ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อย่าปล่อย วัน เวลา ผ่านไปอย่างไร้ค่า จงแจ้งประจักษ์ ในที่เฉพาะหน้า เถิด  (อ่าน 3826 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


    คนที่ประมาท คือ คนที่ใช้วัน เวลา เพื่อ สนอง กิเลส ตัณหา เป็นไปเพื่อการเกิดอีก
    คนที่ไม่ประมาท คือ คนที่ใช้วัน เวลา เพื่อ เป้นไปเพื่อการสิ้นกิเลส เป็นไปเพื่อความไม่กลับมาเกิดอีก ต่อไป


 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
               ๑. ภัทเทกรัตตสูตร
               ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ
            [๒๗๒]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    พระเชตวัน    อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี    เขตกรุงสาวัตถี    ณ    ที่นั้นแล    พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย    เราจักแสดงอุทเทส๑และวิภังค์๒ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว
เจริญ๓แก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟังอุทเทสและวิภังค์นั้น    จงใส่ใจให้ดี    เรา
จักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
            พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า
                                          “บุคคลไม่ควรคำนึงถึง๔สิ่งที่ล่วงไปแล้ว๕
                                  ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
                                  สิ่งใดล่วงไปแล้ว    สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
                                  และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง    สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
================================================
๑ อุทเทส  ในที่นี้หมายถึงบทมาติกาหรือหัวข้อธรรม  (ม.อุ.อ.  ๓/๒๗๒/๑๗๔)
๒ วิภังค์  ในที่นี้หมายถึงการจำแนกเนื้อความให้พิสดาร  (ม.อุ.อ.  ๓/๒๗๒/๑๗๔)
๓ ผู้มีราตรีเดียวเจริญ  หมายถึงผู้ใช้เวลากลางคืนให้หมดไปด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเท่านั้นไม่
   คำนึงถึงเรื่องอื่น ๆ  (ม.อุ.อ.  ๓/๒๗๒/๑๗๔)
๔ ไม่ควรคำนึงถึง  ในที่นี้หมายถึงไม่ปรารถนาขันธ์  ๕  ด้วยตัณหาและทิฏฐิ  (ม.อุ.อ.  ๓/๒๗๒/๑๗๔)
๕ สิ่งที่ล่วงมาแล้ว  ในที่นี้หมายถึงขันธ์  ๕  (คือ  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ)  ในอดีต  (ม.อุ.อ.
   ๓/๒๗๒/๑๗๔)
=================================================
  ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
                                  ไม่ง่อนแง่น    ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น  ๆ
                                  บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
                                          บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
                                  ใครเล่าจะรู้ว่า    ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
                                  เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
                                  ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
                                          พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
                                  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
                                  ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า    ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”๑
            [๒๗๓]    บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว    เป็นอย่างไร
            คือ    บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลิน๒ที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต
เราได้มีรูปอย่างนี้”
            ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
            ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
            ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
            ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เราได้มีวิญญาณ
อย่างนี้”๓
            ภิกษุทั้งหลาย    บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว    เป็นอย่างนี้แล
==================================================
๑ ดูเทียบ  ขุ.อป.  (แปล)  ๓๓/๒๔๔-๒๔๗/๓๒๔
๒ ดำเนินไปตามความเพลิดเพลิน  ในที่นี้หมายถึงดำเนินให้เป็นไปตามตัณหาในขันธ์เหล่านั้น  มีรูปขันธ์
   เป็นต้น  (ม.อุ.อ.  ๓/๒๗๓/๑๗๕)
๓ ดูเทียบ  ขุ.ม.(แปล)  ๒๙/๘๔/๒๔๙
==================================================
บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว    เป็นอย่างไร
            คือ    บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เรา
ได้มีรูปอย่างนี้”
            ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เราได้มีเวทนา
อย่างนี้”
            ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เราได้มีสัญญา
อย่างนี้”
            ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เราได้มีสังขาร
อย่างนี้”
            ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินที่มีอยู่ก่อนนั้นว่า    “ในอดีต    เราได้มี
วิญญาณอย่างนี้”
            ภิกษุทั้งหลาย    บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว    เป็นอย่างนี้แล
            [๒๗๔]    บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง    เป็นอย่างไร
            คือ    บุคคลดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า    “ในอนาคต    เรา
พึงมีรูปอย่างนี้”
            ในอนาคต    เราพึงมีเวทนาอย่างนี้    ฯลฯ
            ในอนาคต    เราพึงมีสัญญาอย่างนี้    ฯลฯ
            ในอนาคต    เราพึงมีสังขารอย่างนี้    ฯลฯ
            ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า    “ในอนาคต    เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
            ภิกษุทั้งหลาย    บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง    เป็นอย่างนี้แล
          บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง    เป็นอย่างไร
            คือ    บุคคลไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า    “ในอนาคต
เราพึงมีรูปอย่างนี้”
 ในอนาคต    เราพึงมีเวทนาอย่างนี้    ฯลฯ
            ในอนาคต    เราพึงมีสัญญาอย่างนี้    ฯลฯ
            ในอนาคต    เราพึงมีสังขารอย่างนี้    ฯลฯ
            ไม่ดำเนินไปตามความเพลิดเพลินในเบญจขันธ์ว่า    “ในอนาคต    เราพึงมี
วิญญาณอย่างนี้”
            ภิกษุทั้งหลาย    บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง    เป็นอย่างนี้แล
            [๒๗๕]    บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน    เป็นอย่างไร
            คือ    ปุถุชนในโลกนี้    ผู้ไม่ได้สดับ    ไม่ได้เห็นพระอริยะ    ไม่ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ    ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ    ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ    ไม่ฉลาด
ในธรรมของสัตบุรุษ    ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ    พิจารณาเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง    พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง    พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
            พิจารณาเห็นเวทนา    ฯลฯ
            พิจารณาเห็นสัญญา    ฯลฯ
            พิจารณาเห็นสังขาร    ฯลฯ
            พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง    พิจารณาเห็นอัตตามีวิญญาณ
บ้าง    พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง    พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
            ภิกษุทั้งหลาย    บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน    เป็นอย่างนี้แล
          บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน    เป็นอย่างไร
            คือ    อริยสาวกในธรรมวินัยนี้    ผู้ได้สดับ    ได้เห็นพระอริยะ    ฉลาดในธรรมของ
พระอริยะ    ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ    ได้เห็นสัตบุรุษ    ฉลาดในธรรม
ของสัตบุรุษ    ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ    ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ
เป็นอัตตาบ้าง    ไม่พิจารณาเห็นอัตตามีรูปบ้าง    ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง    ไม่
พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง
            ไม่พิจารณาเห็นเวทนา    ฯลฯ
            ไม่พิจารณาเห็นสัญญา    ฯลฯ
            ไม่พิจารณาเห็นสังขาร    ฯลฯ
            ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง    ไม่พิจารณาเห็นอัตตามี
วิญญาณบ้าง    ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง    ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน
วิญญาณบ้าง
            ภิกษุทั้งหลาย    บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน    เป็นอย่างนี้แล
                                          บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
                                  ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
                                  สิ่งใดล่วงไปแล้ว    สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
                                  และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง    สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง
                                          ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน
                                  ไม่ง่อนแง่น    ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น  ๆ
                                  บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง
                                          บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว
                                  ใครเล่าจะรู้ว่า    ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้
                                  เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น
                                  ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
                                          พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร
                                  ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน
                                  ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า    ‘ผู้มีราตรีเดียวเจริญ”
            ภิกษุทั้งหลาย    เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า    ‘เราจักแสดงอุทเทสและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่เธอทั้งหลาย’    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น    ด้วยประการ
ฉะนี้”
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว    ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค    ดังนี้แล
               ภัทเทกรัตตสูตรที่ ๑ จบ


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12 st12


ขอขอบพระคุณพระอาจารย์ที่นำพระสูตรนี้มาเผยแพร่ครับ ด้วยพระสูตรนี้ๆ ด้วย อุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียว นี้ๆ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผมอย่างสูง เพราะบุคคลที่มีความฟุ้งซ่าน ระส่ำไม่เป็นสมาธิ ย่อมมีความคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว และ ยังมาไม่ถึงเป็นหลัก ขันธ์ทั้ง ๕ อันล่วงไปแล้วทั้งที่ตนมีมา และ ไม่ได้มีมานั้นผมพิจารณาเข้ารวมไปถึง "กรรม" คือ การกระทำใดๆของตนที่ผ่านมาแล้วด้วย เมื่อตรึกนึกระลึกเช่นนี้ๆอยู่ความฟุ้งซ่านระส่ำย่อมมี แต่ก่อนนี้ผมก็เคยได้ยินได้ฟังมาเรื่อง

                                  “บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
                                  ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
                                  สิ่งใดล่วงไปแล้ว    สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว
                                  และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง    สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง

แต่ไม่เคยได้รู้พระสูตรนี้ รู้แต่ว่าพิจารณราแต่ปลายเท้าขึ้นมา แต่ปลายผมลงไป เท่านั้น แม้มีผู้หวังดีและผู้รู้ชี้แนะว่าอย่างไปคิดมากทิ้งๆมันไปบ้าง ถึงจะรู้แต่ก็เข้าไม่ถึงสักที เวลาเจริญทำได้แค่ ระลึกพุทธานนุสสติบ้าง ถึงอานาปานสติบ้าง ถึงสภาพที่จิตว่างที่ตนเคยมีมาบ้าง เจริญเมมตตาบ้าง ก็ยังแทบสงบใจไม่ได้เลย

เพราะไม่รู้คำตรัสสอนที่ละเอียดนี้ ทำให้เข้าไม่ถึงหลังจากที่เกิดความสูญเสียและเสื่อมไปแก่ผม บัดนี้ผมแจ้งขึ้นในใจแล้ว ด้วยพระเดชพระคุณของพระอาจารย์ธัมมวังโสที่อนุเคราะห์โพสท์กระทู้นี้ครับ


 ขอกราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าอย่างสูงครับสาธุ สาธุ สาธุ               st11
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 11, 2013, 05:05:38 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ