สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 02, 2014, 08:21:54 am



หัวข้อ: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 02, 2014, 08:21:54 am
(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpf1/v/t1.0-9/16093_692388844175906_5038749937054558049_n.jpg?oh=a1df711283e3638eb466636ac4f832d5&oe=545F73DD&__gda__=1416859958_89bc1c2187f11a110509eef02d9209cd)

มีหลายท่าน ส่งข้อความมาถามเรื่อง วิจิกิจฉา ในกรรมฐาน จักสิ้นไปเมื่อใด

 คำตอบ ก็คือ วิจิกิจฉา จักสิ้นไป เมื่อท่าน รวมศูนย์จิตได้เป็นหนึ่งเดียว ณ ฐานจิตใด จิตหนึ่ง ความสงสัยก็จักสิ้นไป เพราะการปรากฏขึ้นของ อุคคหนิมิต ที่เริ่มปรากฏแก่ใจ ได้เริ่มปรากฏ แต่กำลังของอุคคหนิมิต ยังอ่อน ต้องอาศัยโอภาส ช่วยด้วย จึงจักแปลงต่อเป็น อุคคหนิมิต ที่ชัดเจนได้ ส่วนใหญ่ อุคคหนิมิต เกิดขึ้นพร้อมลักษณะ แต่ เนื่องด้วย ลักษณะ ปรากฏที่กาย ทำให้กาย กระเพื่อมด้วยอำนาจปีติ จึงทำให้จิตหลุด คล้อยออกจากฐานจิต คงเพ่งไปที่ลักษณะของปีติกัน ทำให้ อุคคหนิิมิต ที่เริ่มปรากฏนั้นหายไป ดังนั้นผู้ฝึกปฏิบัติ จึงต้องควรแก่การงานด้วย นิมิต ทั้งสามอย่างเหนียวแน่น เมื่อปีติ ก็อย่าใส่ใจ ในปีติ นั้นจงใส่ใน บริกรรม ฐานจิต และวางอุเบกขา ให้นิ่งคงอยู่ที่ บริกรรม และ ฐานจิต อย่าให้จิตซัดส่าย ออกไป จาก บริกรรม และ ฐานจิต ปล่อยให้ปีติ ที่เกิดเป็นสักว่า ปีติ ที่เกิดเท่านั้น จิตก็จักเห็น อุคคหนิมิต เบื้องต้นได้เอง

   เมื่อจิตไม่ใส่ใจในปีติ คงใส่ใจในการวางจิตให้นิ่ง ใน บริกรรม และ ฐานจิต ปีติ ย่อมค่อย ๆ ดับไป เมื่อปีติดับไป ก็จักทำให้ สุข ปรากฏเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอาการครอบคลุม ทั้งกาย และ จิต คือ รู้สึกสบาย เย็น นิ่ง สุข ยินดี ในปีติที่ดับไป แต่ อุคคหนิมิต ก็จะหายไปอีกเช่นกัน เพราะจิต ยินดี ใน ความสบายนั้น ๆ ดังนั้น แม้อย่างนี้ ก็ต้องวางใจให้เป็นอุเบกขา คือ นิ่งเฉย อยู่ บริกรรม และ ฐานจิต เช่นเดิม อุคคหนิมิต จึงจักปรากฏชัด เจน แจ่มแจ้ง เป็นรางวัล แก่ผู้ภาวนา แท้ที่จริง อุปจาระสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ อาศัย อุคคหนิมิต ( คือนิมิตรวมศูนย์จิต ) ที่เกิดขึ้นเป็น องค์กำหนดใน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน อีก ปัญจมฌาน ก็อาศัย ด้วยเช่นกัน

   ดังนั้นการรวมศูนย์ จิต จักทำให้สิ้นสงสัยลงไปได้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงใส่ใจ ในการบริกรรม และ ฐานจิต ตลอดถึงการวางจิตให้เป็นกลาง นิ่งเฉย อยู่ในบริกรรม และ ฐานจิต เท่านั้น อย่าได้ซัดส่ายออกจาก นิมิต ทั้งสาม เพราะ นิมิต ทั้งสามจัก รวมกันเป็น อุคคหนิมิต แก่ท่านนั่นเอง

   เจริญธรรม / เจริญพร


 


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กันยายน 02, 2014, 03:42:57 pm
 st11 st12 st12

  แต่ก็ยังไม่เข้าใจ ว่า การรวม ศูนย์ จิต กับ ฐานจิต คือย่างไร คะ

  :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กันยายน 02, 2014, 09:00:44 pm
ขออนุโมทนาสาธุ


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ กันยายน 02, 2014, 09:28:47 pm
มีหลายท่าน ส่งข้อความมาถามเรื่อง วิจิกิจฉา ในกรรมฐาน จักสิ้นไปเมื่อใด

 คำตอบ ก็คือ วิจิกิจฉา จักสิ้นไป เมื่อท่าน รวมศูนย์จิตได้เป็นหนึ่งเดียว ณ ฐานจิตใด จิตหนึ่ง ความสงสัยก็จักสิ้นไป เพราะการปรากฏขึ้นของ อุคคหนิมิต ที่เริ่มปรากฏแก่ใจ ได้เริ่มปรากฏ แต่กำลังของอุคคหนิมิต ยังอ่อน ต้องอาศัยโอภาส ช่วยด้วย จึงจักแปลงต่อเป็น อุคคหนิมิต ที่ชัดเจนได้ ส่วนใหญ่ อุคคหนิมิต เกิดขึ้นพร้อมลักษณะ แต่ เนื่องด้วย ลักษณะ ปรากฏที่กาย ทำให้กาย กระเพื่อมด้วยอำนาจปีติ จึงทำให้จิตหลุด คล้อยออกจากฐานจิต คงเพ่งไปที่ลักษณะของปีติกัน ทำให้ อุคคหนิิมิต ที่เริ่มปรากฏนั้นหายไป ดังนั้นผู้ฝึกปฏิบัติ จึงต้องควรแก่การงานด้วย นิมิต ทั้งสามอย่างเหนียวแน่น เมื่อปีติ ก็อย่าใส่ใจ ในปีติ นั้นจงใส่ใน บริกรรม ฐานจิต และวางอุเบกขา ให้นิ่งคงอยู่ที่ บริกรรม และ ฐานจิต อย่าให้จิตซัดส่าย ออกไป จาก บริกรรม และ ฐานจิต ปล่อยให้ปีติ ที่เกิดเป็นสักว่า ปีติ ที่เกิดเท่านั้น จิตก็จักเห็น อุคคหนิมิต เบื้องต้นได้เอง

   เมื่อจิตไม่ใส่ใจในปีติ คงใส่ใจในการวางจิตให้นิ่ง ใน บริกรรม และ ฐานจิต ปีติ ย่อมค่อย ๆ ดับไป เมื่อปีติดับไป ก็จักทำให้ สุข ปรากฏเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอาการครอบคลุม ทั้งกาย และ จิต คือ รู้สึกสบาย เย็น นิ่ง สุข ยินดี ในปีติที่ดับไป แต่ อุคคหนิมิต ก็จะหายไปอีกเช่นกัน เพราะจิต ยินดี ใน ความสบายนั้น ๆ ดังนั้น แม้อย่างนี้ ก็ต้องวางใจให้เป็นอุเบกขา คือ นิ่งเฉย อยู่ บริกรรม และ ฐานจิต เช่นเดิม อุคคหนิมิต จึงจักปรากฏชัด เจน แจ่มแจ้ง เป็นรางวัล แก่ผู้ภาวนา แท้ที่จริง อุปจาระสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ อาศัย อุคคหนิมิต ( คือนิมิตรวมศูนย์จิต ) ที่เกิดขึ้นเป็น องค์กำหนดใน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน อีก ปัญจมฌาน ก็อาศัย ด้วยเช่นกัน

   ดังนั้นการรวมศูนย์ จิต จักทำให้สิ้นสงสัยลงไปได้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงใส่ใจ ในการบริกรรม และ ฐานจิต ตลอดถึงการวางจิตให้เป็นกลาง นิ่งเฉย อยู่ในบริกรรม และ ฐานจิต เท่านั้น อย่าได้ซัดส่ายออกจาก นิมิต ทั้งสาม เพราะ นิมิต ทั้งสามจัก รวมกันเป็น อุคคหนิมิต แก่ท่านนั่นเอง

   เจริญธรรม / เจริญพร


 :86:           st12   st12   st12           :72:     


st11 st12 st12

  แต่ก็ยังไม่เข้าใจ ว่า การรวม ศูนย์ จิต กับ ฐานจิต คือย่างไร คะ

  :smiley_confused1:

 :41:           ask1   ask1   ask1           :s_laugh:     


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กันยายน 03, 2014, 09:37:26 am
เพื่อน ๆ ท่านใด ที่พอจะทราบ วิธีการ ช่วยบอกด้วยคะ ( คงรอพระอาจารย์ตอบถ้าจะนาน )

ขอทราบวิธีการ รวมศูนย์จิต ด้วยคะ (ไม่ทราบวิธีการ)

 :58: :c017:


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กันยายน 03, 2014, 10:44:28 am
ท่านต้องไปขึ้นกรรมฐาน  เพราะกรรมฐานนี้เนันความศรัทธาในพระรัตนตรัย เพราะมรรคและผลเริ่มที่ศรัทธาเป็นหลัก ความสําเร็จจะบังเกิดมี อยู่ ที่ความตั้งใจคือหลักชัย แต่ถ้าท่านมิได้ศรัทธา ครูบาอาจารย์ก็มิอาจบอกวิธีการ ในวิถีทีจะสําเร็จธรรมนั้นกับท่านได้ แม้ถึงบอกแค่รู้ ก็ไม่/ด้หมายถึงว่า ท่านจะหมดทุกข์หมดเห็น รู้เป็นได้แค่ปริยัติ ไม่มีผลใหัหมดทุกข์ไปได้ เพราะไม่ใช่ปฏิเวธ และปฏิเวธที่เป็นผลแห่งมรรค ได้จากผลของคําว่า ภาวนา ประการเดียว


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กันยายน 04, 2014, 11:14:38 am
ท่านต้องไปขึ้นกรรมฐาน  เพราะกรรมฐานนี้เนันความศรัทธาในพระรัตนตรัย เพราะมรรคและผลเริ่มที่ศรัทธาเป็นหลัก ความสําเร็จจะบังเกิดมี อยู่ ที่ความตั้งใจคือหลักชัย แต่ถ้าท่านมิได้ศรัทธา ครูบาอาจารย์ก็มิอาจบอกวิธีการ ในวิถีทีจะสําเร็จธรรมนั้นกับท่านได้ แม้ถึงบอกแค่รู้ ก็ไม่/ด้หมายถึงว่า ท่านจะหมดทุกข์หมดเห็น รู้เป็นได้แค่ปริยัติ ไม่มีผลใหัหมดทุกข์ไปได้ เพราะไม่ใช่ปฏิเวธ และปฏิเวธที่เป็นผลแห่งมรรค ได้จากผลของคําว่า ภาวนา ประการเดียว

  ขอบคุณคะ แต่ เราก็ขึ้นกรรมฐาน ที่วัดพลับ แล้ว นะจ๊ะ
  การรวมศูนย์จิตไม่เคยได้ ยินหลวงพ่อพระครูพูด เลย มีแต่ ท่านบอกให้ภาวนา คำว่า พุทโธ ลงไปที่ต่ำจากสะดือ หนึ่ง ถึงสองนิ้ว

  :58: :c017:


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ กันยายน 04, 2014, 11:21:46 am
 st11 st12


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: Jojo ที่ กันยายน 04, 2014, 11:29:45 am
 st12 :25: st12 :25:


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กันยายน 04, 2014, 10:23:12 pm
ให้เป็นไปตามคําสอนของครูอาจารย์ ครูอาจารย์ให้ทําอะไรก็ทําอันนั้น
    หนังสือเล่มไหนที่อ่านพิจราณาแล้วไม่เข้าใจ เรายังไม่ได้ ไปไม่ถึง
       ความสงสัย หรือวิจิกิจฉา คิอความลังเลสงสัย สงสัยในอดีต สงสัยในปัจจุบัน สงสัยในอนาคต
       สงสัยในธรรมทั้งหลายเรียกว่า วิจิกิจฉา






 
     


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ กันยายน 05, 2014, 05:47:11 pm
(http://www.madchima.net/images/314_card_26.jpg)

จากกระทู้ที่ได้อ่านไปให้รู้สึกว่าคุณน้องไม่เข้าใจเรื่องการรวมศูนย์จิตอาจจะด้วยคุณน้องจินตนาการมากไปจนลืมหลักการสำคัญที่ครูอาจารย์ท่านกล่าวเน้นย้ำไว้แล้ว 3 ประการ อันได้แก่

       1.   ปัคคาหะนิมิต ฐานจิต
       2.   ปริกรรมนิมิต พุทโธ
       3.   อุเบกขานิมิต อุเบกขารมณ์

ข้อที่หนึ่งปัคคาหะนิมิต ฐานจิต ซึ่งข้อนี้หลวงพ่อพระครูฯได้กล่าวไว้คุณน้องนั้นเข้าใจ ฐานจิตนั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ฐาน ประกอบด้วยฐานจิตที่ 1 ฐานธาตุดิน “ขุททกา” (ต่ำกว่าสะดือ 2 นิ้วมือ), ฐานจิตที่ 2 ฐานธาตุไฟ  “ขณิกา” (อยู่เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ), ฐานจิตที่ 3 ฐานธาตุน้ำ “โอกกันติกา”(อยู่เหนือขึ้นไปอีก 2 นิ้วมือ บริเวณกระเพาะส่วนบนพอดี), ฐานจิตที่ 4 ฐานธาตุลม “อุพเพงคา” (อยู่บริเวณลิ้นปี่พอดีเลย), ฐานจิตที่ 5 ฐานธาตุอากาศ “ผรณา” (อยู่บริเวณกึ่งกลางราวนม หรือ เรียก จุดหทัย)

ข้อที่สองปริกรรมนิมิต พุทโธ ซึ่งข้อนี้ต้องกล่าวว่า พุทโธ เน้นๆ ตามจังหวะหัวใจเลยนะ ย้ำอย่าขาด ซ่านฟุ้งส่ายซัดออกนอกก็ให้รัวเร็วเร็ว

ข้อที่สามอุเบกขานิมิต อุเบกขารมณ์ กล่าวคือการวางใจเป็นกลาง ซึ่งก็คือที่มาของชื่อ มัชฌิมา แบบลำดับ ลำดับอย่างไรก็ตามลำดับฐานธาตุมี ดิน,ไฟ,น้ำ,ลม และ อากาศ เป็น อนุโลม(ร้างธาตุ) หรือจะ อากาศ,ลม,น้ำ,ไฟ และ ดิน เป็น ปฏิโลม(เสริมธาตุ) เรียกอีกอย่างคือ การเข้าวัตรออกวัตร

หากคุณน้องปฏิบัติอนุโลมปฏิโลมอย่างนี้ตามนี้ได้ถือว่าเยี่ยมยุทธเลยนะ ขอบอก! การภาวนาถ้าเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ทำได้จริงได้คล่องประเสริฐแล้ว ถ้าคุณน้องขวนขวายฟังมากจำพลาดข้อสงสัยก็ไม่จบ วิตกวิจารณ์ตามแบบวิถีโลกนั้นไม่ใช่นะ ปัญญามาจากสมาธิ สมาธิมาจากศีล ศีลคือความมีกายใจบริบูรณ์พร้อม พร้อมต่อองค์ภาวนาครับ

ทีนี้มากล่าวย้ำอีกนิดเรื่อง ปัคคาหะฐานจิต ซึ่งก็เพื่อให้จิตมีที่ตั้งไม่ซัดส่ายออกนอกเตริดไปบ่อยนัก บริกรรม พุทโธ ก็เพียงเพื่อให้งานหน่วงนำแก่จิตไว้เพียงนั้นนั่นเอง อุเบกขารมณ์ ข้อนี้ถือว่าสำคัญ การตามลำดับฐานธาตุก็เพียงเพื่อให้รู้จักการวางใจให้เป็นเพียงสักว่าตามธาตุนั้นๆ ซึ่งข้อนี้ไปตามหาอ่านได้ในราหุโลวาทสูตร และ อุเบกขานี้สำคัญยิ่งยวดในแนวทางการภาวนาสายวัดราชสิทธิ์ หรือ สายหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน (ฝากสักนิดเรื่องพระคาถาพญาไก่เถื่อนใช้ให้บ่อยให้คล่องไว้มีดีใช้กับพระกรรมฐานได้นะครับ)

วันนี้เท่านี้ก่อน หละกัน หากมีข้อข้องใจค่อยๆว่ากันไปในขอบเขตกระทู้นี้ นะ!

(http://www.madchima.net/images/487_anupati.gif)



http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=14261.msg48071#msg48071
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7623.msg28199#msg28199 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7623.msg28199#msg28199)
http://www.jitsabuy.com/tripitaka/89-2011-04-17-12-33-03/375----5--6-- (http://www.jitsabuy.com/tripitaka/89-2011-04-17-12-33-03/375----5--6--)
http://www.dhammahome.com/webboard/topic/15365 (http://www.dhammahome.com/webboard/topic/15365)




หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ กันยายน 05, 2014, 06:54:48 pm
ขอบคุณมากคะ ท่าน ธรรมธวัช
จะอ่านทบทวน ทำความเข้าใจ หลาย ๆ รอบ เดี๋ยวสงสัย แล้ว จะถาม ต่อนะคะ

  :s_hi: :58: thk56


หัวข้อ: Re: รวมศูนย์จิต เป็นหนึ่งเดียวกัน ความสงสัยก็จักสิ้นไปเอง
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ กันยายน 06, 2014, 07:29:50 pm
 thk56 thk56 thk56

  ในน้ำใจ ของ เพื่อน ๆ พี่ ๆ ทุกท่าน ที่อนุเคราะห์ คำตอบ มาให้

   :88: