ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ  (อ่าน 5025 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



๒. ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
                               


หลายๆคนคงสงสัยแต่ไม่เข้าใจสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆว่า การอบรมสมาธิมันคือสิ่งใด คืออะไร อย่างไหนจึงเรียกว่าถูกต้อง
การอบรมกายที่พระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น คือ

ก. การทำให้จิตผ่องใส ไม่ร้อนรุ่มร้อนรนใจ มีความชื่นบานใจ อิ่มเอมใจ เป็นปกติ
ข. การทำให้จิตสงบเย็นกายเย็นใจ เป็นสุขรื่นเริงใจ ไม่มีความติดข้องใจไรๆ เป็นปกติ
ค. มีจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว มีความว่างรำงับจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท เป็นปกติ
ง. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็มีแต่สภาพที่แลดูอยู่ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ เป็นปกติ
จ. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็ไม่ปรุงแต่งส่งต่อเรื่องราวอันอกุศลลามก เป็นปกติ
ฉ. เมื่อหวนระลึกถึงสิ่งใดๆ หรือ ตามระลึกรู้ในสิ่งใดๆ จิตก็สักแต่เห็นความเกิดขึ้น แลเห็นความเป็นไปตามจริง ไม่ตกอยู่ในสภาวะที่ตรึกนึกคิดโดยความ อนุมานเอา

- สภาวะนี้ๆ คือ สัมมาสมาธิ ที่ควรแก่งาน
- ทีนี้ เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ทำไมเราค้องมีสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธินั้น มีไว้เพื่อให้ถึงยถาภูตญาณทัสนะ คือ ปัญญารู้เห้นตามจริง

๒.๑ การเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติกรรมฐานให้ถึงสัมมาสมาธิ

เราจะเริ่มทำสมาธิ หรือ จะเจริญปฏิบัติในทางใดๆตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนก็แล้วแต่ เราพึงควรเจริญดังนี้ คือ

    ๒.๑.๑ ข้อแรกที่สำคัญที่สุดเมื่อเราจะ ยืนก็ดี นั่งก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี ให้ระลึกนึกคิด คำนึงถึงอยู่เสอๆว่า
            - พระพุทธเจ้ามาอยู่ตรงหน้าเราแล้วในขณะนี้
            - พระตถาคตทรงกำลังดูเราเจริญปฏิบัติอยู่ เราต้องสำรวมระวังปฏิบัติให้พระตถาคตเห็นในความเพียร สำรวมระวังของเราอยู่ทุกขณะ
            - หมั่นระลึกถึงบารมีของพระตถาคตเป็นที่ตั้ง
            - พึงระลึกในใจว่าเราจักปฏิบัติตามรอยพระพุทธเจ้า เดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน

    ๒.๑.๒ แล้วระลึกตั้งเจตนากล่าวกะพระพุทธเจ้า ว่า

            ก. ข้าพระพุทธเจ้าจักพึงตั้งจิตเจริญใน อิทธิบาท๔  คือ

            ๑. ฉันทะ คือ มีความความพอใจยินดี ในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้ถึงการพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
            ๒. วิริยะ คือ ความเพียรพยายามกระทำในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้ถึงการพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ไม่ละทิ้งไป
            ๓. จิตตะ คือ ความเอาใจฝักใฝ่ในการเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา และ ใจ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย
            ๔. วิมังสา คือ ความพิจารณาใคร่ครวญพิจารณาในสิ่งนั้นด้วยปัญญา ถึงเหตุและผลในการปฏิบัติแต่ละอย่างว่าเป็นเช่นไรควรหรือไม่ควรอย่างไร

            ข. ข้าพระพุทธเจ้าจักพึงตั้งจิตเจริญใน จรณะ ๑๕ เพื่อให้เข้าถึงใน อิทธิบาท๔ ข้างต้น คือ

                                    (จาก พระราชพรหมญาณ หนังสือ พรหมวิหาร ๔)

คำว่า จรณะ แปลว่า ความประพฤติที่พวกเราจะต้องประพฤติปฏิบัติกันเป็นประจำ จะถือว่าจรณะ ๑๕ เป็นจริยาที่พระอริยะเจ้าจะต้องประพฤติปฏิบัติแต่ฝ่าย เดียวก็หามิได้

สำหรับจรณะ ๑๕ นี่ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายมีความบกพร่องในข้อใดข้อหนึ่ง ก็มีหวังว่าในปัจจุบันก็ดี สัมปรายภพก็ดี ท่านจะหาความสุขที่แท้จริงไม่ได้ หากว่าจะมีความสุขบ้างก็เป็นความสุขที่ไม่สมบูรณ์

สำหรับจรณะ ๑๕ นี้ท่านแบ่งออกเป็น ๓ หมวดด้วยกัน

สำหรับหมวดต้น มีอยู่ ๔ ข้อ คือ

๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล สำหรับพระก็ได้แก่พระวินัย ที่มาในพระปาฏิโมกข์ ( มี ๒๒๗ ข้อ ) และก็มาทั้งนอกพระปาฏิโมกข์ ( ที่เราเรียกว่า อภิสมาจาร ) สำหรับเณรก็ต้องปฏิบัติในศีล ๑๐ ให้ครบถ้วน และก็มีเสขิยวัตรอีก ๗๕ ข้อ รวมเป็น ๘๕ สิกขาบท สำหรับอุบาสก อุบาสิกา อันดับต่ำสุดก็ต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์

๒. อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ห จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์ แปลว่า ความความเป็นใหญ่ คือ ตา เป็นใหญ่ในการเห็นรูป หู เป็นใหญ่ในการฟังเสียง จมูก เป็นใหญ่ในการสูดกลิ่น ลิ้น เป็นใหญ่ในการรู้รส กาย เป็นใหญ่ในการสัมผัส ใจ เป็นใหญ่ในความรู้สึก สังวร แปลว่า ระวัง ท่านบอกว่าไม่ให้มันยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัสทางกาย รู้ทำอารมณ์ด้วยใจ

๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้ความพอดีในการกินอาหาร คือไม่ละโมบโลภมากเกินไป รู้จักประมาณในการกิน

๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่

หมวดที่ ๒ ท่านเรียกว่า สัจจธรรม มี ๗ ข้อ คือ

๑. ศรัทธา ความเชื่อ เรามีความเชื่อในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนใดที่เป็นคำสั่งพระองค์ห้าม เราไม่ปฏิบัติตาม ส่วนใดที่เป็นธรรมะที่เป็นความดีที่พระองค์สนับสนุน เราปฏิบัติตาม

    ** ผมได้พบได้รู้ได้เห็นกับตนเองมาหลายครั้งในเรื่องของศรัทธาในคำสอนปฏิบัตินี้ เวลาเราเจริญปฏิบัติกรรมฐาน เช่น อานาปานุสสติ เราจักเป็นผู้รู้กองลมทั้งสิ้นนี้ มันเกิดประโยชน์จริงหรือไหนบอกหลุดพ้นเพราะวิปัสนาหลายคนบอกให้ศึกษาอภิธรรม ทำให้เกิดความแครงใจ คลอนแคลนใจ เมื่อปฏิบัติไปมันก็เข้าไม่ถึงแม้ขณิกสมาธิ มันคิด มันฟุ้งซ่าน มันว้าวุ่นไม่รู้จบ ผมจึงท้อแล้วละทิ้งการปฏิบัติทั้งสิ้นไปแต่เมื่อพออ่านพระสูตรต่างๆในพระไตรปิฎกบ้าง คำสอนหลวงพ่อทั้งหลายบ้าง เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ดุลย์ พระราชพรหมญาณ ทั้ง 3 ท่าน บอกว่าพระพุทธเจ้ารู้ลมหายใจมากที่สุด รู้ตลอดเวลา สิ่งแรกที่รู้ตถาคตก็รู้ที่ลมหายใจไม่ใช่ที่ไหน บรรลุก็ด้วยอาศัยลมหายใจ ไม่รู้ลมหายใจก่อนก็รู้สิ่งอื่นได้ยากเว้นแต่สะสมมาดีแล้ว เมื่อผมได้อ่านศึกษาวิธีปฏิบัติในกายคตาสติที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ แล้วเจริญตามนั้นด้วยมีจิตศรัทธาแน่วแน่ไม่ไหวหวั่น ไม่เคลือบแคลงใจ เพียงชั่วขณะลมหายใจเข้า-ออกผมก็ตั้งอยู่ในอารมณ์อุปปะจาระสมาธิ ต่อถึงอัปปะนาสมาธิได้โดยง่ายและทรงอารมณ์ได้นานเป็นอย่างนี้เสมอๆทุกครั้ง แต่พอไปอ่านไปเจอสิ่งใดๆอย่างอื่นหรือเราเกิดความครางแครงในใจกับสิ่งที่เราเจริญปฏิบัติอยู่นั้น เมื่อศรัทธาเสื่อมความตั้งใจ ตั้งมั่นในธรรมที่ปฏิบัติอยู่ก็เสื่อม ต่อมาให้ทำอย่างไรก็ไปไม่ถึง ก็ไปไม่ถึง จนเกิดความโทมนัส แล้วละทิ้งการปฏิบัติไปหลายครั้ง ความศรัทธาข้อนี้จึงสำคัญต่อผู้ปฏิบัติมาก **

๒. หิริ ความละอายแก่ใจ ถ้าอารมณ์มันคิดจะทำชั่ว จงมีความละอายว่า เราเห็นจะเลวมากไปเสียแล้ว ถ้าจิตมันชั่ว เราก็อายความเป็นคนว่า ในฐานะที่เราเกิดมาเป็นคนแล้วไม่น่าจะทำความชั่ว

๓. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความผิด

๔. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก จำได้มากแต่เอาตาเป็นตากระทู้ เอาหูเป็นหูกะทะ เห็นคนสอนก็เห็น ได้ยินคำสอนก็ได้ยิน แต่ไม่จำ มันจะเป็นพาหุสัจจะไม่ได้

๕. วิริยะ มีความเพียร คือ ความเพียรสละความชั่ว ประพฤติแต่ความดี

๖. สติ ระลึกได้ นึกได้ว่าเราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ระลึกได้ว่าเราเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ นึกได้ว่าเราจะบริโภคอาหารอยู่แต่พอสมควร นึกได้ว่าเราจะเป็นผู้ประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่ เป็นต้น

๗. ปัญญา ความรอบรู้ จงใช้ปัญญาพิจารณาอารมณ์จิตว่า เวลานี้อารมณ์จิตของเรายังมีความผูกพันอยู่ในร่างกายหรือเปล่า เวลานี้เราสงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรหรือเปล่า และปัญญาพิจารณาศีลที่เรารักษาตามสภาวะของตัว อย่าให้มันด่าง มันพร้อย มันขาดทะลุ อย่าให้มันบกพร่อง

สำหรับหมวด ๓ นี้มี ๔ ข้อด้วยกัน ได้แก่ พวกรูปฌาน คือ

๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑

๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒

๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓

๔. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔

ถ้าหากท่านทั้งหลายได้ทรงฌานที่ ๑ ก็ดี ฌานที่ ๒ ก็ดี ฌานที่ ๓ ก็ดี ถึงฌานที่ ๔ ยิ่งดีมาก ในเวลาเช้ามืด เช้ามืดนี่เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าตอนเช้าจิตของท่านทรงฌานได้ ปล่อยให้อารมณ์แนบสนิทตามที่กำลังจะทรงได้ นั่นก็หมายความว่า จรณะ ๑๕ ข้อ คือ

๑. สีลสัมปทา ท่านก็เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์บริสุทธิ์ ศีลไม่บกพร่อง

๒. อินทรีย์สังวร การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ดีทั้งหมด เพราะใจมันทรงตัวในด้านกุศล ตาไม่เสีย หูไม่เสีย จมูกไม่เสีย เป็นต้น

๓. โภชเนมัตตัญญุตา การรู้จักประมาณในการบริโภค ผู้ทรงฌานนี่ฉันอาหารไม่มากนัก แต่ยังไม่ถึงกับไปลดอาหารมันนะ ปล่อยมันตามสบาย เพราะอาการทางใจมันอิ่ม เรื่องลดอาหารไม่มีการยุ่ง พิจารณาอยู่เสมอว่าเรากินเพื่อทรงอยู่ เพื่อความหลงไม่มี

๔. ชาคริยานุโยค ก็เป็นผู้มีสติสมบูรณ์เหมือนคนตื่นอยู่

๕. ศรัทธา ความเชื่อในพระพุทธเจ้ามีสมบูรณ์แบบ ไม่บกพร่อง

๖. ความละอายต่อบาป คือ หิริ
   
๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่วมีอยู่

๘. พาหุสัจจะ ความทรงจำของผู้มีสมาธิดี จะอยู่เป็นปกติ

๙. วิริยะ ความเพียรก็จะทรงตัว

๑๐. สติ ก็จะทรงอยู่เสมอ

๑๑. ปัญญา จะรอบรู้ เพราะปัญญานี้จะเกิดได้ก็อาศัยกำลังของสมาธิเป็นสำคัญ

เป็นอันว่า เมื่อบรรดาท่านพระโยคาวจรทุกท่านสามารถทรงฌานได้ จะเป็นฌานไหนก็ตามและจิตของท่านไม่ละเมิด ไม่ละทิ้งในฌาน ในยามเช้ามืด เป็นอันว่าจรณะทั้ง ๑๕ ประการจะสมบูรณ์แบบ เสมือนหนึ่งว่า ท่านเป็นผู้ทรงอิทธิบาท ๔ ครบถ้วนบริบูรณ์ และก็สามารถจะทรงความดีในบารมี ๑๐ ประการ ได้ครบถ้วน


จรณะ ๑๕ ที่มาจาก http://www.luangporruesi.com/321.html

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 06, 2013, 05:10:50 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 09:51:12 pm »
0

๒.๒ การเจริญจิตให้ถึงทางเข้าแห่งสัมมาสมาธิ


เมื่อเราเจริญปฏิบัติใน จรณะ๑๕ แล้ว ถึง อิทธิบาท๔ แล้ว จิตใจเราจะไม่ร้อนรุ่มใจ ไม่ร้อนรนใจ จากนั้นให้เจริญจิตดังนี้

    ๒.๒.๑ ตั้งเจตนาไม่ทำร้ายเบียดเบียน ไม่ผูกจองเวร พยาบาท ทางกาย-วาจา-ใจต่อผู้อื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่น และ ตนเอง
            * หากคุณทำในข้อนี้ได้..คุณก็จะมีความไม่ร้อนใจ เป็นอานิสงส์

    ๒.๒.๒ เจริญจิตให้เป็นกุศลอยู่เป็นประจำ คือ
    - ระลึกถึงแต่สิ่งที่ดีงามที่ทำำให้จิตใจเราผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข ไม่เศร้ามองมัวใจ
      โดยปราศจากความติดใจเพลิดเพลินปารถนาใคร่ตาม กำหนัดยินดี ที่ได้ทำมาแล้ว หรือ ที่เราควรจะทำในปัจจุบันและภายภาคหน้า
    - ระลึกถึงแต่สิ่งที่ดีงามที่ทำำให้จิตใจเราผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข ไม่เศร้ามองมัวใจ
      โดยปราศจากขุ่นมัวขัดเคืองใจ ที่ได้ทำมาแล้ว หรือ ที่เราควรจะทำในปัจจุบันและภายภาคหน้า
            * หากคุณทำได้ จะส่งผลให้ความคิด-พูด-ทำของคุณก็จะมีแต่กุศล มีความผ่องใส ความชื่นบานใจ เป็นอานิสงส์

    ๒.๒.๓ เจริญกาย วาจา ใจให้เป็นกุศล คงกุศลไว้ และ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อมตลอดเวลา
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความปารถนาดีต่อผู้อื่นอยากให้ผู้อื่นเป็นสุข
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งที่ดีงานเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้จักสละให้
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้ว่าควรอดโทษ รู้ว่าควรอดใจไว้ รู้ว่าควรละไว้ รู้ว่าควรปล่อย รู้ว่าควรวาง
    - เพื่อบ่มจิตให้มีความรู้วางใจไว้กลางๆไม่เอาความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดีจากการรู้อารมณ์ใดๆมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต
            * หากคุณทำได้คุณก็จะมิความอิ่มใจ ปลื้มใจ ก่อให้เกิดความสงบผ่องใส ผ่อนคลาย

๒.๓ การเจริญเข้าสู่สัมมาสมาธิ

เมื่อเราหมดความร้อนรุ่มใจแล้ว มีจิตเป็นกุศลแล้ว มีความผ่องใสปราโมทย์แล้ว ความปิติอิ่มเอมใจย่อมเกิดขึ้นเป็นอานิสงส์ต่อมา เมื่อจะเจริญสาธิจิตย่อมตั้งมั่นเป้นกุศลได้ง่ายไม่ล่วงเข้าสู่ มิจฉาสมาธิอย่างแน่นอน

    ๒.๓.๑ ฝึกโดยการหลับตาทำสมาธิในอิริยาบถ ยืน นั่ง หรือ นอน

            อานาปานุสสติ คือ การระลึกรู้ลมหายใจ จะแค่รู้ลมหายใจไม่บริกรรมก็ดี
            จะบริกรรมพุทโธ-นะมะพะทะ-สัมมาอรหัง หรือ ยุบพองก็ตามแต่
            การรู้ลมหายใจนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย มีประโยชน์เป็นอันมาก พระพุทธเจ้ารู้ก็รู้ที่ลมหายใจนี้ก่อนสิ่งใด
            แม้ยามที่จะตรัสรู้ก็ด้วยลมหายใจนี้แล เป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย ให้ผลได้ไม่จำกัดรู้ตามปฏิบัติได้ตลอดทุกเวลา ทุกอิริยาบถ
            แม้จะเรียนอภิญญาใดๆ ก็ต้องรู้ลมหายใจก่อน แม้จะเป็นกสินก็ตามก็ต้องอาศัยลมหายใจให้จิตตั้งมั่นประกอบกับการเพ่ง
            - ให้เอาสิ่งใดๆก็ตามที่รู้มาทิ้งไปให้หมด ให้กำหนดจิตว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะไม่ทิ้งลมหายใจเป็นอันขาด
              แม้จะหยุดหายใจ แม้จะตายก็ช่างมัน คนเรามันต้องตายอยู่แล้ว ตายด้วยกรรมฐานนี่มันขึ้นสวรรค์แน่นอน
              แล้วเอาจิตเข้าไปรู้ลมหายใจเข้า-ออกเท่านั้น ไม่ส่งจิตออกนอก
            - ตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวก็รู้ตาม
            - ไม่หายใจเข้า-ออก แรงจนเกินไป หรือเบาจนเกินไป ให้อยู่ระดับกลางๆ
            - ตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวก็รู้ตาม ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก
            - เมื่อดูลมหายใจไปเรื่อยๆ เมื่อไปตรึกนึกคิดสิ่งใดๆที่เป็นอกุศล ทำให้จิตส่งออกนอก
              ก็ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วขอพระบารมีของพระพุทธเจ้าแผ่มาถึงเราแล้วดับอกุศลจิตใดๆ-จัญไรใดๆเหล่านี้ไปเสีย
              แล้วตามรู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวก็รู้ตาม ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก
            - คอยตามรู้ลมหายใจ แม้บางครั้งจะได้ยินว่าเสียงลมหายใจตนเองดังมาก ก็ไม่เอาจิตหลุดจากการรู้ลมหายใจเข้าและออก
            - เมื่อดูลมหายใจไปเรื่อยๆไม่ส่งออกนอก เสียงลมหายใจจะค่อยๆหายไป ถึงแม้จะหายใจแรงก็ไม่มีเสียงลมหายใจ
            - ให้ตามดูลมหายใจเข้า-ออกไปเรื่อยๆ มันจะเริ่มเข้าแล้วไปสุดอยู่ที่ไหน มันจะเริ่มออกตรงไหนแล้วไปสุดอยู่ที่ไหน
              ไม่ให้จิตส่งออกนอกหลุดจากระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออก
            - ระลึกรู้ตามลมหายใจไปเรื่อยๆ เมื่อรู้ว่าตนเองไม่หายใจหรือหยุดหายใจ ห้ามตกใจกลัวเด็ดขาดจะให้จิตหลุดจากสมาธิ
            - ระลึกรู้ตามลมหายใจไปเรื่อยๆ เมื่อรู้ว่าตนเองไม่หายใจหรือกำลังหยุดหายใจ ให้พึงตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง
              (จะระลึกถึงภาพพระพุทธเจ้าที่ถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ หรือ พระพุทธรูปใดๆที่เราชอบและเคารพนับถือก็ได้)
            - ให้ตามรู้ลมมันไปก็พอจะตายก็ช่างมัน พึงระลึกว่าขอถวายชีวิตนี้แก่พระพุทธเจ้า
              แม้จะตายก็ช่างมันเราจักละกายสังขารนี้ไปเสีย
            - ให้รู้ตามลมและสภาวะนั้นๆไปเท่านั้น พึงระลึกว่าหากมันจะตายครั้งนี้ก็ช่างมัน
              เราจะตายเพื่อพระพุทธศานา เพื่อพระพุทธเจ้า
            - ให้รู้ตามลมและสภาวะกายและจิตในขณะนั้นๆไม่หลุดไป ไม่ส่งจิตออกนนอก
              หากคิดว่าจะตายให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าไม่หลุดไป
     
    ๒.๓.๒ ฝึกโดยการลืมตาทำสมาธิในอิริยาบถ ยืน นั่ง หรือ เดิน

            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เป็นอันดับแรก แล้วพึงรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะ
              ยืนก็รู้ว่ายืน นั่งก็รู้ว่านั่ง เดินก็รู้ว่าเดิน ก้าวย่างเท้าไรก็รู้ว่าเท้านั้นก้าวอยู่
              เมื่อเท้าสัมผัสพื้นก้รู้ว่าสัมผัสพื้น ให้รู้อิริยาบถทุกขณะ
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก
              แล้วพึงรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะจิต รู้ถึงกิจการงานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนั้นๆ
              ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน หรือ หลุดจากการกระทำในกิจการงานนั้นๆจนเสร็จ
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่ออารมณ์ใดๆ
              เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ
              เมื่อพอใจยินดีก็ให้รู้ว่าพอใจยินดีอยู่ เมื่อไม่พอใจยินดีก็ให้รู้ว่าไม่พอใจยินดีอยู่
              เมื่อกำหนัดใคร่ปารถนาสิ่งใด ก็รู้ว่ากำหนัดใคร่ปารถนาที่จะเสพย์อารมณ์ความรู้สึกในสิ่งนั้นๆอยู่
              เมื่อติดใจเพลิดเพลินใคร่ตามยินดี ก็รู้ว่าติดใจเพลิดเพลินใคร่ตามยินดีอยู่
              เมื่อขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้าหมองใจ ก็รู้ว่าขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้าหมองใจอยู่
              เมื่อมัวหมองใจไม่ผ่องใส ก็รู้ว่ามัวหมองใจไม่ผ่องใสอยู่
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่ออารมณ์ใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ
              ก็ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วเจริญเข้าระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกไม่หลุดไป ไม่ส่งจิตออกนอก
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่ออารมณ์ใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ
              ก็ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจักไม่เข้าไปปารถนายินดี
              เราจักไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้ เราจักมีแต่ความสงบรำงับอยู่เป็นปกติ
            - เมื่อเรากระทบสิ่งที่แข็ง อ่อน ก็ให้รู้ว่ามันแข็ง หรือ อ่อน ให้พึงระลึกว่าสิ่งที่เรากระทบอยู่นี้
              แม้จะมีสิ่งใดๆมาเข้าใกล้มาแตะต้อง จะน่าเกลียด เหม็นเน่า หรือ หอม ไม่สวย หรือ สวยงาม ร้อน หรือ เย็น
              มันก็ไม่แสดงอาการรังเกลียดหรือติดใจสิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ มันยังคงนิ่งเฉยว่างอยู่
              ก็ให้เราพึงระลึกในใจว่า เราจักไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆดั่งสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ พอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี
            - เมื่อเรากระทบสิ่งที่ซาบซ่าน เอิบอาบใดๆ ก็ให้รู้ว่ามัซาบซ่าน หรือ เอิบอาบ ให้พึงระลึกว่าสิ่งที่เรากระทบอยู่นี้
              แม้จะมีสิ่งใดๆมาเข้าใกล้มาแตะต้อง จะน่าเกลียด เหม็นเน่า หรือ หอม ไม่สวย หรือ สวยงาม ร้อน หรือ เย็น
              มันก็ไม่แสดงอาการรังเกลียดหรือติดใจสิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ มันยังคงนิ่งเฉยว่างอยู่
              ก็ให้เราพึงระลึกในใจว่า เราจักไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆดั่งสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ พอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี
            - เมื่อเรากระทบสิ่งที่เคลื่อนตัว ตรึงไหวใดๆ ก็ให้รู้ว่ามันเคลื่อนตัว หรือ ตรึงไหว ให้พึงระลึกว่าสิ่งที่เรากระทบอยู่นี้
              แม้จะมีสิ่งใดๆมาเข้าใกล้มาแตะต้อง จะน่าเกลียด เหม็นเน่า หรือ หอม ไม่สวย หรือ สวยงาม ร้อน หรือ เย็น
              มันก็ไม่แสดงอาการรังเกลียดหรือติดใจสิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ มันยังคงนิ่งเฉยว่างอยู่
              ก็ให้เราพึงระลึกในใจว่า เราจักไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆดั่งสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ พอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี
            - เมื่อเรากระทบสิ่งที่ร้อน เย็น ก็ให้รู้ว่ามันร้อน หรือ เย็น ให้พึงระลึกว่าสิ่งที่เรากระทบอยู่นี้
              แม้จะมีสิ่งใดๆมาเข้าใกล้มาแตะต้อง จะน่าเกลียด เหม็นเน่า หรือ หอม ไม่สวย หรือ สวยงาม ร้อน หรือ เย็น
              มันก็ไม่แสดงอาการรังเกลียดหรือติดใจสิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ มันยังคงนิ่งเฉยว่างอยู่
              ก็ให้เราพึงระลึกในใจว่า เราจักไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆดั่งสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ พอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดี
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เป็นอันดับแรก แล้วพึงรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะ
              ยืนก็รู้ว่ายืน นั่งก็รู้ว่านั่ง เดินก็รู้ว่าเดิน ก้าวย่างเท้าไรก็รู้ว่าเท้านั้นก้าวอยู่
              เมื่อเท้าสัมผัสพื้นก้รู้ว่าสัมผัสพื้น ให้รู้อิริยาบถทุกขณะ
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก
              แล้วพึงรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะจิต รู้ถึงกิจการงานที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนั้นๆ
              ไม่ให้จิตฟุ้งซ่าน หรือ หลุดจากการกระทำในกิจการงานนั้นๆจนเสร็จ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2013, 01:01:06 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2013, 08:47:47 am »
0
                                                                               กายคตาสติสูตร

                                                                         พุทธพจน์ และ พระสูตร ๘.
                                                                           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔

           
             กายคตาสติ มาจากการสมาสของคำว่า กาย + คติ + สติ จึงหมายถึง การมีสติ ในการเห็นทางดำเนินและเป็นไปของกายอย่างปรมัตถ์หรือตามความเป็นจริง,  สติที่เป็นไปในกาย,  สติอันพิจารณากาย ให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นปฏิกูล ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา เกิดความหน่ายหรือนิพพิทาไปในทั้งกายตนแลผู้อื่น,  ซึ่งใช้หลักในการเจริญวิปัสสนาเหมือนกับกายานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเองที่เป็นการใช้สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ ในลักษณะเดียวกัน 
             กายคตาสติ เป็นการปฏิบัติพระกรรมฐานที่ดีงาม กล่าวคือเป็นการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ที่ประกอบด้วยทั้ง สติ สมาธิ และปัญญา ทั้ง ๓  กล่าวคือ เมื่อมีสติ ย่อมเกิดสมาธิหรือจิตตั้งมั่นจากความสงบระงับจากการปฏิบัติอานาปานสติ หรืออิริยบถ หรือสัมปชัญญะ แล้วนำมาเป็นกำลังในการเจริญวิปัสสนาใน ปฏิกูลมนสิการบ้าง ธาตุมนสิการบ้าง หรือ นวสีวถิกาบ้าง เพื่อให้เห็นความจริงเกี่ยวกับกาย ว่าไม่งาม น่าปฏิกูล ของเหล่ากายทั้งปวง กล่าวคือพิจารณาให้เห็นความจริงที่เป็นไปทั้งในกายตนและในกายผู้อื่น เพื่อยังให้เกิดนิพพิทา จึงบรรเทาหรือดับตัณหาอันเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์,  จัดเป็น ๑ ในอนุสติ ๑๐ ที่ควรระลึกถึงอยู่เนืองๆ
             และทั้งสติและสมาธิที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกายคตาสติอย่างถูกต้องดีงาม ก็ย่อมคือสัมมาสติและสัมมาสมาธิในองค์มรรค(มรรคปฏิบัติที่มีองค์ ๘)  ที่จักพึงยังให้เกิดสัมมาญาณ(สัมมาปัญญา)ในที่สุด อันเป็นมรรคองค์ที่ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐ หรือมรรคมีองค์ ๑๐ ของพระอริยเจ้าเป็นที่สุด
             อนึ่งพึงระวังอาการจิตส่งใน ด้วยส่วนใหญ่เข้าใจผิดไปว่าเป็นการปฏิบัติในกายคตาสติ หรือกายานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔    จิตส่งในนั้นเป็นการปฏิบัติผิด ที่ส่งจิตไปคอยจดจ้องหรือแช่นิ่งอยู่ภายใน คอยเสพรสชาดอันแสนสบายที่เกิดขึ้นจากอำนาจของฌานสมาธิที่ยังให้เกิดความสุข หรือความสงบ หรือความสบายขึ้น (อันมักเป็นไปโดยไม่รู้ตัว หรือเข้าใจผิดๆไปว่าเป็นการปฏิบัติดีที่ถูกต้องแล้ว) จนติดเพลินขึ้นเป็นที่สุด(โดยไม่มีทางรู้ตัว),   ส่วนกายคตาสติและกายานุปัสสนาเป็นสมถวิปัสสนาอันดีงามยิ่ง ที่อาศัยสมาธิเป็นกำลังให้จิตไม่ซัดส่ายหรือดำริพล่านออกไปปรุงแต่งภายนอกและยังประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาให้เห็นความจริงยิ่งเกี่ยวกับกาย เพื่อให้เกิดนิพพิทา คลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
              กายคตาสติสูตร แสดงแนวทางปฏิบัติเป็น ๗ แบบด้วยกัน
        ๑. อานาปานสติ   การมีสติ โดยการใช้สติไปในการพิจารณาลมหายใจเข้าและออก เมื่อกายวิเวกจากสถานที่อันสงัด ดังนั้นเมื่อปฏิบัติอานาปานสติอันย่อมยังให้เกิดจิตวิเวก กล่าวคือละความคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านหรือความดำริพล่านลงไปเสีย  ก็เพื่อเป็นกำลังไปดำเนินการเจริญวิปัสสนาในกายแบบต่างๆ อาทิเช่น ปฏิกูลมนสิการบ้าง ธาตุมนสิการบ้าง หรือนวสีวถิกาบ้าง
        ๒. อิริยาบถ   สติในอิริยาบถต่างๆ อันย่อมยังให้เกิดจิตวิเวกละความคิดหรือความดำริพล่านลงไปเสียได้ ย่อมส่งผลให้ไม่ถูกครอบงำหรือกวัดแกว่งไปเกิดทุกข์ขึ้น  ด้วยจุดประสงค์เดียวกันกับอานาปานสติข้างต้นนั่นเอง
        ๓. สัมปชัญญะ   สติในอิริยาบถที่ต่อเนื่องหรือเนื่องสัมพันธ์ หรือรู้ตัวทั่วพร้อม อันย่อมยังให้เกิดจิตวิเวก ละความคิดหรือดำริพล่านลงไปเสียเช่นเดียวกัน
        ๔. ปฏิกูลมนสิการ   สติและจิตที่ตั้งมั่นขึ้นเหล่านั้นจากการระงับความดำริพล่านลงไปแล้ว  นำมาพิจารณาใส่ใจให้เห็นความจริงเกี่ยวกับกายว่าไม่งาม มีความเป็นปฏิกูลในกาย  เพื่อให้เกิดนิพพิทา จึงคลายความกำหนัด ความมัวเมาความหลงไหลไปทั้งในกายตนแลผู้อื่น
        ๕. ธาตุมนสิการ   สติพิจารณาแบบแยกกาย ที่แลดูเป็นชิ้นเป็นมวลเป็นก้อนเดียวกันนั้นด้วยฆนะ  จึงเป็นมายาล่อลวงจิตให้เห็นผิดไปจากความจริง จึงจำแนกแยกออกให้เห็นความจริงในธาตุ ๔ ให้เห็นความจริงที่ว่า กายสักประกอบมาแต่ธาตุ ๔ ที่เมื่อไม่เป็นสังขารปรุงแต่งกันแล้ว ล้วนแต่ไม่งาม ไม่สะอาด ล้วนปฏิกูล เหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้นทุกบุคคล เขา เรา
        ๖. นวสีวถิกา   สติพิจารณาอสุภะหรือศพในระยะหรือแบบต่างๆ ให้เห็นว่า กายนี้ถ้าทิ้งไว้ดังนี้ ย่อมมีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นจากนี้ไปได้ แม้ในกายนี้ หรือกายใดๆก็ตามที
        ๗. เจริญในฌานต่างๆ  ยามเมื่อสงัดจากกามและอกุศลธรรม กล่าวคือเมื่อทั้งกายวิเวกและอุปธิวิเวก ฌานก็เจริญขึ้นได้,  อุปธิวิเวกหรือสงัดจากกามและอกุศลธรรมจึงสามารถเกิดขึ้นจากการพิจารณากายในข้อ ๔,๕,๖    หรือก็คือเมื่อระงับความดำริพล่านลงไปได้แล้ว ก็นำเอาข้อธรรม ๔,๕,๖ มาเป็นวิตก วิจารในการเจริญฌาน หรือเป็นอารมณ์ในการเจริญสมาธิเสียโดยตรง กล่าวคือวิปัสสนาสมาธิ  โดยการนำปฏิกูลมนสิการ หรือธาตุมนสิการ หรือนวสีวถิกามาเป็นหัวข้อในการคิดพิจารณาอย่างแนบแน่น  แทนคำบริกรรมหรือลมหายใจเลยก็ได้  และสามารถเกิดฌานระดับประณีตต่างๆขึ้นตามลำดับได้เองอีกด้วย


                                                                         ๙. กายคตาสติสูตร


             [๒๙๒]ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้   ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้แล ฯ
             [๒๙๓]ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น  ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะ ที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ นั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง ฯ
             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระองค์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มากนี้  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันในระหว่างของพวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงเท่านี้ พอดีพระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง ฯ
             [๒๙๔]พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กายคตาสติอัน ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
             ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี  นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
(ก็เพื่อให้ทั้งกายและใจมั่นคง ไม่เลื่อนไหลลงสู่ความง่วงงุนซึมเซา หรือภวังค์ง่ายๆ)
ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า  เธอย่อมมีสติ หายใจออก  มีสติ หายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น  หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก  ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท  มีความเพียร  (เมื่อ)ส่งตนไปในธรรมอยู่ อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ 
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [เรียกเฉพาะว่า อานาปานสติ  พึงรู้ระลึกว่า เป็นการใช้สติเป็นสำคัญไปในกายที่หมายถึงลมหายใจอันเป็นกายสังขารอย่างหนึ่ง ที่พรั่งพร้อมทั้งสัมมาสมาธิที่หมายถึงมีความตั้งมั่น  ยังมิได้มีจุดประสงค์ในฌานสมาธิระดับประณีตลึกซึ้ง ในขั้นนี้หรืออานาปานสติจึงควรประกอบด้วยสติ  นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงจะได้ไม่ให้เลื่อนไหลลงภวังค์หรือนิมิตได้ง่ายๆ  เพราะไม่มีเจตนาลงลึกไปในฌานสมาธิในระดับประณีตลึกซึ้งแต่อย่างใด  ถ้าเคลิบเคลิ้มหรือเลื่อนไหลลงภวังค์หรือหลับหรือเกิดนิมิตขึ้นอยู่เสมอๆ ก็อย่าหลับตาให้ลืมตา หรือแม้ลุกขึ้นยืนปฏิบัติก็ยังได้,   อนึ่งพึงสังเกตุว่า เหตุเพราะสติระลึกอยู่กับลมหายใจได้ดี จึงหมายถึงย่อมไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปคิดปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่าน หรือก็คือการละความคิด(ดำริ)พล่านออกไปปรุงแต่งภายนอกกายสังขารคือลมหายใจนั่นเอง  จึงเป็นไปตามหลักเหตุปัจจัยปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง  จิตจึงเป็นธรรมเอกตั้งมั่นได้,   เมื่อพิจารณาโดยแยบคายย่อมได้ทั้งความเพียร สติ สมาธิ และปัญญา]
             [๒๙๕]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังเดิน, 
หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน,  หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง,  หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน,
หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆอยู่ ก็รู้ชัดว่า กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ 
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น  ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ  (อิริยาบถ)
             [๒๙๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไป และถอยกลับ,
ในเวลาแลดู และเหลียวดู,  ในเวลางอแขน และเหยียดแขน,  ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร, 
ในเวลา ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม,  ในเวลาถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ,  ในเวลา เดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น  ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [สัมปชัญญะ คล้ายข้ออิริยบถข้างต้น  แต่มีสติทั่วพร้อมที่ต่อเนื่องคือมีสติเนื่องในกริยาของกายอื่นๆที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันไปด้วย  จึงเหมาะแก่เมื่ออยู่ในกริยาการเคลื่อนไหวต่างๆอยู่  จึงมิใช่อยู่ภายในแต่อิริยบถเดียวเท่านั้นดังข้อต้น
อนึ่งพึงสังเกตุว่าในข้อปฏิบัติทั้ง ๓ ข้างต้น  เป็นการปฏิบัติไปในลักษณะฝึกสติแล้วมีสติเป็นเครื่องอยู่เพื่อละการดำริหรือความคิดพล่านลงเสีย ตามสถานะการณ์แบบต่างๆ   ส่วนในข้อต่อๆไปนั้นเป็นการใช้สติไปในการพิจารณาในกาย คือเจริญวิปัสสนาไปในกายก็เป็นกายคตาสติเช่นกัน
อนึ่งพึงระลึกว่า การปฎิบัติดังนี้ทั้ง ๓ ข้อข้างต้นนี้  เพื่อสติในกายเป็นสำคัญ  จึงไม่ได้เป็นไปในลักษณะของการใช้กายเป็นอารมณ์เพื่อสมาธิเพื่อปีติสุขสงบสบายอันเคลิบเคลิ้มสุขสบายแต่อย่างเดียว ดังเป็นที่นิยมปฏิบัติกันด้วยความไม่รู้ เพราะสามารถกระทำได้เช่นกันและมีการปฏิบัติไปในลักษณะนี้กันมากอีกด้วยโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ เมื่อกระทำไปแล้วเป็นไปในลักษณะเจตนาเพื่อให้เกิดสมาธิหรือฌานหรือองค์ฌานขึ้นแต่ฝ่ายเดียว กล่าวคือ เพื่อให้เกิดเคลิบเคลิ้ม ปีติอิ่มเอิบ, สงบ, สุข ฯ. ในอิริยบถต่างๆนั้น  จึงหลงผิดคิดเอาว่าถูกต้องเพราะมีความสุข,สงบ,สบายเป็นมายาล่อลวง(แต่ก็ถือว่าถูกต้องในแง่ว่าถ้าเป็นการฝึกฌานสมาธิล้วนๆ) จึงเป็นการปฏิบัติผิดในครานี้หรือขั้นนี้ ที่มีวัตถุประสงค์คือสติเป็นสำคัญ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 03, 2013, 09:46:57 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2013, 10:09:42 am »
0
             [๒๙๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้
ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื่อในกระดูก  ม้าม 
หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไต  ปอด  ไส้ใหญ่  ไส้น้อย  อาหารใหม่  อาหารเก่า  (มันสมอง) (ทั้ง ๒๐ คือเหล่าปฐวีธาตุหรือธาตุดินนั่นเอง)
ดี  เสลด  น้ำเหลือง  เลือด  เหงื่อ  มันข้น  น้ำตา  เปลวมัน  น้ำลาย  น้ำมูก  ไขข้อ  มูตร  (ทั้ง๑๒ จัดเป็นอาโปธาตุหรือธาตุน้ำด้วยเช่นกัน)
             [สิ่งต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่ปฏิกูล ไม่งาม แต่เมื่อมาเป็นเหตุปัจจัยประกอบกันเป็นกลุ่มก้อนตัวตนหรือฆนะขึ้น มีผม ขน เล็บ ฟัน หนังอันแสนสกปรกมาปกปิดห่อหุ้ม และยังเป็นมายาเครื่องล่อลวงให้เห็นเป็นไปว่าเป็น มวลรวมหรือตัวตน(ฆนะ)ที่สวยงามขึ้นมาอีกด้วย  แต่เมื่อจำแนกแยกชำแหละออกเป็นส่วนๆด้วยปัญญา ก็ย่อมยังแลเห็นได้ว่าโดยเนื้อแท้แล้ว ล้วนประกอบมาแต่สิ่งที่ไม่งาม เป็นปฏิกูล ไม่สะอาด  และยังล้วนต้องคืนกลับสู่สภาวะเดิมๆด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์ เหมือนกันหมดสิ้นทุกบุคคลเขาเรา - ทวัตติงสาการ]
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้ง ๒ ข้างเต็มด้วยธัญญชาติต่างๆ ชนิด คือ
ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร  บุรุษผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้ว
พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วทอง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ
เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้
ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื่อในกระดูก  ม้าม 
หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไต  ปอด  ไส้ใหญ่  ไส้น้อย  อาหารใหม่  อาหารเก่า  (มันสมอง)
ดี  เสลด  น้ำเหลือง  เลือด  เหงื่อ  มันข้น  น้ำตา  เปลวมัน  น้ำลาย  น้ำมูก  ไขข้อ  มูตร
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ  (แสดงภาพรวม)
             [ปฏิกูลมนสิการ การพิจารณากายให้รู้ความจริงว่า เมื่อแยกแยะชำแหละพิจารณาโดยละเอียดแต่ละส่วนด้วยปัญญาแล้ว จะเห็นส่วนประกอบต่างๆของร่างกายทั้ง ๓๒ (ทวัตติงสาการ) ล้วนไม่งาม ประกอบด้วยแต่สิ่งปฏิกูล ไม่สะอาด   ก็เพราะเมื่อประกอบกันเป็นตัวตนเป็นสังขารร่างกายโดยมวลรวมหรือฆนะแล้ว ก็เกิดมายาล่อลวงให้แลเห็นเป็นไปว่าเป็นสิ่งสวยงาม จึงไม่สามารถแลเห็นตามความเป็นจริงได้
             ฝ่ายไถ้ที่มีปาก ๒ ข้าง อีกปากหนึ่งนั้นก็คือก้นรั่ว ก็ยังนำมาพิจารณาให้เกิดปัญญาได้อีกว่า จึงเติมไม่รู้จักเต็ม จึงกินไม่รู้จักพอ เป็นไถ้อันแสนปฏิกูลสกปรกชนิดที่บรรจุเท่าใดก็ไม่รู้จักเต็ม จึงต้องหมั่นเติมให้เต็มให้อิ่มอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นภาระเวร,เป็นภาระกรรมที่ต้องคอยดูแลต้องรักษาไปตลอดกาลนานจนสิ้นกาละ  ทางหนึ่งพึงเข้าทางปาก อีกทางหนึ่งพึงขับถ่ายออกมา ก็แสนปฏิกูลเหลือกำลัง  ภายในไส้เล็กก็ล้วนคลุกเคล้าเป็นปฏิกูลสั่งสมไปด้วยซากพืช อีกทั้งอสุภะซากศพของสัตว์น้อยใหญ่ทั้งปวง น้ำลาย น้ำย่อย น้ำดี ฯ. คลุกเคล้ากันแลไม่น่าดู เหม็นเปรี้ยวไม่น่าดอมดม ไม่สวยงามประกอบกันแลเป็นปฏิกูลยิ่งนัก ภายในจึงเป็นไปดุจดั่งสุสานใหญ่ที่แสนปฏิกูล ที่หมักหมมกันจนเป็นคูถเป็นมูตรอันยิ่งเน่าเหม็นยิ่งๆขึ้นไปภายในไส้ใหญ่ จนย่อมไม่มีใครอยากลิ้มหรือดอมดมอีกต่อไป เป็นดั่งนี้สิ้นทั้งในกายตนแลผู้อื่นล้วนสิ้น]
             [๒๙๘]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่
ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุลม 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก
(ย่อมทำให้ผู้คนแลเห็น จึงย่อมทำให้ค้าขายได้ง่าย จึงหมายถึงเมื่อชำแหละเป็นส่วนๆแล้วย่อมทำให้พิจารณาได้ชัดง่ายขึ้นนั่นเอง)
ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่
ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [ธาตุมนสิการ การพิจารณาว่ากายทั้งปวง แม้ภายนอกแลว่างดงามด้วยมายาที่มาล่อลวงของฆนะ  แต่ความจริงแล้วล้วนไม่งาม เป็นปฏิกูล สักแต่ประกอบมาจากธาตุ ๔ ดังนี้
ธาตุดิน ที่เป็นของแข้นแข็งอันมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ที่ต่างเมื่อไม่ได้มีการปรุงแต่งใดๆแล้ว ก็ล้วนไม่งาม เป็นปฏิกูล ไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
ธาตุน้ำ ที่หมายถึงเป็น ของเอิบอาบ คือความเป็นของเหลว เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ที่ล้วนปฏิกูล ไม่งามเช่นกัน ที่ต่างเมื่อไม่ปรุงแต่งใดๆแล้วก็ล้วนไม่งามไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
ธาตุลม ความเป็นของพัดไปมา ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้  ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่  ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก  เช่น ลมหายใจอันไม่น่าปรารถนา ลมหมักหมมเหม็นเน่าอยู่ในท้อง ต่างล้วนเน่าเหม็น ล้วนไม่มีใครอยากดอมดม ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
และธาตุไฟ  ความเป็นของเร่าร้อน  สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย และทั้งเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย  สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย  สิ่งที่เป็นเครื่องทำให้แปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว กล่าวคือแปรปรวนของที่กินและลิ้มแล้วให้เป็นพลังงานและสารต่างๆออกมา ย่อมเกิดความร้อนหรือพลังงานและของเสียเน่าเหม็นจากการสันดาปภายในต่างๆเป็นมูตรคูถ เหงื่อ ฯ. ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ  (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของธาตุทั้ง ๔ ใน มหาหัตถิปโทปมสูตร)
หรืออาจพิจารณาว่ากายประกอบขึ้นมาแต่การเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของธาตุทั้ง ๔ มาประกอบกันขึ้น ในแบบอื่นๆในบท ธาตุ๔ หรือมหาภูตรูป]
             [๒๙๙]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า
อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม
จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดามีความเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ
(นวสีวถิกาบรรพ แสดงอาการของศพไว้ ๙ ระยะหรือแบบ)
             [๓๐๐]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า  อันฝูงกาจิกกิน(ลูกนัยตา ฯ)อยู่บ้าง
ฝูงแร้งจิกกิน(เนื้อหนัง ตับ ไต ฯ)อยู่บ้าง  ฝูงนกตะกรุมจิกกิน(ไส้ใหญ่ ไส้น้อย ฯ)อยู่บ้าง  หมู่สุนัขบ้านกัดกิน(แขน ขา ฯ)อยู่บ้าง 
หมู่สุนัขป่ากัดกิน(กัดแทะกระดูก อวัยวะน้อยใหญ่ ฯ)อยู่บ้าง  สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆชนิดฟอนกิน(แทะเล็มส่วนต่างๆทั่วกาย)อยู่บ้าง
จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้   ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
เมื่อภิกษุนั้น ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๓๐๑]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า  ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือดเส้นเอ็นผูกรัดไว้......
             เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้......
             เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูกปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...... 
             เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆ คือ
กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง
กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง
กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง
จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้   ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มี ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ
             [๓๐๒]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งใน ป่าช้า  เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์......
             เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราดเป็นกองๆ มีอายุเกิน ปีหนึ่ง......
             เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า  เป็นแต่กระดูก ผุเป็นจุณ  จึงนำเข้ามาเปรียบ เทียบกายนี้ว่า
แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้  ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             พระสูตรในหัวข้อต่อไปนี้ เป็นการกล่าวถึงฌาน  อันเป็นผลอันพึงเกิดขึ้นร่วมจากการฝึกสติและสมาธิขึ้น  แต่ขอให้พึงระลึกด้วยว่ากายคตาสติ เป็นการฝึกสติ ให้มีความตั้งมั่นหรือต่อเนื่องคือสัมมาสมาธิเป็นธรรมเอกไปพร้อมๆกันนั่นเอง แต่ก็ยังให้เกิดฌานสมาธิในระดับประณีตขึ้นด้วยเป็นธรรมดา,  แต่การปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน มักนิยมปฏิบัติกันในรูปแบบของสมาธิหรือฌานฝ่ายลึกซึ้งสุขสบายแต่ฝ่ายเดียวล้วนๆ กล่าวคือเมื่อถึงเวลาปฏิบัติ ก็มานั่งปฏิบัติสมาธิหรือฌานกันล้วนๆแท้ๆ แล้วเข้าใจว่าปฏิบัติชอบแล้ว ทั้งๆที่เป็นเพียงสมาธิหรืออาจเป็นมิจฉาสมาธิอันให้โทษ ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิในองค์มรรคอันถูกต้องดีงาม,  สาเหตุใหญ่เกิดขึ้นแต่เพราะความไม่รู้(อวิชชา) แล้วในที่สุดจึงได้ติดเพลินไปในความสงบ,ความสุข อันยังความอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยองค์ฌานต่างๆเสียแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา กล่าวคือจึงขาดการฝึกสติ และการเจริญวิปัสสนาดังหัวข้อข้างต้น ด้วยอวิชชาเป็นเหตุ  จึงปฏิบัติแต่สมาธิล้วนๆขาดการฝึกสติและการวิปัสสนา ปฏิบัติคราใดแม้นานเท่าไรมาแล้วก็ตามที ก็ล้วนแต่สมาธิล้วนๆเป็นสำคัญ  จึงทำให้เกิดโทษในลักษณะของการไปติดเพลินไปความสุข,สงบ,สบายในองค์ฌานกันโดยไม่รู้ตัวเป็นที่สุด เป็นจำนวนมาก เป็นส่วนใหญ่ อันคือวิปัสสนูปกิเลส,   ดังนั้นในการปฏิบัติทุกครั้งจึงต้องประกอบด้วยสติ หรือการเจริญวิปัสสนาด้วยทุกครั้ง ฌานสมาธิจึงยังประโยชน์สูงสุดขึ้นได้ คือเป็นเครื่องอยู่หรือวิหารธรรมที่ให้ความอิ่มเอิบ,สุข ตลอดจนย่อมละดำริพล่านที่ก่อทุกข์ ดังที่จะแสดงตามลำดับฌานต่อไปในพระสูตร เยี่ยงนี้จึงจะไม่เกิดโทษจากการไปติดเพลินหรือเพลิดเพลินไปในฌานสมาธิ  จึงเป็นประโยชน์สมดังจุดมุ่งหมายทางพุทธธรรมจริงๆ  เป็นองค์มรรคที่ ๘ คือสัมมาสมาธิ,   สิ่งต่างๆดังนี้ เป็นเรื่องที่พบเห็นและเป็นห่วงมากที่สุดในการปฏิบัติ  จึงได้เขียนและเตือนอยู่เนืองๆ จะได้ปฏิบัติชอบอย่างถูกต้องดีงามสมดังจุดมุ่งหมาย
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2013, 10:11:17 am »
0
             [๓๐๓]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
เข้าปฐมฌาน  มีวิตก  มีวิจาร  มีปีติและสุข  เกิดแต่วิเวกอยู่ 
เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแตวิเวก
ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุข เกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
โรยจุณสำหรับสรงสนาน ลงในภาชนะสำริด แล้วเคล้าด้วยน้ำ ให้เป็นก้อนๆ
ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้น มียางซึมเคลือบ จึงจับกันทั้งข้างใน ข้างนอก และกลายเป็นผลึก(ก้อนใหญ่)ด้วยยาง ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน กันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล
ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแต่วิเวก
ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุข เกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๓๐๔]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร  มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เธอยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก ทั้งในทิศตะวันตก
ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย  และฝนก็ยังไม่หลั่งสายน้ำโดยชอบตามฤดูกาล
ขณะนั้นแล  ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น  แล้วทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น
ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้น ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๓๐๕]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก
ภิกษุเป็นผู้วางเฉย  เพราะหน่ายปีติ  มีสติสัมปชัญญะอยู่  และเสวยสุขด้วยนามกาย 
ย่อมเข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่
เธอยังกายนี้แล ให้ คลุก เคล้า บริบูรณ์  ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน ดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด
ในกอบัวขาบ หรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ 
เนื่องอยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอดและเง่า
ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง 
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริ พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายใน เท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๓๐๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข  เพราะละสุขละทุกข์  และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้  มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล
ไม่มีเอกเทศไรๆแห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้าขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ
ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง แผ่ไปทั่วกายนี้แล
ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ ฯ
             [๓๐๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่า
เจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลไรๆ ก็ตาม (เมื่อ)นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว (ก็)ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยใหญ่ที่ไหลมาสู่สมุทร (ทุกๆ)สายใดสายหนึ่ง(ของแม่น้ำทั้งหลาย)อันรวมอยู่ในภายใน(มหาสมุทรนั้น)ด้วย ฉันใด  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล  ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก ซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่างใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายใน(กายคตาสตินี้)ด้วย ฯ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2013, 10:28:39 am »
0
             [๓๐๘]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่กองดินเปียก  ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะ สำคัญความนั้นเป็นไฉน ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียก หรือหนอ ฯ
             ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
             [๓๐๙]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟทำเตโชธาตุ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็นไม้สีไฟ แล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟทำเตโชธาตุได้ หรือหนอ ฯ
             ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
             [๓๑๐]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำว่างเปล่า อัน เขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือ หนอ ฯ
             ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์ ฯ
             [๓๑๑]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้วทำ ให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบาๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน  ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กลุ่มด้ายเบาๆนั้นจะพึงได้ช่องบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน หรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
             [๓๑๒]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้สดมียาง ทันใดนั้น มีบุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักก่อไฟทำเตโชธาตุ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้สดมียางโน้นเป็นไม้สีไฟ แล้วสีกันไป จะพึงก่อไฟทำเตโชธาตุได้หรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้อารมณ์ ฯ
             [๓๑๓]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง ทันใดนั้น มีบุรุษ มาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้หรือหนอ ฯ
             ภิ. ไม่ได้(เพิ่มขึ้นอีกเลย เพราะความที่มีอยู่ในหม้อกรองอยู่แล้วนั่นเอง)เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ฯ
             [๓๑๔]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำ ให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไป โดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อกรองน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเครื่องรอง บุรุษมีกำลังมายังหม้อกรองน้ำนั้นโดยทางใดๆ จะพึงถึงน้ำได้โดยทางนั้นๆ หรือ ฯ
             ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง นั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
             [๓๑๕]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ในภูมิภาคที่ราบ เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ บุรุษมีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นทางด้านใดๆ จะพึงถึงน้ำทางด้านนั้นๆ ได้ หรือ ฯ
             ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามเจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความ รู้ยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
             [๓๑๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียมม้า แล้วมีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้ง๒ จอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔ แยก นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้ายจับสายบังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอย่อมถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง อันเป็นแดนที่ตนน้อมจิตไปโดยการกระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งนั้นๆ ได้ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ ฯ
             [๓๑๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญ แล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว  ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว  ให้ดำรงอยู่เนืองๆแล้ว  อบรมแล้ว  ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว  พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการ นี้ คือ
             (๑) อดกลั้นต่อความไม่ยินดี และความยินดีได้  ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ  ย่อมครอบงำความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
             (๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้  ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัวครอบงำ  ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย ฯ
             (๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน,  ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย,  ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว  อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้ ฯ
             (๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิต(อันเป็น)เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก ฯ
             (๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้  ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้  เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้  เหาะไปในอากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้  ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากปานฉะนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้  ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ฯ
             (๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ ฯ
             (๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และ บุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ,  จิตมีโทสะก็ รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ,จิตมีโมหะก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ,  จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่,  จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน,  จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าเป็นมหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ,  จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า  หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า,  จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น,  จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ฯ  (เห็นจิตตสังขารหรือมโนสังขาร  หรือก็คือการเห็นเจตสิกคือกลุ่มอาการของจิต)
             (๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้  เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น  แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้  เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้  ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้ ฯ
             (๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณ ดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป จึงได้เข้าถึงอบายทุคติวินิบาต นรก   
ส่วนสัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะ เป็นสัมมาทิฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป จึงได้เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ฯ
             (๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ  ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลายกายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก  เจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว  ทำให้เป็นยานแล้ว  ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว  ให้ดำรงอยู่เนืองๆแล้ว  อบรมแล้ว  ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว  พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้แล ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ


                                                                        จบ กายคตาสติสูตร ที่ ๙
 
เคลัญญสูตร
แสดง สติสัมปชัญญะในเวทนา

อานาปานสติสูตร
แสดงรายละเอียดของอานาปานสติ

สัมมาสติ  สัมมาสมาธิ ที่ใช้ในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
สัมมาสติและสมาธิอย่างไร ที่ใช้ในการปฏิบัติกายคตาสติ  ที่มักเข้าใจกันผิดจนเป็นวิปัสสนูปกิเลส


ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.nkgen.com/486.htm


หากพิจารณาด้วยดีแล้ว การเจริญปฏิบัติใน กายานุปัสสนา และ กายคตาสติ จะเป็นวิธีเดียวกัน แต่เจตนาและมนสิการที่สงเคราะห์ลงในธรรมนั้นต่างกัน เวลาเจริญสมาธิหีือเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ ให้พึงระลึกความมุ่งใจหมายจะทำ แล้วกระทำไว้ในใจ หรือ ใส่ใจในกายคตาสติจักเป็นการดี แลพึงหวังอานิสงส์ในข้อที่ ๑-๖ จากกายคตาสตินั้น เมื่อทำเป็นประจำทุกวันจนชำนาญรู้แจ้งแทงตลอดแล้ว ให้พึงระลึกความมุ่งใจหมายจะทำ แล้วกระทำไว้ในใจ หรือ ใส่ใจในกายานุปัสนา แลพึงหวังอานิสงส์ในข้อที่ ๗-๑๐ ดังนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 03, 2013, 11:20:10 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ