ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราปประวัติการกรวดน้ำ ที่มีข้อความในพระไตรปิฏก คะ ค้นไม่เจอ  (อ่าน 7499 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

อยากทราปประวัติการกรวดน้ำ ที่มีข้อความในพระไตรปิฏก คะ ค้นไม่เจอ

  เห็นบางท่านบอกว่า ไม่ต้องกรวดก็ได้ กรวดด้วยใจ ก็เหมือนกัน สรุปแล้ว เราควรต้องกรวดน้ำจริง ๆ หรือ กรวดน้ำด้วยใจ กันดีคะ

  อยากปฏิบัติให้ถูกคะ

  thk56
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องการกรวดน้ำอุทิศมีมาก่อนพุทธศาสนานานแล้ว การกรวดน้ำนี้ถือได้ว่าสำคัญด้วยพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายถือการหลั่งทักษิโณทกฝากแม่ธรณีเป็นพยานสักขีในการทำที่สุดบารมีเพียงเพื่อพระโพธิญาณทุกครั้ง เหล่าศิษย์ในสายพระอาจารย์สนธยา ธมฺมวํโส จะทราบดีว่าพระอาจา่รย์จะกล่าวเน้นย้ำเรื่องการกรวดน้ำมากมาก ฝึกให้ชิน ให้เป็นนิสัย กรวดน้ำทุกครั้งที่ทำบุญถวายทาน เจริญภาวนา ครับ!

การกรวดน้ำที่สำคัญยังมีการกล่าวอุทิศแบบย่อให้ลองพิจารณานำไปใช้ดู ซึ่งผมใช้เป็นประจำ ดังนี้

- อิทัง เม, มาตาปิตูนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, มาตาปิตะโร
  (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า, ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า, จงมีความสุข

- อิทัง เม, ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
  (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า, ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า, จงมีความสุข)
  (บทนี้เป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่ว กล่าวว่าเป็นบทนำมาแต่ครั้งพระเจ้าพิมพิสารกล่าวอุทิศแก่เหล่าเปรตชนของพระองค์ที่เสวยทุกข์อยู่นานถึง 4 พุทธันดร)

- อิทัง เม, คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, คุรูปัชฌายาจริยา
  (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า, ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า, จงมีความสุข

- อิทัง, สัพพะเทวานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, สัพเพ เทวา
  (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง, ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง, จงมีความสุข

- อิทัง, สัพพะเปตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, สัพเพ เปตา
  (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง, ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง, จงมีความสุข

- อิทัง, สัพพะเวรีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, สัพเพ เวรี
  (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง, ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง, จงมีความสุข

- อิทัง, สัพพะสัตตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ, สัพเพ สัตตา
  (ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง, จงมีความสุข


 :67:           thk56           :57:           thk56           :72:           thk56
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 04, 2014, 07:10:22 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การกรวดน้ำ อุทิศผลบุญ ความเป็นมาอย่างไร
กระทู้ของคุณผ้าเช็ดธุลี เว็บบ้านธัมมะ

กราบสวัสดีอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงทุกท่านครับ
    เรื่องมีอยู่ว่า คงเพราะฟังและศึกษาพระธรรม ก็เลยเกิดคิดอะไรเป็นเหตุ เป็นผลและ ละเอียดขึ้นกับการที่จะทำอะไร ต่ออะไร ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาน่ะครับ
    กราบรบกวนสอบถามครับ

    ๑. การกรวดน้ำ หรือ การอุทิศผลบุญนั้น ทำไมต้องใช้น้ำ ไม่ใช้น้ำได้ไหมครับ เพราะสำคัญที่เจตนาบอกให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ได้รู้ว่าเราทำสิ่งดีดีอะไร แล้วให้เค้า อนุโมทนา กับสิ่งดีดีที่เราได้ทำไม่ใช่หรือครับ (พระไตรปิฎกมีระบุหรือไม่ครับ)
    ๒. ในคำสอนมีการให้ทานศีล และภาวนา ภาวนาก็มีสมถภาวนา(การเจริญความสงบ สงบจากอกุศล)
แต่การเจริญวิปัสนา คือสติปัสฐาน ซึ่งเป็นการสร้างเหตุให้สติเกิด สติ คือ การระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏในปัจจุบัน  แล้วสงสัยตรงคำว่า ปัญญา ขณะเจริญสติแล้ว ปัญญาเกิดได้อย่างไรครับ   
   ช่วยอนุเคราะห์ด้วยครับว่า การดำเนินไปของจิต ช่วงที่มีสติ จนถึงปัญญาเกิด และปัญญาทำกิจการงาน

(ขออภัยด้วยครับที่ยังไม่เข้าใจ เพราะยอมรับว่าคำแต่ละคำมีความหมายลึกซึ้ง นี่ยังไม่ได้ถึงขั้นความเข้าใจสภาพธรรมนะครับ ยังแย่อยู่เลยครับ ตอนนี้กำลังทบทวนสิ่งที่รู้ให้ชัดเจน เพราะก่อนๆที่จำๆมาแค่คำจำกัดความก็สับสนไม่ชัดเจนเลยครับ ขอสะสมความเข้าใจถูกใหม่ครับ)
    กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ


 


ความคิดเห็น คุณ paderm เว็บบ้านธัมมะ
             
    ๑. การกรวดน้ำหรือการอุทิศผลบุญนั้น ทำไมต้องใช้น้ำ ไม่ใช้น้ำได้ไหมครับเพราะสำคัญที่เจตนาบอกให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว  ได้รู้ว่าเราทำสิ่งดีดีอะไร แล้วให้เค้าอนุโมทนา กับสิ่งดีดีที่เราได้ทำไม่ใช่หรือครับ (พระไตรปิฎกมีระบุหรือไม่ครับ)

      ans1 ans1 ans1
     การอุทิศส่วนกุศลเป็นบุญประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้น โดยเมื่อมีการทำบุญประเภทต่างๆ แล้วก็มีจิตคิดให้ผู้อื่นรับรู้บุญที่ได้ทำมาเพื่อให้สัตว์นั้นได้อนุโมทนา ดังนั้นการอุทิศส่วนกุศลจึงเป็นเรื่องของจิต ที่มีเจตนาให้ผู้อื่นรู้ในบุญที่ตนได้กระทำครับ การกรวดน้ำในสมัยปัจจุบัน ก็คือ การกระทำที่เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่นที่สามารถล่วงรู้หรือล่วงลับไปแล้วครับ
     คำถามจึงมีอยู่ว่า ทำไมถึงใช้น้ำ ซึ่งกระผมขออธิบายตามความเข้าใจ ในเรื่องความเป็นมาในการใช้น้ำอุทิศส่วนกุศลครับ ดังนี้


    เหตุผลที่ 1. ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายวัดเวฬุวันกับพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข การที่ท่านจะถวายสิ่งของใหญ่ ไม่สามารถยกวัดขึ้นได้ แต่พระเจ้าพิมพิสาร ก็ใช้วิธีการหลั่งน้ำ อันแสดงถึงการสละ ถวายวัดเวฬุวันแล้ว
    ดังนั้นการเทน้ำ หลั่งน้ำ จึงเป็นกิริยาอาการของการสละ การให้ประการหนึ่ง 
    ดังนั้นเพราะเหตุผลประการนี้ ประเพณีในปัจจุบันการอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ คือ การสละ ให้บุญทีเป็นนามธรรม จึงมีการใช้น้ำเทน้ำ เหมือนเป็นการสละ ให้ส่วนบุญกับเปรตหรือญาติทั้งหลายได้อนุโมทนาบุญครับ นี่คือเหตุผลประการหนึ่ง คือ การเทน้ำ คือการให้ ให้ส่วนบุญนั่นเอง


    เหตุผลที่ 2. ในจริยาปิฎก พระพุทธเจ้าแสดงเรื่องบารมี 10 เมตตาบารมี พระองค์แสดงว่า เธอจงมีเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข เหมือนกับน้ำ น้ำย่อมไม่รังเกียจบุคคลใด เมื่อผู้ใดลงไปอาบ ก็ได้ความสุข  ได้ความเย็นสบาย น้ำจึงไม่เลือกบุคคลใดปรารถนาให้ผู้อื่นได้ความสุขทุกคน 
     ดังนั้นการอุทิศส่วนกุศลด้วยน้ำ  ก็เปรียบเหมือนเป็นการให้ญาติทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายทั้งหมด ที่สามารถล่วงรู้ได้ ได้อนุโมทนาบุญในกุศลที่ได้ทำ โดยการอุทิศไปในสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่เลือกกับบุคคลใดเลยนั่นเองครับ


    เหตุผลที่ 3. เพื่อความตั้งใจ มีสมาธิในการใช้น้ำกรวด ขณะที่เทน้ำก็ต้องมีสมาธิและตั้งใจที่จะให้สัตว์ทั้งหลายได้ส่วนบุญ การใช้นำจึงเป็นอุบายอย่างหนึ่ง ที่จะให้มีความตั้งใจที่จะให้มีการอุทิศให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายครับ
 




    ซึ่งในความเป็นจริง พระไตรปิฎกไมได้แสดงในเรื่องของการใช้น้ำ เทน้ำ อันเป็นการแสดงถึงการอุทิศส่วนกุศลครับ ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่มีเพียงการเทน้ำ หลั่งน้ำ แสดงถึงการสละ บริจาคให้ มีพระเจ้าพิมพิสารถวายวัดเวฬุวันโดการหลั่งน้ำ   
     แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญที่ท่านทำ ท่านก็ไมได้ใช้น้ำ   
     ท่านก็เปล่งวาจา กล่าวอุทิศส่วนกุศลให้ญาติครับ

     ดังนั้นการใช้น้ำในการอุทิศส่วนกุศล ก็เป็นความเข้าใจในเหตุผล 3 ประการที่กล่าวมา
     ซึ่งก็ค่อยๆ คลาดเคลื่อนจากความเข้าใจในสมัยพุทธกาล กลายเป็นประเพณีนิยมไปครับ

     ในความเป็นจริงแล้ว การอุทิศส่วนบุญให้ สำคัญที่เจตนาของผู้ที่อุทิศ ไมได้อยู่ที่การเทน้ำ
     หากไม่มีเจตนา ตั้งใจจะอุทิศให้ญาติเลย แต่ก็มีการเทน้ำ บุญก็ไม่เกิดขึ้น
     ที่เป็นการอุทิศส่วนกุศล เพราะการอุทิศส่วนกุศลอยู่ที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่อาการเทน้ำ บุญจึงอยู่ที่ใจเป็นสำคัญครับ   

     และก็ไม่จำเป็นจะต้องกล่าวคำบาลีต่างๆ ที่ว่า..ยถา วาริวหา ปูราปริ ปูเรนฺติ ...
     เพราะการอุทิศส่วนกุศลสำคัญที่เจตนา หากมีเจตนาอุทิศให้ กล่าวภาษาอะไร แต่มีเจตนาอุทิศแล้ว   
     บุญเกิดขึ้น คือ การอุทิศส่วนกุศล เมื่อผู้เป็นญาติล่วงรู้และอนุโมทนา
     ญาติก็ได้รับบุญคือ บุญเกิดกับญาติเองทีเกิดกุศลจิตที่อนุโมทนาครับ
     และก็ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำไปเทที่ต้นไม้ด้วยความไม่รู้ แต่หากมีเจตนารดน้ำต้นไม้ก็ดีครับ

 



  ๒. ในคำสอนมีการให้ทานศีล และ ภาวนา ภาวนาก็มีสมถภาวนา (การเจริญความสงบ   สงบจากอกุศล)แต่การเจริญวิปัสนา คือสติปัสฐานซึ่งเป็นการสร้างเหตุให้สติเกิดสติ คือ การระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏในปัจจุบัน  แล้วสงสัยตรงคำว่า ปัญญา ขณะเจริญสติแล้ว ปัญญาเกิดได้อย่างไรครับ ช่วยอนุเคราะห์ด้วยครับว่า การดำเนินไปของจิต ช่วงที่มีสติ จนถึงปัญญาเกิด และ ปัญญาทำกิจการงาน

     ans1 ans1 ans1 
    การเจริญสติปัฏฐาน คือ การที่สติและปัญญาเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เข้าใจถูกว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้คือ เมื่อจิตเกิดขึ้นจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งเจตสิกทีเกิดร่วมด้วยก็ต้องมีหลายประเภท หลายเจตสิก
     ดังนั้นขณะที่สติปัฏฐานเกิด  จิตขณะนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิกและเกิดพร้อมเจตสิกอื่นๆ ทีเป็นเจตสิก ฝ่ายดี คือ ศรัทธาเจตสิก หิริเจตสิก รวมทั้ง สติเจตสิกทีเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นครับ


     ดังนั้นขณะที่สติปัฏฐานเกิด เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา จึงมีทั้งสติเจตสิกและปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นครับ ซึ่งเจตสิกแต่ละประเภทก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่ก็เกิดร่วมกันได้ครับ เช่น สัญญาเจตสิกทำหน้าที่จำ เวทนาเจตสิก ทำหน้าที่รู้สึก เป็นต้น   
         ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็มีสติและปัญญาเกิดด้วยในขณะนั้น
         แต่สติก็ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ปัญญาก็ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง
         สติทำหน้าที่ระลึก ปัญญาทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง
         ขณะที่สติปัฏฐานเกิด คือ ขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม





    ดังนั้น ต้องมีตัวธรรมให้รู้ เช่น รู้แข็ง แข็งเป็นสิ่งที่สติเกิดระลึกรู้ ซึ่งสติจึงทำหน้าที่ระลึกที่ตัวธรรม คือ แข็ง ถ้าไม่มีสติ ก็ไม่มีการระลึกที่ตัวธรรมได้ แต่สติไมได้ทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริงว่า แข็งเป็นธรรมไม่ใช่เรา     ทำหน้าที่ระลึกถึงตัวธรรมได้เท่านั้น
    แต่ขณะนั้นเองที่ปัญญาเกิดพร้อมสติ  ปัญญาก็ทำหน้าที่รู้ตัวแข็งว่ามีลักษณะ ไม่ใช่เราเป็นธรรม รู้ความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรานั่นเองครับ


    ดังนั้นสติและปัญญาเกิดพร้อมกันแต่ทำหน้าที่คนละอย่าง สติทำหน้าที่ระลึก ปัญญาทำหน้าที่รู้ความจริงในตัวธรรมที่สติระลึกได้ครับ   
    ดังนั้นสภาพธรรมธรรมแต่ละอย่างก็ทำหน้าที่แต่ละอย่างกันไป แต่ก็พึ่งพาอาศัยกัน
    สติปัฏฐานจะขาดสติหรือจะขาดปัญญาไม่ได้เลยครับ
    ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ปัญญาจึงเกิดได้พร้อมสติ รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราในสภาพธรรมที่สติกำลังระลึกครับ

    ซึ่งสติปัฏฐานจะเกิดได้ ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรมในเรื่องสภาพธรรมไปเรื่อยๆ
    โดยไม่หวังแต่ค่อยๆสะสมความเข้าใจไปทีละน้อย
นั่นเองครับ
    ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา



ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=18847
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/, http://picpost.postjung.com/ , http://sphotos-a.xx.fbcdn.net/ , http://www.photoontour9.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อนุโมทนากถา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนุโมทนากถา เป็นบทสวดมนต์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่สวดเพื่อมุ่งประสงค์ให้ผู้ถวายทานแก่พระสงฆ์เกิดความยินดีในทาน หรือเพื่อแสดงธรรมแก่ผู้ถวาย ในสมัยพุทธกาล พระสูตรสำคัญ ๆ เกิดจากคำอนุโมทนากถาของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ผู้ถวายทานตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จไปรับบิณฑบาต [1]

ปัจจุบันพระสงฆ์มีบทสวดสำหรับอนุโมทนาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะตัดตอนมาจากพระสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบทที่พระสงฆ์ใช้สวดเป็นประจำไม่กี่พระสูตร แต่บทที่พระสงฆ์สวดนำเป็นปกติทุกครั้งก่อนที่จะสวดเนื้อหาในพระสูตรคือบทอนุโมทนารัมภกถา และบทสามัญญานุโมทนากถา (แปลว่าบทสวดเริ่มต้นและบทสวดปกติ) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า
     ยถา-สัพพี ซึ่งเป็นบทสวดที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์
     โดยบทยถาเป็นการให้พรอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
     บทสัพพีมีเนื้อหากล่าวถึง การอำนวยมงคลและอวยพรให้ผู้ถวายทานปราศจากอันตรายทั้งหลาย


     อนุโมทนากถา นอกจากจะหมายถึงบทสวดภาษาบาลีของพระสงฆ์แล้ว
     ยังอาจหมายถึงคำกล่าวของพระสงฆ์ที่แสดงในงานต่าง ๆ เพื่อขอบคุณเจ้าภาพอีกด้วย





บทสวดนำ (อนุโมทนารัมภาสามัญญานุโมทนกถา)

บทที่เริ่มต้นว่า “ยถา” มีชื่อเรียกว่า บทอนุโมทนารัมภคาถา หมายถึง คาถาที่เริ่มก่อนการอนุโมทนา กล่าวคือ ก่อน ที่พระสงฆ์จะอนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำแล้ว พระสงฆ์จะกล่าวบทอนุโมทนารัมภคาถานี้ เพื่อให้อุบาสกอุบาสิกาได้เตรียมตัวตั้งใจรับพรสืบไป บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้   
    ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ
    เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ
    อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ
    สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา


แปลเป็นไทยได้ว่า “ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ฉันนั้น ขออิทธิผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว จงสำเร็จโดยฉับพลัน ขอความดำริทั้งปวงจงบริบูรณ์ เหมือนดังพระจันทร์วันเพ็ญ (และ) เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสว”

ส่วนบทที่เริ่มต้นว่า “สัพพี” มีชื่อเรียกว่า บทสามัญญานุโมทนาคาถา หมายถึง คาถาที่พระสงฆ์ใช้สวดทุกครั้งที่อนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำแล้ว บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้   
    สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ
    มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
    อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
    จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ

   
แปลเป็นไทยได้ว่า “ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวงจงหายไป อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการอภิวาทเป็นปรกติ อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์”.

ซึ่งบทสวดนี้มักเรียกกันตามความหมายของคำอวยพรและผู้ที่จะรับพรนั้นว่า "ยถาให้ผี-สัพพีให้คน"





บทสวดอนุโมทนากถาที่มีที่มาจากในพระสูตร

บทสวดในพระสูตรที่พระสงฆ์นิยมนำมาสวดต่อจากบทสามัญญานุโมทนากถา
    - กาลทานสุตฺตกถา (บทสวดที่ขึ้นต้นด้วย: กาเล ททนฺติ สปญฺญํ...)
      บทสวดนี้พระสงฆ์นิยมสวดในงานทำบุญที่กำหนดตามกาล เช่น กฐิน, สลากภัต เป็นต้น
    - ติโรกุฑฺฑกัณฺฑปจฺฉิมกถา (บทสวดที่ขึ้นต้นด้วย: อทาสิ เม อกาสิ เม...)
      บทสวดนี้พระสงฆ์นิยมสวดในงานศพ และงานทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
    - อคฺคปฺปทานสุตฺตกถา (บทสวดที่ขึ้นต้นด้วย: อคฺคโต เว ปสนฺนานํ...)
    - โภชนทานานุโมทนกถา (บทสวดที่ขึ้นต้นด้วย: อายุโท พลโท ธีโร...),
      บทสวดนี้พระสงฆ์นิยมสวดหลังฉันอาหารบิณฑบาตทั่วไป
    - อาฏานาฏิยปริตฺตํ (บทสวดที่ขึ้นต้นด้วย: สพฺพโรควินิตฺมุตฺโต...)
      บทนี้พระสงฆ์นิยมสวดหลังฉันอาหารบิณฑบาตทั่วไป โดยไม่ต้องขึ้นอนุโมทนารัมภาสามัญญานุโมทนกถา
    - เทวตาทิสฺสทกฺขิณานุโมทนกถา (บทสวดที่ขึ้นต้นด้วย: ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ...)
    - อาทิยสุตฺตกถา (บทสวดที่ขึ้นต้นด้วย: ภุตฺตา โภคา ภฏา ภจฺจา...)
    - วิหารทานกถา (บทสวดที่ขึ้นต้นด้วย: สีตํ อุณฺหํ ปฏิหนฺติ...)
      บทสวดนี้พระสงฆ์นิยมสวดหลังในงานถวายอาคารเป็นสาธารณะทานหรือถวายแก่สงฆ์ [2]





ปัญหาเรื่องสถานที่สวดของภิกษุ

ปัญหาเกิดมาจากหลังจากตักบาตรเสร็จ พระภิกษุมักสวดอนุโมทนารมภคาถาและสามัญญานุโมทนาคาถาหรือยถา-สัพพี ให้พรที่ข้างถนน ซึ่งมีผู้ที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมในเรื่องดังกล่าว อยู่สองฝ่ายด้วยกันคือ

ฝ่ายหนึ่งมองว่า การออกบิณฑบาตร เป็นการออกกำลังกายด้วยความมีสติ เท่ากับเดินจงกรมของพระ และโปรดเวไนยสัตว์ ตลอดจนภูตผี สัมภเวสีเร่ร่อน เทพ เทวา ไปด้วยการแผ่เมตตาไปตลอดทางทั้งขาไป-ขากลับ พระจะ สวดยะถาสัพพี-ให้พรแก่คนตักบาตรทำบุญและผีทั้งหลาย เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้วที่วัด ภูตผี วิญญาณเร่ร่อน เปรต ก็มารอขอส่วนบุญกันตอนนั้นเอง จึงไม่ควรสวดข้างถนน

อีกฝ่ายมองว่า เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนายินดีด้วย การบิณฑบาตรตอนเช้าไม่ใช่เพียงแค่คนที่นำอาหารมาใส่บาตรที่จะได้รับอานิสงส์ผลบุญ แต่ถือเป็นการโปรดสัตว์ด้วย

ในต่างจังหวัด เช่นแถวภาคอิสาณหรือภาคเหนือ เช้าตรู่พระท่านเข้าแถวออกบิณฑบาต ผู้คนจะนั่งคุกเข่า ค่อยๆบรรจงหยิบอาหารหรือข้าว ใส่ลงในบาตร เป็นภาพที่สวยงามมาก พอพระท่านรับเสร็จ ท่านก็จะให้พร
    แต่สิ่งที่สำคัญเราจะลืมไม่ได้ คือ อย่าอยู่สูงกว่าพระ เช่นสวมรองเท้าใส่บาตร หรือบางทีก็ถอด
    แต่ทว่า ยืนบนรองเท้า แบบนี้จึงจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นการไม่เคารพพระ
    บางแห่งพระท่านจะเมตตามากกว่านั้นอีก คือ เมื่อรับบาตรเสร็จ ท่านจะนั่งในที่เหมาะสม เช่น ศาลาพักริมถนน ญาติโยมก็จะนั่งประนมมือฟังเทศน์อบรมธรรมะจากท่าน ก่อนที่ท่านจะกลับวัด


อ้างอิง
[1] อรรถกถา ธรรมบท ธัมมัฏฐวรรควรรณนา เรื่องเดียรถีย์
[2] พระวิสุทุธิสมโพธิ (เจีย ป.๙). ชุมนุมสวดมนต์ฉบับหลวง. ๒๕๒๐. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร
th.wikipedia.org/wiki/อนุโมทนากถา
ขอบคุณภาพจาก http://www.dasta.or.th/ , http://www.asitaresort.com/ , http://topicstock.pantip.com/ , http://www.jobmarket.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

  พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระเจ้าพิมพิสารว่า
    [๙๐] เปรตทั้งหลายพากันมาสู่เรือนของตนแล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝาที่ตรอกกำแพง และทาง ๓ แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อข้าว น้ำของกิน ของบริโภคเป็นอันมากเขาเข้าไปตั้งไว้แล้ว
    แต่ญาติไรๆ ของสัตว์เหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด ประณีตสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทานที่มหาบพิตรทรงถวายแล้ว ฉะนั้น

    ด้วยเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้แล จงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุขเถิด
                         
     ส่วนเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมในที่นั้น เมื่อข้าวและน้ำมีอยู่บริบูรณ์ ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพว่า เราได้สมบัติเพราะ เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติของเราเหล่านั้น จงมีชีวิตอยู่ยืนนาน

     การบูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และญาติทั้งหลายผู้ให้ ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มีโครักขกรรม ไม่มีการค้าขายเช่นนั้น ไม่มีการซื้อการขายด้วยเงิน
     เปรตทั้งหลายผู้ไปในปิตติวิสัย ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้

    "น้ำฝนอันตกลงในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้วในมนุษยโลกนี้
    ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน"
    "ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยมฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้
    ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน"

     
    กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่านทำแล้วในกาลก่อนว่า ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เรา ได้ช่วย
ทำกิจของเรา ดังนี้ พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย

     ความเศร้าโศก หรือความร่ำไรอย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้ เป็นต้นนั้น
    ไม่เป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยปกติธรรมดา

                           
     อันทักษิณานี้แลที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว
     ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน


     ญาติธรรมมหาพิตรได้แสดงให้ปรากฏแล้ว การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาพิตรทรงทำแล้ว และกำลังกายมหาบพิตรได้เพิ่มให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมี ประมาณไม่น้อยมหาบพิตรได้ทรงขวนขวายแล้ว.

     จบ ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๓๐๒๑ - ๓๐๕๒. หน้าที่ ๑๒๔ - ๑๒๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=3021&Z=3052&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=90
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/



อรรถกถา ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ปฐมวรรค
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ

อรรถกถาติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕

(คัดมาเพียงบางส่วน)

      พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพวกเรา ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลก ล่วงไป ๗ สัปดาห์ก็เสด็จมายังกรุงพาราณสีโดยลำดับ ทรงประกาศธรรมจักร ทรงแนะนำตั้งต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ จนถึงชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน แล้วได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์.

       ก็ในบรรดาชนเหล่านั้น พระองค์ทรงให้พระเจ้าพิมพิสารผู้เข้าไปเฝ้าในวันนั้นนั่นเอง พร้อมกับพราหมณ์และคฤหบดีชาวอังคะและมคธะ ๑๑๐,๐๐๐ คน ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาทรงนิมนต์ด้วยภัตต์เพื่อเสวยพระกระยาหารในวันพรุ่งนี้ พระองค์ทรงรับแล้วในวันที่ ๒ อันท้าวสักกะจอมเทพผู้แปลงเพศเป็นมาณพน้อยนำเสด็จไป ชมเชยด้วยพระคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า

       พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกพระองค์แล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้มีวรรณะเพียงดังว่าลิ่มทองสิงคี พร้อมด้วยปุราณชฎิล ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ดังนี้.
       จึงเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงรับมหาทานในพระราชนิเวศน์.


       ส่วนพวกเปรตเหล่านั้นได้พากันยืนล้อมด้วยหวังใจว่า
       บัดนี้ พระราชาจักอุทิศทานแก่พวกเรา. บัดนี้พระราชาจักอุทิศ.


      พระราชาทรงถวายทานแล้ว ทรงพระดำริเฉพาะสถานที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ดังนี้ จึงไม่ได้อุทิศทานนั้นแก่ใครๆ.
       พวกเปรตเมื่อไม่ได้ทานนั้นอย่างนั้นก็สิ้นหวัง
       ในเวลากลางคืนจึงพากันส่งเสียงร้องอันน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ใกล้พระราชนิเวศน์.


       พระราชาทรงถึงความสังเวชอันน่าสะพึงกลัว น่าหวาดเสียว เมื่อราตรีผ่านไปจึงได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ได้สดับเสียงเห็นปานนี้ จักมีเหตุอะไรแก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
      พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าทรงกลัวเลยมหาบพิตร จักไม่มีความชั่วช้าลามกอะไรแก่พระองค์ดอก.

      อนึ่ง ญาติเก่าก่อนของพระองค์ที่เกิดในพวกเปรตก็มี, ญาติเหล่านั้นหวังจะพบเฉพาะพระองค์แต่ผู้เดียวถึงพุทธันดรหนึ่ง ท่องเที่ยวไปด้วยหวังใจว่า พระองค์ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้ว จักอุทิศแก่พวกเราบ้าง เพราะพระองค์ถวายทานเมื่อวันวานแล้ว มิได้อุทิศจึงพากันสิ้นหวัง ส่งเสียงร้องเห็นปานนั้น.

      พระราชาตรัสถามว่า เมื่อหม่อมฉันถวายทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้นจะพึงได้รับหรือ พระเจ้าข้า? พระศาสดาตรัสว่า ได้ มหาบพิตร. พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับทานของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันนี้, ข้าพระองค์จักอุทิศแก่พวกเปรตเหล่านั้น.
      พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษฎีภาพ.



    พระราชาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ทรงให้จัดแจงมหาทานแล้ว ให้กราบทูลกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ประทับนั่งบนอาสนะที่บรรจงจัดไว้. เปรตเหล่านั้นไปด้วยหวังว่า วันนี้ พวกเราจะพึงได้อะไรเป็นแน่ ดังนี้ จึงได้พากันยืนอยู่ในที่ต่างๆ มีภายนอกฝาเรือน เป็นต้น.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำโดยที่พวกเปรตเหล่านั้นทั้งหมดมาปรากฏแด่พระราชา.
     พระราชาเมื่อจะทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก จึงอุทิศว่า
     "ทานที่ข้าพเจ้าให้นี้จงสำเร็จแก่พวกญาติเถิด."
     ในบัดดลนั้นเอง สระโบกขรณีอันดาระดาษด้วยกลุ่มดอกกมล ได้บังเกิดแก่พวกเปรต.
     เปรตเหล่านั้นพากันอาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ได้สงบระงับความกระวนกระวาย ความลำบากและความกระหาย ได้เป็นผู้มีสีดั่งทองคำ.


     พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยวและของบริโภคแล้วอุทิศให้.
     ขณะนั้นนั่นเอง ข้าวยาคู ของเคี้ยวและอาหารอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น.
     เปรตเหล่านั้นพากันบริโภคข้าวยาคูเป็นต้นนั้นแล้ว ก็ได้เป็นผู้มีอินทรีย์กระปรี้กระเปร่า.

     ลำดับนั้น พระองค์ได้ถวายผ้า ที่นอนและที่นั่งแล้วอุทิศให้.
     เครื่องประดับมีชนิดต่างๆ เช่น ผ้า ปราสาท เครื่องลาดและที่นอน เป็นต้น อันเป็นทิพย์ ได้บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น.
     และสมบัติของเปรตเหล่านั้นทั้งหมดนั้นได้ปรากฏแก่พระราชา โดยประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานไว้.
     พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงพอพระทัยยิ่งนัก.



ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=90
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/,http://www.dmc.tv/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆิกาวาส

    [๖๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. จึงพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ จนให้พระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ห้ามภัตแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

      ท้าวเธอได้ทรงพระราชดำริว่า พระผู้มีพระภาคพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนดีหนอ ซึ่งจะเป็นสถานที่ไม่ไกล ไม่ใกล้จากบ้านนัก สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย.

      แล้วได้ทรงพระราชดำริต่อไปว่า สวนเวฬุวันของเรานี้แล ไม่ไกลไม่ใกล้จากบ้านนัก สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะพึงเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย ผิฉะนั้น เราพึงถวายสวนเวฬุวันแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ดังนี้.

       ans1 ans1 ans1

      ลำดับนั้น จึงทรงจับพระสุวรรณภิงคาร "ทรงหลั่งน้ำ" น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคด้วยพระราชดำรัสว่า หม่อมฉันถวายสวนเวฬุวันนั่นแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขพระพุทธเจ้าข้า.

      พระผู้มีพระภาคทรงรับอารามแล้ว. และทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.ต่อมา พระองค์ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาราม.


อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1216&Z=1357
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=56
ขอบคุณภาพจาก http://buddha.dmc.tv
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

อยากทราปประวัติการกรวดน้ำ ที่มีข้อความในพระไตรปิฏก คะ ค้นไม่เจอ

  เห็นบางท่านบอกว่า ไม่ต้องกรวดก็ได้ กรวดด้วยใจ ก็เหมือนกัน สรุปแล้ว เราควรต้องกรวดน้ำจริง ๆ หรือ กรวดน้ำด้วยใจ กันดีคะ

  อยากปฏิบัติให้ถูกคะ

  thk56


    ans1 ans1 ans1

   ในพระไตรปิฎกที่กล่าวถึงเรื่องนี้ โดยตรงและโดยอ้อม ก็คือ (โพสต์ให้แล้ว)
   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
   เรื่อง ทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆิกาวาส
   http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=1216&Z=1357

   อีกที่หนึ่งคือ (โพสต์ให้แล้ว)
   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
   ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร
   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๓๐๒๑ - ๓๐๕๒. หน้าที่ ๑๒๔ - ๑๒๕.
   http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=3021&Z=3052&pagebreak=0
   ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=90

    st12 st12 st12

   กระทู้แนะนำ
   - อุทิศ ส่วนกุศล อย่างไร ถูกวิธี
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12315.0
   - ฟังมาว่า บุญกุศล เมื่อทำแล้วอุทิศให้กันได้ ถ้าเราทำบาป แล้ว อุทิศให้กันได้หรือไม่คะ
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7447.0
   - การกรวดน้ำ การตรวจน้ำ การหลั่งน้ำสิโนธก มีหลักฐานการปฏบัติในครั้งพุทธกาลหรือไม่
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=170.0

    :96: :96: :96:

    ขอให้พิจารณาเอาเองนะครับ ผมตอบตรงๆ หรือฟันธง..ให้ไม่ได้

     :25: :25: :25:
   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า