ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ปลัดฉลามเมิน"....หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ  (อ่าน 6013 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ปลัดฉลามเมิน"....หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2012, 10:52:44 am »
0

วิหารหลวงพ่ออี๋

ประวัติวัดสัตหีบ

วัดสัตหีบ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในนาม " วัดหลวงพ่ออี๋ " ก็เพราะว่า หลวงพ่ออี๋ เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นโดยตั้งอยู่เลขที่ 333 หมู่ 1 ถนนชายทะเล ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยวัดถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 2442 นายขำ และ นางเอียง ทองขำ ได้ขอพระราชทานอธิบดีเป็นที่ดินว่างเปล่าเป็นป่าไม้ที่ไม่มีเจ้าของอนุญาติให้สร้างวัด       
     ด้านเหนือติดทางเกวียน ด้านใต้ติดทะเลและ ด้านตะวันตกติดป่า ด้านตะวันออกติดที่ดินบ้านสัตหีบ
     โดยในปัจจุบันวัดนี้มีเนื้อที่จำนวน 30 ไร่ 28 ตารางวา
     ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอุโบสถหลังแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน ร.ศ. 138 พ.ศ.2463
      เนื้อที่ได้รับพระราชทาน กว้าง 2 เส้น ยาว 3 เส้น


ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดสัตหีบ
     1. พระครูวรเวทมุนี ( หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร ) พ.ศ.2442 - พ.ศ.2489 รวม 47 ปี
     2. พระครูศรีสัตตคุณ ( พ.ม.เกษม สนตุสสโก ) พ.ศ.2489 - พ.ศ.2496 รวม 7 ปี
     3. พระครูศรีสัตตคุณ ( บัญญัติ โกมุทโท ) พ.ศ.2496 - พ.ศ.2527 รวม 31 ปี
     4. พระครูวิบูลธรรมบาล ( เหล็ง ธมมปาโล ) พ.ศ.2527 - จนถึงปัจจุบัน
   


รูปเหมือนหลวงพ่อที่วิหาร

ประวัติของหลวงพ่ออี๋
พระครูวรเวทมุนี หรือที่ปรากฎในนามที่รู้จักกันทั่วไปว่า "หลวงพ่ออี๋" เพราะท่านชื่อ " อี๋ " ตั้งแต่เกิด เป็นบุตรชายของ นายขำ และนางเอียงทองขำ เกิดวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2408 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 11 ค่ำเดือน 11 ปีฉลูที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
     เมื่อท่านอายุได้ 25 ปีได้เข้าอุปสมบทที่วัดอ่างศิลานอก
     มี พระอาจารย์จั่น จนทโส เป็นพระอุปัชฌาย์
     โดยในครั้งนั้นพระอุปฌาย์ได้ตั้งฉายาให้กับท่านว่า " พุทธสโร "

   
     เมื่อท่านอุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย และศาสนพิธีในสำนักพระอุปัชฌาย์รวม 6 พรรษาโดยว่าเรื่องพระพุทธมนต์ หรือความแม่นยำในพระปาฏิโมกข์ และต่อมาได้ไปศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักของท่านพระครูนิโรธาจารย์ ( หลวงพ่อปาน ) วัดบางเหี้ย ที่จังหวัดสมุทรปราการ จนมีความชำนาญในสมถะวิปัสนา จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดอ่างศิลาอีกเมื่อพรรษาที่ 11

     ท่านได้กลับมาเยี่ยมญาติที่วัดสัตหีบ และในพรรษานั้นเองท่านได้ร่วมมือกับญาติโยมจัดการย้ายสำนักสงฆ์เดิมที่มีอยู่ที่หัวตลาด มาสร้างที่วัดสัตหีบในปัจจุบันและญาติโยมได้อาราธนาให้ท่านปกครองวัดสัตหีบ สืบจนสิ้นอายุขัยของท่าน ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่ท่านมีส่วนในการสร้างเสมอ นับว่าท่านมีบุญคุณแก่วัดสัตหีบเป็นอันมาก

      ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสัตหีบเมื่อ พ.ศ 2467 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อตำบลสัตหีบได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงกิ่งอำเภอสัตหีบในปีพ.ศ.2484 โดยท่านได้รับสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระครูวรเวทมุนี ซึ่งท่านมีความรู้ทางด้านวิปัสสนาธุระ ซึ่งญาติโยมทั้งหลายต่างนิยมมาให้ท่านปลุกเสก แม้ท่านจะได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูวรเวทมุนี แล้วก็ตามประชาชนทั่วไปก็ยังนิยมเรียกท่านว่า " หลวงพ่ออี๋ "


พิพิธภัณฑ์หลวงพ่ออี๋

จริยวัตรของท่าน พระครูวรเวทมุนี หรือ หลวงพ่ออี๋
        ท่านเป็นสุปฎิปัณโณรูปหนึ่ง เพราะท่านเต็มไปด้วยความเมตตาไม่รักหรือโลภโกรธหลง ในสิ่งรอบกายและเอกลาภใดๆ ไม่ว่าจะได้เงินทองหรือสิ่งของมีค่าต่างๆที่ชาวบ้านต่างมาถวายท่านก็มิได้ใยดีต่อสิ่งของเหล่านั้น
       โดยท่านจะนำสิ่งของเหล่านั้นมากองๆไว้ในห้องส่วนตัวของท่าน ส่วนตัวท่านเองไม่ได้อยู่ในห้องนั้น กลับออกมานอนข้างนอกท่ามกลางกองสมุนไพรบนเสื่อหมอนเล็กๆ  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกของบรรดาชาวบ้านที่จะมาขอความช่วยเหลือจากท่าน

       หลวงพ่ออี๋มีความเชี่ยวชาญในด้านสมถะวิปัสสนาธุระมาก คือ
       คล่องแคล่วในการเข้าในออกนอก และในการพักจิตอยู่เป็นกสิณ
       เมื่อท่านปราถนาจะสำรวมจิตแล้วไม่มีอะไรมาขัดขวางทางเดินภายในของท่านได้
       ท่านสามารถยกจิตให้พ้นจากเวทนาได้เสมอ โดยไม่เคยปริปากบ่นในเรื่องทุกขเวทนาใดๆให้ผู้อื่นได้ยินเลยแม้เจ็บป่วย ก็ยังคงอยู่ในอาการอันสงบจนหมดอายุขัยท่าน



ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋

ด้านวัตถุมงคล
ท่านสร้างไว้ให้เป็นขวัญและกำลังใจของประชาชนไว้แจกทหารเรือหรือเสื้อยันต์ ผ้าพันหมวก ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดในบรรดาเครื่องรางของท่านเห็นจะได้แก่ "ปลัดขิก" ที่มีชื่อเสียงในด้านมงคล ทำมาค้าขึ้นที่ผู้คนนิยมเช่าไปบูชากัน
   

รูปเหมือนท่านในพิพิธภัณฑ์

หลวงพ่ออี๋เริ่มอาพาธ
    ด้วยอาการฝีที่คอตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2489 ท่านไม่ได้ใส่ใจที่จะรักษาโดยปรารภว่ามันคงมาเอาชีวิตของท่าน ท่านเองได้แต่เอายาสมุนไพรของท่านเองปิดบ้างพอกบ้างก็ไม่ทุเลาลงเลย แต่ท่านก็ไม่ได้หยุดการรับนิมนต์ไปในที่ใดๆ จนโรคฝีได้กำเริบมาจนวันเข้าพรรษา
     แล้วพิษของมันต้องทำให้ท่านพักการทำวัตรสวดมนต์ กำลังของท่านเริ่มถดถอยลงตามลำดับ แม้มีผู้ห่วงใยแนะนำให้ท่านเข้าโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาแต่ท่านก็ปฏิเสธและบอกว่า
     "ช่างมันเถอะ มันเป็นกรรมเก่าที่เจ้ากวาง หนองไก่เตี้ย มันมาตามทวงเอาชีวิต"


     ท่านบอกกับคนใกล้ชิดว่า
     เมื่อชาติก่อนท่านเคยไปยิงกวางที่หนองไก่เตี้ยถูกที่ซอกคอของเจ้ากวางทำให้กวางถึงแก่ความตาย
     ในที่สุดกรรมนั้นจึงมาให้ผลในชาตินี้ ท่านอยากจะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเสียที
     จนเมื่อพอถึงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2489 ตรงกับแรม 10 ค่ำเดือน 10 ปีจอเวลา 20.35 น.
     หลวงพ่อบอกให้พระที่เฝ้าพยาบาลท่านอยู่พยุงท่านลุกนั่ง แล้วสั่งไม่ให้ใครแตะต้องตัว


     ท่านนั่งทำสมาธิตัวตรงแล้ว ทุกคนก็ตกใจกันสุดขีด เมื่อไม้กระดานแผ่นหนึ่งในกุฏิล้มโครมมาฟาดกับพื้นและแผ่นกระจกแตกกระจายทั่วพื้น  พอหายตกใจได้สติก็รีบหันมาดูหลวงพ่อซึ่งตรงกับเวลา 21.05 น.ท่านก็ปราศจากลมหายใจเข้าออกเสียแล้ว ทุกคนต่างอยู่ในอาการเศร้า

    เมื่อข่าวของหลวงพ่ออี๋มรณภาพแพร่สะพัดออกไป ชาวบ้านต่างก็อยู่ในอาการเศร้าสร้อย และหลวงพ่ออี๋ท่านมรณะภาพสิริรวมอายุของท่านได้ 82 ปี แม้เวลาจะผ่านไปนานจนถึงในปัจจุบันชื่อเสียงของท่านก็ยังเป็นที่บอกกล่าวเล่าขานกันสืบต่อมา และบารมีของท่านและวัดสัตหีบ (วัดหลวงพ่ออี๋) ก็ยังคงอยู่ตราบนานเท่านาน.


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.sattahipbeach.com/sheet3.html
http://www.bloggang.com/,http://www.tumsrivichai.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2012, 10:55:52 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปลัดฉลามเมิน"....หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2012, 11:22:23 am »
0


ประวัติ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี

     หลวงพ่ออี๋ นี่ ในท้องถิ่น อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ท่านดังเรื่องปลัดขิก ลูกศิษย์ของท่านที่เป็นทหารเรือ และชาวประมงมีมากมาย เขาพากันเรียกปลัดขิกของท่านว่า "ปลัดฉลามเมิน" (เพราะเคยมีคนพกปลัดของท่าน ลอยคออยู่กลางดงฉลามแล้วรอดมาได้) แต่ความจริงท่านไม่ได้เก่งเรื่องนี้อย่างเดียว แต่คนจดจำได้แม่นในเรื่องนี้เพราะมีอภินิหารมาก
     (กรุณาอย่าว่า กระผมเป็นคนหยาบโลน ที่นำเรื่องนี้มาเรียนเสนอเลยนะครับ เพราะถ้าจะกล่าวถึงหลวงพ่ออี๋ แล้วไม่กล่าวถึงเรื่อง ปลัดขิกของท่าน มันก็คงจะไม่สมบูรณ์ ขอความกรุณาอ่านเป็นความรู้ก็แล้วกันครับ และไหนๆ จะว่ากันแล้ว ก็จะขอเล่าถึงประวัติความเป็นมาของ “ปลัดขิก” เพื่อเป็นความรู้ในโอกาสต่อไป)

      หลวงพ่ออี๋ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ ณ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โยมบิดาของท่านชื่อ ขำ ทองขำ โยมมารดาชื่อ เอียง ทองขำ หลวงพ่ออี๋เป็นบุตรชายคนโต ได้รับการศึกษา และอบรมสั่งสอนให้เป็นกุลบุตรที่ดี เป็นที่รักใคร่ของญาติพี่น้อง

      บิดาของท่านรับราชการ ตำแหน่งที่ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่า “นายกอง” ในปี๒๔๓๓ ท่านมีอายุ ๒๕ ปีได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดอ่างศิลานอก โดยมีพระอาจารย์จั่น จันทสโร วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ พระอาจารย์ทิม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระศาสนาว่า “พุทธสโร ภิกขุ” แปลว่า “ผู้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า”





         หลังจากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่ออี๋ได้อยู่เรียนวิชาการ และศึกษาพระธรรม กับ พระอาจารย์แดง วัดอ่างศิลานอก ซึ่งเป็นพระเถระที่มีภูมิธรรมสูง ทั้งยังมีวิชาอาคม แก้อาถรรพ์คุณไสย ตลอดถึงการสักยันต์ พระอาจารย์จั่น พระอาจารย์แดง และพระอาจารย์เหมือน ได้สอนศาสตร์วิชาต่างๆ ให้แก่ลูกศิษย์ของท่านจนหมดสิ้น เป็นเวลา ๖ พรรษาเต็มๆ การที่หลวงพ่ออี๋ ท่านมุมานะศึกษาเล่าเรียน จุดประสงค์ก็เพื่อจะนำมาสงเคราะห์ ญาติโยม ชาวบ้านผู้เดือดร้อนโดยทั่วไป

         ต่อมาท่านได้ยินกิตติศัพท์ ของพระอาจารย์สำคัญ อีกองค์หนึ่ง คือพระครูนิโรธาจารย์ หรือ หลวงพ่อปานแห่งวัดคลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ซึ่งท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญทางด้านสมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ถือธุดงควัตร ท่านเป็นพระภิกษุที่พระเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพระศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก อีกองค์หนึ่ง

         ภายหลังจากหลวงพ่อปานได้รับตัวเป็นศิษย์แล้ว ท่านก็ได้อบรมและทดสอบจิตใจว่ามั่นคงดีแล้ว ก็พาออกป่าไปเรียนรู้ความจริงของธรรมะ เพราะจิตใจจะได้กล้าแข็ง แข็งแกร่งกล้าหาญเมื่อเผชิญภัยในป่าลึก หลวงพ่ออี๋ แม้ว่าท่านจะมีรูปร่าง บอบบาง แต่ด้วยความมานะพากเพียรเป็นเลิศ หลวงปานจึงประสิทธิ์ประสาทวิชาต่างๆ ให้หลวงพ่ออี๋จนหมดสิ้น





ท่านพระครูศรีสัตคุณ เจ้าอาวาส วัดสัตหีบ ได้เล่าให้ฟังว่า
    สมัยที่หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร ท่านได้ติดตามหลวงพ่อปาน
    เดินธุดงค์ ไปถึงพระพุทธบาท สระบุรี เพื่อจักนมัสการรอยพระพุทธบาทที่นั่น
    ขณะผ่านไปนั้น หลวงพ่ออี๋ ได้ทำสมาธิ เห็นพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ
    ประดิษฐานอยู่ใต้ก้นเหวลึก ในแถบจังหวัดสระบุรีนั่นเอง
และได้เรียนให้หลวงพ่อปานทราบ
    ท่านจึงให้ไปอัญเชิญขึ้นมาจากก้นเหวนั้น เพื่อนำไปประดิษฐานในสถานที่อันสมควรต่อไป


    หลวงพ่ออี๋ ได้ลงไปยังก้นเหว ด้วยการใช้ไม้ไผ่ ๓ ลำ
    ต่อลูกสลักทำเป็นขั้นบันได ผูกมัดแน่นหนา แล้วก็ไต่ลงไปจนถึงก้นเหวลึก
    และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ ขึ้นมาได้สำเร็จ
    หลวงพ่อปานมีความพึงพอใจในตัวของลูกศิษย์เป็นอันมาก
    เพราะขณะนั้นหลวงพ่ออี๋ บวชได้เพียง ๕ พรรษา เท่านั้น
    คณะพระธุดงค์เมื่อได้นมัสการพระพุทธบาทแล้ว ก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป เพื่อหาประสบการณ์





     ต่อมาหลวงพ่ออี๋ได้กราบลาพระอาจารย์ ออกเดินธุดงค์กรรมฐานด้วยตนเอง
     ท่านได้ตั้งจิตอธิษฐาน ถือการเดินธุดงค์เป็นวัตร ท่านเดินธุดงค์ไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย เหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก และภาคอีสาน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เหตุการณ์ระหว่างการธุดงค์ของท่าน ไม่ได้รับการถ่ายทอดบอกเล่าจากท่าน และบรรดาลูกศิษย์ก็ไม่ได้สนใจไต่ถามแต่อย่างใด ทำให้เราไม่ทราบอะไรมากนักในเรื่องของการธุดงค์ของหลวงพ่อ

    หลวงพ่ออี๋ไม่ได้กลับบ้านเลย เป็นเวลา ๑๑ พรรษา เพื่อเล่าเรียนวิชาต่างๆ จนพอสมควรแล้ว ท่านจึงได้กราบลาหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน กลับไป อำเภอสัตหีบ เมื่อไปถึงบ้าน โยมบิดาได้นิมนต์ให้ท่านอยู่เสียในที่สงบแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ชายทะเล ปลูกกระต๊อบเล็กๆ ให้อยู่ปฏิบัติภาวนาธรรม และได้เห็นปฏิปทาของพระลูกชาย ดูน่าเลื่อมใสศรัทธา จึงคิดว่าท่านคงไม่สึกหาลาเพศเป็นแน่





        ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๐ โยมบิดาของท่านมีโอกาส ไปกรุงเทพฯ และได้เข้าไปยังสำนักพระบรมมหาราชวังด้วย ได้มีโอกาสกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) เพื่อขอพระบรมราชานุญาต สร้างวัดสัตหีบ ภายในบริเวณที่ดินว่างเปล่า เมื่อได้รับพระกรุณา โยมบิดาแสนจะดีใจ รีบเดินทางกลับมานมัสการให้พระลูกชายทราบ

         ช่วงปี พ.ศ.๒๔๕๐ – ๒๔๕๑ หลวงพ่ออี๋ โยมบิดา ตลอดถึงชาวบ้าน ได้ทำการก่อสร้างวัด โดยไปหาไม้สวยๆ ในบริเวณใกล้เคียง มาทำเสา ทำฝา และหาดินเหนียวที่บางปะกง ไปเผาทำกระเบื้องมุงหลังคา การสร้างวัดของท่าน ไม่ถึง ๕ ปีก็แล้วเสร็จ เว้น พระอุโบสถ วิหาร และศาลาการเปรียญ มีการสร้าง ในเวลาต่อๆ มา และได้วิสุงคามสีมา ในปีพ.ศ. ๒๔๖๓

         ในปีที่หลวงพ่ออี๋ท่านสร้างวัดใหม่ๆ นั้น กิตติศัพท์ของท่าน ได้ขจรขจายไป ในด้านความศักดิ์สิทธิ์ และอภินิหาร ผู้คนพากันหลั่งไหลไปมากมาย มีทั้งที่ต้องการฟังธรรมะ และ การปฏิบัติสมาธิกับท่าน บางคนต้องการวัตถุมงคล ก็ได้สมความปรารถนาทุกประการ ต่อมา หลวงพ่ออี๋ท่านก็ยังออกรุกขมูลอยู่เป็นประจำ เหมือนครูบาอาจารย์ของท่าน และนี่เองเป็นมูลเหตุ ในการสร้างปลัดขิกของท่าน



ขอบคุณบทความและภาพจาก
www.itti-patihan.com/ประวัติ-หลวงพ่ออี๋-วัดสัตหีบ/ทุกหน้า.html
http://www.sattahiptour.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2012, 11:25:07 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปลัดฉลามเมิน"....หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2012, 11:53:50 am »
0

กำเนิดความเป็นมาของ “ปลัดขิก”
 
แต่ก่อนอื่นกระผมขอเล่าถึง กำเนิดความเป็นมาของ “ปลัดขิก” (ซึ่งกระผมขอเรียกสั้นๆ ว่า “ปลัด”) เสียก่อน

  ราว ๑,๐๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล ชนชาติหนึ่งในโลกตะวันตก ต่างพากันนับถือ และบูชาพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว และ พระเพลิง ถือว่าเป็นผู้ให้พลังงาน และเป็นบ่อเกิดแห่งชีวิต
     ต่อมา ชนชาติหนึ่งใน อัฟกานิสถาน และ ธิเบต ชื่อว่า อริยะ ได้เดินทางติดต่อค้าขายกัน และรับเอามาดัดแปลงเป็นศาสนาของตน กาลเวลาผ่านไป ก็ได้มีการจัดสร้างเครื่องหมายแทนเทพเจ้า พระอาทิตย์ และพระจันทร์
     เพื่อให้มหาชนเคารพบูชา จึงได้จัดสร้างรูปพระอาทิตย์ และพระจันทร์ขึ้น ประดิษฐานไว้บนปลายเสา ตั้งเอาไว้กลางพระวิหาร (กษัตริย์ที่สร้าง ชื่อ พระศิวะอุมากษัตริย์ แห่งสุสะประเทศ) ชนทั้งหลายจึงเรียกว่า เสาพระอาทิตย์ พระจันทร์ ของพระศิวะ


     ขณะนั้นศาสนาพราหมณ์ น่าจะเกิดขึ้นแล้ว และ รูปแท่งหินนั้น ได้ถูกเรียกกันต่อมาว่า “ศิวลึงค์”
     ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ เขาถือว่าเป็นต้นกำเนิดของมนุษย์ ต่อมาพราหมณ์ผู้มี “ลึงค์ศาสนา” เป็นสรณะนี้ ได้จำลองศิวลึงค์เป็นรูปเล็กๆ เพื่อนำติดตัวเป็นเครื่องระลึกถึงพระศิวะบนสวรรค์ ถือเป็นวัตถุป้องกันเสนียดจัญไร



      ต่อมา คณาจารย์ทั้งหลาย ได้เปลี่ยนนามเสียใหม่ว่า “ปรัศว์” (ปรัศวะ คือ ข้าง) ผู้อยู่เคียงข้าง และโดยที่มีรูปสัณฐานคล้ายลึงค์ และ มีผู้เห็นผูกกับเอวเด็ก เล็กๆ ก็เกิด อาการขบขัน น่าหัวเราะ
      เลยมีการเรียกเพี้ยนเป็น “ปลัดขิก” ในเวลาต่อมา (ใครเห็น เป็นต้องหัวเราะคิกๆ นั่นเอง)


    กระผมขอออกนอกเรื่อง สักนิดนะครับ... กระผมรู้จักเครื่องรางประเภทนี้ เป็นครั้งแรก เมื่อสมัยทำงานอยู่ บริษัทญี่ปุ่น แถวๆ รังสิต เพราะความที่สนิทกับพี่ พนักงานขับรถของบริษัทฯ ซึ่งแกชอบเสาะหาพระอาจารย์ขลัง ทำให้กระผมได้มีโอกาสติดรถไปกราบพระอาจารย์ดังๆ แถวจังหวัดปทุมธานี เช่น
    หลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ (ลูกศิษย์ หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์)
    หลวงพ่ออำภา วัดน้ำวน (องค์นี้เก่งเรื่องต่อกระดูก) หลวงปู่เส็ง วัดบางนา (หลานหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์)     
    หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน หลวงปู่เทียม วัดลาดหลุมแก้ว ฯลฯ

    อย่างหลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน นี่อยู่ อ.ลำลูกกา ท่านดังทางด้านปลัดขิก เหมือนกัน
    แต่ไม่ทราบว่าท่านเป็นศิษย์หลวงพ่ออี๋หรือไม่ เนื่องจากแถว อ.ลำลูกกา สมัยก่อน ชาวบ้านมีอาชีพทำนา และงูเห่าชุกชุมมาก วัดที่หลวงปู่เมฆจำพรรษาอยู่ในสมัยนั้น เหมือนอยู่ในป่าดง ทางเข้าวัดเป็นดินลูกรัง และขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อมาก
    ความจริงก็น่าเห็นใจท่านมาก เพราะแถบนั้นมีชาวมุสลิมอยู่มาก
    แต่ชาวมุสลิมเหล่านี้ใส่บาตรหลวงปู่เมฆ สาเหตุก็เพราะ ท่านทำปลัดแจก
    และ ปลัดนั้นกันงูและสัตว์มีพิษต่างๆ ได้



    พนักงานหญิงที่บริษัทคนหนึ่ง ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้วัดลำกระดาน เล่าให้ฟังว่า เด็กเล็กๆ แถวนั้นไม่กลัวงูเลย เวลาเจอลูกงูเห่า จะตีให้หลังหักแล้วนำมาเล่น (บรื๋อ... ลูกงูเห่านี่ กัดตายนะครับ) คือเอาไม้แหย่ให้มันแผ่พังพาน แล้วก็เอาปลัดขิกของหลวงปู่เมฆ แหย่อีกครั้งหนึ่ง งูก็จะหมอบลงไป เล่นอย่างนี้จนเบื่อ ก็จะทุบหัวแล้วโยนทิ้งไป (..โหดน่าดู..) เมื่อกระผมทำหน้าไม่เชื่อ เธอก็จ้องตา ย้ำคำยืนยันหนักแน่น ว่าเป็นความจริง

    กระผมเคยไปกราบหลวงปู่ครั้งแรก ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ไปถึงก็เห็นว่าวัดท่านมีโบสถ์แล้ว กำลังก่อสร้างเมรุ แต่กุฏิที่ท่านอยู่นั้นเก่ามาก จะพังมิพังแหล่ ใต้ถุนกุฏิเหมือนเป็นโรงงานเล็กๆ มีชาวบ้านช่วยกันเหลา กลึง ขัด ปลัดขิกขนาดต่างๆ อยู่ ปลัดขิกของท่านทำจากไม้เขยตาย ซึ่งกระผมไม่ทราบความหมาย เข้าใจว่าเป็นชื่อของพันธุ์ไม้

     เมื่อขึ้นไปบนกุฏิของท่าน ปรากฏว่าท่านหลับ คือนั่งหลับไปเฉยๆ เข้าใจว่าร่างกายของท่านไม่ค่อยแข็งแรง และต้องตรากตรำปลุกเสกปลัดขิก จนดึกจนดื่นทุกคืน ระหว่างนั้นก็มีชายหญิงคู่หนึ่งเพิ่งมาถึง ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง คงจะมาด้วยรถมอเตอร์ไซด์ กระผมก็เลยชวนพ่อหนุ่มคุย

     ระหว่างที่รอหลวงปู่ ปรากฏว่าแกเอาปลัดขิกตัวเก่า มาขอเปลี่ยน เนื่องจากแกเอาไปตอกตะปู เพื่อใส่เชือกร้อยเอวเส้นใหญ่ขึ้น แล้วเกิดรอยแตกร้าว แกเล่าว่านับถือหลวงปู่มาก เพราะเคยโดนคู่อริยิง ขณะขับรถมอเตอร์ไซด์กลับบ้าน ปรากฏว่ายิงไม่ออก แกก็ตกใจจนรถแฉลบลงข้างทาง แต่ก็แค่บาดเจ็บนิดหน่อย... นี่เป็นประสบการณ์ที่ได้รับฟังมา กับตัวเองยังไม่เคยเจอเลยครับ



    เมื่อได้พบกับท่าน ท่านเป็นคนโผงผาง เรียกว่าเป็นพระ แบบบู๊ ไม่ใช่บุ๋น ท่านเคยเป็นทหารผ่านศึก ที่หน้าอกของท่านเป็นรอยบุ๋มลึก ท่านเล่าว่าโดนหัวกระสุนปืนใหญ่ สลบไปหลายวัน แต่ไม่มีบาดแผล และกระดูกก็ไม่หัก แสดงว่าสมัยหนุ่มๆ ท่านมีวิชาอาคมใช้ได้เหมือนกัน

     ท่านไม่ได้สนใจเงินทอง กระผมเอาเงินใส่ซองร่วมทำบุญกับท่าน ท่านก็หยิบปลัดมาให้ ๙-๑๐ ตัว ท่านไม่รู้หรอกว่าเราถวายเงินเท่าไร ใครไปท่านก็ให้อย่างนั้น กระผมมีโอกาสไปหลายครั้ง แต่ได้มาก็มีคนมาขอ เห็นเขาว่าค้าขายดี ตอนนี้เหลืออยู่สัก ๒ ตัวเห็นจะได้ครับ

     มีผู้หญิงใช้ปลัดของท่านเหมือนกัน คือมีเรื่องเล่าว่า สาวคนหนึ่งคาดไว้กับตัว แล้วแกไปโดนจี้ในที่เปลี่ยว อ้ายโจรนั่นเห็นเป็นเด็กสาว ก็ปลุกปล้ำด้วย หญิงสาวเห็นจวนตัว ก็นึกขอให้ “ปลัด” ช่วย
    ปรากฏว่าเมื่อถอดเสื้อผ้ามา โจรเห็นเป็นผู้ชายไป เลยเปิดแน่บ
    เรื่องนี้บอกเล่ากันไป ปากต่อปาก ทำให้สาวๆ ไม่ว่าโสดหรือไม่โสด ในบริษัท พากันพกปลัดของหลวงปู่กันหน้าตาเฉย... ทำให้ปลัดที่กระผมได้มา หมดไปโดยรวดเร็ว เรื่องของหลวงปู่ยังมีอีก แต่พอเท่านี้ก่อนดีกว่านะครับ กลับมาเรื่องของหลวงพ่ออี๋ ต่อไป...



    ครั้งหนึ่ง หลวงพ่ออี๋ เดินทางไปรุกขมูล ท่านได้พบบ่อน้ำแห่งหนึ่ง
    จึงได้หยุดพักปักกลด เพื่อโปรดทายกทายิกา
    ในระหว่างนั้น ท่านได้ไปนั่งมองดูบ่อน้ำทุกวัน เพราะหลวงพ่อได้เห็นปลัด ผุดขึ้นมาจากผิวน้ำ
    เหมือนปลาผุดขึ้นมาหายใจ หลวงพ่อพยายามช้อนปลัด ก็ช้อนไม่ติดสักอัน

    (ท่านคงมีความรู้จากตำรา ที่ได้เคยศึกษามา)

    ในขณะที่กำลังช้อนอยู่นั้น มีโยมแก่คนหนึ่งเดินมาถามหลวงพ่อว่า “ทำอะไร”
    หลวงพ่อตอบว่า “ช้อนปลัดขิก” 
    โยมแก่คนนั้นก็หัวเราะ และพูดว่า “อย่าช้อนเลย ท่านช้อนไม่ได้ดอก
    ถ้าท่านอยากได้จริงๆ ก็ให้หาหญิงพรหมจารีมาช้อน จึงจะช้อนได้” 
    หลวงพ่อก็ได้เที่ยวตามหาหญิงพรหมจารี มาได้คนหนึ่ง ได้ขอให้หญิงพรหมจารีนั้นช้อนปลัดให้หลวงพ่อ
    หญิงนั้นก็ช้อนให้หลวงพ่ออันหนึ่ง ถึงแม้จะพยายามช้อนอันที่สองก็ช้อนไม่ได้

    เมื่อหลวงพ่อได้ปลัดแล้ว ก็เดินทางกลับวัด ขณะที่อยู่วัด ท่านพยายามหาวิธีสร้างปลัด
    โดยจำลองจากที่ท่านได้มา ในการสร้างครั้งแรก เป็นไปด้วยความยากลำบาก
    เพราะต้องสร้างขึ้นถึง ๑๐๘ ตัว เพื่อคัดเลือกหัวโจก หรือจ่าฝูง
    ครั้นได้จ่าฝูงมาแล้ว การสร้างครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้องจำกัดจำนวน
    ที่ว่าจ่าฝูงนั้น ก็คือตัวที่บินเก่งที่สุด และมันชอบนำลูกฝูงบินเป็นการสมานตัวของพลังปราณ



    ฟังดูเป็นเรื่อง ไม่น่าเชื่อ แต่กระผมมีเกร็ด ที่จะเล่าให้ท่านฟังอีก คือเมื่อหลายปีก่อน กระผมได้ไปงานเลี้ยงรุ่น สมัยที่เรียนมัธยมปลาย ก็มีเพื่อนๆ หลายคนที่เป็นทหาร เหล่าทัพต่างๆ มานั่งคุยกัน พอดีเขาชอบพระเครื่อง ต่างคนต่างก็นำขึ้นมาอวดกัน
     เจ้าคนที่เป็นนักบินทหารบก ก็คุยเรื่องมหัศจรรย์ให้ฟังว่า นักบินรุ่นน้องคนหนึ่ง เขาขับเครื่องบินผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปรากฏว่ามีอะไร มากระทบกระจกห้องนักบิน ดังก๊อกแก๊กๆ (เขาขับเครื่องบินขนส่ง หรือ เฮลิคอปเตอร์ กระผมก็ไม่แน่ใจ
    ตอนแรกนึกว่าเป็น นก หรือแมลง แต่เมื่อพิจารณาดูดีๆ ก็ตกใจ เพราะมันคือ ปลัดขิก จำนวนหลายตัว บินแข่งไปกับเครื่องบิน


    เมื่อเขานำเครื่องลงที่สนามกองบินแล้ว ก็ได้พยายามซักถาม คนท้องถิ่น ถึงพระอาจารย์เก่งๆ แถวๆ ที่เขาขับเครื่องบินผ่าน ปรากฏว่า คือหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ซึ่งท่านมีชื่อเสียงมาก ทางสร้างปลัด (ท่านเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่ออี๋ หรือ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก กระผมก็ไม่แน่ใจ)

    เมื่อกระผมทำหน้าไม่เชื่อ ว่าจะเป็นไปได้ เขาก็ไปพาภรรยา(ซึ่งคุยอยู่อีกกลุ่ม) มายืนยันอีกคน เธอบอกว่าเคยไปกราบท่าน และได้เห็นท่านปลุกเสกจนปลัดนั้นกระโดดออกจากมือท่าน ด้วยตาตนเอง แต่ไปขอให้ท่านทำตรงๆ ท่านไม่ทำให้ดู จะต้องทำเหมือนจะรับ แล้วหดมือกลับ เหมือนกล้าๆ กลัวๆ นั่นแหละ

    ท่านปลุกเสกปลัดกระโดดเลย หลวงพ่อยิดนี่ท่านมีอะไรพิเศษหลายอย่าง ตอนหนุ่มๆ ท่านชอบเดินธุดงค์ และ ปีหนึ่ง ท่านสรงน้ำเพียงครั้งเดียว (เหมือนหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี) โดยที่ร่างกายของท่านไม่มีกลิ่นเหม็นเลย ในวันเกิด ศิษย์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นทหาร-ตำรวจ และประชาชนจำนวนมาก จะพากันมาสรงน้ำท่านในวันนั้น และ ใช้แปรงทองเหลืองขัดถูร่างกายของท่าน ท่านก็ยิ้มเฉยๆ ไม่ว่าอะไร แสดงว่าเรื่องคงกระพัน ท่านก็ไม่เป็นสองรองใคร) ...


อ่านเรื่องราวโดยพิสดารได้ที่
www.itti-patihan.com/ประวัติ-หลวงพ่ออี๋-วัดสัตหีบ/ทุกหน้า.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.sattahiptour.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปลัดฉลามเมิน"....หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2012, 01:29:54 am »
0
 ถ้าไปตรวจชือในทําเนียบก็จะพบ ชื่อของท่าน เป็นอีกหนึ่งพระภิกษุผู้เข้ามาศึกษา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ อยู่ในทําเนียบวัดพลับ ด้วย
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา