ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี  (อ่าน 11918 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 03:27:50 pm »
0
ประวัติหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี***
ชีวประวัติ

พระ ราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ) ท่านเป็นชาวสมุทรสงคราม ถือกำเนิดในสกุลรัตนคอน ณ บ้านใกล้คลองบางน้อย ตำบลบางพรหม อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม มีนายลอยและนางทับเป็นบิดามารดา เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ มีพี่น้องร่วมบิดสมารดาเดียวกัน รวม ๒ ท่านโดยท่านเป็นคนโต คือ

๑. พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)

๒. นายเฉื่อย รัตนคอน (ถึงแก่กรรมไปแล้ว)

ฉายแววแต่เยาว์วัย

ประกาย แห่งสติปัญญา และลักษณะแห่งความเป็นผู้นำของท่านได้ฉายแววมาแต่เยาว์วัย ดังเป็นที่ประจักษ์แก่บิดา มารดา และญาติๆ ว่า ท่านเป็นผู้มีความเข้มแข็งว่องไวประจำนิสัย มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รู้แยกแยะผิดชอบชั่วดี มิเคยสักครั้งที่จะนำความหนักใจให้กับบิดามารดา ชอบที่จะติดตามบิดามารดาไปวัดอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความกตัญญู มีความขยันมานะอดทน มีน้ำใจเสียสละ มีวาจาไพเราะสุภาพอ่อนโยน จึงเป็นที่รักยิ่งของบิดามารดา หลายครั้งท่านมักแอบไวดเพียงลำพังเพื่อฟังการสวดมนต์ของพระภิกษุ-สามเณร จนถึงกับสามารถท่องจำได้อย่างแม่นยำในบางบทบางตอน และถึงแม้ท่านจะเติบโตเข้าสู่วัยหนุ่มท่านก็หาได้มีจิตใจฝักใฝสตรีเพศดุจคน รุ่นเดียวกันไม่ จึงนับว่าเป็นนิมิตหมายแห่งการดำเนินสู่มรรคาแห่งการตัดวัฏฏะอย่างสิ้นเชิง

การศึกษาเบื้องต้นในปฐมวัย

เมื่อ ครั้งเยาว์วัยทั้งสองท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้นอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ปากคลองบางน้อย ตำบลบางพรหม อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม ครั้นต่อมาบิดามารดาได้เสียชีวิตไปหมด พระภิกษุแก้ว (ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงตาแก้วโม่ง) ซึ่งเป็นญาติกับท่าน ได้จำพรรษาอยู่กับพระอุดรคณารักษ์ ทีวัดเชตุพนฯ ได้นำท่านมาฝากไว้กับพระอธิการสุข (เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี) มาแต่เพียงหลวงปู่โต๊ะคนเดียว ส่วนนายเฉื่อยนั้นคงอยู่ที่วัดเกาะแก้วตามเดิม พระอธิการสุขกับพระภิกษุแก้วนั้นท่านทั้งสองเป็นเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนมและ เคารพนับถือกันมาก ในระยะที่นำมาฝากไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลีนั้น อายุของท่านขณะนั้นได้ ๑๓ ปีเศษ

สู่ความเป็นเหล่ากอของสมณะ

ครั้น เมื่อท่านมีอายุย่างเข้า ๑๗ ปี ก็ได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยมีพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเมื่อท่านได้รับการยรรพชาเป็นสามเณร ท่านก็มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาพระปริยัติธรรม ท่องเรียนพระสูตรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำและว่องไว มีความประพฤติไม่เป็นที่หนักใจแก่หมู่คณะ สนใจในการเจริญสมาธิกรรมฐานอย่างมุ่งมั่น ความในข้อนี้พระอาจารย์พรหม ผู้ซึ่งอบรมสอนสมาธิกรรมฐานให้กับท่านในสมัยนั้น ถึงกับเคยกล่าวไว้ว่า แทบทุกคืนจะเห็นสามเณรโต๊ะหลบไปนั่งกรรมฐานเพียงลำพังในโบสถ์ บางครั้งก็เห็นไปเดินจงกรมอยู่ในป่าริมคลองบางหลวงเพียงลำพัง พระอาจารย์พรหมยังได้เล่าอีกว่า สามเณรโต๊ะมักชอบเก็บตัวอยู่เงียบๆ พูดน้อย แต่ช่างซักถามในข้อธรรมต่างๆ

สู่เพศบรรพชิต

ครั้น เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เอน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ น. โดยมี

พระครูสมณธรรมสมาธาน (แสง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกัมมวาจารย์

พระครูธรรมวิรัติ (เชย) วัดกำแพง เป็นอนุสาวนาจารย์

มีฉายาในพระพุทธศาสนาว่า "อินฺทสุวณฺโณ"

เมื่อ ท่านได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยความ วิริยะอุตสาหะด้วยจิตที่มุ่งหวังที่จะบรรลุสู่แดนเกษม ต่อมาพระอธิการคำเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้นได้ลาสิกขาบทออกไป ท่านจึงรับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เมื่อท่านมีอายุได้ ๒๖ ปี พรรษา ๖ และมีฐานานุกรมที่ พระใบฎีกา ท่านได้รับภาระ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบมาจนถึงแก่กาลมรณภาพ และถึงท่านจะมีภาระหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ ท่านก็มิย่อท้อต่อการศึกษาและการปฏิบัติทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ด้วยความมุมานะจนสอบได้ น.ธ.ตรีได้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ครั้นเมื่อพระอาจารย์พรหม ผู้ซึ่งให้การอบรมสมาธิกรรมฐานแก่ท่าน ได้มรณภาพไปแล้วท่านก็ได้ออกแสวงหาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน


เห็นทุกขเวทนา

เมื่อ หลวงปู่โต๊ะได้อุปสมบทแล้วใหม่ๆ ได้มีโรคระบาดเกิดขึ้น คือ ไข้ธรพิษ หลวงปู่ท่านได้เป็นโรคนี้เหมือนกัน และเป็นชนิดร้ายแรงด้วย แทบจะเอาชีวิตไม่รอด เมื่อถึงเวลานอนต้องใช้ใบตองรองนอน ต่อจากนั้นท่านได้ตักเอาน้ำขึ้นมาแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะมีชีวิตอยู่ ขอให้จงเกิดมีนิมิตเห็นพระ ถ้าจะไม่มีชีวิตอยู่ก็ขออย่าให้ได้เห็นอะไรเลย และในคืนนั้นเอง หลวงปู่ท่านก็ได้นิมิตไปว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลมได้มาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ ครั้นรุงเช้าท่านก็ได้เอาน้ำพระพุทธมนต์ทีได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ทางศีรษะนอน ขึ้นมาฉันและประพรมอีกครั้งหนึ่ง นับแต่นั้นมาโรคดังกล่าวก็ทุเลาเป็นปกติ

ตำแหน่งในทางคณะสงฆ์

หลวง ปู่ท่านได้บริหารงานวัดด้วยความเที่ยงธรรมสม่ำเสมอ ประกอบด้วยเมตตาธรรมอนุเคราะห์ให้ได้รับความร่มเย็นทั่วหน้า ทางคณะสงฆ์จึงได้พร้อมใจถวายสมณะศักดิ์ให้แก่ท่านเป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีเป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพนฯ

พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นพระครูสังฆวิชิต ฐานานุกรมของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูวิริยกิตติ

พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเจ้าคณะตำบลวัดท่าพระ

พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระสังวรวิมลเถร"

พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชสังวราภิมณฑ์"

ปฏิปทาและจริยาวัตร

หลวง ปู่ท่านเป็นผู้เยี่ยมด้วยความสะอาด แห่งความประพฤติทั้งทางกาย วาจา ใจ และเยี่ยมด้วยจิตซึ่งทรงไว้ด้วยคุณธรรม กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และ วิมุตติญาณทัศนะตามลำดับ เป็นลูกศิษย์พระตถาคตผู้งกงามด้วยความประพฤติทั้งภายนอก และภายในไม่มีที่ติ มีความองอาจกล้าหาญต่อการละชั่ว ทำดี ดำเนินตามรอยบาทวิถีที่พระศาสดาพาดำเนิน เป็นผู้ซื่อตรงต่อตนเอง และต่อพระธรรมวินัย อยู่ที่ใดไปที่ใดมีสุขโตเป็นที่รองรับ มีโอชารสแห่งธรรมเป็นที่ซึมซาบ มีความสว่างไสวอยู่ด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องส่องทาง ท่าเป็นผู้เทิดทูน ศาสนธรรม ไว้ได้ทั้งทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อย่างเต็มภาคภูมิ

ตลอด เวลาที่ท่านทรงสมณเพศอยู่นั้น ท่านตั้งมั่นในสัมมาปฏิบัติ ที่ทรงดอกทรงผลตลอดต้นชนปลาย ท่านเป็นผู้รักสันโดษ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ท่านเอาใจใส่ต่อความเป็นอยู่ของพระภิกษุ-สามเณรอย่างใกล้ชิด ให้ความอนุเคราะห์สงเคราะห์อย่าวสมเหตุสมผลอย่างสม่ำเสมอ กิตติศัพท์กิตติคุณฟุ้งขจรไปถึงไหน ก็เกิดความหอมหวลชวนให้เคารพเลื่อมใสในที่นั้นๆ และในการประชุมเพื่ออบรมธรรม ท่านก็เปิดโอกาสให้ผู้สนใจถามปัญหาธรรมะอยู่เป็นประจำ ซึ่งท่านก็ตอบอย่างกระจ่าวแจ้งชัดถ้อยชัดคำไม่มีอ้ำอึ้ง ยังความกระจ่างให้บังเกิดแก่ผู้ซักถามอย่างน่าอัศจรรย์แสดงให้เห็นว่าท่าน เป็นผู้แตกฉานในธรรมทั้งโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ

หลวงปู่ท่านเป็นผู้ เพียบพร้อมไปด้วยอัปจายนธรรม มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว ในเรื่องนี้เป็นที่ประจักาชัดในพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ไปพบปะสนธนาธรรมกับหลวงปู่ ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็น พระศาสนโสภณ จนถึงกับกราบอาราธนาให้หลวงปู่ไปสอนกรรมฐานบรรยายธรรมเป็นประจำที่วัดบวร นิเวศวิหาร แต่หลวงปู่ท่านก็ยังคงอ่อนน้อมถ่อมตน ทั้งที่พรรษายุกาลท่านมากกว่า

อัธยาศัยและกิจวัตร

พระราช สังวราภิมณฑ์ ท่านมีอัธยาศัยงดงาม สุภาพอ่อนโยน มากด้วยเมตตากรุณา ยินดีสงเคราะห์ อนุเคราะห์แก่ผู้อื่น สัตว์อื่น โดยเสมอหน้า ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เป็นผู้ซื่อตรง ถ่อมตน ยึดมั้นในระเบียบประเพณีและความกตัญญูกตเวที ทั้งมีความภักดีในองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมราชวงศ์อย่างแน่นแฟ้น ผู้ที่มีโอกาสได้เข้าใกล้ชิดคุ้นเคยกับท่าน จะยืนยันในความที่กล่าวนี้ได้ทุกคน อีกประการหนึ่ง ท่านเป็นคนหมั่นขยันและแน่วแน่ ตั้งใจทำสิ่งใดแล้วเป็นต้องทำจนสำเร็จ กิจที่ท่านปฏิบัติเป็นนิจในแต่ละวันจนตลอดชีพของท่าน คือ

ตื่นขึ้นเจริญสมณธรรม

๐๘.๐๐ น. นำภิกษุ-สามเณร ทำวัตรสวดมนต์ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

๑๔.๐๐ น. อนุเคราะห์ศิษย์ที่มาถวายสักการะบ้าง ที่มาขอบารมีธรรมบ้าง ที่มาสนทนาธรรมบ้าง

๑๘.๐๐ น. นั่งบำเพ็ญสมณธรรมไปจนถึง ๒๐.๐๐ น. แล้วนำภิกษุ สามเณรทำวัตรค่ำ

ใน ระยะหลังท่านนั่งบำเพ็ญสมณธรรมนานเข้าจนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. หรือ ๒๔.๐๐ น. โดยไม่ย่อท้อต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเนื่องแต่ความเสื่อมของสังขาร ในวันธรรมสวนะท่านจะแสดงธรรมแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาเป็นประจำ และทุกวันพฤหัสบดีจะมีภิกษุ สามเณรจากวัดต่างๆ รวมทั้งผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม มาขอฝึกปฏิบัติกรรมฐานเป็นจำนวนมาก นับว่าท่านได้เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวอย่างยิ่งของคนทั่วไป

การปฏิบัติธรรม

พระ ราชสังวราภิมณฑ์ ท่านสนใจศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาแต่ยังเป็นสามเณร เท่าที่ทราบท่านศึกษากับพระอาจารยืพรหม วัดประดู่ฉิมพลีก่อน พระอาจารย์พรหมมรณภาพแล้ว จึงไปศึกษากับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จังหวัดสมุทรสาคร แลวออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือหลายครั้ง ต่อมาจึงได้มารู้จักคุ้นเคยกับหลวงพ่อสด คือ พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ซึ่งมีอายุแก่กว่าท่าน ๔ ปี หลวงพ่อสดได้ชักชวนท่านให้ไปเรียนกับพระอาจารย์โหน่งที่จังหวัดสุพรรณบุรี อีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น ท่านก็กลับมาปฏิบัติจิตภาวนา โดยตัวของท่านเองที่วัดต่อมา แม้ว่าท่านจะมีภารกิจในด้านบริหารหมู่คณะและการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ผู้อื่นส่วนมากก็ตาม ท่านก็หาได้ละเลยเพิกเฉยส่วนวิปัศศนาธุระไม่ คงขะมักเขม้นฝึกฝนอบรม ตามโอกาสอันควรตลอดมา จึงปรากฏว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจพระศาสนาส่วนนี้อยู่รูปหนึ่ง และโดยอัธยาศัยที่เคยอบรมด้านวิปัสสนาธุระมามาก จึงได้รับอาราธนาให้เข้าร่วมในพิธีประสิทธิ์มงคลต่างๆ แทบทุกงาน ทั้งในกรุงและหัวเมือง ตลอดจนถึงต่างประเทศ

เบื้องปลายชีวิต

พระ ราชสังวราภิมณฑ์ อยู่ในสมณเพศมาตั้งแต่อายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เล่าเรียนพระธรรมวินัย มีความรู้แตกฉานลึกซึ้ง และถือวิปัสสนาธุระเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตอันยาวนานถึง ๙๔ ปีของท่าน เป็นรัตตัญญูผู้รู้กาลนาน เป็นครูของสาธุชนทุกหมู่เหล่า เป็นที่เคารพบูชา ศรัทธาเลื่อมใสของบุคคลทุกเพศวัย ทุกชาติชั้น นับแต่สามัญบุคคลจนถึงองค์พระประมุขของชาติ แม้อายุพรรษาจะมากเพียงใด ท่านก็มิได้ขัดศรัทธาของผู้ที่อารธนาไปในการบุญกุศลต่างๆ มีการไปนั่งเจริญสมาธิภาวนาอำนวยสิริมงคล เป็นต้น จึงในระยะหลังๆ นี้ทำให้สังขารร่างกายท่านต้องตรากตำมากเกินไป และเกิดอาพาธขึ้นบ่อยๆ แม้จะได้รับกสรเยียวยารักษาและดูแลพยาบาลอย่างดีเพียงใด กายสังขารของท่านก็ทนอยู่ไม่ไหว ท่านอาพาธครั้งสุดท้ายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ หลังจากกลับจากถ้ำสิงโตทอง มีอาการอ่อนเพลียลงตามลำดับ ก่อนมรณภาพ ๗ วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย แต่ยังพอฉันได้บ้าง นายแพมย์ต้องให้น้ำเกลือทุกวัน อาหารนั้นถวายข้าวต้มกับรังนกตุ๋น ทุกเช้าราว ๐๗.๐๐ น. ถึงวันที่ ๕ มีนาคม เวลาเช้าสิษย์ผู้พยาบาลก็ถวายข้าวต้มกับรังนกอีก คราวนี้สังเกตเห็นว่าแขนข้างขวาท่านบวม จึงกราบเรียนกับท่านว่า "แขนหลวงปู่บวมมาก" ท่านก็พยักหน้ารับคำแล้วฉันและหลับตาพักต่อไป โดยให้ออกซิเจนช่วยการหายใจตลอด เวลา ๐๙.๐๐ น. ท่านอ่อนแรงลงอีก และพอถึงเวลา ๐๙.๕๕ น. ท่านก็สิ้นลมด้วยอาการสงบดุจนอนหลับไป ณ กุฏิสายหยุด นับอายุได้ ๙๓ ปี ๑๐ เดือน กับ ๒๒ วัน

ขณะนั้นพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ควรทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา ๑๐๐ ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษเสมอ พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ พร้อด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และในการบำเพ็ญพระราชกุศลออกเมรุและพระราชทานเพลิงเผาศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ก้ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระราชสังวราภิมณฑ์ ตลอดจนศิษยานุศิษย์ ทุกคนหาที่สุดมิได้





เรียบเรียงจาก หนังสือ

"ภาสุรธรรม"

ฉบับประกาศกิตติคุณ หลวงปู่โต๊ะ ๑๐๘ ปี

วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร

หน้าที่ 4-17

คณะผู้จัดทำ(หนังสือ)

ศ.ดร.วิปัศยา ยิ่งพูนทรัพย์

มีนาคม ๒๕๓๘


ที่มา http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=472.0
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 07, 2016, 09:25:14 am »
0
 :08:
   หลวงปู่โต๊ะ ท่านก็เป็นศิษย์ วัดพลับ นะค่ะ

      ท่านมาร่วมปลุกเสก วัดถุมงคล

    ทีวัดพลับ ค่ะ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์