
4. การละนิวรณ์ ( การทำสมาธิ )
อาศัยอริยสังวร อริยสติสัมปชัญญะ อริยสันโดษ พักอยู่ ( นิ่ง ) ในเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตร ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัด สมาธิ
นั่งขัดสมาธิ คือ
ตั้งกายตรง
ดำรงสติเฉพาะหน้า
ละอภิชฌา ในโลก มีใจปราศจาก อภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา
ละพยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสัตว์ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ความมุ่งร้าย
ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนะมิทธะกำหนดแสงสว่าง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนะมิทธะ
ละอุทธัจจะกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจะกุกกุจจะ
ละวิจิกิจฉา ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉา
อุปมา คนไม่มีหนี้ มีทรัพย์เหลือ / คนไข้หนัก แล้วหายป่วย / คนถูกจองจำ และสิ้นโทษ / คนเป็นทาส ได้รับความเป็นไท / คนมีทรัพย์ หาร้านไม่ได้ และหาร้านใช้ทรัพย์ได้
ผลจากการละนิวรณ์
ย่อมเกิดเบิกบานใจ (ปราโมทย์ ) ย่อมอิ่มใจ (ปีติ) กายย่อมสงบ ( กายปัสสัทธิ ) มีกายสงบ ( จิตตปัสสัทธิ) ย่อมได้รับสุข ( สุขสมาธิ ) เมื่อมีความสุข ( ผลสมาธิ เอกัคคตา ) จิตย่อมตั้งมั่น ( เป็นอุปจาระสมาธิ ขึ้นไป )
ต่อไปนี้เป็นการเจริญ สติ+สมาธิ เพื่อพัฒนาให้เป็น สมาธิ
อันบุคคลผู้ไม่เคย เข้าอัปปนาวิถึ ( หมายถึง ตั้งแต่ อุปจาระฌาน จนถึง จตุตถฌาน )ย่อมไม่สามารถที่จะสร้างสมาธิ ได้โดยตรง เพราะกิเลสที่จรเข้ามาแต่ละครั้ง แต่ละครั้ง เป็นเหตุให้เกิดความไม่ตั้งมั่นต่อสมาธิ หลายท่านมีความเข้าใจผิดว่า ต้องไปละนิวรณ์ในสมาธิ แท้ที่จริง การละนิวรณ์นั้น ต้องถูกกระทำก่อนที่จะเป็นสมาธิ พระพุทธเจ้าทรงแสดง ลำดับการละนิวรณ์ก่อน ปฐมฌาน
เมื่อก่อนฉันเองก็ วินิจฉัยผิด คิดว่า การละนิวรณ์จะมีในองค์แห่ง ฌาน แต่แท้ที่จริงเมื่อได้ลองปฏิบัติ จริง ๆ จึงรู้ว่าไม่ใช่ ต้องกลับมาเริ่มลำดับใหม่ ด้วยละการละนิวรณ์ที่ ละตัว สังเกตได้ว่า พระอริยะสารีบุครอัครสาวก ก็ได้สอน นิวรณ์เพิ่มเป็น 8 ตัวด้วยกันและสอนก่อนการทำอานาปานสติ หมายถึงว่า เมื่อบุคคลละนิวรณ์แล้วก็พึงเจริญ อานาปานสติ ไม่ใช่มีนิวรณ์อยู่แล้วไปเจริญอานาปานสติ
ดังนั้นถ้าลำดับปัญหาให้ดี ก็คือ ก่อนที่จะทำสมาธิ ก็ต้องละนิวรณ์ 5 เป็นอย่างน้อยจึงเริ่มต้นภาวนา สมาธิ ไม่ใช่ไปละนิวรณ์ ในการะหว่างดำเนินสมาธิ การสอนอย่างนี้เป็นการสอนไม่ตรงต่อวิธีที่พระพุทธเจ้า ดูจากสามัญสูตรนี้ก็ได้ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสการละนิวรณ์ก่อนเป็นสมาธิ นั่นหมายความว่า ผู้ภาวนา ต้องทำการละนิวรณ์ก่อน นั่นเอง โดยพระองค์ให้สูตรดังนี้
1.ละอภิชฌา ในโลก มีใจปราศจาก อภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา
2.ละพยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสัตว์ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ความมุ่งร้าย
3.ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนะมิทธะกำหนดแสงสว่าง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนะมิทธะ
4.ละอุทธัจจะกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจะกุกกุจจะ
5.ละวิจิกิจฉา ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉา
1.ละอภิชฌา ในโลก มีใจปราศจาก อภิชฌา ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา
อภิชฌาวิสมโลโภ ความโลภเพ่งเล็งอยากได้ ย่อมเป็นอุปสรรคและเป็นตัวสกัดกั้นคุณธรรม หลากหลายประการ การละอภิชฌา นั้นก็คือการทำจิตให้ว่าง เรียกว่า การทำจิตให้บริสุทธิ์ โดยการมองโลกนี้เป็นของว่างเปล่าไม่มีสาระ ไม่มีอะไรน่ายึดถือ สภาวะที่กระทบในขณะนั้น ให้ดับด้วยปัญญา อันเกิดตามสภาวะ ตั้งแต่
1.1 อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ รูป การละภาวนาว่า รูปเป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
1.2 อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ เสียง การละภาวนาว่า เสียงเป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
1.3 อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ กลิ่น การละภาวนาว่า กลิ่นเป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
1.4 อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ รส การละภาวนาว่า รสเป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
1.5 อภิชฌาวิสมโลโภที่เกิดแต่ โผฏฐัพผะ การละภาวนาว่า โผฏฐัพผะ เป็นของว่างเปล่า ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา
ในส่วนนี้ไม่มีสภาวะทางใจเพราะทั้งหมดที่เกิด ๆ ที่ใจอยู่แล้ว ในระหว่างการละ 1.1 อภิชฌาวิสมโลโภ ดังนั้นการทำจิตให้บริสุทธิ์ เป็นคุณสมบัติ ของ สมาธิโลกุตตระ ที่ไม่มีการสอนในศาสนาอื่น ๆ การสอนละนิวรณ์นั้นมีเฉพาะ พระพุทธศาสนา เพราะการละนิวรณ์มีเป้าประสงค์เดียวคือการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ไม่ได้วิงวอนให้บริสุทธิ์ ไม่ได้ต่อรองบนบานให้บริสุทธิ์
2.ละพยาบาท มุ่งประโยชน์เกื้อกูลสัตว์ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ความมุ่งร้าย
พยาปาทะ มีเพราะว่า มีความเห็นแก่ตัว มาก เหตุที่เห็นแก่ตัวมาก ก็เพราะว่า มีอภิชฌามาก นั่นเอง ดังนั้น ธรรมสองประการย่อมเกิดเนื่องซึ่งกันและกัน ถ้าละอภิชฌา ได้ พยาบาทก็จะหมดไป ดังนั้นส่วนสนับสนุนส่วนนี้ ก็คือให้จิตอ่อนน้อมลงต่อความปรารถนาดี ต่อทุกชีวิต เกื้อกูลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ทุกชีวิต การสนับสนุนภาวนาส่วนนี้ก็คือ การสร้างจิตให้เกิดเมตตา นั่นเอง
3.ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนะมิทธะกำหนดแสงสว่าง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนะมิทธะ
ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน อยากนอน ย่อมเกิดแก่บุคคลที่มีความรู้สึกว่า เป็นเวลานอน และเข้าสู่สภาวะนิ่งคือสภาวะทีจิตหยุดการปรุงแต่งวิญญาณ แต่จะเหลือการปรุงแต่ง ที่เป็นอนุสัยเกิดขึ้นดังนั้นเมื่อเราภาวนามาสักระยะหนึ่ง จนกระทั่งจิตเข้าสู่สภาวะ ที่เรียกว่า นิ่ง นั้นการปรุงแต่งภายนอกก็ดับลง เมื่อดับลงก็กลายเป็นความนิ่ง สภาวะนี้เรียกว่า สภาวะ อทุกขมสุข ดังนั้นผู้ภาวนาถ้านิ่งจนเข้าสู่ภวังค์ ก็จะตกภวังค์ไปเรื่อย จนกระทั่งจิตนั้นเข่าสู่ สภาวะที่เรียกว่าหลับ เมื่อหลับก็เข้าสู่สภาวะ การปรุงแต่งด้วยอนุสัย ที่เรียกว่า ความฝัน ดังนั้นเพื่อตัดวงจรไม่ให้ผู้ภาวนามีสภาวะ ตกไปในภวังคจิต พระพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงตรัสให้ผู้ภาวนาระลึกถึง แสงสว่าง ด้วยการกำหนดแสงสว่าง การกำหนดแสงสว่าง ในสภาวะที่กำลังเคลิ้มนั้นไม่สามารถใช้คำภาวนาได้ เพราะยิ่งใช้ก็จะยิ่งหลับ ดังนั้นผู้ภาวนาไม่ต้องนึกหน่วง สภาวะแสงสว่างด้วยการยืน เดิน เว้นจากท่านั่ง หรือ นอน ทันทีเพราะถ้า นั่ง หรือ นอน นั้นก็จะไม่สามารถสู้ ถีนมิทธะ ได้ ดังนั้นต้องลุกขึ้นเดิน ลุกขึ้นยืน กำหนดแสงสว่าง ท่านทั้งหลายจะคิดว่า นี่ไม่ใช่สมาธิ ถูกต้อง เพราะท่านยังไม่ได้ สมาธิ จะเป็นสมาธิได้อย่างไร ตอนนี้หน้าที่คือต้องละนิวรณ์ ทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์ทั้ง 5 ก่อน จะเริ่มภาวนาสมาธิ
4.ละอุทธัจจะกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจะกุกกุจจะ
การละอุทธัจจะกุกุจจะ นั้นละได้พร้อมกับ อภิชฌา วิธีการเดียวกัน แต่เมื่อละอภิชฌาได้ อุปสมะ ความสงบก็จะเกิดขึ้น นั้นหมายถึงความฟุ้งซ่าน รำคาญใจทั้งหลาย ก็จะดับลง เมื่อดับลง ก็เป็นความสงบ
5.ละวิจิกิจฉา ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก วิจิกิจฉา
ความสงสัยมีมากมาย แต่ความสงสัยย่อมดับไป ด้วยการจิตให้บริสุทธิ์บ้าง ให้ละจากภวังค์บ้าง ผู้ภาวนาต้องน้อมจิต นึกถึงชัยชนะที่เกิดขึ้นต่อการละนิวรณ์ที่เกิดขึ้น แม้จะเกิดบ้างไม่เกิดบ้าง ให้จดจำไว้ว่า เมื่อภาวนาตามแบบตามลำดับอย่างนั้น นิวรณ์ก็ดับได้จริงตามนั้น เมื่อระลึกอย่างนี้ ความสงสัยก็จะสิ้นไปโดยไว แม้การดำเนินจิตต่อไป ก็จะมีกำลังศรัทธาในการภาวนาเพิ่มขึ้น ดังนั้นวิจิกิจฉา ละได้ด้วยการระลึกถึงผลการดับนิวรณ์ การเข้าไปสู่บริสุทธิ์ของจิต
สภาวะที่จะเกิด กับ บุคคลในขณะละ นิวรณ์ นี้ มีดังนี้
1. ถึงซึ่งอารมณ์ แห่งความว่าง
2. โอภาสย่อมเกิด
3. องค์แห่งฌาน เกิดขึ้นสลับกัน แม้ไม่กำหนดว่าเป็นสมาธิ ก็สามารถ มีปีติได้บ้าง มีปัสสัทธิบ้าง
4. ถ้าน้อมใจไปวิปัสสนามาก แตจะเกิดจากการฝึกฝนไปในทางสติ อุปจาระสมาธิ จะเปลี่ยนเป็นแสงสว่าง สีขาวสว่าง ไม่มีนิมิตใด ๆ ให้กำหนดจิตจะแสวงไปสู่ ความสงบอย่างเดียว ไม่มุ่งเรื่องสมาธิ แต่มุ่งที่การละกิเลส ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่า เข้าสู่โสดาปัตติมรรค ฝ่ายปัญญาวิมุตติแล้ว ไม่มีวิธีแก้ไขา กลับมาเป็น เจโตวิมุตติได้ การฝึกสมาธิไม่สามารถกระทำ ปฐมฌานได้ต่อไป แต่ได้อำนาจสมาธิ อุปจาระสมาธิ ที่มีนิมิต สีขาวสว่าง เป็นรางวัลอย่างถาวร
5. สำหรับผู้ที่จะได้เป็นเจโตวิมุิตตินั้น จะได้ อุคคหนิมิต ก่อนที่จะเริ่มภาวนากรรมฐาน อื่น ๆ อุคคหนิมิตที่เกิด มีสภาพแตกต่างกันไปตาม อนุสัยบารมี ที่สั่งสมกันมา บ้างก็เป็น พระพุทธรูป บ้างก็เป็นดวงแก้ว บ้างก็เป็นวัตถุสี่่เหลี่ยม แวววาว ทั้งหมดนี้แท้ที่จริง คือ นิมิตที่เป็นอุปาทาน จากอนุสัย เป็นสภาวะที่แสดงจิตใจของผู้ละนิวรณ์ ได้ก่อนเป็นสมาธิ นั่นเอง
เจริญธรรม / เจริญพร
( ใครมีบุญวาสนา อ่านเข้าใจ และทำได้ ขอ อนุโมทนา )