ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ครูนภา
หน้า: [1] 2 3 4
1  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / มูลนิธิกลุ่มศรัทธาธรรมให้บริการที่จัดอบรมคุณธรรมและจริยธรรมพร้อมที่พัก เชียงใหม่ เมื่อ: มกราคม 03, 2013, 10:12:06 am
มูลนิธิกลุ่มศรัทธาธรรมให้บริการที่จัดอบรมคุณธรรมและจริยธรรมพร้อมที่พักสำหรับหน่วยงานหรือองค์กร สถาบันการศึกษา

http://saddhadhamma.org/2010/index.php?option=com_content&view=article&id=47:2011-11-30-12-31-48&catid=2:2010-10-05-11-13-43&Itemid=3

พร้อมวิทยากรที่มีความรู้ในด้านการอบรมคุณธรรมจริยธรรม

โดยทางศูนย์มีอาคารเอนกประสงค์ ลานกางเต๊นท์ และ เครื่องนอนพร้อมห้องน้ำอย่างดีไว้ต้อนรับผู้ที่ต้องการจัดการอบรม ผู้ที่มีความประสงค์จะจัดอบรมหรือติดต่อขอใช้สถานที่ ติดต่อได้ที่

คุณพรพรรณ สุจริตวณิช
 โทรศัพท์ โทร. 08-9755-4399 หรือ 08-6420-5590

หรือ Email: udc.cm@hotmail.com








2  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส มาศึกษาพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 09:56:07 am

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.palungdham.com

๗.พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร เดิมเกิด จังหวัดอุบลราชธานี อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๔ วัดคำบง (มหานิกาย) จ.อุบลราชธานี ท่านสัญจรจาริกมาด้วยกันสามองค์คือ
๑.พระภิกษุมั่น
๒.พระภิกษุสิงห์ (คนละองค์กับ พระอาจารย์สิงห์)
๓, พระภิกษุจัน มาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)
จำพรรษาที่วัดพลับหนึ่งพรรษา จบเบื้องต้น ๔ ห้องพระกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ ทั้งสามท่านจบ ปีติ-ยุคล-สุข-อานาปานสติ
ต่อมาพระสังวรานุวงศ์เถร(เอี่ยม) ได้แนะนำฝากตัวให้พระภิกษุมั่น-พระภิกษุสิงห์-พระภิกษุจัน
ไปศึกษาต่อกับ พระอาจารย์เสาร์ กันตะสีโร จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นศิษย์เรียนกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดพลับมาแต่เดิม
3  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่ขาว ( วัดถ้ำกลองเพล ) ก็มาศึกษาพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 09:50:29 am


พระภิกษุขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล
เกิดพ.ศ.๒๔๓๐ บรรพชาอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๕๑ ที่ จ.อุบลราชธานี

เดินทางมาวัดราชสิทธิ์ (พลับ) เมื่อท่านมานั้นออกพรรษาแล้ว
มาขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เอี่ยม)

ซึ่งเวลานั้นท่านเจ้าคุณพระสังวรานุวงศ์เถร(เอี่ยม) ชราภาพมากแล้ว จึงให้พระภิกษุขาวไปแจ้งพระกรรมฐาน กับพระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) ครั้งเป็นพระครูสังวรสมาธิวัตร (ชุ่ม) พระคณาจารย์เอก แต่เวลานั้น พระครูสังวรสมาธิวัตร (ชุ่ม) เตรียมตัวที่จะออกสัญจรจาริกธุดงค์ จึงนำพระภิกษุขาวไปแจ้งพระกรรมฐาน กับพระครูสังวรสมาธิวัตร (แป๊ะ) ครั้งเป็น พระแป๊ะ

  พระภิกษุขาวศึกษาพระกรรมฐาน อยู่ประมาณปีเศษ
ก็จบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ออกพรรษาแล้วอีกปี จึงเดินทางกลับบ้านเกิด
4  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / ทำเนียบ ศิษย์กรรมฐาน ยุคครูปัญญาวุธคุณ (สำอางค์) เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 09:35:01 am
ทำเนียบ ยุคครูปัญญาวุธคุณ (สำอางค์)

คณะศิษย์นวกะคณะ๕ ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๐๙ ถึงพ.ศ. ๒๕๓๙

พระครูสังฆรักษ์วีระฐานวีโร ( พระครูสิทธิสังวร ) เจ้าคณะ 5 วัดราชสิทธาราม
พระวัลลภ ทีปธัมโม,
(ลูกศิษย์ส่วนใหญ่ เป็น อุบาสก-อุบาสิกา)
พระปัญญา วัดนก
พระอาจารย์บัง วัดเขาสิทธิญาณ
พระอาจารย์สุพจน์ สำนักป่าช้า จ.อุดร
พระอาจารย์นิด คณะศิษย์กรรมฐานกรุงเทพฯ นนทบุรีฯลฯ




ทำเนียบ ยุคพระครูญาณสิทธิ (เชื้อ)
พระธรรมคุณาภรณ์ (เจียร ปภัสสโร) วัดอรุณราชวราราม
คณะสงฆ์วัดอรุณ
พระราชอริยสรีราจารย์ พร้อมคณะสงฆ วัดสังข์จาย
คณะสงฆ์วัดท่าพระ
คณะสงฆ์วัดดีดวด
คณะสงฆ์วัดเจ้ามูล
คณะสงฆ์วัดหงส์
คณะสงฆ์วัดท้ายตลาด
คณะสงฆ์วัดประดู่
พระปลัดบุญส่ง ปัญญาวุโธ วัดพระนอน สุพรรณบุรี
พระครูปัญญาวุธคุณ (สำอาง) วัดราชสิทธาราม



พระครูสิทธิสังวร เจ้าคณะ 5 วัดราชสิทธาราม


ขอบคุณข้อมูล รูปภาพจาก สำนักศูนย์กลางพระกรรมฐาน วัดราชสิทธาราม
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / รูปหล่อ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ( จีวรลายดอกพิกุล ) วัดราชสิทธาราม คณะ 5 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2012, 01:51:25 pm














รายละเอียกการจัดสร้างยังไม่ทราบนะคะ เห็นในเว็บ เฟคบุ๊คของหลวงพ่อพระครูคะ นำมาให้ท่านทั้งหลายได้ชื่นชม หากใครสนใจก็ติดต่อสอบถาม หลวงพ่อพระครูกันเอาเองนะคะ

 ที่มา จากลิงก์ด้านล่างคะ

http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon
6  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / เปลี่ยนชื่อเป็น user เป็นภาษาไทย ถ้าต้องการล็อกอินภาษาไทย ได้หรือไม่คะ เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2012, 11:20:53 am
เรียนผู้ดูแลบอร์ด
เปลี่ยนชื่อเป็น user เป็นภาษาไทย ถ้าต้องการล็อกอินภาษาไทย ได้หรือไม่คะ
ต้องทำอย่างไรบ้างคะ

 ตอบด้วยคะ
 :c017: :c017: :c017:
 
7  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กระทบแอลพีจี-ค่าแรงขึ้นโรงงานเซรามิกปลด 5,000 คน เมื่อ: มิถุนายน 29, 2012, 09:52:39 am
นายธนโชติ วนาวัฒน์ นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง เปิดเผยว่า
การปรับราคาก๊าซแอลพีจีและอัตราค่าแรงค่าจ้างขั้นต่ำเป็นปัจจัยหลักของปัญหาดังกล่าว
 ทำให้ขณะนี้ มีโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่เริ่มปิดตัวไปแล้วถึง 3 แห่ง แรงงานตกงานแล้วจำนวนกว่าห้าพันคน จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เชื่อว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะยังคงวิกฤตอย่างต่อเนื่อง โรงงานต่างๆ จะทยอยปิดตัวลงไปอีกเพราะขาดสภาพคล่อง ส่วนแรงงานเซรามิกขณะนี้ ตกงานและถูกลอยแพกันแล้ว ซึ่งนายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปางได้วิงวอนไปยังรัฐบาลและกระทรวงพลังงานให้เข้ามาดูแลช่วยเหลืออุตสาหกรรมเซรามิกลำปางที่กำลังประสบปัญหาอย่างเร่งด่วน


8  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทึ่งเด็กชายสวด “คาถาชินบัญชร” ได้จบตั้งแต่ ๓ ขวบ เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2012, 10:30:52 am
ทึ่งเด็กชายสวด “คาถาชินบัญชร” ได้จบตั้งแต่ ๓ ขวบ

ขอบุคณภาพประกอบจาก http://www.dhammajak.net/

นักสวดจิ๋ว - ด.ช.ตรีภพ ชุมใหญ่ วัย ๗ ขวบ สวด “คาถาชินบัญชร” จบบทตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ ในภาพขณะท่องให้สรพงศ์ ชาตรี ผู้เลื่อมใสสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ฟัง

ทึ่งเด็กชายสวดมนต์ สวดคาถาชินบัญชรได้จบตั้งแต่ ๓ ขวบ พ่อเผยเริ่มจากสวดตามจนท่องจำได้หมด เมื่อตอนเด็กเคยพาไปวัดที่ “สรพงศ์ ชาตรี” อุปถัมภ์ที่สีคิ้ว มีโอกาสท่องชินบัญชรให้พระเอกชื่อดังฟัง และได้รับคำชมเป็นเด็กอัจฉริยะ จนวันนี้อายุ ๗ ขวบก็สวดได้อีกหลายคาถา แถมชอบทำบุญ ความคิดโตกว่าเด็กวัยเดียวกัน

วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ผู้สื่อข่าวได้รับทราบว่า ที่บ้านเลขที่ ๗๖๖/๖๓ หมู่บ้านกฤษณา ต.บ้านเลื่อม อ.เมือง จ.อุดรธานี มีเด็กชายวัย ๗ ขวบ มีความเป็นอัจฉริยะเกินเด็ก สามารถสวดมนต์ได้หลายบทคาถา โดยเฉพาะพระคาถาพระชินบัญชร จึงไปตรวจสอบ

เมื่อไปถึงบ้านพบเด็กคนดังกล่าว คือ ด.ช.ตรีภพ ชุมใหญ่ หรือน้องอันดามัน อายุ ๗ ขวบ นักเรียนชั้น ป.๑ โรงเรียนอุดรคริสเตียนวิทยา อ.เมือง อุดรธานี เป็นบุตรนายตรีธนะ ชุมใหญ่ ผู้จัดการโรงแรมนภาลัย ต.หมากแข้ง อ.เมือง อุดรธานี กับนางสิริญาณ์ ชุมใหญ่

นายตรีธนะกล่าวว่า สมัยที่ตนยังเด็กได้รับการปลูกฝังให้รู้จักทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม และกราบไหว้บูชาพระ เมื่อแต่งงานและมีน้องอันดามัน ตนและภรรยาก็จะพาไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ ต่อมาเมื่อน้องอันดามันอายุได้ ๓ ขวบ ก็เริ่มติดตามเข้ามาสวดมนต์ในห้องพระที่บ้าน และก็ต้องประหลาดใจเมื่อเห็นน้อง อันดามันสามารถสวดมนต์ได้ทั้งๆ ที่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ โดยใช้วิธีจำจากที่ตนสวดมนต์ เมื่อเห็นลูกชายสวดมนต์ได้ จึงได้สอนให้สวดมนต์คาถาต่างๆ โดยเฉพาะพระคาถาชินบัญชร ซึ่งน้องอันดามันก็สามารถสวดได้อย่างถูกต้อง

นายตรีธนะกล่าวต่อว่า วันหนึ่งขณะขับรถไปทำธุระที่ กทม. ได้นำน้องอันดามันขณะนั้นอายุเพียง ๓ ขวบไปด้วย ตอนขากลับก็ได้พากันแวะไปกราบไหว้รูปหลวงพ่อโต ที่วัดบ้านโนนกุ่ม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา หรือที่เรียกกันว่า วัดสรพงศ์ และได้มีโอกาสพบกับสรพงศ์ ชาตรี ดาราชื่อดังที่เป็นผู้สนับสนุนวัด น้องอันดามันได้สวดพระคาถาชินบัญชรให้สรพงศ์ฟัง ทำให้สรพงศ์ทึ่งมาก !! รู้สึกแปลกใจว่าเด็กอายุแค่ ๓ ขวบสามารถสวดคาถาชินบัญชรได้ จึงได้บอกกับตนว่าให้เลี้ยงเด็กคนนี้ให้ดีเพราะเป็นเด็กอัจฉริยะ และเมื่อช่วงวันสงกรานต์ที่ผ่านมาก็ได้ไปไหว้หลวงพ่อโตอีกครั้ง ก็ได้พบกับสรพงศ์ และก็ได้สวดคาถาชินบัญชรและสวดมนต์บทต่างๆ ให้สรพงศ์ได้ฟังอีกครั้ง ทำเอาผู้คนที่มากราบไหว้หลวงพ่อโตอยู่บริเวณนั้นถึงกับอึ้งกันไปตามๆ กัน และพากันนิ่งเงียบเพื่อฟังเสียงสวดของน้องอันดามัน

นายตรีธนะกล่าวอีกว่า เมื่อน้องอันดามันอายุ ๖ ขวบ จ.ขอนแก่น ได้จัดประกวดโครงการสืบสานวัฒนธรรมขึ้น จึงพาน้องอันดามันไปสมัครแต่อายุของน้องไม่ถึง จึงไม่ได้เข้าประกวดด้วย แต่เมื่อเดินทางไปถึงแล้วได้ขอให้คณะกรรมการชมความสามารถ หลังจากที่คณะกรรมการได้ฟังน้องอันดามันสวดคาถาชินบัญชร และสวดมนต์ต่างๆ แล้ว ก็อนุญาตให้ร่วมแข่งขันด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องไม่ค่อยพบที่จะมีเด็กอายุ ๖ ขวบสามารถสวดมนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว

นายตรีธนะกล่าวด้วยว่า สำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของน้องอันดามัน จะชอบทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ ด้านการเรียนเป็นเด็กที่มีผลการเรียนดีมาตลอด มีความคิดที่โตเร็วกว่าเด็กวัยเดียวกันและกล้าแสดงออก บางครั้งก็ต้องแปลกใจเมื่อเห็นลูกชายกล้าเข้าไปพูดคุยสนทนาภาษาอังกฤษกับนัก ท่องเที่ยวชาวต่างประเทศโดยไม่เกรงกลัวแต่อย่างใด

ที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน
9  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2012, 12:20:30 pm
ปีติ เวลากำหนด พระลักษณะ และ พระรัศมี นั้นจะเกิดทุกครั้งหรือไม่ ?
 คือสงสัยว่า ปีติ ต้องเกิดตามลำดับ ที่เราตั้ง ฐานจิต หรือไม่ ?

 หรือว่า จะเกิดขึ้นไปตาม จริต และ บารมีเดิม คืออาจจะไม่เกิดในฐาน จิต นั้น ๆ แต่เกิดในฐานจิต อื่น ๆ

  :c017:
10  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บุคคลที่เป็นเหมือน บัวพ้นน้ำ ไม่ติดโลกธรรม 8 ประการ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2012, 09:06:00 am
[๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรมมีอยู่ในโลก พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ทราบชัดโลกธรรมนั้น ครั้นแล้วย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น.

        ก็โลกธรรมในโลก พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ทราบชัดโลกธรรม ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก  กระทำให้ตื้นนั้น คืออะไร?

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ รูปเป็นโลกธรรมในโลก พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ทราบชัดโลกธรรมนั้น ฯลฯ กระทำให้ตื้น.
 
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลใด เมื่อพระตถาคตบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกกระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็น เราจะกระทำอะไรได้กะบุคคลนั้น ผู้เป็นปุถุชนคนพาลบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ ไม่เห็น. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นโลกธรรมในโลก พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ทราบชัดโลกธรรมนั้น ครั้นแล้ว ย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้งเปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น. บุคคลใด เมื่อพระตถาคตบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่รู้ ไม่เห็น เราจะกระทำอะไรได้กะบุคคลนั้นผู้เป็นปุถุชนคนพาล บอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ ไม่เห็น.

[๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบลก็ดี ปทุมก็ดี บุณฑริกก็ดี เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ขึ้นพ้นจากน้ำตั้งอยู่ แต่น้ำไม่ติด แม้ฉันใด. พระตถาคตเกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก ย่อมครอบงำโลกอยู่ แต่โลกฉาบทาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

        จบ สูตรที่ ๒.
พระไตรปิฏกเล่มที่ 17



หมายเหตุ [๓๔๗] โลกธรรม ๘ อย่าง
   ๑. มีลาภ
   ๒. ไม่มีลาภ
   ๓. มียศ
   ๔. ไม่มียศ
   ๕. นินทา
   ๖. สรรเสริญ
   ๗. สุข
   ๘. ทุกข์ ฯ
พระไตรปิฏก เล่มที่ 11




11  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มูลศิริ ลูกชาย ของ สุนัขที่หมิ่นพระพุทธเจ้า อยากอ่านเรื่องนี้ เมื่อ: กันยายน 25, 2011, 02:34:47 pm
มูลศิริ ลูกชาย ของ สุนัขที่หมิ่นพระพุทธเจ้า อยากอ่านเรื่องนี้
ใครหาให้อ่านได้บ้างคะ พอดีได้รับฟังใน RDN คะ

 แล้วคิดขึ้นมาได้ว่า คนที่หมิ่น ปรามาสพระพุทธเจ้า แล้วไปเกิดเป็นสุนัข แล้ว ขนาดเป็นสุนัข ก็ยังไปเห่าอีก

 อยากให้คนที่คิดปรามาส พระพุทธเจ้าได้ตระหนักในเรื่องนี้บ้างคะ

  :25: :25: :25:
12  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ร่วมปฏิบัติธรรมเดือนกันยายน 54 ระหว่างวันที่ 24-25/9/54 วัดราชสิทธาราม คณะ 5 เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 10:22:45 am
ร่วมปฏิบัติธรรมเดือนกันยายน 54 ระหว่างวันเสาร์ที่ 24-วันอาทิตย์ที่ 25 โทร.084-651-7023

กำหนดการ 24-25 กันยายน 54

ลงทะเบียน วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 54 เวลา 09.00-10.00 น.

     ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ซอยอิสรภาพ 23 บางกอกใหญ่ กรุงเทพ

 ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ โทร.084-651-7023  รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่าน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน  2554 แรม 12 ค่ำ เดือน 10

เวลา  09.00-10.00           ลงทะเบียน รับศีล ขึ้นกรรมฐาน

 เวลา 10.000-11.00           รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00-14.00           ฟังธรรมบรรยาย ถามปัญหา พักดื่มน้ำปานะ

เวลา 14.00-16.30            เจริญจิตภาวนา เดินจงกรม อาบน้ำ  ทำธุระส่วนตัว

เวลา 16.30-17.00            ทำวัตรเย็น   ปฏิบัติธรรม

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554 แรม 13 ค่ำ เดือน 10

เวลา  06.30 - 07.00           ทำวัตรเช้า  รับประทานอาหารเช้า

เวลา 07.000 -11.00          นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา  13.00-14.00           ฟังบรรยายธรรม

เวลา 16.30-17.00            ญาติโยมทำวัตรเย็น   ลาศีล กลับบ้าน

13  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมสมทบทุนเททองหล่อพระสังกัจจายน์-พระอุปคุตเถร วัดราชสิทธารม คณะ 5 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2011, 05:44:38 pm
เชิญร่วมสมทบทุนเททองหล่อพระสังกัจจายน์-พระอุปคุตเถร

 ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมเททองหล่อพระสังกัจจายน์ -พระอุปคุตเถรเจ้า
 ประดิษฐานไว้ที่ คณะ 5  วัดราชสิทธาราม (พลับ)
  ตำบลวัดอรุณ อำเภอบางกอกใหญ่   กรุงเทพฯ

ในวันที่ 4 กันยายน 2554   
เวลา 07.19 น. พบกันที่วัดราชสิทธาราม รถออกไปโรงหล่อพระ  วิจิตรทัศนา 
(โรงหล่อนี้อยู่หลังวัดธรรมศาลา นครชัยศรี) เททองหล่อพระเวลา   
09.19 น. หล่อเสร็จเดินทางกลับวัดราชสิทธาราม โทร. 084-651-7023


โอนเงินเข้าบัญชี เลขที่ 067-2-83847-9 ธ.กสิกรไทย สาขาโพธิ์สามต้น
ชื่อบัญชี วีระ สุขมีทรัพย์


อานิสงส์การจัดสร้างหล่อพระพุทธรูปหรือ หล่อรูปเหมือนอริยสงฆ์

1.อกุศลกรรมในอดีตชาติปางก่อน เปลี่ยนจากหนักเป็นเบา และ เป็นสูญ

2.สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายปวงภัยไม่มี คิดร้ายไม่สำเร็จ

3.เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปางก่อน เลิกจองเวร

4.เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษเสือร้ายไม่อาจเป็นภัย

5.จิตใจสงบ ราศรีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล รุ่งเรืองก้าวหน้า ผู้คนนับถือ

6.มั่นคงในคุณธรรม ความสมบูรณ์ปรากฎ ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน

7.คำกล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา หนี้สินหมดไป

8.คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็น

9.พ้นจากมวล อกุศล เกิดใหม่เกื้อหนุน มีปัญญาเลิศล้ำ บุญกุศลเรืองรอง

10.สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิตแก่ทุกคนที่ได้พบเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่างอเนกทุกชาติ..........

หมายเหตุ

เดือนกันยายน 54 ระหว่างวันเสาร์ที่ 24-วันอาทิตย์ที่ 25 มีปฏิบัติธรรมที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม

ประกาศโดย พระครูสิทธิสังวร


http://www.somdechsuk.org/node/173
14  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ปฏิทินปฏิบัติธรรม ภาวนากรรมฐาน วัดราชสิทธาราม คณะ 5 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2011, 05:42:33 pm
มีปฏิบัติธรรม ตามแนวสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ทุกวัน และกำหนดปฏิธรรมทุกเดือน ปี54

ซื่อสัตย์ กตัญญู รู้ทันกิเลส ขยันขันแข็ง เสมอต้นเสมอปลาย ช่วยกันผดุงรักษา
email address  พระครูสิทธิสังวร ( หลวงพ่อวีระ ) โทร.084-651-7023
weera2548@yahoo.co.th


มีปฏิบัติธรรม ตามแนวสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ทุกวัน

ไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์

ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด

กำหนดเวลา

ตั้งแต่ 09.00 น.- 19.00 น. ทุกวัน

 

กำหนดปฏิบัติธรรมประจำทุกเดือน ปี 2554

   สิงหาคม 54  ระหว่างวันที่ สิงหาราชินีที่ 12 -วันเสาร์ที่ 13 วันอาทิตย์ที่ 14

   กันยายน 54           ระหว่างวันที่   วันเสาร์ที่ 24-วันอาทิตย์ที่ 25

   ตุลาคม   54           ระหว่างวันที่    วันเสาร์ที่ 22-วันอาทิตย์ที่ 23

   พฤศจิกายน 54      ระหว่างวันที่    วันเสาร์ที่ 26-วันอาทิตย์ที่ 27

 

   ธันวาคมคม 54       ระหว่างวันที่        วันเสาร์ที่ 3-วันอาทิตย์ที่ 4  วันเฉลิมที่5

   ส่งท้ายปีเก่า วันที่ 31 ธ.ค.54 ต้อนรับปีใหม่วันที่ 1 ม.ค. 55


 

http://www.somdechsuk.org/node/161




15  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / สดุดี มหาราชินี เนื่องด้วยในวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.2554 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 11:49:00 am


ตามที่พระอาจารย์ได้มอบหมายคะ
16  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญร่วมงาน เวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 34 วันที่ 25 ส.ค.2554 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 10:09:46 am
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอเชิญร่วมงาน เวทีจิตตปัญญาเสวนา ครั้งที่ 34
เรื่อง "สูญเสีย...ไม่เสียศูนย์"
ในวันที่ 25 สิงหาคม 2554  เวลา 9.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุม 4209  ชั้น 2  อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล (อาคาร 4)
โดย  รศ.ดร.โสรีช์   โพธิแ้ก้ว

กำหนดการ
8.30-9.00 น.         ลงทะเบียน
9.00-10.15 น.      การทำความรู้จักกับธรรมชาติของจิตใจ
10.15-10.30 น.    รับประทานอาหารว่าง
10.45-11.30 น.    การเผชิญกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของชีวิตอย่างมั่นคง
11.30-12.00 น.    สนทนา  แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผู้ที่สนใจติดต่อ
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
โทร 02-441-5000 ต่อ 4302-5  หรือ 08-5331-9482
ภายในวันที่ 22 สิงหาคม 2554


http://sph.thaissf.org/?module=calendar&page=detail&id=169
17  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปล่อยวาง คือ สิ่งใดกันแน่ ภาพการ์ตูน เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 10:02:34 am















มาจากเมล นะจ๊ะ เสริมภาพสุดท้ายให้สมบูรณ์
18  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การ์ตูนสั้น ตอน "ขอพร" เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2011, 12:19:21 pm













ไม่รู้ที่มาว่าใครวาดนะคะ ( ห้ามถามมากับเมล )
19  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.ybat.org ยุวพุทธิกสมาคม คะ เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2011, 10:12:38 am


http://www.ybat.org
ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย

อีกสถานที่ ๆ มีการฝึกสอนปฏิบัติธรรม ที่ดีคะ


20  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญร่วมฟัง"สุขแท้อยู่ในตน" โดยพระคันธสาราภิวงศ์ 29 พ.ค.2554 ยุวพุทธบางแค เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2011, 10:04:06 am
ขอเชิญร่วมฟัง"สุขแท้อยู่ในตน" โดยพระคันธสาราภิวงศ์

 วันอา. ๒๙ พ.ค.๕๔

 ๑๓. - ๑๖.๐๐ น. ยุวพุทธ


สุขแท้อยู่ในตน

ขอเชิญร่วมฟังธรรมบรรยาย โครงการจิตใส ใจสบาย

เรื่อง "สุขแท้อยู่ในตน"

โดยพระคันธสาราภิวงศ์

ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔

เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.




ณ อาคารธรรมนิเวศ ยุวพุทธฯ บางแค

โทรสำรองที่ 02 4552525

ไม่มีเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และยังมีสื่อธรรมะ และ เครื่องดื่ม อาหารว่างฟรีหลังฟังธรรม

ห้องฟังธรรมเป็นห้องปฏิบัติธรรมภาวนาของยุวพุทธ ใหญ่ กว้าง ปรับอากาศ

สถานที่สวยงาม สงบ และศักดิ์สิทธิ์ เปี่ยมด้วยบูญกุศลทุกอณูอากาศ

หมายเหตุ

โปรดเดินทางโดยรถสาธารณะ เนื่องจากที่จอดรถมีน้อยมากไม่เพียงพอ

ขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่สนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมคะ



http://www.ybat.org
21  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อยู่อย่างไรกับ…ความเครียด (จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี) โดย ผศ.จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2011, 10:33:41 am

อยู่อย่างไรกับ…ความเครียด (จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี)
โดย ผศ.จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง

คำ ถามที่มักจะถูกถามอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ป่วยเอง ญาติผู้ป่วยหรือแม้แต่คนที่รู้จักกันก็ตาม คือทำอย่างไรดีถึงจะหายเครียด หรือทำอย่างไรที่จะไม่ให้คิดมาก บางคนที่ถามก็อาจมีเรื่องราวเดือดร้อนใจหรือกลุ้มใจอยู่ก่อนแล้ว แต่บางคนก็ถามเพื่อเป็นข้อมูลที่เก็บเอาไว้ประดับความรู้ เพราะฉะนั้นคำตอบก็ย่อมแตกต่างกันไป

แน่นอน ที่คำตอบนั้นคงจะต้องขึ้นกับเรื่องราวของแต่ละคนว่าเรื่องของความ กลุ้มใจนั้นเป็นอย่างไร ทำนองว่าเรื่องของใครก็เป็นเรื่องของคน ๆ นั้น แต่อย่างไรก็ตามก็พอมีหลักบางอย่างอยู่บ้าง ที่พอจะช่วยให้เราเตรียมตัวหรือรับมือกับความเครียดหรือเรื่องกลุ้มใจได้ดี ขึ้น

ก่อนที่จะพูดถึงแนวทางต่าง ๆ นั้น คงต้องขอบอกข้อมูลบางอย่าง เพื่อจะได้เป็นที่เข้าใจ ให้ตรงกันเสียก่อนเกี่ยวกับเรื่องความเครียดก็คือ  อย่าง แรกความเครียดจะเกิดขึ้นกับคนเราได้อยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ที่รู้สึกกันได้บ่อยก็คือ เรื่องที่ทำให้ทุกข์แต่จริงๆแล้วเรื่องที่ดูเหมือนจะทำให้มีความสุขนั้นก็จะ ทำให้เครียดได้เหมือนกัน

ไม่ว่าจะเป็นการถูกล๊อตเต อรี่รางวัลที่หนึ่ง การสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ หรือแม้แต่การพักผ่อนหยุดงานเป็นระยะเวลานานๆเป็นต้น อีกเรื่องหนึ่งคือหลายคนมักจะพูดเชิงถาม ว่าทำอย่างไรดีถึงจะไม่ให้คิดหรือลืมเรื่องนั้น ๆ ไปได้ เพราะคิดถึงทีไรก็ไม่สบายใจทีนั้น ความจริงแล้ว คงลำบากที่จะทำแบบนั้นเพราะสมองคนเราไม่เหมือนเทป ที่จะสามารถลบข้อความหรือภาพบางอย่างที่เราไม่ต้องการได้ อย่างไรความทรงจำก็จะต้องมีอยู่ และเราก็ต้องมีชีวิตอยู่กับความทรงจำนั้นให้ได้ครับ เราจะต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้ได้ คงเป็นเรื่องที่ไม่ดีเอาเสียเลย ถ้าต้องมีชีวิตอยู่ไปแล้วก็ต้องขมขื่นไป เราคงต้องปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างในตัวของเรา เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ไม่ฟุ้งซ่าน

แนว ทางต่าง ๆ ต่อไปนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยประคับประคองให้เราอยู่ได้ท่ามกลางความเครียด ความสับสน ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราก็เป็นเรื่องที่หลาย ๆ ท่านก็คงรู้อยู่ เพียงแต่จะพยายามรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่เรื่องเดียวกันให้มากขึ้นเท่านั้น ลองพิจารณาดูนะครับ

  ตั้งสติกับตัวเองให้ได้  เวลา ที่คนเราเกิดความเครียด หลายคนมักจะตั้งตัวไม่ทันปล่อยใจไปกับสิ่งเหล่านั้น คิดไปกับสิ่งเหล่านั้น ผลที่เกิดขึ้นก็คือในสมองจะมีแต่ความวิตกกังวล บางคนเป็นมากจนถึงกับดึงความคิดของตัวเองกลับมาไม่ได้ จมอยู่กับความเครียดนั้น ไม่มีสมาธิที่จะทำอะไร อันนี้คงต้องรีบบอกรีบเตือนตัวเอง ตั้งหลักตั้งใจกันใหม่ ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ พิจารณา พยายามอย่าให้อารมณ์พาใจไปให้มากนักการค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ตั้งสติกับตัวเองนั้น จะเป็นการค่อย ๆ เริ่มเรียนรู้จักปัญหา ที่มาของปัญหา และแนวทางที่เราจะใช้แก้ปัญหาได้ดีขึ้น ค่อย ๆ พิจารณาดูว่าข้อดี ข้อเสียที่เรากำลังจะตัดสินใจทำลงไปนั้น มีอะไรบ้าง เรารับได้หรือไม่กับผลเสียที่จะตามมา ทำไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจึงค่อย ๆ ทำลงไป อย่าปล่อยให้อารมณ์พาไปครับ

อยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด  หลาย ครั้งที่ความเครียดเกิดจากความวิตกกังวลว่าอนาคต หรือวันต่อไปจะเป็นอย่างไร คิดว่าเรื่องแย่ ๆ หรือไม่ดีคงต้องเกิดขึ้น แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นจริงก็คงจะต้องเกิดอย่างนี้และอย่างนี้ขึ้นตามมาอีก ยิ่งคิดก็ยิ่งฟุ้งซ่าน สงบสติและอารมณ์ของตนเองไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องรอจนเหตุการณ์มันผ่านไปเสียก่อน จึงค่อยสงบอารมณ์ลงได้ แต่ก็อีกไม่นานก็จะมีเรื่องใหม่ให้คิดตามมา เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ดูช่างเป็นชีวิตที่น่าเหนื่อยมาก
แต่ถ้าลองทบทวน เหตุการณ์ที่เคยคิดมาก ๆ ที่ผ่านไปแล้วก็มักจะพบว่าสิ่งที่เคยคิด สิ่งที่เคยกังวลมักจะไม่ค่อยตรงกับเรื่องจริงๆที่เกิดขึ้นสักเท่าไหร่ หรือถ้าตรงเราก็สามารถที่จะมีชีวิตยืนหยัดอยู่ได้จนถึงวันนี้ (เพื่อที่จะได้ไม่มาคิดมากต่อไปอีกในวันข้างหน้า) เพราะฉะนั้นอย่าเปลืองพลังงานสมองให้กับเรื่องเหล่านี้เลย อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดไป อนาคตจะเป็นอย่างไรก็คงต้องปล่อยมันบ้าง รอไว้ให้มันเกิดขึ้นจริง ๆ ก่อนแล้วค่อยว่ากันอีกที ทำวันนี้ ตอนนี้ให้ดีที่สุด อยู่กับปัจจุบัน กับตัวเราให้มากที่สุดดีกว่าครับ

  อะไรที่ผ่านมาแล้วก็ให้มันผ่านไปเสียบ้าง  มี หลายคนที่หมกมุ่นอยู่แต่กับอดีต กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปแล้ว คิด คิด คิด ราวกับว่าอยากจะเข้าไปลบอดีต แล้วเปลี่ยนมันเสียใหม่ อยากจะให้มันเป็นแบบนี้ ไม่อยากจะให้เกิดแบบนั้น คิดไปคิดมาจนไม่มีสมาธิในการทำงาน บางคนใจลอยหลงๆลืมๆ อดีตเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว เราไม่สามารถที่จะย้อนกลับไปหามันได้ ใช้มันให้เป็นบทเรียนที่มีค่าจะดีกว่า
หรือถ้า ให้ดีก็เสียเวลาอีกหน่อย เพื่อมาคิดว่าพราะอะไรในตอนนั้น เราถึงตัดสินใจทำแบบนั้นลงไป ทำไปเพื่ออะไร แล้วผลตอบแทนที่ได้มันคุ้มกันหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มก็คงต้องเตือนตัวเองไว้ว่าครั้งต่อไปจะตัดสินใจอย่างไร เข้าทำนองที่ว่าเจ็บแล้วก็ต้องจำเสียบ้าง

  ยืดหยุ่นกับชีวิตตนเองให้มากขึ้น  คน เราจะมีความคาดหวังได้บ้าง เป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับบางคนให้ให้ความสำคัญกับความคาดหวังนั้นมากเป็นพิเศษ ชีวิตของฉันจะต้องเป็นอย่างนั้นครอบครัวของฉันจะต้องเป็นอย่างนี้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะต้องเป็นอย่างนี้ อะไรทำนองนี้ เป็นต้น ความคาดหวังเป็นสิ่งที่ทำให้เรากระตือรือร้น มีกำลังใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ได้ แต่การยึดติดอยู่กับความคาดหวังมากเกินไป จะเป็นตัวบั่นทอนสุขภาพจิตเราได้ง่าย ๆ ชีวิตทุกคนก็มีสมหวัง ผิดหวังกันได้ สลับกันไป มีได้อย่างหนึ่งก็มักจะต้องเสียอย่างหนึ่ง จะให้ได้ทั้งหมดโดยไม่มีเสียเลยคงจะลำบาก เผื่อใจไว้บ้างกับความ ผิดหวัง ลองคิดดูให้ดีสิครับ ความผิดหวังคงไม่ทำให้ถึงกับชีวิตจะดำเนินต่อไปไม่ได้หรอก เพียงแต่อาจจะรู้สึกแย่ หรือเสียความรู้สึกบ้างเท่านั้นเอง

ลดคำถามที่ขึ้นต้นกับตนเองว่า “ทำไม” ให้น้อยลงบ้าง  ทำไม เขาถึงทำกับเราแบบนี้ ทั้งๆที่เราก็ทำดีให้กับเขาทุกอย่างแล้ว ทำไมถึงต้องเป็นเราทำไม ต้องเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น อะไรทำนองนี้เพราะส่วนใหญ่ยิ่งถามก็จะยิ่งไม่มีคำตอบ แล้วก็จะวกวนอยู่กับคำถามเหล่านี้ เหนื่อยเปล่าๆครับคล้ายๆกับว่าเรากำลังถามว่าทำไมพระอาทิตย์ต้องขึ้นทางทิศ ตะวันออก แล้วตกทางทิศตะวันตก มันเป็นคำถาม ที่ไม่รู้จะตอบอย่างไร ทางที่ดีอาจจะลองหยุดคำถามเหล่านี้ แล้วลองถามกับตัวเองว่าแล้วทำไมสิ่งต่าง ๆ จะต้องเป็นแบบที่เราต้องการด้วย อาจจะดีกว่า อาจทำให้เข้าใจความต้องการของตัวเองได้มากขึ้น

มั่นใจในตัวเองให้มากขึ้น  บาง คนค่อนข้างกลัวในเรื่องเล็กๆน้อยๆไม่ค่อยกล้าทำอะไร กลัวว่าทำไปแล้วจะไม่ดี จะไม่เป็นที่ถูกใจของคนอื่น หรือถ้าไม่ทำแล้วคนอื่นจะไม่สบายใจ แต่ถ้าทำไปก็จะฝืนความรู้สึกของตัวเอง บางคนกังวลว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร ถ้าเราทำแบบนี้จนในที่สุดไม่กล้าที่จะทำใน สิ่งที่อยากจะทำแล้วต้องมานั่งอยู่กับความเครียดของตัวเอง มั่นใจในตัวเองให้มากขึ้นเถอะครับ

  ลดความรู้สึกอ่อนไหวต่อคนรอบข้างให้น้อยลง  แล้ว ทำในสิ่งที่อยากจะทำลงไปบ้าง ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้ก่อความเสียหายให้กับตัวเองหรือสังคมรอบข้าง จริง ๆ แล้วถ้าคิดกันให้ดี ๆ ว่าที่เรานั้นคอยกลัวอยู่เรื่อยว่าคนโน้นจะว่า อย่างนี้ คนนั้นจะว่าอย่างไรนั้น มันก็คือความกลัวต่อความคิดของเราเองทั้งสิ้น คิดเองแล้วก็กลัวเองอยู่ คนเดียว เอาชนะใจตัวเองให้ได้ครับ แล้วหลาย ๆ อย่างจะดีขึ้นตามมา
อีก เรื่องหนึ่ง ที่คิดว่ามีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าที่กล่าวไปข้างต้น ก็คือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ จิตใจที่แจ่มใส พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ นั้น มักจะอยู่คู่กับร่างกายที่สมบูรณ์ เป็นเสมือนภูมิต้านทานให้แก่กันและกัน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนให้เต็มที่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงสิ่งต่า งๆ ที่จะมีผลเสียหรือเป็นโทษต่อร่างกายเหล่านี้จะช่วยให้สุขภาพสมบูรณ์ เป็นหลักที่มั่นคงสำหรับจิตใจ เพื่อที่จะเผชิญกับความเครียดในวันต่อไปข้างหน้าได้ครับ

ทั้ง หมดที่กล่าวมานั้น ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกๆท่าน ความจริงแล้วยังมีอีกหลายแนวทาง ที่จะทำให้สุขภาพจิตนั้นดีขึ้นบางอย่างก็จะเหมาะกับคนบางคน บางคนก็รู้ดีอยู่ว่าอะไรคืออะไร แต่หักห้ามใจไม่ให้คิดไม่ได้ครับ ของอย่างนี้คงต้องใช้เวลากันบ้างในการ ที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดของเราเอง ขอให้ลองพยายามกันต่อไปครับเพื่อความสุขในชีวิตของเรา
22  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.wattamaoh.com/home/index.php วัดท่ามะโอ ลำปาง เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2011, 12:40:47 pm


http://www.wattamaoh.com/home/index.php



คณะเพื่อน ๆ เคยไปปฏิบัติธรรม ที่นี่กันคะ เป้นแนวมหาสติปัฏฐานสี่ สายพม่า คะ


23  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำัดับ คะ เมื่อ: เมษายน 30, 2011, 07:37:05 pm
        ยุคกรุงรัตนโกสินทร์
(ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๑๐ถึง-พ.ศ.๒๓๒๕ )
   พระคัมภีร์สำหรับศึกษา ในวัดราชสิทธาราม(พลับ)
ซึ่งเป็นวัดพระกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงรัตนโกสินทร์
   ๑.พระคัมภีร์พระไตรปิฏก   อักษรขอมบาลี  ฉบับสังคายนาสมัยรัชกาลที่ ๑
   ๒. พระคัมภีร์มูลกัจจายน์    อักษรขอมบาลี   ผู้รจนา  พระมหากัจจายน์เถรเจ้า  ภาษบาลี  ใช้ศึกษาในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงกลางรัตนโกสินทร์
   ๓. พระคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค     อักษรขอมบาลี ผู้รจนา   พระพุทธโฆษาจารย์  ภาษาบาลีใช้ประกอบโยค ๗-๘-๙
   ๔. พระคัมภีร์มูลพระกรรมฐาน  อักษรขอมไทย ผู้รจนา พระรัตนปัญญาเถร  ภาษาขอมไทยใช้ศึกษา ณ ศูนย์กลางกรรมฐาน วัดราชสิทธาราม
   ๕.พระคัมภีร์พระอภิธรรมมัตถะสังคหะ  อักษรขอม บาลี ไทย ผู้รจนา พระอนุรุทธาจารย์
   ๖.พระคัมภีร์สติปัฎฐานสูตร  พระคัมภีร์พรมหาสติปัฏฐานสูตร
           ๗. หนังสือไตรภูมิพระร่วง   พระมหาธรรมราชาพญาลิไท (พญาลือไท) ทรงนิพนธ์   พระอรรถกถาจตุราคะ พระอรรถกถาฎีกาพระอภิธรรมวดาร  พระอภิธรรมสังคหะ พระสุมังคลวิลาสินี พระปัญจสูทนี พระสารัตถปกาสินี พระมโณรสปูรณี พระสิโนรสปกาสินี พระอรรถกถาฎีกาวินัย  พระธรรมบท พระธรรมมหากถา พระมธุรัตถปูรณวิลาสินี พระธรรมชาดก พระชินาลังการ พระสารัตถทีปนี พระพุทธวงศ์ พระสารสังคหะ พระมิลินทปัญหา พระปาเลยกะ พระมหานิทาน พระอนาคตวงศ์ พระจริยาปิฏก พระโลกบัญญัติ พระมหากัลป พระอรุณวัตติ  พระสมันตปาสาทิกา พระจักษณาภิธรรม พระอนุฎีกาหิงธรรม พระสาริริกวินิจฉัย พระโลกุปปัตติ  เป็นต้น
พระกรรมฐานสำหรับศึกษา ในวัดราชสิทธาราม(พลับ) กรุงรัตนโกสินทร์
   คือ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ  สืบต่อมาจากวัดป่าแก้ว พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงนำสืบต่อมาจากยุคอยุธยา และพระองค์ท่านทรงเป็นพระอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมา ประจำยุครัตนโกสินทร์ ชาวบ้านมักเรียกขานพระนามพระองค์ท่านว่า หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน หรือ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน  ในปลายพระชนม์ชีพ ชาวเมืองเรียกขานพระนามท่านว่า สมเด็จพระธาตุ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้สืบทอดอย่างไม่ขาดสาย มาถึงปัจจุบันนี้  ณ วัดราชสิทธาราม 
พระอาจารย์สุก ประสูติ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๒๗๖ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงอาราธนาพระองค์ท่านมากรุงเทพฯ สถิตวัดราชสิทธาราม พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๕ เมื่อสิริรวมอายุสังขารได้ ๙๐ พรรษา ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  พระองค์ท่านดำรงพระชนชีพอยู่ถึงสามยุค   หกแผ่นดิน
สามยุคคือ ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ หกแผ่นดินคือ  แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  แผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์(เอกทัศน์) แห่งกรุงศรีอยุธยา และ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ พระเจ้ากรุงธนบุรี แผ่นดินพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
พระองค์ท่านทรงเป็นพระอาจารย์ ของพระมหากษัตริย์ถึง ๔ พระองค์คือ ๑. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ๒. สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๓. สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
   ยุคที่พระองค์ท่าน ทรงดำรงพระชนชีพอยู่นั้น ทรงมีสัทธิวิหาริก และอันเตวาสิก ที่วัดราชสิทธาราม(พลับ)สำเร็จมรรคผล และทรงอภิญญาอีกหลายรูปเช่น พระพรหมมุนี(ชิต)  พระวินัยรัต(ฮั่น) พระครูวินัยธรรม(กัน)๒.พระญาณโพธิเถร(ขาว) พระญาณวิสุทธิเถร(เจ้า)  พระญาณโกศลเถร(มาก) พระปัญญาภิสารเถร(สุก) ต่อมาองค์นี้ย้ายไปอยู่วัดโปรดเกษเชษฏาราม พระปิฎกโกศลเถร(แก้ว) พระครูกิจจานุวัตร(สี) พระใบฏีกา(กลิ่น) ท่านขรัวตารอด วัดพลับ พระครูญาณมุนี(สน) พระครูญาณกิจ(ด้วง) ขรัวตาจัน พระอาจารย์คำ  พระญาณสังวร(ด้วง)  พระญาณสังวร(บุญ) พระญาณโยคาภิรัติ(มี) พระสังวรานุวงษ์เถร พระสังวรานุวงษ์เถร(เอี่ยม)  พระสังวรานุวงษ์เถร(ชุ่ม)(เมฆ)ฯลฯ เป็นต้น
 


เนื้อหา่หนังสือ อยู่ที่ไฟล์ลำดับการสืบทอดพระกรรมฐาน โดย พระครูสิทธิสังวร คณะ 5 วัดราชสิทธารามคะ
หน้าที่ 112  - 114
24  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "ว.วชิรเมธี"เซ็งสงกรานต์กาลี เต้นโชว์เปลือยอก-หมอลำซิ่งโป๊ในวัด เมื่อ: เมษายน 28, 2011, 07:07:57 pm
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี ผอ.สถาบันวิมุต ตยาลัย กล่าวถึงการฉลองเทศกาลสงกรานต์แบบไม่ถูกประเพณีไทย ว่า "ในเบื้องต้นอยากให้กลับมาดูว่าเทศกาลสงกรานต์ คืออะไร คือ การเล่นน้ำดับร้อนให้ผ่อนคลาย แต่ที่เห็นอยู่นี้กลายเป็นเล่นน้ำทำให้ร้อนและไม่ผ่อนคลาย ด้วยหากได้ดูคลิปแล้วคงจะไม่ปกติกันทุกคน ทั้ง ผอ.เขตบางรัก มหาเถรสมาคม กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งกรณีการขึ้นไปเต้นและเปลือยถือว่า ผิดวัตถุประสงค์ของสงกรานต์ สาเหตุหนึ่งมาจากไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของสงกรานต์ ตลอดจนสุราทำให้เสียนิสัย ซึ่งสุราแปลตรงตัวว่า หน้าด้าน พอดื่มเยอะๆ แล้วยางอายก็หายไป และสุดท้ายคือสภาวะโรคสามัญสำนึกบกพร่อง ไม่รู้อะไรควรไม่ควร "การที่ใครสักคนขึ้นไปทำแบบนั้น คนสามัญสำนึกปกติเขาไม่มีใครทำได้ ถ้าไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือสุรา และสิ่งที่น่าเศร้า คือ สนุกสนานชั่วครั้งชั่วคราว แต่จะเสียหายยืนยาวไปตลอดชีวิต เพราะคลิปนี้พอไปอยู่ในยูทูบถอดออกไม่ได้และตอนนี้ไปทั่วโลก ลูกศิษย์ที่อเมริกายังโทรศัพท์มาสอบถาม เสียหายขนาดไหน เรียกว่าเป็นความ สุขสนุกเฉพาะที่ แต่เป็นความกาลีที่เป็นสากล เพราะทันทีที่เกิดเรื่องไปอยู่เว็บไซต์กระจายไปทั่วโลก เสียทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมประเพณีดีงามพลอยมัวหมองไป"

ด้านนาย นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า ตนได้รับรายงานผลการจัดงานเทศกาลสงกรานต์ในส่วนของวัด พบว่า มีวัดในอ.ธาตุพนม จ.นครพนม 2 แห่ง เปิดให้มีการจัดหมอลำซิ่งโป๊ภายใน บริเวณวัด รวมทั้งมีการปล่อยให้มีการดื่มสุราด้วย ซึ่งถือว่ามีความผิดร้ายแรง เนื่องจากมส.ได้ออกระเบียบว่า ห้ามอบายมุขภายในวัด โดยเฉพาะการดื่มสุรา ดังนั้น สำนักพุทธฯ จึงได้แจ้งเจ้าคณะอำเภอธาตุพนม ดำเนินการลงโทษวัดที่ฝ่าฝืนและปล่อยให้มีการจัดกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมภายใน วัด ในขณะเดียวกัน เจ้าคณะจังหวัดนครพนมจะมีการประชุมและสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวด้วย ส่วนในจังหวัดอื่นๆ ยังไม่มีรายงานปัญหาการเล่นน้ำสงกรานต์ที่ไม่เหมาะสมภายในวัดเข้ามา สำหรับกรณีสามเณรเล่นน้ำสงกรานต์ เรื่องนี้ขอยืนยันว่า คณะสงฆ์ได้เน้นย้ำให้วัดทุกแห่งดูแลเรื่องนี้อย่างเข้มงวดแล้ว แต่ก็ยังไม่มีเหตุการณ์สามเณรเล่นน้ำเกิดขึ้น ซึ่งจะให้สำนักพุทธฯ ไปสั่งการไม่ได้ เพราะคณะสงฆ์มีระเบียบการปกครองกันเองอยู่แล้ว

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNVEkzTURRMU5BPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1TMHdOQzB5Tnc9PQ==

จากคุณ    : หมาป่าดำ
25  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เห็นธรรมที่ผัสสะ เมื่อ: เมษายน 24, 2011, 09:33:12 am
ว่าด้วยผัสสะ
             [๓๙๓] ชื่อว่า ผัสสะ ในคำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ได้แก่ จักษุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส อธิวจนสัมผัส ปฏิฆสัมผัส
สัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา สัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกขเวทนา  สัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุข-
*เวทนา ผัสสะอันเป็นกุศล ผัสสะอันเป็นอกุศล ผัสสะอันเป็นอัพยากฤต ผัสสะอันเป็นกามาวจร
ผัสสะอันเป็นรูปาวจร ผัสสะอันเป็นอรูปาวจร ผัสสะอันเป็นสุญญาตะ ผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ
ผัสสะอันเป็นอัปปณิหิตะ ผัสสะอันเป็นโลกิยะ ผัสสะอันเป็นโลกุตตระ ผัสสะอันเป็นอดีต
ผัสสะอันเป็นอนาคต  ผัสสะอันเป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่ถูกต้อง ความเป็น
แห่งความถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่า ผัสสะ. คำว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย ความว่า
บุคคลเห็นจักษุสัมผัสว่า เป็นของว่างจากความเป็นตนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความ
เที่ยงบ้าง  จากความยั่งยืนบ้าง จากความเป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง. เห็น
โสตสัมผัส เห็นฆานสัมผัส เห็นชิวหาสัมผัส เห็นกายสัมผัส เห็นมโนสัมผัส เห็นอธิวจน-
*สัมผัส เห็นปฏิฆสัมผัส เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่สุขเวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่ทุกข-
*เวทนา เห็นสัมผัสอันเกื้อกูลแก่อทุกขมสุขเวทนา เห็นผัสสะอันเป็นกุศล เห็นผัสสะอันเป็น
อกุศล เห็นผัสสะอันเป็นอัพยากฤต เห็นผัสสะอันเป็นกามาวจร เห็นผัสสะอันเป็นรูปาวจร
เห็นผัสสะอันเป็นอรูปาวจร เห็นผัสสะอันเป็นสุญญตะ เห็นผัสสะอันเป็นอนิมิตตะ เห็นผัสสะ
อันเป็นอัปปณิหิตะ  เห็นผัสสะอันเป็นโลกิยะ เห็นผัสสะอันเป็นโลกุตตระว่า เป็นของว่างจาก
ความเป็นตนบ้าง จากธรรมที่เนื่องในตนบ้าง จากความเที่ยงบ้าง จากความยั่งยืนบ้าง จากความ
เป็นของเที่ยงบ้าง จากธรรมที่ไม่แปรปรวนบ้าง.
             อีกอย่างหนึ่ง บุคคลย่อมเห็นผัสสะอันเป็นอดีตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็น
อนาคตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน. เห็นผัสสะอันเป็นอนาคตว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็น
อดีตและผัสสะอันเป็นปัจจุบัน. เห็นผัสสะอันเป็นปัจจุบันว่า เป็นของว่างจากผัสสะอันเป็นอดีต
และผัสสะอันเป็นอนาคต.
             อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะเหล่าใด เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ อันปฏิสังยุตด้วย
สุญญตผัสสะ บุคคลย่อมเห็นผัสสะเหล่านั้นว่า เป็นของว่างจากราคะ โทสะ โมหะ ความ
โกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความโอ้อวด
ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง
ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิ
สังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เห็นวิเวกในผัสสะทั้งหลาย.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐
26  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ความโกรธ ย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เมื่อ: เมษายน 24, 2011, 09:29:43 am


 [๓๘๔] ก็พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ไม่โกรธ ในคำว่า ผู้ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ความว่า
ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน. ความโกรธ ย่อมเกิดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ

ความโกรธย่อมเกิดด้วยอาการว่า

เขาได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ๑
เขากำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑
เขาจักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ๑
เขาได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ๑
เขากำลังประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑
เขาจักประพฤติสิ่งไม่ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑
เขาได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑
เขากำลังประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑
เขาจักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ๑
ความโกรธย่อมเกิดในที่มิใช่เหตุ ๑.


             ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความเคือง ความเคืองทั่ว
ความเคืองเสมอ ความชัง ความชังทั่ว ความชังเสมอ ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษ
ร้ายในใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ความเป็นผู้โกรธ ความชัง กิริยาที่ชัง ความเป็นผู้ชัง
ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท ความเป็นผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความเป็น
ผู้ดุร้าย ความเพาะวาจาชั่ว ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ความโกรธ.
             อีกอย่างหนึ่ง ควรรู้ความโกรธมากโกรธน้อย. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำจิตให้
ขุ่นมัว แต่ยังไม่ถึงให้หน้าเง้าหน้างอก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้หน้าเง้าหน้างอ
แต่ยังไม่ทำให้คางสั่นก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้คางสั่น แต่ยังไม่ให้เปล่งผรุส-
*วาจาก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เปล่งผรุสวาจา แต่ยังไม่ให้เหลียวดูทิศต่างๆ ก็มี.
บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เหลียวดูทิศต่างๆ แต่ยังไม่ให้จับท่อนไม้และศาตราก็มี.
บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้จับท่อนไม้และศาตรา แต่ยังไม่ให้เงื้อท่อนไม้และศาตราก็มี.
บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้เงื้อท่อนไม้และศาตรา แต่ยังไม่ให้ท่อนไม้และศาตราถูกต้อง
ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้ท่อนไม้และศาตราถูกต้อง แต่ยังไม่ทำให้เป็นแผลเล็ก
แผลใหญ่ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่ แต่ยังไม่ให้กระดูกหัก
ก็มี. บางครั้ง ความโกรธเป็นแต่เพียงให้กระดูกหัก แต่ยังไม่ให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไปก็มี. บางครั้ง
ความโกรธเป็นแต่เพียงให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป แต่ยังไม่ให้ชีวิตดับก็มี. บางครั้ง ความโกรธ
เป็นแต่เพียงให้ชีวิตดับ แต่ยังไม่เสียสละชีวิตของตนให้หมดไปก็มี. เมื่อใด ความโกรธให้ฆ่า
บุคคลอื่นแล้ว จึงให้ฆ่าตน เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงอย่างหนัก ถึงความเป็นของมาก
อย่างยิ่ง. ความโกรธนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้
เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่า ผู้ไม่โกรธ. บุคคลชื่อว่า เป็นผู้ไม่โกรธ เพราะละ
ความโกรธได้แล้ว เพราะกำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธเสีย เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โกรธ.

ทีี่มา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐
27  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภาวนากรรมฐาน ขั้นสูงต้องปรับศ๊ลให้สูงขึ้นหรือไม่คะ เมื่อ: มีนาคม 29, 2011, 05:01:17 pm
มีหลาย ๆ คนชอบมาทักว่า ถ้าต้องการภาวนาให้จิตเป็นอัปปนาต้องรักษาศีล 8

อยากทราบว่าจริง ๆ แล้วเราต้องรับศ๊ล 8 ปฏิบัติจึงจักทำจิตให้เป็นอัปปนาจิตได้หรือคะ

 :25:
28  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นั่งสมาธิแล้วเป็นบ้า.. บ้าอะไรกันแน่ เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 09:09:08 am
นั่งสมาธิแล้วเป็นบ้า.. บ้าอะไรกันแน่
การปฏิบัติธรรมเจริญพระกรรมฐานมีความเป็นกังวลกันว่า
ทำมากๆแล้วจะเป็นบ้า เป็นโรคประสาท หรือหลงไปไหนต่อไหน
จริงๆแล้วการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้นไม่ทำให้เป็นเช่นนั้น
แต่ที่คนเป็นเช่นนั้นกัน เพราะนอกรีตนอกรอย
ปฏิบัติแบบคิดเองเออเอง ห่างครูบาอาจารย์ห่างตำรา
วันนี้ขอเล่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังได้อ่านได้รู้มา
ไม่ได้นึกคิดขึ้นมาเองนะครับ

อย่างแรกการปฏิบัตินั้นเพื่อคุณงามความดี เพื่อความหลุดพ้น แถวบ้านเรียกว่าเพื่อพระนิพพาน
อันนี้ท่านว่าให้ยึดไว้เลย ไม่งั้นเสียผู้เสียคนได้ง่าย คือต้องปฏิบัติเพื่อเอาดีกัน
โดยที่การปฏิบัติเพื่อเข้ากระแสพระอริยะนั้นจะประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
ดังนั้นผู้ที่จะปฏิบัติพระกรรมฐานควรจะมีศีลเป็นพื้นฐานที่หนักแน่น
ถ้าเป็นฆาราวาสต้องมีศีล๕ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่มามีตอนสมาทานศีลก่อนเข้าพระกรรมฐาน
ไม่ขอทวนศีล๕ แต่ขอเน้นว่าให้รักษาศีลแบบจริงจังคือ
ไม่ผิดศีลเอง ไม่แนะนำให้คนอื่นผิดศีล และไม่ยินดีเมื่อรู้ว่าคนอื่นผิดศีล
หน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบขอให้ทำจนหมดจนสิ้น อย่าได้ค้างคา
ทั้งนี้เพื่อตัดความกังวลใจต่างๆให้หมดไป

ต่อมาขอให้ทราบด้วยว่าบทสมาทานพระกรรมฐานนั้น คือการมอบตัวถวายชีวิตแด่พระพุทธเจ้า
ขอให้ปฏิบัติกันอย่างจริงจัง จริงใจ อย่าทำเล่นๆ หรือทำแบบเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
ดังนั้นก่อนปฏิบัติพระกรรมฐานขอให้พิจารณาขันธ์ ๕ กันเสียก่อน
โดยแนวทางของผมจะพิจารณาตามบทสวด สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ และอะภิณหะปัจจะเวกขะณะ
ที่ทำก็เพื่อไม่ต้องห่วงร่างกาย ร่างกายจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน
ด้วยกรรมฐานมีอานิสงส์ใหญ่ ถ้าโชคดีต้องตายในระหว่างปฏิบัติ ก็ไปเกิดในที่ๆสบายทั้งนั้น

ขอให้ทราบไว้ว่าพระกรรมฐานมีมากมาย ที่ทราบปกติก็มีอยู่ ๔๐ กอง
ขอให้เลือกเอาตามจริตของแต่ละคนก็จะดีมากๆ เช่น
โทสะจริต ท่านให้เจริญพรหมวิหาร๔ หรือกสิณสี
เรื่องจริตกับพระกรรมฐานหาข้อมูลกันไม่ยาก ใช้คำสองคำนี้หาใน google มีเพียบ
แต่ผมขอแนะนำให้ปฏิบัติอานาปานุสสติกรรมฐานให้คล่องเสียก่อนจะดีมาก
เพราะเป็นกรรมฐานระงับอารมณ์ฟุ้ง เมื่อได้แล้วไปเริ่มกรรมฐานกองอื่นจะง่าย
ถ้าใครปฏิบัติกรรมฐานกองอื่นแล้วมีอารมณ์ฟุ้ง ให้ใช้อานาปานุสสติเข้ามาควบคุมจะดีมาก

จากนั้นท่านั่งท่านอนท่ายืนท่าเดินในการปฏิบัติ ทำที่บ้านขอให้ทำแบบสบาย
หากลำบากในการนั่งขัดสมาธิสองชั้น หรือขัดสมาธิเพชรเนื่องจากร่างกายไม่อำนวย
ก็นั่งแบบไหนก็ได้ เพราะนักปฏิบัติจริงๆแล้วเขาเอาทุกท่าทุกขณะ
จะห้อยขา หลังพิงฝา หรือจะนอนก็ได้ แต่ระยะแรกๆยังไม่แนะนำให้นอน กลัวจะหลับซะก่อน
ที่แนะนำอย่างนี้เพื่อให้ตัดความกังวลเรื่องร่างกายไปซะ

โปรดทราบไว้ด้วยว่าการปฏิบัติพระกรรมฐานให้ได้ผลนั้น ต้องไม่หักโหมปฏิบัติโดยมีหลักคือ
ไม่ทรมานร่างกายตัวเองมากเกินไป ถ้ายังไม่ได้เป็นผู้ทรงฌานเป็นปกติแล้ว ปฏิบัติได้แค่ไหนให้เอาแค่นั้น
การตั้งเวลานั้นสำคัญ คือต้องไม่ทำหักโหมจนไม่ได้พักผ่อน
เรื่องทรมานร่างกาย พระพุทธเจ้าท่านทำมาแล้วไม่ได้ผล เราไม่จำเป็นต้องไปวัดรอย
และต้องไม่อยากได้มากเกินไป เช่น ปฏิบัติกสิณ ก็เคร่งเครียดจะเอาภาพนิมิตอยู่นั่น
อันนี้แหละจะทำให้เป็นบ้า คืออยากได้มากเกินไป มันก็ฟุ้ง พอฟุ้งนิวรณ์มาแล้วสมาธิก็ไม่เกิด
เมื่อสมาธิไม่เกิดนิมิตก็กำหนดไม่ได้ ก็ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่ มันเป็นงูกินหางเห็นมั้ย

ถ้าวันไหนปฏิบัติแล้วจิตไม่สงบอารมณ์ฟุ้งกระจาย ท่านให้เลิกปฏิบัติ ไปทำโน่นทำนี่
จะดูหนังดูละครก็ว่าไป อย่ามาเคร่งเครียดจะเป็นจะตายต้องทำให้ได้ อันนี้ท่านไม่แนะนำ
ยกเว้นกรณีที่ว่าจะเป็นผู้ทรงฌานเป็นปกติแล้ว อันนี้จะทดสอบตัวเองก็ไม่ว่ากัน
แต่ถ้าระยะเริ่มต้นเริ่มแรก ขอให้ทำแบบสบายๆไว้ก่อน เพราะจิตต้องการความสบายนะ

ว่ากันถึงนิมิต นิมิตที่เราจะเอามาใช้งานให้เป็นนิมิตที่เรากำหนดหรือสร้างเอง เช่น วงกสิณ
นิมิตนี้ขอให้ศึกษาการทรงอารมณ์ให้อยู่ได้นาน ให้ได้สม่ำเสมอ นึกเมื่อไหร่ก็มาเลย
แต่นิมิตที่เราไม่เอา หรือไม่ต้องสนใจ คือนิมิตที่ลอยมาหรือผุดขึ้นมาเอง
เช่น ภาพอะไรต่างๆ แสงสีต่างๆ ไม่ต้องสนใจ
บางทีเห็นภาพนางฟ้าเทวดา เข้ามาแวบหนึ่ง แล้วเราอยากเห็นอีก อันนี้สมาธิตกแล้วนะ
เพราะการเห็นภาพเหล่านั้นเป็นเพราะสมาธิใกล้ถึงฌานแล้วอารมณ์ใจมันได้
มันก็เลยผุดขึ้นมาให้เห็น แต่เรากำหนดมันไม่ได้ ควบคุมไม่ได้
ขอให้เห็นก็สักแต่ว่าเห็น มันมีสองทางคือไม่สนใจมันก็ได้ หรือจะเพลิดเพลินไปกับมันก็ได้
แต่ให้รู้ไว้ว่าเรายังไม่ได้ฝึกมาเพื่อให้เห็นมัน ดังนั้นมันก็มาแค่นั้นแหละ อย่าไปต้องการอยากได้
เพราะถ้าต้องการอยากได้มันไม่มาให้เห็นหรอก นิวรณ์มาแล้วสมาธิก็ไม่เกิด
นิมิตพวกนี้อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อุปาทาน สัญญาเก่าก็ว่ากันไป
(ผมเองก็ไม่สนใจจะรู้ด้วยสิว่าเพราะอะไร)
แต่ไม่ใช้ทิพจักขุญาณแน่นอน ดังนั้นมันไม่มีความสำคัญอะไรหรอก ปล่อยๆมันไป

ที่พิมพ์มาทั้งหมดไม่ใช่ว่าตัวเองเก่งหรือว่าได้สมาธิขั้นไหนๆ เพียงแต่ตั้งใจจะแบ่งปัน
เพราะเห็นกังวลกันว่าทำสมาธิแล้วจะเป็นบ้า จะหลง
ทั้งๆที่ถ้าปฏิบัติเอาดีกันนั้นมันไม่เป็นอย่างนั้นเลย
เอาดีคือ เพื่อกุศล เพื่อพระนิพพาน
ถ้าตั้งอารมณ์ใจให้ถูก เรื่องบ้านั้นไม่มี เรื่องหลงนั้นไม่ได้
จะบ้ายังไง ก็บอกแล้วให้ปฏิบัติสบายๆอย่าเคร่งเครียดและหักโหม
จะหลงอะไร หลงในนิมิต ก็บอกแล้วว่ามันเป็นสิ่งไม่สำคัญอะไร เอามาใช้งานไม่ได้
หลงว่าตัวเองดี.. อันนี้ไม่ต้องปฏิบัติกรรมฐานหรอก คนมันจะหลงนะ แค่มีศีลข้อเดียวมันก็หลง
แต่ถ้าปฏิบัติเอาดีกันเนี่ย มันจะตรวจสอบตัวเองเสมอว่าดีพอหรือยัง
ส่วนใครปฏิบัติพระกรรมฐานแล้ว มีคนเขาหาว่าเป็นบ้าอันนี้อาจจะเป็นไปได้
เพราะใครเขามาด่า นักปฏิบัติก็ยิ้ม เขาชม นักปฏิบัติก็ยิ้ม
ได้อะไรมา ก็ยิ้ม เสียอะไรไป ก็ยิ้ม
จะสุขหรือทุกข์ก็ยิ้ม
ที่ยิ้มนะเพราะเห็นความจริงของโลกธรรม๘
เขาเห็นก็เลยคิดว่าเป็นบ้า อันนี้มีเป็นเรื่องปกติ
แต่นักปฏิบัติที่ดีจะไม่บ้า ไม่หลงในกิเลส อันนี้แหละที่เราต้องการหรือเปล่า

ถ้าขาดตกบกพร่องหรือทำให้ใครขุ่นข้องหมองใจต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยว่าไม่มีเจตนาให้เป็นเช่นนั้น
ขอให้ความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุกๆคนนะครับ

จากคุณ    : sirnitfi
29  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญเยาวชนสมัครปฏิบัติธรรม รุ่นเยาวชน วัดยานนาวา เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 09:05:13 am
30  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / วิธีทำสมาธิแบบ เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 08:52:35 am


วิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น:หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

http://www.scribd.com/full/47918879?access_key=key-1f34tszg3blgwrwi69l6

ฝึกหัดสมาธิโดยบริกรรมพุทโธ : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
http://www.scribd.com/full/48401176?access_key=key-29zbu3y2i2jwmbqjkpff

ส่องทางสมถะวิปัสสนา : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
http://www.scribd.com/full/48401217?access_key=key-1qb3ptw79arrjupd9fm3

ลำดับของ สมาธิ และ ปิติ ---- หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
http://www.palungjit.com/smati/k40/smabat.htm
31  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทา ของพระธรรมวิสุทธิมงคล เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 08:45:19 am
ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทา ของพระธรรมวิสุทธิมงคล
(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
จาก "หนังสือ พ่อแม่ครูอาจารย์"

...กลอนพ่อแม่ครูอาจารย์...
" พ่อ ให้เกิด ซึ่งคน คุณธรรม
แม่ เลิศล้ำ เปี่ยมล้น น้ำนมศีล
ครู ประศาสน์ วินัย เป็นอาจิณ
อาจารย์ ประสิทธิ์สิ้น ทุกวิชชา
หลวง น้ำใจ ยิ่งใหญ่กว่า ทะเลหลวง
ตา ทิพย์กว้าง ล่วงรู้ ทุกอณูหมาย
มหาบัว มหาบุรุษ กู้ชาติ ให้รอดตาย
ญาณสัมปันโน ภพสุดท้าย วิมุติญาณ ฯ "

กลอนโดย พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร 12 สิงหาคม 2551

ดาวโหลดเสียงอ่านทั้งหมด (81.9 MB)
http://www.archive.org/download/LuangtaBiography_196/LuangtaBiography.zip

สามารถลองฟังเสียงอ่านได้ที่ Youtube ครับ


"พ่อแม่ครูอาจารย์" ชื่อของหนังสือเล่มนี้เป็นบทสรุปที่สุดแห่งคำพูด และที่สุดแห่งการกระทำในกิจของสมณะ

คำว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" หรือ "พ่อแม่ครูจารย์" เป็นถ้อยคำสำนวนที่องค์พระหลวงตามหาบัว ใช้เรียกหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านด้วยความเคารพรักศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก คำว่า พ่อแม่ครูอาจารย์ หรือ พ่อแม่ครูจารย์ จึงเป็นศัพท์ที่พระกรรมฐานท่านใช้เรียกผู้ที่ท่านรักเคารพศรัทธาเลื่อมใสที่ สุด สุดชีวิตจิตใจ ดังเช่นพระกรรมฐานยุคนี้ใช้เรียกองค์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนว่า พ่อแม่ครูอาจารย์

บทว่า ที่สุดแห่งคำพูด คือ จะหาคำพูดใดๆ เทียบเทียมหรือเหมาะสมยิ่งคำว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" นี้ไม่มีอีกแล้ว คำพูดของท่านจะเป็นคำพูดยกย่องชมเชย เปรียบเปรยหรือห้ามปรามก็ตาม ล้วนเป็นเสมือนคำพูดคอยชี้บอกทางแห่งขุมทรัพย์อันประเสริฐ ดังเช่นโอวาทของหลวงปู่มั่นที่ให้แก่ศิษย์ในขณะที่กราบลาไปเที่ยวธุดงค์ว่า "ไปทำเถอะ ทำอยู่ที่ไหนก็ได้ ขอให้ปฏิบัติตัวเองให้ดี นั้นแล คือการปฏิบัติพระพุทธเจ้า ระลึกถึงท่านด้วยความระมัดระวังตัวให้ดี นั้นแลคือการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ พระสงฆ์ท่านปฏิบัติดีอย่างไร  เราปฏิบัติดีอย่างนั้น นั้นแลคือการบูชาพระสงฆ์"  คำพูดเหล่านี้จึงเป็นที่สุดแห่งคำพูด
 
บท ว่า ที่สุดแห่งการกระทำ คือ ได้กระทำตามคำสอนที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้ให้ไว้จนสุดความสามารถ สุดสติปัญญา สุดชีวิตจิตใจแล้ว เหมือนผู้พยายามตามแสวงหาซึ่งขุมทรัพย์อันล้ำค่าที่อาจารย์ชี้บอก  แล้วก็พบขุมทรัพย์อันประเสริฐคือธรรมนั้นด้วยความพากเพียรพยายามบากบั่นมุ่ง มั่นแห่งตน ดังนั้น คำว่าพ่อแม่ครูอาจารย์ จึงเป็นบทสรุปแห่งคำพูดและการแสดงคารวะธรรมอย่างยิ่งใหญ่ องค์พระหลวงตาใช้สื่อความหมายที่ออกมาจากหัวใจว่า พ่อแม่ครูจารย์มั่น ด้วยความเคารพเทิดทูนอย่างถึงใจฉันใด พวกเราซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ก็ใช้สื่อความหมายที่ออกมาจากหัวใจว่า "พ่อแม่ครูจารย์หลวงตามหาบัว" ด้วยความเคารพเทิดทูนสุดหัวใจฉันนั้นเหมือนกัน สมดังคำที่หลวงตาพูดถึงองค์หลวงปู่มั่น ผู้ซึ่งเป็นพระบูรพาจารย์ของท่านว่า "พ่อแม่ครูจารย์มั่น ท่านเป็นทั้งพ่อทั้งแม่เราทุกอย่างรวมอยู่ในท่านหมด ท่านให้อรรถให้ธรรม ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นศิริมงคลสิ่งใดไม่ดีปัดเป่าออกไปด้วยคำสอน พ่อแม่ครูจารย์มั่นเราเคารพท่านสุดขีด  กราบท่านซึ้งใจไม่มีวันจืดจาง เป็นมหาบุญมหาคุณ ครอบหัวครอบกระหม่อม ในหัวใจของเรานี้มอบให้พ่อแม่ครูจารย์มั่นหมดเลย เราพูดจริงๆ ในบรรดาครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เราไม่ได้ประมาทท่านเราไม่ได้คบค้าสมาคมฝากเป็นฝากตาย สนิทติดจมกับท่านจริงๆ เหมือนพ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่น ท่านเหมือนเป็นจอมปราชญ์ เป็นพญาราชสีห์ เป็นแม่เหล็ก เป็นเครื่องดึงดูดเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรทำให้เรามีจิตใจประกอบความพากเพียรเอา เป็นเอาตายหนักเบาเอามาจากท่าน ได้รับการศึกษามาจากท่าน ทุกสิ่งทุกอย่างท่านแนะนำเต็มภูมิและพาปฏิบัติเต็มกำลังทุกด้าน สอนละเอียดลออเต็มเม็ดเต็มหน่วย ให้ซึ้งถึงใจเราที่สุดก็คือพ่อแม่ครูจารย์มั่น ซึ่งพ่อแม่ของเราไม่สามารถที่จะนำมาสอนได้ รูปร่างท่านจริงๆ ไม่โต แต่โตเพราะคุณธรรมและมรรยาท เหมือนกับว่าไปที่ไหนคับโลกไปเลย"

สาธุครับ
_/|\_

ที่มาจากเวปวัดป่าภูผาสูง: http://www.pupasoong.com

32  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / การประกวดศิลปกรรมยุวพัฒน์ ครั้งที่ 18 ประจำปี 2554 เมื่อ: มีนาคม 01, 2011, 10:42:17 am
การประกวดศิลปกรรมยุวพัฒน์ ครั้งที่ 18 ประจำปี 2554 หัวข้อ “สนุกสนานในงานบุญ”
เรียน:
ผู้สนใจ

การประกวดศิลปกรรมยุวพัฒน์ ครั้งที่ 18 ประจำปี 2554
หัวข้อ “สนุกสนานในงานบุญ”
ด้วยความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิยุวพัฒน์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

ส่งผลงาน ภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2554
ตัดสินผลงาน 26 มิถุนายน 2554
ประกาศผล 8 กรกฎาคม 2554
มอบรางวัลและแสดงผลงาน สิงหาคม 2554

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ .......
มูลนิธิยุวพัฒน์
เลขที่ 1 อาคารพรีเมียร์คอร์เปอเรทปาร์ค ถนนศรีนครินทร์
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ 02-301-1093 (-6)
โทรสาร 02-301-1439
E-mail : ybf3@pfc.premier.co.th
Website : http://www.yuvabadhanafoundation.org


33  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ความสุขที่หายไป จาก mr.mercy เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2011, 07:09:58 am

ศิษย์ “อาจารย์ครับทำไมทุกวันนี้ดูเหมือนความสุขของเราจะมีน้อยลงเรื่อยๆ ขณะที่ เมื่อก่อนดูเหมือนอะไรมันดูไม่วุ่นวายความสุขก็ดูจะหาไม่ยาก ไม่เหมือนทุกวันนี้เลยครับ”

อาจารย์ “ก็เพราะ เราไม่รู้จักความสุขเราจึงหาความสุขไม่พบน่ะซิ”

ศิษย์ “ทำไมจะไม่รู้จักละครับ ทุกคนก็ดิ้นรนแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งนั้น”

อาจารย์ “ สิ่งที่เราแสวงหากัน มันเป็นความสุขที่ต้องแสวงหามาและเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่เราต้องลงทุนสร้างความทุกข์จากความอยากขึ้นมาก่อน แล้วเราจึงจะได้ความสุขมาตอบสนอง

เราต้องลงแรงกายแรงใจ ทำงานหาเงินมาเพื่อใช้แสวงหาความสุข แต่เรากลับได้ความสุขมาครอบครองได้ไม่นาน แล้วความสุขก็กลับเลือนหายไป สิ่งต่างๆที่เราได้มาอาจจะยังอยู่แต่ความสุขนั้นกลับจืดจางลงไปอย่างรวดเร็ว เหมือนๆจะได้มาแต่ไม่เคยได้มาจริงสักที จิตใจที่คอยแต่จะหิว จะอยาก จึงดิ้นรนตลอดเวลา

อีกประการหนึ่งก็คือ ความสุขของเราไม่เคยอยู่ในปัจจุบัน มันอยู่ในเงื่อนไข อยู่ในความหวัง อยู่ในอนาคต ถ้าเราทำอย่างนั้น อย่างนี้แล้วเราจะมีความสุข”

ศิษย์ “อาจารย์ช่วยอธิบาย สักน่อยครับ”

อาจารย์ “ลองคิดย้อนดูตอนเด็กๆ เราคิดว่าเราเรียนหนังสือจบ ถ้ามีงานทำ เราจะมีความสุข สักพักถ้าเรามีแฟน เราจะมีความสุข ต่อมาถ้าเรามีลูก เราจะมีความสุข ต่อมาก็มีต้องมีบ้าน มีรถ มีเงินเก็บพอสมควรเราจะมีความสุข พอแก่มากๆมีโรคประจำตัวรุมเร้าทุกข์ทรมาน ก็คิดว่า ถ้าเราตายไวๆแล้วเราคงจะมีความสุข ความสุขไม่เคยอยู่ในปัจจุบันเลย มันมีแต่ข้อแม้ตลอดเวลา เราวิ่งหาความสุข จนเหน็ดเหนื่อยตลอดชีวิต”

ศิษย์ “แหมอาจารย์พูด จนผมหมดแรงเลย แล้วตัวความสุขมันเป็นอย่างไร เผื่อผมจะหาความสุขได้ง่ายขึ้นสักหน่อย”

อาจารย์ “จงจำไว้สุขและทุกข์คือสิ่งเดียวกัน มันเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เสมือนเหรียญที่ย่อมมีสองด้าน เสมือนต้นไม้และผลไม้ เราต้องลงทุนปลูกต้นไม้แห่งความทุกข์ อันได้แก่ความอยากมีอยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น ลงในใจของเราก่อน เราทำกรรมต่างๆเปรียบเสมือนให้ปุ๋ยและน้ำ เฝ้ารออย่างทรมานใจ แล้วต้นไม้จึงจะมีดอกและผลออกมา

ความสุขที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวแต่เราต้องทุกข์ทรมานอยู่เนิ่นนาน ครั้นเราได้กินผลไม้จนหมดแล้ว เราก็ต้องบำรุงต้นความทุกข์อีก ต้องให้รากเจาะชอนไชหัวใจอันบอบช้ำของเราจนอิ่มหนำ แล้วก็จะได้ผลแห่งความสุขมาสักผลสองผลกันได้ มันช่างไม่คุ้มกับการลงทุนเสียจริงหัวใจเราจึงไม่เคยอิ่มไม่เคยพอ

ปกติทุกข์นั้นเกิดตลอดเวลา ทั้งทางกายและทางใจ ทางกายก็ได้แต่ความปวดเมื่อย โรคภัย ความแก่ชราของร่างกาย

ทางใจเราก็ต้องการอารมณ์ดีๆเข้ามา เราจึงเที่ยวหาการเปลี่ยนแปลงเพื่อมาดับทุกข์ เราต้องการคนมาพูดด้วย มาเอาใจ แต่ก็ไม่มีใครจะดีกับเราตลอดเวลา ถ้าเรากินอาหารที่เราชอบที่สุด แต่ให้เรากินทุกวัน เราก็จะเบื่อจนกินไม่ลง เราดูหนังเรื่อง ฟังเพลงเพลงเดียวทุกวันก็ทนไม่ได้ ที่เราอยู่กันได้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงพอจะทำใจให้เพลิดเพลินไปแค่นั้นเอง”

ศิษย์ “อาจารย์พูดแล้วทำให้ผมรู้สึกว่าดูๆไปแล้วทุกข์จะเป็นความจริงที่เกิดขึ้น ตลอดเวลา ส่วนสุขก็เป็นแค่การแก้อาการของความทุกข์เป็นคราวๆไปแค่นั้นเอง
ถ้าอย่างนั้นถ้าเราอยากมีความสุขจริงๆเราต้องทำอย่างไรครับ”

อาจารย์ “เราต้องรู้จักความสุขแบบที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นหรือผู้อื่นบ้าง เช่นความสุขจากการไม่ทำชั่วต่อตนเองและผู้อื่น ความสุขที่ได้จากการพักผ่อนนอนหลับเต็มที่ ความสุขจาการใช้ชีวิตเหมาะสมกับฐานะและรายได้ ความสุขจากการทำทานรักษาศีล ความสุขจากการนั่งสมาธิทำใจให้สงบ เพื่อให้ใจได้พักผ่อนบ้าง

ที่สำคัญคือความสุขจากการมีสติในชีวิตประจำวัน การมีสติจะทำให้ชีวิตกลับมาสู่ปัจจุบัน ไม่ฝากความหวังไว้กับเงื่อนไขและความอยาก เมื่อมีสติตื่นขึ้นมา จิตใจก็จะเป็นกุศลจะมีความสุขเนื่องจากการไม่เผลอปล่อยใจให้ต้องเป็นทุกข์ กับความคิดที่เกิดขึ้นมา การรับรู้ด้วยความรู้สึกที่เป็นกลาง จิตใจก็จะมีความสุขได้เองโดยไม่ต้องทำอะไรเลย

จิตโดยแท้จริงก็มีความสุขอยู่แล้วตามธรรมชาติ ยิ่งเมื่อมีปัญญาเห็นความจริงว่ากายและใจนี้เราควบคุมไม่ได้จริง เรามีสติรู้ที่กายและใจอยู่เสมอ สติจะตั้งมั่นกลายเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่เฉยๆ สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป โดยเราไม่เป็นทุกข์ด้วย นี่แหละคือปัญญา บางครั้งที่มีความอยากเกิดขึ้น ถ้าเรามีสติ เราก็จะเห็นความทุกข์เกิดขึ้นมาตั้งแต่เริ่มอยากทั้งร้อนทั้งแน่นในอก เราก็จะไม่พยายามสร้างความอยากเพราะเห็นทุกข์อย่างรวดเร็ว เป็นการคุ้มครองตัวจากตัณหา ราคะ ที่จะเข้ามาทางตา หู ทางความคิด

เมื่อมีปัญญาถอนความยึดมั่นในตัวเราเพราะเห็นว่ากายและใจนี่แหละเป็นความ ทุกข์ เราก็ไม่ต้องคอยแสวงหาความสุขให้กายและใจอีกต่อไป จิตใจก็มีความสุขเต็มขึ้นมาได้เอง นี่แหละเป็นความสุขที่เกิดในใจของผู้ที่รู้จักการเจริญสติในชีวิตประจำวัน เป็นความสุขที่เป็นเป้าหมายของศาสนาพุทธเลยทีเดียว”

ศิษย์ “ฟังแล้วค่อยมีกำลังใจหน่อย เพราะความสุขอย่างหลังนี้ดูจะไม่ไกลตัวของเราเลย ความสุขที่แท้จริงก็มีอยู่แล้วในใจของเรานี่เอง เพียงแค่เราเรารู้จักมัน ทำในสิ่งที่เป็นกุศล และคอยมีสติในปัจจุบันอยู่เสมอๆขอบพระคุณอาจารย์มากครับ”
34  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ตัณหาในสมาธิ กับ ฉันทะ ในสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 08:34:47 am
ตัณหาในสมาธิ กับ ฉันทะ ในสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร คะ

เนื่องด้วยการปฏิบัติสมาธิ เป้าหมายคือการละนิวรณ์ เช่น กามราคะ ซึ่งจัดเป็นตัณหา ตัวหนึ่ง เป็นตัณหาในสมาธิ

ที่นี้ถ้าเราชอบปฏิบัติสมาธิ และ พอใจในสมาธิ อันเรียกว่า ฉันทะในสมาธิ ถ้าอย่างนี้ก็ยังไม่สิ้นสุดตัณหาใช่หรือ

ไม่ ดังนั้นอาจจะเป็นเพราะว่าดิฉัน ยังไม่เข้าใจ ตัณหาในสมาธิ และ ฉันทะในสมาธิ ดีเพียงพอเป็นแน่แท้ ขอได้

โปรดช่วยอธิบาย ตรงนี้ให้ทราบด้วยคะ

 :c017:
35  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คำทักทาย ภาษาต่าง ๆ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 07:12:21 am
Hello,Hi *** ภาษาอังกฤษ


ฮาโหล *** ภาษาเยอรมัน


หนีห่าว *** ภาษาจีน


ฮันยองฮาเซโย *** ภาษาเกาหลี


โอะฮาโย โกะซัยมัส,โคนนิจิวะ,คมบังวะ *** ภาษาญี่ปุ่น


นมัสเต *** ภาษาอินเดีย/เนปาลี


มินกลาบา *** ภาษาพม่า


สบายดี *** ภาษาลาว


บง ชูร์ *** ภาษาฝรั่งเศส


ซินจ่าว *** ภาษาเวียดนาม


กูมุสต้า *** ภาษาตากาล็อก


ซาลามัสดาตัง *** ภาษามาเลย์


โอล่า *** ภาษาสเปน/โปรตุเกส


บวน จอ รโน *** ภาษาอิตาเลียน


คูเดิ้นด๊าค *** ภาษาดัตช์


ชัว สเดย์ *** ภาษาเขมร


ซดราฟส์ วุย ดิ *** ภาษารัสเซีย


เมร์ ฮาบา *** ภาษาตุรกี


อาโฮย *** ภาษาเชค


ยาซาส *** ภาษากรีก


ฮัดโหล *** ภาษาไอซ์แลนดิก


ซาลามัส เชียง *** ภาษาอินโดนีเซีย


ไฮย *** ภาษาสวีดิช


อาโฮย *** ภาษาสโลวัก


ไฮ *** ภาษาแดนิช


บองเดีย,บัวต๊าร์ดิ *** บราซินเลียน

fwd mail
36  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำไมคนไอคิวมาก ๆ จึงไม่ค่อยมี ในโลกนี้ ( การ์ตูนสั้นขำ ๆ แต่น่าคิด ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 07:09:13 am

37  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เข้าใจการปฏิบัติใช้สมาธินำ หรือ ปัญญานำ แบบส่วนตัว เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 07:09:26 am
การปฏิบัติธรรมมีแบบปฏิบัติที่สำคัญๆ อยู่ 2 แบบ

1. ใช้สมาธินำก่อน แล้วค่อยใช้ปัญญาตาม

2. ใช้ปัญญานำก่อน(แต่จิตจะต้องมีกำลังของสมาธิพอสมควร)

1. ใช้สมาธินำ
เช่น นั่งสมาธิ อาจจะใช้อานาปานสติ กำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้า-ออก
ตอนนี้จิตกับลมหายใจจะเป็นอันเดียวกัน
กำหนดไปๆ จนจิตแยกออกมาจากลมหายใจกลายมาเป็นผู้มารู้ลม
ที่กำลังเข้า-ออกแทน แต่ไม่มีคำว่าลมหายใจแล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่ปัญญา
(ตอนนี้เป็นสมาธิระดับลึก ต้องเอาปัญญามาพิจารณา แล้วจิตจะถอน
ออกมาจากสมาธิลึกเล็กน้อยเพื่อที่จะพิจารณาความจริงได้)
เพราะถ้าไม่พิจารณาว่า ลมคือลม จิตคือจิต แยกจากกัน ก็จะเป็นสมถะ
แต่ถ้ารู้แบบแยกจากกันได้ ก็จะเป็นวิปัสสนา ว่า ลม(หายใจ)ไม่ใช่เรา
(ใช้ผลจากกำลังสมาธิลึก ทำให้จิตตั้งมั่น แล้วถอยจิตออกมาเล็กน้อย)
แล้วอาจจะพิจารณาไปอีกว่าลมนี้ก็มีเกิดขึ้น-ตั้งอยู่(ยังมีสภาพเป็นลม)
และดับไป เท่านั้นเอง  แล้วลมนี้มาจากไหน ก็มาจากการยังมีอยู่ของร่างกาย
แล้วร่างกายมีสภาพอย่างไร ก็ใช้อสุภะมาพิจารณา หรือพิจารณาแยกกาย
ออกมากองทีละส่วน หาความจริงของร่างกายนั้นไม่ได้(สายพระป่า)
แต่การพิจารณากายทั้งหมด ใช้สมาธิไม่ใช่ระดับลึก แต่ต้องมีสมาธิบ้าง
อีกอย่างที่สำคัญคือ ข้อมูลความเป็นจริงของร่างกาย หรือข้อมูลที่เราจะเอา
มาพิจารณาจะต้องมีเก็บอยู่ในสัญญาขันธ์(ความจำ)บ้าง ไม่เช่นนั้น
เราจะเอาอะไรมาพิจารณาไม่ได้เลย ดังนั้นข้อมูลจึงสำคัญ
ข้อมูลนั้นได้มาจาก การฟัง, การอ่าน(สุตตมยปัญญา) แล้วเอามาคิด
พิจารณา (ภาวนามยปัญญา) และ ใคร่ครวญจนเกิดปัญญาอย่างแท้จริง(จินตมยปัญญ)
สรุป  สมาธิ--- ปัญญา(สติที่พิจารณาใคร่ครวญจนเกิดปัญญาหรือสัมมาสติ)---สัมมาสมาธิ(ความ ตั้งมั่นของจิตที่ต่อเนื่องมั่นคงอยู่กับความกระจ่างแจ้งในความเป็นจริงของ ความจริงอยู่ในใจหรือในจิต จิตจะตั้งมั่นอยู่กับปัญญาที่เกิดขึ้น)

2. ใช้ปัญญานำก่อน
เริ่ม จาก การได้รับข้อมูลความจริง(สัมมาทิฏฐิ)ได้มาจาก การฟัง, การอ่าน(สุตตมยปัญญา) แล้วเอามาคิดพิจารณา (ภาวนามยปัญญา) และ ใคร่ครวญจนเกิดปัญญา
อย่างแท้จริง(จินตมยปัญญ)
การนำข้อมูลความจริงจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ หรือได้รับฟังจากครูบาอาจารย์
มานั้น เราต้องนำมาคิด ใคร่ครวญ ทบทวน อยู่บ่อยๆ(สัมมาสติ)
การทำแบบนี้ก็จะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ แต่เป็นสัมมาสมาธิระดับอ่อน  จนคิดบ่อยๆ
พิจารณาบ่อยๆ จนหยั่งลึกเข้าไปในจิต จนจิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นได้อย่างแท้จริง
จึงจะเป็นสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นทรงตัวอยู่กับจิตได้มากขึ้น
สรุป  ปัญญา(สัมมาสติ)---สมาธิ(สัมมาสมาธิ)

เมื่อจิตมีความตั้งมั่นมากขึ้น  ข้อมูลความจริงที่ซึมซับลงไปอยู่ในจิตใต้สำนึกมากขึ้น
สติก็จะเกิดเองได้บ่อยขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด
อยากจะพิจารณา แต่นึกอะไรไม่ออก...
ดังนั้น ตัวปัญญาหรือข้อมูลความจริงจึงสำคัญมากๆ ควรมีมากๆ
ดึงขึ้นมา นึกขึ้นมาได้เพื่อเอามาสอนจิตของเราเอง  ถ้าข้อมูลที่มีอยู่ไม่พอ
แล้วเราจะดึงความจริงจากตรงไหนมาพิจารณาล่ะ
ขอให้ทุกท่านเจริญในความจริงตามพระสัทธรรมคำสอนของ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเร็วด้วยกันทุกท่าน

จากคุณ    : nongmew321
http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10223503/Y10223503.html
38  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ยึดเอามรรคองค์ที่ ๒, ๓, ๔, ๕ เป็นแนวทาง เพื่อกระทำสิ้นสุดแห่งกองทุกข์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 07:06:39 am
ยึดเอามรรคองค์ที่ ๒, ๓, ๔, ๕ เป็นแนวทาง ดังนี้

สัมมาสังกัปปะ ๓ (ที่ยังเป็นสาสวะ  อันเป็นส่วนแห่งบุญ  ให้ผลแก่ขันธ์ )
  ๑.    ความดำริออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปโป)
  ๒.    ดำริในความไม่พยาบาท (อพยาปาทสังกัปโป)
  ๓.    ดำริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปโป)

สัมมากัมมันตะ ๓ (ที่ยังเป็นสาสวะ  อันเป็นส่วนแห่งบุญ  ให้ผลแก่ขันธ์ )
  ๑.   งดเว้นจากปาณาติบาต (ปาณาติปาตา เวรมณี)
  ๒.   งดเว้นจากอทินนาทาน (อทินนาทานา เวรมณี)
  ๓.   งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร (กาเมสุมิจฉาจาราเวรมณี)

สัมมาวาจา๔ (ที่ยังเป็นสาสวะ  อันเป็นส่วนแห่งบุญ  ให้ผลแก่ขันธ์ )
  ๑.   งดเว้นจากการ พูดเท็จ (มุสาวาทา เวรมณี)
  ๒.   งดเว้นจากการ พูดส่อเสียด (ปิสุณาย วาจาย เวรมณี)
  ๓.   งดเว้นจากการ พูดคำหยาบ (ผรุสาย วาจาย เวรมณี)
  ๔.   งดเว้นจากการ เจรจาเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปา เวรมณี)

สัมมาอาชีวะ ๕(ที่ยังเป็นสาสวะ  อันเป็นส่วนแห่งบุญ  ให้ผลแก่ขันธ์ )
  ๑.   งดเว้นจาก   การโกง (กุหะนา)
  ๒.   งดเว้นจาก   การล่อลวง (ลปะนา)
  ๓.   งดเว้นจาก   การตลบตะแลง (เนมิตตกะตา)
  ๔.   งดเว้นจาก   การยอมมอบตนในทางผิด (นิปเปสิกะตา)
  ๕.   งดเว้นจาก   การเอาลาภแลกลาภ (ลาเภนะ ลาภัง นิชิคิงสนะตา)

ทำมรรคทั้ง ๔องค์นี้ด้วย สติ(สัมมาสติ)และ วิริยะ(สัมมาวายามะ)
และถ้าจะให้สมบูรณ์พร้อม ก็ต้องประกอบด้วย

  ๑.   ปรโตโฆสะ (ความได้สดับฟังสัจจะอื่น จากผู้รู้ท่านอื่นๆ หรือบัณฑิตอื่น)
  ๒.  โยนิโสมนสิการ (ปรับใจ ปฏิบัติกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถ่องแท้ ให้หยั่งลงไปถึงแดนเกิดคือ..ใจ)
ดังนี้จึงจะเกิดสัมมาทิฏฐิ  เมื่อสมบูรณ์พร้อมทั้ง ๗ มรรค ก็จะเกิด สัมมาสมาธิตามคำยืนยัน นี้

             [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&pagebreak=0
39  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / โภคาทิยะ 5 ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 07:01:37 am
โภคอาทิยะ หรือ โภคาทิยะ 5 (ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ หรือ เหตุผลที่อริยสาวกควรยึดถือ ในการที่จะมีหรือครอบครองโภคทรัพย์ — uses of possessions; benefits one should get from wealth; reasons for earning and having wealth)

       อริยสาวกแสวงหาโภคทรัพย์มาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางสุจริตชอบธรรมแล้ว

      1. เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตรภรรยา และคนในปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข (to make oneself, one’s parents, children, wife, servants and workmen happy and live in comfort)

       2. บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข (to share this happiness and comfort with one’s friends)

       3. ใช้ป้องกันภยันตราย (to make oneself secure against all misfortunes)


       4. ทำพลี 5 อย่าง (to make the fivefold offering)
           ก. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ (to relatives, by giving help to them)
           ข. อติถิพลี ต้อนรับแขก (to guests, by receiving them)
           ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ (to the departed, by dedicating merit to them)
           ง. ราชพลี บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากรเป็นต้น (to the king, i.e., to the government, by paying taxes and duties and so on)
           จ. เทวตาพลี ถวายเทวดา* คือ สักการะบำรุงหรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชา ตามความเชื่อถือ (to the deities, i.e., those beings who are worshipped according to one’s faith)


        5. อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ(to support those monks and spiritual teachers who lead a pure and spiritual teachers who lead a pure and diligent life)

       เมื่อใช้โภคทรัพย์ทำประโยชน์อย่างนี้แล้ว ถึงโภคะจะหมดสิ้นไป ก็สบายใจได้ว่า ได้ใช้โภคะนั้นให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามเหตุผลแล้ว ถ้าโภคะเพิ่มขึ้นก็สบายใจเช่นเดียวกัน เป็นอันไม่ต้องเดือดร้อนใจในทั้งสองกรณี.

A.III.45 องฺ.ปญฺจก. 22/41/48

* ในจูฬนิทเทส ท่านอธิบายความหมายของ “เทวดา” ไว้ว่า ได้แก่สิ่งที่นับถือเป็นทักขิไณย์ของตนๆ
(เย เยสํ ทกฺขิเณยฺยา, เต เตสํ เทวตา -- พวกไหนนับถือสิ่งใดเป็นทักขิไณย์ สิ่งนั้นก็เป็นเทวดาของพวกนั้น) และแสดงตัวอย่างไว้ตามความเชื่อถือของคนสมัยพุทธกาล ประมวลได้เป็น 5 ประเภท คือ


       1. นักบวช นักพรต (ascetics) เช่น อาชีวกเป็นเทวดาของสาวกอาชีวก นิครณถ์ ชฎิล ปริพาชก ดาบส ก็เป็นเทวดาของสาวกนิครนต์เป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ

       2. สัตว์เลี้ยง (domestic animals) เช่น ช้างเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาช้าง ม้า โค ไก่ กา เป็นต้น ก็เป็นเทวดาของพวกถือพรตบูชาสัตว์นั้นๆ ตามลำดับ


       3. ธรรมชาติ (physical forces and elements) เช่น ไฟเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาไฟ แก้ว มณี ทิศ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาสิ่งนั้นๆ ตามลำดับ


       4. เทพชั้นต่ำ (lower gods) เช่น นาคเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชานาค ครุฑ ยักษ์ คนธรรพ์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชานาคเป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ (พระภูมิจัดเข้าในข้อนี้)

       5. เทพชั้นสูง (high gods) เช่น พระพรหม เป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาพระพรหม พระอินทร์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาพระอินทร์ เป็นต้น

       สำหรับชนที่ยังมีความเชื่อถือในสิ่งเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสอนเปลี่ยนแปลงเพียงให้เลิกเซ่นสรวงสังเวยเอาชีวิตบูชายัญ หันมาบูชายัญชนิดใหม่ คือบริจาคทานและบำเพ็ญกุศลกรรมต่างๆ อุทิศไปให้แทน คือมุ่งที่วิธีการอันจะให้สำเร็จประโยชน์ก่อน ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือเป็นเรื่องของการแก้ไขทางสติปัญญา ซึ่งประณีตขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะนักบวชในประเภทที่ 1 แม้สาวกใดจะเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้อุปถัมภ์บำรุงนักบวชนั้นต่อไปตามเดิม

ดู “Devata” ใน P.T.S. Dict., P.165 ด้วย Ndii 308   ขุ.จู. 30/120/45.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖

ที่มาเนื้อหา
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%E2%C0%A4%CD%D2%B7%D4%C2%D0
40  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คำตำหนิและคำด่า แตกต่างกัน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 06:56:20 am
คำตำหนิและคำด่า แตกต่างกัน
             พระอรหันต์อาจตำหนิคนชั่ว ตำหนิคนพาลได้ เช่น
ท่านพระสารีบุตรเป็นต้น
             แต่การด่านั้น พระวินัยบัญญัติไว้แล้วว่า
             ภิกษุด่า เป็นอาบัติ แต่มีวาระที่ไม่เป็นอาบัติคือ


             อนาปัตติวาร
             [๒๕๔] ภิกษุมุ่งอรรถ ๑, ภิกษุมุ่งธรรม ๑ ภิกษุมุ่งสั่งสอน ๑,
             ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑, ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑,
             ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
http://84000.org/tipitaka/read/?2/254

หน้า: [1] 2 3 4