ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ : ชมคนที่ควรชม ข่มคนที่ควรข่ม  (อ่าน 2779 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อุดมการณ์ของสื่อ : ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ อ่านว่า ปัก-คัน-เห ปัก-คะ-หา-ระ-หัง

ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ ประกอบคำบาลี 2 คำ คือ “ปคฺคณฺเห” และ “ปคฺคหารหํ”

(๑) “ปคฺคณฺเห” อ่านว่า ปัก-คัน-เห เป็นคำกริยา ปฐมบุรุษ เอกพจน์ ประกอบด้วย ป (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก), ซ้อน คฺ + คหฺ (ธาตุ = ถือ, จับ, ยึด) + ณฺหา ปัจจัยประจำหมวดธาตุ, ลบ อา ที่ (ณฺ)-หา (ณฺหา > ณฺห) + เอยฺย วิภัตติอาขยาต, แปลง เอยฺย เป็น เอ (นัยหนึ่งว่าลบ -ยฺย : เอยฺย > เอ)

    : ป + คฺ + คหฺ = ปคฺคหฺ + ณฺหา = ปคฺคณฺหา > ปคฺคณฺห + เอยฺย = ปคฺคณฺเหยฺย > ปคฺคณฺเห แปลตามศัพท์ว่า “พึงถือไว้ข้างหน้า” หมายถึง รับเอามา, เอาใจใส่, ชอบ, ยกย่อง, สนับสนุน, ผูกมิตร (take up, take care of, favour, support, befriend)

@@@@@@@

(๒) “ปคฺคหารหํ” อ่านว่า ปัก-คะ-หา-ระ-หัง เป็นคำนาม ประกอบด้วย ปคฺคห + อรห (สมควร)

(ก) “ปคฺคห” รากศัพท์มาจาก ป (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก), ซ้อน คฺ + คหฺ (ธาตุ = ถือ, จับ, ยึด) + อ ปัจจัย :-
      ป + คฺ + คหฺ = ปคฺคห + อ = ปคฺคห แปลตามศัพท์ว่า “การถือไว้ข้างหน้า”
     “ปคฺคห” (ปุงลิงค์) ใช้ในความหมายดังนี้ :-
      (1) ความเพียร, ความพยายาม (exertion, energy)
      (2) ความเอื้อเฟื้อ, ความกรุณา, การให้ความอุปถัมภ์ (favour, kindness, patronage)

(ข) ปคฺคห + อรห = ปคฺคหารห แปลตามศัพท์ว่า “ควรแก่การถือไว้ข้างหน้า” หมายถึง คู่ควรแก่การยกย่อง
     “ปคฺคหารห” ประกอบวิภัตตินามเป็น “ปคฺคหารหํ” (ปัก-คะ-หา-ระ-หัง)
     “ปคฺคณฺเห” รวมกับ “ปคฺคหารหํ” เป็นรูปประโยคว่า “ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ” แปลว่า “พึงยกย่องผู้ที่ควรแก่การยกย่อง”
     “ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ” เป็นคาถา (คำฉันท์หรือคำกลอนในภาษาบาลี) หนึ่งวรรคหรือหนึ่งบาท คู่กับคาถาอีกหนึ่งบาทว่า “นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ” (นิก-คัน-เห นิก-คะ-หา-ระ-หัง) กล่าวรวมกันว่า นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ


    @@@@@@@

    นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ เป็นข้อความตอนหนึ่งในคัมภีร์ชาดก ชื่อ “เตสกุณชาดก” (พระไตรปิฎกเล่ม 27 ข้อ 2442) แปลเป็นไทยว่า “พึงข่มผู้ที่ควรข่ม พึงยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง”

    คำกลอนหรือคาถา 2 วรรคนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เมื่อผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน นำมาเป็นคำขวัญของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ตั้งแต่ พ.ศ.2493

     ดูก่อนภราดา สังคมใด ยกผู้ที่ไม่ควรชม ข่มผู้ที่ไม่ควรชัง สังคมนั้นมักจะพังเป็นธรรมดา


 
ขอบคุณที่มา : dhamma.serichon.us/2017/06/06/ปคฺคณฺเห-ปคฺคหารหํ-อุดม/
เขียนบทความโดย ทองย้อย แสงสินชัย , 6 มิถุนายน 2017


 :96: :96: :96:

สยามรัฐรายวัน
จากวิกิพีเดีย

สยามรัฐ เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน เสนอข่าวทั่วไป ออกฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ราคา 50 สตางค์ โดยมี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และนายสละ ลิขิตกุล เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และมีคำขวัญประจำหนังสือพิมพ์ว่า

"นิคฺคณฺเห นิคฺคหารหํ ปคฺคณฺเห ปคฺคหารหํ" เป็นพุทธศาสนสุภาษิตภาษาบาลีบทหนึ่ง อ่านว่า "นิคคัณนะเห นิคคะหาระหัง ปัคคัณนะเห ปัคคะหาระหัง" แปลว่า "ชมคนที่ควรชม ข่มคนที่ควรข่ม" ถือเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มีอายุยาวนานที่สุดที่ยังมีวางจำหน่ายอยู่จนถึงปัจจุบัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 24, 2020, 08:52:26 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ