ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เปลี่ยนความคิดเท่ากับเปลี่ยนกรรม ธรรมะไขข้อข้องใจเรื่องกฎแห่งกรรม  (อ่าน 465 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



เปลี่ยนความคิดเท่ากับเปลี่ยนกรรม ธรรมะไขข้อข้องใจเรื่องกฎแห่งกรรม

“กรรมฉันเอง กรรมฉันเอง” บทสรุปสุดท้ายที่คนพูดให้ได้ยิน เมื่อประสบปัญหาชีวิตที่หนักสุด ๆ การเปลี่ยนความคิดช่วย เปลี่ยนกรรม ได้จริงหรือไม่ ท่าน ส.ชิโนรส จะอธิบายเรื่องนี้ให้กระจ่าง

กรรม แปลสั้น ๆ ว่า การกระทำ การกระทำที่คนแสดงออกทางกาย พฤติกรรม บุคลิกลักษณะ ท่าทาง และอากัปกิริยาต่าง ๆ เรียกว่า “กายกรรม” ส่วนการกระทำที่คนแสดงออกทางคำพูด น้ำเสียง ทำนองการพูด ภาษาที่พูด เรียกว่า “วจีกรรม”

ทำ และ พูด หรือกายกรรมและวจีกรรมคือความหมายอย่างหนึ่งของกรรม คนทั่วไปจะวัดว่าความเป็นคน หรือความเป็นมนุษย์ที่คำพูด และการกระทำ หลายคนเชื่อว่า คำพูดและการกระทำ คือหน้าต่างหัวใจ ตัวบ่งชี้บุคลิกและตัวตนของบุคคลผู้นั้น

แม้คำพูดและการกระทำจะวัดค่าคนแต่ละคนได้ก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังมีสิ่งที่ลึกไปกว่าสิ่งที่เราเห็นด้วยตา และได้ยินด้วยหู คือความคิดในใจของแต่ละบุคคล


@@@@@@

พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับความคิดมากกว่าคำพูดและการกระทำ พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมงคลสูตรว่า

 “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมะแม้แต่ข้อเดียวที่จะมีโทษรุนแรงมากเท่ากับการคิดผิด”

คิดผิดเสียตั้งแต่ต้น คำพูดและการกระทำทั้งหมดก็ผิด แก้ไขได้ยากที่สุด คิดถูกเสียตั้งแต่ต้น คำพูดและการกระทำก็ถูกไปทั้งหมด ชีวิตก็ราบรื่น

พระพุทธองค์จึงให้ความสำคัญกับความคิดมากที่สุด ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นของคำพูดและการแสดงออก เปรียบเหมือนเข็มทิศชี้ทางให้คนเดินหรือเป้าหมายชีวิต

@@@@@@

หากเข็มทิศชี้ผิด การเดินทางก็ผิดไปทั้งหมด แต่หากเข็มทิศชี้ถูก การเดินทางก็ถูกทั้งหมด พระพุทธองค์จึงตรัสว่า…

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าความคิด เป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงแสดงออกทางคำพูด พฤติกรรม และจิตวิญญาณ”

นั่นคือ ความคิดนั่นแหละคือตัวกรรม ตัวตนที่แท้จริงของกรรม หรือแก่นแท้ของกรรม ส่วนคำพูดและการแสดงออกเป็นเพียงผลที่เกิดจากความคิดเท่านั้น

ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต พระพุทธองค์ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความคิดว่า หากคิดผิด หรือคิดไม่ถูกกับความเป็นจริงแล้วจะมีโทษร้ายแรงมากที่สุด มากกว่าอนันตริยกรรม คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธองค์จนห้อพระโลหิต และทำสงฆ์ให้แตกสามัคคีเสียอีก

@@@@@@

อนันตริยกรรม แปลว่า กรรมที่ผู้ทำได้รับผลอย่างต่อเนื่อง หรือ กรรมที่แก้ให้หนักเป็นเบาไม่ได้ ถือเป็นกรรมหนักที่สุดในบรรดากรรมต่าง ๆ ปิดกั้นไม่ให้ผู้ทำไปสวรรค์หรือนิพพาน ผู้ทำอนันตริยกรรมจะต้องเสวยผลกรรมในนรกนานเป็นกัปเป็นกัลป์ แต่กระนั้นก็ยังมีเวลาพ้น

ส่วนคนคิดผิดหรือคนมีมิจฉาทัศน์ไม่มีเวลากำหนดพ้นนรก ตราบใดที่เขายังคงยึดถือความคิดนั้นอยู่อย่างเดิม ฉะนั้น แก่นแท้ของกรรม หรือตัวตนที่แท้จริงของกรรมจึงไม่ใช่คำพูดและการกระทำ แต่คือความคิดของมนุษย์ทุกคนนั่นเอง


 
ที่มา : กรรม รหัสลับที่แก้ได้ โดย ส.ชิโนรส
ภาพ : https://pixabay.com
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/163212.html
By nintara1991 ,9 July 2019
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ