ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรมอนามัยชวนทำบุญตักบาตร เมนูสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์  (อ่าน 391 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ตักบาตร เมนูสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์

ตักบาตร เมนูสุขภาพ อะไรดีนะ ข้อมูลจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชวนคนไทยทำบุญตักบาตรด้วยเมนูชูสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ และควรเลือกซื้ออาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปรุงประกอบถูกสุขลักษณะ เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงวันเข้าพรรษา หลายคนมีการวางแผนที่จะไปทำบุญ การทำบุญในแต่ละครั้งควรใส่ใจเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพและถูกหลักโภชนาการ เนื่องจากในปัจจุบันพระสงฆ์อาพาธสูงมากขึ้นด้วยโรค ไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน การถวายอาหารที่ดีต่อสุขภาพพระสงฆ์จะช่วยให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดีได้ พระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสตักบาตร หรือนำอาหารมาถวาย รวมถึงสถานภาพของพระภิกษุไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย การฉันภัตตาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น

@@@@@@

แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าวต่อไปว่า อาหารที่แนะนำให้ถวายพระสงฆ์ ถวายข้าวกล้องสลับข้าวขาว ข้าวกล้องอุดมด้วยวิตามินบีและใยอาหาร เลือกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลาเป็นหลัก ถวายผักและผลไม้เป็นประจำ ผัก ผลไม้ต่างๆ ที่มีใยอาหารช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาล ลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยในการขับถ่าย ผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน อาทิ ฝรั่ง ส้ม แก้วมังกร และมะละกอ เลือกถวายเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยหรือปราศจากน้ำตาล เช่น นมจืด นมถั่วเหลือง หรือน้ำเปล่า น้ำสมุนไพรหวานน้อย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานมาก

รวมถึงการปรุงประกอบอาหารควรทำด้วยวิธีต้ม นึ่ง ยำ อบ หรือทำเป็นน้ำพริก หากจำเป็นต้องผัดหรือใช้กะทิประกอบอาหารควรใช้ในปริมาณน้อย รสชาติอาหารต้องไม่หวานจัด มันจัด และเค็มจัด ควรลดถวายขนมหวาน เพราะมีปริมาณน้ำตาลสูง และอาหารกระป๋องควรเลือกซื้อที่มีเครื่องหมาย อย. สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ ลักษณะของกระป๋องต้องไม่บวม ไม่บุบ ตะเข็บกระป๋องต้องไม่มีรอยรั่วและไม่เป็นสนิม


@@@@@@

สำหรับประชาชนที่ปรุงประกอบอาหารด้วยตนเอง จึงควรใส่ใจตั้งแต่การเลือกซื้อวัตถุดิบ และการปรุงประกอบอาหารที่มีรสชาติไม่หวาน มัน เค็ม หรืออาหารประเภทปรุงสำเร็จ ประชาชนควรคำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการ หรือควรเลือกซื้อจากร้านจำหน่ายอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปรุงสุกใหม่ มีการปกปิดป้องกันแมลงวันตอม ใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่สะอาด ปลอดภัย

สังเกตผู้ขายที่มีสุขอนามัยที่ดี คือ ต้องสวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ตัดเล็บสั้น และใช้อุปกรณ์หรือสวมถุงมือในการหยิบจับอาหาร และอาหารที่เลือกตักบาตรควรเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะอิ่มบุญแล้วยังช่วยให้พระสงฆ์ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด

ตักบาตรปีนี้ อย่าลืมใส่ใจเมนูสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์นะครับ



ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-body/164442.html
By sirakan ,15 July 2019
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ