ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ  (อ่าน 26782 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ

คือเห็นชาวพุทธในประเทศไทย นั้นชอบเวียนเทียนในวันสำคัญ

และที่ไม่ใช่วันสำคัญเวียนเทียนได้หรือไม่

ในพระไตรปิฏก มีกล่าวอานิสงค์ วิธีปฏิบัติอย่างไร คะ

ทำไมเราจะต้องเวียนเทียน วันสำคัญเท่านั้น คะ

 :c017:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 11:34:17 pm »
0
น่าจะเป็นเรื่อง  การเดินเวียนขวานะ รู้สึกว่าเป็นการบูชาอย่างหนึ่ง (เอะ! ใช่หรือเปล่า)
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 01:29:51 pm »
0
การเวียนเทียน

พระภิกษุถือดอกไม้ธูปเทียนนำเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

การเวียนเทียน คือการเดินเวียนรอบปูชนียสถานสำคัญ เช่น อุโบสถ วิหาร หรือพระพุทธรูป เพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในวันสำคัญต่างๆ โดยใช้เทียนธูปและดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชา ถือไว้ในมือแล้วเดินเวียน 3 รอบ ขณะที่เดินรอบนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบท"อิติปิโส" ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน จนกว่าจะเวียนจบ
3 รอบ


ประวัติ
พิธีการเวียนรอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถานเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนั้น ไทยได้รับคตินี้มาจากอินเดียพร้อมกับพระพุทธศาสนา โดยปรากฏหลักฐานการแสดงความเคารพโดยการเวียนเทียนในพระไตรปิฎก ซึ่งใช้คำว่าเวียนประทักษิณาวัตร คือเวียนขวา 3 รอบ เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างสูงสุด
 
การเวียนเทียน วัดต่าง ๆ มักกำหนดให้เวียนรอบปูชนียสถานสำคัญของวัด เช่นโบสถ์หรือพระเจดีย์

ไทยได้รับคตินิยมนี้มาและปรับประยุกต์ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทยโดยนำมาใช้เป็นการแสดงความบูชาต่อพระรัตนตรัยมาตั้งแต่โบราณ มีหลักฐานปรากฏเป็น "ฐานประทักษิณ" สำหรับการกระทำพิธีเวียนเทียน ในโบราณสถานทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี รวมทั้งปรากฏข้อความในพงศาวดารว่ามีการกระทำพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน

"การเวียนเทียน" ในปัจจุบันจะกระทำกันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันอัฏฐมีบูชา

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/การเวียนเทียน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 01:46:32 pm »
0
การเวียนเทียน


การเวียนเทียนเป็นการบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา ซึ่งพุทธศาสนิกชนและปฏิบัติในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ได้แก่วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา อัฏฐมีบูชาและวันอาสาฬหบูชา

การเวียนเทียน เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญ พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติด้วยความสำรวมเพื่อสร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้เกิด ขึ้นแก่ผู้พบเห็น ทั้งชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่นและชาวต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนปฏิบัติ ดังนี้

การเตรียมตัวก่อนเวียนเทียน

    * อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจเบิกบาน
    * แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่
    * เตรียมเครื่อบูชาให้พร้อม เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน
    * ควรเดินทางมาถึงวัดหรือสถานที่ประกอบพิธีเวียนเทียนก่อนเวลาเริ่มเดินเวียนเทียน
    * เมื่อ เดินทางถึงวัดควรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยเพื่อร่วมศาสนพิธีตามลำดับขั้นตอนที่ เหมาะสมเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงออกมาเตรียมตัวด้านหน้าพระอุโบสถหรือสถานที่ประกอบพิธีเวียนเทียน


ระเบียบปฏิบัติการเวียนเทียน
การเวียนเทียนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา และวันอาสาฬหบูชา มีระเบียบดังนี้

เมื่อกำหนดวันมาฆบูชา วันวิสาบูชา อันอัฏฐมีบูชาหรือวันอาสาฬหบูชา ให้ทางวัดประกาศให้พุทธบริษัททราบทั่วกัน (ทั้งชาววัดและชาวบ้าน) และบอกกำหนดเวลาประกอบพิธีด้วยว่าจะประกอบเวลาไหน จะเป็นตอนบ่ายหรือค่ำก็ได้แล้วแต่สะดวกเมื่อถึงเวลากำหนด

ทางวัดตีระฆังสัญญาณให้พุทธบริษัท ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา ประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถหรือลานพระเจดีย์ อันเป็นหลักของวัดนั้นๆ ภิกษุอยู่แถวหน้า ถัดไปสามเณร ท้ายสุดอุบาสก อุบาสิกา จะจัดให้ชายอยู่กลุ่มชาย หญิงอยู่กลุ่มหญิง หรือเปล่อยให้คละกันตามอัธยาศัยก็แล้วแต่จะกำหนด ทุกคนควรถือดอกไม้ธูปเทียน ตามแต่จะหาได้และศรัทธาของตน ควรกะขนาดของเทียนให้จุดเดินได้ จนครบ ๓ รอบสถานที่ที่เดิน ไม่หมดเสียในระหว่างเดิน

เมื่อพร้อมกันแล้ว ประธานสงฆ์จุดเทียนและธูป ทุกคนจุดของตนตาม เสร็จแล้วถือดอกไม้ธูปเทียนที่จะจุดและประนมมือ หันหน้าเข้าหาปูชนียสถานที่จะเวียนนั้นๆ แล้วกล่าวคำบูชาตามแบบที่กำหนดไว้ตามประธานสงฆ์จนจบ

ประธานสงฆ์ประนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนเดินนำหน้าแถวไปทางขวามือของสถานที่ที่ เวียนเทียน คือ เดินเวียนไปทางที่มือขวาของตนหันเข้าสถานที่ที่เวียนนั้นจนครบ ๓ รอบการเดินเวียนขวาเพื่อเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง ตามธรรมเนียมอินเดียในสมัยพุทธกาลในแต่ละรอบให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ตามลำดับดังนี้


รอบแรก ระลึกถึงพระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา
เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ


(คำแปล) เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้โลกแจ่มแจ้งทรงเป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่ง กว่า ทรงเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

รอบที่สอง ระลึกถึงพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ

(คำแปล) พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงได้เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัด เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

รอบที่สาม ระลึกถึงพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


(คำแปล) พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว

ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรืองตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

เมื่อครบ ๓ รอบแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนไปปักบูชาตามที่เตรียมไว้ ต่อจากนั้นจึงเข้าไปประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถหรือวิหารหรือศาลาการเปรียญ แล้วแต่ที่ทางวัดกำหนด เริ่มทำวัตรเย็นและสวดมนต์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์อย่างพิธีกรรมวันธรรมสวนะ ธรรมดา เสร็จแล้วมีเทศน์พิเศษแสดงเรื่องพระพุทธประวัติและเรื่องที่เกี่ยวกับวัน มาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา หรืออาสาฬหบูชา ๑ กัณฑ์ ตามแต่จะเป็นเทศกาลใดเป็นอันเสร็จ


การปฏิบัติตนขณะเวียนเทียน

    * เมื่อเริ่มเวียนเทียน ต้องสำรวมทั้งกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย
    * ควร รักษาระยะการเดินทางให้ห่างจากคนข้างหน้าพอสมควร เพื่อไม่ให้ธูปเทียนโดนผู้อื่นเพราะจะทำให้เสื้อผ้าผู้อื่นเสียหายหรือทำให้ บาดเจ็บ
    * ควรเดินเวียนเทียนอย่างเป็นระเบียบ ไม่เร็วหรือช้าเกินไปหรือเดินแซงกัน
    * เจริญ ภาวนาระลึกถึงพระพุทธคุณในรอบแรก พระธรรมคุณในรอบสอง และพระสังฆคุณในรอบสามไม่ควรหยอกล้อหรือพูดคุยกันในขณะเวียนเทียน เพราะเป็นการไม่เคารพต่อพระรัตนตรัยและสถานที่ ตลอดจนทำให้ผู้อื่นเกิดความรำคาญหรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้
    * เวียนเทียนครบ ๓ รอบ ให้นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปวางและปักบูชาในที่ที่จัดเตรียมไว้


ที่มา http://www.phuttha.com/คลังความรู้/การเวียนเทียน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 02:03:23 pm »
0
อานิสงส์ถวายดอกไม้ธูปเทียน

......ในครั้งพุทธกาลก็มีผู้กระทำมาแล้วย่อมมีผลานิสงส์อย่างอเนกประการ คือ นายสุมนมาลากร
มีเรื่องอยู่ว่านายสุมนมาลาการนี้ เก็บดอกมะลิมาถวายพระเจ้าพิมพิสารวันละ
๘ ทะนาน และรับเงิน ๘ กหาปณะต่อวัน ขณะที่เขาเก็บดอกไม้อยู่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก
บิณฑบาตภายในพระนคร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร

นายสุมนมาลาการเห็นก็เกิดจิตเลื่อมใสคิดอยากจะทำบุญแก่พระตถาคต
แต่ไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากดอกไม้ จึงเอาดอกไม้เหล่านั้น
บูชาพระองค์ โดยไม่เกรงกลัวพระราชาจะทรงกริ้วโกรธ ถึงแม้จะถูกพระราชาประหารชีวิตก็ยอมตาย

การบูชาดอกไม้ของนายมาลาการได้กระทำซัดดอกไม้ขึ้นไปในเบื้องบน ของพระตถาคต ๒ กำมือ ดอก
ไม้เกิดอัศจรรย์ขึ้นไปประดิษฐานเบื้องบนเป็นเพดานกั้นพระเศียรพระตถาคต แล้วก็ซัดไปทาง
พระหัตถ์ขวา ๒ กำด้านพระปฤษฎางค์ ๒ กำ พระหัตถ์ซ้าย ๒ กำ รวมทั้งหมด ๘ กำดอกไม้เหล่านั้นได้
เกิดอัศจรรย์แวดล้อมพระตถาคตอยู่ตลอดเวลา


นายมาลาการเห็นดังนั้นก็ยินดียิ่งนัก ได้ถือกระเช้าเปล่า
ไปเรือนฝ่ายภรรยาเห็นไม่มีดอกไม้ในกระเช้านายมาลาการบอกแก่ภรรยาว่าได้เอาดอกไม้บูชาพระ
ตถาคตแล้วนางได้ตอบว่าธรรมดาพระราชาเป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็ทำความพินาศให้ถึงความตาย

ดังนั้นความพินาศนี้พึงมีแก่เรา เพราะเธอได้ทำกรรมไว้
นางได้อุ้มลูกไปเฝ้าพระราชาทูลขอหย่ากับ นายมาลาการกับพระองค์
พระราชาทรงทราบความต่ำทราม แห่งจิตของนาง แล้วก็ทำเป็นกริ้วและอนุญาต
ให้นางหย่ากับนายมาลาการ


แล้วพระราชาได้เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดาถวายบังคมทูลอาราธนา
พระศาสดาไปรับภัตตาหารในพระราชวังพระศาสดาทรงทราบพระราชหฤทัยของพระราชา พระองค์
ทรงรับอาราธนาแล้วเสด็จไปสู่พระราชวังของพระราชา

แต่พระศาสดาทรงพระประสงค์ จะประทับที่พระลานหลวง
จะประกาศคุณงามความดีของนายมาลาการพระราชาทรงอังคาส พระศาสดาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปสู่วิหารเสด็จกลับมาตามนายมาลาการ ถวายถึง
สาเหตุที่ถวายดอกไม้แก่พระศาสดา


พอทราบเรื่องแล้วทรงพระราชทานรางวัลอย่าง ๘ ชนิด
มีช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง และเครื่องประดับอย่าง
ละ ๘ และบ้านส่วยอีก ๘ หมู่บ้านเป็นอันว่ากรรมดีได้สนองผลให้แก่นายสุมนมาลาการในวันนั้นเอง

ที่มา  http://www.84000.org/anisong/21.html


ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป

คลิกดูรายละเอียดได้ที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3083.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 02:39:03 pm »
0
ทักขิณา, ทักษิณา ทานที่ถวายเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ

ทักขิณาวัฏฏ์ เวียนขวา, วนไปทางขวา คือ วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา
       เขียน ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต ก็มี;
       ตรงข้ามกับ อุตตราวัฏ


ทักษิณา ทานเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ
ทักษิณานุประทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B7%D1%A1%C9%D4%B3
%D2



ประทักษิณ เบื้องขวา,
       การเวียนขวา คือ เวียนเลี้ยวไปทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เป็นอาการแสดงความเคารพ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ประทักษิณ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%C3%D0%B7%D1%A1%C9%D4%B3



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค


๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกเทวดาว่า ท่านพระมหากัสสป
นี้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่
เมืองกุสินารา จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคจักยังไม่ลุกโพลงขึ้น จนกว่าท่าน
พระมหากัสสปจะถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยมือของตน ฯ

             ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด ฯ
             ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปถึงมกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ
ในเมืองกุสินารา และถึงจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค

ครั้นแล้วกระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณจิตกาธาร ๓ รอบ
แล้วเปิดทางพระบาทถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า

แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ก็กระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ ๓ รอบ
แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า

เมื่อท่านพระมหากัสสปและภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นถวายบังคมแล้ว
จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคก็โพลงขึ้นเอง เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคถูกเพลิงไหม้อยู่
พระอวัยวะส่วนใดคือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสะ พระนหารู หรือพระลสิกา เถ้า เขม่า
แห่งพระอวัยวะส่วนนั้น มิได้ปรากฏเลย เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียว

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา


๓. จาปาเถรีคาถา
คาถาสุภาษิตของนางจาปาเถรี


ท่านอุปกะกล่าวว่า
                          เมื่อก่อนเราเคยเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ ไม่ใช่สมณะ แต่ถือตัวว่าเป็นสมณะ
                          ได้เที่ยวไปตามบ้านทุกๆ บ้าน ทุกนคร ทุกราชธานีน้อยใหญ่ บัดนี้
                          พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นี้ประทับอยู่ ณ ที่ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา
                          ทรงแสดงธรรมแก่หมู่สัตว์เพื่อให้ละทุกข์ทั้งปวง เราได้ไป ณ สำนัก
                          ของพระองค์ พระองค์ก็จักเป็นศาสดาของเรา.

             เรากล่าวว่า
                          บัดนี้ ขอท่านจงกราบทูลการกราบไหว้ของฉัน กะพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่ง
                          ของสัตว์โลก ผู้ยอดเยี่ยม พึงทำประทักษิณ ๓ รอบ
แล้วอุทิศส่วนบุญมา
                          ให้ฉันบ้าง.
             ท่านอุปกะกล่าวว่า
                          ดูกรนางจาปา ตามที่เจ้าพูดเราทำได้ บัดนี้เราจักกราบทูลการกราบไหว้
                          ของเจ้ากะพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่ง ของสัตว์โลก ผู้ยอดเยี่ยม และจักทำ
                          ประทักษิณสิ้น ๓ รอบ
แล้วอุทิศส่วนบุญมาให้เจ้า.

                          ก็ลำดับนั้น ท่านกาฬะได้หลีกไปถึงแม่น้ำเนรัญชรา ท่านได้พบพระสัม-
                          พุทธเจ้ากำลังทรงแสดงอมตบท คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์
                          และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางดำเนินถึงความสงบทุกข์ ถวายบังคม
                          พระยุคลบาทของพระพุทธเจ้าแล้ว ทำประทักษิณ ๓ รอบ
อุทิศส่วนบุญ
                          ไปให้นางจาปาแล้วออกบวชในพระธรรมวินัย ได้บรรลุวิชชา ๓ ทำตาม
                          คำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  บรรทัดที่ ๙๗๒๑ - ๙๗๘๑.  หน้าที่  ๔๒๒ - ๔๒๔.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=9721&Z=9781&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=469
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 08:29:22 pm »
0
การเวียนเทียน มีประวัติมาในครั้งพุทธกาลอย่างไร คะ

คือเห็นชาวพุทธในประเทศไทย นั้นชอบเวียนเทียนในวันสำคัญ

และที่ไม่ใช่วันสำคัญเวียนเทียนได้หรือไม่

ในพระไตรปิฏก มีกล่าวอานิสงค์ วิธีปฏิบัติอย่างไร คะ

ทำไมเราจะต้องเวียนเทียน วันสำคัญเท่านั้น คะ

 :c017:

เวียนเทียน
   ก. อาการที่ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินประทักษิณสิ่งที่เคารพบูชา เช่น เวียนเทียนรอบพระอุโบสถในวันวิสาขบูชา, เดินเทียน ก็ว่า; ยกแว่นที่จุดเทียนติดไว้ วักเข้าหาตัว ๓ ครั้ง แล้วโบกควันออก และส่งต่อให้คนอื่นเวียนไปโดยรอบสิ่งที่ทําขวัญ; โดยปริยายหมายความว่า ทําแล้วกลับมาทําอีก เช่น เด็กเวียนเทียนรับของบริจาค.

ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


หลังจากโพสต์บทความต่างๆมาพอสมควร ได้เวลาตอบคำถามครับ

ในสมัยพุทธกาล มีทำเนียมเดินเวียนขวา เพื่อแสดงความเคารพสูงสุด

จากพระสูตรที่นำเสนอมา ผมสันนิสฐานว่า การทำประทักษิณ น่าจะเป็นประเพณีของพราหมณ์

ที่มีมาก่อนพุทธกาล จากพระสูตรจะเห็นว่า ไม่มีการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน ขณะทำประทักษิณ

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีการบูชาด้วยดอกไม้นะครับ


ตอบคำถามที่ว่า เวียนเทียนในวันอื่นๆได้หรือไม่

ตอบว่าได้ครับ ไม่มีข้อห้ามแต่ประการใด การแสดงความเคารพทำได้ทุกวัน

ยิ่งเป็นการทำต่อพระรัตนตรัยด้วยแล้ว ถือว่าเป็นมงคลสูงสุดครับ


ส่วนอานิสงส์นั้น เฉพาะดอกไม้ธูปเทียน ผมได้เสนอไว้แล้ว ขอให้ไปดูเอาเอง

ถ้าจะถามถึง มีอาสิสงส์อื่นๆ ก็ต้้องตอบว่า การระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

น่าจะไ้ด้สวรรค์สมบัติเป็นอย่างต่ำ ผลสูงสุดควรจะเป็นนิพพาน แต่ต้องปฏิบัตินะครับ


คำถามที่ว่า ทำไมต้องทำในวันสำคัญ เรื่องนี้คนไทยส่วนใหญ่เห็นคนจำนวนมาก

มักทำในวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น เพราะตัวคนเห็นก็ไปเฉพาะวันนั้นด้วย

และสื่อทุกสื่อ ก็จะลงข่าวเฉพาะวันสำคัญเท่านั้น วันธรรมดาจะไม่เป็นข่าว

แต่ความจริงมีคนส่วนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น พระอาจารย์และกลุ่มศิษย์กรรมฐานมัชฌิมา

ทุกครั้งทีไปนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ จะทำประทักษิณทุกครั้ง

และก็เห็นมีคนอีกกลุ่มหนึ่ง ทำประทักษิณเช่นกัน

ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

 ;) :49: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ใกล้วันอาสาฬหบูชาแล้วนะครับ อ่านเรื่องการเวียนเทียน ความสำคัญกันไว้ก่อนก็ดีนะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน