ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สาระธรรมวันนี้ "ทำจิตให้บริสุทธิ์ บูชา พระอริยะสงฆ์โดยรอบจักรภพ"  (อ่าน 11001 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammathai.org

สาระธรรมวันนี้ "ทำจิตให้บริสุทธิ์ บูชา พระอริยะสงฆ์โดยรอบจักรภพ"

   เริ่มหัวข้อวันนี้ เพราะว่าอีก 1 วัน ก็ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ชาวไทยพุทธ ได้สืบทอดประเพณีกันไว้ นั่นก็คือวันมาฆะบูชา ซึ่งตรงกับ วันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ ) เดือน 3 ซึ่งจัดได้ว่า มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าวันนี้เป็น วันที่พระพุทธเจ้า ทรงประกาศธรรมแบบแผนแก่ พระอริยะสาวก ( ไม่ใช่คนธรรมดา ) เพื่อเป็นแบบแผนในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น ดังนั้นขอสรุปใจความของวัน มาฆบูชา ก่อนก็แล้วกัน

   วันมาฆะบูชา มีความสำคัญดังนี้
    1.เป็นวันเพ็ญ ( ขึ้น 15 ค่ำ )
    2.เป็นวันที่พระอริยะสาวก ที่อุปบสมบถ ( บวชเป็นพระ ) ด้วยวิธี การกล่าววาจา จากพระพุทธเจ้า ว่า
 .. ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว .... ( เอหิภิกขุอุปสัมปทา ) หรือบวชด้วยพระพุทธเจ้าเป็นผู้บวชให้ ด้วยการกล่าววาจาสั้น ๆ
    3.พระภิกษุ ที่มาวันนั้น ล้วนแล้วแต่เป็น พระอริยะสาวกขั้นสูง คือ เป็นพระอรหันตขีณาสพ ทั้งสิ้น(นัยว่าเป็น พระภิกษุที่สำเร็จ ฝ่าย เจโตวิมุตติืด้วย )
    4.ทรงประกาศแต่ง อัครสาวก ซ้ายขวา
    5.ทรงรับคัมภีร์ ก้จจายนะ ( คัมภีร์มูลกัจจาย์ แต่งโดย พระมหากัจจายนะ )
    6.ทรงประกาศหลักธรรม โดยรวมเรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนา แทนการสวดปาฏิโมกข์ เป็นศีลของพระอริยะสาวกระดับ พระอรหันต์ เรียกธรรมวันนั้นว่า โอวาทปาฏิโมกข์

     และยังมีหลายเรื่อง แต่สรุปมามากก็จะพิมพ์มาก เพราะในนี้จะยกเพียงเรื่องเดียว คือ พระวินัยปาฏิโมกข์ ของพระอริยะ พระพุทธเจ้า ทรงประกาศธรรม มีใจความดังต่อไปนี้


 สัพพะปาปัสสะ  อะกะระณัง
 การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง
 
 กุสะลัสสูปะสัมปะทา
 การทำกุศลให้บริบูรณ์หนึ่ง
 
 สะจิตตะ  ปะริโยทะปะนัง
 การทำจิตใจให้สะอาด ผ่องใสหนึ่ง
 
 เอตัง พุทธานะสาสะนัง
 สามอย่างดังที่ว่ามานี้  เป็นยอดคำสอนของพระพุทธเจ้า ทุก ๆ พระองค์

 --------------------------------------------------------------
ตรงส่วนนี้บางท่านกล่าวว่า เป็นหัวใจของพระพุึทธศาสนา แต่โดยส่วนตัวไม่ได้คิดอย่างนั้นกลับคิดพิจารณาว่า ธรรม 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้าทั้งปวง ทุกพระองค์ ตั้งแต่มีพระพุทธเจ้ามาจากอดีต ถึงปัจจุบัน ก็สอนตรงนี้เช่นเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกัน จาก 3 หัวข้อนี้ ซึ่งแม้พระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ก็ต้องสอนอยู่ในสามแนวทางนี้ดังนั้น ตรงส่วนนี้เป็นส่วนที่เหมือน ไม่ใช่ส่วนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แต่เป็นคำสอนมาตรฐาน ที่ต้องปฏิบัติตามแนวทาง และสอนตามแนวทางนี้ และพระพุทธเจ้า ก็จักสอนอย่างนี้

ดัีงนั้นส่วนตัวไม่ได้เรียกส่วนนี้ว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา
แต่ขอเรียกว่า มาตรฐานคำสอนของพระพุทธศาสนา

เพราะอะไร ? เพราะว่า ไม่ได้กล่าวถึง วิธีการทำใจให้บริสุทธิ์ เพียงแต่กล่าวมาตรฐานไว้

--------------------------------------------------------------

 ขันตี ประระมัง  ตะโป ตีติกขา
 ความอดทนคือความอดกลั้น  เป็นความเพียรเครื่องเผากิเลส อย่ายอดเยี่ยม
 
 นิพพานัง  ปะระมัง  วะทันติ  พุทธา
 พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์  กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมยอดเยี่ยม
 
 นะ หิปัพพะชิโต  ปะรูปะฆาติ
 ผู้ยังทำร้ายบุคคลอื่น  และสัตว์อื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้ออกบวช
 
 สะมะโณ โหติ  ปะรัง  วิเหฐะยันโต
 ผู้ยังเบียดเบียนบุคคลอื่น  และสัตว์อืน ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ  ผู้สงบ
 
 อะนูปะวาโท
 การไม่นินทาว่าร้อยผู้อื่นหนึ่ง
 
 อะนูปะฆาโต
 การไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นหนึ่ง
 
 มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสสมิง
 การรู้จักประมาณ ในการบริโภคอาหารหนึ่ง
 
 ปันตัญ  จะ  สะยะนาสะนัง
 การนั่งและการนนอน บนที่นั่งที่นอน อันสงบสงัดหนึ่ง
 
 อธิจิตเต  จะ  อาโยโค
 การประกอบความเพียร  ในการทำจิตให้ประเสริฐสูงสุดหนึ่ง
 
 เอตัง  พุทธานะสาสะนัง
 หกอย่างดังที่ว่ามานี้  เป็นยอดคำสอน ของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์

 
--------------------------------------------------------------
โดยส่วนตัว เมื่อก่อนเข้าใจว่าส่วนนี้เป็นส่วนหัวใจของพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกัน แต่ในปัจจุบันพิจารณาดูแล้วตรงส่วนนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปา่ฏิโมกข์ คือ ศีลของพระอริยะสาวก ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ที่กล่าวว่าปาฏิโมกข์ ไม่ต้องยุ่งกับข้อบัญญัติ 227 อันมีในพระไตรปิฏก ซึ่งมีการปรับอาบัิติ เพราะเป็นวินัยปาฏิโมกข์ที่มีไว้ควบคุม พระสงฆ์ ที่เป็นปุถุชน หรือต่ำกว่า พระอรหันต์ แต่เนื่องด้วย พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมกันวันนั้นเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ซึ่ง บวชด้วยพระองค์เอง และ พระองค์เป็นผู้รับรองการเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าจึงแสดง วินัยของพระอริยะ สั้น ๆ 6 ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็จะส่งสั่งสอนเช่นนี้เหมือนกัน

  เริ่มตั้งแต่
   1.ขันติ  ความอดทน อดกั้น เป็นธรรมสำหรับเผากิเลส
   2.นิพพาน เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม และเป็นเป้าหมาย
   3.บรรพชิต ไม่ทำร้ายผู้อื่นและสรรพสัตว์ และ ไม่พูดร้าย ไม่ทำร้าย
   4.สมณ ไม่เบียดเบียนผู้ือื่นและสรรพสัตว์ และ ไม่พูดร้าย ไม่ทำร้าย
   5.การพอใจ ในที่นั่ง ที่นอน อันสงัด ไม่คลุกคลี ด้วยหมู่คณะ และพวก
   6.การประกอบความเพีีียรในกุศล เพือทำจิตให้บริสุทธิ์

  ดังนั้น ท่านทั้งหลาย ควรเห็นความสำคัญของ ในคำสอนซึ่งเป็น มาตรฐาน และ ศีลอริยะ อันเป็นมาตรฐานเพราะธรรมส่วนนี้ เป็นธรรมที่กระทบกับธรรมอื่น ๆ เมื่อท่านทั้งหลาย ได้ฟัง ได้ยิน ได้เห็น ได้ภาวนา แ้ล้วมีมาตรฐาน ออกจาก มาตราทั้ง 3 ก็ถือไม่ใช่ พระพุทธศาสนา ถ้าปฏิบัติในศีลความเป็นพุทธบริษัท ไม่ปรากฏด้วยคุณธรรม 6 ประการ ก็ถือว่า ผิดศีล เช่นกัน เพราะ ธรรม และ วินัย ของพระพุทธเจ้าย่อมไม่ขัดกับธรรม มาตรฐาน และ ข้อปฏิบัติมาตรฐาน นี้ได้





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2012, 12:58:40 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ธรรมะสาระวันนี้ "ทำจิตให้บริสุทธิ์ มีความสำคัญอย่างไร"

  เมื่อท่านทั้งหลาย ทราบความสำคัญ ของ มาฆะบูชา รำลึกกันแล้ว ก็จะขอนำมาตรฐาน ที่สำคัญของพระพุทธศาสนา นั้นมาแนะนำแก่ท่านทั้งหลาย ที่สำคัญเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการภาวนา

   ดังที่ท่านทั้งหลาย ได้อ่านกันมา มาตรฐานคำสอนของพระพุทธเจ้า ทุก ๆ พระองค์ มี 3 ประการคือ
 
   1. การไม่ทำบาป หรือ การไม่ทำความชั่ว
   2. การสร้างกุศล หรือ การทำความดี

      2 ประการนี้ เป็นมาตรฐานของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว หวังความสุข ก็ไม่พึงละเมิด 2 ประการนี้ แต่การที่จะำทำหรือ รักษาธรรม 2 ประการนี้ก็ต้องมีการอบรม บ่มจิต เพื่อ กระทำรักษาธรรมสองประการนี้ไว้ เรียกว่า มาตรฐาน สำคัญของพระพุทธศาสนา ซึ่งแตกต่างจากศาสนาอื่น เพราะมาตรฐานข้อนี้ พูดถึงการทำจิตให้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส คือ โลภะ โทสะ และ โมหะ

    ลองมาตั้งคำถามกันดูดีหรือไม่ เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจ

    การทำจิตให้บริสุทธิ์ คือ อะไร ?

    ทำไม ต้องมาทำจิตให้บริสุทธิ์ ?

    และทำจิตให้บริสุทธิ์ แล้วจะได้อะไร  ?

    วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์ ทำอย่างไร ?


   

  การทำจิตให้บริสุทธิ์ คือ อะไร ?

       การทำจิตให้บริสุทธิ์ คือ การทำจิตให้ปราศจาก โลภะ โทสะ และ โมหะ สั้นพอหรือไม่ ? หรือ จะเอายาวอีกสักนิด ก็คือ การทำจิตให้ปกติ เพราะจิตของคนเรานั้นจัดได้ว่า บริสุทธิ์ หมดจดมาก่อน แต่มาเศร้าหมองเพราะ กิเลสเข้าไปครอบงำ ถ้ากล่าวอย่างนี้ก็แสดง เป็นพระอริยะมาแต่ต้น ก็ตอบว่าไม่ใช่ เพราะจิตที่ประภัสสร หมายถึงจิตที่เป็นกลาง เป็นอัพพยากตธรรม คือ รอว่า กุศล หรือ อกุศล จะไม่เข้า ซึ่งแตกต่างจากจิตของพระอริยะ พ้นจาก อัพพยากตธรรม คือ ไม่ต้องรอให้กุศลเข้าหรือ อกุศลเข้า เอาเป็นว่าสั้น ๆ คือ
     
      การทำจิตให้บริสุทธิ์ ก็คือ การทำจิตให้ปราศจากกิเลส นั่นเอง

  ทำไม ต้องมาทำจิตให้บริสุทธิ์ ?

      จิตที่ประกอบด้วย กิเลส มี ราคะ โทสะ และ โมหะ เป็นต้นย่อมทำจิต ของคนให้เศร้าหมอง หรือ พูดง่าย ก็คือเป็นทุกข์ ทุกข์ เพราะความเกิด ทุกข์ เพราะความแ่ก่ ทุกข์ เพราะความเจ็บ ทุกข์ เพราะความตาย ทุกข์ เพราะความพรัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่ชอบใจพอใจ ทุกข์ เพราะปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ทุกข์ เพราะ อุปาทานในชัึนธ์ทั้ง 5 ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา เป็นต้น

      ดังนั้นถ้าจิตไม่บริสุทธิ์ จิต ก็จะเป็นทุกข์ มีวิบาก เป็น ภพ เป็นชาติ เป็นชรา เป็นทุกข์ นัึ่นเอง

   และทำจิตให้บริสุทธิ์ แล้วจะได้อะไร  ?   

    เมื่อผู้ใด บุคคลใด ทำจิตให้บริสุทธิ์ ผู้นั้นก็จะมีความสุข ไม่มีภพ ไม่มีชาติ ไม่มีชราทุกข์ มรณะ โสกะปริเทวะ เพราะ จิตไม่เศร้าหมองปราศจากกิเลส เสียแล้ว พ้นแล้วโดยวิเศษ จบกิจในพรหมจรรย์ เสียที

    สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคล ตั้งแต่ระดับ พระโสดาบัน จน ถึง พระอรหันต์ ตามลำดับ
   
    วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์ ทำอย่างไร ?
   
    มีวิธีการมากมาย ในพระพุทธศาสนา ตามจริต ตามประเภท บุคคล ตามสติปัญญา รวมเรียกว่า กรรมฐาน ซึ่งมีทั้งฝ่าย สมถะ ทำให้สงบใจ วิปัสสนา ทำให้รู้แจ้ง แต่ถึงจะกล่าวมากมาย ก็รวมเป็นทางเดียวเรียกว่า ทางสายเอก หรือ ทางสายกลาง ชื่อว่า อริยะมรรค มีองค์ 8 มี

      สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
      สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
      สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
      สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ
      สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ
      สัมมาวายามะ การพากเพียรชอบ
      สัมมาสติ การระลึกชอบ
      สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นชอบ

    ธรรมมีองค์ 8 ประการนี้ เรียกว่า ธรรมที่นำไปสู่ความเป็นพระอริยะ หรือ เส้นทางของพระอริยะ ซึ่งเมื่อสรุปแล้ว ก็ไม่ต่างจาก ธรรมหกประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้เป็น ศีล พระอริยะ ในโอวาท ปาฏิโมกข์


     
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  ธรรมบท  ๒๓.  นาควรรค  ๘.  มารวัตถุ
เ่ล่มที่ 25 หน้าที่ 136 - 137

๓๓๑] เมื่อมีกิจเกิดขึ้น    สหายทั้งหลายนำสุขมาให้
 ความยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้    นำสุขมาให้
 ในเวลาสิ้นชีวิต    บุญนำสุขมาให้
 การละทุกข์ได้ทั้งหมด    นำสุขมาให้

[๓๓๒] ในโลก    การเกื้อกูลมารดา    นำสุขมาให้
 การเกื้อกูลบิดา    นำสุขมาให้
 การเกื้อกูลสมณะ    นำสุขมาให้
การเกื้อกูลท่านผู้ประเสริฐ๑ก็นำสุขมาให้

[๓๓๓]  ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
 ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว    นำสุขมาให้
  การได้ปัญญา    นำสุขมาให้
 การไม่ทำบาปทั้งหลาย    ก็นำสุขมาให้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2012, 11:51:07 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ในอริยมรรค มีความประพฤติ 8 ประการ เป็นการภาวนา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 06, 2012, 11:44:53 am »
0
   ความประพฤติ    ๘    อย่าง    คือ
   ๑.    ความประพฤติสัมมาทิฏฐิ    ชื่อว่าทัสสนจริยา
   ๒.    ความประพฤติสัมมาสังกัปปะ    ชื่อว่าอภินิโรปนจริยา
   ๓.    ความประพฤติสัมมาวาจา    ชื่อว่าปริคคหจริยา
   ๔.    ความประพฤติสัมมากัมมันตะ    ชื่อว่าสมุฏฐานจริยา
   ๕.    ความประพฤติสัมมาอาชีวะ    ชื่อว่าโวทานจริยา
   ๖.    ความประพฤติสัมมาวายามะ    ชื่อว่าปัคคหจริยา
   ๗.    ความประพฤติสัมมาสติ    ชื่อว่าอุปัฏฐานจริยา
   ๘.    ความประพฤติสัมมาสมาธิ    ชื่อว่าอวิกเขปจริยา
   เหล่านี้ชื่อว่าความประพฤติ    ๘    อย่าง


บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
หัวข้อนี้ ยังไม่ได้สมบูรณ์ ตามที่ตั้งใจไว้ แต่เห็นว่าใช้เวลามาก

แล้วในการโพสต์กระทู้วันนี้

 ดังนั้นขอให้ท่านช่วยนำ บทความ เนื้อหา เรื่อง สังฆคุณ มาโพสต์ ต่อกันด้วยนะจ๊ะ

 เจริญพร


  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
   ความหมายและคุณค่าของสังฆคุณ 9

         พระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นหลักสำคัญมากในการสืบต่อพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการเคารพยกย่องอย่างสูงโดยจัดเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ คุณของพระสงฆ์โดยสรุปมี 9 ประการ เรียกว่า “สังฆคุณ” คือ

1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว หมายถึง พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตามทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติกลมเกลียวกับพระศาสนดา ไม่ปฏิบัติเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

2. อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง หมายถึง ไม่ปฏิบัติเป็นคนลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติมุ่งตรงต่อข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ปฏิบัติตรงต่อพระศาสดา และเพื่อนพระสาวกด้วยกัน ไม่มีข้อลี้ลับที่จะปิดบังอำพรางไว้ในใจ

3. ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หมายถึง ปฏิบัติไม่ผิดเพี้ยนไปจากหลักคำสอนของพระศาสดา ไม่ผิดไปจากธรรมเนียมอันดีงาม ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบแบบแผน

4. สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ แปลว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติสมควร หมายถึง สมควรที่จะได้รับความเคารพนับถือ เป็นผู้ปฏิบัติตั้งอยู่ในสังวร ปฏิบัติเป็นผู้ตื่นอยู่ คือรู้ถึงเหตุการณ์อันเป็นไปอยู่ ไม่งมงาย รู้จักประพฤติกิริยาทางกาย และวาจาต่อผู้อื่นโดยไม่ทะนงตนมีใจหนักแน่นเผื่อแผ่ มีใจกว้างไม่คับแคบ

5. อาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย หรือผู้ควรแก่ของคำนับ หมายถึง เป็นผู้ที่สมควรได้รับของถวายและได้รับการแสดงความเคารพด้วยเครื่องสักการะเนื่องในเทศกาลต่าง ๆ

6. ปาหุเนยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ หมายถึง พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง และเป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ไม่ว่าท่านจะโคจรไปสู่ที่ใด ย่อมยังประโยชน์สุขและประโยชน์เกื้อกูลให้เกิด ณ ที่นั้น ผู้เลื่อมใสจึงเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความปีติ ที่ได้พบเห็นอันถือเป็นมงคลในชีวิตอย่างหนึ่ง

7. ทกฺขิเณยฺโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ทักษิณาทาน หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้บริสุทธิ์ สมควรที่จะได้รับของบริจาคทาน (ทักษิณาทาน) และจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน

8. อญฺชลิกรณีโย แปลว่า เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ หมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผู้บริสุทธิ์ ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่ควรแก่กระทำอัญชลีคือการกราบไหว้ให้ความเคารพ ยกย่อง

9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส แปลว่า เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า หมายถึง พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร และเป็นผู้บริสุทธิ สมควรได้รับการกราบไหว้บูชาแล้วการบริจาคทานแก่ท่านย่อมมีอานิสงส์มาก ดุจผืนนาที่มีดินดีสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยอันเป็นธาติอินทรีย์ เมล็ดพืชที่หว่านหรือปลูกลงบนผืนดินนี้ย่อมผลิตผลอย่างสมบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย พระสงฆ์สาวกเหล่านี้จึงเป็นปฏิคาหก (ผู้รับ) ที่ยอดเยี่ยม เป็นที่ปลูกฝังความดีงามและเป็นที่รักษาไว้ซึ่งความดีงามทั้งปวง
พระสงฆ์สาวกที่มาในบทสังฆคุณ 9 บทนี้ ท่านหมายเอาพระอริยบุคคล 4 คู่ 8 บุคคล ซึ่งท่านเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่ในมรรคผลทั้งสิ้น คือ

คู่ที่ 1 คือ พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล
คู่ที่ 2 คือ พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล
คู่ที่ 3 คือ พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล
คู่ที่ 4 คือ พระอรหันตมรรค พระอรหันตผล

ที่มาจาก http://mediacenter.mcu.ac.th


บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนา สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อันที่จริง วัน มาฆะบูชา นี้จัดได้ว่าเป็นวันกตัญญู คือ รู้คุณของผู้มีคุณและบูชาคุณ ของผู้มีคุณ

 โดยปกติ พระอรหันต์ เป็นผู้สร้างบุญกุศล แต่ ไม่ต้องใช้เสบียงส่วนนี้แล้ว ดังนั้นการกระทำการเป็นอยู่จึงเป็นเรื่องที่เหนือการคาดหมาย ของ ปุถุชชนมาก

  แต่บรรดาพระอรหันต์ ได้ปฏิบัติ จริยวัตร โดยปกติ คือ การกตัญญู มีอยู่มาก โดยเฉพาะ เมื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่ ทุกท่าน ทุกรูป ทุกองค์ ต่างเดินทางกันมาด้วยฤทธิ์ของท่าน และด้วยฤทธิ์ของเทวดา และ ฤทธิ์ของผู้มีฐานะ เพื่อร่วมประชุมบูชา บุคคลที่ควรบูชา นั่นก็คือ พระพุทธเจ้า นั่นเอง

   ดังนั้นวันมาฆะบูชา ลูก ( พระอรหันต์ 1250 รูป ) จึง กลับมาหา พ่อ ( พระพุทธเจ้า ) เพื่อมารับฟังโอวาทและ มาบูชาคุณของพ่อ กันในวันเพ็ญ เดือน 3

   ซึ่ง พ่อ ก็ได้แสดงความรักที่มีต่อ ลูก ด้วยการให้โอวาท อันเป็น มาตรฐาน ของ พ่อแท้ ทุกยุค ทุกสมัย ทุกกาล แม้ต่อไป ก็ย่อมกล่าวแสดงโอวาท เช่นนี้

    ตามธรรมดา เมื่อ พ่อ ให้ โอวาท ลูกย่อม มีแต่ความชื่นชม ยินดี แต่เพราะลูกในที่นี้ คือ พระอรหันต์ ซึ่ง วางจาก ความยินดี และ ยินร้าย แล้วไม่ข้องเกี่ยวกับโลกด้วยใจ จึงได้รับโอวาทนี้ เพื่อ กระจายโอวาทให้แก่ลูก ชองตน สืบต่อไป

   ซึ่งนับว่า ประสบความสำเร็จมาแล้ว 2600 ปีแล้ว ที่โอวาท ก็มาถึงเรา และ เราก็ช่วยกันสืบต่อ โอวาท นี้เป็นการส่งความรักของเราไปสู่ ลูก ของเรา ต่อไป

    ดังนั้น บางท่านก็กล่าวว่า วันมาฆะบูชา เป็นวันแห่งความรัก ของชาวพุทธ ก็นับว่าได้ เป็นวัน กตัญญู ก็นับว่าได้ เป็นวันที่ประกาศธรรม เป็นมาตรฐาน ก็นับว่าได้ นะจ๊ะ

  เจริญธรรม / เจริญพร


  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจารย์ ให้เนื้อหา ซึ้งครับ
 อนุโมทนา กับ คำบรรยายด้วยครับ ติดตามอ่านเสมอมาครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แต่ดิฉัน ว่า พระอาจารย์ตั้งชื่อกระทู้นำเรื่อง ไว้ว่า "ทำจิตให้บริสุทธิ์ บูชา พระอริยะสงฆ์โดยรอบจักรภพ"

ยังไม่เข้าใจความหมายคะ ว่าเกี่ยวกันอย่างไร นิมนต์ พระอาจารย์ หรือ ศิษย์ท่านใด ที่ทราบความหมายมาอธิบายต่อด้วยนะคะ


  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แต่ดิฉัน ว่า พระอาจารย์ตั้งชื่อกระทู้นำเรื่อง ไว้ว่า "ทำจิตให้บริสุทธิ์ บูชา พระอริยะสงฆ์โดยรอบจักรภพ"

ยังไม่เข้าใจความหมายคะ ว่าเกี่ยวกันอย่างไร นิมนต์ พระอาจารย์ หรือ ศิษย์ท่านใด ที่ทราบความหมายมาอธิบายต่อด้วยนะคะ


  :c017: :25:

อาจจะต้องตีความ ของคำก่อนนะครับ

   คือ ทำจิตให้บริสุทธิ์ อธิบายแล้ว
       พระอริยะสงฆ์  อธิบายแล้ว
       จักรภพ  ยังไม่ได้อธิบาย หรือว่า อธิบายแล้ว

  อาจจะเป็นเพราะกระทู้มีมาก พระอาจารย์ก็เลยข้ามไปเรื่องใหม่ นะครับ หรือ รอพวกเราสอบถามกันบ้าง

  :welcome:
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
จักรภพ ย่อมาจาก  ธรรมจักรภพ หมายถึงทุกที่ ๆ มีพระอริยสงฆ์ นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ