ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องมีช่วงเข้าพรรษา กับคำตอบแบบวิทยาศาสตร์  (อ่าน 384 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ทำไมต้องมีช่วงเข้าพรรษา กับคำตอบแบบวิทยาศาสตร์

เราได้รับการสั่งสอนมาตั้งแต่เด็กๆ ถึงที่มาของวันสำคัญทางศาสนา ว่ามีที่มาและมีความสำคัญอย่างไรบ้าง เช่น วันมาฆบูชา คือวันที่มีจาตุรงคสันนิบาต ครบองค์ 4 ของศาสนาพุทธ วันวิสาขบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา

แต่วันที่มีประวัติความเป็นมาสร้างความกังขาให้ผู้เขียนมากที่สุดคือ วันเข้าพรรษา ครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาให้เราท่องว่า ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงฤดูฝนที่เกษตรกรทำนา การที่พระภิกษุเดินทางไปทั่ว ก็จะไปเหยียบข้าวกล้าในนาเสียหาย จึงกำหนดให้พระภิกษุอยู่กับวัดไม่ออกไปไหนไกลๆ ให้ประชาชนเดือนร้อน

คำอธิบายแบบนี้ขัดแย้งกับวิถีการทำนาเป็นอย่างมาก เพราะข้าวเป็นพืชที่ต้องปลูกในน้ำ วิธีการปลูกจึงต้องทำคันนาเพื่อขังน้ำ แล้วปลูกข้าวในน้ำนั่นแหละ ต้นข้าวก็โตขึ้นหนีน้ำ เติบโต ออกรวงให้เก็บเกี่ยวกันในช่วงปลายฤดูทำนา


@@@@@@

วิธีการทำนาก็เห็นๆ กันอยู่ว่า ต้นข้าวอยู่ในน้ำ ไม่ได้อยู่บนเส้นทางใดๆ ที่คนจะเดินผ่านไปเหยียบได้ ชาวนาเองเขายังเดินบนคันนา พระภิกษุก็คงไม่คิดพิสดารขนาดลงไปเดินลุยน้ำในนา เพื่อเหยียบข้าวที่เขาปลูกไว้ให้หักเสียหายเล่นแน่นอน ดังนั้นความเชื่อเดิมๆ ที่ครูสอน ไม่น่าจะถูกต้องในเชิงวิทยาศาสตร์

ผู้เขียนเคยตั้งคำถามนี้ตอนเรียนอยู่มัธยม ครูก็นิ่งไป ตอบไม่ได้ แล้วก็เลยเปลี่ยนความไม่รู้เป็นความโกรธ หาว่าผู้เขียนกระด้างกระเดื่อง ถูกตราหน้าว่าเป็นเด็กไม่ดี ทั้งๆ ที่เป็นคำถามปกติ และเป็นคำถามที่เกิดจากการตั้งใจฟังครูสอนแล้วคิดต่อไปด้วยซ้ำ

ครูตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ลองหาคำตอบเองดูก็ได้ มีหลายๆ สมมติฐานที่ฟังขึ้นกว่าการป้องกันไม่ให้พระภิกษุไปลุยน้ำในนาแล้วเหยียบข้าวเสียหายมากมายนัก เช่น

@@@@@@

1. ช่วงเวลาหน้าฝนเป็นช่วงเวลาที่เดินทางลำบาก
เส้นทางต่างๆ ในสมัยก่อนก็คงไม่ได้ทนได้ทุกสภาพอากาศแบบในปัจจุบัน พระภิกษุอาจเอาชีวิตไปทิ้งกลางทางด้วยอุทกภัย หรือโดนสัตว์ร้ายที่หนีน้ำขึ้นมาอยู่บนที่ดินขบกัดเอาได้ ถ้าให้พระอยู่กับที่ก็จะปลอดภัยต่อชีวิตมากกว่า

2. เป็นช่วงเวลาที่ได้ทบทวนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
การเรียนพระพุทธศาสนาในสมัยก่อน เป็นการตีความพระไตรปิฎกโดยพระผู้อาวุโสเป็นหลัก แล้วผู้เรียนก็ท่องจำเอา เวลาผ่านไปก็อาจลืมกันได้ ก็ต้องมาทบทวนกันทุกปีเพื่อให้ไม่ลืม และยังยึดมั่นในแนวทางเดิมต่อไป

3. นำความรู้ที่ได้จากการเดินทางจาริกไปตามที่ต่างๆ กลับมาปรับแต่งและเผยแพร่ให้กับชุมชน
ต้องเข้าใจก่อนว่า สมัยโบราณ ฆราวาสไม่ค่อยออกไปจากชุมชนของตัวเองกันหรอก เพราะงานในไร่ในนาที่ต้องพึ่งพาเมตตาจากธรรมชาติก็ยุ่งมากพอแล้ว การเดินทางก็ลำบากยากเย็นเหลือเกิน แต่พระภิกษุเป็นอาชีพเดียว ที่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เพราะมีคนตักบาตรทำบุญให้โดยปกติ

พระภิกษุจึงเป็นผู้นำความรู้ต่างๆ จากนอกชุมชน เข้ามาสู่ชุมชน สถานศึกษาและสถานพยาบาลจึงอยู่ที่วัด โดยมีพระภิกษุทำหน้าที่ครูและแพทย์ ช่วงเข้าพรรษาจึงเป็นช่วงที่พระภิกษุได้เผยแพร่ความรู้จากการจาริกไปที่อื่น ให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ ว่าโลกภายนอกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง

@@@@@@

นอกจาก 3 สมมติฐานที่ฟังดูแล้วเป็นเหตุเป็นผลกว่าการป้องกันพระไปเหยียบข้าวในนาของชาวบ้าน ยังมีสมมติฐานอื่นๆ อีกมากมาย เราพยายามพร่ำบอกกับประชากรโลกว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุผล

แต่ถ้าผู้สอนศาสนาของเรายังสอนด้วยเนื้อหาที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ และไม่เปิดกว้างพอที่จะตอบคำถามต่างๆ เราจะพัฒนาจิตใจของพุทธศาสนิกชนอย่างมีเหตุผลได้อย่างไรกัน


ขอบคุณที่มา : https://www.rabbittoday.com/th-th/articles/smart-living/buddhist-lent
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ