช่นเดียวกัน แต่ราคาถูกกว่าพวงหรีดมาก เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายไปอีกทางหนึ่งด้วย





Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/209678
11 มี.ค. 67
114  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ที่มา : บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง 'มหามนตรา' เมื่อ: มีนาคม 11, 2024, 07:10:19 am
.

พระอวโลกิเตศวรพันกร พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา ศิลปะทิเบตตะวันตก ต้นศตวรรษที่ 14 จาก พิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย


มหากรุณาธารณี ฉบับพระวัชรโพธิ พร้อมคำอ่านและคำแปล

มหากรุณาธารณี ภาษาสันสกฤต ที่เป็นต้นฉบับที่นิยมในสื่อออนไลน์ ในปัจจุบัน



มหากรุณาธารณี จาก พระไตรปิฎกภาษาจีน ฉบับไทโช หมวดตันตระ พระสูตรหมายเลข ๑๐๖๑

千手千眼觀自在菩薩廣大圓滿無礙大悲心陀羅尼呪本
(สหัสรภุชสหัสรเนตระ – อวโลกิเตศวรโพธิสัตวะ – ไวปุลยะ – สัมปูรณะ – อนาวรณะ – มหากรุณาหฤทัยธารณี – มูลมนตร์ )

แปลว่า มหากรุณาหฤทัยธารณีมูลมนตร์แห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ๑๐๐๐ กร ๑๐๐๐ เนตร ที่ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์ ไร้อุปสรรค

ปริวรรตถอดเสียงเป็นอักษรจีน ราวปี ค.ศ. ๗๓๑ – ๗๓๖ โดยประมาณ โดยพระภิกษุ ผู้เป็นมันตราจารย์ชาวอินเดียใต้ (เกรละ) ฉายาว่า พระวัชรโพธิ (金剛智) โดยมีต้นฉบับอักษรสิทธัมอยู่ที่ หอพระไตรปิฎก วัดหลิงหยุน

พระวัชรโพธิ เป็นพระธรรมทูตรูปหนึ่งที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในจีน ในรัชสมัยจักรพรรดิถังเสวียนจง เป็นมันตราจารย์ผู้เป็นคุรุอาจารย์ของพระอโมฆวัชระ และเป็นพระราชครูของราชสำนักถังด้วย



ภาพวาดพระวัชรโพธิ ศิลปะญี่ปุ่น สมัยคามาคุระ (ศตวรรษที่ 14)

มหากรุณาธารณี ฉบับนี้เป็นหนึ่งในหลายฉบับของมหากรุณาธารณี แม้ว่า มหากรุณาธารณีฉบับนี้จะมีชื่อว่า สหัสรภุชสหัสรเนตรฯ (ธารณีของพระอวโลกิเตศวร ๑๐๐๐ กร ๑๐๐๐ เนตร) แต่ฉบับนี้ มีเนื้อหาเฉพาะธารณีแบบ นีลกัณฐธารณี (ธารณีของพระอวโลกิเตศวรคอสีนิล) เพียงอย่างเดียว

ไม่ได้มีเนื้อหาเหมือนฉบับมหากรุณาธารณี ฉบับแปลของพระภควัทธรรม (千手千眼觀世音菩薩廣大圓滿無礙大悲心陀羅尼經 หมายเลข ๑๐๖๐) ซึ่งเป็นฉบับที่นิยมสวดในจีนมาตั้งแต่โบราณ (ไต่ปุ่ยจิ่ว : ต้าเปย์โจ้ว) ซึ่งจะมีการบรรยายถึงที่มาของพระอวโลกิเตศวรว่ามี ๑๐๐๐ กร ๑๐๐๐ เนตร เป็นมาอย่างไร เพราะอะไร มีแจกแจงอานิสงส์ในการสวดสาธยายต่างๆ ด้วย

มหากรุณาธารณี ไม่ว่าจะเป็น ฉบับสหัสรภุชสหัสรเนตร หรือ นีลกัณฐะ ตัวข้อความธารณีต่างมีความใกล้เคียงกัน ถือเป็นธารณีเดียวกัน มีหลายฉบับ มีการถ่ายถอดเสียงกันหลายคราว จำแนกเป็นประเภทได้ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ แบบธารณีสั้น และแบบธารณียาว

มหากรุณาธารณี ฉบับพระวัชรโพธิ เป็น มหากรุณาธารณี แบบยาว ต้นฉบับอักษรสิทธัมอยู่ที่ วัดหลิงหยุน(靈雲寺) บางส่วนมีอักขระวิบัติ ถอดเสียงไม่ตรงตามภาษาสันสกฤตอยู่หลายจุด เช่น มหาโพธิสตฺตฺว ในฉบับตัวสิทธัม เป็น มหาโวธิสตฺตฺว หรือ “นีลกณฺฐ” เป็น “นิรกํฏ”

และบางคำแม้จะมีกำกับเสียงโดยอักษรจีนไว้อีกชั้น แต่ข้อความในตัวธารณีบางส่วนเป็นภาษาสันสกฤตแบบผสมเฉพาะถิ่น (Buddhist Hybrid Sanskrit) และบางคำไม่มีความหมายโดยตรงในภาษาสันสกฤต

แต่อย่างไรก็ตาม ฉบับพระวัชรโพธิ ก็นับว่าสมบูรณ์กว่าฉบับที่ถ่ายเสียงธารณีโดย พระภควัทธรรม และ พระอโมฆวัชระ ที่ดูเหมือนต้นฉบับจาก ๒ ท่านนี้จะมีความบกพร่องจากการถ่ายเสียง และการคัดลอกจดจารจากต้นฉบับในภายหลัง ที่มีอักขระวิบัติมากกว่า ฉบับพระวัชรโพธิ

อีกทั้งในฉบับ พระภควัทธรรม พระอโมฆวัชระ มักใช้ภาษาสันสกฤตแบบผสมเฉพาะถิ่นเอเชียกลาง ไม่ใช่ที่ใช้กันในอินเดียส่วนกลาง ตัวอย่าง “นีลกณฺฐ” เป็น “นรกินฺทิ” (那囉謹墀 ) และยังเจอรูปแบบอื่น “นิลกนฺทิ”, “นรกิธิ”

เหตุเพราะพระภควัทธรรม เป็นชาวอินเดียภาคตะวันตก ขึ้นมาอยู่ที่เอเชียกลางมีระบุว่า อยู่ที่อาณาจักรโขตาน ปัจจุบันคือ โฮตาน ซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน ส่วนพระอโมฆวัชระ เป็นชาวซอกเดีย (พวกอิหร่านโบราณกลุ่มหนึ่งใน เอเชียกลาง)


@@@@@@@

มหากรุณาธารณี ฉบับพระวัชรโพธิ จึงมีการชำระ อยู่ ๒ ฉบับใหญ่ กับ ๑ ฉบับย่อย ได้แก่

๑. ฉบับชำระ ปี ค.ศ. ๑๙๘๘ อ.โลเกศ จันทรา (Lokesh Chandra) นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงชาวอินเดีย นักวิชาการภาษาสันสกฤต ด้านงานคัมภีร์พระเวทและพุทธศาสนา ฉบับนี้ชำระ โดยเปรียบเทียบ กับฉบับอื่นหลายฉบับและเปรียบเทียบกับฉบับสันสกฤต ที่หลงเหลืออยู่ (ในที่นี้เรียก ฉบับโลเกศ)

๒. ฉบับชำระ ปี ค.ศ. ๑๙๙๙ พุทธสมาคมเมืองราวัง รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย (Rawang Buddhist Association) โดย อ. Chua Boon Tuan (จีนฮกเกี้ยน : 蔡文端 ) ผู้เป็นประธานสมาคม และเจ้าของเว็บไซต์ ธารณีปิฎก (dharanipitaka) โดยท่านศึกษาภาษาสันสกฤต และอักษรสิทธัมในพระไตรปิฎกจีนด้วยตัวเอง ฉบับนี้มีเนื้อหาพื้นฐานมาจากฉบับโลเกศ แต่มีการเพิ่มเติมและปรับแก้อยู่หลายคำ ตามความเห็นของท่านอาจารย์ (ในที่นี้เรียก ฉบับพุทธสมาคมราวัง)

    ๒.๑ ฉบับขับร้องของ อิมี โอย (Imee Ooi) ที่นิยมในสื่อออนไลน์ มีปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อย ทำเป็นบทสวดและเพลงภาษาสันสกฤต โดยต้นฉบับหลักใช้จากฉบับพุทธสมาคมราวัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งก็มีการการปรับแก้คำเล็กน้อย เพื่อใช้ในการในการขับร้องของ อิมี โอย (Imee Ooi) นักร้องชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นนักร้องแนวเพลงพุทธร่วมสมัย ชื่อเพลงว่า Nilakantha Dharani [The Great Compassionate Mantra] ปี ค.ศ. ๒๐๐๐

แต่ในที่นี้จะใช้ ฉบับโลเกศ เป็นฉบับหลัก เพราะที่มีความใกล้เคียง กับต้นฉบับของพระวัชรโพธิมากที่สุด โดยใช้ จากต้นฉบับอักษรเทวนาครี ในหนังสือ The Thousand-armed Avalokiteśvara, (พระอวโลกิเตศวรพันกร) เล่มที่ ๑ อ.โลเกศ จันทรา ปี ค.ศ. ๑๙๘๘

@@@@@@@

ส่วนธารณีที่เผยแพร่กันใน Wikipedia ที่ระบุว่าเป็น ธารณีที่ชำระโดย อ.โลเกศ จันทรา จริงๆแล้ว เป็นฉบับที่มีการปรับอักขรวิธีเพิ่มเติมจากผู้เรียบเรียงบน Wiki เช่น มีการตัดบทสนธิ ปรับสระยาวเป็นสระสั้น ในที่นี้จะใช้ต้นฉบับในหนังสือ โดยปริวรรตอักษรเทวนาครีเป็นอักษรไทย พร้อมคำอ่านอย่างง่ายและคำแปล มีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ความในมหากรุณาหฤทัยธารณีมูลมนตร์ ฉบับพระวัชรโพธิ ชำระโดย ท่านอาจารย์ โลเกศ จันทรา ประกอบด้วยเนื้อหา ๔ ส่วน ดังนี้

    ๑. ประณามบท คือ บทนมัสการพระรัตนตรัยและพระอวโลกิเตศวร
    ๒. คาถาแจงอานิสงส์ เป็นคาถาอนุษฏุภฉันท์ ๑ บท
    ๓. ตัวบทธารณี โดยปกติบทธารณีมักจะไม่แปล เพราะถือเป็นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ ให้สวดตามนั้น ซึ่งส่วนมากแปลเอาความหมายทั้งประโยคไม่ได้ เพราะว่า
        ๓.๑ ไม่มีความหมายโดยตรง
        ๓.๒ ผิดไวยากรณ์ หรือ ไม่ครบประโยค
        ๓.๓ เป็นเสียงของมนตร์ที่เปล่งออกมาเป็นจังหวะ
แต่ในที่นี้จะแปลไว้ให้เห็นความหมายของศัพท์ ตามที่ผู้รู้ชาวจีนและนักวิชาการแปล วิเคราะห์และให้ความเห็นไว้ ซึ่งความหมายของแต่ละคำจะมีอุปเทศของธารณี หรือความหมายโดยนัยของธารณีซ่อนอยู่ ไม่ได้มีความหมายโดยตรงตามคำแปล
    ๔. บทนมัสการจบ เป็นบทนมัสการพระอวโลกิเตศวร

โดยมีเนื้อหาดังนี้




ส่วนที่ ๑. ประณามบท

๑. นโม รตฺนตฺรยายฯ นม อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย สรฺวพนฺธนจฺเฉทนกราย สรฺวภวสมุทฺรโศษณกราย สรฺววฺยาธิปฺรศมนกราย สรฺเวตฺยุปทฺรววินาศนกราย สรฺวภเยษุตฺราณราย ฯ ตสฺไม นมสฺกฤตฺวา อิมํ อารฺยาวโลกิเตศฺวรภาษิตํ นีลกณฺฐนาม ฯ

[อ่านว่า]
๑. นะโม รัตนะ-ตระยายะ ฯ
   นะมะ อารยา-วะโลกิเต-ศวะรายะ โพธิ-สัตตวายะ
   มะหา-สัตตวายะ มะหา-การุณิกายะ
   สรรวะ-พันธะนะ-จเฉทะนะ-กะรายะ
   สรรวะ-ภะวะ-สะมุทระ-โศษะณะ-กะรายะ
   สรรวะ-วยาธิ- ประศะมะนะ กะรายะ
   สรรเวต-ยุปะทระวะ -วินาศะนะ- กะรายะ
   สรรวะ- ภะเยษุ-ตราณะ-กะรายะ ฯ
   ตัสไม นะมัส-กฤตวา อิมัม อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ-ภาษิตัม นีละกัณฐะ-นามะ ฯ

   [แปล]
   ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ฯ
   ขอนอบน้อมแด่ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
   มหาสัตว์ ผู้ทรงมหากรุณา
   ผู้ช่วยปลดเปลื้องพันธนาการทั้งปวง
   ผู้ทำให้มหาสมุทรแห่งภพทั้งหลายให้เหือดแห้งไป
   ผู้บรรเทารักษาโรคาพยาธิทั้งปวง
   ผู้ทำลายอุปัทวะทั้งปวงให้วินาศไป
   ผู้ทรงช่วยให้รอดพ้นจากความกลัวทั้งหมดทั้งสิ้น
   ครั้นขอถวายความนอบน้อมแด่พระองค์แล้ว ธารณีนี้มีชื่อว่า นีลกัณฐะ เป็นภาษิตแห่งพระอารยอวโลกิเตศวรที่ทรงแสดงไว้ (นีลกัณฐะ แปลว่า คอสีนิล หรือน้ำเงินเข้ม)



ส่วนที่ ๒. คาถาแจงอานิสงส์

๒. หฤทยํ วรฺตยิษฺยามิ สรฺวารฺถ สาธกํ ศุภมฺ ฯ
    อเชยํ สรฺวภูตานํา ภวมารฺควิโศธกมฺ ๚

[อ่านว่า]
๒. หฤทะยัม วรรตะ-ยิษยามิ สรร-วารถะ สาธะกัม ศุภัม ฯ
    อะเชยัม สรรวะ-ภูตานาม ภะวะ-มารคะ-วิโศธะกัม ๚

   [แปล]
   เราจักกล่าว หัวใจ [คือธารณี] อันรุ่งเรืองนี้ ซึ่งจะทำให้สำเร็จประโยชน์ที่มุ่งหวังทั้งปวง
   ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้ สามารถชำระทางแห่งภพของสรรพชีวิตให้บริสุทธิ์




ส่วนที่ ๓. ธารณีมนตร์

ธารณีมนตร์ ๓/๑

๓. ตทฺยถา ฯ โอํ อาโลก เอ อาโลกมติ โลกาติกฺรานฺต เอหิ หเร อารฺยาวโลกิเตศฺวร มหาโพธิสตฺตฺว ฯ เห โพธิสตฺตฺว เห มหาโพธิสตฺตฺว เห วีรฺยโพธิสตฺตฺว เห มหาการุณิก สฺมร หฤทยมฺ ฯ เอหฺเยหิ หเร อารฺยาวโลกิเตศฺวร มเหศฺวร ปรมารฺถจิตฺต มหาการุณิก ฯ กุรุ กุรุ กรฺม ฯ สาธย สาธย วิทฺยามฺ ฯ เทหิ เทหิ ตฺวรํ กามํคม วิหํคม วิคม สิทฺธโยเคศฺวร ฯ ธุรุ ธุรุ วิยนฺต เอ มหาวิยนฺต เอฯ ธรธร ธเรนฺเทฺรศฺวร ฯ จลจล วิมลามล ฯ อารฺยาวโลกิเตศฺวร ชิน ฯ กฤษฺณชฏามกุฏา’วรม ปฺรรม วิรม [1] มหาสิทฺธวิทฺยาธรฯ พลพล มหาพล มลฺลมลฺล มหามลฺล จล จล มหาจล ฯ กฤษฺณวรฺณ ทีรฺฆ กฤษฺณปกฺษ นิรฺฆาตน เห ปทฺม หสฺต ฯ จร จร นิศาจเรศฺวร กฤษฺณสรฺปกฤต ยชฺโญปวีต ฯ

__________________________
[1] ต้นฉบับสิทธัมเป็นภาษาสันสกฤตผสมใช้ [อ]‘วรํม ปฺรรํม วิรํม ฉบับอักษรซอกเดียน ในตุนหวง และฉบับโลเกศชำระใช้ [อ]‘วรม ปฺรรม วิรม ซึ่งในรูปภาษาสันกฤตแบบแผนคือ อวลมฺพ ปฺรลมฺพ วิลมฺพ]

[อ่านว่า]
๓. ตัทยะถา ฯ
โอม อาโลกะ เอ อาโลกะ-มะติ โลกาติ-กรานตะ
เอหิ หะเร อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ มะหา-โพธิ-สัตตวะ ฯ
เห โพธิ-สัตตวะ เห มะหา-โพธิ-สัตตวะ เห วีรยะ-โพธิ-สัตตวะ
เห มะหา-การุณิกะ สมะระ หฤทะยัม ฯ
เอห-เยหิ หะเร อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ มะเห-ศวะระ ปะระ-มารถะ-จิตตะ มะหา-การุณิกะ ฯ

กุรุ กุรุ กรรมะ ฯ
สาธะยะ สาธะยะ วิทยาม ฯ
เทหิ เทหิ ตวะรัม กามัม-คะมะ วิหัง-คะมะ วิ-คะมะ สิทธะ-โยเค-ศวะระ ฯ

ธุรุ ธุรุ วิยันตะ เอ มะหา-วิยันตะ เอฯ
ธะระ ธะระ ธะเรนเทร-ศวะระ ฯ
จะละ จะละ วิมะลา-มะละ ฯ

อารยาวะ-โลกิเต-ศวะระ ชินะ ฯ
กฤษณะ-ชะฏา-มะกุฏา วะระมะ ประระมะ วิระมะ มะหา-สิทธะ-วิทยา-ธะระฯ

พะละ พะละ มะหา-พะละ
มัลละ มัลละ มะหา-มัลละ
จะละ จะละ มะหา-จะละ ฯ

กฤษณะ-วรรณะ ทีรฆะ-กฤษณะ-ปักษะ-นิรฆาตะนะ เห ปัทมะ-หัสตะ ฯ
จะระ จะระ นิศาจะเร-ศวะระ กฤษณะ-สรรปะ-กฤตะ ยัชโญปะวีตะ ฯ

[แปล] มีดังต่อไปนี้ :-
โอม แสงสว่าง ถึง ปัญญาอันสว่างไสว การก้าวพ้นโลก ฯ
มาเถิด พระหริ [1] พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ฯ
โอ้โพธิสัตว์.! โอ้มหาโพธิสัตว์.! โอ้โพธิสัตว์ผู้มีความเพียร.! โอ้มหากรุณา จงระลึกถึงหัวใจ [ธารณี] นี้ ฯ
มา.! มาเถิดพระหริ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระมเหศวร [2] ที่มีจิตอันเป็นปรมัตถ์ด้วยมหากรุณา ฯ

ทำ ทำ กิจนั้น.! ฯ [เสียงมนตร์ กุรุ หมายถึง ทำ]
ทำให้บรรลุ ทำให้บรรลุ ซึ่งวิทยา.! ฯ [เสียงมนร์ สาธะยะ หมายถึง กำลังจะสำเร็จหรือบรรลุ]
ประทาน ประทานให้โดยเร็ว เป็นไปตามความปรารถนา ลอยออกไปในท้องฟ้า ไปถึงความหลุดพ้น ด้วยเถิด

พระสิทธโยเคศวร ฯ [3] (ผู้เป็นเจ้าแห่งการสำเร็จโยคะ) [เสียงมนตร์ เทหิ หมายถึง ให้ ประทาน]
ค้ำไว้ ค้ำยันฟ้าสวรรค์ไว้ด้วยเถิดพระมหาวิยันตะ [4] (ผู้เป็นใหญ่แห่งฟ้าสวรรค์)
[เสียงมนตร์ ธุรุ เป็นการแผลงเสียง รูปแบบไม่ปกติ จากธาตุ ธฺฤ หมายถึง ยึด จับ ค้ำ สนับสนุน]

แบก แบก ไว้เถิดพระธเรนเทรศวร [5] (ผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน)
[เสียงมนตร์ ธะระ หมายถึง แบก ถือ มาจากธาตุ ธฺฤ เช่นเดียวกัน]
เคลื่อนไป เคลื่อนไป สู่ความสะอาด ไร้มลทิน
[เสียงมนตร์ จะละ หมายถึง สั่น, เคลื่อนที่]
โอ้ พระอารยอวโลกิเตศวร ผู้มีชัย [6] ทรงมกุฎด้วยมุ่นมวยผมสีดำขลับ(ชฎามกุฎ) [7] และทรงเครื่องประดับระย้าที่พระศอและพระกร ผู้เป็นพระมหาสิทธวิทยาธร [8] (ผู้สำเร็จผู้ยิ่งใหญ่ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้)

พลัง พลังแห่งพระมหาพละ [9] (ผู้มีพลังอันยิ่งใหญ่)
[เสียงมนตร์ พะละ หมายถึง พลัง]
แข็งแกร่ง แข็งแกร่งแห่งพระมหามัลละ [10] (ผู้เป็นนักปล้ำสู้ผู้แข็งแกร่งยิ่ง)
[เสียงมนตร์ มัลละ หมายถึง แข็งแกร่ง]
เคลื่อนไป เคลื่อนไปสู่พระมหาอจละ [11] (ผู้ไม่สั่นไหวที่ยิ่งใหญ่)
[เสียงมนตร์ จะละ หมายถึง สั่น, เคลื่อนที่]

พระผู้มีวรรณะคล้ำ ในปักษ์ข้างแรมอันยาวนาน จงกำจัดให้สิ้น [12] โอ้ ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว [13]
จรไป จรไปเถิดพระนิศาจเรศวร [14] (ผู้เป็นเจ้าผู้ดำเนินไปในเวลาค่ำคืน) ข้าแต่ผู้ที่มีสายยัชโญปวีตเป็นงูดำ  [15] [เสียงมนตร์ จะระ หมายถึง จร ย้าย เดิน]

@@@@@@@

ธารณีมนตร์ ๓/๒

เอหฺเยหิ มหาวราหมุข ตฺริปุรทหเนศฺวร นารายณพโลปพลเวศธร ฯ เห นีลกณฺฐ เห มหากาล หลาหล วิษ นิรฺชิต โลกสฺย ราควิษวินาศน ทฺเวษวิษวินาศน โมหวิษวินาศน หุลุหุลุ มลฺล ฯ หุลุ หเร มหาปทฺมนาภฯ สร สร สิริ สิริ สุรุ สุรุ มุรุมุรุฯ พุธฺย พุธฺย โพธย โพธย ไมตฺริย นีลกณฺฐ ฯ เอหฺเยหิ วามสฺถิตสิํห มุข ฯ หส หส มุญฺจ มุญฺจ มหาฏฺฏหาสมฺ ฯ เอหฺเยหิ โภ มหาสิทฺธโยเคศฺวร ฯ ภณ ภณ วาจมฺฯ สาธย สาธย วิทฺยามฺ ฯ สฺมร สฺมร ตํ ภควนฺตํ โลกิตวิโลกิตํ โลเกศฺวรํ ตถาคตมฺ ฯ ททาหิ เม ทรฺศนกามสฺย ทรฺศนมฺ ฯ ปฺรหฺลาทย มนะ สฺวาหา ฯ

[อ่านว่า]
เอห-เยหิ มะหา-วะราหะ-มุขะ
ตริปุระ-ทะหะเน-ศวะระ
นารายะณะ-พะโลปะ-พะละ-เวศะ-ธะระ ฯ

เห นีละ-กัณฐะ เห มะหา-กาละ
หะลา-หะละ วิษะ นิร-ชิตะ โลกัสยะ
ราคะ-วิษะ-วินาศะนะ
ทเวษะ-วิษะ-วินาศะนะ
โมหะ-วิษะ-วินาศะนะ

หุลุ หุลุ มัลละ ฯ
หุลุ หะเร มะหา-ปัทมะ-นาภะ ฯ
สะระ สะระ สิริ สิริ สุรุ สุรุ มุรุ มุรุฯ
พุธยะ พุธยะ โพธะยะ โพธะยะ ไมตริยะ นีละ-กัณฐะ ฯ

เอห-เยหิ วามะ-สถิตะ-สิงหะ- มุขะ ฯ
หะสะ หะสะ มุญจะ มุญจะ มะหาฏ-ฏะหาสัม ฯ

เอห-เยหิ โภ มะหา-สิทธะ-โยเค-ศวะระ ฯ
ภะณะ ภะณะ วาจัมฯ
สาธะยะ-สาธะยะ วิทยาม ฯ
สมะระ- สมะระ ตัม ภะคะวันตัม โลกิตะ-วิโลกิตัม โลเกศ-วะรัม ตะถาคะตัม ฯ

ทะทาหิ เม ทรรศะนะ-กามัสยะ ทรรศะนัม ฯ ประหลาทะยะ มะนะห์ สวาหา ฯ

[แปลว่า]
มา.! มาเถิด พระผู้เป็นใหญ่ที่มีหน้าเป็นหมูป่า [16] พระผู้เป็นเจ้าผู้เผาทำลายตรีปุระ [17] ฯ พระผู้ประกอบด้วยกำลังอันทรงพลังด้วยการสำแดงกายเป็นพระนารายณ์ ฯ

โอ้ พระนีลกัณฐะ [18] โอ้ พระมหากาล [19] ผู้ควบคุม “หลาหละ” พิษแห่งโลก
ผู้ทำพิษแห่งราคะให้วินาศไป
ผู้ทำพิษแห่งโทสะให้วินาศไป
ผู้ทำพิษแห่งโมหะให้วินาศไป

หุลุ.! หุลุ ! แข็งแกร่ง.!
[เสียงมนตร์ หุลุ เป็นเสียงเชียร์ หรือโห่ร้องด้วยความดีใจ ในวรรณกรรมสันสกฤต]

หุลุ.! โอ้พระหริ ผู้เป็นใหญ่ที่มีดอกบัวออกจากพระนาภี(สะดือ) [20]

สะระ.! สะระ.! สิริ.! สิริ.! สุรุ.! สุรุ.! มุรุ.! มุรุ ฯ
[เสียงมนตร์ สะระ จากธาตุ สฺฤ แปลว่า ทำให้เคลื่อนไป ผลักดัน ไหลลงมา ส่วน สิริ สุรุ เป็นการแผลงเสียงไม่ปกติ จากธาตุ สฺฤ เพื่อให้เป็นจังหวะ นัยว่าเป็นการอัญเชิญให้พระโพธิสัตว์ลงมา (Descend, come down, condescend) ส่วน มุรุ เป็นเสียงมนตร์ส่วนมากพบอยู่กับ สะระ สุรุ มุรุ]

ตื่นรู้ ตื่นรู้ รู้แจ้ง รู้แจ้ง พระนีลกัณฐะผู้มีไมตรี
[เสียงมนตร์ พุธยะ หมายถึง ตื่น, รู้, เข้าใจ และ โพธะยะ หมายถึง รู้แจ้ง]

มา.! มาเถิด พระผู้มีหน้าเป็นสิงห์สถิตอยู่ด้านซ้าย [21] ฯ
หัวเราะ หัวเราะ ปลดปล่อย ปลดปล่อยด้วยเถิดพระอัฏฏหาสะผู้ยิ่งใหญ่ [22] (ผู้หัวเราะเสียงดัง) [เสียงมนตร์ หะสะ หมายถึง หัวเราะ ส่วน มุญจะ หมายถึง ปลดปล่อย]

มา.! มาเถิด โอ้ข้าแต่พระสิทธโยเคศวร

กล่าว จงกล่าวถ้อยคำนี้ ฯ
[เสียงมนตร์ ภะณะ หมายถึง กล่าว, สวด, เปล่งเสียง]

ทำให้บรรลุ ทำให้บรรลุ ซึ่งวิทยา.! ฯ

ระลึก จงระลึกถึงพระองค์นั้น ถึงพระภควาน(ผู้มีโชค) [23] ถึงพระผู้ทรงเฝ้ามองและเพ่งดูอยู่ [24] ถึงพระโลเกศวร [25 ](พระผู้เป็นเจ้าแห่งโลก) ถึงพระตถาคตเจ้า [26] (ผู้ไปถึงแล้วอย่างนั้น)

จงโปรดประทานสิ่งข้าที่ปรารถนาที่จะเห็น ให้ข้าพเจ้าได้เห็น ฯ โปรดทำให้จิตใจของข้าพเจ้าให้เบิกบาน สวาหา  [27] ฯ


@@@@@@@

ธารณีมนตร์ ๓/๓

สิทฺธาย สฺวาหาฯ มหาสิทฺธาย สฺวาหา ฯ สิทฺธโยเคศฺวราย สฺวาหา ฯ นีลกณฺฐาย สฺวาหา ฯ วราหมุขาย สฺวาหา ฯ มหานรสิํหมุขาย สฺวาหาฯ สิทฺธ วิทฺยาธราย สฺวาหา ฯ ปทฺมหสฺตาย สฺวาหา ฯ กฤษฺณสรฺปกฤตยชฺโญปวีตาย สฺวาหา ฯ มหาลกุฏ ธราย สฺวาหาฯ จกฺรายุธาย สฺวาหา ฯ ศํขศพฺท นิโพธนาย สฺวาหา ฯ วามสฺกนฺธเทศสฺถิต กฤษฺณาชินาย สฺวาหา ฯ วฺยาฆฺรจรฺม นิวสนาย สฺวาหา ฯ โลเกศฺวราย สฺวาหา ฯ สรฺวสิทฺเธศฺวราย สฺวาหา ฯ

[อ่านว่า]
สิทธายะ สวาหา ฯ
มะหา-สิทธายะ สวาหา ฯ
สิทธะ-โยเค-ศวะรายะ สวาหา ฯ
นีละ-กัณฐายะ สวาหา ฯ
วะราหะ-มุขายะ สวาหา ฯ
มะหา-นะระ-สิงหะ-มุขายะ สวาหาฯ
สิทธะ-วิทยา-ธะรายะ สวาหา ฯ

ปัทมะ-หัสตายะ สวาหา ฯ
กฤษณะ-สรรปะ-กฤตะ-ยัชโญปะวีตายะ สวาหา ฯ
มะหา-ละกุฏะ-ธะรายะ สวาหาฯ
จะกรา-ยุธายะ สวาหา ฯ
ศังขะ-ศัพทะ-นิโพธะนายะ สวาหา ฯ

วามะ-สกันธะ-เทศะ-สถิตะ- กฤษณา-ชินายะ สวาหา ฯ
วยาฆระ จรรมะ- นิวะ-สะนายะ สวาหา ฯ
โลเก-ศวะรายะ สวาหา ฯ
สรรวะ-สิทเธ-ศวะรายะ สวาหา ฯ

[แปลว่า]
แด่พระสิทธะ สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จ)
แด่พระมหาสิทธะ สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จผู้ยิ่งใหญ่)
แด่พระสิทธโยเคศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งการสำเร็จโยคะ)
แด่พระนีลกัณฐะ สวาหา ฯ (ผู้มีคอสีน้ำเงินเข้ม)
แด่พระวราหมุขะ สวาหา ฯ (ผู้มีหน้าเป็นหมูป่า)
แด่พระมหานรสิงหมุขะ สวาหา ฯ (ผู้มีหน้าเป็นนรสิงห์ผู้ยิ่งใหญ่ )
พระสิทธวิทยาธร สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จ ผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยมนตร์)

แด่ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว สวาหา ฯ
แด่ผู้ที่มีสายยัชโญปวีตเป็นงูดำ สวาหา ฯ
แด่ผู้ถือไม้มหาลกุฏะ สวาหา ฯ
แด่ผู้มีอาวุธจักร สวาหา ฯ
แด่ผู้มีสังข์อันมีเสียงปลุกให้ตื่นรู้ สวาหา ฯ (สิ่งของต่างๆ ดูหมายเหตุ [28] )

แด่ผู้ห่มหนังละมั่งดำ พาดเฉวียงบ่าทางซ้าย สวาหา ฯ [29]
แด่ผู้นุ่งหนังเสือ สวาหา ฯ [30]
แด่พระโลเกศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งโลก )
แด่สรรพสิทเธศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งความสำเร็จทั้งปวง)




ส่วนที่ ๔. บทนมัสการจบ

๔. นโม ภควเต อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย ฯ สิธฺยนฺตุ เม มนฺตฺรปทานิ สฺวาหา ๚

[อ่านว่า]
๔. นะโม ภะคะวะเต อารยาวะโลกิเตศวะรายะ โพธิสัตตวายะ มะหาสัตตวายะ มะหาการุณิกายะ ฯ สิธยันตุ เม มันตระ – ปะทานิ สวาหา ๚

[แปลว่า]
ขอนอบน้อมแด่พระภควาน พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ผู้ทรงมหากรุณา
ขอให้มนตร์ทั้งหลายแห่งข้าพเจ้าเหล่านี้จงสำเร็จเถิด สวาหา๚


@@@@@@@

หมายเหตุ

ในธารณีมีกล่าวถึง นามต่างๆ ของพระวิษณุ และพระศิวะ ไม่ได้หมายความว่า เป็นบทบูชาพระอวโลกิเตศวร และพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์อื่นๆ ด้วย

แต่ความหมายของธารณีนี้ หมายถึง พระอวโลกิเตศวรเพียงพระองค์เดียว โดยพระองค์ทรงเป็นคุณสมบัติของพระวิษณุ และพระศิวะ ที่แท้จริง โดยคุณสมบัติเหล่านั้นเป็นเพียงปรากฎการณ์จากพระอวโลกิเตศวร ตามที่ได้อธิบายไปในบทความก่อนหน้า

@@@@@@@

ต่อไปนี้เป็นการให้ความหมายเพิ่มเติม ตามหมายเลขในวงเล็บ [..] ที่กำกับไว้ข้างต้น

[1] หริ หมายถึง พระวิษณุ

[2] มเหศวร หมายถึง พระศิวะ

[3] โยเคศวร หมายถึง ผู้เป็นใหญ่แห่งโยคะ หมายถึง พระศิวะ และ พระกฤษณะ อวตารของพระวิษณุ

[4] “วิยนฺต” หรือ “วิยํต” เป็นรูปสันสกฤตผสม กล่าวว่า มาจากสันสกฤต คำว่า “วิยต” อันแปลว่าท้องฟ้า สวรรค์ แต่ ในมหากรุณาธารณีฉบับสั้นอื่นๆ ใช้ “วิชยต” แทน ซึ่งแปลว่า มีชัยชนะ , ส่วน “มหาวิยนฺต” คือ ผู้เป็นใหญ่แห่งฟ้าสวรรค์ ในมหากรุณาธารณี ฉบับสั้นอื่นๆ ใช้ “มหาวิชยต” หรือ “มหาวิชยนฺต” ผู้มีชัยยิ่งใหญ่ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทั้งหมด พบในคัมภีร์พุทธฝ่ายสันสกฤต มักหมายถึง พระอินทร์ หรือ ท้าวสักกะ (ศักระ)

[5] ธร หมายถึง แบก, รองรับ ค้ำรองรับ สนันสนุน ในบางบริบทหมายถึง พระวิษณุ และในอวตาร “กูรมาวตาร” และ “พระกฤษณะ” ยังร่วมถึงพระศิวะด้วย ส่วน ธเรนฺเทฺรศฺวร (ธรา+อินฺทฺร+อีศฺวร) ในมหากรุณาธารณีฉบับสั้นอื่นๆ ใช้ ธราณิราช ธเรศฺวร (ผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน) ซึ่งมักหมายถึง พระวิษณุ

[6] ตรงคำว่า ชิน แปลว่า ผู้มีชัย ในประโยคว่า อารฺยาวโลกิเตศฺวร ชิน ฯ กฤษฺณชฏามกุฏ ตรงนี้ดูเหมือนมีการเล่นคำในธารณี กับประโยคถัดไป คือ ชิน ฯ กฤษฺณ ซึ่งคล้ายกับการสลับคำว่า กฤษฺณาชิน (หนังละมั่งดำ) ในการแปลมหากรุณาธารณีฉบบับนี้ ผู้รู้ชาวจีนบางครั้ง แปล ชินฯกฤษฺณ ว่า หนังละมั่งดำ (鹿皮衣深藍) แต่ กฤษฺณาชิน มาจาก กฤษฺณ+อชิน ไม่ใช่ ชิน ในการแปลบทความนี้ไม่แปลข้ามประโยค จึงใช้คำแปลว่า ผู้มีชัย

[7] การเกล้ามุ่นผมเป็นมวยสูงที่เรียกว่าทรงชฎามกุฎ เป็นสัญลักษณ์ของของมุนี หรือ ฤๅษี อย่างหนึ่ง และเป็นเทวลักษณะของเทพเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆ อีกหลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร พระศิวะ

[8] มหาสิทธวิทยาธร มีความหมายแยกดังนี้ สิทธะ หรือ มหาสิทธะ หมายถึงผู้สำเร็จ ผู้บรรลุ แต่ในมนตรยาน มีความหมายอีกอย่างว่า ผู้บรรลุในตันตระ และ มนตร์ต่างได้อีกด้วย , ส่วน วิทยาธร ในมนตรยาน มีความหมายว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยา วิทยา ในมนตรยาน มักมีความหมายว่า มนตร์ศักดิ์สิทธิ์ หรือที่เรียกว่า วิทยมนตร์

[9] มหาพละ คุณลักษณะและพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า และของพระศิวะในศิวปุราณะ ด้วย

[10] มหามัลละ เป็นพระนามหนึ่งของพระกฤษณะ จากการปราบนักมวยปล้ำชื่อจาณูระ ในมหาภารตะ

[11] มหาอจละ ในการออกมนตร์สันสกฤต คือ มหาจล มาจาก มหา+อจล หมายถึง ภูเขา (มั่นคง ไม่สั่นไหว) เป็นพระนามหนึ่งของของพระศิวะ ด้วย

[12] พระผู้มีวรรณะคล้ำ คือ พระกฤษณะ อวตารพระวิษณุ ส่วน จงกำจัดให้สิ้น(นิรฺฆาตน) อาจสื่อถึงเหตุการณ์การสู้รบในสงครามกุรุเกษตรของพระกฤษณะ ในช่วงปักษ์ข้างแรม แต่นิรฺฆาตน ในความหมายทางพุทธศาสนา มักใช้กับการกำจัดตัณหา หรือ ความทะยานอยาก

[13] ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว หมายถึงพระวิษณุ

[14] นิศาจเรศวร เป็นพระนามหนึ่งของของพระศิวะในศิวปุราณะ

[15] สายยัชโญปวีตเป็นงูดำ สายยัชโญปวีตหรือสายธุรำ คือ เชือกหรือด้ายศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ สูงส่ง และศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องทรงพระศิวะด้วย

[16] หน้าหมูป่า เป็นพระพักต์ของพระวราหะ หรือ วราหาวตาร อวตารของพระวิษณุ ผู้ปราบหิรัณยากษะ

[17] พระตริปุรานตกะ เป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ หรือปางผู้ทำลายเมืองอสูรทั้งสาม

[18] พระนีลกัณฐะ เป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ คือ ผู้ดื่มพิษหลาหละ เพื่อปกป้องรักษาจักรวาลไว้ จนพระศอไหม้เป็นสีน้ำเงินเข้ม ในเหตุการณ์กวนเกษียรสมุทร

[19] พระมหากาล เป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ หรือปางผู้ทำลายล้างโลก

[20] พระวิษณุ ที่มีดอกบัวผุดขึ้นที่พระนาภี (สะดือ) เมื่อพระองค์บรรทม ก่อนที่จะสร้างจักรวาล ในตอนที่เรียกว่า วิษณุอนันตศายิน หรือ นารายณ์บรรทมสินธุ์

[21] หน้าสิงห์ เป็นพระพักต์ของพระนรสิงห์ หรือ นรสิงหาวตาร อวตารของพระวิษณุ ผู้ปราบหิรัณยกศิปุ

[22] พระอัฏฏหาสะ เป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ

[23] พระภควาน (ผู้มีโชค) ในวัฒนธรรมอินเดีย ใช้เรียก พระเป็นเจ้า หรือสิ่งที่ตนเองเคารพสูงสุด อย่าง พระศาสดาของศาสนา เช่น พระพุทธเจ้า พระมหาวีระ ไทยมักแปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

[24] ผู้ทรงเฝ้ามองและเพ่งดูอยู่ เป็นคุณลักษณะของพระอวโลกิเตศวร

[25] โลเกศวร เป็นอีกพระนามที่นิยมอีกพระนามของพระอวโลกิเตศวร

[26] ตถาคต (ผู้ไปถึงแล้วอย่างนั้น) ใช้เรียกพระพุทธเจ้า

[27] สวาหา มนตร์ คำท้ายประโยค อาจมีความหมายถึง กล่าวดีแล้ว, ขอจงเป็นเช่นนั้น, ขอถวายความเคารพบูชา หรือ เป็นการขอพร

[28] สิ่งของทั้ง ๔ คือ ดอกบัว คทา จักร สังข์ เป็นสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์ของพระวิษณุ ในที่นี้ มีการใช้ ไม้มหาลกุฏะ แทน คทา โดยอาวุธทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน คือเป็นลักษณะไม้กระบอง ซึ่งไม้มหาลกุฏะ เป็นอาวุธประจำของพระลกุลีศะ อวตารของพระศิวะ

[29] กฤษฺณาชิน (กฤษฺณ+อชิน) แปลว่า หนังสัตว์สีดำ โดยมากมักหมายถึง หนังละมั่งดำ อันเป็นเครื่องนุ่งห่มของมุนี หรือ ฤๅษี อย่างหนึ่ง และเป็นเทวลักษณะของเทพเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆ อีกหลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร พระศิวะ

[30] ผู้นุ่งหนังเสือ หมายถึง พระศิวะ

@@@@@@@

อักขระ ถ้อยความหรือข้อมูลส่วนใดมีข้อผิดพลาด ผู้รู้โปรดจงอนุเคราะห์ชี้แนะ







Thank to :-
image : pinterest
website : https://blog.thai-sanscript.com/mahakarunikadharni-vajrabodhi/
11 มกราคม 2023
115  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อธิการบดี มจร. ลงนามประกาศผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2561 เมื่อ: มีนาคม 09, 2024, 08:03:00 am
.



อธิการบดี มจร. ลงนามประกาศผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2561

พระราชปริยัติกวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้ลงนามในประกาศ มจร. เรื่องผลการคัดเลือกผลงานวิจัย และนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2561 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 (1) แห่งพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.2540 และมติคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์

โดยมีผลงานวิจัยระดับดีเด่น 3 ผลงาน ได้แก่
   1. ผลงานวิจัยเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์แก่นธรรมจากชาดก โดยพระราชปริยัติกวี อธิการบดี มจร.
   2. ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจับยึดและพลิกคัมภีร์ใบลานอัตโนมัติ โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต ผอ.สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร.
   3. ผลงานวิจัยเรื่อง โรงเรียนผู้สูงอายุ : หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โดยผศ.มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์ มจร.วิทยาเขตแพร่

ระดับดีมาก 3 ผลงาน ได้แก่
   1. ผลงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมกระบวนการแห่งสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร โดยพระราชสิทธิเวที วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร
   2. ผลงานวิจัยเรื่อง การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมโครงการการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยดร.จุฑามาศ วารีแสงทิพย์ บัณฑิตวิทยาลัย
   3. ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาต้นแบบการปรับสภาพที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ คณะมนุษยศาสตร์ 

นอกจากนี้ยังมีการประกาศผลงานวิจัยระดับดี จำนวน 14 ผลงาน

@@@@@@@

สำหรับนักวิจัยระดับดีเด่น มี 3 ท่าน ได้แก่
   1. พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร บัณฑิตวิทยาลัย
   2. พระราชวชิรเมธี หน่วยวิทยบริการกำแพงเพชร
   3. รศ.ดร.เวทย์ บรรณกรกุล วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆษ

นักวิจัยระดับดีมาก จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
   1. นายสมคิด นันต๊ะ วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ
   2. ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง คณะสังคมศาสตร์
   3. ดร.จรัส ลีกา วิทยาเขตขอนแก่น

นอกจากนี้ ยังมีการประกาศรายชื่อนักวิจัยระดับดีอีก 14 รายด้วย





thank to : https://www.thairnews.com/อธิการบดี-มจร-ลงนามประก/
โดย thairnews - 06/05/2562
116  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แปลก!! วัดสร้างมา 81 ปี “ไม่มีโฉนด” ขณะชุมชนรอบวัดมีครบหมดแล้ว เมื่อ: มีนาคม 09, 2024, 07:50:57 am
.



แปลก.!! วัดสร้างมา 81 ปี “ไม่มีโฉนด” ขณะชุมชนรอบวัดมีครบหมดแล้ว

วันที่ 9 มี.ค. 67  วานนี้ ดร.นิยม เวชกามา ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเป็นอนุกรรมาธิการศาสนาด้วย ได้โพสต์เฟชบุ๊คเล่าว่า  ตนเองได้ออกเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวโดยลูกสาวเป็นคนขับ จากที่พักในกรุงเทพมหานครเพื่อเดินทางไปยังวัดโคก สว่างตำบลห้วยแถลงอำเภอห้วยแถลงจังหวัดนครราชสีมา  ถึงวัดเวลา 12:00 น. ตามคำร้องขอของหลวงตาสอาด อริยะวังโส (สะอาด จันทร์ดี)

เมื่อไปถึงได้กราบนมัสการหลวงตาสะอาดและพระครูโอภาสเมธากร(จักรกฤษ์ สุเมโธ) เจ้าอาวาสวัดบ้านโคกสว่างซึ่งนั่งรออยู่แล้ว ได้สนทนาเกี่ยวกับปัญหาพื้นที่วัดก็ทราบว่า วัดดังกล่าวเดิมเป็นที่ป่าช้า ชาวบ้าน มีมติตกลงยกให้เป็นวัด ที่ให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 นับมาถึงวันนี้ก็ 81 ปี มีเนื้อที่ดิน 12 ไร่ วัดแห่งนี้เดิมไม่ได้อยู่ที่นี่อยู่ที่บ้านสวนหอมเป็นที่ดินที่ “ตระกูลจันดียกให้”  ที่วัดเดิมยกให้เป็นที่ของโรงเรียน สวนหอม จากที่เดิมยกให้โรงเรียนแล้วเลยวัดเกิดขึ้นสองวัดคือวัดอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า วัดป่าไชยมงคลซึ่งห่างออกไป 300 เมตรและวัดบ้านโคกสว่าง




ดร.นิยม เล่าต่ออีกกว่า พระครูโอภาสเมธากรบอกว่า ท่านไม่ใช่คนที่นี่ แต่ท่านเป็นคนมหาสารคามแต่มาอยู่อยู่ที่นี่ 30 ปีแล้วได้มาสร้างกุฎิวิหารอาคารหลายหลังจากที่เดิมมีเพียงหลังมี หอพระไตรปิฎกศาลาการเปรียญกุฎิอีกหลานหลังด้วย ปัจจุบันกำลังก่อสร้างพระอุโบสถ โดยไม่รอที่จะได้รับอนุมัติตั้งเป็นวัดมีพระจำพรรษา 4 รูป เคยส่งเรื่องไปขอทางวัดยันสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมาแล้วสองครั้ง

ครั้งแรกก็บอกว่า ผู้ว่าจะอนุมัติแล้วปรากฏว่า พอสำนักพุทธย้ายไปเรื่องก็เงียบไป ต่อมาส่งอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบันผอ.สนง.พุทธคนปัจจุบัน ก็ได้รับการแจ้งว่ากำลังอนุมัติสองครั้งก็ต้องมีการตรวจสอบรังวัดพื้นที่วัดด้วยเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนเงินมากพอสมควร ที่สำคัญยืนยันว่าที่ดินชาวบ้านบริเวณรอบวัดมีโฉนดหมดแล้ว

ขณะที่หลวงตาสะอาด  อริยะวังโส อายุ 86 ปี ซึ่งเป็นคนในหมู่บ้านยืนยันว่าที่ดินเดิมเป็นที่ดินของโยมแม่ยกให้วัดต่อ ตนเคยบวชเป็นสามเณรอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 มาก่อนก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมการขอตั้งวัดจึงยากนักทั้งที่เป็นความประสงค์ของชาวบ้าน จึงขอความเมตตาจากสำนักพุทธแห่งชาติช่วยดำเนินการให้ด้วย




ดร.มหานิยม กล่าวว่าตนเห็นสภาพของบริเวณวัดและสิ่งแวดล้อมทั้งหมดแล้ววัดดังกล่าวน่าจะถูกต้องตามกฏหมายได้ ส่วนที่ได้สอบถามไปที่ผอ.สำนักพุทธจังหวัดนครราชสีมาท่านก็บอกว่า อยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักงานที่ดินจังหวัดรอคำตอบอยู่

ผมเป็นเป็นผู้ต้องการที่จะช่วยเหลือพระพุทธศาสนาพระสงฆ์ก็อยากให้วัดนี้เป็นวัดที่ถูกต้องไม่น่าจะเป็นปัญหาเรื่องที่ดินตามกฏหมาย 22484 เพราะบริเวณดังกล่าววัดมีเอกสารสิทธิ์หมดแล้ว เห็นควรที่จะนำเข้าสู่คณะกรรมธิการเพื่อช่วยเหลือวัดต่อไป





ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78017
117  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คณะสงฆ์ “ควรจำกัดที่พักสงฆ์” หรือไม่.!! เมื่อ: มีนาคม 09, 2024, 07:39:13 am



คณะสงฆ์ “ควรจำกัดที่พักสงฆ์” หรือไม่.!!

วันที่ 7 มีนาคม  2567  เฟชบุ๊ค Ch Kitti Kittitharangkoon ซึ่งเป็นเฟชบุ๊คส่วนตัวของ นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งคำถามว่า “คณะสงฆ์ : ควรจำกัดที่พักสงฆ์ หรือไม่!!“ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่พักสงฆ์ หมายถึง สถานที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุสามเณร ซึ่งยังมิได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ที่พักสงฆ์ มิใช่เป็นสำนักสงฆ์หรือวัด ซึ่งได้รับการอนุญาตตั้งเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เป็นแต่เพียงที่พักชั่วคราวเท่านั้น และไม่มีสิทธิใช้คำว่า “วัด” หรือ “สำนักสงฆ์” นำหน้าสถานที่ ใช้ไปก็ไม่ถูกต้อง

ที่พักสงฆ์ หากดำเนินการขอสร้างวัดและขอตั้งวัดไปตาม “กฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ. 2559 ” เมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างวัดและอนุญาตการตั้งวัดถูกต้องตามลำดับแล้ว แม้จะไม่มีวิสุงคามสีมาหรือโบสถ์ ก็จัดเป็นสำนักสงฆ์หรือวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย






ทีนี้มากล่าวถึงเรื่อง คณะสงฆ์ควรจำกัดที่พักสงฆ์ หรือไม่.?

ที่ผู้เขียนตั้งประโยคคำถามขึ้นมาข้างต้น ไม่ได้มีเจตนาที่ ไม่อยากให้ชาวพุทธสร้างและตั้งวัดแต่อย่างใด ให้แยกประเด็นนะครับ อย่าเพิ่งดราม่า แต่ที่ยกขึ้นมา เพราะในปัจจุบัน มีที่พักสงฆ์ที่คณะสงฆ์ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นที่พักสงฆ์ และหรือประกาศเป็นที่พักสงฆ์แล้ว ปรากฎมีพระภิกษุละเมิดพระวินัยและหรือไม่เอื้อเฟื้อต่อกฎมหาเถรสมาคม มติ ประกาศ คำสั่ง หรือระเบียบมหาเถรสมาคม ตลอดจนไม่เอื้อเฟื้อต่อกฎหมายบ้านเมือง อยู่เนืองๆ

อีกทั้งบางแห่งไม่ปรากฎว่ามีหัวหน้าที่พักสงฆ์กำกับดูแลแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนผู้เขียนเกิดความรู้สึกว่า คณะสงฆ์ควรจำกัดการมีขึ้นของที่พักสงฆ์ ที่ไม่ได้มีเจตจำนงค์ว่า “จะสร้างวัดขึ้นมาในอนาคต” ดีกว่ามั้ย

“แหล่งข่าว” จากคณะอนุกรรมาธิการศาสนาท่านหนึ่งระบุว่า ปัจจุบัน ที่พักสงฆ์เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ สวนทางกับจำนวนพระภิกษุที่ลดลง โดยเฉพาะการเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ป่า ที่ดินของรัฐ โดยไม่ถูกต้อง ไม่ได้รับอนุญาตของพระสงฆ์  รัฐบาลหลายรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหา แต่ปัญหามันแก้ไม่จบไม่สิ้น

@@@@@@@

จากข้อมูลของภาครัฐระบุว่าตอนนี้มีที่พักสงฆ์ทั่วประเทศมากกว่า 1 หมื่นแห่ง แต่เท่าที่เรามีข้อมูลปัจจุบันมีที่พักสงฆ์อยู่ในเขตที่ดินของรัฐ เช่น เขตอุทยาน เขตป่าไม้ สปก. เป็นต้น ประมาณ 8 พันแห่ง ซึ่งการเข้าไปอาศัยอยู่แบบนี้ ส่วนใหญ่ผิดกฎหมาย ทางคณะอนุกรรมาธิการศาสนาก็พยายามช่วยเจรจาให้หน่วยงานภาครัฐขอขึ้นทะเบียนแล้วขออนุโลมให้อยู่ได้ 15 ไร่  ซึ่งทางหน่วยงานรัฐท่านก็ยอมให้ เพียงแต่ว่าหากจะสร้างอะไรเพิ่มเติมต้องบอกเขาด้วย

“ตอนนี้เท่าที่ทราบที่พักสงฆ์จากจากเกือบ 8 พันแห่ง ยังแก้ปัญหาได้ไม่ถึง 3 พันแห่ง อันนี้เรายังไม่ได้นับรวม สำนักสงฆ์หรือวัดที่มีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับที่ดินรัฐ ที่ร้องมาที่คณะอนุกรรมาธิการศาสนา ขอให้แก้ปัญหาซึ่งมีทุกสัปดาห์อีกด้วย การลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดสกลนคร ที่สั่งการว่าจะแก้ปัญหาที่ดินวัดทั่วประเทศ ตอนนี้ กำลังรอดูว่าทางรัฐบาลจะเดินหน้าอย่างไร เพราะปัญหาที่ดินวัด สำนักสงฆ์ หรือ ที่พักสงฆ์ กลายเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของคณะสงฆ์ไปแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งแก้ปัญหา ไม่ให้บานปลายในอนาคต..”






Thank to : https://thebuddh.com/?p=78011
118  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ที่มา : บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง 'มหามนตรา' เมื่อ: มีนาคม 09, 2024, 07:16:11 am
.



สรุป บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" พร้อมคำแปล



มหากรุณาธารณีสูตร ภาษาจีน

    1. นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
    2. นำ มอ ออ หลี เย
    3. ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
    4. ผู่ ที สัต ตอ ผ่อ เย
    5. หม่อ ฮอ สัต ตอ ผ่อ เย
    6. หม่อ ฮอ เกีย ลู
    7. งัน (โอม)
    8. สัต พัน ลา ฮัว อี
    9. ซู ตัน นอ ตัน แช
   10. นำ มอ สิต กิต หลี ตอ อี หม่ง ออ หลี เย


   11. ผ่อ ลู กิต ตี ซือ ฮุ ลา เลง ถ่อ พอ
   12. นำ มอ นอ ลา กิน ซี
   13. ซี หลี หม่อ ฮอ พัน ตา ซา แม
   14. สัต ผ่อ ออ ทอ เตา ซี พง
   15. ออ ซี เย็น
   16. สัต ผ่อ สัต ตอ นอ มอ ผ่อ สัต ตอ นอ มอ ผ่อ เค 
   17. มอ ฮัว เตอ เตา
   18. ตัน จิต ทอ
   19. งัน ออ ผ่อ ลู ซี
   20. ลู เกีย ตี

   21. เกีย หล่อ ตี
   22. อี ซี หลี่
   23. หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
   24. สัต พอ สัต พอ
   25. มอ ลา มอ ลา
   26. มอ ซี มอ ซี ลี ถ่อ เย็น
   27. กี ลู กี ลู กิต มง
   28. ตู ลู ตู ลู ฮัว แซ เหย่ ตี
   29. หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
   30. ทอ ลา ทอ ลา


   31. ตี ลี นี
   32. สิด ฮู ลา เย
   33. เจ ลา เจ ลา 
   34. มอ มอ ฮัว มอ ลา
   35. หมก ตี ลี
   36. อี ซี อี ซี
   37. สิด นอ สิด นอ
   38. ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
   39. ฮัว ซอ ฮัว ซัน
   40. ฟู ลา แซ เย

   41. ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
   42. ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
   43. ซอ ลา ซอ ลา
   44. ซิด ลี ซิด ลี
   45. ซู ลู ซู ลู
   46. ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
   47. ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
   48. มี ตี หลี่ เย
   49. นอ ลา กิน ซี
   50. ตี ลี สิด นี นอ


   51. ผ่อ เย หม่อ นอ
   52. ซอ ผ่อ ฮอ
   53. สิด ถ่อ เย
   54. ซอ ผ่อ ฮอ 
   55. หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
   56. ซอ ผ่อ ฮอ
   57. สิด ถ่อ ยี อี
   58. สิด พัน ลา เย 
   59. ซอ ผ่อ ฮอ
   60. นอ ลา กิน ซี

   61. ซอ ผ่อ ฮอ
   62. มอ ลา นอ ลา
   63. ซอ ผ่อ ฮอ
   64. สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
   65. ซอ ผ่อ ฮอ
   66. ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
   67. ซอ ผ่อ ฮอ
   68. เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
   69. ซอ ผ่อ ฮอ 
   70. ปอ ทอ มอ กิต สิด ถ่อ เย


   71. ซอ ผ่อ ฮอ 
   72. นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
   73. ซอ ผ่อ ฮอ
   74. มอ พอ ลี เซง กิต ลา เย
   75. ซอ ผ่อ ฮอ
   76. นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
   77. นำ มอ ออ หลี่ เย
   78. ผ่อ ลู กิต ตี
   79. ซอ ผ่อ ฮอ
   80. ซอ ผ่อ ฮอ

   81. งัน สิต ติน ตู
   82. มัน ตอ ลา
   83. ปัด ถ่อ เย
   84. ซอ ผ่อ ฮอ





ภาษาจีนพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย มหากรุณาธารณีสูตร

    1. นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
       นอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม
    2. นำ มอ ออ หลี เย
       นอบน้อมนมัสการองค์พระอริยะ
    3. ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
       ขอน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
    4. ผู่ ที สัต ตอ ผ่อ เย
       ขอน้อมคารวะต่อผู้ให้การตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
    5. หม่อ ฮอ สัต ตอ ผ่อ เย
        เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น
    6. หม่อ ฮอ เกีย ลู
        ขอน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต
    7. งัน (โอม)
        นอบน้อม เป็นมารดาแห่งธารณีทั้งหลาย
    8. สัต พัน ลา ฮัว อี
        ใจกายสะอาดเหล่ามารมาทำร้ายไม่ได้
    9. ซู ตัน นอ ตัน แช
        พระอริยะแสดงอภินิหารปกปักษ์รักษา และตักเตือนมนุษย์ให้ตั้งใจมุ่งไปทางธรรม
   10. นำ มอ สิต กิต หลี ตอ อี หม่ง ออ หลี เย
        ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับความคุ้มครองและจำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงไม่เร่งรีบ


   11. ผ่อ ลู กิต ตี ซือ ฮุ ลา เลง ถ่อ พอ
        พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมมุ่งไปข้างหน้า สำรวมจิตให้เป็นสมาธิ
   12. นำ มอ นอ ลา กิน ซี
        พระโพธิสัตว์ย้ำเตือนชาวโลกให้มีไตรสรณคมน์ ปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม
   13. ซี หลี หม่อ ฮอ พัน ตา ซา แม
        พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวพระคาถาเตือนจิตให้มุนษย์ผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตมาในทางมรรคผล
   14. สัต ผ่อ ออ ทอ เตา ซี พง
        พระโพธิสัตว์ทรงประทานพระคาถาบทนี้เพื่อมนุษย์ทุกคนสามารถรู้ได้เห็นได้และบรรลุสู่พระพุทธภูมิโดยเสมอกัน
   15. ออ ซี เย็น
        พระโพธิสัตว์จำแลงเป็นพญายักษ์แสดงอภินิหารตักเตือนมนุษย์ให้ละบาปและบำเพ็ญบุญ
   16. สัต ผ่อ สัต ตอ นอ มอ ผ่อ สัต ตอ นอ มอ ผ่อ เค
        นักปราชญ์หรือผู้โง่เขลาเบาปัญญา คนหรือสัตว์สามารถหลุดพ้นได้ถ้าปฏิบัติตามพุทธธรรมด้วยความเคารพ
   17. มอ ฮัว เตอ เตา
        ผู้ปฏิบัติธรรมต้องถือสัจธรรมเป็นใหญ่ ไม่ข้องแวะไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิตดับกิเลสให้จิตสงบ
   18. ตัน จิต ทอ
        ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องยังผลให้จิตต้องตรงกับพระธรรม อย่าให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้น 
   19. งัน ออ ผ่อ ลู ซี
        ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว
   20. ลู เกีย ตี
        พระโพธิสัตว์ตักเตือนสรรพสัตว์ให้รักษาความมีกุศลจิตให้สะอาดบริสุทธิ์

   21. เกีย หล่อ ตี
        คาถาที่พระโพธิสัตว์มีเมตตาจิต กรุณาจิต ชักชวนให้มนุษย์ปฏิบัติธรรมเมื่อจิตสงบก็เปลี่ยนร้ายเป็นดี บาปเป็นบุญได้ 
   22. อี ซี หลี่
        พระโพธิสัตว์ทรงมีความเมตตากรุณาสรรพสัตว์ใดที่รับความไม่เป็นสุข จะทรงตามไปช่วยตามเสียงที่ร้องขอ
   23. หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
        พระโพธิสัตว์มุ่งชี้แนวทางสรรพสิ่งเป็นสูญ
   24. สัต พอ สัต พอ
        พุทธธรรมมีความเสมอภาค
   25. มอ ลา มอ ลา
        สัตว์โลกจะได้รับพรให้มีอายุยืนยาว
   26. มอ ซี มอ ซี ลี ถ่อ เย็น
        ผู้มีจิตว่างสะอาดทั้งกายและจิตเมื่อลงปฏิบัติแล้วย่อมสามารถบรรลุมรรคผลได้และไม่มีวันเสื่อมถอย
   27. กี ลู กี ลู กิต มง
        ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตอันเป็นกุศล เทพเจ้าจะอำนวยพร
   28. ตู ลู ตู ลู ฮัว แซ เหย่ ตี
        พระโพธิสัตว์มุ่งสั่งสอนผู้ปฏิบัติให้เห็นแจ้งในแนวทางที่เข้าถึงพระธรรมอันบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
   29. หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
        พระคาถานี้มุ่งกำจัดความหลงผิด เพื่อปล่อยวางเมื่อจิตบริสุทธิ์เหล่ามารก็ไม่อาจรบกวน
   30. ทอ ลา ทอ ลา
        กิเลสอันเปรียบดุจฝุ่นละอองธุลี ถ้าจิตมีเศษเสี้ยวแห่งกิเลสเกาะอยู่ก็ยากที่จะเห็นธรรม


   31. ตี ลี นี
        สรรพสัตว์โลกทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรล้วนสามารถได้รับการโปรดได้ โดยเฉพาะหญิงสาวให้ปฏิบัติธรรมโดยเร็ว
   32. สิด ฮู ลา เย
        เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงองค์มรรค จิตย่อมสะอาดสามารถสำเร็จเป็นพุทธะอันพิสุทธิ์เปล่งปลั่งด้วยรัศมี
   33. เจ ลา เจ ลา
        ธรรมะเหมือนดั่งฟ้าร้องคำรามดังไปทุกสารทิศเป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินก็จะเกิดสะดุ้งกลัว 
   34. มอ มอ ฮัว มอ ลา
        คุ้มครองสัตว์โลกให้มีความเป็นสิริมงคล
   35. หมก ตี ลี
        ผู้ปฏิบัติธรรมทำจิตให้สะอาดผ่องใส่ สาธยายมนต์ด้วยความสงบก็จะบรรลุพระพุทธผล
   36. อี ซี อี ซี
        ทุกสรรพสิ่งดำเนินไปตามธรรมชาติ เหตุปัจจัยแห่งชะตา
   37. สิด นอ สิด นอ
        จิตอันมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญหา
   38. ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
        ปฏิบัติธรรมไม่ควรยึดติดขณะเดียวกันก็ห่างจากธรรมไม่ได้
   39. ฮัว ซอ ฮัว ซัน
        ความสุขที่แท้จริงจะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก
   40. ฟู ลา แซ เย
        หากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิมก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์

   41. ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
        เมื่อบรรลุธรรมจะมีอภินิหารไม่อยู่ในการบังคับใดๆ
   42. ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
        ผู้สำเร็จมหามรรคการกระทำใดๆ จะเป็นไปโดยอิสระ
   43. ซอ ลา ซอ ลา
        ผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียรก็จะพบพระโพธิสัตว์
   44. ซิด ลี ซิด ลี
        ผู้ตั้งใจประกอบกุศลธรรมจะมีความสมบูรณ์ในบุญกุศล
   45. ซู ลู ซู ลู
        น้ำทิพย์อันมีคุณอนันต์มาชำละล้างกายและจิตใจ
   46. ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
        การตรัสรู้ธรรมต้องมีความวิริยะพากเพียรไม่มีท้อถอย
   47. ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
        ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ที่จะให้ทั้งคนดีและคนชั่วเข้าสู่สุขาวดีภูมิ ผู้ปฏิบัติธรรมจำต้องถือความเมตตากรุณาเป็นมูลฐาน
   48. มี ตี หลี่ เย
        ปฏิบัติมหากรุณาธรรมเพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค เมื่อปฏิบัติดังนี้ก็จะได้รับความหลุดพ้น
   49. นอ ลา กิน ซี
        ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีต้องช่วยรักษา
   50. ตี ลี สิด นี นอ
        ผู้ปฏิบัติต้องเร่งรีบและมีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม

   51. ผ่อ เย หม่อ นอ
        สุรเสียงก้องไปสิบทิศ
   52. ซอ ผ่อ ฮอ
        สรรพธรรมไม่เกิดไม่ดับเป็นความสงบมาแต่ดั้งเดิม ถ้าสรรพสิ่งเข้าถึงนิพพานโลกก็จะกลับกลายเป็นสุขาวดีภูมิ
   53. สิด ถ่อ เย
        เมื่อละว่างก็จะสามารถเข้าถึงความหลุดพันได้
   54. ซอ ผ่อ ฮอ
        ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในความสัจจริงกับความปลอมแปลงก็จะสำเร็จได้ง่าย 
   55. หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
        ความไพศาลของพระพุทธธรรมผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล
   56. ซอ ผ่อ ฮอ
        แนะนำสัตว์โลกให้เริ่มปฏิบัติมรรคผลโดยเร็ว
   57. สิด ถ่อ ยี อี
        ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า
   58. สิด พัน ลา เย
        โปรดเหล่าบรรดาเทพีเพื่อให้สำเร็จในอิสรธรรม
   59. ซอ ผ่อ ฮอ
        ธรรมไม่มีขอบเขตจำกัด
   60. นอ ลา กิน ซี
        โปรดพระอริยะเถระทางฝ่ายหินยาน 

   61. ซอ ผ่อ ฮอ
        สรรพสัตว์ควรตื่นตัวมาแสวงหาการบรรลุธรรมทางมหายานอันมีจุดมุ่งหมายที่พระโพธิธรรม
   62. มอ ลา นอ ลา
        การปฏิบัติธรรมอันยิ่งล้วนสำเร็จพุทธธรรมสมดังมุ่งหมาย
   63. ซอ ผ่อ ฮอ
        เนื้อแท้ของมหามรรคไม่มีอะไร เพียงทบทวนย้อนกลับเพื่อมุ่งเข้าสู่สภาวะเดิมของตนและศึกษาธรรมอย่างจริงใจและจริงจัง
   64. สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
        พระอริยะเพียรรักษาโรคทางจิตให้มลายหายสิ้น
   65. ซอ ผ่อ ฮอ
        คนเรามีโรคทางจิตเป็นภัย พระธรรมรักษาให้หายได้
   66. ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
        สรรพสัตว์มีโอกาสสำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณได้เสมอภาค
   67. ซอ ผ่อ ฮอ
        เผยแผ่พระสัทธรรม (ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี) โปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ
   68. เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
        การใช้วชิรธรรมจักรปราบเหล่ามารเพื่อความสำเร็จธรรม
   69. ซอ ผ่อ ฮอ
        การปฏิบัติธรรมไม่เพียงแต่ลบล้างบาปกรรมและกำจัดมารได้เท่านั้น ยังสามารถบรรลุพุทธภูมิได้ 
   70. ปอ ทอ มอ กิต สิด ถ่อ เย
        การย้ำเตือนผู้ปฏิบัติต้องประกอบด้วยสติปัญญา

   71. ซอ ผ่อ ฮอ
        มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเองด้วยพิจารณาไม่ยึดติดในทางใดทางหนึ่ง
   72. นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
        ทรงสั่งสอนให้ละลักษณะต่างๆ อันเป็นสิ่งปลอมแปลง
   73. ซอ ผ่อ ฮอ
        การปฏิบัติธรรมให้ถือเอาสัมมาจิตและความมีสัจเป็นหลัก
   74. มอ พอ ลี เซง กิต ลา เย
        ธรรมจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรมได้
   75. ซอ ผ่อ ฮอ
        ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย (เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมด แห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ประโยคนี้)
   76. นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
        อย่าปล่อยเวลาให้เสียโอกาสหมั่นตั้งใจปฏิบัติธรรม
   77. นำ มอ ออ หลี่ เย
        นอบน้อมสรรเสริญพระอริยะ
   78. ผ่อ ลู กิต ตี
        พระสัทธรรมไม่มีสิ้นสุด
   79. ซอ ผ่อ ฮอ
        เป็นอุบายให้สรรพสัตว์ละประสาทตาและรูปกายนอก
   80. ซอ ผ่อ ฮอ
        แม้จะละประสาทสัมผัสทางตาแล้ว หูก็เป็นอุปสรรคที่จำต้องละเช่นกัน

   81. งัน สิต ติน ตู
        การปฏิบัติธรรมจำต้องมีจิตที่สงบบังคับการหายใจให้สม่ำเสมอจนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีการหายใจ
   82. มัน ตอ ลา
        ผู้ปฏิบัติต้องปล่อยละประสาทสัมผัสแห่งลิ้นเพื่อเข้าสู่ความบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติดั้งเดิม
   83. ปัด ถ่อ เย
        ร่างกายเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
   84. ซอ ผ่อ ฮอ
        ธรรมเหล่าใดจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยใจเป็นประธาน จงเว้นจากการทำบาป เร่งบำเพ็ญกุศล ชำระจิตให้สะอาดหมดจด นี่คือพระธรรมของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย





คำแปลเป็นภาษาไทย มหากรุณาธารณีสูตร

     1. นอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม
     2. นอบน้อมนมัสการองค์พระอริยะ
     3. ขอน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
     4. ขอน้อมคารวะต่อผู้ให้การตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
     5. เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น
     6. ขอน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต
     7. นอบน้อม เป็นมารดาแห่งธารณีทั้งหลาย
     8. ใจกายสะอาดเหล่ามารมาทำร้ายไม่ได้
     9. พระอริยะแสดงอภินิหารปกปักษ์รักษา และตักเตือนมนุษย์ให้ตั้งใจมุ่งไปทางธรรม
   10. ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับความคุ้มครองและจำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงไม่เร่งรีบ


   11. พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมมุ่งไปข้างหน้า สำรวมจิตให้เป็นสมาธิ
   12. พระโพธิสัตว์ย้ำเตือนชาวโลกให้มีไตรสรณคมน์ ปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม
   13. พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวพระคาถาเตือนจิตให้มุนษย์ผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตมาในทางมรรคผล
   14. พระโพธิสัตว์ทรงประทานพระคาถาบทนี้เพื่อมนุษย์ทุกคนสามารถรู้ได้เห็นได้และบรรลุสู่พระพุทธภูมิโดยเสมอกัน
   15. พระโพธิสัตว์จำแลงเป็นพญายักษ์แสดงอภินิหารตักเตือนมนุษย์ให้ละบาปและบำเพ็ญบุญ
   16. นักปราชญ์หรือผู้โง่เขลาเบาปัญญา คนหรือสัตว์สามารถหลุดพ้นได้ถ้าปฏิบัติตามพุทธธรรมด้วยความเคารพ
   17. ผู้ปฏิบัติธรรมต้องถือสัจธรรมเป็นใหญ่ ไม่ข้องแวะไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิตดับกิเลสให้จิตสงบ
   18. ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องยังผลให้จิตต้องตรงกับพระธรรม อย่าให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้น 
   19. ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว
   20. พระโพธิสัตว์ตักเตือนสรรพสัตว์ให้รักษาความมีกุศลจิตให้สะอาดบริสุทธิ์
   
   21. คาถาที่พระโพธิสัตว์มีเมตตาจิต กรุณาจิต ชักชวนให้มนุษย์ปฏิบัติธรรมเมื่อจิตสงบก็เปลี่ยนร้ายเป็นดี บาปเป็นบุญได้ 
   22. พระโพธิสัตว์ทรงมีความเมตตากรุณาสรรพสัตว์ใดที่รับความไม่เป็นสุข จะทรงตามไปช่วยตามเสียงที่ร้องขอ
   23. พระโพธิสัตว์มุ่งชี้แนวทางสรรพสิ่งเป็นสูญ
   24. พุทธธรรมมีความเสมอภาค
   25. สัตว์โลกจะได้รับพรให้มีอายุยืนยาว
   26. ผู้มีจิตว่างสะอาดทั้งกายและจิตเมื่อลงปฏิบัติแล้วย่อมสามารถบรรลุมรรคผลได้และไม่มีวันเสื่อมถอย
   27. ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตอันเป็นกุศล เทพเจ้าจะอำนวยพร
   28. พระโพธิสัตว์มุ่งสั่งสอนผู้ปฏิบัติให้เห็นแจ้งในแนวทางที่เข้าถึงพระธรรมอันบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
   29. พระคาถานี้มุ่งกำจัดความหลงผิด เพื่อปล่อยวางเมื่อจิตบริสุทธิ์เหล่ามารก็ไม่อาจรบกวน
   30. กิเลสอันเปรียบดุจฝุ่นละอองธุลี ถ้าจิตมีเศษเสี้ยวแห่งกิเลสเกาะอยู่ก็ยากที่จะเห็นธรรม


   31. สรรพสัตว์โลกทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรล้วนสามารถได้รับการโปรดได้ โดยเฉพาะหญิงสาวให้ปฏิบัติธรรมโดยเร็ว
   32. เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงองค์มรรค จิตย่อมสะอาดสามารถสำเร็จเป็นพุทธะอันพิสุทธิ์เปล่งปลั่งด้วยรัศมี
   33. ธรรมะเหมือนดั่งฟ้าร้องคำรามดังไปทุกสารทิศเป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินก็จะเกิดสะดุ้งกลัว 
   34. คุ้มครองสัตว์โลกให้มีความเป็นสิริมงคล
   35. ผู้ปฏิบัติธรรมทำจิตให้สะอาดผ่องใส่ สาธยายมนต์ด้วยความสงบก็จะบรรลุพระพุทธผล
   36. ทุกสรรพสิ่งดำเนินไปตามธรรมชาติ เหตุปัจจัยแห่งชะตา
   37. จิตอันมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญหา
   38. ปฏิบัติธรรมไม่ควรยึดติดขณะเดียวกันก็ห่างจากธรรมไม่ได้
   39. ความสุขที่แท้จริงจะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก
   40. หากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิมก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์

   41. เมื่อบรรลุธรรมจะมีอภินิหารไม่อยู่ในการบังคับใดๆ
   42. ผู้สำเร็จมหามรรคการกระทำใดๆ จะเป็นไปโดยอิสระ
   43. ผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียรก็จะพบพระโพธิสัตว์
   44. ผู้ตั้งใจประกอบกุศลธรรมจะมีความสมบูรณ์ในบุญกุศล
   45. น้ำทิพย์อันมีคุณอนันต์มาชำละล้างกายและจิตใจ
   46. การตรัสรู้ธรรมต้องมีความวิริยะพากเพียรไม่มีท้อถอย
   47. ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ที่จะให้ทั้งคนดีและคนชั่วเข้าสู่สุขาวดีภูมิ ผู้ปฏิบัติธรรมจำต้องถือความเมตตากรุณาเป็นมูลฐาน
   48. ปฏิบัติมหากรุณาธรรมเพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค เมื่อปฏิบัติดังนี้ก็จะได้รับความหลุดพ้น
   49. ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีต้องช่วยรักษา
   50. ผู้ปฏิบัติต้องเร่งรีบและมีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม


   51. สุรเสียงก้องไปสิบทิศ
   52. สรรพธรรมไม่เกิดไม่ดับเป็นความสงบมาแต่ดั้งเดิม ถ้าสรรพสิ่งเข้าถึงนิพพานโลกก็จะกลับกลายเป็นสุขาวดีภูมิ
   53. เมื่อละว่างก็จะสามารถเข้าถึงความหลุดพันได้
   54. ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในความสัจจริงกับความปลอมแปลงก็จะสำเร็จได้ง่าย 
   55. ความไพศาลของพระพุทธธรรมผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล
   56. แนะนำสัตว์โลกให้เริ่มปฏิบัติมรรคผลโดยเร็ว
   57. ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า
   58. โปรดเหล่าบรรดาเทพีเพื่อให้สำเร็จในอิสรธรรม
   59. ธรรมไม่มีขอบเขตจำกัด
   60. โปรดพระอริยะเถระทางฝ่ายหินยาน 

   61. สรรพสัตว์ควรตื่นตัวมาแสวงหาการบรรลุธรรมทางมหายานอันมีจุดมุ่งหมายที่พระโพธิธรรม
   62. การปฏิบัติธรรมอันยิ่งล้วนสำเร็จพุทธธรรมสมดังมุ่งหมาย
   63. เนื้อแท้ของมหามรรคไม่มีอะไร เพียงทบทวนย้อนกลับเพื่อมุ่งเข้าสู่สภาวะเดิมของตนและศึกษาธรรมอย่างจริงใจและจริงจัง
   64. พระอริยะเพียรรักษาโรคทางจิตให้มลายหายสิ้น
   65. คนเรามีโรคทางจิตเป็นภัย พระธรรมรักษาให้หายได้
   66. สรรพสัตว์มีโอกาสสำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณได้เสมอภาค
   67. เผยแผ่พระสัทธรรม (ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี) โปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ
   68. การใช้วชิรธรรมจักรปราบเหล่ามารเพื่อความสำเร็จธรรม
   69. การปฏิบัติธรรมไม่เพียงแต่ลบล้างบาปกรรมและกำจัดมารได้เท่านั้น ยังสามารถบรรลุพุทธภูมิได้ 
   70. การย้ำเตือนผู้ปฏิบัติต้องประกอบด้วยสติปัญญา


   71. มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเองด้วยพิจารณาไม่ยึดติดในทางใดทางหนึ่ง
   72. ทรงสั่งสอนให้ละลักษณะต่างๆ อันเป็นสิ่งปลอมแปลง
   73. การปฏิบัติธรรมให้ถือเอาสัมมาจิตและความมีสัจเป็นหลัก
   74. ธรรมจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรมได้
   75. ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย (เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมด แห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ประโยคนี้)
   76. อย่าปล่อยเวลาให้เสียโอกาสหมั่นตั้งใจปฏิบัติธรรม
   77. นอบน้อมสรรเสริญพระอริยะ
   78. พระสัทธรรมไม่มีสิ้นสุด
   79. เป็นอุบายให้สรรพสัตว์ละประสาทตาและรูปกายนอก
   80. แม้จะละประสาทสัมผัสทางตาแล้ว หูก็เป็นอุปสรรคที่จำต้องละเช่นกัน

   81. การปฏิบัติธรรมจำต้องมีจิตที่สงบบังคับการหายใจให้สม่ำเสมอจนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีการหายใจ
   82. ผู้ปฏิบัติต้องปล่อยละประสาทสัมผัสแห่งลิ้นเพื่อเข้าสู่ความบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติดั้งเดิม
   83. ร่ายกายเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
   84. ธรรมเหล่าใดจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยใจเป็นประธาน จงเว้นจากการทำบาป เร่งบำเพ็ญกุศล ชำระจิตให้สะอาดหมดจด นี่คือพระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย







ขอขอบคุณ :-
ภาพ : pinterest
ข้อมูล : https://www.facebook.com/viharnrasien/posts/501661630004892/
เฟซบุ้ค วิหารเซียน-พัทยา Viharnra Sien | 13 กันยายน 2015 
119  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ที่มา : บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง 'มหามนตรา' เมื่อ: มีนาคม 08, 2024, 02:37:54 pm
.


41. ฮูลูฮูลูมอลา อ่านว่า ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา

ความหมาย : การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน

42. ฮูลูฮูลูซีลี อ่านว่า ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี

ความหมาย : การประกอบธรรม โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง

43. ซอลาซอลา อ่านว่า ซอ ลา ซอ ลา

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์

44. ซิดลีซิดลี อ่านว่า สิด ลี สิด ลี

ความหมาย : ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์ และคุ้มครองสรรพสัตว์โดยไม่ละทิ้ง

45. ซูลูซูลู อ่านว่า ซู ลู ซู ลู

ความหมาย : น้ำอมฤตทานสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง

46. ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย อ่านว่า ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย

ความหมาย : การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย

47. ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย อ่านว่า ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย

ความหมาย : เป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ “ตัวเขา-ตัวเรา” เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา

48. มีตีหลี่เย อ่านว่า มี ตี ลี เย

ความหมาย : มหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค รักในตนเองเท่าใด ก็ให้รักผู้อื่นเท่านั้น

49. นอลากินชี อ่านว่า นอ ลา กิน ซี

ความหมาย : นักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต , ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีจะต้องช่วยกันรักษา ผู้ที่เกิดความท้อถอยก็ต้องส่งเสริมให้กำลังใจ

50. ตีลีสิดนีนอ อ่านว่า ตี ลี สิด นี นอ

ความหมาย : ความคมของวัชระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม

@@@@@@@

51. ผ่อเยหม่อนอ อ่านว่า ผ่อ เย มอ นอ

ความหมาย : สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี

52. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : ความสำเร็จผล มงคล นิพพาน ระงับภัยเพิ่มพูลประโยชน์ พระสัทธรรมไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่เดิม

53. สิดถ่อเย อ่านว่า สิด ถ่อ เย

ความหมาย : ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้

54. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง(ไม่แท้) ก็จะสำเร็จได้ง่าย

55. หม่อฮอสิดถ่อเย อ่านว่า หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย

ความหมาย : ความไพศาลของพระพุทธธรรม ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล

56. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : เน้นย้ำประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม

57. สิดถ่อยีอี อ่านว่า สิด ทอ ยี อี
     สิด ทอ – ความสำเร็จ
     ยี อี – ความว่างเปล่า

ความหมาย : ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม)

58. สิดพันลาเย อ่านว่า สิด พัน ลา เย

ความหมาย : เป็นความอิสระสมบูรณ์ เป็นการกล่าวถึงบรรดาเทพีที่ต่างสำเร็จในอิสระธรรม

59. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : อสังสกฤตธรรมนั้น เป็นสภาวธรรมที่สมบูรณ์โดยอิสระ เป็นการประกาศมหามรรคที่ยิ่งใหญ่มีผลที่ลึกซึ้ง

60. นอลากินชี อ่านว่า นอ ลา กิน ซี

ความหมาย : ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา

@@@@@@@

61. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์

62. มอลานอลา อ่านว่า มอ ลา นอ ลา
     มอ ลา – มโนรถ ความหวัง ความประสงค์
     นอ ลา – อนุตตรธรรม

ความหมาย : การปฏิบัติอนุตตรธรรมสมดังประสงค์

63. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้

64. สิดลาเซ็ง ออหมกเคเย อ่านว่า สิด ลา เซง ออ หมก เค เย

ความหมาย : เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน

65. ซอผ่อฮอ อ่านว่า
     ...........
     ...........

66. ซอผ่อหม่อฮอออสิดถ่อเย อ่านว่า ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
     ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ – สัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน
     ออ สิด ถ่อ เย – สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน

ความหมาย : บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด

67. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่องกับบทก่อน) ความเมตตาอันสูงสุด

68. เจกิดลาออสิดถ่อเย อ่านว่า เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
     เจ กิด ลา – การใช้วชิรจักรปราบเหล่ามาร
     ออ สิด ถ่อ เย – ความสำเร็จอันไม่มีสิ่งใดเทียบได้

ความหมาย : การใช้วชิรธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรูได้รับความสำเร็จ

69. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่องกับบทก่อน) สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ได้ จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย

70. ปอทอมอกิตสิดถ่อเย อ่านว่า ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
     ปอ ทอ มอ กิด – พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต จะต้องปฏิบัติเพื่อได้รับความสุขร่วมกัน
     สิด ถ่อ เย – ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส

@@@@@@@

71. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่องกับบทก่อน) ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง ปฏิบัติโดยการพิจารณา พร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ , มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณาในทุกขณะจะต้องพิจารณาจิตของตน รักษาไว้ในทุกเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้

72. นอลากินชี พันเคลาเย อ่านว่า นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
     นอ ลา กิน ซี – รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร
     พัน เค ลา เย – เถระเพ่งโดยอิสระ

ความหมาย : เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ

73. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่องกับบทก่อน) การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก

74. มอพอลีเซ็งกิตลาเย อ่านว่า มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย
     มอ พอ ลี เซง – ผู้กล้า
     กิด ลา เย – สภาวะเดิม

ความหมาย : คุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม

75. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ในประโยคนี้ มีนัยบ่งบอกถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับหิตานุหิตประโยชน์ มีพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย

76. นำมอห่อลาตันนอตอลาเหย่เย อ่านว่า นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย

ความหมาย : เน้นย้ำให้พยายามควบคุมกายใจไม่ให้ลื่นไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ โน้มนำเอาฌานสมาธิเพ่งการเกิดการดับ

77. นำมอ ออหลี่เย อ่านว่า นำ มอ ออ ลี เย

ความหมาย : เป็นการสาธยายมนต์สรรเสริญพระอริยะ และกล่าวย้ำถึงการปฏิบัติธรรม ต้องละความเป็นตัวตน, บุคคล, เรา-เขา จึงสามารถไม่ให้เกิดความคิดนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ได้ , ความนึกคิดติดยึดไม่เกิด ความเข้าใจถึงธรรมก็จะเป็นที่หวังได้

78. ผ่อลูกิตตี อ่านว่า ผ่อ ลู กิต ตี

ความหมาย : พระสัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์เป็นเครื่องอยู่ นำทางสู่แดนสุขาวดี , มีการเกิดย่อมต้องมีการตาย มีความชนะย่อมต้องมีความพ่ายแพ้ แต่ชาวโลกผู้ตกอยู่ภายใต้อวิชชากลับยินดีต่อการเกิดเกลียดชังความตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตายอยู่นั่นเอง ฉะนั้นหากต้องการรอดพ้นจากความตาย จะต้องค้นหาความเป็นในความตายให้ได้เสียก่อน

79. ชอพันลาเย อ่านว่า ชอ พัน ลา เย

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติต้องสำรวมตาเห็นรูป ไม่ปรุงแต่งไปตามรูปที่มองเห็น

80. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่อง) สำรวมหูฟังเสียง ไม่ปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน


@@@@@@@

81. งัน สิตตินตู อ่านว่า งัน สิด ติน ตู

ความหมาย : สำรวมจมูกดมกลิ่น ไม่ปรุงแต่งไปตามกลิ่นที่จมูกดม

82. มันตอลา อ่านว่า มัน ตอ ลา

ความหมาย : สำรวมลิ้นรับรส ไม่ปรุงแต่งไปตามรสที่ลิ้นรับ

83. ปัดถ่อเย อ่านว่า ปัด ถ่อ เย

ความหมาย : สำรวมกายถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส

84. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : สุดท้ายสำรวมใจรับรู้อารมณ์ ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้ รวมเรียกว่า สำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์




พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร(ภาษาบาลี)

นะโมรัตนะตรายายะ นะโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ
โพธิสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหากรุณิกายะ
โอม สะวะละวะติ ศุททะนะ ตัสสะยะ นมัสกฤต วานิมาง อาระยะ
อวโลกิเต ศะวะระลันตะภา นะโม นิลากันถะ

ศรีมหาปะฎะศะมิ สระวาทวะตะศุภัม อสิยูม สะระวะสัตตะวะ
นะโมปะวะสัตตวะ นะโมภะคะมะภะเตตุ ตัทยะถา
โอมอวโลกา โลกาเต กาละติ อิศีลี มหาโพธิสัตตะวะ
สาโพสาโพ มะรามะรา มะศิมะศิ ฤธะยุ

คุรุคุรุฆามัม ธูรูธูรูภาษียะติ
มหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิรินี ศะวะรายะ ชะละชะละ
มามะภา มะละมุธิริ เอหิเอหิ ศินะศินะ
อาละลินภะละศรี ภาษาภาษิน การะศะยะ หูลุหูลุมะระ หุลุหุลุศรี

สะระสะระ สีรีสีรี สุรุสุรุ พุทธายะพุทธายะ โพธายะโพธายะ
ไมตรีเยนิละกันสะตะ ตรีสะระณะ ภะยะมะนะ สวาหา
สีตายะ สวาหา มหาสีตายะ สวาหา
สีตายะเย ศะวะรายะ สวาหา

นีลากันถิ สวาหา มะละนะละ สวาหา
ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา สะระวะ มหาอัสตายะ สวาหา
จักระอัสตายะ สวาหา ปัทมะเกสายะ สวาหา
นีละกันเต ปันตะลายะ สวาหา โมโผลิศัง กะรายะ สวาหา

นะโม รัตนะตรายายะ นะโมอารยะ อวโลกิเต
ศะวะรายะ สวาหา
โอมสิทธะยันตุ มันตรา ปะทายะ สวาหา.


@@@@@@@

พระคาถาบทสั้น เพื่อขมาเจ้าแม่กวนอิม

   *น่ำ บ้อ กวน ซี อิม ผ่อ สัก*
     (อีกบทสวดต่อเนื่องกันไป)

     นะโมโพธิสัตโต นะโมพุทธายะ
     อิติสุขะโต อะระหังพุทโธ
     อาคันติมายะ นะมะพะทะ
     นะโมพุทธายะ พุทธะรัตตะนัง
     ปะถะวีคงคา ธัมมะรัตตะนัง
     พระภุมมะเทวา อิติภะคะวา
     สังฆะรัตตะนัง ขะมามิหัง








ขอขอบคุณ :-
ที่มา : เว็บ เด็กดี.คอม | โดย อวตาร84
image : pinterest
website : https://www.tipniramit.com/article/2/บทสวดเจ้าแม่กวนอิม-ที่มาบทสวดมหากรุณาธารณีสูตร-ความเป็นมาแห่งมหามนตรา
9 ปีที่ผ่านมา | โดย เจ้าของร้าน

หมายเหตุ : ผู้โพสต์ได้ ดัดแปลงแก้ไข จัดวรรคตอนใหม่
120  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ที่มา : บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง 'มหามนตรา' เมื่อ: มีนาคม 08, 2024, 02:35:15 pm
.



บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ที่มาบทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง "มหามนตรา"| สวดมนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้

"มหากรุณาธารณี" เป็นบทสวดสำคัญในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางพันหัตถ์พันเนตร มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีน สมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย

"มหากรุณาธารณี" เป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวรที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่า ธารณีนี้มีชื่อต่างๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ

 
@@@@@@@

ประวัติ
 
ในประเทศไทยธารณีสูตรฉบับนี้ได้แปลโดยหลวงจีนคณาจีนพรต (เย็นบุญ) เจ้าอาวาสวัดทิพย์วารีวิหาร แขวงบ้านหม้อ เขตพระนคร กรุงเทพ , ในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน คือ คัมภีร์ “สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตธารณีสูตรมหากรุณามนตระ” นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ มหากรุณาหฤทัยธารณี อันจะยังอานิสงส์ความศักดิ์สิทธิ์ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้สวดนานัปการ
 
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พันหัสต์พันเนตร รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมาร คือ สรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือ ปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัสถ์พันเนตร

ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏใน "พระสูตรสันสกฤต" คือ "สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตรมหากรุณามนตร์" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "มหากรุณาธารณีสูตร" (大悲咒) นำเข้าไปแปลในจีน โดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึง บทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ “มหากรุณาหฤทัยธารณี”

@@@@@@@

เนื้อหากล่าวถึง เมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่า "พระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต" พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้ แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า

    “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง”

ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า

    “ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล”

เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง
 
@@@@@@@

จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุและพันหัสต์ แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีนซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ

ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดย Dr.Lokesh Chandra และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ.1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป
 
บทสวดนี้เป็นที่นับถือและสวดบูชาพระอวโลกิเตศวรกันอยู่ทั่วไป ในหมู่พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อินเดียเหนือ เนปาล ทิเบต ไปจนถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มหากรุณาธารณีนี้เป็นบทสวดของพระอวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า

 


คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม
 
บทสรรเสริญพระคุณ นะโมกวงซิอิม ผ่อสัก
 
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)

บทสวดมนต์ฮ่งไป่กวงอิม(สรรเสริญกิตติคุณพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม)

    ม้อเอี่ยซาผ่อออ จี้ซิมกุยเหม่งลี่
    กวงอิมผ่อสักไต่ฉื่อปุย กิ่วโต่วจงเซ็งบ่อจิงตี้
    จ๋อชิ่วจิบปั๊งกำโหล่วจุ้ย อิ๋วชิ่วจิบกีเอี่ยงลิวกี
    เท้าเจี่ยเต็งจุงอยู่ไหล่ฮุก เข้าตังเสี่ยเหนี่ยมออหนี่ท้อ

    อู่นั้งเหนียมติกกวงอิมจิ่ว ฮวยแคฮ่วยจ่อแปะโหน่ยตี๊
    เจียวเหนี่ยมกวงซี่อิม หมอเหนียมกวงซี่อิม
    จี่เต็กลิ้มตังกวงซี่อิม แปะโหน้ยตี๊ตังกวงซี่อิม
    ฉิ่มเซียกิ้วโค่วกวงซี่อิม แปะโชยบ่วงเอ็กกวงซี่อิม

    หกต่อฮุ้งตังคงลี่หิ่ง หกต่อกังโอ้วหลั่งหลีชิ้ม
    หกต่อเอี้ยงกังกิ้วจิกโค่ว หกต่ออิมฮู่โต่วจงเซ็ง
    หยิกยิกสี่ซี้ไหล่กิ้วโค่ว สี่ซี้กิ้วโค่วปุกหลี่ซิง
    ง้อกิมกี๋ซิ่วไป้กวงอิม หยุ่ยหงวงกวงอิมกั้งไหล่ลิ้ม

    ไต่ฉื่อปุยกิ้วโค่วหลั่ง นำมอเหล่งก้ำกวงซี่อิม
    ผ่อสักหม่อฮอสัก นำมอออนี้ถ่อหุก
    นำมอออนี้ถ่อหุก นำมอออนี้ถ่อหุก

คำแปล

ขอนมัสการพระรัตนตรัยด้วยจิตตั้งมั่นในหลักของศาสนาที่จะเข้าถึงธรรมะ ขอน้อมระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมผู้ทรงมีมหาเมตตาเป็นอนันต์ที่ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากวัฏฏะโดยไม่มีขอบข่าย พระหัตถ์ซ้ายของพระองค์ทรงถือแจกันน้ำอมฤตที่สามารถปราบมารได้ และพระหัตถ์ขวาทรงถือกิ่งหลิวอันศักดิ์สิทธิ์ไว้ สำหรับประพรมน้ำอมฤต บนเศียรทรงสวมรัตนมาลาที่มีสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า

พระองค์ทรงหมั่นสวดมนต์ภาวนาระลึกถึงพระพุทธเจ้าอมิตาภะอยู่เสมอ ผู้ใดหมั่นภาวนาพระคาถาบูชาพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมจนขึ้นใจย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ร้อน และได้รับความร่มเย็นเหมือนดั่งความเย็นชื่นแห่งสระบัวขาว

ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมเสมอทั้งเวลาเช้าและเย็น ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงเร้นพระวรกายอยู่ในป่าไผ่ ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงประทับอยู่บนดอกบัวขาวในโบกขรณี ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงบำบัดทุกข์ตามเสียงพร่ำเรียกของสัตว์โลก

ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงอยู่ห่างเราเป็นหมื่นเป็นแสนโยชน์บางครั้งพระองค์จะทรงปรากฏพระวรกายอยู่บนปุยเมฆเพื่อช่วยเหลือเรา บางครั้งพระองค์จะทรงดั้นด้นในท่ามกลางคลื่นลมของแม่น้ำและมหาสมุทร เพื่อทรงค้นหาและช่วยเหลือเรา บางครั้งพระองค์จะทรงบำบัดทุกข์ให้สัตว์โลกในมนุษยโลก บางครั้งพระองค์จะทรงช่วยเหลือสัตว์ในนรกโลกทุกๆวันทุกๆเวลา

ขออ้อนวอนพระองค์ให้เสด็จมาทรงช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้แก่เราทุกๆเวลา ขอให้พระองค์เสด็จมาอยู่ใกล้ๆเราเพื่อทรงขจัดทุกข์ ในวโรกาสนี้ข้าน้อยขอสักการบูชาพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมด้วยความเคารพยิ่ง และหวังว่ากระแสแห่งการสักการบูชานี้ คงจะกระทบถึงพระองค์ให้ทรงรับทราบและเสด็จมาโปรดข้าน้อยทั้งหลายบ้าง ขอน้อมสักการในน้ำพระทัยอันล้ำลึกของพระองค์ผู้ทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์ซึ่งขจัดทุกข์ให้แก่สัตว์โลกได้นะโมอนันตพุทธะ

 


บทสวดมหากรุณาธารณีสูตร

โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)

    - นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
    - นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
    - ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
    - หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี

    - ซูตัน นอตันเซ
    - นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
    - ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
    - นำมอ นอลา กินซี

    - ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
    - สะพอ ออทอ เตาซีพง
    - ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
    - นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา

    - ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
    - ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
    - หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
    - มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน

    - กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
    - หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
    - ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
    - อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี

    - ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
    - ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
    - สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
    - มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ

    - ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    - หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
    - สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
    - มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย

    - ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    - เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
    - ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
    - มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ

    - นำมอห่อลาตัน นอตอลาเหย่เย
    - นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
    - งัน สิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ


@@@@@@@

คำแปลและความหมาย โดยย่อ

1. นำมอ ห่อลาตันนอตอลาเหย่เย อ่านว่า นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
   นำ มอ – ความนอบน้อม
   ฮอ ลา ตันนอ – ความเป็นรัตนะ
   ตอ ลา เหย่ – 3
   เย – นมัสการ

ความหมาย : ขอนอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม หมายถึง การน้อมเอาพระไตรสรณคมน์, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก ผู้ต้องการปฏิบัติให้ถึงพระองค์ จะต้องสาธยายมนตราด้วยความมีเมตตากรุณาและเปี่ยมด้วยศรัทธา ไม่ควรสวดด้วยเสียงอันดัง เกรี้ยวกราด และเร่งร้อน

2. นำมอ ออหลี่เย อ่านว่า นำ มอ ออ ลี เย
    นำ มอ – ความนอบน้อม
    ออ ลี – องค์อริยะ
    เย – นมัสการ

ความหมาย :  ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากบาปอกุศล , วัตถุประสงค์แห่งบทนี้ พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนชาวโลกให้ปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน พระสัทธรรมทั้งหลายล้วนกำเนิดมาแต่จิต เหตุนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความชัดแจ้งแห่งจิต และมองเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อไม่แจ้งชัดในจิตก็ไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน หากแต่จิตเป็นอจล มีความมั่นคง ก็สามารถเดินทางสู่พระนฤพานได้

3. ผ่อลูกิตตี ชอปอลาเย อ่านว่า ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
   ผ่อ ลู กิด ตี – การเพ่ง พิจารณา อีกนัยหนึ่งคือความสว่าง
   ซอ ปอ ลา – เสียงของโลกอันเป็นอิสระ
   เย – นอบน้อมนมัสการ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก , พระโพธิสัตว์ผู้สงสารชีวิตแห่งสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์ เขาเหล่านั้นล้วนมีความทุกข์อันเกิดจากการหลงลืมสภาวะเดิมของตน จำต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระองค์พิจารณาตามนี้ จึงเกิดเมตตาจิตที่จะโปรดสัตว์

4. ผู่ที สัตตอผ่อเย อ่านว่า ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
   ผู่ ที (โพธิ) – ตรัสรู้
   สัต ตอ (สัตว์) – การมีชีวิต อารมณ์
   พอเย – น้อมคารวะ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต , หากตั้งใจในธรรม นอบน้อมต่อความแจ้งในสภาวะเดิม ก็จะถึงความหลุดพ้น

5. หม่อฮอสัตตอผ่อเย อ่านว่า หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย
    หม่อ ฮอ – ใหญ่มาก
    สัต ตอ – สัตว์โลก หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง ผู้กล้าหาญ
    พอ เย – น้อมคารวะ

ความหมาย : เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญ ก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น , มวลสรรพสัตว์ในโลกอันไพศาล ถ้ารู้สึกตัวแล้วลงมือปฏิบัติ ล้วนถึงความหลุดพ้นได้

6. หม่อฮอเกียลูหนี่เกียเย อ่านว่า หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
    หม่อ ฮอ -ใหญ่มาก
    เกีย ลู – กรุณา
    นี เกีย – จิต
    เย – คารวะ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต

7. งัน (โอม) อ่านว่า งัน
    งัน (โอม) – นอบน้อม

ความหมาย : ขอนอบน้อม, บูชาถวายแด่พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ นำสัทธรรมอันเป็นความดับสูญโดยแท้จริง ปลุกให้มนุษย์ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่ เข้าถึงสัทธรรมอันบริสุทธิ์

8. สัตพันลาฮัวอี อ่านว่า สัต พัน ลา ฮัว อี
    สัต พัน ลา – อิสระ
    ฮัว อี – อริยะ

ความหมาย : องค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด , กายใจ จะบริสุทธิ์ได้ ต้องตั้งอยู่ในสัจธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล

9. ซูตันนอตันแซ อ่านว่า ซู ตัน นอ ตัน เซ

ความหมาย : การปฏิบัติธรรมต้องถือความสัจเป็นพื้นฐาน ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่อริยสัจ , หากการปฏิบัติธรรมไม่ประกอบด้วยความสัจ ก็จะไม่พบหนทางสู่ความสำเร็จ เนื่องจากความสัจนั้นเป็นธรรมที่ปราศจากการหลอกลวง จิตจึงรวมเป็นหนึ่งได้ เมื่อมีความสัจ ก็จะมีความเข้าใจ เมื่อเข้าใจก็จะมองเห็นความปลอดโปร่ง เมื่อปลอดโปร่งก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง และกลับกลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

10. นำมอสิดกิตหลี่ตออีหม่งออหลี่เย อ่านว่า นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
     นำ มอ – นอบน้อม
     สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง – ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
     ออ ลี เย – การปฏิบัติธรรมจะรีบร้อนให้ได้ผลในทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้

ความหมาย : ฉะนั้นผู้ที่จะน้อบน้อมเข้าถึงองค์อริยะ จำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงเป็นหนึ่ง จะกระทำโดยเร่งรีบไม่ได้  ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองค์แห่งพระธรรมคัมภีร์ หมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม มีความคิดดำริมั่นที่จะก้าวข้ามห้วงแห่งโอฆะ คิดจะกระทำประโยชน์แก่สรรพชีวิต

@@@@@@@

11. ผ่อลูกิตตีซือฮูลาเลงถ่อพอ อ่านว่า ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
     ผ่อ ลู กิด ตี – จิตต้องกับธรรม
     สิด ฮู ลา – ท่องเที่ยวไปอย่างอิสระ
     เลง ถ่อ พอ – เนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติต้องจงใจมุ่งไปข้างหน้า ฝึกฝนให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่ง (เอกัคคตา)

12. นำมอนอาลากินชี อ่านว่า นำ มอ นอ ลา กิน ซี
     นำ มอ – นอบน้อม
     นอ ลา กิน ซี – การคุ้มครองคนดี นักปราชญ์ นักปฏิบัติ

ความหมาย : ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ ทรงย้ำเตือนให้ยึดถือพระไตรสรณาคมน์ ต้องปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม ทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้รับรู้ เป็นแบบอย่างและเจริญรอยตามสาธุชน ผู้ปฏิบัติตามพระพุทธองค์และพระธรรมยิ่งต้องมีความเมตตากรุณา จิตและโพธิจิตเพื่อโปรดสัตว์ รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิตและเผื่อแผ่ทั่วไปไม่มีประมาณ

13. ซีหลี่มอฮอพันตอซาแม อ่านว่า ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม
     ซี ลี หม่อ ฮอ – ความเมตตากรุณาอันไพศาล สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้
     พัน ตอ ซา เม – ผู้มีบุญวาสนาจะได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้า มารทั้งหลายไม่สามารถมารบกวนได้

ความหมาย : พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่า ชาวโลกถือเอาความรวย, มีชื่อเสียง, ศักดินา เป็นที่นิยมศรัทธา อันเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์ พระองค์จึงเตือนจิตให้มนุษย์ จงผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตใจมาในทางมรรคผล เมื่อจิตว่างแล้ว พระสัทธรรมอันพิสุทธิ์ก็จะเจริญขึ้น

14. สัตผ่อออทอเตาซีพง อ่านว่า สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
     สะ – การได้เห็น
     พอ – เสมอภาค
     ออ – พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์
     ทอ เตา ซี พง – ธรรมไม่มีขอบเขต

ความหมาย : ทุกคนที่ปฏิบัติสามารถรู้ได้เห็นได้ และบรรลุสู่พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกัน

15. ออซีเย็น อ่านว่า ออ ซี เย็น

ความหมาย : ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ
 
16. สัตผ่อสัตตอ นอมอผ่อสัตตอ นอมอผ่อเค อ่านว่า สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค
     สะ พอ สะ ตอ – พุทธธรรมอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุด สรรพสัตว์ในโลกนี้ล้วนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้
     นอ มอ พอ สะ ตอ – พุทธธรรมเป็นความเสมอภาค มิได้แบ่งแยกเป็นสูงหรือต่ำ
     นะ มอ พอ เค – พุทธธรรมมีความไพศาล ผู้ปฏิบัติตามจะสามารถระงับภยันตรายทุกสิ่ง

ความหมาย : ไม่ว่านักปราชญ์หรือผู้โง่เขลา เบาปัญญา คนหรือสัตว์ ล้วนสามารถหลุดพ้นได้ ถ้าเขาเหล่านั้นปฏิบัติธรรมด้วยความสัจ

17. มอฮัวเตอเตา อ่านว่า มอ ฮัว เตอ เตา

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่ และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข

18. ตันจิตทอ อ่านว่า ตัน จิต ทอ

ความหมาย : ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องกัน จิตต้องตรงกับพระธรรม ห้ามมิให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เนื่องจากว่าหากปล่อยให้ความคิดทางโลก เกิดขึ้นในจิต กาย ใจ ก็จะไม่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดการขัดแย้งกับพระธรรม ไม่อาจจะพบความสันติสุขได้

19. งันออผ่อลูซี อ่านว่า งัน ออ พอ ลู ซี
     งัน – นอบน้อม เป็นบทนำ
     ออ พอ ลู ซี – เป็นพระโพธิสัตว์ หมายถึง พระธรรมคือ ความสะอาดจิตสะอาดสดใสไร้ราคะ

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร(กามกิเลส) หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่เดิม , ถ้าทำให้จิตมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยมิรู้ตัว , พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าได้หลุดพ้นในขณะที่อยู่ในโลกอันมากล้นไปด้วยกิเลสนี้

20. ลูเกียตี อ่านว่า ลู เกีย ตี

ความหมาย : เป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ , มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีสว่างรอบกาย และสามารถร่วมกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รักษาความมีกุศลจิต อย่าทำลายตนเอง อย่าหลงผิดเป็นชอบ สิ่งสำคัญ ต้องรักษาจิตให้บริสุทธิ์


@@@@@@@

21. เกียหล่อตี อ่านว่า เกีย ลอ ตี

ความหมาย : ผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่ เมื่อจิตมีความสงบก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้ายให้กลับกลายเป็นดี

22. อีซีหลี่ อ่านว่า อี ซี ลี

ความหมาย : กระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด

23. หม่อฮอผู่ทีสัตตอ อ่านว่า หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
     หม่อ ฮอ – ความไพศาลของพุทธธรรม ทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติได้
     ผู่ที – เห็นโลกนี้เป็นสูญ
     สัต ตอ – การเน้นปฏิบัติอนัตตธรรม มองเห็นสรรพธรรมเป็นสูญ

ความหมาย : มองความรุ่งเรืองแห่งลาภยศ สรรเสริญเป็นสูญ มองให้เห็นเป็นเงาลวง ทำจิตใจร่างกายให้หมดจด

24. สัตพอสัตพอ อ่านว่า สัต พอ สัต พอ

ความหมาย : พุทธธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข

25. มอลามอลา อ่านว่า มอ ลา มอ ลา

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติจะได้มีมโนรถแก้วมณี แก้วมณีนี้แจ่มใสไม่มีอะไรขัดข้อง , ความคิดคำนึงเกิดมาแต่จิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป ผู้ปฏิบัติต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน ระงับความวิตกกังวล เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม ชำระล้างอายตนะภายในให้สะอาดพิสุทธิ์ ละความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง

26. มอซีมอซี ลีถ่อเย็น อ่านว่า มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน
     มอ ซี – ความมีอิสระทันที ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ
     ลี ทอ ยิน – การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ

ความหมาย : โดยปกติแล้วผู้ที่มีจิตว่างก็จะมีความสะอาดทั้งกายและจิต เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย

27. กีลู กีลู กิตมง อ่านว่า กี ลู กี ลู กิด มง
     กี ลู – การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
     กิด มง – ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค (มรรคผล-นิพพาน)

28. ตูลู ตูลู ฮัวแซเหย่ตี อ่านว่า ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
     ตู ลู – ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ ไม่หลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
     ฟา เซ เย ตี – มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้

29. หม่อฮอฮัวแซเหย่ตี อ่านว่า หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี

ความหมาย : พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้ ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนกัน กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก

30. ทอลาทอลา อ่านว่า ทอ ลา ทอ ลา

ความหมาย : เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้

@@@@@@@

31. ตีลีนี อ่านว่า ตี ลี นี
     ตี – โลก
     ลี – สัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถรับการโปรดได้
     นี – พรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่

32. สึดฮูลาเย อ่านว่า สิด ฮู ลา เย

ความหมาย : เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน

33. เจลาเจลา อ่านว่า เจ ลา เจ ลา

ความหมาย : ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า กระหึ่มไปทั่วสารทิศ , ธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว

34. มอมอฮัวมอลา อ่านว่า มอ มอ ฮัว มอ ลา
     มอ มอ – การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
     ฮัว มอ ลา – ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือคาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม

35. หมกตีลี อ่านว่า หมก ตี ลี

ความหมาย : หลุดพ้น ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ

36. อีซีอีซี อ่านว่า อี ซี อี ซี

ความหมาย : การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ , ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ

37. สึดนอสึดนอ อ่านว่า สิด นอ สิด นอ

ความหมาย : เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา , ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่ ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์ ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น  แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย

38. ออลาซันฟูลาแซลี อ่านว่า ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
     ออ ลา ซัน – ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
     ฮู ลา เซ ลี – การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ

39. ฮัวซอฮัวซัน อ่านว่า ฮัว ซอ ฮัว ซัน
     ฮัว ซอ – ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
     ฮัว ซัน – ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย

ความหมาย : เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก ถ้าสามารถอดทนต่อความยาก ลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้

40. ฟูลาแซเย อ่านว่า ฮู ลา เซ เย

ความหมาย : จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 707